โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยีราฟ (สกุล)

ดัชนี ยีราฟ (สกุล)

thumb ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี.

47 ความสัมพันธ์: ชนิดใกล้สูญพันธุ์ช้างกลุ่มดาวยีราฟการตกมันการปรับตัว (ชีววิทยา)กิเลนมาดากัสการ์ 2 ป่วนป่าแอฟริกายีราฟมาไซยีราฟรอทส์ไชลด์ยีราฟลายร่างแหยีราฟใต้ยีราฟโซฟีรายการสัตว์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดวิวัฒนาการศิลปะสกัดหินสกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียนสวนสัตว์กิซาสวนสัตว์ย่างกุ้งสวนสัตว์สิงคโปร์สวนสัตว์สงขลาสวนสัตว์นครราชสีมาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสัตว์เคี้ยวเอื้องสิงโตทรานส์วาลอันดับสัตว์กีบคู่อันดับของขนาด (ความยาว)อิมพอสซิเบิล ครีเชอร์อุทยานแห่งชาติอารูชาอุทยานแห่งชาติเมรูอุทยานแห่งชาติเซเรนเกตีดิสนีย์แอนิมอลคิงดอมคู่หูของผมเป็นลิงครับซอโรโพไซดอนนกกระจอกเทศแบรคิโอซอรัสโอคาพีไวลด์ไลฟ์พาร์กไวลด์ไลฟ์พาร์ก 2เกรินุกเจิ้งเหอเทวดาท่าจะบ๊องส์ ภาคพิสดาร ตอน ตะลุยซาฟารีเทอโรซอร์เซลล์ประสาทPower Animals1 E0 m

ชนิดใกล้สูญพันธุ์

ันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ คือสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ วลีนี้ถูกใช้เรียกอย่างคลุมเครือถึงสปีชีส์ที่มีคำอธิบายเป็นดังข้างต้น แต่สำหรับนักชีววิทยาอนุรักษ์จะหมายถึงสปีชีส์ที่อยู่ในกลุ่มใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสถานะการอนุรักษ์ที่มีความร้ายแรงเป็นลำดับที่สอง รองจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันมีสัตว์และพืช 3079 และ 2655 ชนิดตามลำดับที่จัดอยู่ในกลุ่มใกล้สูญพันธุ์ เทียบกับในปี..

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และชนิดใกล้สูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และช้าง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวยีราฟ

กลุ่มดาวยีราฟ เป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ในซีกฟ้าเหนือ แต่ไม่เด่นชัดเพราะดาวฤกษ์สมาชิกมีความสว่างน้อย ปรากฏครั้งแรกในบันทึกของจาคอบ บาร์ตช์ เมื่อ ค.ศ. 1624 แต่อาจกำเนิดขึ้นก่อนหน้านั้นโดย เพทรัส แพลนเซียส หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวยีราฟ.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และกลุ่มดาวยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

การตกมัน

ทมพอริน (temporin) ที่หลั่งออกมาในช่วงตกมัน การตกมัน (musth หรือ must) เป็นสภาวะชั่วครั้งชั่วคราวในช้างพลาย อันมีลักษณะของพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างสูง และการหลั่งฮอร์โมนสืบพันธุ์มากผิดปกติ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในช้างที่กำลังตกมันสามารถสูงถึง 60 เท่ากว่าช้างในเวลาปกติ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าการเพิ่มขึ้นผิดปกติของฮอร์โมนสืบพันธุ์ของช้างนั้นเป็นสาเหตุเดียวของการตกมัน หรือเป็นเพียงปัจจัยประกอบเท่านั้น การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการตกมันยังเป็นปัญหา เพราะช้างที่กำลังตกมัน แม้แสดงท่าทางสงบนิ่ง ก็อาจพยายามฆ่ามนุษย์ได้.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และการตกมัน · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว (adaptation, adaptive trait) มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และการปรับตัว (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

กิเลน

กิเลนในราชวงศ์ชิง ตั้งอยู่ ณ พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง - ลักษณะเขาของกิเลนใกล้เคียงกับกิเลนของทางญี่ปุ่น กิเลน (ฉีหลิน; แต้จิ๋ว: คี้ลิ้ง) และอาจสะกดเป็น Qilin, Kylin หรือ Kirin เป็นคำที่มาจากภาษาจีน ซึ่งเป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่งในเทพนิยายของจีน.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และกิเลน · ดูเพิ่มเติม »

มาดากัสการ์ 2 ป่วนป่าแอฟริกา

มาดากัสการ์ 2 ป่วนป่าแอฟริกา (Madagascar: Escape 2 Africa) เป็นภาพยนตร์ภาคต่อของ มาดากัสการ์ ออกฉายวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 กำกับโดย อีริค ดาเนล.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และมาดากัสการ์ 2 ป่วนป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟมาไซ

ีราฟมาไซ (Masai giraffe, Maasai giraffe) เป็นสปีซีส์ของยีราฟ (Giraffa) ชนิดหนึ่ง ยีราฟมาไซ พบกระจายพันธุ์มากที่สุดทางตอนใต้ของประเทศเคนยาและในประเทศแทนซาเนีย มีลักษณะเด่น คือ มีลายเป็นแผ่นเล็ก ขอบเป็นหยักขึ้นลงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างไปจากยีราฟชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด และตั้งแต่หัวเข่าลงไปจนถึงข้อเท้าจะเป็นสีขาว ไม่มีลาย ยีราฟมาไซ ในตัวผู้มีน้ำหนักตั้งแต่ 1,100–1,900 กิโลกรัม ตัวเมีย 700 กิโลกรัม ตัวผู้มีความสูงประมาณ 5.5 เมตรหรือสูงกว่า ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 4.9 เมตร ความยาวลำตัวประมาณ 2.5–3.7 เมตร ความยางหาง 75–130 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 20–28 ปี ลายของยีราฟมาไซ.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และยีราฟมาไซ · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟรอทส์ไชลด์

ีราฟรอทส์ไชลด์ (Rothschild's giraffe) เป็นชนิดย่อยของยีราฟ (G. camelopardalis) ชนิดหนึ่ง ยีราฟรอทส์ไชลด์ มีลักษณะและพฤติกรรมทั่วไปเหมือนยีราฟชนิดอื่น ๆ ต่างกันตรงที่บริเวณข้อเท้าจนถึงหัวเข่าจะมีสีขาวคล้ายสวมถุงเท้า โดยชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์นั้นตั้งมาจากชื่อของลอร์ด วอลเตอร์ รอทส์ไชลด์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษที่เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการสำรวจแอฟริกาเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ปัจจุบันยีราฟรอทส์ไชลด์ถือเป็นยีราฟชนิดหนึ่งที่หายากที่สุดในโลก โดยเหลืออยู่ไม่เกิน 670 ตัวในโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเคนยาและยูกันดา ในอดีตถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเคนยา แต่ใกล้สูญพันธุ์เพราะการล่าจากมนุษย์และสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ต่อมาได้มีสวนสัตว์เอกชนได้เพาะขยายพันธุ์จนถึงมีปริมาณมากขึ้นและนำปล่อยสู่ธรรมชาต.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และยีราฟรอทส์ไชลด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟลายร่างแห

ีราฟลายร่างแห หรือ ยีราฟโซมาลี (Reticulated giraffe, Somali giraffe) เป็นสปีชีส์ของยีราฟ (Giraffa) ชนิดหนึ่ง ยีราฟลายร่างแห มีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนกับยีราฟชนิดอื่นทั่วไป มีความแตกต่างที่ลวดลายมีขนาดใหญ่ และมีเส้นสีขาวตัดเส้นอยู่รอบ ๆ เห็นชัดเจน บางลายจะปรากฏเป็นสีแดงเข้ม และลวดลายนี้พบได้จนถึงช่วงขา ยีราฟลายร่างแห เป็นหนึ่งในยีราฟที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และพบได้ตามสวนสัตว์ทั่วไปเหมือนกับยีราฟรอทส์ไชลด์ (G. c. rothschildi) พบกระจายพันธุ์ในโซมาลี, ตอนเหนือของเคนยา และตอนใต้ของเอธิโอเปีย ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในเคนยา ยีราฟลายร่างแห ถือเป็นไฮไลต์หรือจุดสนใจในบรรดาสัตว์ป่า 5 ชนิด ที่พบได้ในนั้น ซึ่งประกอบไปด้วย ยีราฟลายร่างแห, เจเรนุค, นกกระจอกเทศโซมาลี, ม้าลายเกรวี และไบซาออริคส์ ปัจจุบัน ยีราฟลายร่างแหเหลือเพียงประมาณ 500 ตัวเท่านั้นในโลก ในประเทศไทย ในเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และยีราฟลายร่างแห · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟใต้

ีราฟใต้ หรือ ยีราฟแอฟริกาใต้ (Southern giraffe, South African giraffe) เป็นสปีซีส์ของยีราฟ (Giraffa) ชนิดหนึ่ง ยีราฟใต้ กระจายพันธุ์อยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เช่น บอตสวานา, แอฟริกาใต้, นามิเบีย อันเป็นที่มาของชื่อ มีลักษณะและพฤติกรรมทั่วไปคล้ายกับยีราฟชนิดอื่น ต่างกันตรงที่ ยีราฟใต้มีลวดลายใหญ่เหมือนแผ่นกระเบื้องสีน้ำตาลส้มหรือสีส้มขนาดใหญ่กว่า และกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ จนถึงข้อเท้.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และยีราฟใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟโซฟี

็กทารกขณะกำลังเล่นกับยีราฟโซฟี ยีราฟโซฟี (Sophie the Giraffe) เป็นของเล่นยางกัด สำหรับเด็กทารกที่มีการงอกของฟันเพื่อบริหารการฝึกเคี้ยว โดยเป็นในรูปแบบหุ่นยีราฟยางพาราสูง 6 นิ้ว.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และยีราฟโซฟี · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสกัดหิน

อุทยานแห่งชาติแคนยอนแลนด์ในยูทาห์ในสหรัฐอเมริกา งานสลักลายหินที่รู้จักกันว่า "Meerkatze" ที่เป็นภาพสิงโตต่อสู้กันที่ Wadi Methkandoushที่ลิเบีย ศิลปะสกัดหิน (Petroglyph หรือ Rock engravings) เป็นแผนภูมิรูปภาพ (pictogram) และ แผนภูมิโลโก (logogram) ที่สร้างโดยการสกัด, เซาะ, ถาก, แกะ หรือ ครูดหินจนเป็นภาพ นอกทวีปอเมริกาเหนือนักวิชาการมักจะใช้คำว่า "สลัก", "แกะ" หรือคำบรรยายอื่นในการบรรยายวิธีการสร้างภาพดังกล่าว ศิลปะสกัดหินพบทั่วไปในโลกและมักจะเกี่ยวข้อง (แต่ไม่เสมอไป) กับชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในภาษาอังกฤษคำว่า "Petroglyph" มาจากคำสองคำในภาษากรีก คำว่า "Petros" ที่แปลว่า "หิน" และ "glyphein" ที่แปลว่า "แกะสลัก" เดิมเป็นคำที่คิดขึ้นในภาษาฝรั่งเศสว่า "pétroglyphe" "ศิลปะสกัดหิน" ไม่ควรจะสับสนกับคำว่า "ศิลปะวาดบนหิน" ซึ่งเป็นภาพที่วาดบนหน้าหิน แต่ศิลปะทั้งสองแบบจัดอยู่ในกลุ่มศิลปะหิน (Rock art) หรือ ศิลปะวางหิน (Petroform) ซึ่งเป็นศิลปะของการวางก้อนหินให้เป็นลวดลายหรือทรงต่างๆ บนพื้น หรือศิลปะก่อหิน (Inukshuk) ซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่พบเฉพาะในบริเวณอาร์กติก.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และศิลปะสกัดหิน · ดูเพิ่มเติม »

สกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน

กูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวตลก แต่งเรื่องและวาดภาพโดยจิน โคบายาชิ ปัจจุบันกำลังถูกตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นแม็กกาซีนรายสัปดาห์และแม็กกาซีนสเปเชียลในประเทศญี่ปุ่น และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนออกแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2548 นอกจากนี้ยังมีโอวีเอความยาวสองตอนหนึ่งชุด วิดีโอเกมสำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 หนึ่งเกม และละครเวทีภายใต้ชื่อเดียวกันอีกหนึ่งเรื่อง.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์กิซา

วนสัตว์กิซา เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ มีพื้นที่เกือบ 100 ไร่ (0.40 กม. 2) เป็นที่จัดแสดงสัตว์ป่า สัตว์ปีก ทุกชนิด มีทั้ง อูฐ หมีดำ สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส สิงโตทะเล นกกระจอกเทศ ลิงหลากหลากชนิด นกมอคอรว์สีแดง.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสวนสัตว์กิซา · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์ย่างกุ้ง

วนสัตว์ย่างกุ้ง (ရန်ကုန်မြို့ တိရစ္ဆာန်ဥယျာဉ်; Yangon Zoological Gardens) เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในตัวเมืองย่างกุ้ง ถนนพระเจดีย์กะบะ อ.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสวนสัตว์ย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์สิงคโปร์

วนสัตว์สิงคโปร์ สวนสัตว์สิงคโปร์ (新加坡动物园; Singapore Zoo, Singapore Zoological Gardens) เป็นสวนสัตว์ในประเทศสิงคโปร์ เปิดเมื่อ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1973 ในพื้นที่ 28 เฮกตาร.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสวนสัตว์สิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์สงขลา

วนสัตว์สงขลา ตั้งอยู่ที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา สวนสัตว์สงขลาเป็นสวนสัตว์ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ สิ่งที่น่าสนใจ เช่น สวนน้ำ รีสอร์ท สัตว์ป่าที่จัดแสดงเช่น กวาง เสือโคร่ง หมี ยีราฟ เสือขาว ม้าลาย ช้าง ลิง ลิงอุรังอุตัง.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสวนสัตว์สงขลา · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์นครราชสีมา

thumb thumb thumb thumb รถกอล์ฟส่วนตัวที่ใช้ขับรถดูสัตว์ในสวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์นครราชสีมา หรือ สวนสัตว์โคราช สังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เป็นสวนสัตว์ที่จัดตั้งขึ้นในองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันสวนสัตว์นครราชสีมาอยู่ในการดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในสวนสัตว์โคราช มีสัตว์ป่าที่หาชมยากมากนัก เช่น เสือ, ยีราฟ, สิงโต, ช้าง, ม้าลาย, แรด, เม่น, นกนานาชนิด เช่น นกตะกรุม, นกกระจอกเทศ, นกฟลามิงโก และทางสวนสัตว์ไดเปิด "สวนน้ำนครราชสีมา" สวนสัตว์อีสานนี้มีพื้นที่ 545 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสวนสัตว์นครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla ซึ่งย่อยอาหารที่ประกอบด้วยพืชเป็นหลัก โดยเริ่มจากการย่อยให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรกของสัตว์นั้น ซึ่งเป็นการกระทำของแบคทีเรียเป็นหลัก แล้วจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) ค่อยเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหารนี้ เรียกว่า "การเคี้ยวเอื้อง" (ruminating) มีสัตว์เคี้ยวเอื้องอยู่ราว 150 สปีชีส์ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคี้ยวเอื้องมีทั้งปศุสัตว์ แพะ แกะ ยีราฟ ไบซัน กวางมูส กวางเอลก์ ยัค กระบือ กวาง อูฐ อัลปากา ยามา แอนทิโลป พรองฮอร์น และนิลกาย ในทางอนุกรมวิธาน อันดับย่อย Ruminanti มีสัตว์ทุกสปีชีส์ที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นอูฐ ลามาและอัลปากา ซึ่งอยู่ในอันดับย่อย Tylopoda ดังนั้น คำว่า "สัตว์เคี้ยวเอื้อง" จึงมิได้มีความหมายเหมือนกับ Ruminantia คำว่า "ruminant" มาจากภาษาละตินว่า ruminare หมายถึง "ไตร่ตรองถี่ถ้วนอีกครั้ง" (to chew over again).

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตทรานส์วาล

งโตทรานส์วาล หรือ สิงโตแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ (Transvaal lion, Southeast african lion) เป็นชนิดย่อยของสิงโตชนิดหนึ่งที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เป็นสิงโตที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ เช่น อุทยานแห่งชาติครูเกอร์และเขตสงวนส่วนบุคคลคาลาฮารี โดยที่ได้ชื่อมาจากจังหวัดทรานส์วาลในแอฟริกาใต้ โดยได้รับการจำแนกออกมาจากสิงโตแหลมกู๊ดโฮป (P. l. melanochaitus) ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งไม่แตกต่างอะไรจากสิงโตที่พบในแอฟริกาใต้ ดังนั้นสิงโตแหลมกู๊ดโฮปอาจจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนของสิงโตทรานส์วาล ตัวผู้มีขนแผงคอใหญ่และยาว มีความยาวลำตัว 2.6-3.20 เมตร รวมทั้งหาง ตัวเมียยาว 2.35-2.75 เมตร น้ำหนักของตัวผู้โดยทั่วไป 150-250 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 110-182 กิโลกรัม ความสูงที่หัวไหล่ 0.92-1.23 เมตร ล่าสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ม้าลาย, ควายป่า, แอนทิโลป เป็นอาหาร รวมถึงลูกยีราฟที่เกิดใหม่หรืออ่อนแอด้วย นอกจากนี้แล้ว สิงโตทรานส์วาลยังมีอีกประเภทหนึ่งที่หายาก คือ สิงโตขาว ที่มีลำตัวและแผงคอเป็นสีขาวเกือบทั้งหมด โดยที่ไม่ใช่สัตว์เผือก แต่เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งหาได้ยากมากและมีปริมาณที่น้อยมากแล้วในธรรมชาติ โดยจะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์เท่านั้น สิงโตทรานส์วาลมีมากกว่า 2,000 ตัวที่ได้รับการลงทะเบียนและคุ้มครองในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์The Kruger Nationalpark Map.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และสิงโตทรานส์วาล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความยาว)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และอันดับของขนาด (ความยาว) · ดูเพิ่มเติม »

อิมพอสซิเบิล ครีเชอร์

อิมพอสซิเบิล ครีเชอร์ เป็นเกมพัฒนาโดย Relic Entertainment ร่วมกับ Microsoft Game Studios เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นสามารถสร้างครึ่งตัวของสัตว์แต่ละตัวอื่นๆ และสามารถบุกทำลายฐานศัตรูได้.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และอิมพอสซิเบิล ครีเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติอารูชา

right อุทยานแห่งชาติอารูชา (Arusha National Park) ตั้งอยู่ในเขตประเทศแทนซาเนียใกล้พรมแดนประเทศเคนยา มีเนื้อที่ 137 ตารางกิโลเมตร พื้นที่อุทยานเป็นเขตป่าและไม้พุ่ม ใกล้กับยอดเขาเมรู ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับสองของประเทศแทนซาเนีย และบริเวณอุทยานเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ เช่น ควาย ช้าง ยีราฟ แรด เป็นต้น อารูชา.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และอุทยานแห่งชาติอารูชา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเมรู

อุทยานแห่งชาติเมรู (Meru National Park) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศเคนยา มีเนื้อที่ 880 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี..

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และอุทยานแห่งชาติเมรู · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี

อุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี (Serengeti National Park) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย มีเนื้อที่ประมาณ 14,750 ตารางกิโลเมตร ภายในอุทยานแห่งชาติมีทุ่งหญ้าสะวันนากว้างใหญ่ และเป็นที่พักพิงของแรดดำ และสัตว์กินพืชอีกหลากหลายชนิดกว่าล้านตัวเช่น ม้าลาย ควาย ยีราฟ และช้าง และสัตว์กินเนื้อเช่น เสือดาว สิงโต และเสือชีตาห์ หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในประเทศแทนซาเนีย หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศแทนซาเนีย.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และอุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี · ดูเพิ่มเติม »

ดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม

นีย์แอนิมอลคิงดอม (Disney's Animal Kingdom) เป็นสวนสนุกสัตว์ที่วอลต์ดิสนีย์เวิลด์รีสอร์ตในเบย์เลก รัฐฟลอริดา เป็นเจ้าของและดำเนินการโดยบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ผ่านบริษัทวอลต์ดิสนีย์พาร์ก, เอ็กซ์พีเรียนซ์แอนด์คอนซูเมอร์โปรดักส์ ซึ่งเป็นสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในโลกครอบคลุมพื่นที่กว่า 580 เอเคอร์ (2,347,177 ตารางเมตร) สวนสนุกเปิดให้บริการครั้งแรกในวันคุ้มครองโลก เมื่อวันที่ 22 เมษายน..

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม · ดูเพิ่มเติม »

คู่หูของผมเป็นลิงครับ

ู่หูของผมเป็นลิงครับ หรือที่ร้องในเพลงเปิดว่า คู่เล่นยิมของฉันเป็นลิง ในชื่อภาษาอังกฤษว่า My Gym's Partner's a Monkey เป็นการ์ตูนตลกขบขันของประเทศสหรัฐอเมริกาผลิตโดย Timothy และ Julie McNally Cahill สังกัดการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เป็นหนึ่งในผลงานต้นฉบับของการ์ตูนเน็ตเวิร์คสตูดิโอ และฉายทางช่องบูมเมอแรง.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และคู่หูของผมเป็นลิงครับ · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรโพไซดอน

ซอโรโพไซดอน (Sauroposeidon) มีชื่อมาจาก "เทพโพไซดอน" ของกรีก เป็นไดโนเสาร์ในสกุล ซอโรพอด ขนาดใหญ่ ถูกขุดพบในทวีปอเมริกาเหนือในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐโอคลาโฮมาของสหรัฐอเมริกา ถูกค้นพบครั้งแรกในปี..1994 อาศัยอยู่ในยุค ครีเตเชียสเมื่อประมาณ 110 ล้านปีที่แล้ว การวิเคราะห์ของนักนิเวศวิทยาบรรพกาล (Paleoecological) ระบุว่า ซอโรโพไซดอน อาศัยอยู่บนชายฝั่งของอ่าวเม็กซิโกในปากแม่น้ำ เช่น เดียวกับ ซอโรพอดอื่นอย่าง แบรกคิโอซอรัส เป็นสัตว์ซึ่งกินพืชเป็นอาหาร คอมีลักษณะคล้ายกับสัตว์กินพืชในยุคปัจจุบันอย่างยีราฟ.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และซอโรโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และนกกระจอกเทศ · ดูเพิ่มเติม »

แบรคิโอซอรัส

แบรคิโอซอรัส บราชิโอซอรัส ก็เรียกได้ (Brachiosaurus) หรือ แขนยาว เป็นซอโรพอดขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 30 เมตร สูง 13-15 เมตร หนัก 78 ตันหรือเท่ากับช้างแอฟริกา 15 เชือก อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อน ขุดค้นพบในอเมริกาเหนือและแอฟริกา เคยเป็นซอโรพอดที่ตัวใหญ่ที่สุดก่อนค้นพบซุปเปอร์ซอรัส อาร์เจนติโนซอรัส และ ซูเปอร์ซอรัส ลักษณะเด่นของแบรคิโอซอรัสที่ต่างจากซอโรพอดอื่นคือ บริเวณจมูกบนกระหม่อมมีโหนกยื่นขึ้นมาชัดเจนกว่าคามาราซอรัสหรือซอโรพอดอื่น หางสั้นไม่มีปลายแส้ มีขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง ทำให้ตัวลาดลงแบบยีราฟ ส่งผลให้ส่วนคอของแบรคิโอซอรัสตั้งชันสูงกว่า ทำให้มันสามารถหาใบไม้บนยอดสูงได้ดีกว่าพวกอื่น และมีประโยชน์ในการมองเห็นไดโนเสาร์กินเนื้อแต่ไกล แบรคิโอซอรัสป็นที่รู้จักมากจากการปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง "จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" แต่มีข้อวิพากษ์ถึงท่าทางในภาพยนตร์ที่มันยืน 2 ขาเพื่อยืดตัวกินยอดใบไม้ ด้วยสาเหตุที่ส่วนคอของมันตั้งสูงเหมาะกับการกินอาหารบนยอดไม้อยู่แล้ว ส่วนขาหลัง 2 ข้างของมันยังสั้นและเล็ก และสรีระทางสะโพกก็น้อย นอกจากนี้มันไม่มีท่อนหางยาวสำหรับคานน้ำหนักเหมือนซอโรพอดวงศ์ดิปพลอโดซิเด จึงไม่น่าจะแบกรับน้ำหนักของร่างกายช่วงบนเวลาที่มัน "ยืน" ไหว ดังนั้นภาพที่เห็นมันยืน 2 ขาในหนังก็ไม่น่าจะจริง.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และแบรคิโอซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

โอคาพี

อคาพี (okapi; ชื่อวิทยาศาสตร์: Okapia johnstoni) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์ Giraffidae เช่นเดียวกับยีราฟ เป็นสัตว์พื้นเมืองของเขตป่าฝนอีตูรี ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ในแอฟริกากลาง แม้ว่าโอคาพีจะมีลายแถบและรูปร่างที่คล้ายกับม้าลาย แต่ที่จริงแล้วมีสายสัมพันธ์กับยีราฟ อันเป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน และถือว่าเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นในวงศ์นี้ ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงถือว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่อีกชนิดหนึ่ง โอคาพีมีความสูงเพียงประมาณ 1.5-2 เมตร บริเวณขาทั้ง 4 ข้างและบั้นท้ายจะมีแถบดำคล้ายกับม้าลาย ส่วนบริเวณคอนั้นจะเห็นเป็นแถบไม่ชัดนัก อีกทั้งยังมีนัยน์ตาคล้ายคลึงกับกวางหรือแอนทีโลป โอคาพีตัวผู้นั้นจะมีเขา 2 เขา โดยหากมองจากด้านข้างแล้วจะทำให้ดูราวกับว่ามีเพียงเขาเดียว ซึ่งในอดีตมีผู้เคยเข้าใจว่าโอคาพี คือ ยูนิคอร์น สัตว์ในเทพปกรณัมกรีกด้วยซ้ำ แถบดำบนตัวของโอคาพีนั้น นอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยพรางตัวในธรรมชาติแล้ว ยังเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้โอคาพีวัยอ่อนสามารถที่จะสังเกตเห็นแม่ของตัวเองได้ง่ายขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าฝนที่หนาทึบ เพราะถึงแม้โอคาพีเป็นสัตว์ที่รักสันโดษ มักใช้ชีวิตตามลำพัง แต่โอคาพีตัวเมียจะดูแลและไปไหนมาไหนกับลูกของตัวเองเสมอ โดยปกติแล้ว โอคาพีมีลำตัวสีน้ำตาลแดง มีความยาวประมาณ 2-2.5 เมตรและสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ส่วนหางจะยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มวัย โอคาพีจะมีน้ำหนักอยู่ในราว 200-250 กิโลกรัม และถึงแม้ว่าลำตัวของโอคาพีจะคล้ายคลึงกับยีราฟ แต่ลำคอก็มิได้ยืดยาวเหมือนยีราฟแต่อย่างใด โอคาพีเป็นที่รู้จักครั้งแรกของโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากการค้นพบของเซอร์แฮร์รี จอห์นสตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งจักรวรรดิอังกฤษ ที่พบเห็นชาวปิกมีนุ่งห่มหนังของโอคาพี ในครั้งแรกเซอร์จอห์นสตันเข้าใจว่าเป็นหนังของม้าลายหน้า 71-72, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีโอคาพีอยู่ในป่าที่ประมาณ 10,000–20,000 ตัวใน..

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

ไวลด์ไลฟ์พาร์ก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และไวลด์ไลฟ์พาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ไวลด์ไลฟ์พาร์ก 2

วล์ดไลฟ์ ปาร์ค 2,หรือสวนสัตว์ป่า,เป็นเกมส์บริหารการสร้างสวนสัตว์พัฒนาโดย Deep Silver ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 2006 ในประเทศอังกฤษ กับ ประเทศเยอรมนี และ ตุลาคม พ.ศ. 2549 ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีภาคเสริม 2 อันได้แก่ Crazy Zoo และ Marine World.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และไวลด์ไลฟ์พาร์ก 2 · ดูเพิ่มเติม »

เกรินุก

กรินุก, วอลเลอส์กาเซลล์ หรือ แอนทิโลปคอยีราฟ (gerenuk, Waller's gazelle, giraffe-necked antelope) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovinae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Litocranius มีลักษณะทั่วไปเหมือนสัตว์ชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันไป แต่มีลักษณะเด่นคือ มีคอยาวและขายาวกว่าชนิดอื่น ๆ ซึ่งคำว่า "เกรินุก" นั้นมาจากคำในภาษาโซมาเลีย หมายถึง "คอยีราฟ" เพราะเกรินุกมีพฤติกรรมการกินอาหารที่แปลก คือ มักจะยืนบนสองขาหลัง ทำให้สามารถยืดคอขึ้นไปกินใบไม้ที่อยู่สูงขึ้นไปเหมือนยีราฟ ส่วนสองขาหน้าจะใช้เกาะกิ่งไม้ไว้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ในตัวผู้จะมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม ในตัวเมีย 33 กิโลกรัม มีความสูงวัดจากเท้าจนถึงหัวไหล่ประมาณ 85 เซนติเมตรจนถึง 1 เมตร ความยาวลำตัวประมาณ 1.5-1.6 เมตร ความยาวหาง 25-30 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10-12 ปี ตัวผู้มีเขาที่โค้งงอสวยงาม ขณะที่ตัวเมียไม่มีเขาและตัวเล็กกว่า ขณะกินใบไม้ ในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรูในเคนยา เกรินุกถือเป็นจุดสนใจในบรรดาสัตว์ป่า 5 ชนิดที่พบได้ในนั้น ซึ่งประกอบไปด้วยเกรินุก, ยีราฟลายร่างแห, นกกระจอกเทศโซมาลี, ม้าลายเกรวี และไบซาออริกซ์ จะพบได้ในเขตแอฟริกาตะวันออก เฉพาะที่เขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรูเท่านั้น.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และเกรินุก · ดูเพิ่มเติม »

เจิ้งเหอ

รูปวาดเจิ้งเหอในจินตนาการของศิลปินที่ไม่ทราบชื่อ เจิ้งเหอ (แต้จิ๋ว: แต้ฮั้ว) เป็นผู้บัญชาการทหารเรือจีนในยุคราชวงศ์หมิง (明; Ming) มีบันทึกว่าเจิ้งเหอเริ่มเดินทางรอบโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1421 และเคยติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาด้วย มีผู้เสนอทฤษฎีว่า เจิ้งเหอน่าจะค้นพบทวีปอเมริกาก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส โดยไม่มีหลักฐานใดๆมายืนยันได้ชัดเจนเลยว่าเจิ้งเหอเคยเดินทางผ่านแอฟริกาใต้ หรือ อเมริกา เจิ้งเหออาจเป็นแค่ทฤษฎีที่ชาวต่างชาติบางคนคิดขึ้นมาเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองเท่านั้น.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และเจิ้งเหอ · ดูเพิ่มเติม »

เทวดาท่าจะบ๊องส์ ภาคพิสดาร ตอน ตะลุยซาฟารี

ทวดาท่าจะบ๊องส์ ภาคพิสดาร ตอน ตะลุยซาฟารี (อังกฤษ Crazy Safari) เป็นภาพยนตร์ตลกต้นทุนต่ำ สร้างโดยผู้สร้างภาพยนตร์จากฮ่องกง ออกฉายครั้งแรกเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2534.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และเทวดาท่าจะบ๊องส์ ภาคพิสดาร ตอน ตะลุยซาฟารี · ดูเพิ่มเติม »

เทอโรซอร์

ทอโรซอร์ (Pterosaur; จากภาษากรีก "πτερόσαυρος", "pterosauros", หมายถึง "กิ้งก่ามีปีก") เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง ที่ชีวิตและอาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ มีลักษณะพิเศษคือ สามารถบินได้ โดยใช้ปีกขนาดใหญ่ที่มีพังผืดเหมือนค้างคาวเป็นอวัยวะสำคัญ ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วพร้อมกับไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ จัดอยู่ในอันดับ Pterosauria โดยมักจะถูกเรียกว่า "ไดโนเสาร์บินได้" แต่ทั้งนี้เทอโรซอร์มิได้จัดว่าเป็นไดโนเสาร์แต่อย่างใด เหมือนกับ เพลสิโอซอร์, โมซาซอร์ หรืออิกทิโอซอรัส ที่พบในทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้แล้วเทอโรซอร์ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ เทอโรแดกทิล โดยคำว่าเทอโรแดกทิลนั้นหมายถึงเทอโรซอร์ในระยะหลังที่มีขนาดใหญ่ และไม่มีฟัน และในทางเทคนิคจะหมายถึงเทอโรซอร์ในสกุล เทอโรแดกทิลัส เทอโรซอร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก สืบทอดเผ่าพันธุ์และครองโลกมาอย่างยาวนานถึง 162 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปทั้งหมดในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลายเช่นเดียวกับไดโนเสาร์ ปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาได้จำแนกความหลากหลายของเทอโรซอร์ออกได้มากกว่า 200 ชนิด มีความแตกต่างหลากหลายกันออกไปในแต่ละชนิดหรือแต่ละวงศ์ เทอโรซอร์ถูกค้นพบครั้งแรกในรูปแบบซากดึกดำบรรพ์ในยุคศตวรรษที่ 19 ซากดึกดำบรรพ์ของเทอโรซอร์พบได้ในทั่วทุกภูมิภาคของโลก เทอโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดถือกำเนิดในยุคไทรแอสซิกเมื่อ 228 ล้านปีก่อน โดยบรรพบุรุษของเทอโรซอร์นั้นมีรูปร่างเล็กมาก โดยมีขนาดพอ ๆ กับนกกระจอกในยุคปัจจุบัน เช่น พรีออยแดกกิลุส บัฟฟารีนีโอ ที่มีความกว้างของปีกแค่ 0.5 เมตร เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในป่าทึบกินแมลง เช่น แมลงปอ เป็นอาหาร หรือแครีเรมัส เซซาพลาเนนซิส ที่มีความกว้างของปีก 1 เมตร เทอโรซอร์ในยุคแรกจะมีขนาดลำตัวเล็ก บางจำพวกมีหางยาว เช่น ดิมอร์โฟดอน แมโครนิกซ์ ที่มีความกว้างของปีก 1.2 เมตร น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม มีหางยาวที่แข็ง คอสั้น หัวมีขนาดใหญ่ มีฟันแหลมคม และกระดูกกลวงบางส่วน ทั้งนี่้เชื่อว่าเทอโรซอร์วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ๆ ที่กระโดดหรือใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้เป็นหลักด้วยการหากินและหลบหลีกศัตรู เทอโรซอร์ ได้วิวัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นตามยุคสมัยไปเรื่อย ๆ เช่น ยุคจูแรสซิก จนกระทั่งถึงยุคครีเตเชียส เทอโรซอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เคตซัลโคแอตลัส นอร์โทรพี มีความสูงเท่า ๆ กับยีราฟ มีความกว้างของปีก 10.5 เมตร พอ ๆ กับเครื่องบินรบเอฟ-16 น้ำหนักตัวถึง 200 กิโลกรัม เฉพาะส่วนหัวรวมถึงจะงอยปากด้วยก็ยาวถึง 3 เมตรแล้ว จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่บินได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา และเชื่อว่าชอบที่จะกินลูกโดโนเสาร์เป็นอาหาร ตามหลักฐานจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์ในยุคหลังนั้นมีขนปกคลุมลำตัวบาง ๆ ด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทั้งนี้มีไว้เพื่อเป็นเสมือนฉนวนกักความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น เจโฮลอปเทอรัส ที่พบในจีน ซึ่งมีลักษณะปากกว้างคล้ายกบ เป็นต้น เทอโรซอร์ใช้ลักษณะการบินแบบเดียวกับค้างคาว เมื่ออยู่กับพื้นจะใช้วิธีการทะยานตัวออกไปจากท่ายืนสี่เท้าโดยรยางค์ของร่างกาย มีตีนขนาดเล็กเพื่อช่วยลดแรงต้าน เมื่อบินสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางการบินได้เล็กน้อย เช่น การหดกล้ามเนื้อปีก หรือขยับข้อเท้าเข้าและออก การเปลี่ยนมุมกระดูกข้อปีก เป็นต้น เมื่อเทียบกับนกแล้ว เทอโรซอร์ยังมีกล้ามเนื้อสำหรับการบินมากกว่า และมีสัดส่วนของน้ำหนักร่างกายมากกว่า แม้แต่สมองก็ดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อการบิน โดยมีกลีบสมองขยายใหญ่ขึ้นเพื่อประมวลผลข้อมูลประสาทรับความรู้สึกที่ซับซ้อนจากเยื่อปีก เทอโรซอร์มีไหล่ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และลักษณะปีกของเทอโรซอร์ประกอบด้วยเยื่อที่ยึดติดกับสีข้างจากไหล่ไล่ลงไปจนถึงข้อเท้าแต่ละข้าง และเหยียดออกโดยนิ้วที่สี่ที่ยืดยาวไปอย่างน่าทึ่งไปตามขอบหน้าของปีก เยื่อปีกร้อยรัดไปด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเลือด และเสริมความแข็งแกร่งด้วยพังผืด ลักษณะของเทอโรซอร์นั้นมีความแตกต่างหลากหลายกันมาก บางจำพวกมีหงอนด้วย สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับดึงดูดเพศตรงข้าม โดยว่ามีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป เช่น ทูนแพนแดกทิอุส แนวีแกนส์ ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในยุคแรก ๆ และ ทาเลสไซโครมีอุส เซที ที่มีช่วงปีกกว้าง 4 เมตร เชื่อว่ามีหงอนที่มีสีสันที่สดใส จะงอยปากก็มีความหลากหลายแตกต่างออกไปตามแต่ลักษณะการใช้หาอาหาร เช่น บางชนิดมีฟันแหลมคมเต็มปากเห็นได้ชัดเจนใช้สำหรับการจับปลาในน้ำ เช่น แอนเฮงรา พิสเคเตอร์ หรือ ซันแกริปเทอรัส ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่มีจะงอยปากยาวและงอนขึ้นใช้สำหรับสำรวจและช้อนเอาสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกสันหลังหรือครัสเตเชียนกินเป็นอาหาร หรือบางจำพวก หากินโดยการใช้วิธีการยืนในแหล่งน้ำเค็มตื้น ๆ แล้วใช้การกรองกินสัตว์ขนาดเล็ก ๆ จำพวกครัสเตเชียน เหมือนกับวิธีการกินของนกฟลามิงโกในยุคปัจจุบัน หรือบางสกุล เช่น นิกโตซอรัส ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในทะเลลักษณะคล้ายนกอัลบาทรอสที่มีระยะระหว่างปลายปีกสองข้างกว้างเกือบ 3 เมตร มีอัตราส่วนการร่อน หรือระยะทางที่เคลื่อนไปข้างหน้าได้ต่อการลดระดับลงทุกหนึ่งเมตร จัดเป็นนักร่อนชั้นดี และจากการพบลักษณะของซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์บางกลุ่มก็อาศัยอยู่รวมกันเป็นนิคมหรือคอโลนีเหมือนกับนกทะเลหลายชนิดในปัจจุบัน คือ ไคยัวฮารา โครบรัสกิอี โดยพบหลักฐานว่า ตายพร้อมกันถึง 47 ตัว หน้า 26-45, เทอโรซอร์ ปีกพิศวงสุดแสนพิศดาร โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และเทอโรซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

Power Animals

Power Animals เป็นตัวละครในเรื่อง "กาโอเรนเจอร์" ทั้งหมดเป็นสัตว์ยนตร์ที่รูปแบบคล้ายกับสัตว์ทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ทั่วๆไป มีความสามารถในการต่อสู้ และรวมร่างกับสัตว์ตัวอื่นๆ เพื่อกลายเป็นหุ่นยนต์ขนาดยักษ์ ใช้ในการต่อสู้กับออร์คที่ขยายร่าง เหล่า Power animals โดยมากมักจะใช้ชีวิตใน สวนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะลอยฟ้าขนาดยักษ์รูปตะพาบน้ำ สามารถเรียกกาโอเรนเจอร์ ขึ้นไปได้ หรือ สามารถเรียกPA จากสวนสวรรค์ได้โดยตรง แต่ส่วนมาก มักใช้ ดาบราชันย์สรรพสัตว์ในการเรียกเหล่า Power Animals เพื่อลงมาทำการต่อสู้กับออร.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และPower Animals · ดูเพิ่มเติม »

1 E0 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวที่อยู่ระหว่างหนึ่งเมตร และสิบเมตร ---- ความยาวน้อยกว่า 1 เมตร ----.

ใหม่!!: ยีราฟ (สกุล)และ1 E0 m · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GiraffaGiraffa camelopardalisGiraffeยีราฟ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »