โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยัน ฟัน ไอก์

ดัชนี ยัน ฟัน ไอก์

หมือนของชายโพกหัวแดง" อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองของฟัน ไอก์ ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1433 ยัน ฟัน ไอก์ (Jan van Eyck; ราวก่อน ค.ศ. 1395 - ก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1441) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานที่บรูช และถือกันว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศวรรษที่ 15 สิ่งหนึ่งที่มักจะเข้าใจผิดกันเกี่ยวกับ ฟัน ไอก์ ว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้สีน้ำมันในการวาดภาพ มาจากข้อเขียนของจอร์โจ วาซารี ผู้เขียน "ชีวิตจิตรกร" ในคริสต์ศวรรษที่ 16 แต่ที่แน่ ๆ คือฟัน ไอก์มีความสำเร็จเป็นอันมากจากการใช้วิธีการวาดภาพด้วยสีน้ำมัน ยัน ฟัน ไอก์มักจะมีชื่อเกี่ยวข้องกับฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้เป็นจิตรกรและเป็นพี่ชาย และทั้งสองคนมาจากมาไซก์ ในประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน พี่ชายอีกคนหนึ่ง แลมเบิร์ตมีชื่อกล่าวในเอกสารของราชสำนักเบอร์กันดี และสันนิษฐานกันว่าคงเป็นจิตรกรด้วยและอาจจะเป็นผู้ที่ดูแลการปิดโรงฝึกงานของยัน ฟัน ไอก์ที่บรูช ฟัน ไอก์อีกผู้หนี่งคือ บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ (Barthélemy van Eyck) ผู้ทำงานอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศสก็เข้าใจว่าจะเป็นญาติกัน.

26 ความสัมพันธ์: บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์พระคัมภีร์คนยากพระนางพรหมจารีและพระกุมารกำลังอ่านการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)การแก้จิตรกรรมภาพเหมือนอาร์นอลฟีนีภาพเหมือนผู้อุทิศภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)ภาพเหมือนตนเองมาไซก์ศิลปะดัตช์อาสนวิหารโอเติงฌ็อง ฟูแกจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมแผงจิตรกรรมเฟลมิชจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกดีร์ก เบาตส์ฉากประดับแท่นบูชาฉากแท่นบูชาเกนต์ฉากแท่นบูชาเมรอดซากรากอนแวร์ซาซีโอเนประเทศเบลเยียมโรเบิร์ต กัมปินเคราร์ด ดาฟิดเปตรึส คริสตึส

บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์

ลจิตรกรรมสัญลักษณ์แฝงคติจาก “ตำนานแห่งความรัก” ของพระเจ้าเรเน (King Rene’s Livre du cueur d'amour esprit) บาเธเลมี ฟาน เอค (ภาษาอังกฤษ: Barthelemy van Eyck หรือ Barthélemy d’Eyck หรือ van Eyck หรือ d' Eyck) (ค.ศ. 1420 - ก่อน ค.ศ. 1470) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นคนสำค้ญของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้ทำงานอาจจะเป็นในบริเวณเบอร์กันดีในประเทศฝรั่งเศส บาเธเลมี แวน เอคมีความสำคัญในการเขียนภาพเขียน, จุลจิตรกรรม (Miniature) และภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร ฟาน เอคสร้างผลงานระหว่างปี ค.ศ. 1440 ถึงปี ค.ศ. 1469 และอาจจะเป็นญาติกับ ยาน ฟาน เอค แม้ว่างานที่เหลืออยู่จะไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าเป็นงานของบาเธเลมี ฟาน เอค แต่นักประพันธ์ร่วมสมัยกล่าวว่าฟาน เอคเป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงของสมัยนั้น และมักจะยอมรับว่างานชิ้นสำคัญๆ เป็นงานของฟาน เอค โดยเฉพาะเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคนคนเดียวกับผู้ที่รู้จักกันในนามว่า “ครูบาแห่งการประกาศของเทพแห่งเอ็กซ์” (Master of the Aix Annunciation) ในฐานะเป็นผู้วาดบานพับภาพ และ “ครูบาแห่งเรเนแห่งอองชู” (Master of René of Anjou) ผู้วาดภาพสำหรับหนังสือวิจิตร นอกจากนั้นก็ยังเชื่อกันว่าฟาน เอคคือ “ครูบาแห่งแสงเงา” ซึ่งเป็นผู้วาดภาพบางภาพใน “หนังสือประจำชั่วโมงดยุคแห่งแบร์รี” (Très Riches Heures du Duc de Berry).

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และบาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และพระคัมภีร์คนยาก · ดูเพิ่มเติม »

พระนางพรหมจารีและพระกุมารกำลังอ่าน

ูบทความหลักที่ พระแม่มารีและพระบุตร พระแม่มารีและพระบุตรอ่านหนังสือ (Madonna with Child Reading หรือ Ince Hall Madonna) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของงานจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ วิกตอเรีย เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ "พระแม่มารีและพระบุตรอ่านหนังสือ" เสร็จในปี ค.ศ. 1433 คำจารึกบนผนังด้านบนซ้าย "COPLETV ANO D M CCCC XXXIIJ P IOHEM DE EYC BRVGIS" ทางด้านขวา "ALC IXH XAN".

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และพระนางพรหมจารีและพระกุมารกำลังอ่าน · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

การแก้จิตรกรรม

“ภาพเหมือนของอาร์นอลฟินิ” (The Arnolfini Portrait) โดยยาน ฟาน เอค หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน) ค.ศ. 1434 ในบรรดาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของภาพนี้ก็ได้แก่ใบหน้าที่สูงขึ้นราวระดับตา และดวงตาของสตรีในภาพก็มองมายังด้านหน้า ตำแหน่งเท้าของบุรุษแก้สามครั้ง การแก้เหล่าสามารถมองเห็นได้จากเครื่อง Infra-red Reflectogram การแก้จิตรกรรม (Pentimento พหูพจน์ pentimenti) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงงานจิตรกรรมที่ทำโดยตัวจิตรกรเองที่ทิ้งร่องรอยให้เห็นว่าจิตรกรเปลี่ยนใจในการวางรูปแบบในระหว่างการเขียนภาพ รากของคำมาจากคำว่า “Pentirsi” ที่แปลว่า สำนึกผ.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และการแก้จิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี

หมือนอาร์นอลฟีนี (Arnolfini Portrait), การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี (The Arnolfini Wedding) หรือ ภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และภรรยา (Portret van Giovanni Arnolfini en zijn vrouw; Portrait of Giovanni Arnolfini and his Wife) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้โอ๊กที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ในปี ค.ศ. 1434 เป็นภาพที่เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี (Giovanni Arnolfini) พ่อค้าจากเมืองลุกกาในอิตาลีและภรรยาในห้องที่อาจจะเป็นที่บ้านที่พำนักอยู่ในเมืองบรูชในฟลานเดอส์ เป็นภาพที่ถือกันว่าเป็นภาพที่มีความเป็นต้นตอและความซับซ้อนมากที่สุดภาพหนึ่งของจิตรกรรมตะวันตก ฟัน ไอก์ลงชื่อและวันที่ว่าวาดในปี ค.ศ. 1434 ต่อมาหอศิลป์แห่งชาติแห่งลอนดอนซื้อภาพเขียนนี้ในปี..

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนผู้อุทิศ

“การชื่นชมของพระบุตร” ฌอง เฮย์ ผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางขวาและเป็นส่วนหนึ่งของของภาพ ภาพเหมือนผู้อุทิศ หรือ ภาพรวมผู้อุทิศ (donor portrait หรือ votive portrait) คือภาพเหมือนในจิตรกรรมหรืองานศิลปะแบบอื่นเช่นประติมากรรมที่แสดงภาพของเจ้าของภาพหรือผู้จ้างให้สร้างงานศิลปะชิ้นนั้นที่อาจจะรวมทั้งครอบครัว และญาติพี่น้องของผู้จ้าง หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวกับผู้จ้างด้วย “ภาพรวมผู้อุทิศ” (votive portrait) มักจะภาพทั้งภาพที่รวมทั้งภาพหลักและผู้อุทิศที่อยู่ในภาพ แต่ “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” (donor portrait) มักจะหมายถึงภาพเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับผู้อุทิศเท่านั้น “ภาพเหมือนผู้อุทิศ” เป็นที่นิยมกันในการสร้างศิลปะคริสต์ศาสนา โดยเฉพาะในงานจิตรกรรมจากยุคกลาง และยุคเรอเนสซองซ์ที่มักจะแสดงผู้อุทิศคุกเข่าอยู่ทางด้านหน้าสองข้างของภาพ และบ่อยครั้งที่แม้แต่ในตอนปลายของยุคเรอเนสซองซ์ที่ผู้อุทิศโดยเฉพาะเมื่อแสดงทั้งครอบครัวจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเอกในภาพมากที่ขัดกับทฤษฎีการวาดทัศนมิติ เมื่อมาถึงยุคเรอเนสซองซ์ผู้อุทิศก็เริ่มมีความสำคัญขึ้นและกลายเป็นส่วนสำคัญของภาพที่อาจจะเป็นผู้เห็นเหตุการณ์หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นผู้ร่วมเหตุการณ์ไปเลยก็ได้.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และภาพเหมือนผู้อุทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)

หมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) (Portrait of a Man (Self Portrait?)) หรือ ภาพเหมือนของชายโพกหัวแดง (Man met de rode tulband; Portrait of a Man in Red Turban) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร มาตั้งแต..

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

มาไซก์

มาไซก์ (Maaseik) เป็นเมืองและเทศบาลที่ตั้งอยู่ในมณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียม มีประชากรประมาณ 25,000 คน โดย 3,000 คนนั้นไม่ใช่ชาวเบลเยียม และเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมิซ ซึ่งติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด และมาไซก์ยังเป็นสถานที่กำเนิดของยัน ฟัน ไอก์ และฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ จิตรกรชาวเบลเยียมอีกด้ว.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และมาไซก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะดัตช์

ลปะดัตช์ (Dutch art) เป็นการบรรยายประวัติศาสตร์ทัศนศิลป์ของเนเธอร์แลนด์หลังจากสหพันธ์จังหวัดแยกจากฟลานเดอส์มาเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ที่รวมทั้งงานเขียนของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก, ยุคทองของเนเธอร์แลนด์, จิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้น และจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และศิลปะดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโอเติง

อาสนวิหารโอเติง (Cathédrale d'Autun) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญลาซารัสแห่งโอเติง (Cathédrale Saint-Lazare d'Autun) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโอเติง ตั้งอยู่ที่เมืองโอเติง จังหวัดโซเนลัวร์ แคว้นบูร์กอญ-ฟร็องช์-กงเต ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญลาซารัสแห่งแอ็กซ์ สร้างขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่อเป็นอาสนวิหารหลังใหม่ทดแทน "อาสนวิหารนักบุญนาซาริอุสแห่งโอเติง" อาสนวิหารหลังเก่าซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 อาสนวิหารโอเติงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่ประกอบด้วยทั้งงานสถาปัตยกรรมและศิลปะตกแต่งภายในช่วงที่สมัยที่ศิลปะโรมาเนสก์มีความเจริญถึงขีดสุด และยังเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ในประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และอาสนวิหารโอเติง · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง ฟูแก

็อง ฟูแก (Jean Fouquet) หรือ เฌออ็อง ฟูแก (Jehan Fouquet; ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1481) เป็นจิตรกรคนสำค้ญของฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความสำคัญทั้งการเขียนภาพบนแผ่นไม้และการเขียนภาพสำหรับ หนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript) และเป็นผู้เริ่มการวาดภาพเหมือนแบบจุลจิตรกรรม (Miniature).

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และฌ็อง ฟูแก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมแผง

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และจิตรกรรมแผง · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเฟลมิช

ตรกรรมเฟลมิช (Flemish painting) รุ่งเรืองตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 บริเวณฟลานเดอส์เป็นบริเวณที่มีจิตรกรสำคัญ ๆ ทางตอนเหนือของยุโรปและเป็นที่ดึงดูดจิตรกรจากประเทศข้างเคียง จิตรกรเหล่านี้นอกจากจะมีผลงานในฟลานเดอส์แล้วยังได้รับการเชิญให้ไปเป็นช่างเขียนประจำราชสำนักและสำนักต่าง ๆ ในยุโรป.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และจิตรกรรมเฟลมิช · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก

ตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (Early Netherlandish painting) เป็นงานจิตรกรรมของจิตรกรในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาตอนเหนือโดยเฉพาะในบริเวณเมืองบรูชและเกนต์ ที่เริ่มในช่วงเวลาเดียวกับที่ยัน ฟัน ไอก์ เริ่มอาชีพเป็นจิตรกร ฟัน ไอก์มีชื่อเสียงจนกระทั่งได้รับชื่อว่าเป็นจิตรกรอะเพลลีสคนใหม่ของยุโรปตอนเหนือ เรื่อยมาจนถึงภาพเขียนโดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาจบลงด้วยเคราร์ด ดาฟิด ราว ค.ศ. 1520 ยุคนี้เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีตอนต้นและตอนสูง แต่เป็นขบวนการศิลปะที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ต่างจากลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ที่รุ่งเรืองในเวลาเดียวกันในตอนกลางของอิตาลีJanson, H.W. Janson's History of Art: Western Tradition.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก · ดูเพิ่มเติม »

ดีร์ก เบาตส์

ีร์ก เบาตส์ (Dirk Bouts; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1475) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพับภาพ จากหนังสือ Het Schilderboeck (ค.ศ. 1604) โดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) เบาตส์เกิดที่เมืองฮาร์เลมและทำงานส่วนใหญ่ที่เมืองเลอเฟิน มันเดอร์เขียนชีวประวัติของจิตรกรสองคน "ดีร์กแห่งฮาร์เลม" และ "ดีร์กแห่งเลอเฟิน" ซึ่งเป็นคนคนเดียวกัน ชีวิตเบื้องต้นไม่มีหลักฐานเท่าใดนัก แต่ดีร์ก เบาตส์ได้รับอิทธิพลจากยัน ฟัน ไอก์ และโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่ดีร์กศึกษาด้วย หลักฐานครั้งแรกเกี่ยวกับดีร์กพบครั้งแรกที่เลอเฟินเมื่อปี..

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และดีร์ก เบาตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และฉากประดับแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเกนต์

วิวเมื่อเปิดบานพับภาพ วิวเมื่อปิดบานพับภาพ ฉากประดับแท่นบูชาเกนต์ (Gents altaarstuk; Ghent Altarpiece) หรือ ลูกแกะของพระเจ้า (Het Lam Gods; Adoration of the Mystic Lamb) เป็นบานพับภาพเขียนเสร็จเมื่อ..

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และฉากแท่นบูชาเกนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาเมรอด

ฉากแท่นบูชาเมรอด (Mérode Altarpiece) หรือ ฉากแท่นบูชาการประกาศของเทพ (Annunciation Altarpiece) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยโรเบิร์ต กัมปิน จิตรกรสมัยศิลปะเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต กัมปินเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ระหว่างปี ค.ศ. 1425 ถึงปี ค.ศ. 1428 แต่บ้างก็เชื่อว่าเขียนโดยผู้ติดตามหรือเป็นงานก๊อบปี้จากงานดั้งเดิมของกัมปิน ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันให้คำบรรยายภาพนี้ว่าเขียนโดย "โรเบิร์ต กัมปิน และผู้ช่วย" "ฉากแท่นบูชาเมรอด" ถือกันว่าเป็นภาพเขียนที่งดงามที่สุดของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในนิวยอร์กและในทวีปอเมริกาเหนือ จนกระทั่งการมาถึงของภาพ "การประกาศของเทพ" โดยยัน ฟัน ไอก์ "ฉากแท่นบูชาเมรอด" กลายเป็นงานเขียนที่มีชื่อที่สุดของฟัน ไอก์ ที่อาจจะเป็นเพราะฟัน ไอก์ใช้สร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัยโดยมีภูมิทัศน์เมืองลิบ ๆ ที่เห็นจากหน้าต่าง.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และฉากแท่นบูชาเมรอด · ดูเพิ่มเติม »

ซากรากอนแวร์ซาซีโอเน

ซากรากอนแวร์ซาซีโอเน (Sacra conversazione; Holy Conversation/Sacred Conversation) การสนทนาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นชื่อศิลปะศาสนาคริสต์แบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมกันในประเทศอิตาลีซึ่งองค์ประกอบของภาพจะมีแม่พระและพระกุมาร ท่ามกลางเหล่าเซนต์ ลักษณะองค์ประกอบที่ว่านี้เริ่มวาดกันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มาแทนบานพับภาพที่องค์ประกอบมีส่วนสัมพันธ์แบบทัศนียภาพกับช่องว่างภายในภาพ ตัวอย่างงานชิ้นแรก ๆ ที่ใช้การเขียนลักษณะนี้ก็ได้แก่งานของปีเอโร เดลลา ฟรันเชสกา หรืองานของฟราอันเจลีโก หรือฟีลิปโป ลิปปี.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และซากรากอนแวร์ซาซีโอเน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต กัมปิน

แผ่นภาพ "Flemalle" ส่วนหนึ่ง งานที่มักจะสันนิษฐานว่าเขียนโดยกัมปิน บานภาพนี้เป็นบานทางขวาของบานพับภาพเวิร์ล (Werl triptych) ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1438 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานปราโด ประเทศสเปน โรเบิร์ต กัมปิน (Robert Campin; ราว ค.ศ. 1375 - 26 เมษายน ค.ศ. 1444) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมแผงและบานพับภาพ สันนิษฐานกันว่าโรเบิร์ต กัมปิน เป็นคนคนเดียวกับจิตรกรที่เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" (Master of Flémalle) ประวัติของกัมปินมีเนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับชีวิตของคนในยุคนั้น แต่ไม่มีงานชิ้นใดที่กล่าวได้แน่นอนว่าเป็นของกัมปิน ขณะที่งานส่วนใหญ่กล่าวกันว่าเป็นงานของผู้เรียกกันว่า "ครูบาแห่งเฟลมาล" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกตามภาพเขียน.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และโรเบิร์ต กัมปิน · ดูเพิ่มเติม »

เคราร์ด ดาฟิด

ราร์ด ดาฟิด (Gerard David; ราว ค.ศ. 1460 - 13 สิงหาคม ค.ศ. 1523) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสำหรับหนังสือวิจิตร ประวัติศาสตร์ คริสต์ศาสนา ภูมิทัศน์ และชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และเคราร์ด ดาฟิด · ดูเพิ่มเติม »

เปตรึส คริสตึส

ปตรึส คริสตึส (Petrus Christus; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ราว ค.ศ. 1475/ค.ศ. 1476) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมันในหัวข้อที่เกี่ยวกับศิลปะคริสเตียนและการเขียนภาพเหมือน เปตรึส คริสตึสเกิดเมื่อราวระหว่างปีค.ศ. 1410-ค.ศ. 1420 ที่เมืองบาร์เลอ-แฮร์โตค (Baarle-Hertog) ใกล้กับแอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน คริสตึสทำงานส่วนใหญ่ที่บรูชตั้งแต่ปี ค.ศ. 1444 เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่าคริสตึสเป็นลูกศิษย์และทำงานต่อจากยัน ฟัน ไอก์ งานบางชิ้นก็สับสนกันว่าเป็นงานของฟัน ไอก์ เมื่อฟัน ไอก์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1441 คริสตึสก็รับช่วงทำโรงฝึกงานต่อและซื้อสัญชาติในปี ค.ศ. 1444 สามปีหลังจากที่ฟัน ไอก์เสียชีวิต อันที่จริงแล้วคริสตึสก็ควรจะได้สัญชาติหลังจากที่ทำงานในโรงฝึกงานของฟัน ไอก์ มาได้หนึ่งปีและหนึ่งวันตามธรรมเนียม หรืออาจจะว่าได้ว่าแม้ว่าจะเป็นผู้รับช่วงต่อในการเขียนภาพแบบบรูช แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นลูกศิษย์ และอันที่จริงแล้วจากการค้นคว้าเมื่อไม่นานมานี้พบว่าคริสตึสเป็นจิตรกรอิสระที่มีผลงานที่แสดงว่ามีอิทธิพลจากศิลปินหลายคนรวมทั้งดีร์ก เบาตส์, โรเบิร์ต กัมปิน และโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน.

ใหม่!!: ยัน ฟัน ไอก์และเปตรึส คริสตึส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jan van Eyckยาน ฟาน เอคยาน แวน เอคแจน แวน เอคโยฮันน์ เดอ เอค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »