โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยีน

ดัชนี ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

181 ความสัมพันธ์: Aspergillus oryzaeชีววิทยาชีววิทยาของความซึมเศร้าชีวสังเคราะห์โปรตีนชีวสารสนเทศศาสตร์ชีวสถิติชีวิตบทนำพันธุศาสตร์บทนำวิวัฒนาการช้างแอฟริกาฟีนิลคีโตนูเรียพรีออนพันธุศาสตร์พันธุศาสตร์คลาสสิกกระดูกอ่อนไม่เจริญกรดยูริกกลุ่มอาการวิลเลียมกลุ่มอาการดาวน์กลุ่มอาการแองเกลแมนการกลายพันธุ์การสืบเชื้อสายร่วมกันการสุ่มแบบเมนเดลการหลั่งน้ำอสุจิการทดสอบเอมส์การควบคุมการแสดงออกของยีนการซ่อมแซมดีเอ็นเอการประทับตราทางพันธุกรรมการปรับตัว (ชีววิทยา)การปรับตัว (นิเวศวิทยา)การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการแสดงออกของยีนการเกิดสปีชีส์การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ภาวะพร่องเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรสภาวะกรดยูริกเกินในเลือดภาวะกะเทยแท้ภาวะเหล็กเกินมะแพร้วมะเร็งเต้านมมันฝรั่งมนุษย์มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันมนุษย์โบราณยาแก้สรรพโรคยีน (แก้ความกำกวม)ยีนเทียมรหัสพันธุกรรมรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์...รูปแบบพันธุกรรมรูปแบบปรากฏลักษณะปรากฏลำดับสงวนวิลเฮล์ม โยฮันน์เซินวิวัฒนาการวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมตวิวัฒนาการของมนุษย์สิงโตสิงโตขาวสตรอว์เบอร์รีหมาหูชั้นในรูปหอยโข่งหน่วยรับกลิ่นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนอวัยวะของคอร์ติอะมิกาซินอะมิกดะลาอัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษอัลลีลอันดับกบอาการไม่ไวความเจ็บปวดแต่กำเนิดอาร์เอ็นเออณูชีววิทยาอณูพันธุศาสตร์อโกรแบคทีเรียมฮือโค เดอ ฟรีสฮีโมฟิเลีย บีจอตาจิตพยาธิวิทยาสัตว์จิตวิทยาเชิงบวกจุดภาพชัดเสื่อมจีน (แก้ความกำกวม)จีนีติซินจีโนมทายกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดลทาลัสซีเมียแบบบีตาทาลัสซีเมียแบบแอลฟาทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาทูเบอรัส สเคลอโรซิสที. คอลิน แคมป์เบลล์ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมข้าวทองดีเอ็นเอคริสเปอร์คลอแรมเฟนิคอลควากกาความสำเร็จในการสืบพันธุ์ความผันแปรได้ทางพันธุกรรมความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลายความจำความจำอาศัยเหตุการณ์ความดันโลหิตสูงความเชื่อมโยงของพันธุกรรมความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกความเหมาะสมความเอนเอียงในการตีพิมพ์ความเด่น (พันธุศาสตร์)คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ค้างคาวแวมไพร์ธรรมดาตัวกระตุ้นตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดต่อมคาวเปอร์ซิสติก ไฟโบรซิสซูเปอร์เทสเตอร์ปมประสาทรากหลังประสาทวิทยาศาสตร์ประสาทสัมผัสนกกระเรียนไทยนิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 1นิวโรเล็กซ์นิวเคลียสของเซลล์นีแอนเดอร์ทาลน้ำอสุจิแบคทีเรียดื้อยาแมวไทยแล็กโทสโพลีคีไทด์โรคโรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลังโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์โรคกุ้งตายด่วนโรควิตกกังวลไปทั่วโรคอัลไซเมอร์โรคฮีโมฟิเลียโรคจอตามีสารสีโรคทางพันธุกรรมโรคของไอออนแชนเนลโรคซึมเศร้าโรคใคร่เด็กโรคไวรัสอีโบลาโรคเกาต์โลคัส (พันธุศาสตร์)โลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณโครงการจีโนมมนุษย์โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิกโครโมโซมโปรตีนไกอาเมมโมรี่ไรโบโซมไวรัสไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่นไข้เด็งกีไซโกซิตีเบวะซิซิวแมบเกล็ดปลาเคซีนเตตราโครมาซีเซลล์ (ชีววิทยา)เซลล์รับแสงเซลล์ขนเปลือกสมองComplementary DNACYP2A6CYP2B6CYP3A4CYP3A43CYP3A5CYP3A7Gene flowMycoplasma laboratoriumNeuroticismNon-coding RNARNA interferenceSelective serotonin re-uptake inhibitorsStereociliaThe China Study ขยายดัชนี (131 มากกว่า) »

Aspergillus oryzae

Aspergillus oryzae เป็นเชื้อรา (mold) ประเภทที่มีเส้นใย อยู่ในสกุล Aspergillus ซึ่งใช้ประโยชน์ในการหมักอาหาร โดยราชนิดนี้จะนิยมใช้ในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่นสำหรับการหมักซีอิ๊วจากถั่วเหลือง โดยเตรียมอยู่ในรูปของโคจิ (koji) ซึ่งเป็นหัวเชื้อที่ใช้เพื่อการหมัก นอกจากนั้นยังใช้กับกระบวนการ Saccharify (กระบวนการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล) ในข้าว ธัญพืช และมันฝรั่งในการทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น huangjiu, สาเก, มักก็อลลี และ shōchū ซึ่งการนำ A. oryzae มาใช้นั้นมีมาตั้งแต่ 2,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้ในการทำน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าว Dr.

ใหม่!!: ยีนและAspergillus oryzae · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: ยีนและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยาของความซึมเศร้า

งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า บริเวณสมองเป็นจำนวนมากทำงานเปลี่ยนไปในคนไข้โรคซึมเศร้า ซึ่งให้กำลังใจแก่ผู้สนับสนุนทฤษฎีหลายอย่างที่พยายามกำหนดเหตุทางชีวภาพ-เคมีของโรค เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่เน้นเหตุทางจิตหรือทางสถานการณ์ มีทฤษฎีหลายอย่างในเรื่องเหตุทางชีววิทยาของโรคซึมเศร้าที่ได้รับการเสนอ และที่เด่นที่สุดมีการวิจัยมากที่สุดก็คือสมมติฐานโมโนอะมีน (monoamine hypothesis).

ใหม่!!: ยีนและชีววิทยาของความซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ชีวสังเคราะห์โปรตีน

tRNA โปรตีนที่สังเคราะห์ใหม่ (''สีดำ'') จะถูกปรับแต่งต่อไป เช่น การเชื่อมต่อกับโมเลกุลเอฟเฟคเตอร์ (''สีส้ม'') กลายเป็นโมเลกุลที่แอกตีฟเต็มที่ต่อไป การสังเคราะห์ (Protein biosynthesis (Synthesis)) เป็นกระบวนการสร้างโปรตีนที่เกิดขึ้นใน เซลล์ กระบวนการสร้างโปรตีนมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ ทรานสคริปชั่นและจบที่ ทรานสเลชั่น การสังเคราะห์โปรตีนโดยทั่วไปถึงแม้จะเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกันในระหว่าง โปรแคริโอต และ ยูแคริโอต.

ใหม่!!: ยีนและชีวสังเคราะห์โปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ชีวสารสนเทศศาสตร์

การทำความเข้าใจข้อมูลดีเอ็นเอ (ในภาพ) จำนวนมหาศาล จากโครงการจัดลำดับรหัสพันธุกรรมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่ชีวสารสนเทศศาสตร์เผชิญ ชีวสารสนเทศศาสตร์ หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (Bioinformatics หรือ Computational Biology) เป็นสาขาที่ใช้ความรู้จากคณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาทางชีววิท.

ใหม่!!: ยีนและชีวสารสนเทศศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวสถิติ

ีวสถิติ เป็นสาขาวิชาประยุกต์ของสถิติศาสตร์เพื่อใช้ในทางชีววิทยา และยังมีการประยุกต์เฉพาะในทางการแพทย์และเกษตรกรรม.

ใหม่!!: ยีนและชีวสถิติ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ยีนและชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

บทนำพันธุศาสตร์

ันธุศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยพันธุกรรม (ยีน) และการทำงานของพันธุกรรม ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่นได้ เช่น เด็กมักมีหน้าตาเหมือนพ่อแม่ เนื่องจากได้รับพันธุกรรมมาจากพ่อแม่ วิชาพันธุศาสตร์จะพยายามค้นหาว่าลักษณะใดบ้างที่มีการถ่ายทอด และการถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจะถูกเรียกว่า "trait" ลักษณะบางอย่างแสดงออกเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ เช่น สีตา ความสูง น้ำหนัก ลักษณะบางอย่างมองเห็นไม่ได้หรือเห็นได้อย่างเช่นหมู่เลือดหรือความต้านทานโรค ลักษณะบางอย่างอาจเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์อย่างซับซ้อนระหว่างยีนและสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดมะเร็งหรือโรคหัวใจมีผลจากทั้งยีนและการปฏิบัติตัว เป็นต้น ยีนประกอบด้วยโมเลกุลขนาดยาวที่เรียกว่าดีเอ็นเอ ซึ่งมีการคัดลอกและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น โมเลกุลดีเอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยมาต่อกันเป็นสายยาว ลำดับของหน่วยย่อยนี้เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมเอาไว้ คล้ายกับที่ตัวอักษรแต่ละตัวมาเรียงกันและเก็บข้อมูลเอาไว้ในรูปของประโยค "ภาษา" ที่ดีเอ็นเอใช้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม รหัสนี้จะถูกถอดรหัสโดยกลไกทางพันธุกรรมเพื่อ "อ่าน" ข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในยีนในรูปของโคดอนที่แต่ละโคดอนประกอบด้วยรหัส 3 ตัว ข้อมูลเหล่านี้จะถูกทำไปใช้สร้างเป็นสิ่งมีชีวิต ข้อมูลในยีนยีนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ แต่ละตัว ยีนที่แตกต่างกันอาจให้ข้อมูลออกมาแตกต่างกันได้ โดยเรียกยีนหนึ่งๆ ในรูปแบบหนึ่งๆ ว่าอัลลีล ตัวอย่างเช่น อัลลีลหนึ่งของยีนที่ควบคุมสีผมสามารถสั่งให้ร่างกายสร้างเม็ดสีมากๆ ทำให้ผมมีสีดำ ในขณะที่อัลลีลอีกแบบหนึ่งของยีนเดียวกันอาจให้ข้อมูลที่แตกต่างออกไป ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสีได้ดีเท่า ผมจึงมีสีเทา เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงแบบสุ่มที่เกิดขึ้นในยีนเรียกว่าการกลายพันธุ์ และอาจทำให้เกิดอัลลีลใหม่ได้ การกลายพันธุ์อาจทำให้เกิดลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมา เช่นอัลลีลผมสีดำอาจกลายพันธุ์ทำให้เกิดเป็นอัลลีลผมสีเทาได้ การเกิดลักษณะใหม่ขึ้นได้เช่นนี้เป็นส่วนสำคัญในการเกิดวิวัฒนาการ.

ใหม่!!: ยีนและบทนำพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ยีนและบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแอฟริกา

้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน ช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง") ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ยีนและช้างแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ฟีนิลคีโตนูเรีย

ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria หรือ Phenylpyruvic oligophrenia; ย่อ: PKU) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางเมแทบอลิซึมของร่างกาย โรคนี้ถ่ายทอดทางโครโมโซมทั่วไป (autosome) ซึ่งไม่ใช่โครโมโซมเพศ ควบคุมด้วยยีนลักษณะด้อย โดยโครโมโซมดังกล่าวมีความบกพร่องของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฟีนิลอะลานีนไฮดรอกซิเลส ผู้ที่เป็นโรคนี้จึงไม่สามารถสร้างเอนไซม์ดังกล่าวได้ มีผลให้ไม่สามารถย่อยสลายกรดอะมิโน ฟีนิลอะลานีนไปเป็นไทโรซีนเหมือนคนปกติ จึงเกิดภาวะฟีนิลอะลานีนสะสมในเลือดมากผิดปกติ และมีกรดฟีนิลไพรูวิกและกรดอินทรีย์อื่นปนในปัสสาวะ รวมทั้งอาการโลหิตเป็นพิษด้วย ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวมักมีภาวะปัญญาอ่อนด้วย ผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เหมือนคนทั่วไป ไม่เฉพาะแอสปาร์แตม จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าคนไทยเป็นโรคนี้น้อยมาก ไม่ถึง 1 ในประชากร 100,000 คน โรคฟีนิลคีโตนูเรียมักพบได้บ่อยในคนผิวขาว อุบัติการณ์ประมาณ 1 ต่อ 1 หมื่นในคนผิวขาว ประเทศไทยพบน้อยประมาณ 1 ต่อ 2 แสน ปีหนึ่งพบทารกแรกเกิดเป็นโรคนี้ประมาณ 4 ราย หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ทารกจะมีพัฒนาการช้า ปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง แต่ในปัจจุบันทารกแรกเกิดในประเทศไทยกว่า 95% ได้รับการตรวจกรองทารกแรกเกิด สำหรับโรคฟีนิลคีโตนูเรีย และภาวะไทรอยด์ต่ำแต่กำเนิด โดยทางโรงพยาบาลจะทำการเก็บตัวอย่างเลือดด้วยการเจาะส้นเท้าของทารกหยดลงบนกระดาษซับกรอง และส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการตรวจคัดกรองด้วยวิธีนี้ทำมาเป็น 10 ปีแล้ว การเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจมักจะรู้ผลอย่างช้าที่สุดภายใน 1 เดือน หากพบว่าฟีนิลอะลานีนในเลือดมีค่าเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย โดยในคนปกติ ระดับของสารฟีนิลอะลานีนจะต่ำกว่า 2 มิลลิ กรัมเปอร์เซ็นต์ แต่ในรายที่เป็นโรคไม่รุนแรง ระดับของสารฟีนิลอะลานีนอาจจะมีค่าต่ำกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โดยอาจจะอยู่ที่ 5 หรือ 10 หรือ 12 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะทำให้ระดับไอคิวต่ำกว่าคนปกติ หมวดหมู่:โรคทางพันธุกรรม ฟีนิลคีโตนูเรีย.

ใหม่!!: ยีนและฟีนิลคีโตนูเรีย · ดูเพิ่มเติม »

พรีออน

รีออน (Prion) คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน ทนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั้งร้อนและเย็น ทนต่อความแห้ง ทนต่อแสงยูวี ทนต่อการย่อยสลายโดยเอนไซม์ทั้ง protease และ nuclease สามารถติดต่อระหว่างสิ่งมีชีวิตและก่อโรคได้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า proteinaceous infectious particle คำว่า พรีออน เป็นคำเรียกที่แบบคำผวนของคำนี้เพราะว่า โพรอีน ฟังสับสนกับสารหลายชนิด ผู้ตั้งคำว่า พรีออน คือนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลปี..

ใหม่!!: ยีนและพรีออน · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: ยีนและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์คลาสสิก

พันธุศาสตร์คลาสสิกคือชุดของความรู้ทางพันธุศาสตร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นก่อนจะมีการพัฒนาพันธุศาสตร์ยุคใหม่อย่างอณูพันธุศาสตร์ การค้นพบที่สำคัญของพันธุศาสตร์คลาสสิกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นยูคาริโอตคือความเชื่อมโยงของพันธุกรรม ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการสังเกตพบว่ายีนบางยีนไม่มีการแยกส่วนอย่างอิสระในขั้นตอนไมโอซิส ซึ่งเป็นการขัดกับกฎของทายกรรมเมนเดเลียน นำไปสู่การพัฒนาความรู้ในการหาทางสร้างแผนที่ที่ระบุตำแหน่งบนโครโมโซม แผนที่ความเชื่อมโยงนี้ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในการพัฒนาพันธุ์พืช หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก.

ใหม่!!: ยีนและพันธุศาสตร์คลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อนไม่เจริญ

กระดูกอ่อนไม่เจริญ (achondropalsia) เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของภาวะแคระ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการกลายพันธุ์ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์แบบสุ่ม และอีกส่วนหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาในลักษณะทางการถ่ายทอดแบบทายกรรมลักษณะด้อย ผู้ป่วยจะมีการกลายพันธุ์ในยีน fibroblast growth factor receptor 3 ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเจริญของกระดูกอ่อน ผู้ป่วยจะมีร่างเตี้ย ความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 131 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย และ 123 เซนติเมตร สำหรับผู้หญิง หมวดหมู่:ความบกพร่องของรีเซพเตอร์ผิวเซลล์ หมวดหมู่:ความผิดปกติของการเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ยีนและกระดูกอ่อนไม่เจริญ · ดูเพิ่มเติม »

กรดยูริก

กรดยูริก (Uric acid) เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic) ที่มีคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยมีสูตรเคมีเป็น C5H4N4O3 มันมีรูปแบบทั้งเป็นไอออนและเกลือที่เรียกว่าเกลือยูเรต (urate) และเกลือกรดยูเรต (acid urate) เช่น ammonium acid urate กรดยูริกเป็นผลของกระบวนการสลายทางเมแทบอลิซึมของนิวคลีโอไทด์คือพิวรีน (purine) และเป็นองค์ประกอบปกติของปัสสาวะ การมีกรดยูริกในเลือดสูงอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ และสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน และนิ่วในไตที่เกิดจาก ammonium acid urate.

ใหม่!!: ยีนและกรดยูริก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการวิลเลียม

กลุ่มอาการวิลเลียม (Williams syndrome, Williams-Beuren syndrome) เป็นโรคของพัฒนาการระบบประสาทที่พบน้อยโรคหนึ่ง เกิดจากการหลุดหายของยีนประมาณ 26 ยีนบนแขนข้างยาวของโครโมโซมคู่ที่ 7 มีลักษณะเฉพาะคือผู้ป่วยมีใบหน้าคล้ายภูติเอลฟ์ จมูกแบน พฤติกรรมร่าเริงผิดปกติ เข้ากับคนแปลกหน้าง่าย พัฒนาการล่าช้า พัฒนาการใช้ภาษาล่าช้า มีปัญหาระบบหัวใจหลอดเลือด เช่น ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบที่ตำแหน่ง supravalvular และภาวะแคลเซียมในเลือดสูงชั่วคราว (transient hypercalcemia) ถุกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1961 โดย Dr.

ใหม่!!: ยีนและกลุ่มอาการวิลเลียม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการดาวน์

กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคพันธุกรรมที่ที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า แฝดสามของโครโมโซม (trisomy) 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า การสับเปลี่ยนของโครโมโซม (translocation) คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคน ๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า โมเซอิค (mosaic) ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งขณะตั้งครรภ์ผ่านการคัดกรองขณะตั้งครรภ์และตามด้วยการตรวจวินิจฉัยยืนยัน หรือวินิจฉัยได้หลังคลอดผ่านการตรวจร่างกายและการตรวจพันธุกรรม ในปัจจุบันเมื่อมีการตรวจคัดกรองแพร่หลาย ผู้ตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งเลือกยุติการตั้งครรภ์เมื่อตรวจพบภาวะนี้ ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ควรได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพเป็นระยะตลอดชีวิต ผู้ป่วยสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ผ่านการศึกษาและการดูแลที่เหมาะสม หลายคนสามารถเข้าโรงเรียนและเรียนในชั้นเรียนปกติได้ บางรายอาจต้องได้รับการศึกษาพิเศษ บางรายจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย และจำนวนหนึ่งเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์วัยผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริการ้อยละ 20 ทำงานและมีรายได้ในระดับหนึ่ง แม้หลายคนจะจำเป็นต้องได้รับการจัดสถานที่ทำงานเป็นพิเศษ หลายรายจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินและทางกฎหมาย อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ที่ 50-60 ปี ในประเทศพัฒนาแล้วที่มีบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่งในมนุษย์ โดยพบในทารกแรกเกิดมีชีวิตถึง 1 ใน 1000 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 36,000 ราย ใน..

ใหม่!!: ยีนและกลุ่มอาการดาวน์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการแองเกลแมน

กลุ่มอาการแองเกลแมน (Angelman syndrome, AS) เป็นโรคพันธุกรรมเกี่ยวกับระบบประสาท มีลักษณะเฉพาะคือผู้ป่วยจะมีความบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ การนอนหลับมีปัญหา มีอาการชัก มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ หัวเราะหรือยิ้มบ่อย แลดูมีความสุขผิดปกติ กลุ่มอาการแองเกลแมนเป็นตัวอย่างที่นิยมใช้ทั่วไปของกระบวนการประทับตราทางพันธุกรรม (genomic imprinting) ซึ่งมักเกิดจากการหลุดหาย (deletion) หรือการยับยั้งการทำงานของยีนบนโครโมโซม 15 ที่ได้รับมาจากแม่ ในขณะที่ยีนบนโครโมโซม 15 อีกแท่งหนึ่งซึ่งได้รับมาจากพ่อนั้นถูก "ประทับตรา" (imprint) ไว้ทำให้ไม่มีการทำงาน กลุ่มอาการอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเรียกว่ากลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี เกิดจากการหายไปของยีนในตำแหน่งเดียวกันซึ่งได้รับมาจากพ่อ โดยยีนของฝั่งแม่ที่มีอยู่ถูกประทับตราไว้ ชื่อเดิมของกลุ่มอาการแองเกลแมนคือกลุ่มอาการแฮปปี้พัพเพ็ท (happy puppet syndrome, กลุ่มอาการ "หุ่นกระบอกที่มีความสุข") ซึ่งมักถูกถือว่าเป็นการใช้ชื่อที่ไม่สุภาพ เป็นมลทินกับผู้ป่วย จนปัจจุบันกลายเป็นชื่อไม่ได้รับการยอมรับ บางครั้งผู้ป่วยกลุ่มอาการแองเกลแมนอาจถูกเรียกว่า แองเจล (angels, นางฟ้า/เทวดา) ส่วนหนึ่งมาจากชื่อโรคและลักษณะภายนอกที่ดูมีความสุขตลอดเวล.

ใหม่!!: ยีนและกลุ่มอาการแองเกลแมน · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

ใหม่!!: ยีนและการกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบเชื้อสายร่วมกัน

ในสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ การสืบเชื้อสายร่วมกัน หรือ การสืบสกุลร่วมกัน (Common descent) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้สุด (most recent common ancestor, MRCA) อย่างไร มีหลักฐานว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน และในปี 2559 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ระบุยีน 355 ตัวจากบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีบรรพบุรุษร่วมกันในช่วงการเกิดสปีชีส์ ที่สปีชีส์ต่าง ๆ จะกำเนิดจากกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกัน โดยกลุ่มที่มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้กันกว่า ก็จะเป็นญาติใกล้ชิดกันมากกว่า และสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดก็ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันที่เรียกว่า บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA) ซึ่งมีชีวิตประมาณ 3,900 ล้านปีก่อน (โดยโลกเกิดเมื่อ 4,450 ล้านปี ± 1% ก่อน) หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก 2 ชิ้นก็คือ.

ใหม่!!: ยีนและการสืบเชื้อสายร่วมกัน · ดูเพิ่มเติม »

การสุ่มแบบเมนเดล

การสุ่มแบบเมนเดล (Mendelian randomization) เป็นวิธีการทางระบาดวิทยาอย่างหนึ่งใช้ในการหาการกระจายของยีนที่ทราบหน้าที่อยู่ก่อนแล้วเพื่อหาความเป็นสาเหตุของปัจจัยสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงได้ (modifiable exposure) ต่อการเกิดโรคในการศึกษาวิจัยแบบเก็บข้อมูลที่ไม่ใช่การทดลอง วิธีนี้บรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ยีนและการสุ่มแบบเมนเดล · ดูเพิ่มเติม »

การหลั่งน้ำอสุจิ

ต่อเนื่อง การหลั่งน้ำอสุจิ (http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Ejaculation_educational_ani_short.gif วิดีโอวนซ้ำ) การหลั่งน้ำอสุจิ (ejaculation) คือการหลั่งน้ำอสุจิออกจากองคชาต มักเกิดพร้อมกับการถึงจุดสุดยอดทางเพศ ถือเป็นด่านสุดท้ายและเป็นเป้าหมายทางธรรมชาติของการเร้าอารมณ์ทางเพศการเร้าอารมณ์ทางเพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ และเป็นสิ่งที่จำเป็นในการให้เกิดปฏิสนธิ (คือการตั้งครรภ์) การหลั่งอาจเกิดขึ้นได้เพราะโรคในต่อมลูกหมาก แม้จะเป็นกรณีที่หายาก และบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองในขณะหลับ (เป็นการหลั่งในช่วงกลางคืน หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก) มีภาวะหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถหลั่งน้ำอสุจิ (เช่นอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว) หรือที่ทำให้เกิดมีความเจ็บปวดไม่รู้สึกสบายเมื่อมีการหลั่งน้ำอ.

ใหม่!!: ยีนและการหลั่งน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

การทดสอบเอมส์

การทดสอบเอมส์ (Ames test) เป็นวิธีการทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ซึ่งถูกค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: ยีนและการทดสอบเอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมการแสดงออกของยีน

แผนภาพแสดงระยะที่สามารถมีการควบคุมการแสดงออกของกระบวนการสร้างโปรตีนจากดีเอ็นเอได้ การควบคุมการแสดงออกของยีน คือ กระบวนการใด ๆ ที่เซลล์หรือไวรัสใช้ในการควบคุมแนวทางที่ข้อมูลจากยีนถูกสร้างเป็นผลผลิตของยีน ทั้งนี้แม้ผลผลิตของยีนที่ทำหน้าที่อาจจะเป็นอาร์เอ็นเอหรือโปรตีนได้ทั้งคู่ แต่กระบวนการควบคุมการแสดงออกของยีนส่วนใหญ่จะควบคุมยีนที่ถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีน ทุกขั้นตอนของการแสดงออกของยีนสามารถถูกควบคุมได้ ตั้งแต่การถอดรหัสจากดีเอ็นเอเป็นอาร์เอ็นเอ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงโปรตีนภายหลังการแปลรหัสเสร็จเรียบร้อยแล้ว การควบคุมการแสดงออกของยีนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับไวรัส โปรคารีโอต และยูคารีโอต เนื่องจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยเป็นการทำให้โปรตีนหนึ่งๆ สามารถแสดงออกได้เมื่อมีความจำเป็น ถือกันว่าระบบควบคุมการแสดงออกของยีนที่ค้นพบเป็นครั้งแรกคือการค้นพบ lac operaon โดย Jacques Monod ใน..

ใหม่!!: ยีนและการควบคุมการแสดงออกของยีน · ดูเพิ่มเติม »

การซ่อมแซมดีเอ็นเอ

DNA damage resulting in multiple broken chromosomes การซ่อมแซมดีเอ็นเอ (DNA repair) คือชุดของกระบวนการที่เซลล์ตรวจพบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอที่ประกอบกันเป็นจีโนมของเซลล์นั้น ในเซลล์มนุษย์กระบวนการเผาผลาญตามปกติและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวีหรือรังสีอื่นทำให้ดีเอ็นเอเสียหายและก่อให้เกิดรอยโรคระดับโมเลกุลได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านตำแหน่งต่อเซลล์ต่อวันLodish H, Berk A, Matsudaira P, Kaiser CA, Krieger M, Scott MP, Zipursky SL, Darnell J. (2004).

ใหม่!!: ยีนและการซ่อมแซมดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การประทับตราทางพันธุกรรม

การประทับตราทางพันธุกรรม (genetic imprinting, genomic imprinting) เป็นปรากฏการณ์ทางพันธุศาสตร์อย่างหนึ่งซึ่งยีนหนึ่งๆ จะแสดงออกเฉพาะเมื่อได้รับมาจากพ่อหรือแม่เท่านั้น ถือเป็นกระบวนการทางการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งเป็นอิสระจากกฎการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล ยีนที่ถูกประทับตราจะแสดงออกก็ต่อเมื่ออัลลีล (allele) นั้นๆ ได้รับมาจากแม่ (เช่น H19 หรือ CDNK1C) หรือพ่อ (เช่น IGF-2) เท่านั้น ลักษณะของการประทับตราทางพันธุกรรมเช่นนี้พบได้ในแมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และพืชมีดอก การประทับตราทางพันธุกรรมเป็นกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenetic) ที่มีการเติมหมู่เมธิล (methylation) และการเปลี่ยนแปลงหมู่ฮิสโตน (histone modification) เพื่อให้เกิดมีการแสดงออกของยีนเพียงอัลลีลเดียว (monoallelic gene expression) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับของสารพันธุกรรม การระบุตำแหน่งเหนือพันธุกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เป็นเซลล์ต้นกำเนิด (germline) และจะคงอยู่ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ที่เป็นเซลล์โซมาติก การควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมของยีนที่ถูกประทับตรามีความสำคัญต่อการพัฒนาปกติ มีโรคพันธุกรรมหลายโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความผิดปกติในกระบวนการประทับตราทางพันธุกรรม เช่น Beckwith-Wiedemann syndrome, Silver-Russell syndrome, Angelman syndrome และ Prader-Willi syndrome เป็นต้น.

ใหม่!!: ยีนและการประทับตราทางพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว (adaptation, adaptive trait) มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ.

ใหม่!!: ยีนและการปรับตัว (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (นิเวศวิทยา)

ในสาขานิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม (behavioral ecology) พฤติกรรมปรับตัว (adaptive behavior) หรือ การปรับตัว เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการรอดชีวิตหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ และดังนั้นจึงอยู่ใต้อิทธิพลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น การมีความลำเอียงต่อญาติพี่น้องในพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่น (altruistic behavior), การเลือกสัตว์ตัวผู้ที่เหมาะ (fit) ที่สุดโดยสัตว์ตัวเมียซึ่งเป็นการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection), การป้องกันอาณาเขต (territory), หรือการป้องกันกลุ่มสัตว์ตัวเมีย (harem) ของตน ในนัยตรงกันข้าม พฤติกรรมไม่ปรับตัว (non-adaptive behavior) เป็นพฤติกรรมหรือลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่มีผลร้ายต่อการอยู่รอดหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งอาจจะรวมทั้งพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่นที่ไม่มีความลำเอียงเพื่อญาติพี่น้อง การรับลูกของผู้ไม่ใช่ญาติมาเลี้ยง และความเป็นรองในสังคมที่มีการจัดความเป็นใหญ่ความเป็นรอง (dominance hierarchy) โดยสามัญ การปรับตัว (Adaptation) หมายถึงคำตอบหรือการแก้ปัญหาทางวิวัฒนาการ ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการรอดชีวิตและการสืบพันธ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่หมุนเวียนมาใหม่ไม่จบสิ้น ความแตกต่างในระหว่างบุคคลเกิดจากทั้งพฤติกรรมปรับตัวที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้และสืบทอดไม่ได้ มีหลักฐานว่า พฤติกรรมทั้งสองมีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของพฤติกรรมปรับตัวของสปีชีส์ แม้ว่า จะมีประเด็นต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ยีนและการปรับตัว (นิเวศวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: ยีนและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

การแสดงออกของยีน

การแสดงออกของยีนคือกระบวนการที่ข้อมูลในยีนถูกใช้ในการสังเคราะห์ผลผลิตของยีนที่ทำงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีน แต่บางยีน เช่น rRNA tRNA หรือ snRNA มีผลผลิตเป็น RNA ซึ่งมีบทบาททำงานได้เช่นกัน กระบวนการที่ใช้ในการแสดงออกของยีนเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งยูคาริโอต (รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ด้วย) โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) และอาจนับรวมถึงไวรัสด้วย กระบวนการนี้ทำให้เกิดกลไกที่เกิดจากโมเลกุลขนาดใหญ่ และทำให้เกิดชีวิต กระบวนการที่เซลล์ใช้ในการทำให้เกิดการแสดงออกของยีนมีหลายขั้นตอน เช่น การถอดรหัส การตัดแบ่ง RNA การแปลรหัส และการดัดแปลงโปรตีนหลังการแปลรหัส หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:การแสดงออกของยีน.

ใหม่!!: ยีนและการแสดงออกของยีน · ดูเพิ่มเติม »

การเกิดสปีชีส์

การเกิดสปีชีส์ หรือ การเกิดชนิด (Speciation) เป็นกระบวนการทางวิวัฒนาการที่กลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ กัน นักชีววิทยาชาวอเมริกันออเรเตอร์ เอฟ คุ๊ก (Orator F. Cook) ได้บัญญัติคำภาษาอังกฤษว่า speciation ในปี 1906 โดยหมายการแยกสายพันธุ์แบบ cladogenesis (วิวัฒนาการแบบแยกสาย) ไม่ใช่ anagenesis (วิวัฒนาการแบบสายตรง) หรือ phyletic evolution ซึ่งเป็นวิวัฒนาการแบบในสายพันธุ์ ชาลส์ ดาร์วินเป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงบทบาทของการคัดเลือกโดยธรรมชาติต่อการเกิดสปีชีส์ใหม่ในหนังสือปี 1859 ของเขา คือ กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) เขายังได้ระบุการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection) ว่าเป็นกลไกหนึ่งที่เป็นไปได้ แต่ก็พบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับมัน มีการเกิดสปีชีส์ตามภูมิภาค 4 ประเภทในธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับระดับที่กลุ่มประชากรที่กำลังเกิดสปีชีส์อยู่แยกจากกัน คือ การเกิดสปีชีส์ต่างบริเวณ (allopatric speciation), การเกิดสปีชีส์รอบบริเวณ (peripatric speciation), การเกิดสปีชีส์ข้างบริเวณ (parapatric speciation), และการเกิดสปีชีส์ร่วมบริเวณ (sympatric speciation) การเกิดสปีชีส์สามารถทำขึ้นได้ผ่านการทดลองทางสัตวบาล ทางเกษตรกรรม และทางห้องปฏิบัติการ ยังไม่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงมีบทบาทสำคัญหรือไม่ในกระบวนการเกิดสปีชี.

ใหม่!!: ยีนและการเกิดสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง

ร์วินให้เป็น '''ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์แบบปัจจุบัน''' (Modern evolutionary synthesis) การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (Genetic drift, allelic drift, Sewall Wright effect) เป็นการเปลี่ยนความถี่รูปแบบยีน (คือ อัลลีล) ในกลุ่มประชากรเพราะการชักตัวอย่างอัลลีลแบบสุ่มของสิ่งมีชีวิต คือ อัลลีลที่พบในสิ่งมีชีวิตรุ่นลูก จะเป็นตัวอย่างของอัลลีลที่ชักมาจากพ่อแม่ โดยความสุ่มจะมีบทบาทกำหนดว่า สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกนั้น ๆ จะรอดชีวิตแล้วสืบพันธุ์ต่อไปหรือไม่ ส่วน ความถี่อัลลีล (allele frequency) ก็คืออัตราที่ยีนหนึ่ง ๆ จะมีรูปแบบเดียวกันในกลุ่มประชากร การเปลี่ยนความถี่ยีนอาจทำให้อัลลีลหายไปโดยสิ้นเชิงและลดความแตกต่างของยีน (genetic variation) เมื่ออัลลีลมีก๊อปปี้น้อย ผลของการเปลี่ยนความถี่จะมีกำลังกว่า และเมื่อมีก๊อปปี้มาก ผลก็จะน้อยกว่า ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีการอภิปรายอย่างจริงจังว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติสำคัญเทียบกับกระบวนการที่เป็นกลาง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงแค่ไหน.

ใหม่!!: ยีนและการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง · ดูเพิ่มเติม »

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

แสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิท.

ใหม่!!: ยีนและกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะพร่องเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรส

วะพร่องเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรส (Ribose-5-phosphate isomerase deficiency) เป็นโรคซึ่งทำให้มีการกลายพันธุ์ในเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเพนโทสฟอสเฟตพาธเวย์ โรคนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันการวินิจฉัยเพียงรายเดียว ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นโรคที่หายากที่สุดโรคหนึ่ง และถือเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลายอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยเป็นเด็กชายเกิดใน ค.ศ. 1984 ได้รับการวินิจฉัยด้วยการตรวจเอ็มอาร์ไอพบว่ามีความผิดปกติของไวท์แมทเทอร์ (โรคสมองเนื้อขาว หรือ leukoencephalopathy) ผลการวิเคราะห์โปรไฟล์ SPECT พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับของ โพลีออล อาราบิทอล, ไรบิทอล และอีริธรอลซึ่งทำให้ต่อมาสามารถพบการกลายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ คือการเกิด stop codon ก่อนตำแหน่งที่ควรจะเป็น และมี missense mutation ในยีน RPI หลังจากมีการรายงานกรณีผู้ป่วยโรคนี้ใน..

ใหม่!!: ยีนและภาวะพร่องเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด

วะกรดยูริกเกินในเลือด (Hyperuricemia) เป็นภาวะที่กรดยูริกสูงเกินในเลือด ในระดับ pH ปกติของน้ำในร่างกาย กรดยูริกโดยมากจะอยู่ในรูปแบบของยูเรตซึ่งเป็นไอออน ปริมาณของยูเรตในร่างกายจะขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปริมาณพิวรีนที่ได้จากอาหาร ปริมาณยูเรตที่สังเคราะห์ภายในร่างกาย (เช่น ในการผันเวียนของเซลล์) และปริมาณของยูเรตที่ถ่ายออกทางปัสสาวะหรือผ่านทางเดินอาหาร ในมนุษย์ พิสัยด้านสูงปกติอยู่ที่ 360 µmol/L (6 mg/dL) สำหรับหญิงและ 400 µmol/L (6.8 mg/dL) สำหรั.

ใหม่!!: ยีนและภาวะกรดยูริกเกินในเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะกะเทยแท้

วะกะเทยแท้"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hermaphroditism ว่า "ภาวะกะเทย" (True hermaphroditism) หมายถึงภาวะที่บุคคลที่เป็นกะเทยมีเนื้อเยื่อทั้งของรังไข่ทั้งของอัณฑะ คืออาจจะมีรังไข่ข้างหนึ่งและอัณฑะอีกข้างหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วต่อมบ่งเพศข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจะมีเนื้อเยื่อจากทั้งรังไข่ทั้งอัณฑะที่เรียกว่า ovotestis ไม่มีเค้สที่บันทึกไว้พร้อมกับหลักฐานเลยว่า เนื้อเยื่อทั้งสองของต่อมบ่งเพศนั้นสามารถทำงานได้พร้อมกัน karyotype ที่พบก็คือ 47XXY (กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์), 46XX/46XY, หรือ 46XX/47XXY โดยมีระดับ mosaicism ที่ต่าง ๆ กัน (โดยมีกรณีที่น่าสนใจหนึ่งที่มี XY ในระดับ 96% แต่สามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดได้) แม้ว่าภาวะนี้จะคล้ายกับภาวะ mixed gonadal dysgenesis แต่สามารถแยกออกจากกันได้โดยการตรวจสอบเนื้อเยื่อ (histology) แม้ว่าบุคคลผู้มีภาวะกะเทยแท้อาจจะมีลูกได้ (จนกระทั่งถึง ค.ศ. 2010 ได้มีสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ที่รายงานการมีลูกในมนุษย์ภาวะกะเทยแท้ถึง 11 เค้ส) แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าเนื้อเยื่อทั้งของรังไข่ทั้งของอัณฑะสามารถทำงานได้พร้อม ๆ กัน ดังนั้น หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จึงไม่สนับสนุนคำที่พูดกันว่า กะเทยแท้สามารถทำให้ตนเองตั้งครรภ์ได้.

ใหม่!!: ยีนและภาวะกะเทยแท้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเหล็กเกิน

วะเหล็กเกิน หรือ ฮีโมโครมาโตซิส (Iron overload, hemochromatosis, haemochromatosis) หมายถึงการสะสมธาตุเหล็กในร่างกายเกินด้วยเหตุอะไรก็ได้ เหตุสำคัญ ๆ ก็คือเหตุทางพันธุกรรม (hereditary haemochromatosis, HHC) และเหตุการถ่ายเลือด (transfusion hemosiderosis) เพราะถ่ายเลือดซ้ำ.

ใหม่!!: ยีนและภาวะเหล็กเกิน · ดูเพิ่มเติม »

มะแพร้ว

มะแพร้ว (Spitapa) คือมะพร้าวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้ไม่มีระแง้และดอกตัวเมีย จะเกิดบนแกนกลางหรืองวง เราจะสังเกตจาการที่ผลมะพร้าวติดกับแกนกลางของทะลาย แต่มะแพร้วกลับติดผลน้อยกว่ามะพร้าวปกติ คือ 4-5 ผลต่อทะลาย อาจจะเป็นเพราะมีดอกตัวผู้น้อยกว่าปกติหรือมีดอกตัวเมียมากเกินไปจนเลี้ยงอาหารไม่ไหว ชื่อพื้นเมืองอื่น: หมากอูนดุง (จันทบุรี) โพล (กาญจนบุรี) ย่อ (ภาคใต้) โดง (สุรินทร์).

ใหม่!!: ยีนและมะแพร้ว · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ใหม่!!: ยีนและมะเร็งเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

มันฝรั่ง

มันฝรั่ง (Solanum tuberosum) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริก.

ใหม่!!: ยีนและมันฝรั่ง · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: ยีนและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยา คำว่า มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน หรือ มนุษย์ปัจจุบัน (anatomically modern human, ตัวย่อ AMH) หรือ โฮโมเซเปียนส์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern Homo sapiens, ตัวย่อ AMHS) หมายถึงสมาชิกของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่มีรูปพรรณสัณฐานภายในพิสัยลักษณะปรากฏของมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์ปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณ (archaic humans) ยุคหินกลาง (แอฟริกา) ประมาณ 300,000 ปีก่อน.

ใหม่!!: ยีนและมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์โบราณ

กะโหลกดึกดำบรรพ์ของ ''Homo rhodesiensis'' ที่เรียกว่า "Broken Hill Cranium" มีอายุถ้าไม่ 130,000 ปีก่อน (โดยใช้วิธี amino acid racemization determination) ก็ 800,000-600,000 ปีก่อน (คือในช่วงอายุเดียวกับ ''Homo erectus'') สายพันธุ์มนุษย์สกุล Homo หลายชนิดสามารถจัดเข้าในหมวดกว้าง ๆ คือ มนุษย์โบราณ (archaic human) เริ่มตั้งแต่ 600,000 ปีก่อน ซึ่งปกติจะรวม Homo neanderthalensis (300,000-28,000 ปีก่อน) Homo rhodesiensis (400,000-125,000 ปีก่อน), Homo heidelbergensis (600,000-250,000 ปีก่อน), และอาจรวม Homo antecessor โดยมนุษย์กลุ่มไหนจะจัดเป็น "มนุษย์โบราณ" ขึ้นอยู่กับนิยามต่าง ๆ ของผู้เขียน เป็นหมวดหมู่ที่ใช้เปรียบเทียบกับ มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน/มนุษย์ปัจจุบัน (anatomically modern humans) มีสมมติฐานว่า มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาจากมนุษยโบราณ ซึ่งก็วิวัฒนาการมาจาก Homo erectus บางครั้ง มนุษย์โบราณจะรวมเข้าในสปีชีส์ "Homo sapiens" เพราะขนาดสมองใกล้เคียงกัน คือ มีขนาดสมองเฉลี่ยที่ระหว่าง 1,200-1,400 ซม3 ซึ่งคาบเกี่ยวกับพิสัยขนาดสมองของมนุษย์ปัจจุบัน แต่มนุษย์โบราณจะต่างจากมนุษย์ปัจจุบันโดยมีกะโหลกศีรษะหนา สันคิ้วเหนือตาที่เด่น และไม่มีคางเด่นเท่ามนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์ปัจจุบันปรากฏขึ้นประมาณ 300,000 ปีก่อน และหลังจาก 70,000 ปีก่อน ก็เริ่มจะแทนที่มนุษย์โบราณในที่ต่าง ๆ แต่มนุษย์สกุล Homo ที่ "ไม่ปัจจุบัน" ก็คงอยู่รอดจนกระทั่ง 30,000 ปีก่อน และอาจจนถึง 10,000 ปีก่อน อย่างไรก็ดี ตามงานศึกษาทางพันธุกรรมปี 2555 มนุษย์ปัจจุบันอาจจะได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณ "อย่างน้อยสองกลุ่ม" คือ นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์กลุ่ม Denisovan ส่วนงานศึกษาอื่น ๆ ตั้งความสงสัยว่า การผสมพันธุ์อาจไม่ใช่เหตุที่มนุษย์ปัจจุบันมียีนร่วมกับมนุษย์โบราณ แล้วชี้ไปที่การมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 500,000-800,000 ปีก่อน งานศึกษาปี 2555 ยังเสนอมนุษย์อีกกลุ่มที่อาจมีชีวิตอยู่จนกระทั่ง 11,500 ปีก่อน คือกลุ่มมนุษย์ Red Deer Cave people ในจีน ดร.

ใหม่!!: ยีนและมนุษย์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้สรรพโรค

ยาแก้สรรพโรค (panacea /pænəˈsiːə/ หรือ panchrest) เป็นยาที่เชื่อกันว่าจะสามารถรักษาโรคภัยทั้งปวงได้ และยืดอายุของผู้รับประทานออกไปอย่างไม่รู้จบ ชื่อในภาษาอังกฤษ "panacea" มาจากพระนามเทพีแพเนเซีย เจ้าแห่งการบำบัดรักษาในเทพปกรณัมกรีก ยาแก้สรรพโรคนี้เคยเป็นที่ต้องการและควานค้นหาอย่างบ้าคลั่งของลัทธิรสายนเวทอยู่พักใหญ่ และมีความเกี่ยวโยงกับความเชื่อเรื่องน้ำอมฤต และศิลานักปราชญ์อันเป็นวัตถุที่เชื่อกันว่าสามารถใช้แปรธาตุสามัญให้กลายเป็นทองคำได้ ในวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์บางแขนง เช่น เคมี ชีวโมเลกุล ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ พันธุศาสตร์ และวิทยาภูมิคุ้มกัน ยังมีการค้นหาซึ่งยาแก้สรรพโรคและน้ำอมฤตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันดูเหมือนว่ากำลังเพ่งเล็งไปยังเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน บทบาทของยีน กับทั้งความสัมพันธ์กันระหว่างกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความต้องการของมนุษย์ที่จะสามารถ "แก้สรรพโรค" และหยุดกระบวนการแก่เจ็บตายเป็นแรงขับเคลื่อนอันแรงกล้า คำว่า "ยาแก้สรรพโรค" เป็นศัพท์ทางวิชาการ แต่ในภาษาไทยก็มีคำพ้องความหมายอยู่หลายคำ เช่น ยาระงับสรรพโรค, ยาอายุวัฒนะ, ยาครอบจักรวาล ฯลฯ หมวดหมู่:แพทยศาสตร์ หมวดหมู่:การเล่นแร่แปรธาตุ.

ใหม่!!: ยีนและยาแก้สรรพโรค · ดูเพิ่มเติม »

ยีน (แก้ความกำกวม)

ีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ยีนและยีน (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ยีนเทียม

url.

ใหม่!!: ยีนและยีนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

รหัสพันธุกรรม

ลำดับของกรดอะมิโนบน mRNAแต่ละรหัสมีนิวคลีโอไทด์ 3 ตัว และกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว รหัสพันธุกรรม (genetic code) เป็นชุดของการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ และถูกทรานสเลชันเป็นโปรตีน หรือลำดับกรดอะมิโน ในเซลล์ที่มีชีวิต รหัสแต่ละรหัสประกอบไปด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์สามตัว ซึ่งกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว แม้จะมีรหัสพันธุกรรมที่เป็นสากล แต่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันไปได้บ้าง เช่น รหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียของคน ต่างจากรหัสพันธุกรรมที่รู้จักกันทั่วไป ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดอาจไม่จำเป็นต้องเก็บในรหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีลำดับควบคุม (regulatory sequences) ส่วนที่รวมเข้าด้วยกัน (intergenic segments) และโครงสร้างโครโมโซม ที่มีผลต่อฟีโนไทป์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรหัสที่กำหนดกรดอะมิโน.

ใหม่!!: ยีนและรหัสพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: ยีนและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..

ใหม่!!: ยีนและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบพันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรม (genotype.) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ he:גן (ביולוגיה)#מושגים בסיסיים.

ใหม่!!: ยีนและรูปแบบพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบปรากฏ

patterning in their phenotypes. Here the relation between genotype and phenotype is illustrated, using a Punnett square, for the character of petal color in pea plants. The letters B and b represent genes for color, and the pictures show the resultant flowers. ลักษณะปรากฏ หรือ รูปแบบปรากฏ (phenotype) (φαίνω แปลว่า "เปิดเผย, แสดงออก"; τύπος แปลว่า "รูปแบบ") หมายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็นได้หรือตรวจสอบได้ โดยไม่ต้องตรวจลงไปถึงระดับพันธุกรรม ลักษณะเหล่านี้ เช่น รูปร่าง การพัฒนา คุณสมบัติทางสรีรวิทยา คุณสมบัติทางชีวเคมี พฤติกรรม หรือผลที่เกิดจากพฤติกรรม (เช่น รูปร่างใยแมงมุม) ลักษณะปรากฏเหล่านี้เป็นผลจากการแสดงออกของพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเรียกว่า ลักษณะพันธุกรรม (genotype) ซึ่งอาจมีหรือไม่มีผลจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน.

ใหม่!!: ยีนและรูปแบบปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะปรากฏ

ตาสีเทาแท้ ในสิ่งมีชีวิต ลักษณะปรากฏ หรือ ฟีโนไทป์ หรือ ลักษณะสืบสายพันธุ์ (phenotypic trait, trait) เป็นรูปแบบฟิโนไทป์หนึ่งโดยเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น สีตาเป็นลักษณะหนึ่ง (character) ของสิ่งมีชีวิต ในขณะที่ตาสีดำ สีฟ้า สีน้ำตาล เป็นต้น จะเป็น "ลักษณะปรากฏ/ลักษณะสืบสายพันธุ์" (trait) กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นลักษณะปรากฏทางกายหรือทางพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์และสิ่งแวดล้อมในช่วงพัฒนาการ.

ใหม่!!: ยีนและลักษณะปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับสงวน

accessdate.

ใหม่!!: ยีนและลำดับสงวน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม โยฮันน์เซิน

วิลเฮล์ม ลุดวิจ โยฮันน์เซิน (Wilhelm Ludvig Johannsen; 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1857 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1927) เป็นนักพฤกษศาสตร์และนักพันธุศาสตร์ชาวเดนมาร์ก วิลเฮล์ม โยฮันน์เซินเกิดที่กรุงโคเปนเฮเกนในปี..

ใหม่!!: ยีนและวิลเฮล์ม โยฮันน์เซิน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ยีนและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ใหม่!!: ยีนและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต

วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต (evolution of color vision in primates) เป็นเหตุการณ์พิเศษในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในเคลดยูเธอเรีย แม้บรรพบุรุษสัตว์มีกระดูกสันหลังของไพรเมตจะเห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยในจอตา 4 ประเภท (tetrachromacy) แต่บรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลือดอุ่นหากินกลางคืนต่อมา ก็ได้เสียเซลล์รูปกรวย 2 ประเภทไปในยุคไดโนเสาร์ ดังนั้น ปลาใน Infraclass "Teleostei" สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีกล้วนแต่เห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 4 ประเภท ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ยกเว้นไพรเมตและสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องบางชนิด ล้วนแต่เห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยเพียง 2 ประเภท (dichromacy) ไพรเมตเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท (Trichromacy) ที่ตอบสนองสูงสุดต่อคลื่นแสงสีม่วง (คลื่นสั้น S) สีเขียว (คลื่นกลาง M) และสีเหลือง-เขียว (คลื่นยาว L) โดยมีโปรตีนอ็อปซิน (Opsin) เป็นสารรงควัตถุไวแสง (photopigment) หลักในตา และลำดับ/โครงสร้างของอ็อปซินจะเป็นตัวกำหนดความไวสี/สเปกตรัมต่าง ๆ ของเซลล์รูปกรวย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไพรเมตทั้งหมดจะสามารถเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ลิงวงศ์ใหญ่ "catarrhinni" ซึ่งรวมลิงโลกเก่าและเอป ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท คือทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอ็อปซิน 3 ประเภทที่ไวต่อความยาวคลื่นแสงแบบสั้น กลาง และยาว ส่วนในสปีชีส์เกือบทั้งหมดของลิงโลกใหม่ ตัวผู้ทั้งหมดและตัวเมียพันธุ์แท้ จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์เพียง 2 ประเภท และตัวเมียพันธุ์ผสม จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ซึ่งเป็นภาวะที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า allelic/polymorphic trichromacy (การเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทเหตุอัลลีลหรือภาวะพหุสัณฐาน) ในบรรดาลิงโลกใหม่ ลิงสกุล Alouatta (Howler monkey) ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท.

ใหม่!!: ยีนและวิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: ยีนและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: ยีนและสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตขาว

งโตขาวเพศผู้ ลูกสิงโตขาว สิงโตขาว (White lion) เป็นสิงโตประเภทหนึ่ง โดยที่ไม่ใช่ชนิดย่อย เป็นสิงโตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสิงโตปกติหรือชนิดย่อยต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ มีขนสัตว์ขนสีน้ำตาลอ่อนกว่าสิงโตทั่วไป จนคล้ายเป็นสีขาว ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรม โดยที่มิใช่ภาวะผิวเผือก (Albino) หากแต่เป็นภาวะที่เรียกว่า "ภาวะด่าง" (Leucism) เช่นเดียวกับเสือโคร่งขาว นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การที่สิงโตกลุ่มนี้มีสีขาว เกิดจากยีนที่ตกทอดมาจากยุคน้ำแข็ง ที่สิงโตยังมีการแพร่กระจายในทวีปเอเชียและยุโรปด้วย สิงโตที่มีขนสีขาวสามารถปรับตัวได้ดีในภาวะแวดล้อมที่มีแต่น้ำแข็ง ซึ่งในสิงโตทั่วไปก็มียีนสีขาวอันนี้ และถ้าสิงโตที่มียีนสีขาว 2 ตัวผสมพันธุ์กัน มีโอกาสที่จะเกิดเป็นลูกสิงโตขาว 1 ใน 4 สิงโตขาวเป็นสัตว์ที่ปรากฏถึงในนิทานปรัมปราของชนเผ่าพื้นเมืองของแอฟริกาใต้ ที่กล่าวถึง ราชินีนามบี ซึ่งเป็นหญิงชรา วันหนึ่งมีลูกไฟขนาดใหญ่ตกลงมาจากท้องฟ้า เมื่อกระทบถึงพื้นได้เกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่ จะมีเสียงเรียกชื่อของพระนาง เมื่อราชินีนามบีได้เดินเข้าไปหา พระนางได้เปลี่ยนการเป็นหญิงสาวที่งดงาม และสิงโตก็ได้ตกลูกออกมาเป็นสิงโตขาว ในปัจจุบันนี้ชาวพื้นเมืองของแอฟริกาใต้ก็ยังเชื่อว่า สิงโตขาวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณ สิงโตขาว เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่จะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในประเทศแอฟริกาใต้แห่งเดียวเท่านั้น ปัจจุบันเหลือจำนวนประชากรราว 300 ตัวเท่านั้น ซึ่งในธรรมชาติ โอกาสที่สิงโตขาวจะอยู่รอดได้มีน้อยกว่าสิงโตธรรมดา เนื่องจากสีขนที่เห็นได้ชัดเจน ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะล่าอาหารได้เหมือนสิงโตธรรมดาที่แฝงตัวได้ดีกว่าในธรรมชาติ เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1970 เหลือจำนวนประชากรสิงโตขาวในธรรมชาติเพียง 3 ตัวเท่านั้น ปริมาณสิงโตขาวที่เพิ่มขึ้น เกิดจากการที่สิงโตธรรมดาผสมพันธุ์กันและตกลูกออกมาเป็นสีขาวจำนวน 3 ตัว และสิงโตขาวในปัจจุบันก็ล้วนแต่เกิดจากลูกสิงโตขาวทั้ง 3 ตัวนี้ ปัจจุบัน สิงโตขาว เป็นสัตว์ที่ได้รับการอนุรักษ์และปกป้องสายพันธุ์จากมนุษย์ มีการก่อตั้งหน่วยงานเพื่อขยายพันธุ์และศึกษาในธรรมชาติรวมถึงสถานที่เลี้ยง และมีการส่งสิงโตขาวไปเลี้ยงตามสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ๆ ทั่วโลก เช่น สวนสัตว์ลอนดอน ในประเทศอังกฤษ, สวนสัตว์ฟิลาเดียเฟีย ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสิงโตขาวในสถานที่เลี้ยงเหล่านี้ ได้ตกลูกออกมาหลายตัว สำหรับในประเทศไทย มีจัดแสดงที่สวนสัตว์ขอนแก่น.

ใหม่!!: ยีนและสิงโตขาว · ดูเพิ่มเติม »

สตรอว์เบอร์รี

ตรอว์เบอร์รี (strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้ มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก.

ใหม่!!: ยีนและสตรอว์เบอร์รี · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: ยีนและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ใหม่!!: ยีนและหูชั้นในรูปหอยโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับกลิ่น

รงสร้างของ rhodopsin ซึ่งเป็น G protein-coupled receptor ที่หน่วยรับกลิ่นจะมีโครงสร้างคล้าย ๆ doi.

ใหม่!!: ยีนและหน่วยรับกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน

รงสร้างแบบ α-helix โดยมีโดเมนข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ 7 โดเมนของ G protein-coupled receptor หน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (G protein-coupled receptors ตัวย่อ GPCRs) ที่มีชื่ออื่น ๆ อีกว่า seven-(pass)-transmembrane domain receptors, 7TM receptors, heptahelical receptors, serpentine receptor, และ G protein-linked receptors (GPLR), เป็นกลุ่ม (family) โปรตีนหน่วยรับ (receptor) กลุ่มใหญ่ ที่ตรวจจับโมเลกุลนอกเซลล์ แล้วจุดชนวนวิถีการถ่ายโอนสัญญาณ (signal transduction) ภายในเซลล์ ซึ่งในที่สุดมีผลเป็นการตอบสนองของเซลล์ เป็นหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน (G protein) ที่เรียกว่า seven-transmembrane receptor เพราะมีโครงสร้างที่ข้ามผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ถึง 7 ครั้ง GPCRs จะพบแต่ในยูแคริโอตรวมทั้งยีสต์, choanoflagellate, และสัตว์ ลิแกนด์ที่จับและเริ่มการทำงานของหน่วยรับเช่นนี้รวมทั้งสารประกอบไวแสง กลิ่น ฟีโรโมน ฮอร์โมน และสารสื่อประสาท โดยมีขนาดต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่โมเลกุลเล็ก ๆ จนถึงเพปไทด์และโปรตีนขนาดใหญ่ GPCRs มีบทบาทในโรคหลายอย่าง และเป็นเป้าหมายการออกฤทธิ์ของยาปัจจุบันประมาณ 34% มีวิถีการถ่ายโอนสัญญาณสองอย่างเกี่ยวกับ GPCRs คือ.

ใหม่!!: ยีนและหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะของคอร์ติ

อวัยวะของคอร์ติ (organ of Corti, spiral organ) เป็นอวัยวะรับรู้เสียงที่อยู่ในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (หรือคอเคลีย) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีแถบเซลล์เยื่อบุผิวที่ไม่เหมือนกันตลอดแถบ ทำให้สามารถถ่ายโอนเสียงต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณประสาทต่าง ๆ โดยเกิดผ่านแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้น้ำในคอเคลียและเซลล์ขนในอวัยวะของคอร์ติไหว นักกายวิภาคชาวอิตาลี น. แอลฟอนโซ คอร์ติ (พศ. 2365-2419) เป็นผู้ค้นพบอวัยวะของคอร์ติในปี 2394 โครงสร้างมีวิวัฒนาการมาจาก basilar papilla และขาดไม่ได้เพื่อแปลแรงกลให้เป็นสัญญาณประสาทในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Stereocilia ของเซลล์ขนในหูชั้นในของก.

ใหม่!!: ยีนและอวัยวะของคอร์ติ · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกาซิน

อะมิกาซิน (Amikacin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ การติดเชื้อในข้อ, การติดเชื้อในช่องท้อง, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดบวม, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ, และการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ยังมีการใช้ยานี้ในผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยาหลายขนานอีกด้วย ยานี้มีทั้งในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อและ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อะมิกาซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย โดยจะเข้าจับกับหน่วยย่อยที่ 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเจริญเติบโตได้ ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นตายไปในที่สุด ทั้งนี้ อะมิกาซินมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ คือ สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน, การทรงตัวผิดปกติ, และเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่พบอุบัติการณ์การเกิดค่อนข้างน้อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจตามมาได้ นอกจากนี้ การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กที่คลอดออกมามีภาวะหูหนวกแบบถาวรได้ อะมิกาซินเป็นยาที่พัฒนาขึ้นมาจากกานามัยซิน ได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อ..

ใหม่!!: ยีนและอะมิกาซิน · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: ยีนและอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

อัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (thyrotoxic periodic paralysis, TPP) เป็นภาวะซึ่งทำให้มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลันในขณะที่ผู้ป่วยกำลังมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ส่วนใหญ่จะพบมีภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดน้อยเกินร่วมด้วยในขณะมีอาการ ภาวะนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตถ้ามีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจจนทำให้มีภาวะหายใจล้มเหลว หรือระดับโพแทสเซียมที่ต่ำนั้นต่ำมากจนทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยทั่วไปหากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีกได้มาก ภาวะนี้มีความสัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ในยีนที่ถอดรหัสออกมาสร้างเป็นไอออนแชนแนลที่รับส่งอิเล็กโทรไลต์ (โซเดียมและโพแทสเซียม) ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ โปรตีนหลักที่มีความสำคัญคือแคลเซียมแชนแนลชนิดแอล ซับยูนิทแอลฟาวัน และโพแทสเซียมอินเวิร์ดเรคทิฟายเออร์ 2.6 จึงถือเป็นโรคของแชนแนลโปรตีนชนิดหนึ่ง ความผิดปกติในแชนแนลเหล่านี้ทำให้มีการไหลของโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์มากเกินปกติเมื่อมีระดับของไทรอกซีนสูง ร่วมกับมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ อาการแต่ละครั้งสามารถรักษาให้หายสนิทด้วยการรักษาภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดน้อยเกิน และแก้ไขภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ส่วนใหญ่โรคนี้พบในประชากรเชื้อสายจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลี เพศชาย ถือเป็นหนึ่งในหลายๆ ภาวะที่ทำให้เกิดการอัมพาตเป็นระยะได้.

ใหม่!!: ยีนและอัมพาตเป็นระยะจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ · ดูเพิ่มเติม »

อัลลีล

อัลลีล (allele) คือรูปแบบหนึ่ง ๆ จากหลาย ๆ รูปแบบของยีนหนึ่ง ๆ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดลักษณะแสดงออก เช่น สีตา สีผม ที่แตกต่างกันได้ บางครั้งอัลลีลที่แตกต่างกันอาจไม่ได้ทำให้มีลักษณะแสดงออกที่แตกต่างกันก็ได้ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ส่วนใหญ่มีโครโมโซมสองชุด เรียกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์ โครโมโซมเหล่านี้เรียกว่าเป็นโครโมโซมที่เป็นโฮโมโลกัสกัน สิ่งมีชีวิตแบบดิพลอยด์จะมียีนหนึ่ง ๆ หนึ่งยีน (และหมายถึงอัลลีลหนึ่ง ๆ หนึ่งอัลลีล) บนโครโมโซมแต่ละอัน หากทั้งสองอัลลีลเป็นอัลลีลที่เหมือนกัน เรียกว่าเป็นอัลลีลที่เป็นโฮโมไซกัส ถ้าไม่เหมือนกันเรียกว่าเป็นเฮเทอโรไซกั.

ใหม่!!: ยีนและอัลลีล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ใหม่!!: ยีนและอันดับกบ · ดูเพิ่มเติม »

อาการไม่ไวความเจ็บปวดแต่กำเนิด

อาการไม่ไวความเจ็บปวดแต่กำเนิด (Congenital insensitivity to pain, congenital analgesia ตัวย่อ CIP) เป็นความไม่สามารถรู้สึก (และไม่เคยรู้สึก) ความเจ็บปวดทางกายตั้งแต่กำเนิด ที่พบน้อย และเกิดจากเหตุต่าง ๆ หลายอย่าง เป็นภาวะที่ต่างจาก กลุ่มโรคเส้นประสาทอิสระและเส้นประสาทรับความรู้สึกเหตุกรรมพันธุ์ (Hereditary sensory and autonomic neuropathy, HSAN) ซึ่งมีอาการและเหตุที่เฉพาะเจาะจงกว่า เพราะการรู้สึกเจ็บเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อรอดชีวิต CIP จึงเป็นภาวะที่อันตรายมาก คนไข้มักจะเสียชีวิตตั้งแต่วัยเด็กเนื่องจากบาดเจ็บหรือป่วยโดยไม่รู้ตัว โดยแผลไหม้เป็นความบาดเจ็บที่พบบ่อยมากที่สุดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: ยีนและอาการไม่ไวความเจ็บปวดแต่กำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอ

กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สารชีวโมเลกุลหลัก ร่วมกับลิพิด คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่สำคัญแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด อาร์เอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ สายยาว เช่นเดียวกับดีเอ็นเอ นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยนิวคลีโอเบส น้ำตาลไรโบสและหมู่ฟอสเฟต ลำดับนิวคลีโอไทด์ทำให้อาร์เอ็นเอเข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรมได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อาร์เอ็นเอนำรหัส (mRNA) นำข้อมูลพันธุกรรมที่ชี้นำการสังเคราะห์โปรตีน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสหลายชนิดใช้อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมแทนดีเอ็นเอ โมเลกุลอาร์เอ็นเอบางอย่างมีบทบาทสำคัญในเซลล์โดยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ควบคุมการแสดงออกของยีนหรือรับรู้และสื่อสารการตอบสนองต่อสัญญาณของเซลล์ ขบวนการหนึ่ง คือ การสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นหน้าที่สากลซึ่งโมเลกุลอาร์เอ็นเอสื่อสารชี้นำการสร้างโปรตีนบนไรโบโซม ขบวนการนี้ใช้โมเลกุลอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (tRNA) เพื่อขนส่งกรดอะมิโนไปยังไรโบโซม ที่ซึ่งอาร์เอ็นเอไรโบโซม (rRNA) เชื่อมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรตีน เรียกขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีนจากสายอาร์เอ็นเอนี้ว่า การแปลรหัส โครงสร้างทางเคมีของอาร์เอ็นเอคล้ายคลึงกับของดีเอ็นเอเป็นอย่างมาก แต่มีข้อแตกต่างอยู่สองประการ (1) อาร์เอ็นเอมีน้ำตาลไรโบส ขณะที่ดีเอ็นเอมีน้ำตาลดีออกซีไรโบส (ขาดออกซิเจนหนึ่งอะตอม) ซึ่งแตกต่างเล็กน้อย และ (2) อาร์เอ็นเอมีนิวคลีโอเบสยูราซิล ขณะที่ดีเอ็นเอมีไทมีน โมเลกุลอาร์เอ็นเอส่วนมากเป็นสายเดี่ยว และสามารถเกิดโครงสร้างสามมิติที่ซับซ้อนมากได้ ต่างจากดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ยีนและอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

อณูชีววิทยา

อณูชีววิทยา หรือ ชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม ในระดับโมเลกุล เป็นสาขาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยามุ่งเน้นศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และ โปรตีน และรวมถึงว่าขบวนการเหล่านี้ถูกควบคุมอย่างไร.

ใหม่!!: ยีนและอณูชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อณูพันธุศาสตร์

อณูพันธุศาสตร์ (อังกฤษ: molecular genetics) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ว่าด้วยเรื่องพันธุกรรมระดับโมเลกุล หรือ ดีเอ็นเอ และ ยีน ซึ่งนำมาสามเข้าใจในเรื่องพันธุศาสตร์ อีกทั้งเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับวิชาชีวเคมี และนำไปประยุกต์ใช้ในแบบของวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์ หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: ยีนและอณูพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อโกรแบคทีเรียม

อโกรแบคทีเรียม (Agrobacterium) จัดเป็นจุลินทรีย์ประเภทแบคทีเรียแกรมลบอาศัยอยู่ในดิน ถูกค้นพบโดย Nicholas Davidson เป็นแบคทีเรียที่นิยมใช้ในการถ่ายโอนยีนในพืช Agrobacterium tumefaciens จัดเป็นสายพันธุ์ที่นิยมใช้ศึกษาในการถ่ายยีนเข้าสู่พืชโดยนำยีนที่สนใจถ่ายเข้าสู่จีโนมพืชด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พื.

ใหม่!!: ยีนและอโกรแบคทีเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ฮือโค เดอ ฟรีส

ือโค มารี เดอ ฟรีส (Hugo Marie de Vries) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์และถือเป็นนักพันธุศาสตร์คนแรก ๆ ของโลก เป็นที่รู้จักจากการเสนอแนวคิดว่าด้วยยีน การค้นพบกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมซ้ำอีกครั้งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 โดยไม่รู้จักผลงานของเกรเกอร์ เมนเดล มาก่อน การเสนอใช้คำว่าการกลายพันธุ์ (mutation) และการพัฒนาทฤษฎีการกลายพันธุ์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ.

ใหม่!!: ยีนและฮือโค เดอ ฟรีส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีโมฟิเลีย บี

ฮีโมฟิเลีย บี เป็นโรคของการแข็งตัวของเลือดชนิดหนึ่ง เกิดจากการกลายพันธุ์ในยีนที่สร้างแฟกเตอร์ 9 ทำให้ร่างกายมีระดับของแฟกเตอร์ 9 ลดลง ถือเป็นโรคฮีโมฟิเลียที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากฮีโมฟิเลีย เอ บางครั้งเรียกว่าโรคคริสต์มาส ตามชื่อของสตีเฟน คริสต์มาส ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายแรกที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะนี้ หมวดหมู่:ฮีโมฟิเลีย หมวดหมู่:โรคที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเอกซ์ลักษณะด้อย.

ใหม่!!: ยีนและฮีโมฟิเลีย บี · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: ยีนและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

จิตพยาธิวิทยาสัตว์

ตพยาธิวิทยาสัตว์ (Animal psychopathology) เป็นการศึกษาโรคจิตและพฤติกรรมในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยประวัติแล้ว ศาสตร์มักจะเอามนุษย์เป็นศูนย์ (มานุษยประมาณนิยม) เมื่อศึกษาจิตพยาธิวิทยาในสัตว์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองสำหรับโรคจิตในมนุษย์ แต่จากมุมมองทางวิวัฒนาการ จิตพยาธิของสัตว์จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมกว่าว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ปรับตัว (non-adaptive) เพราะความพิการทางความรู้คิด ความพิการทางอารมณ์ หรือความทุกข์บางอย่าง บทความนี้แสดงจิตพยาธิสัตว์จำนวนหนึ่งแต่ไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: ยีนและจิตพยาธิวิทยาสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาเชิงบวก

ตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) เป็นสาขาย่อยใหม่ของจิตวิทยาที่ใช้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และการแทรกแซงที่มีประสิทธิผล เพื่อช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่น่าพอใจ โดยสร้างความเจริญก้าวหน้าสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และค้นหาเสริมสร้างอัจฉริยภาพกับความสามารถเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ศาสตร์นี้เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตนเองแทนที่การรักษาโรค ซึ่งมักจะเป็นจุดสนใจของจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ เป็นวิทยาการที่ค่อนข้างใหม่ งานประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับศาสตร์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ยีนและจิตวิทยาเชิงบวก · ดูเพิ่มเติม »

จุดภาพชัดเสื่อม

ัดเสื่อม (macular degeneration) หรือ จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (age-related macular degeneration ตัวย่อ AMD, ARMD) เป็นโรคที่ทำให้มองไม่ชัดหรือมองไม่เห็นที่กลางลานสายตา เริ่มแรกสุดบ่อยครั้งจะไม่มีอาการอะไร ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บางคนจะมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ ที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แม้จะไม่ทำให้ตาบอดโดยสิ้นเชิง การมองไม่เห็นในส่วนกลางก็จะทำให้กิจกรรมในชีวิตต่าง ๆ ทำได้ยากรวมทั้งจำหน้าคน ขับรถ อ่านหนังสือเป็นต้น การเห็นภาพหลอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ใช่เป็นส่วนของโรคจิต จุดภาพชัดเสื่อมปกติจะเกิดกับคนสูงอายุ ปัจจัยทางพันธุกรรมและการสูบบุหรี่ก็มีผลด้วย เป็นอาการเนื่องกับความเสียหายต่อจุดภาพชัด (macula) ที่จอตา การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจตา ความรุนแรงของอาการจะแบ่งออกเป็นระยะต้น ระยะกลาง และระยะปลาย ระยะปลายยังแบ่งออกเป็นแบบแห้ง (dry) และแบบเปียก (wet) โดยคนไข้ 90% จะเป็นแบบแห้ง การป้องกันรวมทั้งการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ถูกสุขภาพ และไม่สูบบุหรี่ วิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกัน ไม่มีวิธีแก้หรือรักษาการเห็นที่สูญไปแล้ว ในรูปแบบเปียก การฉีดยาแบบ anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor) เข้าที่ตา หรือการรักษาอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการยิงเลเซอร์ (laser coagulation) หรือ photodynamic therapy อาจช่วยให้ตาเสื่อมช้าลง อาหารเสริมรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุสำหรับคนไข้ที่มีโรคอาจช่วยชะลอความเสื่อมด้วย ในปี 2015 โรคนี้มีผลต่อคนไข้ 6.2 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2013 มันเป็นเหตุให้ตาบอดเป็นอันดับสี่หลังต้อกระจก การเกิดก่อนกำหนด และต้อหิน มันเกิดบ่อยที่สุดในผู้มีอายุเกิน 50 ปีในสหรัฐอเมริกา และเป็นเหตุเสียการเห็นซึ่งสามัญที่สุดในคนกลุ่มอายุนี้ คนประมาณ 0.4% ระหว่างอายุ 50-60 ปีมีโรคนี้ เทียบกับ 0.7% ของคนอายุ 60-70 ปี, 2.3% ของคนอายุ 70-80 ปี, และ 12% ของคนอายุเกิน 80 ปี.

ใหม่!!: ยีนและจุดภาพชัดเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

จีน (แก้ความกำกวม)

ีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ยีนและจีน (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

จีนีติซิน

ีนีติซิน หรือ จี 418 (Geneticin หรือ G418) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับเจนตามัยซิน บี1 จีนีติซินถูกสร้างขึ้นโดยแบคทีเรียสายพันธุ์ Micromonospora rhodorangea ยานี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน โดยเข้าไปขัดขวางกระบวนการต่อสายโปรตีน (elongation) ทั้งในเซลล์ยูคาริโอตและเซลล์โพรคาริโอต ทำให้ไม่มีการใช้ยานี้เพื่อการรักษาโรคในมุนษย์และสัตว์ เนื่องจากจีนีติซินจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของโฮสต์ได้ด้วย ในปัจจุบัน มีการนำจีนีติซินไปใช้ในการคัดเลือกเซลล์ที่ได้รับการแตกแต่งพันธุกรรมให้ดื้อต่อยานี้ (โดยมีการใช้ KanMX ติดเป็นเครื่องหมายพันธุกรรม) โดยการเกิดการดื้อต่อจีนีติซินนี้เป็นผลมาจากนีโอยีนของเอนไซม์ทรานสโพเสส Tn5 (Transposase Tn5) ทำให้มีการสร้างเอนไซม์ aminoglycoside 3'-phosphotransferase (APT 3' II) ขึ้น ซึ่งเอนไซม์นี้มีส่วนทำให้เกิดการดื้อต่อจีนีติซินของแบคทีเรีย จีนีติซินเป็นอนุพันธ์ของนีโอมัยซินซัลเฟต จึงมีกลไกลการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงนีโอมัยซินมากกว่ายาปฏิชีวนะอื่นในกลุ่มเดียวกัน ขนาดจีนีติซินที่ใช้ในการทดลองสำหรับเซลล์แบคทีเรียและสาหร่ายนั้นมีความเข้มข้นประมาณ 5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร หรือน้อยกว่า สำหรับเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นจะใช้ความเข้มข้นประมาณ 400 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับการคัดเลือกเซลล์ หรือที่ความเข้มข้น 200 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สำหรับการคงสภาพเซลล์ อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับการคัดเลือกเซลล์ที่ดื้อต่อยานี้นั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่ใช้และความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการดื้อยาของพลาสมิด ดังนั้นจึงควรมีการทำการไตเตรทหาช่วงความเข้มข้นที่เหมาะสมเพื่อกำหนดสภาวะที่ดีที่สุดสำหรับทุกระบบทดลอง การไตเตรทควรทำโดยใช้ความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะตั้งแต่ 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ถึง 1400 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โดยการคัดเลือกเซลล์ที่ดื้อยานี้อาจใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือในกรณีอาจนานถึง 3 สัปดาห.

ใหม่!!: ยีนและจีนีติซิน · ดูเพิ่มเติม »

จีโนม

วิชาพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยายุคใหม่กำหนดใช้คำว่า จีโนม (genome) หมายถึง ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ โดยอาจอยู่ในรูปของดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ (ในกรณีของไวรัสหลายชนิด) ก็ได้ โดยนับรวมทั้งส่วนที่เป็นยีนและส่วนที่ไม่มีการถอดรหัสด้ว.

ใหม่!!: ยีนและจีโนม · ดูเพิ่มเติม »

ทายกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล

Mirabilis jalapa Carl Correns การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล หรือ ทายกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล (Non-Mendelian inheritance) เป็นคำทั่วไปใช้กล่าวถึงแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมใดๆ ที่ไม่กระจุกตัวอยู่ในประชากรตามกฎของเมนเดล กฎของเมนเดลที่กล่าวถึงนี้อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่เชื่อมโยงกับยีนหนึ่งๆ ยีนเดียว (single gene) บนโครโมโซมในนิวเคลียส ถ้าเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นไปตามกฎของเมนเดล พ่อและแม่แต่ละคนจะส่งต่ออัลลีลอย่างหนึ่งในสองอย่างที่มีเพื่อถ่ายทอดลักษณะ ถ้าสามารถทราบถึงจีโนไทป์ (ลักษณะพันธุกรรม) ของพ่อและแม่ได้ จะสามารถใช้กฎของเมนเดลทำนายอัตราการกระจายของฟีโนไทป์ (ลักษณะปรากฏ) ที่คาดว่าจะพบในประชากรรุ่นลูกได้ ทั้งนี้ มีหลายๆ สถานการณ์ ที่ทำให้สัดส่วนของฟีโนไทป์ที่พบในรุ่นลูก ไม่เป็นไปตามที่ทำนายไว้ เช่นนี้จึงเรียกว่า "ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล".

ใหม่!!: ยีนและทายกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบบีตา

ทาลัสซีเมียแบบบีตา (Beta thalassemias, β thalassemias) เป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางพันธุกรรม เป็นรูปแบบของทาลัสซีเมียที่มีเหตุจากการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของเฮโมโกลบิน (HBB) ที่ผิดปกติ คือลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งอาจมีผลต่าง ๆ เริ่มต้นจากภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง จนถึงบุคคลที่ไม่มีอาการเลย ความชุกของโรคทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 1 ใน 100,000 เป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ที่ 11 โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับลักษณะการกลายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ ผู้ที่มีโรคเต็มตัว (major) จะมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดแดงสลาย ไม่โต และมีความผิดปกติทางกระดูกในวัยทารก เด็กที่มีโรคเต็มตัวจะต้องถ่ายเลือดตลอดชีวิต ผู้ที่มีโรคเต็มตัวมักจะเสียชีวิตเกี่ยวกับปัญหาทางหัวใจเนื่องจากภาวะเหล็กเกินโดยอายุ 30 ปี ผู้ที่มีโรคระดับปานกลาง (intermedia) มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแต่อาจจะต้องถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน ความขัดข้องในการถอดรหัสยีน HBB มีผลเป็นการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของโปรตีนโกลบินที่ลดลง ซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง เมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia) ดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB เพราะเหตุนี้ คนไข้อาจจำเป็นต้องได้การถ่ายเลือดเพื่อทดแทนการไม่ผลิตห่วงลูกโซ่บีตา แต่การถ่ายเลือดซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่ภาวะเหล็กเกิน (iron overload) ซึ่งมีผลเป็นภาวะเหล็กเป็นพิษ (iron toxicity) และภาวะเหล็กเป็นพิษสามารถมีผลหลายอย่าง รวมทั้ง myocardial siderosis (ภาวะสะสมเหล็กในหัวใจ) และหัวใจวายซึ่งอาจทำให้ถึงชีวิต.

ใหม่!!: ยีนและทาลัสซีเมียแบบบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา

ทาลัสซีเมียแบบแอลฟา (Alpha-thalassemia, α-thalassemia, α-thalassaemi) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางกรรมพันธุ์และเกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน โดยเฉพาะแล้ว แบบแอลฟาเกิดจากความผิดปกติของยีน HBA1 และ/หรือ HBA2 บนโครโมโซม 16 ทำให้ผลิตห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาจากยีน globin 1,2,3, หรือทั้ง 4 ยีนอย่างผิดปกติ มีผลให้ห่วงลูกโซ่แบบแอลฟาลดลงหรือไม่มี และเกิดห่วงลูกโซ่แบบบีตามากเกินสัดส่วน ระดับความพิการที่เกิดจะขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม (phenotype) ที่มี คือ มียีนกี่ตำแหน่งที่เปลี่ยนไป แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบพาหะเงียบ (silent carrier) และแบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ คนที่เป็นระดับปานกลาง (intermedia) จะมีภาวะเลือดจางเพราะการสลายเลือด และทารกที่มีระดับหนัก (major) มักจะไม่รอดชีวิต บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน และบุคคลที่เป็น trait ควรตรวจบุตรที่อยู่ในครรภ์ (chorionic villus sampling).

ใหม่!!: ยีนและทาลัสซีเมียแบบแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา

ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา (Delta-beta thalassemia) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่มีความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน ซึ่งสืบทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) โดยสัมพันธ์กับหน่วยย่อยของเฮโมโกลบินส่วนเดลต.

ใหม่!!: ยีนและทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา · ดูเพิ่มเติม »

ทูเบอรัส สเคลอโรซิส

ทูเบอรัส สเคลอโรซิส (tuberous sclerosis, tuberous sclerosis complex (TSC)) เป็นโรคทางพันธุกรรมซึ่งพบน้อย ส่งผลต่อระบบร่างกายหลายระบบ ทำให้เกิดเนื้องอกในสมองและอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น ไต หัวใจ ปอด และผิวหนัง ผู้ป่วยอาจมีอาการชัก ความบกพร่องทางสติปัญญา พัฒนาการล่าช้า มีปัญหาพฤติกรรม ผิวหนังผิดปกติ มีโรคปอด โรคไต เป็นต้น โรคนี้เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนใดยีนหนึ่งระหว่าง TSC1 และ TSC2 ซึ่งถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนฮามาร์ตินและทูเบอรินตามลำดับ โปรตีนเหล่านี้ประกอบกันเป็น tumor growth suppressor ซึ่งช่วยควบคุมการแบ่งตัวและการกำหนดประเภท (differentiation) ของเซลล์ ชื่อภาษาอังกฤษ "tuberous sclerosis" มาจากคำภาษาลาติน tuber (การบวม) และคำภาษากรีก skleros (แข็ง) มาจากพยาธิสภาพของโรคที่มีการตรวจพบบางส่วนของสมองของผู้ป่วยที่เสียชีวิต พบว่ามีบางส่วนแข็งตัวขึ้น เรียกส่วนเหล่านีว่า tuber ซึ่ง tuber เหล่านี้ ถูกบรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ยีนและทูเบอรัส สเคลอโรซิส · ดูเพิ่มเติม »

ที. คอลิน แคมป์เบลล์

. ดร.

ใหม่!!: ยีนและที. คอลิน แคมป์เบลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: ยีนและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวทอง

กระบวนการสร้างบีตา-แคโรทีนในเอนโดสเปิร์มของข้าวทอง เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องแสดงเป็นสีแดง ข้าวทอง (golden rice) เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยวิธีทางพันธุวิศวกรรม ให้ข้าวสามารถสังเคราะห์บีตา-แคโรทีน (เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ) ได้Ye et al.

ใหม่!!: ยีนและข้าวทอง · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: ยีนและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

คริสเปอร์

ริสเปอร์/แคสไนน์ (CRISPR/Cas9) doi.

ใหม่!!: ยีนและคริสเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คลอแรมเฟนิคอล

ลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol หรือ 2,2-dichlor-N-acetamide) เป็น ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ได้จาก แบคทีเรีย ชื่อ สเตรปโตมัยซีส เวเนซูเอลี (Streptomyces venezuelae) และปัจจุบันได้จากการสังเคราะห์ คลอแรมเฟนิคอล มีประสิทธิภาพในการต้านจุลินทรีย์ได้หลายชนิด แต่เนื่องจากมันมีผลข้างเคียงที่อันตรายมาก เช่น ทำลายไขกระดูก (bone marrow) และ มะเร็งเม็ดโลหิตขาว (aplastic anemia) ถึงแม้จะมีผลข้างเคียงที่อันตรายแต่องค์การอนามัยโลกก็อนุญาตให้ใช้ คลอแรมเฟนิคอล สำหรับรักษาโรคทางเดินอาหารของเด็กในประเทศโลกที่ 3 กรณีที่ไม่มีทางเลือกใช้ยาที่ดีกว่าและถูกกว่า โรคที่ใช้รักษาได้แก่อหิวาตกโรค (cholera) สามารถทำลายเชื้อ วิบริโอ (vibrio) และลดอาการ ท้องร่วง (diarrhea) มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ วิบริโอ ที่ดื้อยา เตตร้าไซคลิน (tetracycline) ได้ดี และนอกจากนี้ยังใช้ใน ยาหยอดตา (eye drop) เพื่อรักษาโรค เยื่อตาขาวอักเสบ (conjunctivitis).

ใหม่!!: ยีนและคลอแรมเฟนิคอล · ดูเพิ่มเติม »

ควากกา

ม้าลายควากกา (Quagga) เป็นชนิดย่อยของม้าลายธรรมดา (E. quagga) ชนิดหนึ่ง ม้าลายควากกา เป็นม้าลายที่มีลวดลายหรือลักษณะที่จำแนกได้เด่นชัดที่สุดในบรรดาม้าลายทั้งหมด เพราะมีลายเฉพาะบริเวณส่วนหัวไล่ลงมาถึงต้นคอเท่านั้น จากนั้นจะจางลงจนเกือบขาวที่บริเวณขา และขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดง ในอดีตม้าลายควากกา อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้ากึ่งแห้งแล้งร่วมกับสัตว์อื่น ๆ ในแอฟริกาใต้ เมื่อชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาตั้งรกรากในแอฟริกาใต้ ชาวบัวร์ได้ล่าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ม้าลายควากกามีขนสวยงาม และอ่อนนุ่มกว่าม้าลายชนิดอื่น ๆ จึงกลายเป็นเป้าหมายของนักล่า ม้าลายควากกาถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร และใช้หนังเพื่อทำกระเป๋า ม้าลายควากกาตัวสุดท้ายในป่า ถูกยิงตายในปี..

ใหม่!!: ยีนและควากกา · ดูเพิ่มเติม »

ความสำเร็จในการสืบพันธุ์

ตัวอสุจิกำลังผสมเชื้อกับไข่ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการสืบพันธุ์ ความสำเร็จในการสืบพันธุ์ (Reproductive success) คือการสืบทอดยีนไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป โดยที่รุ่นต่อไปก็สามารถสืบทอดยีนเหล่านั้นต่อไปได้ด้วย นี่ไม่ใช่เพียงแค่จำนวนของลูกที่สิ่งมีชีวิตนั้นมี แต่รวมโอกาสความสำเร็จในการสืบพันธุ์ที่ลูกของสิ่งมีชีวิตนั้นมีด้วย ทำให้การเลือกคู่ (ซึ่งเป็นส่วนของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ) เป็นปัจจัยสำคัญ เป็นแนวคิดที่ทำความเหมาะสมให้เป็นกุญแจหลักอย่างหนึ่งในทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติและวิวัฒนาการ.

ใหม่!!: ยีนและความสำเร็จในการสืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม

การเปลี่ยนแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม (Genetic variability, จากคำว่า vary + liable - เปลี่ยนได้) เป็นสมรรถภาพของระบบชีวภาพไม่ว่าจะที่ระดับสิ่งมีชีวิตหรือที่กลุ่มประชากร ในการเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มูลฐานของความผันแปรได้ทางพันธุกรรมก็คือความแตกต่างทางพันธุกรรมของระบบชีวภาพในระดับต่าง ๆ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรมอาจนิยามได้ด้วยว่า เป็นค่าความโน้มเอียงที่จีโนไทป์แต่ละชนิด ๆ ในกลุ่มประชากรจะแตกต่างกัน โดยต่างจากความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ซึ่งเป็นจำนวนความแตกต่างที่พบในกลุ่มประชากร ความผันแปรได้ของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จึงหมายถึงค่าความโน้มเอียงที่ลักษณะจะต่าง ๆ กันเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและต่อปัจจัยทางพันธุกรรมอื่น ๆ ความผันแปรได้ของยีนในกลุ่มประชากรสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เพราะถ้าไม่สามารถผันแปรได้ กลุ่มสิ่งมีชีวิตก็จะมีปัญหาปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และดังนั้น จะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ความผันแปรได้เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการวิวัฒนาการ เพราะมีผลต่อการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อความกดดันทางสิ่งแวดล้อม และดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงสามารถรอดชีวิตได้ต่าง ๆ กันในกลุ่มประชากรหนึ่ง ๆ เนื่องจากธรรมชาติจะคัดเลือกความต่างซึ่งเหมาะสมที่สุด ความผันแปรได้ยังเป็นมูลฐานของความเสี่ยงต่อโรคและความไวพิษ/ยาที่ต่าง ๆ กันในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเพิ่มความสนใจในเรื่องการแพทย์แบบปรับเฉพาะบุคคล (personalized medicine) โดยเนื่องกับโครงการจีโนมมนุษย์ และความพยายามเพื่อสร้างแผนที่กำหนดขอบเขตความแตกต่างทางพันธุกรรมของมนุษย์ เช่น ในโครงการ International Hapmap homologous recombination เป็นเหตุเกิดความผันแปรได้ทางพันธุกรรมที่สำคัญ polyploidy จะเพิ่มความผันแปรได้ทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์เปลี่ยนแพรเซี่ยงไฮ้ให้มีดอกสีต่างกัน.

ใหม่!!: ยีนและความผันแปรได้ทางพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง

วามผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder, NPD) หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ โรคหลงตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติในระยะยาว อาการหลักได้แก่การรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง มีความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ และการไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ผู้เป็นโรคนี้เสียเวลากับการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ ความมีอำนาจ หรือเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตน พวกเขามักเอาเปรียบคนรอบข้าง พฤติกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเกิดข้ึนได้ในหลายเหตุการณ์ ยังไม่มีใครรู้สาเหตุของโรคหลงตัวเอง คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตจัดให้โรคนี้อยู่ในกลุ่ม B (cluster B) โรคถูกวินิฉัยด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โรคนี้ต่างจากอาการฟุ้งพล่าน และอาการติดยา การรักษายังไม่ถูกศึกษามากนัก การบำบัดมักเป็นไปได้ยากเนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา เชื่อกันว่าคนประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์เป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โรคนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนมีอายุ บุคลิกภาพนี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: ยีนและความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย

วามผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย เป็นกลุ่มของโรคทางพันธุกรรมกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความผิดปกติในกระบวนการสร้างและสลายหรือเมตาบอลิซึม ส่วนใหญ่เกิดจากความบกพร่องของยีนเดี่ยวยีนหนึ่งซึ่งถอดรหัสออกมาเป็นเอนไซม์ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนสารหนึ่งให้เป็นสารหนึ่ง โรคส่วนใหญ่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาจากการสะสมของสารตั้งต้น (substrate) ซึ่งเป็นพิษหรือรบกวนกระบวนการปกติของร่างกาย หรือมีปัญหาจากการขาดพร่องของผลิตผล (product) ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ คำอื่นที่ใช้เรียกโรคในกลุ่มนี้เช่น congenital metabolic disease (โรคของกระบวนการสร้างและสลายที่เป็นมาแต่กำเนิด) และ inherited metabolic disease (โรคของกระบวนการสร้างและสลายที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์) คำว่า inborn error of metabolism ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยแพทย์ชาวอังกฤษ Archibald Garrod (1857-1936) ใน..

ใหม่!!: ยีนและความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: ยีนและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

ความจำอาศัยเหตุการณ์

วามจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวประวัติของตนเอง (รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ อารมณ์ความรู้สึกที่มี และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ) ที่สามารถระลึกได้ภายใต้อำนาจจิตใจและนำมากล่าวได้อย่างชัดแจ้ง เป็นความจำรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ของตนในอดีต แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วันเวลาหนึ่ง ๆ และในสถานที่หนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราระลึกถึงงานเลี้ยง (หรือการทำบุญ) วันเกิดเมื่ออายุ 6 ขวบได้ นี่เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นความจำที่ยังให้เราสามารถเดินทางกลับไปในกาลเวลา (ในใจ) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วันเวลานั้น ๆ และสถานที่นั้น ๆ ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) และความจำอาศัยเหตุการณ์รวมกันจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง (explicit memory) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเภทหลัก ๆ ของความจำ (โดยอีกประเภทหนึ่งเป็นความจำโดยปริยาย) นักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อว่าเอ็นเด็ล ทัลวิง ได้บัญญัติคำว่า "Episodic Memory" ไว้ในปี..

ใหม่!!: ยีนและความจำอาศัยเหตุการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: ยีนและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อมโยงของพันธุกรรม

วามเชื่อมโยงของพันธุกรรม (genetic linkage) คือแนวโน้มที่ยีนบนโลคัสจำนวนหนึ่งมีโอกาสที่มีถูกถ่ายทอดไปพร้อมกัน โลคัสที่มีตำแหน่งทางกายภาพอยู่ใกล้กันบนโครโมโซมเดียวกันมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ด้วยกันหลังเกิดการไขว้เปลี่ยนของโครโมโซมในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ทำให้เป็นพันธุกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน.

ใหม่!!: ยีนและความเชื่อมโยงของพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: ยีนและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

ความเหมาะสม

วามเหมาะสม หรือ ค่าความเหมาะสม (Fitness, มักเขียนเป็น w ในสูตรพันธุศาสตร์ประชากร) เป็นแนวคิดหลักอย่างหนึ่งในทฤษฎีวิวัฒนาการ ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ๆ จะกำหนดโดยลักษณะทางพันธุกรรม (genotype) หรือลักษณะปรากฏ (phenotype) ก็ได้ ในกรณีแม้ทั้งสอง สามารถอธิบายได้โดยสามัญว่า เป็นความสามารถที่จะรอดชีวิตและสืบพันธุ์ได้ และมีค่าเป็น การให้ยีนของตนโดยเฉลี่ย เป็นส่วนของยีนทั้งหมดในประชากร (gene pool) รุ่นต่อไป โดยเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมหรือลักษณะปรากฏ เช่นนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างคือ ถ้าความแตกต่างของอัลลีลที่พบในยีนหนึ่ง ๆ มีผลต่อความเหมาะสม ความถี่ของอัลลีลนั้นก็จะเปลี่ยนไปตามรุ่น คือ อัลลีลที่เหมาะสมมากกว่าจะมีความถี่สูงกว่า เป็นอัลลีลที่สามัญกว่าในกลุ่มประชากร กระบวนการนี้เรียกว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Darwinian fitness" มักจะใช้หมายถึงความเหมาะสมที่ว่านี้ โดยแตกต่างจากคำว่า "physical fitness" ซึ่งหมายถึงความแข็งแรงของร่างกาย ความเหมาะสมของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ จะปรากฏทางลักษณะปรากฏ โดยมีอิทธิพลทั้งจากสิ่งแวดล้อมและจากยีน และความเหมาะสมของลักษณะปรากฏนั้น ๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน อาจจะมีความเหมาะสมไม่เท่ากัน (เพราะอาจมีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน) และเพราะว่า ค่าความเหมาะสมของลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ๆ เป็นค่าเฉลี่ย ดังนั้น ก็จะเป็นค่าสะท้อนความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ๆ ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ส่วนคำว่า "Inclusive fitness" (ความเหมาะสมโดยรวม) ต่างจากความเหมาะสมโดยบุคคล เพราะรวมเอาความสามารถของอัลลีลในแต่ละบุคคล ที่ส่งเสริมการอยู่รอดและการสืบพันธุ์ของบุคคลอื่น ๆ นอกจากตน ที่มีอัลลีลนั้นเหมือนกัน ให้เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่มีอัลลีลคนละอย่าง กลไกของความเหมาะสมโดยรวมอย่างหนึ่งก็คือ kin selection (การคัดเลือกโดยญาติ).

ใหม่!!: ยีนและความเหมาะสม · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงในการตีพิมพ์

วามเอนเอียงในการตีพิมพ์ (ผลงานวิจัย) (Publication bias) เป็นความเอนเอียง (bias) ในประเด็นว่า ผลงานวิจัยอะไรมีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับการตีพิมพ์ ในบรรดางานทั้งหมดที่ได้ทำ ความเอนเอียงโดยธรรมชาติแล้วไม่ได้เป็นปัญหาทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงในการที่จะไม่ตีพิมพ์เรื่องไม่จริงเป็นความเอนเอียงที่พึงปรารถนา แต่ความเอนเอียงที่เป็นปัญหาก็คือความโน้มน้าวที่นักวิจัย บรรณาธิการ และบริษัทผลิตยา มักจะมีความประพฤติกับผลงานทดลองที่เป็น "ผลบวก" (คือ แสดงว่าประเด็นการทดลองมีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) แตกต่างจากงานทดลองที่เป็น "ผลลบ" (null result หรือผลว่าง คือ ประเด็นการทดลองไม่มีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) หรือว่าไม่มีความชัดเจน ซึ่งนำไปสู่ความเอนเอียงที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องนั้น ที่มีในบรรดางานที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งหมด ความเอนเอียงนี้มักจะเป็นไปในทางการรายงานผลที่มีนัยสำคัญ แม้ว่าจริง ๆ แล้วงานทดลองที่แสดงนัยสำคัญไม่ได้มีคุณภาพการออกแบบการทดลองที่ดีกว่างานทดลองที่แสดงผลว่าง คือ ได้เกิดการพบว่า ผลที่มีนัยสำคัญมีโอกาสที่จะได้รับการตีพิมพ์มากกว่าผลที่แสดงผลว่างมากกว่าถึง 3 เท่า และก็มีการพบด้วยว่า เหตุผลสามัญที่สุดของการไม่ตีพิมพ์ผลงานก็คือผู้ทำงานวิจัยปฏิเสธที่จะเสนอผลงานเพื่อพิมพ์ (เพราะว่า ผู้ทำงานวิจัยหมดความสนใจในประเด็นนั้น หรือว่าคิดว่า ผู้อื่นจะไม่สนใจในผลว่าง หรือเหตุผลอื่น ๆ) ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงบทบาทของนักวิจัยในปรากฏการณ์ความเอนเอียงในการตีพิมพ์นี้ เพื่อที่จะพยายามลดปัญหานี้ วารสารแพทย์ที่สำคัญบางวารสารเริ่มมีการกำหนดให้ลงทะเบียนงานทดลองก่อนที่จะเริ่มทำเพื่อว่า ผลที่ไม่แสดงความสัมพันธ์ของประเด็นงานวิจัยกับผลจะไม่ถูกกักไว้ไม่ให้พิมพ์ มีองค์กรการลงทะเบียนเช่นนี้หลายองค์กร แต่นักวิจัยมักจะไม่รู้จัก นอกจากนั้นแล้ว ความพยายามที่ผ่านมาที่จะระบุหางานทดลองที่ไม่ได้รับการพิมพ์ปรากฏว่า เป็นเรื่องที่ยากและมักจะไม่เพียงพอ อีกกลยุทธ์หนึ่งที่เสนอโดยผู้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยต่าง ๆ ก็คือให้ระวังการใช้ผลงานทดลองทางคลินิกที่ไม่ใช่แบบสุ่ม (non-randomised) และมีตัวอย่างทางสถิติน้อย เพราะว่า เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อข้อผิดพลาดและความเอนเอียง.

ใหม่!!: ยีนและความเอนเอียงในการตีพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเด่น (พันธุศาสตร์)

แผนภาพพงสาวลีแสดงการถ่ายทอดลักษณะซึ่งเป็นลักษณะเด่น ความเด่น (dominance) เป็นความสัมพันธ์ทางพันธุศาสตร์ระหว่างรูปแบบ (อัลลีล) สองรูปแบบของยีนหนึ่งๆ ซึ่งอัลลีลแบบหนึ่งจะบดบังการแสดงออกของอีกอัลลีลหนึ่ง ส่งผลต่อการแสดงเป็นลักษณะปรากฏ ในกรณีที่ไม่ซับซ้อนซึ่งยีนที่สนใจมีอัลลีลที่เป็นไปได้เพียง 2 แบบ คือ A กับ B จะสามารถเกิดการผสมกันของอัลลีลเป็นลักษณะทางพันธุกรรมหรือจีโนไทป์ได้ 3 แบบ คือ AA, BB และ AB ซึ่งหากพบว่าคนที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเป็น AB (เฮเทอโรไซกัส) มีลักษณะปรากฏหรือฟีโนไทป์เหมือนกันกับคนที่เป็น AA (โฮโมไซกัส) และคนที่เป็น BB มีลักษณะปรากฏที่แตกต่างออกไป จะถือว่า อัลลีล A มีลักษณะเด่น (dominate หรือ be dominant to) ต่ออัลลีล B และอัลลีล B ถือว่ามีลักษณะด้อย (be recessive to) ต่ออัลลีล A หลักการเบื้องต้นกำหนดให้อัลลีลที่เป็นลักษณะเด่นเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และอัลลีลที่เป็นลักษณะด้อยเขียนด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก ดังนั้นในกรณีนี้ก็จะต้องใช้ a แทน B ทำให้ A มีลักษณะเด่นต่อ a (และ a มีลักษณะด้อยต่อ A) และลักษณะพันธุกรรมที่เป็น AA กับ Aa จะทำให้มีลักษณะปรากฏที่เหมือนกัน ส่วน aa จะทำให้มีลักษณะปรากฏที่แตกต่างออกไป.

ใหม่!!: ยีนและความเด่น (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์

ีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ (Monsanto Canada Inc v Schmeiser) 1 S.C.R. 902, 2004 SCC 34 เป็นคดีบรรทัดฐานของศาลสูงสุดของประเทศแคนาดา เรื่องสิทธิของสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีชีวภาพ ระหว่างเกษตรกรผักกาดชาวแคนาดาคือ เพอร์ซี ชไมเซอร์ กับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตรมอนซานโต้ ศาลฯ นั่งพิจารณาปัญหาว่า พืชดัดแปรพันธุกรรมที่ปลูกโดยเจตนาของชไมเซอร์นั้นเป็น "การใช้" (use) เซลล์พืชดัดแปรพันธุกรรมที่จดสิทธิบัตรของมอนซานโต้หรือไม่ ศาลฯ มีคำวินิจฉัยชี้ขาดด้วยฝ่ายข้างมาก 5-4 ว่าเป็น คดีนี้ได้รับความสนใจจากชนทั่วโลก ที่เข้าใจผิดกันอย่างกว้างขวางว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไร่ของเกษตรกรเกิดปนเปื้อนโดยไม่ได้ตั้งใจด้วยเมล็ดพันธุ์ที่จดสิทธิบัตร ทว่าเมื่อพิจารณาคดี ข้อเรียกร้องที่เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์จดสิทธิบัตรในแปลงที่ถูกปนเปื้อนในปี 2540 ก็ล้วนถูกถอนไปหมดแล้ว และศาลเพียงแต่พิจารณาเรื่องเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกในแปลงปี 2541 ซึ่งชไมเซอร์จงใจเก็บรวบรวมจากพืชผลแปรพันธุกรรมที่ได้อย่างไม่ได้ตั้งใจในปี 2540 แล้วปลูกโดยเจตนาในปีต่อมา และสำหรับพืชผลในปี 2541 ชไมเซอร์เองก็ไม่ได้พยายามสู้ความโดยอ้างว่าเกิดการปนเปื้อนโดยอุบัติเหตุเล.

ใหม่!!: ยีนและคดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาวแวมไพร์ธรรมดา

้างคาวแวมไพร์ธรรมดา หรือ ค้างคาวดูดเลือดธรรมดา (Common vampire bat, Vampire bat) เป็นค้างคาวขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Desmodus rotundus (/เดส-โม-ดัส /โร-ทัน-ดัส/) จัดเป็นค้างคาวเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Desmodus เป็นค้างคาวแวมไพร์หรือค้างคาวดูดเลือด 1 ใน 3 ชนิดที่มีในโลก แต่ถือเป็นเพียงชนิดเดียวที่ดูดเลือดของสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่กว่ากินเป็นอาหารเท่านั้น จัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่กินเลือดเป็นอาหาร กระจายพันธุ์ในป่าดิบตั้งแต่อเมริกากลาง จนถึงทั่วไปในหลายพื้นที่ของทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะทั่วไปของค้าวคาวแวมไพร์ธรรมดา คือ จะมีปากสั้นรูปกรวย ไม่มีปีกจมูกทำให้เผยเห็นโพรงจมูกเป็นรูปตัวยู และมีอวัยวะพิเศษ เรียกว่า "Thermoreceptors" ติดอยู่ที่ปลายจมูก สำหรับใช้ช่วยตรวจหาบริเวณที่มีเลือดไหลได้ดีใต้ผิวหนังของเหยื่อ อีกทั้งยังมีสายตาที่มองเห็นเป็นภาพอินฟาเรด จากอุณหภูมิความร้อนของตัวเหยื่อ และทำให้เห็นดีมากในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาออกหากิน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้Delpietro V. & Russo, R. G. (2002) "Observations of the Common Vampire Bat and the Hairy-legged Vampire Bat in Captivity", Mamm.

ใหม่!!: ยีนและค้างคาวแวมไพร์ธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: ยีนและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ใหม่!!: ยีนและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมคาวเปอร์

Bulbourethral gland หรือ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland) ตามชื่อของนักกายวิภาคชื่อว่า วิลเลียม คาวเปอร์ เป็นต่อมขับออก (exocrine gland) ในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้มากมายหลายประเภท (ในบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย มีสุนัขเท่านั้นที่ไม่มี) เป็นต่อมที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับต่อมบาร์โทลิน (Bartholin's gland) ในสัตว์ตัวเมี.

ใหม่!!: ยีนและต่อมคาวเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิสติก ไฟโบรซิส

ซิสติก ไฟโบรซิส (cystic fibrosis) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดแบบลักษณะด้อยอย่างหนึ่ง อาการเด่นเกิดขึ้นกับปอด และมีอาการอื่นๆ เกิดกับตับอ่อน ตับ และลำไส้ได้ด้วย ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในโปรตีนขนย้ายคลอไรด์และโซเดียมบนผิวเซลล์เยื่อบุ ทำให้มีสารคัดหลั่งข้นเหนียวกว่าปกต.

ใหม่!!: ยีนและซิสติก ไฟโบรซิส · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์เทสเตอร์

ซูเปอร์เทสเตอร์ ให้ใช้ศัพท์ต่างประเทศของคำว่า super และ taster แทนคำไทยได้, วิธีถอดอักษรโรมันเป็นไทยของราชบัณฑิตยสถานจะเขียนว่า "ซุปเป้อร์เท้สเต้อร์" (supertaster แปลอย่างหนึ่งได้ว่า สุดยอดคนชิมอาหาร) เป็นบุคคลผู้ที่สามารถรับรสของสิ่งที่อยู่ที่ลิ้น ในระดับที่เข้มข้นมากกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย ในประชากรทั้งหมด ผู้หญิง 35% และผู้ชาย 15% เป็นซูเปอร์เทสเตอร์ และมีโอกาสที่จะสืบเชื้อสายมาจากคนเอเซีย คนอัฟริกา และคนอเมริกาใต้มากกว่าคนเชื้อชาติอื่น ๆ BBC เหตุของระดับการตอบสนองที่สูงขึ้นเช่นนี้ยังไม่ชัดเจน ถึงแม้จะเชื่อกันว่า มีเหตุเกี่ยวข้องกับการมียีน TAS2R38 ซึ่งทำให้สามารถรับรสของสาร PropylthiouracilPropylthiouracil เป็นยาที่แปลงมาจากสาร Thiouracil ใช้ในการรักษาโรคไทรอยด์รวมทั้งโรคคอพอกตาโปนโดยลดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และ PhenylthiocarbamidePhenylthiocarbamide หรือเรียกว่า phenylthiourea เป็นสารประกอบประเภท organosulfur thiourea มีวงแหวนแบบ phenyl เป็นสารมีคุณสมบัติพิเศษที่มีรสชาติอาจจะเป็นขมมากหรือไม่มีรสอะไรเลย ขึ้นอยู่กับยีนของผู้ลิ้มรส ได้ และโดยส่วนหนึ่ง มีเหตุจากมีปุ่มรูปดอกเห็ด (fungiform papillae ที่ประกอบด้วยเซลล์รับรส) บนลิ้นที่มากกว่าปกติ การได้เปรียบของความสามารถนี้ในวิวัฒนาการไม่ใชัดเจน ในสิ่งแวดล้อมบางประเภท การตอบสนองทางรสชาติในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต่อรสขม อาจจะเป็นความได้เปรียบที่สำคัญใช้ในการหลีกเลี่ยงสารแอลคาลอยด์ที่อาจเป็นพิษในพืช แต่ในสิ่งแวดล้อมอื่น การตอบสนองในระดับที่สูงขึ้นอาจจะจำกัดอาหารที่ทานแล้วรู้สึกอร่อย fungiform papillae ที่ลิ้นปรากฏเพราะสีอาหารสีน้ำเงิน คำนี้บัญญัติโดยนักจิตวิทยาเชิงทดลองชื่อว่า ลินดา บาร์โทชัก ซึ่งทำงานวิจัยเป็นอาชีพเป็นเวลานานเกี่ยวกับความแตกต่างในยีนของการรับรู้รส ในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ดร.

ใหม่!!: ยีนและซูเปอร์เทสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปมประสาทรากหลัง

ในกายวิภาคศาสตร์และประสาทวิทยาศาสตร์ ปมประสาทรากหลัง หรือ ปมประสาทไขสันหลัง (dorsal root ganglion หรือ spinal ganglion, ganglion sensorium nervi spinalis, ตัวย่อ DRG) เป็นปุ่มเล็กๆ บนรากหลัง (dorsal root) ของไขสันหลัง ที่มีเซลล์ประสาทซึ่งส่งสัญญาณจากอวัยวะรับความรู้สึก ไปยังศูนย์รวบรวมสัญญาณที่เหมาะสมในระบบประสาทกลาง ใยประสาทที่นำสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง (คือสมองหรือไขสันหลัง) เรียกว่า ใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber).

ใหม่!!: ยีนและปมประสาทรากหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทวิทยาศาสตร์

ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง (neuroanatomy), หน้าที่, การเจริญเติบโต (neural development), พันธุศาสตร์, ชีวเคมี, สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และพยาธิวิทยาของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย การศึกษาทางชีววิทยาของสมองของมนุษย์มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกันของสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลายระดับ มีตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงระดับเซลล์ (นิวรอน) ซึ่งมีทั้งระดับการทำงานของกลุ่มของนิวรอนจำนวนน้อย เช่น ในคอลัมน์ของสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortical columns) ไปจนถึงระดับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทการมองเห็น และไปจนถึงระดับการทำงานของระบบขนาดใหญ่ เช่น การทำงานของสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือ ซีรีเบลลัม และการทำงานของสมองทั้งหมด ระดับสูงสุดของการศึกษาวิชาประสาทวิทยา คือ การนำวิธีการศึกษาทางประสาทวิทยาไปรวมกับการศึกษาทางปริชานประสาทวิทยาศาสตร์ หรือประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้ (cognitive neuroscience) อันเป็นสาขาวิชาที่พัฒนามาจากวิชา จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology) แต่ปัจจุบันได้แยกออกมาเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ปริชานประสาทวิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานของจิตใจ (mind) และการมีสติ (consciousness) จากเหตุมายังผล ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาทางวิชาจิตวิทยาอันเป็นการศึกษาจากผลมายังเหตุ นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่าปริชานประสาทวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมจากการศึกษาทางจิตวิทยา และบางทีอาจจะดีกว่าจนกระทั่งมาแทนที่ความรู้ทางจิตวิทยาที่เชื่อกันมาได้ หัวข้อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น.

ใหม่!!: ยีนและประสาทวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: ยีนและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนไทย

thumb thumb นกกระเรียนไทย หรือ นกกระเรียน (sarus crane) เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 เมตร สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตาย นกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น "เกาะ" รูปวงกลมจากกก อ้อ และพงหญ้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา คาดกันว่าประชากรมีเพียง 10 หรือน้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 2.5) ของจำนวนที่มีอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1850 ประเทศอินเดียคือแหล่งที่มั่นของนกชนิดนี้ ที่ซึ่งนกเป็นที่เคารพและอาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตรใกล้กับมนุษย์ นกกระเรียนนั้นสูญหายไปจากพื้นที่การกระจายพันธุ์ในหลาย ๆ พื้นที่ในอดีต.

ใหม่!!: ยีนและนกกระเรียนไทย · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 1

โรคนิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 1 (neurofibromatosis type I, NF-1) เป็นโรคพันธุกรรมอย่างหนึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบนโครโมโซม 17 ที่ควบคุมการแบ่งเซลล์ ทำให้เกิดเนื้องอกขึ้นตามตำแหน่งต่างๆ ในระบบประสาทและผิวหนัง อาการอื่นๆ ที่พบได้บ่อย เช่น กระดูกสันหลังคด ความพิการทางการเรียน ความบกพร่องทางการมองเห็น และโรคลมชัก ชื่อเดิมของ NF-1 คือ โรคฟอน ริกกลิงเฮาเซน (von Recklinghausen disease) ตามชื่อของ Friedrich Daniel von Recklinghausen นักวิจัยผู้บันทึกโรคนี้เอาไว้เป็นครั้งแรก โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยวที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทของมนุษย์ที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง NF-1 เกิดจากความผิดปกติของการเจริญที่เป็นผลจากการกลายพันธุ์ในยีน neurofibromin ที่เป็นส่วนหนึ่งของ RAS pathway หมวดหมู่:ความบกพร่องของโปรตีนและเพปไทด์ในกระบวนการส่งสัญญาณภายในเซลล์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:กลุ่มโรคความผิดปกติของระบบประสาทและผิวหนัง.

ใหม่!!: ยีนและนิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรเล็กซ์

นิวโรเล็กซ์ (NeuroLex) เป็นพจนานุกรมพลวัตของข้อคิดต่าง ๆ ทางประสาทวิทยาศาสตร์ อยู่ในรูปแบบของ semantic wiki (วิกิแบบกำหนดความหมาย) โดยใช้ระบบของ Semantic MediaWiki เป็นโปรเจ็กต์สนับสนุนโดย Neuroscience Information Framework (ตัวย่อ NIF แปลว่า โครงข่ายข้อมูลประสาทวิทยาศาสตร์).

ใหม่!!: ยีนและนิวโรเล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสของเซลล์

เซลล์spider man ย้อมดีเอ็นเอด้วยสีย้อม Blue Hoechst เซลล์ตรงกลางและเซลล์ทางขวาอยู่ในระยะอินเตอร์เฟสจึงทำให้สามารถย้อมสีเห็นนิวเคลียสได้ทั้งหมด ในขณะที่เซลล์ทางซ้ายอยู่ระหว่างการแบ่งนิวเคลียส (ไมโทซิส) ทำให้สามารถมองเห็นโครโมโซมที่กำลังแยกคู่จากกัน นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลไจแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในทางชีววิทยาของเซลล์ นิวเคลียส (nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: ยีนและนิวเคลียสของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

นีแอนเดอร์ทาล

นีแอนเดอร์ทาล คือมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยจัดอยู่ในสกุลเดียวกับมนุษย์ยุคปัจจุบัน คือ Homo นีแอนเดอร์ทาลถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อราว 160 ปีที่แล้ว ที่ถ้ำเฟลด์โฮเฟอร์ในหุบเขาเนอันเดอร์ ใกล้เมืองดึสเซลดอร์ฟ ทางตอนเหนือของเยอรมนี โดยคนงานเหมืองขุดค้นพบกระดูกโบราณซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเป็นหมี และได้ส่งกระดูกนั้นแก่นักธรรมชาติวิทยา โยฮันน์ คาร์ล ฟูลรอทท์ ฟูลรอทท์จึงได้ส่งต่อให้แก่นักกายวิภาควิทยา เมื่อวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจึงพบว่าเป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์ชนิดใหม่ จึงให้ชื่อว่า "นีแอนเดอร์ทาล" เพื่อเป็นเกียรติแก่หุบเขาเนอันเดอร์ สถานที่ที่ค้นพบ โดยรวมนีแอนเดอร์ทาลมีรูปร่างที่กำยำล่ำสัน แข็งแรง รวมถึงมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดีกว่ามนุษย์ปัจจุบัน แต่มีระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่า ด้วยเหตุนี้เป็นสาเหตุหลักที่เชื่อว่าทำให้สูญพันธุ์ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนได้ถอดรหัสพันธุกรรมของนีแอนเดอร์ทาลได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี..

ใหม่!!: ยีนและนีแอนเดอร์ทาล · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.

ใหม่!!: ยีนและน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียดื้อยา

date.

ใหม่!!: ยีนและแบคทีเรียดื้อยา · ดูเพิ่มเติม »

แมวไทย

แมวไทย พันธุ์วิเชียรมาศ แมวไทย คือแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย คุณสมบัติที่ทำให้แมวไทยเหนือกว่าแมวชนิดอื่น คือ เรื่องอุปนิสัย แมวไทยมีความฉลาด มีความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักคิด รู้จักประจบ รักบ้าน รักเจ้าของ และเหนืออื่นใด คือ รักความอิสระของตัวเองเป็นชีวิตจิตใจ อิสระที่ จะกิน จะดื่ม หรือจะไปไหนตามที่ใจชอบ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัวที่ทำให้แตกต่างจากแมวพันธุ์อื่น สีสันตามตัวของแมวไทย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักรักแมวรู้สึกสุขใจยามได้มอง ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ เก้าแต้ม ขาวมณีหรือขาวปลอด นิลรัตน์หรือดำปลอด ศุภลักษณ์หรือ ทองแดง สีสวาดหรือแมวไทยพันธุ์โคราช ต่างล้วนได้รับความสนใจ จากเจ้าของและผู้สนใจทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ยีนและแมวไทย · ดูเพิ่มเติม »

แล็กโทส

แล็กโทส (lactose) เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่ส่วนใหญ่พบในนม ประกอบจากกาแล็กโทสและกลูโคส แล็กโทสเป็นส่วนประกอบราว 2-8% ของนมโดยน้ำหนัก ถึงแม้ว่าปริมาณจะแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ แล็กโทสแตกตัวมาจากหางนมรสหวานหรือเปรี้ยว สำหรับชื่อ "แล็ก" เป็นคำในภาษาละตินแปลว่า "นม" และ "-โอส" ที่เป็นพยางค์ท้ายสำหรับชื่อน้ำตาล เขียนสูตรได้เป็น C12H22O11.

ใหม่!!: ยีนและแล็กโทส · ดูเพิ่มเติม »

โพลีคีไทด์

รประกอบโพลีคีไทด์ (polyketide) เป็นกลุ่มของสารประกอบเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ (natural product) สามารถพบได้ทั้งใน พืช รา และ แบคทีเรีย สารประกอบโพลีคีไทด์นั้นเป็นสารประกอบที่มีหมู่คาร์บอนนิลหลายหมู่ในโมเลกุล ได้รับความสนใจค้นคว้าเนื่องจากสารประกอบจำพวกนี้มีคุณสมบัติทางชีวภาพหลายประการ อย่างเช่น มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และต่อต้านเนื้องอก สารประกอบโพลีคีไทด์ที่พบในธรรมชาติสามารถแบ่งได้เป็น 1.

ใหม่!!: ยีนและโพลีคีไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ยีนและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง

โรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง (spinal muscular atrophy, SMA) เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ถ่ายทอดผ่านออโตโซมลักษณะด้อย ทำให้เกิดความผิดปกติของยีน SMN1 ซึ่งถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีน SMN ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ยูคาริโอต โดยเฉพาะเซลล์ประสาทสั่งการ หากในเซลล์มีโปรตีนนี้น้อยลงจะทำให้เซลล์ประสาทในแอนทีเรียร์ฮอร์นของไขสันหลังสูญเสียการทำงาน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อฝ่อทั่วร่างกายได้ SMA แบ่งเป็นหลายชนิด มีความรุนแรงหลายระดับ แต่มีสิ่งที่เหมือนกันคือผู้ป่วยจะค่อยๆ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและฝ่อลีบลงไปเรื่อยๆ จนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อส่วนต้นและกล้ามเนื้อปอดมักได้รับผลกระทบเป็นลำดับแรกๆ บางชนิดอาจส่งผลต่อระบบอื่นของร่างกายได้ โดยเฉพาะชนิดที่พบตั้งแต่อายุน้อย ในบรรดาทารกที่เสียชีวิตจากโรคทางพันธุกรรม พบโรคนี้บ่อยที่สุด หมวดหมู่:โรคของเซลล์ประสาทสั่งการ หมวดหมู่:โรคที่ถ่ายทอดทางออโตโซมลักษณะด้อย หมวดหมู่:โรคของนิวเคลียส หมวดหมู่:การฝ่อทั้งร่างกายที่ส่งผลเบื้องต้นต่อระบบประสาทส่วนกลาง.

ใหม่!!: ยีนและโรคกล้ามเนื้อฝ่อจากไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ

รคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (hypertrophic cardiomyopathy, HCM) เป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่งที่ทำให้บางส่วนของหัวใจหนาตัวขึ้นผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ทำให้หัวใจมีประสิทธิภาพในการบีบตัวลดลง ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ ไปจนถึงรู้สึกอ่อนเพลีย ขาบวม เหนื่อยหอบได้ อาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกหรือหมดสติชั่วครู่ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเสียชีวิตกะทันหันจากหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น โรคนี้ส่วนใหญ่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มักเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น โรคเฟบรี โรคอ่อนแรงจากสมองน้อยแบบเฟรดริค หรือจากยาบางชนิดเช่นทาโครลิมัส เป็นต้น ถือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดหนึ่ง การวินิจฉัยอาจทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การตรวจด้วยการออกกำลังกาย หรือการตรวจทางพันธุกรรม ทั้งนี้อาจตรวจไม่พบก็เป็นได้ การรักษาส่วนใหญ่ทำโดยการใช้ยาในกลุ่มยายับยั้งเบต้า ยาขับปัสสาวะ หรือยาแก้ไขการเต้นผิดจังหวะเช่นดิสโอพิราไมด์ เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝัง หากการรักษาข้างต้นยังไม่ได้ผลอาจต้องผ่าตัดเอากล้ามเนื้อส่วนผนังหัวใจออกบางส่วน (septal myectomy) หรือผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายหัวใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะมีอัตราการเสียชีวิตลดลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 ต่อปี มีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติประมาณ 1 คนในประชากร 500 คน พบเท่าๆ กันทั้งเพศชายและเพศหญิง และพบได้ในทุกๆ ช่วงอายุ โรคนี้ได้รับการบรรยายด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่เอาไว้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ยีนและโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง

รคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (spinocerebellar ataxia; spinocerebellar degeneration) เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหนทางเยียวยา ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวทางกายภาพไปโดยช้าจนกระทั่งหมดสิ้น โรคนี้มีหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดอาการแสดง อายุของผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค และลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ Kumar V, Abbas AK, Fausto N. Robbins and Cotran Pathologic Basis of Disease. 7th ed.

ใหม่!!: ยีนและโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์

รคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์ หรือ โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน หน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (Duchenne muscular dystrophy, DMD) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้มีกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน ถ่ายทอดทางโครโมโซม X แบบลักษณะด้อย (X-linked recessive) มีลักษณะเฉพาะคือมีการเจริญผิดเพี้ยนของกล้ามเนื้อทำให้มีกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก และเสียชีวิตได้ มีจำนวนผู้ป่วย 1 คน ต่อประชากรชาย 3,500 คน ถือเป็นโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยเป็นเพศชายเท่านั้น โดยผู้หญิงมักพบเป็นพาหะของโรค โรคนี้เกิดจากการมีการกลายพันธุ์ในยีนดิสโทรฟิน (dystrophin gene) ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเอ็กซ์ (Xp21) ยีนดิสโทรฟินนี้จะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนดิสโทรฟิน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างที่สำคัญของกล้ามเนื้อ โดยเป็นส่วนหนึ่งของดิสโตรไกลแคน คอมเพลกซ์ (dystroglycan complex, DGC) ซึ่งอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการที่อายุ 3-4 ปี บางครั้งอาจพบได้ในตั้งแต่ยังเป็นทารก อาการเริ่มแรกจะพบมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและขาส่วนต้น (proximal muscle weakness) และมีการลีบของกล้ามเนื้อให้เห็น ต่อมาจะเริ่มมีอาการอ่อนแรงที่แขน คอ และกล้ามเนื้อบริเวณอื่น อาจพบอาการแสดงในระยะเริ่มแรกเป็นการเจริญเกินเทียม (pseudohypertrophy) ซึ่งจะเห็นเหมือนมีน่องโตและกล้ามเนื้อไหล่ใหญ่กว่าปกติ อ่อนเพลียง่าย ยืนลำบากต้องใช้มือยัน เดินล้มบ่อย เดินเขย่ง ขึ้นบันไดลำบาก เป็นต้น เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อเกิดเป็นเนื้อเยื่อพังผืด (fibrosis) ขึ้นทดแทน เมื่ออายุถึง 10 ปี ผู้ป่วยอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน จนถึงอายุ 12 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องใช้เก้าอี้รถเข็น อาการในระยะต่อมาคืออาจมีการเจริญเติบโตผิดปกติของกระดูกทำให้มีกระดูกผิดรูป รวมถึงโค้งกระดูกสันหลังด้วย การสูญเสียกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องนี้ในที่สุดจะทำให้มีอาการอ่อนแรงทั้งตัวคล้ายเป็นอัมพาต สติปัญญามักไม่ต่างจากคนปกติ อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้มักอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 ปี โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย อาการต่างๆ ของผู้ป่วยอาจดีขึ้นได้บ้างด้วยการทำกายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ และการผ่าตัด ในผู้ที่มีกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บางอาการอาจดีขึ้นด้วยยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ช่วยชะลอการเสื่อมของกล้ามเนื้อ ยากันชักช่วยควบคุมอาการชักและอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ และยากดภูมิคุ้มกันช่วยชะลอการถูกทำลายของเซลล์กล้ามเนื้อที่ตาย เป็นต้น.

ใหม่!!: ยีนและโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคกุ้งตายด่วน

รคกุ้งตายด่วน หรือกลุ่มอาการตายด่วน (Shrimp Early Mortality Syndrome, ย่อ: EMS.) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome, ย่อ: AHPNS.) เป็นโรคระบาดส่งผลถึงตายในกุ้งเลี้ยง ซึ่งเป็นอาการที่พบว่าเซลล์ตับและตับอ่อนของกุ้งมีลักษณะการตายหรือถูกทำลายอย่างรุนแรง โรคกุ้งตายด่วน (EMS) หรือกลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (AHPNS) เริ่มมีการระบาดครั้งแรกในรัฐเทกซัสปี 2528 จากนั้นโรคนี้แพร่ระบาดไปยังฟาร์มกุ้งในทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาในปี 2552 มีการแพร่มายังประเทศจีน และกระจายอย่างรวดเร็วสู่ประเทศเวียดนามในปี 2553 ในมาเลเซียปี 2554 และประเทศไทยปลายปี 2554 ตามลำดับ ในต้นปี 2556 พบว่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือ Vibrio parahaemolyticus อัตราการตายสูงสุดพบในกุ้งขาวแวนนาไม (Penaeus vannamei)ซึ่งเป็นกุ้งเลี้ยงที่ติดในสองอันดับแรกที่มีการเลี้ยงมากที่สุด โดยกุ้งที่เกิดโรคกุ้งตายด่วน (EMS) หรือกลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน (AHPNS) จะเกิดภายใน 20 - 30 วันหลังการปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ ในช่วงระยะแรกกุ้งในบ่อที่ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติอย่างเด่นชัด ไม่มีอาการเกยขอบบ่อ แต่จะเริ่มพบกุ้งตายในยอและตายที่ก้นบ่อ หลังจากนั้นจะพบซากกุ้งลอยขึ้นมา กุ้งเริ่มทยอยตาย และหากไม่ได้รับการรักษาก็จะส่งผลกระทบต่อกุ้งระยะโพสท์ลาวาซึ่งจะมีอัตราตายถึง 90% ภายใน 30 วัน ภาพตัวอย่างการเกิดโรคตายด่วนในกุ้งที่เกิดภายในเซล์ตับ จากงานวิจัยพบว่าโรคกุ้งตายด่วนไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพคน เนื่องจากเชื้อ V.parahaemolyticus บางสายพันธุ์ที่พบได้ยากเท่านั้นที่มียีนชนิดพิเศษ 2 ตัวซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของคนได้และมีเพียง 1-2% ของสายพันธุ์ของเชื้อ V.parahaemolyticus ที่พบได้ในธรรมชาติทั่วโลกเท่านั้นที่มียีนพิเศษ 2 ชนิดนี้.

ใหม่!!: ยีนและโรคกุ้งตายด่วน · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวลไปทั่ว

รควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไปเป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความกังวลที่เกินควร ควบคุมไม่ได้ และบ่อยครั้งไม่สมเหตุผล เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมักจะขวางชีวิตประจำวัน เพราะคนไข้มักคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้าย หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สุขภาพ การเงิน ความตาย ปัญหาครอบครัว ปัญหากับเพื่อน ปัญหากับคนอื่น หรือปัญหาการงาน คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง ความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ กลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ สั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้International Classification of Diseases ICD-10.

ใหม่!!: ยีนและโรควิตกกังวลไปทั่ว · ดูเพิ่มเติม »

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593ประมาณการณ์ความชุกใน..

ใหม่!!: ยีนและโรคอัลไซเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคฮีโมฟิเลีย

รอัน ไวต์ ชาวอเมริกันที่ป่วยเป็นโรคฮีโมฟิเลีย ฮีโมฟิเลีย (Haemophilia หรือ Hemophilia ในทวีปอเมริกาเหนือ) เป็นความผิดปกติพันธุกรรมกลุ่มหนึ่งซึ่งทำให้ความสามารถควบคุมเลือดจับลิ่มเสื่อม ซึ่งใช้ห้ามเลือดเมื่อหลอดเลือดแตก ฮีโมฟิเลียเอ (การขาดแฟ็กเตอร์จับลิ่ม 8) เป็นความผิดปกติแบบที่พบบ่อยที่สุด พบในประมาณ 1 ในการคลอดชาย 5,000–10,000 คน ฮีโมฟิเลียบี (การขาดแฟ็กเตอร์ 9) เกิดประมาณ 1 ในทารกชายราว 20,000–34,000 คน เช่นเดียวกับความผิดปกติโครโมโซมเอ็กซ์เชื่อมโยงตามเพศลักษณะด้อยอื่น ๆ โรคฮีโมฟิเลียมักเกิดในชายมากกว่าหญิง เพราะหญิงมีโครโมโซมเอ็กซ์ 2 โครโมโซม แต่ชายมีโครโมโซมเดียว ฉะนั้นยีนที่บกพร่องจึงปรากฏแน่นอนในชายที่มี เนื่องจากหญิงมีโครโมโซมเอ็กซ์ 2 โครโมโซมและโรคฮีโมฟิเลียพบน้อย โอกาสของหญิที่มีสำเนายีนบกพร่องสองสำเนาจึงพบน้อยมาก ฉะนั้น หญิงแทบทั้งหมดเป็นพาหะไร้อาการของโรค พาหะหญิงสามารถรับยีนบกพร่องจากมารดาหรือบิดาก็ได้ หรืออาจเป็นการกลายพันธุ์ใหม่ นอกจากนี้ ฮีโมฟิเลียซีซึ่งไม่เชื่อมโยงตามเพศ เกิดจากการขาดแฟ็กเตอร์จับลิ่ม 11 ซึ่งเกิดได้ทั้งในสองเพศ พบมากกว่าในชาวยิวอัชเคนาซิ (ยุโรปตะวันออก) แต่พบน้อยในกลุ่มประชากรอื่น ผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลียมีระดับแฟ็กเตอร์จับลิ่ม (clotting factor) ในน้ำเลือดต่ำหรือกัมมันตภาพของแฟ็กเตอร์จับลิ่มซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการเลือดจับลิ่มปกติเสื่อม ฉะนั้น เมื่อหลอดเลือดบาดเจ็บ จะเกิดสะเก็ด (scab) ชั่วคราวได้ แต่การขาดแฟ็กเตอร์จับลิ่มทำให้ไม่มีการเกิดไฟบริน (fibrin) ซึ่งจำเป็นต่อการคงลิ่มเลือด ผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลียมิได้เลือดไหลรุนแรงกว่าผู้ไม่ป่วย แต่เลือดไหลเป็นเวลานานกว่ามาก ในผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลียรุนแรง แม้การบาดเจ็บเล็กน้อยสามารถส่งผลให้เสียเลือดหลายวันหรือสัปดาห์ หรือไม่หายสมบูรณ์เลย ในบริเวณอย่างสมองและในข้อ การเลือดไหลไม่หยุดนี้อาจถึงชีวิตหรือหมดกำลัง (debilitation) ถาวรได้.

ใหม่!!: ยีนและโรคฮีโมฟิเลีย · ดูเพิ่มเติม »

โรคจอตามีสารสี

Retinitis pigmentosaหรือว่า โรคอาร์พี (ตัวย่อ RP) เป็นโรคจอตาเสื่อมที่สามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ที่เป็นเหตุแห่งความเสียหายต่อการเห็นอย่างรุนแรงบ่อยครั้งถึงขั้นตาบอด แต่ว่าการเสื่อมของ RP มีความต่าง ๆ กัน บางคนแสดงอาการตั้งแต่เป็นทารก บางคนอาจจะไม่เห็นอาการอะไรจนกระทั่งเลยวัยกลางคนไป โดยทั่วไป ยิ่งปรากฏอาการสายเท่าไร ความเสื่อมก็ยิ่งเป็นไปเร็วเท่านั้น บุคคลผู้ไม่มีอาร์พีสามารถเห็นได้ 90 องศาโดยรอบ (จากตรงกลางของลานสายตา) แต่บางคนที่มีอาร์พีเห็นได้น้อยกว่า 90 องศา โดยเป็นประเภทหนึ่งของโรคจอตาเสื่อม (retinopathy) อาร์พีเกิดจากความผิดปกติของเซลล์รับแสง (คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย) หรือของเซลล์ retinal pigment epithelium (ในชั้น pigmented layer) ในเรตินาที่มีผลเป็นเป็นการสูญเสียการเห็นไปตามลำดับ ผู้ที่มีโรคนี้อาจประสบความผิดปกติในการปรับตัวจากที่สว่างไปที่มืด หรือจากที่มืดไปที่สว่าง เป็นอาการที่ใชเรียกว่า ตาบอดแสง (nyctalopia หรือ night blindness) ซึ่งเป็นผลจากความเสื่อมลานสายตาส่วนรอบ ๆ แต่บางครั้ง จะมีการสูญเสียการเห็นในส่วนตรงกลางก่อน ทำให้บุคคลนั้นต้องแลดูวัตถุต่าง ๆ ทางข้างตา ผลของการมีอาร์พีเห็นได้ง่ายถ้าเปรียบเทียบกับทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ คือ แสงจากพิกเซลที่สร้างภาพบนจอเหมือนกับเซลล์รับแสงเป็นล้าน ๆ ตัวในเรตินา ยิ่งมีพิกเซลน้อยลงเท่าไร ภาพที่เห็นก็ชัดน้อยลงเท่านั้น มีเซลล์รับแสงจำนวนน้อยกว่า 10% ที่สามารถรับภาพสี โดยเป็นแสงมีความเข้มสูงเหมือนกับที่มีในช่วงกลางวัน เซลล์เหล่านี้อยู่ตรงกลางของเรตินาที่มีรูปเป็นวงกลม เซลล์รับแสงกว่า 90% ที่เหลือรับแสงมีความเข้มต่ำ เป็นภาพขาวดำ ซึ่งใช้ในที่สลัวและในตอนกลางคืน เป็นเซลล์ซึ่งอยู่รอบ ๆ เรตินา RP ทำลายเซลล์รับแสงจากนอกเข้ามาส่วนตรงกลาง หรือจากส่วนตรงกลางออกไปด้านนอก หรือทำลายเป็นย่อม ๆ ที่ทำให้เซลล์ส่วนตรงนั้นมีประสิทธิภาพในการตรวจจับแสงได้น้อยลง ความเสื่อมจากโรคนี้จะมีการลุกลาม และยังไม่มีวิธีรักษ.

ใหม่!!: ยีนและโรคจอตามีสารสี · ดูเพิ่มเติม »

โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม แม้โรคบางชนิดเช่นมะเร็งจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับความผิดปกติของพันธุกรรม แต่ก็ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้วย โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบได้น้อย อาจมีผู้ป่วยเพียงหนึ่งในหลายพันหรือหลายล้านคน ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดเป็นลักษณะด้อยบางชนิด อาจทำให้ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นเฮเทอโรไซกัสเกิดภาวะได้เปรียบทางพันธุกรรมในสภาพแวดล้อมบางแบบได้ เช่นที่พันธุกรรมทาลัสซีเมียทำให้มีโอกาสรอดชีวิตในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียมากขึ้น เป็นต้น หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:โรคทางพันธุกรรม หมวดหมู่:เวชพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: ยีนและโรคทางพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โรคของไอออนแชนเนล

รคของไอออนแชนเนล (channelopathy) เป็นโรคซึ่งมีความผิดปกติของการทำงานของไอออนแชนเนลหรือโปรตีนที่ควบคุมการทำงานของไอออนแชนเนล โรคเหล่านี้อาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิด (ส่วนใหญ่เกิดจากมีการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างออกมาเป็นไอออนแชนเนลหรือโปรตีนนั้น ๆ) หรือเป็นภายหลัง (ส่วนใหญ่เป็นจากภาวะออโตอิมมูนทำลายไอออนแชนเนล) ก็ได้.

ใหม่!!: ยีนและโรคของไอออนแชนเนล · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: ยีนและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคใคร่เด็ก

รคใคร่เด็ก หรือ ความใคร่เด็ก (Pedophilia, paedophilia) เป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นตอนปลายมีความต้องการทางเพศเป็นหลักหรืออย่างจำกัดเฉพาะ ต่อเด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพัน.

ใหม่!!: ยีนและโรคใคร่เด็ก · ดูเพิ่มเติม »

โรคไวรัสอีโบลา

รคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา ตรงแบบเริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลงตามมา เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก บุคคลรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารน้ำในร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคทางน้ำอสุจิได้เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกก่อน เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างสารน้ำร่างกายจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะ ความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูงระหว่าง 50% ถึง 90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ การระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก พ.ศ. 2557 ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ โดยระบาดในประเทศกินี เซียร์ราลีโอนและไลบีเรีย จนถึงเดือนกรกฎาคม 2557 มีผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 1,320 คน แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน.

ใหม่!!: ยีนและโรคไวรัสอีโบลา · ดูเพิ่มเติม »

โรคเกาต์

รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

ใหม่!!: ยีนและโรคเกาต์ · ดูเพิ่มเติม »

โลคัส (พันธุศาสตร์)

ในทางพันธุศาสตร์และการประมวลผลทางวิวัฒนาการ โลคัส (locus, loci) หมายถึงตำแหน่งหนึ่งๆ บนยีนหรือลำดับดีเอ็นเอซึ่งอยู่บนโครโมโซม ลำดับดีเอ็นเอบนโลคัสหนึ่งๆ อาจมีได้หลายแบบแต่ละแบบเรียกว่าอัลลีล รายการลำดับทั้งหมดของโลคัสบนจีโนมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นที่รู้ เรียกว่าแผนที่พันธุกรรม (genetic map), กระบวนการทำแผนที่ยีน (gene mapping) คือกระบวนการที่หาโลคัสของลักษณะถ่ายทอดทางชีวภาพหนึ่งๆ หมวดหมู่:โครโมโซม หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก.

ใหม่!!: ยีนและโลคัส (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ

ลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ (quantitative trait) หมายถึงฟีโนไทป์บางชนิดที่มีระดับแสดงออกแตกต่างกันไปหลายระดับ เช่น ส่วนสูง สีผิว ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยผลของการมียีนควบคุมลักษณะหลายยีนและสิ่งแวดล้อม และโลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ (quantitative trait locus, QTL) เป็นชุดของดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยลำดับของยีนหรือชุดของการเชื่อมโยงของยีนหลายตัวซึ่งทำให้เกิดลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณดังกล่าว การสร้างแผนที่แสดงตำแหน่งของยีนบนจีโนมซึ่งทำให้เกิดลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณลักษณะหนึ่งๆ ทำได้โดยใช้ป้ายชื่อโมเลกุลเช่น AFLP หรือ SNP ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกเริ่มในการระบุและถอดรหัสลำดับของยีนจริงๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของลักษณะถ่ายทอดนั้นๆ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:สถิติพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: ยีนและโลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการจีโนมมนุษย์

รงการจีโนมมนุษย์ (The Human Genome Project; ตัวย่อ: HGP) เป็นอภิมหาโครงการทางเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้ศึกษาจัดทำแผนที่ของจีโนมของมนุษย์ ซึ่งมีความละเอียดระดับนิวคลีโอไทด์ หรือ คู่เบส เพื่อที่จะวิเคราะตำแหน่งของหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีนของมนุษ.

ใหม่!!: ยีนและโครงการจีโนมมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก

"โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก" เป็นบทความซึ่งตีพิมพ์โดย เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก ในวารสารวิทยาศาสตร์ "เนเจอร์" ฉบับที่ 171 หน้า 737-738 วันที่ 25 เมษายน..

ใหม่!!: ยีนและโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ยีนและโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: ยีนและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไกอาเมมโมรี่

กอาเมมโมรี่ คือ ชื่ออุปกรณ์ที่ปรากฏในเรื่องมาสค์ไรเดอร์ดับเบิล.

ใหม่!!: ยีนและไกอาเมมโมรี่ · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบโซม

หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นเล็ก 30s หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นใหญ่50s ไรโบโซม (Ribosome มาจาก ribonucleic acid และคำใน"ภาษากรีก: soma (หมายถึงร่างกาย)") เป็นออร์แกแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ มีขนาดเล็กที่สุดและมีมากสุดประกอบด้วยโปรตีน และ rRNA มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 nm (200 อังสตรอม) และประกอบด้วย ribosomal RNA 65% และ ไรโบโซมอล โปรตีน35% (หรือ ไรโบนิวคลีโอโปรตีน หรือ RNP)เป็นสารเชิงซ้อนของ RNA และ โปรตีน ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด ไรโบโซมจาก แบคทีเรีย, อาร์เคีย และ ยูคาริโอตมีโครงสร้างและ RNA ที่แตกต่างกัน ไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ยูคาริโอตมีลักษณะคล้ายกับไรโบโซมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการของออร์แกแนลล์ชนิดนี้ ในแบคทีเรียมี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 30S และ 50S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 70S ส่วนในยูคาริโอต มี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 40S และ 60S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 80S หน้าที่คือเป็นแหล่งที่เกิดการอ่านรหัสจากยีนในนิวเคลียส ซึ่งถูกส่งออกจากนิวเคลียสในรูป mRNA มาสร้างเป็นโปรตีน การทำงานของไรโบโซมในการแสดงออกของยีนไปสู่การสร้างโปรตีนเรียกทรานสเลชัน ไรโบโซมยังทำหน้าที่ในการต่อกรดอะมิโนเดี่ยวให้เป็นพอลิเพปไทด์ โดยต้องมีการจับกับ mRNA และอ่านข้อมูลจาก mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนให้ถูกต้อง การนำโมเลกุลของกรดอะมิโนเข้ามาเป็นการทำงานของ tRNA ซึ่งจับอยู่กับโมเลกุลของกรดอะมิโนอยู่ก่อนแล้ว.

ใหม่!!: ยีนและไรโบโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: ยีนและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น

อ้แมงมุมรูปแบบต่าง ๆ(วาดโดย เดวิด ลินช์) นอกจากจะเป็นหนึ่งในหนังสือการ์ตูนกระแสหลักของสังกัดมาร์เวลคอมิกส์ (Marvel Comics) แล้ว เรื่องของไอ้แมงมุม หรือสไปเดอร์แมน (Spider-Man) ก็ยังถูกนำมาเล่าในเนื้อเรื่องอื่น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: ยีนและไอ้แมงมุมในรูปแบบอื่น · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เด็งกี

้เด็งกี (Dengue fever) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า ไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อซึ่งระบาดในเขตร้อน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และมีผื่นลักษณะเฉพาะซึ่งคล้ายกับผื่นของโรคหัด ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง จนกลายเป็นไข้เลือดออกเด็งกี (Dengue hemorrhagic fever) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำให้มีเลือดออกง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการรั่วของพลาสมา หรือรุนแรงมากขึ้นเป็นกลุ่มอาการไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome) ซึ่งมีความดันโลหิตต่ำอย่างเป็นอันตรายได้ ไข้เลือดออกติดต่อผ่านทางพาหะคือยุงหลายสปีชีส์ในจีนัส Aedes โดยเฉพาะ A. aegypti หรือยุงลายบ้าน ไวรัสเด็งกีมีชนิดย่อยอยู่สี่ชนิด การติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แต่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเด็งกีชนิดอื่น ๆ ในเวลาสั้น ๆ การติดเชื้อไวรัสเด็งกีชนิดอื่นในภายหลังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การป้องกันโรคทำโดยลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์และจำนวนของยุง และป้องกันมิให้ยุงลายกัด เพราะยังไม่มีวัคซีนในทางพาณิชย์ ยังไม่มีวิธีจำเพาะในการรักษาไข้เลือดออก การรักษาหลัก ๆ เป็นการรักษาประคับประคอง สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงรักษาโดยการคืนน้ำ อาจใช้การกินทางปากหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรักษาโดยให้สารน้ำหรือเลือดหรือองค์ประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำ อุบัติการณ์ของไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อ 50-100 ล้านคนต่อปี โรคนี้มีการอธิบายเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต..

ใหม่!!: ยีนและไข้เด็งกี · ดูเพิ่มเติม »

ไซโกซิตี

ซโกซิตี (zygosity) คือความเหมือนหรือไม่เหมือนของยีนทั้งสองของลักษณะหนึ่งๆ ของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ หากยีนทั้งสองเหมือนกัน สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะมีลักษณะนั้นๆ แบบเป็นฮอโมไซกัส (homozygous) หรือเป็นพันธุ์แท้ หากไม่เหมือนกัน สิ่งมีชีวิตนั้นจะมีลักษณะนั้นๆ แบบเป็นเฮเทอโรไซกัส (heterozygous) หรือเป็นพันทางหรือพันธุ์ผสม หากหายไปยีนหนึ่งเหลือเพียงยีนเดียวเรียกว่าเฮมิไซกัส (hemizygous) หากหายไปทั้งสองยีนเรียกว่านัลลิไซกัส (nullizygous).

ใหม่!!: ยีนและไซโกซิตี · ดูเพิ่มเติม »

เบวะซิซิวแมบ

วะซิซิวแมบ (Bevacizumab) ที่วางตลาดในชื่อการค้า Avastin เป็นยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบางอย่างและโรคตาอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ สำหรับมะเร็ง มันปล่อยเข้าเส้นเลือดดำอย่างช้า ๆ เพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งปอด, มะเร็งสมอง (glioblastoma), และมะเร็งเซลล์ไต (renal cell carcinoma) สำหรับรักษาจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (AMD) มันใช้ฉีดเข้าในตา ผลข้างเคียงสามัญเมื่อใช้รักษามะเร็งรวมทั้งเลือดกำเดาไหล ปวดหัว ความดันโลหิตสูง และผื่น ผลข้างเคียงรุนแรงรวมทั้งทางเดินอาหารทะลุ (gastrointestinal perforation) เลือดออก แพ้ ลิ่มเลือด และความเสี่ยงติดเชื้อสูงขึ้น เมื่อใช้รักษาตา ผลข้างเคียงรวมทั้งการเสียการเห็นและจอตาลอก bevacizumab อยู่ในหมู่ยายับยั้งกำเนิดหลอดเลือด (angiogenesis inhibitor) และสารภูมิต้านทานโมโนโคลน (monoclonal antibody) มันทำงานโดยชะลอการเกิด/การเติบโตของเส้นเลือด bevacizumab อนุมัติให้ใช้รักษาในสหรัฐอเมริกาปี 2004 เป็นยาอย่างหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก คือเป็นยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยที่สุดและจำเป็นในระบบสาธารณสุข โดยติดรายการเพราะใช้รักษาโรคตา ในประเทศกำลังพัฒนา ราคาขายส่งของมันอยู่ที่ 638.54 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 20,741 บาท) ต่อขวดในปี 2014 เพื่อขวดขนาดเดียวกันองค์การอนามัยสหราชอาณาจักร (NHS) ต้องจ่าย 242.66 ปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 12,700 บาท).

ใหม่!!: ยีนและเบวะซิซิวแมบ · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดปลา

กล็ดแบบกลมที่ปกคลุมปลายี่สกเทศ ผิวหนังของปลาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดปลาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านขนาด รูปทรง โครงสร้างและขอบเขต โดยมีตั้งแต่แผ่นเกราะแข็งแรงทื่อในปลาอย่างปลามีดโกนและปลาปักเป้ากล่อง ไปจนถึงมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่มีเลยในปลาอย่างปลาไหลและปลาตกเบ็ด สามารถใช้กายสัณฐานของเกล็ดในการระบุชนิดของปลาได้ ปลากระดูกอ่อน (เช่น ปลาฉลามและปลากระเบน) มีเกล็ดแบนราบ (placoid) ปกคลุม ส่วนปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มีเกล็ดทรงกลม (cycloid) อย่างปลาแซลมอนและปลาคาร์พ หรือเกล็ดแบบซี่ (ctenoid) อย่างปลาเพิร์ช หรือเกล็ดกระดูกแข็ง (ganoid) อย่างปลาสเตอร์เจียนและปลาการ์ บางชนิดมีสคิวต์ (scute) ปกคลุม และบางชนิดไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหนัง เกล็ดปลาเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่วนห่อหุ้มของปลา และผลิตจากชั้นเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของหนังแท้ ซึ่งทำให้เกล็ดปลาแตกต่างจากเกล็ดสัตว์เลื้อยคลาน การเจริญของเกล็ดอาศัยยีนเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของฟันและขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกล็ดแบนราบของปลากระดูกอ่อนยังเรียก เด็นทิเคิลหนังแท้ (dermal denticle) และสมนัยเชิงโครงสร้างกับฟันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีการเสนอว่า เกล็ดของปลากระดูกแข็งมีโครงสร้างเหมือนกับฟัน แต่อาจกำเนิดจากเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ปลาส่วนใหญ่มีชั้นเมือกป้องกันปกคลุมอยู.

ใหม่!!: ยีนและเกล็ดปลา · ดูเพิ่มเติม »

เคซีน

ซีน (Casein มาจากภาษาละตินว่า caseus ซึ่งแปลว่า ชีส) เป็นชื่อของกลุ่มฟอสโฟโปรตีน คือ αS1, αS2, β, κ โปรตีนเหล่านี้พบโดยทั่วไปในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นส่วนถึง 80% ของโปรตีนในนมวัว และประมาณ 20%-45% ของโปรตีนในนมมนุษย์ เคซีนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของชีส สารเติมแต่งอาหาร และตัวยึดในไม้ขีดไฟ โดยเป็นอาหาร เคซีนประกอบด้วยกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และสารอนินทรีย์สองอย่างคือแคลเซียมและฟอสฟอรั.

ใหม่!!: ยีนและเคซีน · ดูเพิ่มเติม »

เตตราโครมาซี

ีที่เซลล์รูปกรวยของนกรับได้ (ในตัวอย่างนี้ เป็นของวงศ์นกกระติ๊ด) ซึ่งขยายการเห็นสีของนกไปในช่วงความถี่แสงอัลตราไวโอเลตFigure data, uncorrected absorbance curve fits, from Hart NS, Partridge JC, Bennett ATD and Cuthill IC (2000) Visual pigments, cone oil droplets and ocular media in four species of estrildid finch. Journal of Comparative Physiology A186 (7-8): 681-694. ภาวะ Tetrachromacy เป็นภาวะที่มีทางประสาทต่างหาก 4 ทางในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับสี หรือมีเซลล์รูปกรวย 4 ประเภทในตา สัตว์ที่มีภาวะ Tetrachromacy เรียกว่า tetrachromat ในสัตว์ประเภท tetrachromat การเห็นสีต่าง ๆ จะมี 4-มิติ ซึ่งหมายความว่า เพื่อที่จะเทียบสีที่สัตว์เห็น จะต้องใช้การผสมรวมกันของแม่สีอย่างน้อย 4 สี นกหลายประเภทเป็น tetrachromat และแม้แต่สปีชีส์ต่าง ๆ ของปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และแมลง ก็เป็น tetrachromat ด้ว.

ใหม่!!: ยีนและเตตราโครมาซี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: ยีนและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์รับแสง

ซลล์รับแสง (photoreceptor cell) เป็นเซลล์ประสาท (นิวรอน) พิเศษในจอประสาทตาที่มีสมรรถภาพในการถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาท ความสำคัญทางชีวภาพของเซลล์รับแสงก็คือความสามารถในการแปลงแสงที่เห็นได้ไปเป็นสัญญาณที่สามารถเร้ากระบวนการต่าง ๆ ทางชีวภาพ จะกล่าวให้ชัดเจนกว่านี้ก็คือ มีโปรตีนหน่วยรับแสงในเซลล์ที่ดูดซึมโฟตอน ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ เซลล์รับแสงแบบคลาสิกก็คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย แต่ละอย่างล้วนแต่ให้ข้อมูลที่ใช้ในระบบการมองเห็นเพื่อสร้างแบบจำลองของโลกภายนอกที่เห็นทางตา เซลล์รูปแท่งนั้นบางกว่าเซลล์รูปกรวย และมีความกระจัดจายไปในจอประสาทตาที่แตกต่างกัน แม้ว่า กระบวนการเคมีที่ถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาทนั้นคล้ายคลึงกัน มีการค้นพบเซลล์รับแสงประเภทที่สามในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งก็คือ photosensitive retinal ganglion cell เป็นเซลล์ที่ไม่ได้มีส่วนให้เกิดการเห็นโดยตรง แต่เชื่อกันว่า มีส่วนช่วยในระบบควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythms) และปฏิกิริยาปรับรูม่านตาแบบรีเฟล็กซ์ เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยมีหน้าที่แตกต่างกัน คือ เซลล์รูปแท่งไวแสงเป็นพิเศษ มีปฏิกิริยาต่อโฟตอนเพียงแค่ 6 อนุภาค ดังนั้น ในที่มีระดับแสงต่ำ การเห็นเกิดจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปแท่งเท่านั้น ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถเห็นภาพสีได้ในที่สลัว ซึ่งก็คือเพราะมีแต่เซลล์รูปแท่งเท่านั้นที่ทำงานได้ในระดับแสงนั้น และเซลล์รูปกรวยเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพสี ส่วนเซลล์รูปกรวยต้องใช้แสงระดับที่สูงกว่ามาก (คือต้องมีโฟตอนมากระทบมากกว่า) ก่อนที่จะเกิดการทำงาน ในมนุษย์ มีเซลล์รูปกรวยสามประเภท จำแนกโดยการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงที่ต่าง ๆ กัน การเห็นสี (ในภาพ) เป็นการประมวลผลจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปกรวยสามประเภทเหล่านี้ โดยน่าจะผ่านกระบวนการ opponent process เซลล์รูปกรวยสามอย่างนี้ตอบสนอง (โดยคร่าว ๆ) ต่อแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดสั้น (S) ขนาดกลาง (M) และขนาดยาว (L) ให้สังเกตว่า การยิงสัญญาณของเซลล์รับแสงนั้นขึ้นอยู่เพียงกับจำนวนโฟตอนที่ได้รับเท่านั้น (กำหนดโดยทฤษฎี principle of univariance) ส่วนการตอบสนองที่ต่าง ๆ กันของเซลล์รูปกรวยขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของโปรตีนรับแสงของเซลล์ที่จะดูดซึมแสงที่ความยาวคลื่นนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รูปกรวยแบบ L มีโปรตีนรับแสงที่ดูดซึมแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดยาว (หรือออกสีแดง ๆ) แม้ว่า แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าอาจจะทำให้เกิดการตอบสนองในระดับเดียวกัน แต่จะต้องเป็นแสงที่สว่างกว่ามาก จอประสาทตามมนุษย์มีเซลล์รูปแท่งประมาณ 120 ล้านเซลล์ และมีเซลล์รูปกรวยประมาณ 6 ล้านเซลล์ สัตว์ต่าง ๆ สปีชีส์มีอัตราส่วนของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า เป็นสัตว์กลางวันหรือสัตว์กลางคืน นอกจากเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยแล้ว ยังมี retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) ประมาณ 1.5 เซลล์ในมนุษย์ และมี 1-2% ที่ไวแสง บทความนี้กล่าวถึงเซลล์รับแสงของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เซลล์รับแสงของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นแมลงและมอลลัสกามีความแตกต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งในโครงสร้างและในกระบวนการเคมีชีว.

ใหม่!!: ยีนและเซลล์รับแสง · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ขน

ซลล์ขน (Hair cell) เป็นเซลล์รับความรู้สึก (sensory receptor) ของทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (vestibular system) ในหูชั้นในของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยตรวจจับการเคลื่อนไหวของน้ำในระบบผ่านกระบวนการถ่ายโอนแรงกล (mechanotransduction) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ขนรับเสียงอยู่ในอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ในอวัยวะรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ชื่อของเซลล์มาจากมัดขนที่เรียกว่า stereocilia ที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบน (apical) เข้าไปในน้ำของท่อคอเคลีย (cochlear duct) เซลล์ขนในคอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถแบ่งโดยกายวิภาคและหน้าที่เป็นสองอย่าง คือ เซลล์ขนด้านนอก (outer hair cell, OHC) และเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ความเสียหายต่อเซลล์ขนทำให้ได้ยินน้อยลง และเพราะว่า เซลล์ขนไม่สามารถเกิดใหม่ ดังนั้น ความเสียหายก็จะคงยืน แต่ว่า ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ปลาม้าลายและสัตว์ปีกที่เซลล์ขนสามารถเกิดใหม่ได้ คอเคลียของมนุษย์มี IHC ประมาณ 3,500 ตัว และ OHC 12,000 ตัว OHC มีหน้าที่ขยายเสียงเบา ๆ ที่เข้ามาในคอเคลีย (แต่ไม่ขยายเสียงที่ดังถึงระดับหนึ่งแล้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของมัดขน หรือว่า จากการเคลื่อนไหวของตัวเซลล์เองที่ได้พลังงานจากไฟฟ้า ส่วน IHC จะเปลี่ยนแรงสั่นของเสียงในน้ำไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งผ่านโสตประสาท (auditory nerve) ไปยังก้านสมอง และต่อไปยังคอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) เพื่อแปลและประมวลผลต่อ ๆ ไป.

ใหม่!!: ยีนและเซลล์ขน · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: ยีนและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

Complementary DNA

microarray ในพันธุศาสตร์ complementary DNA หรือ cDNA คือ ดีเอ็นเอที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยใช้เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) เป็นต้นแบบโดยอาศัยเอนไซม์ reverse transcriptase และ DNA polymerase cDNA มักใช้สำหรับ clone ยีนของยูคาริโอตเข้าไปในโปรคาริโอต เมื่อนักวิทยาศาสตร์ต้องการให้มีการแสดงออกของโปรตีนที่ปกติจะไม่มีการแสดงในเซลล์นั้น พวกเขาสามารถนำ cDNA เข้าไปยังเซลล์ตัวรับ (recipient cell) ซึ่งจะทำให้เซลล์สามารถให้ (code) โปรตีนชนิดนั้นได้ นอกจากนี้ cDNA ยังสามารถสร้างขึ้นโดย retrovirus เช่น HIV-1, HIV-2, Simian Immunodeficiency Virus ซึ่งสามารถเข้าไปแทรกตัว (integrate) เข้าไปยัง host เพื่อสร้าง provirus อีกด้ว.

ใหม่!!: ยีนและComplementary DNA · ดูเพิ่มเติม »

CYP2A6

รงสร้างผลึกของไมโครโซมอล P450 2A6 ของมนุษย์ที่จับอยู่กับสารยับยั้งชนิด (5-(Pyridin-3-yl)furan-2-yl)methanamine (รหัสทะเบียนโปรตีน: '''2fdw''') ไซโทโครม P450 2A6 (Cytochrome P450 2A6; ชื่อย่อ: CYP2A6) เป็นโปรตีนในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งเป็นระบบเอนไซม์ออกซิเดซอเนกประสงค์ของร่างกายมนุษย์ โดยการแสดงออกของ CYP2A6 นั้นจะถูกควบคุมโดยยีน CYP2A6 บน โครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 และถือเป็นยีนอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มยีน cytochrome P450 โดย CYP2A6 ของมนุษย์จะมีหน้าที่ในกระตุ้นการเกิดเมแทบอลิซึมของสารซีโนไบโอติคในร่างกาย นอกจากนี้ CYP2A6 ยังถือเป็นเอนไซม์หลักที่จะมีการแสดงออกเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของนิโคตินและโคตินีน เมื่อมีสารทั้งสองเข้ามาในระบบ นอกเหนือจากนั้นจะเป็นการเมแทบอไลซ์ยาชนิดต่างๆ สารก่อมะเร็ง อัลคาลอยด์จำพวกคูมารีน โดย CYP2A6 เป็นเอนไซม์เพียงชนิดเดียวในร่างกายมนุษย์ที่มีความสามารถในการกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยา 7-hydroxylation เพื่อเมแทบอไลซ์คูมาริน โดยสารที่เกิดจากปฏิกิริยาการเมแทบอไลซ์นี้คือ 7-hydroxycoumarin ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการทำงานของ CYP2A6 ทั้งนี้ CYP2A6 เดิมชื่อ CYP2A3 ถือเป็นสมาชิกของกลุ่มเอนไซม์ขนาดใหญ่ของไซโทโครม P450 ที่มียีนควบคุมอยู่บนโครโมโซม 19q เช่นเดียวกันเอนไซม์อื่นในสกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F แต่ในภายหลังมีการพิจารณาเปลี่ยนชื่อเอนไซม์นี้จาก CYP2A3 เป็น CYP2A6 เนื่องจากชื่อเดิมซ้ำซ้อนกับ CYP2A3 ที่พบในหนู แต่มีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: ยีนและCYP2A6 · ดูเพิ่มเติม »

CYP2B6

ซโทโครม P450 2B6 (Cytochrome P450 2B6; ชื่อย่อ: CYP2B6) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP2B6 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 โดย CYP2B6 จะทำงานร่วมกับ CYP2A6 ในการเมแทบอไลซ์นิโคติน รวมไปถึงยาหรือสารเคมีอื่นๆ CYP2B6 มีอยู่ด้วยกันหลายไอโซฟอร์ม แต่ก็ยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่าไอโซฟอร์มเหล่านั้นถูกสร้างมาจากยีน CYP2B6 หรือยีนเทียมของ CYP2B6 โดยทั้ง CYP2B6 และยีนเทียมของมันมีตำแหน่งอยู่ระหว่างกลางของยีนเทียม CYP2A ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีนขนาดใหญ่ของ cytochrome P450 บนโครโมโซม 9q ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์สกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F.

ใหม่!!: ยีนและCYP2B6 · ดูเพิ่มเติม »

CYP3A4

ซโทโครม P450 3A4 (Cytochrome P450 3A4; ชื่อย่อ: CYP3A4) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่พบได้ที่ตับและลำไส้ โดยเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ออกซิไดซ์โมเลกุลอินทรีย์แปลกปลอมขนาดเล็ก (ซีโนไบโอติค) เช่น สารพิษ หรือยา เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดสารแปลกปลอมเหล่านี้ออกไปได้ ยารักษาโรคส่วนใหญ่มักถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์ CYP3A4 แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมียาบางชนิดที่ถูกทำให้มีฤทธิ์ในการรักษาได้ด้วยเอนไซม์นี้ อย่างไรก็ตาม สารบางอย่าง เช่น น้ำเกรปฟรูต และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ได้ โดยผลที่เกิดขึ้นจากอันตรกิริยาระหว่างสารเหล่านี้กับเอนไซม์ CYP3A4 อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพการรักษาของยาที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยเอนไซม์ CYP3A4 ได้ CYP3A4 เป็นเอนไซม์ในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ซึ่งเอนไซม์สมาชิกอื่นในกลุ่มเอนไซม์นี้ล้วนมีส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิดที่แตกต่างกันออกไป แต่ CYP3A4 เป็นเอนไซม์มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงยาได้หลากหลายชนิดมากที่สุด CYP3A4 เป็นเอนไซม์ที่เป็นสารฮีโมโปรตีนเช่นเดียวกันกับเอนไซม์อื่นในตระกูลนี้ กล่าวคือ เป็นโปรตีนที่มีกลุ่มของฮีมซึ่งมีอะตอมของธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ในมนุษย์ โปรตีน CYP3A4 จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A4 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q21.1.

ใหม่!!: ยีนและCYP3A4 · ดูเพิ่มเติม »

CYP3A43

ซโทโครม P450 3A43 (Cytochrome P450 3A43; ชื่อย่อ: CYP3A43) เป็นโปรตีนในมหาสกุลไซโทโครม P450 ของมนุษย์ ซึ่งถูกควบคุมโดยยีน CYP3A43 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 การเลือกตัดอินทรอน (alternative splicing) ของยีนนี้ทำให้ได้โปรตีน CYP3A43 ที่มีความแตกต่างกันทั้งสิ้นจำนวน 3 ไอโซฟอร์ม.

ใหม่!!: ยีนและCYP3A43 · ดูเพิ่มเติม »

CYP3A5

ซโทโครม P450 3A5 (Cytochrome P450 3A5; ชื่อย่อ: CYP3A5) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A5 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 CYP3A5 เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยืื่อหลายชนิดในร่างกาย ส่วนมากมักอยู่ที่เนื้อเยื่อของเซลล์ตับ ต่อมลูกหมาก ทางเดินอาหาร ไต ต่อมหมวกไต อย่างไรก็ตาม CYP3A5 ที่อยู่ในเนื้อเยื่ออื่นที่นอกเหนือจากเซลล์ตับจะสามารถแสดงออกได้โดดเด่นมากกว่า หน้าที่หลักของ CYP3A5 คือ การเมแทบอไลซ์ยาและสารประกอบไขมันต่างๆ ในร่างกาย เช่น เทสโทสเทอโรน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรสตีนีไดโอน อย่างไรก็ตาม การทำงานของ CYP3A5 นั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลของ CYP3A5 เป็น CYP3A5*1 จะมีการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นปกติ แต่ในบางกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีอัลลีลเป็น CYP3A5*3 อย่างประชากรในแถบยุโรป เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง จะมีการทำงานของเอนไซม์นี้ลดลง และในบางกลุ่มประชากรอาจเกิดการกลายพันธุ์จากอัลลีล CYP3A5*1 มาเป็น CYP3A5*3 ได้.

ใหม่!!: ยีนและCYP3A5 · ดูเพิ่มเติม »

CYP3A7

ซโทโครม P450 3A7 (Cytochrome P450 3A7; ชื่อย่อ: CYP3A7) เป็นเอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวน 503 ตัว มีขนาดคิดเป็นร้อยละ 87 ของ CYP3A4 มีบทบาทสำคัญในระบบการเปลี่ยนแปลงยา (biotransformation system) ของตัวอ่อนระยะฟีตัสของมนุษย์ โดยจะทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ CYP3A4 ในผู้ใหญ่ โปรตีน CYP3A7 ของมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A7 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 ทั้งนี้ เอนไซม์ในตระกูลย่อย CYP3A ซึ่งรวมถึง CYP3A7 จัดเป็นกลุ่มเอนไซม์ที่มีการแสดงออกมากที่สุดในบรรดาเอนไซม์มหาสกุลไซโทโครม P450 ที่ตับ โดยเอนไซม์ CYP3A นี้จะทำหน้าที่เมแทบอไลซ์ยาต่างๆที่ใช้ในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคในปัจจุบันได้มากกว่าร้อยละ 50.

ใหม่!!: ยีนและCYP3A7 · ดูเพิ่มเติม »

Gene flow

ในสาขาพันธุศาสตร์ประชากร gene flow (การไหลของยีน, การโอนยีน) หรือ gene migration เป็นการโอนความแตกต่างของยีน (genetic variation) ของประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าอัตราการโอนยีนสูงพอ กลุ่มประชากรทั้งสองก็จะพิจารณาว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ที่เหมือนกัน และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นกลุ่มเดียวกัน มีการแสดงแล้วว่า ต้องมี "ผู้อพยพหนึ่งหน่วยต่อหนึ่งรุ่น" เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มประชากรเบนออกจากกันทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) กระบวนการนี้เป็นกลไกสำคัญเพื่อโอนความหลากหลายของยีนในระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ หน่วยที่ "อพยพ" เข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรอาจเปลี่ยน ความถี่อัลลีล (allele frequency, สัดส่วนของสมาชิกกลุ่มประชากรที่มีรูปแบบหนึ่งเฉพาะของยีน) ซึ่งก็จะเปลี่ยนการแจกแจงความหลากหลายของยีนระหว่างกลุ่มประชากร "การอพยพ" อาจเพิ่มรูปแบบยีนใหม่ ๆ ให้กับสปีชีส์หรือประชากรกลุ่ม ๆ หนึ่ง อัตราการโอนที่สูงสามารถลดความแตกต่างของยีนระหว่างสองกลุ่มและเพิ่มภาวะเอกพันธุ์ เพราะเหตุนี้ การโอนยีนจึงเชื่อว่าจำกัด การเกิดสปีชีสใหม่ (speciation) เพราะรวมยีนของกลุ่มต่าง ๆ และดังนั้น จึงป้องกันพัฒนาการความแตกต่างที่อาจนำไปสู่การเกิดสปีชีสใหม่ '''gene flow''' ก็คือการโอนอัลลีลจากประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งผ่าน "การอพยพ" ของสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย มีปัจจัยต่าง ๆ ต่ออัตราการโอนยีนข้ามกลุ่มประชากร อัตราคาดว่าจะต่ำในสปีชีส์ที่กระจายแพร่พันธุ์หรือเคลื่อนที่ไปได้ในระดับต่ำ ที่อยู่ในที่อยู่ซึ่งแบ่งออกจากกัน ที่มีกลุ่มประชากรต่าง ๆ อยู่ห่างกัน และมีกลุ่มประชากรเล็ก การเคลื่อนที่ได้มีบทบาทสำคัญต่ออัตราการโอนยีน เพราะสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้มีโอกาสอพยพไปที่อื่นสูงกว่า แม้สัตว์มักจะเคลื่อนที่ได้มากกว่าพืช แต่พาหะที่เป็นสัตว์หรือลมก็อาจจะขนละอองเรณูและเมล็ดพืชไปได้ไกล ๆ เหมือนกัน เมื่อระยะแพร่กระจายพันธุ์ลดลง การโอนยีนก็จะถูกขัดขวาง การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding) วัดโดย สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding coefficient ตัวย่อ F) ก็จะเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประชากรบนเกาะจำนวนมากมีอัตราการโอนยีนที่ต่ำ เพราะอยู่ในภูมิภาคแยกต่างหากและมีขนาดประชากรเล็ก ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือ จิงโจ้สกุล Petrogale lateralis (Black-footed Rock-wallaby) ที่มีกลุ่มซึ่งผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์บนเกาะต่าง ๆ แยกต่างหาก ๆ นอกชายฝั่งของออสเตรเลีย นี่เนื่องจากไปมาหาสู่กันไม่ได้ การโอนยีนจึงเป็นไปไม่ได้ และทำให้ต้องผสมพันธุ์กันในสายพัน.

ใหม่!!: ยีนและGene flow · ดูเพิ่มเติม »

Mycoplasma laboratorium

มโคพลาสมา แลบราโทเรียม (Mycoplasma laboratorium) เป็นสปีชีส์ที่เกิดจากการสังเคราะห์แบคทีเรียบางส่วน ซึ่งนำมาจากจีโนมของ ไมโคพลาสมา เจนิทาเลียม ความพยายามในชีววิทยาสังเคราะห์นี้ดำเนินการภายในสถาบัน เจ. เครก เวนเทอร์ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 20 คน นำโดยแฮมิลตัน สมิธ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล รวมทั้งนักวิจัยดีเอ็นเอ เครก เวนเทอร์ และนักจุลชีววิทยา ไคลด์ เอ. ฮัตช์สัน ทีมเริ่มต้นจากแบคทีเรียปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น เอ็ม.

ใหม่!!: ยีนและMycoplasma laboratorium · ดูเพิ่มเติม »

Neuroticism

ในการศึกษาทางจิตวิทยา Neuroticism เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) ที่แสดงออกเป็นความวิตกกังวล ความหวาดกลัว การมีอารมณ์แปรปรวน ความกลุ้มใจ ความอิจฉาริษยา ความขัดข้องใจ และความเหงา คือมีอารมณ์ไม่เสถียร บุคคลที่ได้คะแนนสูงในลักษณะบุคลิกภาพนี้ จะมีโอกาสสูงกว่าโดยเฉลี่ยที่จะประสบกับอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความหวาดกลัว ความอิจฉาริษยา ความรู้สึกผิด และความซึมเศร้า จะมีปฏิกิริยาที่แย่กว่าต่อสิ่งที่ก่อความเครียด และมีโอกาสสูงกว่าที่จะเห็นเหตุการณ์ปกติธรรมดาว่าเป็นภัย และความขัดข้องใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องยากถึงให้สิ้นหวัง บ่อยครั้งจะมีความรู้สึกสำนึกตนหรือประหม่ามากเกินไป และขี้อาย และอาจจะมีปัญหาห้ามอารมณ์ชั่ววูบและผัดผ่อนการสนองความต้องการ ลักษณะบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความผิดปกติทางจิต (mental disorder) หลายอย่างที่สามัญที่สุด รวมทั้งภาวะซึมเศร้า โรคกลัว โรคตื่นตระหนก (panic disorder) โรควิตกกังวลอื่น ๆ และการติดสารเสพติด ซึ่งเป็นอาการที่เคยวินิจฉัยว่าเป็นโรคประสาท (neurosis).

ใหม่!!: ยีนและNeuroticism · ดูเพิ่มเติม »

Non-coding RNA

non-coding RNA (ncRNA) หรือ RNA ที่ไม่มีการแปลรหัส เป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุล RNA ที่จะไม่ถูกแปลเป็นโปรตีน DNA ที่เป็นต้นแบบของ RNA ชนิดนี้ มักถูกเรียกว่า "ยีน RNA" ซึ่ง non-coding RNA นี้ มีหลายชนิด ชนิดที่พบมากที่สุดและอาจถือได้ว่าสำคัญที่สุดคือ tranfer RNA (tRNA) และ ribosomal RNA (rRNA) นอกจากนี้ยังรวมถึง RNA ขนาดเล็กอื่นๆ อีกมาก เช่น microRNA, siRNA, piRNA, snoRNA, snRNA, exRNAs, scaRNAs และ ncRNA ขนาดยาว อื่นๆ เช่น Xist และ HOTAIR.

ใหม่!!: ยีนและNon-coding RNA · ดูเพิ่มเติม »

RNA interference

RNA interference RNA interference หรือ RNAi เป็นกระบวนการในการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งพบทั้งในพืช สัตว์ และมนุษย์ โดยอาศัยการทำงานของชิ้นส่วน double strand RNA (dsRNA) ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้ว จะมีผลไปยับยั้งการทำงานของ messenger RNA (mRNA) ของยีนหนึ่ง ๆ อย่างจำเพาะ จึงมีผลยับยั้งการทำงานของยีนนั้นได้.

ใหม่!!: ยีนและRNA interference · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

ใหม่!!: ยีนและSelective serotonin re-uptake inhibitors · ดูเพิ่มเติม »

Stereocilia

ในหูชั้นในของสัตว์ต่าง ๆ มากมาย Stereocilia เป็นออร์แกเนลล์ของเซลล์ขนซึ่งตอบสนองต่อการไหวของน้ำเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งการได้ยินและการทรงตัว Stereocilia ยาวประมาณ 10-50 ไมโครเมตร และมีลักษณะบางอย่างคล้าย ๆ กับ microvilli เซลล์ขนจะแปลความดันในน้ำและสิ่งเร้าเชิงกลอื่น ๆ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่าน microvilli จำนวนมากซึ่งเป็นลำตัวของ stereocilia มี Stereocilia ทั้งในระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (Vestibular system) Stereocilia ของหูชั้นในของก.

ใหม่!!: ยีนและStereocilia · ดูเพิ่มเติม »

The China Study

หนังสือ The China Study (แปลว่า งานวิจัยในเมืองจีน, พิมพ์ปี ค.ศ. 2005) มีผู้เขียน 2 คนคือ.

ใหม่!!: ยีนและThe China Study · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Geneหน่วยพันธุกรรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »