โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รอม

ดัชนี รอม

รอม (ROM: Read-only Memory หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น.

13 ความสัมพันธ์: มัวริส วิลค์สราชวิถีเวิร์ดพีซีหน่วยความจำหน่วยความจำถาวรหน่วยความจำแฟลชคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแรมไบออสเฟิร์มแวร์เครื่องคิดเลขเน็กซัส 7 (รุ่นปี พ.ศ. 2555)PROMWRT54G

มัวริส วิลค์ส

Maurice V. Wilkes เซอร์ มัวริส วิลค์ส (Sir Maurice Wilkes) เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2456 - died 29th november 2553 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี-เอก ด้านฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทำงานในมหาวิทยาลัยในสถาบันวิจัยทางด้านการคำนวณ ต่อมาถูกเรียกตัวเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองในงานเกี่ยวกับเรดาร์ พอสงครามสงบก็กลับมาทำงานในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ดังเดิม พ.ศ. 2488 มัวริสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางด้านคำนวณ (Mathemetical Laboratory) ซึ่งต่อมาภายหลังสถาบันนี้ได้เปลี่ยนมาเป็น คณะคอมพิวเตอร์ (Computer Laboratory) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่แรกในโลกที่เริ่มทำการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ สาเหตุที่คณะคอมพิวเตอร์เป็นอิสระออกมาได้ เพราะสมัยที่เป็นสถาบันวิจัยทางด้านการคำนวณนั้น เป็นแหล่งกำเนิดพื้นฐานของคอมพิวเตอร์พอสมควร (เช่น ทฤษฎีทัวริ่ง, เครื่อง Differential Analyser ของแบบเบจ หรือ ภาษาเครื่องของเอดา) อีกทั้งในยุคของมัวริส สามารถนำทฤษฎีเหล่านี้มาประยุกต์สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก็บโปรแกรมได้ (stored program computer) คือมีหน่วยความจำ (memory) สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลกชื่อ EDSAC ในปี พ.ศ. 2492..

ใหม่!!: รอมและมัวริส วิลค์ส · ดูเพิ่มเติม »

ราชวิถีเวิร์ดพีซี

ราชวิถีเวิร์ดพีซี (Rajavithi Word PC) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ราชวิถีเวิร์ดพีซี, เวิร์ดราชวิถี หรือ RW เป็นโปรแกรมประมวลคำ ทำงานบนระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส สร้างขึ้นโดยชมรมไมโครคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลราชวิถี นำโดยนายแพทย์ชุษณะ มะกรสาร เมื่อ พ.ศ. 2526 พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2536 รุ่นล่าสุดอยู่ที่รุ่น 2.4 โปรแกรมนี้มีการนำมาใช้สอนเป็นหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในสถานศึกษาด้ว.

ใหม่!!: รอมและราชวิถีเวิร์ดพีซี · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำ

หน่วยความจำ (Computer memory) คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจำถาวรก็เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช และหน่วยความจำพวกรอม ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือพวกหน่วยความจำหลัก เช่น DRAM (แรมชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) และแคชของซีพียูซึ่งทำงานได้รวดเร็วมาก (ปกติเป็นแบบ SRAM ซึ่งเร็วกว่า กินไฟน้อยกว่า แต่มีความจุต่อพื้นที่น้อยกว่า DRAM).

ใหม่!!: รอมและหน่วยความจำ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำถาวร

หน่วยความจำถาวร (Non-volatile memory) คือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้อยู่โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า ตัวอย่างหน่วยความจำถาวรเช่น รอม, แฟลช ยังรวมถึงหน่วยเก็บข้อมูลด้วยแม่เหล็ก เช่น จานบันทึกแบบแข็ง (hard disks), แผ่นบันทึก (floppy disks) และแถบแม่เหล็ก (magnetic tape), หน่วยเก็บข้อมูลด้วยแสง เช่น แผ่นซีดี และหน่วยเก็บข้อมูลยุคเก่า เช่น บัตรเจาะรู หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำถาวร.

ใหม่!!: รอมและหน่วยความจำถาวร · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำแฟลช

แฟลชไดรฟ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้หน่วยความจำแฟลชในการเก็บข้อมูล จากภาพ ทางด้านซ้ายคือหน่วยความจำแฟลช ทางด้านขวาคือวงจรควบคุม หน่วยความจำแฟลช (Flash memory) หรือ แฟลช คือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลถาวรสำหรับคอมพิวเตอร์ที่สามารถลบและเขียนใหม่ได้ โดยมีลักษณะการทำงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด กล่าวคือไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ขณะทำงาน (ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่มีจานแม่เหล็กหมุนตลอดเวลาขณะทำงาน) หน่วยความจำแฟลชพัฒนาต่อมาจาก EEPROM (หน่วยความจำแบบรอมที่สามารถลบข้อมูลได้) ปัจจุบันหน่วยความจำแฟลชมีด้วยกันสองชนิดคือ หน่วยความจำแฟลชชนิด NAND และหน่วยความจำแฟลชชนิด NOR ซึ่งเป็น NAND และ NOR เป็นชื่อของโลจิกเกตที่เซลล์หน่วยความจำแฟลชแต่ละชนิดใช้ หน่วยความจำแฟลชชนิดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ชนิด NAND และใช้เป็นหน่วยความจำใน แฟลชไดรฟ์, โซลิดสเตตไดรฟ์, เมโมรีการ์ด และมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก โดยถูกใช้เป็นหลักในอุปกรณ์พกพาเนื่องจากสามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์มาก หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำถาวร หมวดหมู่:Solid-state computer storage media.

ใหม่!!: รอมและหน่วยความจำแฟลช · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

ใหม่!!: รอมและคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ใหม่!!: รอมและแรม · ดูเพิ่มเติม »

ไบออส

รอมพร้อมไบออส ระบบหน่วยรับเข้า/ส่งออกพื้นฐาน หรือ ไบออส (Basic Input/Output System: BIOS) คือโปรแกรมที่ปกติจะเก็บเอาไว้ในรอมที่เป็นความจำถาวร หรือกึ่งถาวร (EPROM Erasable Programmable Read Only Memory) และเป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเรียกใช้เป็นโปรแกรมแรกตั้งแต่เปิดเครื่อง โดยไบออสจะทำหน้าที่ในการตรวจอุปกรณ์ที่ต่อไว้ตามตำแหน่งที่ระบุ และทำการโหลดระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์หรือดิสก์เก็ต ไปที่แรมซึ่งเป็นหน่วยความจำชั่วคราว หลังจากนั้นจะทำหน้าที่บริหารการไหลของข้อมูล ระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ แป้นพิมพ์ จอยสติก เครื่องพิมพ์ เป็นต้น หมวดหมู่:บูตโลดเดอร.

ใหม่!!: รอมและไบออส · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์มแวร์

ฟิร์มแวร์ที่พบได้ทั่วไปคือ ซอฟต์แวร์ในรีโมตคอนโทรล เฟิร์มแวร์ (firmware) ในระบบคอมพิวเตอร์ คือซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร์ โดยที่ผู้ใช้จะสามารถอ่าน และเรียกใช้งานเฟิร์มแวร์ได้ แต่ไม่สามารถแก้ไข เขียน หรือลบเฟิร์มแวร์ได้ ตัวอย่างเฟิร์มแวร์ในร.

ใหม่!!: รอมและเฟิร์มแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องคิดเลข

็ดส่วน ที่สามารถดำเนินการทางเลขคณิตพื้นฐานได้ เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่มีจอภาพผลึกเหลวแบบดอตเมทริกซ์ เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ มักเรียกโดยย่อว่า เครื่องคิดเลข หรือ เครื่องคำนวณ คือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับดำเนินการทางเลขคณิตพื้นฐานหรือซับซ้อน มักมีขนาดเล็ก พกพาได้ และราคาไม่แพง เครื่องคิดเลขสมัยใหม่พกพาสะดวกกว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม พีดีเอก็มีขนาดพอ ๆ กับเครื่องคิดเลขมือถือและอาจมีบทบาทเข้ามาแทนที่ เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์แบบโซลิดสเตตเครื่องแรกผลิตขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งสร้างโดยใช้หลักการของเครื่องมือคำนวณในประวัติศาสตร์ อย่างเช่นลูกคิดที่ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล และเครื่องคิดเลขเชิงกลที่ประดิษฐ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้น เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์มีพัฒนาการควบคู่ไปกับคอมพิวเตอร์แอนะล็อกในสมัยนั้น เครื่องคิดเลขขนาดกระเป๋าเริ่มจำหน่ายในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากหำอินเทลประดิษฐ์ไมโครโพรเซสเซอร์ชิ้นแรก (อินเทล 4004) ให้กับเครื่องคิดเลขของบิซซิคอม (Busicom) เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่มีหลากหลายแบบตั้งแต่ขนาดเท่าบัตรเครดิต ราคาถูก แจกฟรี ไปจนถึงขนาดตั้งโต๊ะ แข็งแรง มีเครื่องพิมพ์ในตัว เครื่องคิดเลขเป็นที่นิยมในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 เนื่องจากการคิดค้นวงจรรวมทำให้เครื่องคิดเลขมีขนาดเล็กลงและราคาถูกลง ในช่วงปลายทศวรรษนั้น ราคาของเครื่องคิดเลขก็ลดลงจนถึงระดับที่ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อได้ และกลายเป็นเครื่องมือสามัญในโรงเรียน ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ย้อนไปจนถึงยูนิกซ์รุ่นแรก ๆ ก็บรรจุโปรแกรมคำนวณเลขมาด้วยอย่าง ดีซี (dc) และ ภาษาฮอก (hoc) และฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการคำนวณก็ถูกบรรจุลงในอุปกรณ์ประเภทพีดีเอแทบทุกชนิด นอกเหนือจากเครื่องคิดเลขสำหรับจุดประสงค์ทั่วไปแล้ว ก็ยังมีเครื่องคิดเลขที่ออกแบบมาเพื่อตลาดเฉพาะทาง ตัวอย่างเช่น เครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ที่บรรจุฟังก์ชันการคำนวณตรีโกณมิติและสถิติ เป็นต้น เครื่องคิดเลขบางชนิดก็สามารถประมวลพีชคณิตคอมพิวเตอร์ได้ เครื่องคิดเลขกราฟิกก็สามารถใช้วาดกราฟของฟังก์ชันที่นิยามบนเส้นจำนวนจริงหรือมิติที่สูงกว่าในปริภูมิแบบยุคลิดได้ ในปี..

ใหม่!!: รอมและเครื่องคิดเลข · ดูเพิ่มเติม »

เน็กซัส 7 (รุ่นปี พ.ศ. 2555)

น็กซัส 7 (Nexus 7) เป็นแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ได้รับการออกแบบและวางขายโดยกูเกิล ร่วมกับเอซุส โดยเป็นแท็บเล็ตเครื่องแรกในรุ่นของกูเกิล เน็กซัส ซึ่งเป็นตระกูลของรุ่นที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และจะใช้ระบบที่จะไม่ได้รับการปรับแต่งใด ๆ จากผู้ผลิต เน็กซัส 7 นั้นมีหน้าจอกว้าง 7 นิ้ว วัดตามแนวทแยง, ใช้หน่วยประมวลผล เอ็นวีเดีย เทกรา 3 ควอดคอร์, แรม 1 จิกะไบต์ และ หน่วยความจำภายใน 8, 16 หรือ 32 จิกะไบต์ รวมไปถึงระบบวายฟาย และการเชื่อมต่อเอ็นเอฟซี โดยมีแหล่งรวบรวมความบันเทิงและโปรแกรมบน กูเกิล เพลย์ ซึ่งมีทั้งโปรแกรมประยุกต์, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, รายการโทรทัศน์, ภาพยนตร์ (Play Movies), เกม (Play Game) และเพลง (Play Music) ปัจจุบันในประเทศไทย(พ.ศ. 2557)สามารถใช้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์,ภาพยนตร์และเกมได้แล้ว ยกเว้นแต่รายการโทรทัศน์และเพลงเท่านั้น แท็บเล็ตเน็กซัส 7 เป็นอุปกรณ์รุ่นแรกที่ออกวางขายพร้อมกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.1 ที่มีชื่อว่า "เจลลีบีน" งานออกแบบเน็กซัส 7 เริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคม..

ใหม่!!: รอมและเน็กซัส 7 (รุ่นปี พ.ศ. 2555) · ดูเพิ่มเติม »

PROM

PROM หรือ Programmable ROM คือ หน่วยความจำ (ROM) ซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถเขียนข้อมูลใหม่ลงไปได้ สามารถเขียนได้ครั้งเดียว ถ้ากระบวนการเขียนผิดพลาดก็ต้องเริ่มเขียนใหม่ทั้งหมด ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมผู้ใช้เอง โดนป้อนพัลส์แรงดันสูง (High Voltage Pulsed) ทำให้ Metal Strips หรือ Polycrystaline ที่อยู่บนตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่งที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ PROM เป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการบันทึกโค้ดโปรแกรมลงในหน่วยความจำ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า PROM Programmer เนื่องจาก PROM สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นจึงมีรอมชนิดอื่น เช่น EPROM (Erasable Programmable Read-Only Memory) และ EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory) ซึ่งสามารถแก้ไขได้หลายครั้ง EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory) คือ หน่วยความจำ ROM ที่สามารถลบและแก้ไขได้หลายครั้ง ในการลบข้อมูลจะต้องลบทั้งหมด ไม่สามารถลบเพียงบางส่วนได้ โดยอาศัยแอปพลิเคชัน ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง EPROM(Erasable Programmable Read-Only Memory) คือ PROM ซึ่งสามารถลบข้อมูลโดนการนำไปตากแดดจัดๆ รังสีอัลตร้าไวโอเลตจำทำปฏิกิริยากับชีพในหน่วยความจำ และจะลบข้อมูลออกทั้งหม.

ใหม่!!: รอมและPROM · ดูเพิ่มเติม »

WRT54G

Linksys WRT54G version 3.1 Linksys WRT54G คืออุปกรณ์เน็ตเวิร์ก ประเภทไวร์เลสเราเตอร์ ที่ใช้มาตรฐานการส่งข้อมูลตามสายแบบ IEEE 802.3 และไร้สายแบบ IEEE 802.11b/g นอกจากนี้บางรุ่นยังสามารถอัพเกรดหรือเปลี่ยนเฟิร์มแวร์เพื่อให้มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น ส่วนรุ่นอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือรุ่น WRT54GS, WRT54GL WRTSL54GL.

ใหม่!!: รอมและWRT54G · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ROMหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »