โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มีเทน

ดัชนี มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

94 ความสัมพันธ์: บุหรี่ชนกันต์ รัตนอุดมพลังงานทดแทนพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพพิธีสารเกียวโตกระบวนการฮาเบอร์กระสือกระสือ (แก้ความกำกวม)กรดอะมิโนกากน้ำตาลการกลั่นการย่อยสลายทางชีวภาพการลดลงของโอโซนการหมักเชิงอุตสาหกรรมการหายใจระดับเซลล์การผลิตไฮโดรเจนการทำเหมืองถ่านหินการแตกเป็นเสี่ยง (ฟิสิกส์)การแปรสภาพเป็นแก๊สการเพิ่มของระดับน้ำทะเลกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตก๊าซชีวภาพภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสมัทมอนส์ระบบสุริยะรายชื่อสารประกอบอินทรีย์รายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊ซเรือนกระจกร่องลึกก้นสมุทรวัฏจักรคาร์บอนสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาสารประกอบแอลิแฟติกสิ่งมีชีวิตสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1สูตรเคมีหลุมแก๊สดาร์วาซาออกซิเจนเหลวออมนิทริกซ์ออร์กาโนคลอรีนอาร์เคียอาหารคาร์บอนต่ำอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตรายผายลมจุดผลิตน้ำมันสูงสุดทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์ท่อนาโนคาร์บอนดาวพฤหัสบดีดาวพลูโตดาวมาคีมาคีดาวยูเรนัสดาวหาง...ดาวอังคารดาวแก๊สยักษ์ดาวเสาร์ดาวเคราะห์นอกระบบดาวเคราะห์น้ำแข็งดาวเนปจูนดีแก๊สเซอร์คลอโรฟลูออโรคาร์บอนความร้อนแฝงของการหลอมเหลวตราแผ่นดินของเบอร์มิวดาตะเกียงเดวีตารางธาตุซินแก๊สปรากฏการณ์โลกร้อนปรากฏการณ์เรือนกระจกปิโตรเลียมนิเวศวิทยาน้ำตกอิเทอร์นัลเฟลมแก๊สจากขยะฝังกลบแก๊สธรรมชาติแก๊สธรรมชาติอัดแก๊สไบโอมีเทนอัดแก๊สเชี้อเพลิงแก๊สเรือนกระจกแล็กทูโลสแอลเคนโลก (ดาวเคราะห์)ไฮโดรคาร์บอนไททัน (ดาวบริวาร)ไดฟลูออโรมีเทนไดคลอโรมีเทนไนตรัสออกไซด์เชื้อเพลิงชีวภาพเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เมทาโนเจนเมฆออร์ตเวเลนซ์เส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติเหตุการณ์เหมืองซาสยาดโคระเบิด พ.ศ. 2550เอนเซลาดัสเจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์เซลล์เชื้อเพลิงเนินพุโคลน90377 เซดนา ขยายดัชนี (44 มากกว่า) »

บุหรี่

หรี่สองมวน ขณะยังไม่จุด บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน.

ใหม่!!: มีเทนและบุหรี่ · ดูเพิ่มเติม »

ชนกันต์ รัตนอุดม

นกันต์ (อ่านว่า ชะ - นะ - กัน) รัตนอุดม (ชื่อเล่น อะตอม; เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2534) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวไทย มีผลงานการแต่งเพลงให้กับศิลปินอย่าง ดา เอนโดรฟินในเพลง รักเอย และเพลงปล่อย ของป็อป ปองกูล ชนกันต์เป็นศิลปินในสังกัดไวท์มิวสิกและปล่อยซิงเกิลเปิดตัว ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 พลีส (Please) กลางเดือนมิถุนายนปีเดียวกันนี้ ทางแกรมมี่ได้ปล่อยตัวอย่างซิงเกิลลำดับที่สองของอะตอม ชนกันต์ แผลเป็น (SCAR) และต้นปี..

ใหม่!!: มีเทนและชนกันต์ รัตนอุดม · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานทดแทน

ตัวอย่างพลังงานทดแทน พลังงานทดแทน โดยทั่วไปหมายถึงพลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน, ปิโตรเลียม และ แก๊สธรรมชาติซึ่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาลอันเป็นสาเหตุโลกร้อน ตัวอย่างพลังงานทดแทนที่สำคัญเช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง, พลังงานคลื่น, พลังงานความร้อนใต้พิภพ, เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานนำมันดิบ น้ำมันปาลม์ พลังงานน้ำมันพืช เป็นต้น ในปี 2555 ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเพียง 18.2% ของพลังงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เพียง 1.8% โดยที่พลังงานแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพิ่มขึ้น 23% แต่ พลังงานจาก ฟืน ถ่าน แกลบ และวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร โดยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม มีอัตราลดลง 10% (อาจเป็นเพราะมวลชีวภาพดังกล่าวถูกแปรรูปไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพไปแล้ว) พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นพลังงานที่ถูกทำขึ้นใหม่ (renewable) ได้อย่างต่อเนื่อง (เช่นมวลของลมกลุ่มแรกผ่านกังหันลมไป มวลของลมกลุ่มใหม่ก็ตามมาอย่างต่อเนื่องเป็นต้น) เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (Renewal Energy) ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น (บางตำราว่า มวลชีวภาพ ก็เป็นพลังงานหมุนเวียน ขึ้นกับว่า มันทำขึ้นใหม่ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่) ตามแผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 15 ปี ระหว่าง 2555-2564 มีแผนที่จะให้มีการใช้พลังงานทดแทนเป็นสัดส่วน 20% ของพลังงานทั้งหมด การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าว ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น และเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริม และเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป ประโยชน์ของพลังงานทดแทน โดยในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกพยายามศึกษาและค้นหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และมีประสิทธิภาพดียิ่งกว่าพลังงานแบบเดิม เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมของโลก รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงาน ดังนั้นพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก จึงเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด ทั้งยังหาได้จากธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน รวมทั้งลดมลพิษอีกด้ว.

ใหม่!!: มีเทนและพลังงานทดแทน · ดูเพิ่มเติม »

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

้อนส้อมที่ทำจากพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable plastic หรือ Compostable plastic) มักเรียกว่า พลาสติกชีวภาพ เป็นพลาสติกที่ถูกออกแบบมาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงทำให้สมบัติต่างๆ ของพลาสติกลดลงภายในช่วงเวลาหนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีดังกล่าวต้องเกิดจากการทำงานของจุลินทรีย์ในธรรมชาติเท่านั้น สามารถวัดได้โดยวิธีการทดสอบมาตรฐาน ซึ่งวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้น หมวดหมู่:พลาสติก พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เริ่มต้นจากน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ไปสู่กระบวนการผลิตสังเคราะห์เป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง และพัฒนาไปสู่วัสดุพอลิเมอร์ เส้นใย หรือพลาสติกชนิดต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มานานกว่าร้อยปี ตลอดศตวรรษที่าผ่านมา มนุษย์ได้พบถึงข้อจำกัดด้านปริมาณของวัตถุดิบน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งประมาณการได้ว่าจะต้องหมดไปในที่สุด นอกจากนี้ในกระบวนผลิตผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดยเฉพาะการเผาไหม้ยังก่อให้เกิดการสะสมของมลภาวะ ซึ่งได้ขยายไปในวงกว้างต่อระบบนิเวศน์ของโลก ทำให้การคิดค้นและพัฒนากระบวนการใหม่ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีอย่างครบวงจรภายในเวลาอันรวดเร็ว เป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกประเทศจำเป็นต้องพัฒนา ทั้งนี้นอกจากจะหมายถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีของประเทศของตนแล้ว ยังหมายถึงการเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการแข่งขันอันจะเชื่อมโยงไปสู่ความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (biodegradable plastic) จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาวัสดุสำหรับการใช้งานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และกระบวนการกำจัด ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งจากนักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนนักอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าทั่วโลก โดยพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ นั้นผลิตมาจากวัตถุดิบที่สามารถผลิตทดแทนขึ้นใหม่ได้ในธรรมชาติ (renewable resource) ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตต่ำ และสามารถย่อยสลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ได้ด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ภายหลังจากการใช้งาน โดยพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้นั้นจะมีคุณสมบัติในการใช้งานได้เทียบเท่าพลาสติกจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแบบดั้งเดิม (Commodity Plastics) และสามารถทดแทนการใช้งานที่มีอยู่ได้ เมื่อพิจารณาประเทศหรือกลุ่มประเทศธุรกิจหลักแล้ว จะเห็นได้ว่าการตื่นตัวด้านพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพชีวภาพทั้งด้านนโยบาย การวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรม และการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเร่งรัดให้เกิดการทดแทนพลาสติกทั่วไปนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีขั้นตอนที่เป็นชี้ทิศทางอย่างชัดเจน อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านวิทยาการและเทคโนโลยีด้านต่างๆ ได้ก้าวเป็นผู้นำการผลิตพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ โดยเริ่มตั้งแต่การประสบความสำเร็จในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ในระดับอุตสาหกรรม เช่น บริษัท CargillDow หรือ Natureworks ได้ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตกรดแลคติกและพอลีแลคติคแอซิด (Polylactic Acid หรือ PLA) ในขณะที่บริษัท Metabolix Inc.

ใหม่!!: มีเทนและพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีสารเกียวโต

ีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) กำหนดพันธกรณีผูกพันต่อประเทศอุตสาหกรรมให้ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก UNFCCC เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบรรลุ "เสถียรภาพความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศที่ระดับซึ่งจะป้องกันการรบกวนอันตรายจากน้ำมือมนุษย์กับระบบภูมิอากาศ" พิธีสารเกียวโตมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และมามีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จนถึงเดือนกันยายน 2554 มี 191 รัฐลงนามและให้สัตยาบันพิธีสารฯ สหรัฐอเมริกาลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ และแคนาดาถอนตัวจากพิธีสารฯ ในปี 2554 รัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นซึ่งมิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อันดอร์ราและเซาท์ซูดาน ภายใต้พิธีสารฯ 37 ประเทศอุตสาหกรรม และประชาคมยุโรปในขณะนั้น ("ภาคีภาคผนวกที่ 1") ผูกมัดตนเองให้จำกัดหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสี่ชนิด (คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์) และแก๊สสองกลุ่ม (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนและเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน) รัฐสมาชิกทุกรัฐให้พันธกรณีทั่วไป การจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกนี้ไม่รวมการปล่อยจากการบินและการเดินเรือระหว่างประเทศ ที่การเจรจา ประเทศภาคผนวกที่ 1 ตกลงร่วมกันจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ในระยะปี 2551-2555 เป็นสัดส่วนกับการปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่อปีในปีฐาน ซึ่งโดยปกติใช้ปี 2533 เนื่องจากสหรัฐอเมริกามิได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญา การปล่อยแก๊สเรือนกระจกร่วมกันของประเทศภาคผนวกที่ 1 พิธีสารเกียวโตลดลงจากต่ำกว่าปีฐานร้อยละ 5.2 เหลือร้อยละ 4.2 PBL publication number 500253004.

ใหม่!!: มีเทนและพิธีสารเกียวโต · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการฮาเบอร์

กระบวนการฮาเบอร์ หรือเรียกว่า กระบวนการฮาเบอร์-โบสช์ เป็นปฏิกิริยาการตรึงไนโตรเจนของแก๊สไนโตรเจนและแก๊สไฮโดรเจน เหนือเหล็กเสริมสมรรถนะหรือตัวเร่งปฏิกิริยารูทีเนียม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ผลิตแอมโมเนียEnriching the Earth: Fritz Haber, Carl Bosch, and the Transformation of World Food Production by Vaclav Smil (2001) ISBN 0-262-19449-XHager, Thomas (2008).

ใหม่!!: มีเทนและกระบวนการฮาเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กระสือ

กระสือ กระสือ เป็นชื่อผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิงและชอบกินของโสโครก คู่กับ "กระหัง" ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้.

ใหม่!!: มีเทนและกระสือ · ดูเพิ่มเติม »

กระสือ (แก้ความกำกวม)

กระสือ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มีเทนและกระสือ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: มีเทนและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

กากน้ำตาล

กากน้ำตาล (molasses "โมลาส") มีรากศัพท์มาจากคำว่า “melaço” ในภาษาโปรตุเกสmerriam-webster กากน้ำตาลเป็นของเหลวลักษณะเหนียวข้นสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยจากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ที่ใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส Thai Sugar Mill Group กากน้ำตาลมีระดับพลังงานระดับต่ำถึงปานกลางขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่มีอยู่ในกากน้ำตาล มีโพแทสเซียม และมีปริมาณน้ำในระดับสูง ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย กากน้ำตาลแบ่งได้หลายชน.

ใหม่!!: มีเทนและกากน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

การกลั่น

อุปกรณ์การกลั่น การกลั่น (Distillation) เป็นกระบวนการทางเคมีอย่างหนึ่งในการแยกของเหลวผสมของสาร 2 ชนิดหรือมากกว่าโดยอาศัยคุณสมบัติจุดเดือดที่แตกต่างกัน เมื่อให้ความร้อนกับของเหลวจนอุณหภูมิถึงจุดเดือดของสารชนิดหนึ่ง สารชนิดนั้นจะระเหยออกมาเป็นไอผ่านท่อที่มีการลดอุณหภูมิทำให้เกิดการควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง วิธีนี้ใช่ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากม.

ใหม่!!: มีเทนและการกลั่น · ดูเพิ่มเติม »

การย่อยสลายทางชีวภาพ

ราเมือกสีเหลืองเจริญเติบโตในถังขยะกระดาษเปียก การย่อยสลายทางชีวภาพ (biodegradation) หรือการสลายตัวทางชีวภาพ คือสารเคมีที่สลายตัวของวัสดุจากเชื้อแบคทีเรียหรือทางชีวภาพอื่นๆ โดยมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ การจัดการขยะ ชีวการแพทย์ และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจน การย่อยสลายทางชีวภาพคือกระบวนการที่นำสารอินทรีย์มาทำปฏิกิริยากับสารอนินทรีย์ ทำให้ย่อยสลายได้ ซึ่งอินทรียวัตถุจะเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุ สารลดแรงตึงผิวซึ่งจะหลั่งออกมายังผิวด้านนอกโดยการทำงานของเซลล์จุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ นวัตกรรมวิธีการที่สำคัญในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ได้เปิดเผยรายละเอียดด้านข้อมูลทางพันธุกรรม การศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดของจุลินทรีย์ การศึกษาด้านโปรตีนทั้งหมดที่มีในรหัสพันธุกรรม ชีวสารสนเทศ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของจุลินทรีย์ระดับสูง เพื่อนำไปสู่กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถของจุลินทรีย์เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารย่อยสลายชีวภาพได้ และสารย่อยสลายทางชีวภาพไม่ได้ ในการตลาดมักบอกว่าสลายได้ทางชีวภาพได้.

ใหม่!!: มีเทนและการย่อยสลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

การลดลงของโอโซน

องหลุมพร่องโอโซนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 บริเวณขั้วโลกใต้ การลดลงของโอโซน (ozone depletion) คือปรากฏการณ์การลดลงของชั้นโอโซนบนชั้นบรรยากาศระดับชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยทำการศึกษาการลดลงของชั้นโอโซนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มีเทนและการลดลงของโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

การหมักเชิงอุตสาหกรรม

การหมักเชิงอุตสาหกรรม (Industrial fermentation) เป็นการหมักจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียและเห็ดรา ที่ทำโดยตั้งใจเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถใช้เป็นอาหารหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในอุตสาหกรรม สารเคมีที่มีขายทั่วไปบางอย่าง เช่น กรดน้ำส้ม กรดซิตริก และเอทานอล ล้วนผลิตโดยวิธีการหมัก ความช้าเร็วของกระบวนการหมักขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ เซลล์ องค์ประกอบของเซลล์ เอนไซม์ รวมทั้งอุณหภูมิและค่ากรด และสำหรับการหมักบางชนิด ออกซิเจน กระบวนการสกัดผลิตภัณฑ์ออกมา บ่อยครั้งต้องเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางนั้น เอนไซม์ที่ผลิตขายทั้งหมด เช่น lipase, invertase, และ rennet จะทำโดยการหมักที่ใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ในบางกรณี มวลชีวภาพของจุลินทรีย์นั่นแหละเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยีสต์ขนมอบ (Saccharomyces cerevisiae) และแบคทีเรียที่เปลี่ยนแล็กโทสเป็นกรดแล็กติกที่ใช้ในการผลิตชีส โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งการหมักได้ออกเป็น 4 จำพวก คือ.

ใหม่!!: มีเทนและการหมักเชิงอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจระดับเซลล์

การหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) เป็นชุดปฏิกิริยาและกระบวนการทางเมแทบอลิซึมที่เกิดในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อเปลี่ยนแปลงพลังงานชีวเคมีจากสารอาหารเป็นอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) และปล่อยผลิตภัณฑ์ของเสียออกมา ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหายใจมีปฏิกิริยาแคแทบอลิซึมที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยารีดอกซ์ (หมายถึง มีทั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน) การหายใจเป็นหนึ่งในวิธีการหลักที่เซลล์จะได้รับพลังงานที่มีประโยชน์เพื่อเป็นเชื้อเพลิงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ สารอาหารซึ่งเซลล์สัตว์และพืชมักใช้ในการหายใจ มีน้ำตาล กรดอะมิโนและกรดไขมัน ตลอดจนตัวออกซิไดซ์ทั่วไป (ตัวรับอิเล็กตรอน) ในโมเลกุลออกซิเจน (O2) แบคทีเรียและอาร์เคียยังเป็นลิโธโทรฟ (lithotroph) คือ อาจหายใจได้โดยใช้โมเลกุลอนินทรีย์หลากชนิดเป็นตัวให้และรับอิเล็กตรอน เช่น กำมะถัน ไอออนโลหะ มีเทนและไฮโดรเจน สิ่งมีชีวิตซึ่งใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายในการหายใจเรียกว่า สิ่งมีชีวิตต้องการออกซิเจน (aerobic) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้าย เรียกว่า สิ่งมีชีวิตไม่ต้องการออกซิเจน (anaerobic) พลังงานซึ่งปลดปล่อยออกมาในการหายใจใช้ในการสังเคราะห์เอทีพีเพื่อเก็บพลังงานนี้ พลังงานที่เก็บในเอทีพีจากนั้นสามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนขบวนการซึ่งอาศัยพลังงาน ได้แก่ ชีวสังเคราะห์ การเคลื่อนที่หรือการส่งโมเลกุลข้ามเยื่อหุ้มเซลล.

ใหม่!!: มีเทนและการหายใจระดับเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

การผลิตไฮโดรเจน

การผลิตไฮโดรเจน เป็นกระบวนการสร้างไฮโดรเจนจากสารเคมีอื่น เทคโนโลยีการผลิตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือการนำสารไฮโดรคาร์บอนมาทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลด้วยไอน้ำ (steam reforming) นอกจากนั้นก็ยังมีวิธีการแยกสลายสารที่อยู่ในสถานะของเหลวด้วยไฟฟ้า (electrolysis) และ การแยกสลายสารด้วยความร้อน(thermolysis).

ใหม่!!: มีเทนและการผลิตไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

การทำเหมืองถ่านหิน

การทำเหมืองถ่านหิน คือการขุดเจาะหรือเปิดหน้าดินลงไปเพื่อที่จะนำแร่ธาตุที่มนุษย์ต้องการในดินนำมาใช้ โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ การทำเหมืองแบบเหมืองเปิดและการทำเหมืองแบบเหมืองใต้ดิน การพิจารณาเลือกการทำเหมืองในแต่ละแบบนั้นมีข้อจำกัดข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยยึดถือลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งแร่และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลักในการพิจารณา การทำเหมืองในแต่ละแบบมีรายละเอียดในการดำเนินการที่ต่างกันออกไป.

ใหม่!!: มีเทนและการทำเหมืองถ่านหิน · ดูเพิ่มเติม »

การแตกเป็นเสี่ยง (ฟิสิกส์)

การแตกเป็นเสี่ยง (Spallation) เป็นกระบวนการหนึ่งที่ชิ้นส่วนของวัสดุจะถูกดีดออกมาจากร่างกายใด ๆ เนื่องจากการกระทบหรือความเครียด ในบริบทของกลศาสตร์การกระทบมันจะอธิบายการดีดออกหรือการระเหยของวัสดุจากเป้าหมายระหว่างการกระทบจากวัตถุวิถีโค้ง ในฟิสิกส์ของดาวเคราะห์ การแตกเป็นเสี่ยงจะอธิบายการกระทบจากอุกกาบาตบนพื้นผิวของดาวเคราะห์และผลกระทบของลมดวงดาวในบรรยากาศของดาวเคราะห์ ในบริบทของการทำเหมืองแร่หรือธรณีวิทยา การแตกเป็นเสี่ยงอาจหมายถึงชิ้นส่วนของหินที่แตกออกจากผิวหน้าของหินเนื่องจากความเครียดภายในหินนั้น โดยทั่วไปมันเกิดขึ้นบนผนังปล่องเหมือง ในบริบทของมานุษยวิทยา, การแตกเป็นเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ใช้ในการทำเครื่องมือหินเช่นหัวลูกศรโดยการเคาะหรือทุบ ในฟิสิกส์นิวเคลียร์ การแตกเป็นเสี่ยงเป็นกระบวนการที่นิวเคลียสหนักปลดปล่อยนิวคลีออนออกมาเป็นจำนวนมากเป็นผลมาจากการถูกชนด้วยอนุภาคย่อยพลังงานสูง ดังนั้นน้ำหนักอะตอมจึงลดลงอย่างมาก การแตกเป็นเสี่ยงของนิวเคลียสจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติใน ชั้นบรรยากาศของโลก เนื่องจากการกระทบของ รังสีคอสมิก และยังเกิดขึ้นบนผิวของวัตถุในอวกาศอีกด้วยเช่น อุกกาบาต และ ดวงจันทร์ หลักฐานของการแตกเป็นเสี่ยงจากรังสีคอสมิก (หรือเรียกว่า "การทำลาย" (spoliation)) เป็นหลักฐานที่แสดงว่าวัสดุที่พูดถึงได้ถูกเปิดรับบนพื้นผิวของวัตถุที่มันเป็นส่วนหนึ่ง และให้วิธีการวัดความยาวของระยะเวลาของการเปิดรับที่ องค์ประกอบของต้วรังสีคอสมิกเองยังแสดงให้เห็นว่าพวกมันได้รับความเดือดร้อนจากการแตกเป็นเสี่ยงก่อนที่จะตกถึงพื้นโลก เพราะสัดส่วนขององค์ประกอบแสงเช่น Li, B และ Be ในตัวพวกมันจะมีปริมาณสูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยของความสมบูรณ์ในจักรวาล; องค์ประกอบเหล่านี้ในรังสีคอสมิกเห็นได้ชัดว่าเกิดจากก่อตัวขึ้นจากการแตกเป็นเสี่ยงของออกซิเจน, ไนโตรเจน, คาร์บอนและบางทีก็ซิลิกอน ในแหล่งที่มาของรังสีคอสมิกหรือในระหว่างการเดินทางที่แสนไกลของพวกมันจนถึงที่นี่ สารที่เกิดขึ้นจากการแตกเป็นเสี่ยงขององค์ประกอบพื้นราบภายใต้การโจมตี จากรังสีคอสมิก เช่น ไอโซโทป ของ อลูมิเนียม, เบริลเลียม, คลอรีน, ไอโอดีน, และ นีออน สารเหล่านี้ได้มีการตรวจพบบนโลก การแตกเป็นเสี่ยงของนิวเคลียสเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ เครื่องเร่งอนุภาค อาจถูกใช้ในการผลิตลำแสงของ นิวตรอน.

ใหม่!!: มีเทนและการแตกเป็นเสี่ยง (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสภาพเป็นแก๊ส

กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification) เป็นการเปลี่ยน รูปพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊ส(แก๊สเชี้อเพลิง) โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 700°C ผ่านตัวกลางของกระบวนการเช่น อากาศ ออกซิเจนที่มีจำนวนจำกัด หรือไอน้ำ ซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะมีความแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้อย่างสิ้นเชิงโดยการเผาไหม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ในหนึ่งกระบวนการเท่านั้น แต่สำหรับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของคาร์บอนในชีวมวลไปเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) โดยอาศัยปฏิกิริยา 2 กระบวนการ โดยแก๊สที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าและง่ายต่อการใช้งานกว่าชีวมวล ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้เดินเครื่องยนต์แก๊ส และกังหันแก๊ส (Gas Turbine) หรือใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวต่อไป อีกนัยหนึ่ง กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊สเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปทางด้านเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion Process) โดยอาศัยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำ ที่มีอุณหภูมิสูงกว.

ใหม่!!: มีเทนและการแปรสภาพเป็นแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

การเพิ่มของระดับน้ำทะเล

แผนที่โลกโดยระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นหกเมตรแสดงด้วยสีแดง มีการประมาณว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง +2.6 มิลลิเมตรถึง 2.9 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีนับแต่ปี 2536 นอกจากนี้ การเพิ่มของระดับน้ำทะเลยังเร่งขึ้นในปีหลัง ๆ ในระยะระหว่างปี 2413 ถึง 2547 มีการประมาณว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มรวม 195 มิลลิเมตร และ 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีความเร่งของการเพิ่มของระดับน้ำทะเลสำคัญ 0.013 มิลลิเมตร ± 0.006 มิลลิเมตรต่อปีต่อปี ตามการศึกษาการวัดหนึ่งซึ่งมีตั้งแต่ปี 2493 ถึง 2552 การวัดเหล่านี้แสดงการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1.7 มิลลิเมตร ± 0.3 มิลลิเมตรต่อปีในช่วงนี้ โดยข้อมูลดาวเทียมแสดงการเพิ่ม 3.3 มิลลิเมตร ± 0.4 มิลลิเมตรต่อปีตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2552 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเป็นหลักฐานกระแสหลักอย่างหนึ่งซึ่งสนับสนุนทัศนะว่าสภาพภูมิอากาศของโลกเพิ่งร้อนขึ้น ในปี 2557 การประเมินสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของ USGCRP ทำนายว่าเมื่อถึงปี 2643 การเพิ่มของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยจะอยู่ร่ะหว่าง 300 ถึง 1,200 มิลลิเมตรนับแต่วันที่มีการประเมินในปี 2557 อัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลปัจจุบันเพิ่มเป็นประมาณสองเท่าเทียบกับอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนปี 2535 ในปี 2550 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แถลงว่า เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าการร้อนขึ้นที่มนุษย์ชักนำมีส่วนให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มที่สังเกตในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รายงานของ IPCC ปี 2556 (AR5) สรุปว่า "มีความเชื่อมั่นสูงว่าอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลเพิ่มระหว่างสองศตวรรษหลังสุด และเป็นไปได้ที่ GMSL (ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยโลก) เร่งขึ้นนับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1900" การเพิ่มของระดับน้ำทะเลสามารถมีอิทธิพลต่อประชากรมนุษย์ในพื้นที่ชายฝั่งและเกาะและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ระบบนิเวศทะเลพอสมควร คาดว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลจะดำรงต่อไปอีกหลายศตวรรษ มีการประมาณว่ามนุษย์ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 2.3 เมตรต่ออุณหภูมิที่เพิ่มแต่ละองศาเซลเซียสภายใน 2,000 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีความเฉื่อยต่ำ และเวลาสนองตอบนานสำหรับบางส่วนของระบบสภาพภูมิอากาศ มีการเสนอแนะว่า นอกจากการลดการปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์แล้ว การปฏิบัติระยะสั้นเพื่อลดการเพิ่มของระดับน้ำทะเล คือ การตัดการปล่อยแก๊สกักเก็บความร้อนอย่างมีเทนและละอองธุลีอย่างเขม.

ใหม่!!: มีเทนและการเพิ่มของระดับน้ำทะเล · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (Abiogenesis) เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น ปลาเกิดจากดินโคลนในแม่น้ำลำคลอง โดยสมมติฐานนี้ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งฟรานเซสโก เรดิ และหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สมมติฐานจึงไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: มีเทนและกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ก๊าซชีวภาพ

ก๊าซชีวภาพ (Biogas หรือ digester gas) หรือ ไบโอก๊าซ คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน(anaerobic digestion) โดยทั่วไปจะหมายถึง ก๊าซ มีเทน ที่เกิดจาก การหมัก (fermentation) ของ สารอินทรีย์ โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจเกิดก๊าซชีวภาพ แต่นี่เป็นเพียงแค่หลักการทางทฤษฏี องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน(CH4) ประมาณ 50-70% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน(H2) ออกซิเจน(O2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ไนโตรเจน(N) และไอน้ำ ก๊าซชีวภาพมีชื่ออื่นอีกคือ ก๊าซหนองน้ำ และ มาร์ชก๊าซ (marsh gas) ขึ้นกับแหล่งที่มันเกิด กระบวนการนี้เป็นที่นิยมในการเปลี่ยน ของเสีย ประเภทอินทรีย์ทั้งหลายไปเป็นกระแสไฟฟ้า นอกจากกำจัดขยะได้แล้วยังทำลาย เชื้อโรค ได้ด้วย การใช้ก๊าซชีวภาพเป็น การบริหารจัดการของเสีย ที่ควรได้รับการสนับสนุนเพราะไม่เป็นการเพิ่มก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศที่เป็นต้นเหตุของ ปรากฏการณ์เรือนกระจก(greenhouse effect) ส่วนการเผาไหม้ ก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลักจะสะอาดกว.

ใหม่!!: มีเทนและก๊าซชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส

วะไม่ทนต่อแล็กโทส (lactose intolerance) หรือนิยมเรียกแบบไม่เป็นทางการว่าการแพ้นม เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสลายแล็กโทส เนื่องจากการขาดเอนไซม์แล็กเทสที่จำเป็นในระบบย่อยอาหาร มีการประมาณว่าผู้ใหญ่ทั่วโลกราว 75% มีการผลิตแล็กเทสลดลงในวัยผู้ใหญ่ ความถี่ของการลดการผลิตแล็กเทสมีแตกต่างกันตั้งแต่ 5% ในยุโรปเหนือ ไปจนถึง 71% ในซิซิลี และมากกว่า 90% ในบางประเทศทวีปแอฟริกาและเอเชีย น้ำตาลโมเลกุลคู่ไม่สามารถถูกดูดซึมผ่านผนังของลำไส้เล็กเข้าไปยังกระแสเลือดได้ ดังนั้น ในการขาดแล็กเทส แล็กโทสซึ่งมีอยู่ในผลิตภัณฑ์นมที่ย่อยแล้วจะไม่ถูกทำให้แตกตัวและผ่านไปจนถึงลำไส้ใหญ่โดยไม่มีการย่อยสลาย โอเปอร์รอนของแบคทีเรียในลำไส้จะเข้ามาสลายแล็กโทสอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดการหมักภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต และผลิตแก๊สออกมาในปริมาณมาก (ได้แก่ ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนผสมกัน) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการบริเวณท้องได้หลายอย่าง รวมทั้ง ท้องเป็นตะคริว คลื่นไส้ เรอบ่อย กรดไหลย้อน และผายลม นอกเหนือจากนั้น แล็กโทส เช่นเดียวกับน้ำตาลที่ไม่ถูกดูดซึมอื่น ๆ (อย่างเช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล และไซลิทอล) การมีของแล็กโทสและผลิตภัณฑ์จากการหมักจะเพิ่มแรงดันออสโมติกในลำไส้ใหญ่ เนื่องจากภาวะไม่ทนต่อแล็กโทสเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็กโทสไม่ได้ จึงถือว่าไม่ได้เกิดจากกระบวนการภูมิแพ้ ไม่ถือเป็นโรคภูมิแพ้อาหาร และเป็นคนละโรคกับการแพ้โปรตีนนมวัว (cow's milk protein allergy).

ใหม่!!: มีเทนและภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส · ดูเพิ่มเติม »

มัทมอนส์

มัทมอนส์ (Maat Mons) เป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดบนดาวศุกร์ และเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ของดาว รองจากแมกซ์เวลมอนทีส ตั้งอยู่ที่พิกัด ของดาวศุกร์ ภูเขาไฟลูกนี้มีความสูง 8 กิโลเมตรเหนือระดับเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของดาวศุกร์ ชื่อของภูเขาไฟมีที่มาจากเทพีแห่งความจริงและความเที่ยงตรงของอียิปต์นามว่า มัท (Maat).

ใหม่!!: มีเทนและมัทมอนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มีเทนและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสารประกอบอินทรีย์

รายชื่อสารประกอบอินทรีย์ (List of organic compounds) โดยสังเขป.

ใหม่!!: มีเทนและรายชื่อสารประกอบอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊ซเรือนกระจก

้านล่างนี้คือ รายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (GHG) โดยเป็นข้อมูลจากปี 2010 ซึ่งข้อมูลขึ้นอยู่กับการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน, ไนตรัสออกไซด์, สารเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน, ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน, และ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ของแต่ละประเท.

ใหม่!!: มีเทนและรายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊ซเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทร

ปลือกโลกใต้มหาสมุทรจะเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทรขณะที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจะถูกมุดกลับเข้าไปในชั้นฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) เป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรถือเป็นหนึ่งในขอบเขตทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดบนพื้นผิวในส่วนที่เป็นของแข็งของโลกระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ขอบเขตระหว่างแผ่นธรณีภาคชั้นนอกมี 3 ประเภท คือ ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (divergent boundary) (เป็นขอบเขตที่เกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร) ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent boundary) (เป็นขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจมลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งกลับลงไปสู่ชั้นเนื้อโลก) และขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกัน (transform boundary) ร่องลึกก้นสมุทรเป็นลักษณะของขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่โดดเด่นชัดเจน โดยเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราการลู่เข้าหากันที่แปรผันจากปีละไม่กี่มิลลิเมตรจนไปถึงสิบเซนติเมตรหรือมากกว่า ร่องลึกก้นสมุทรหนึ่งๆเป็นตำแหน่งที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกหนึ่งมีการโค้งมุดลงไปใต้แผ่นธรณีภาคชั้นนอกอีกแผ่นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วร่องลึกก้นสมุทรจะขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง (volcanic arc) และอยู่ห่างจากแนวหมู่เกาะรูปโค้งออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร โดยทั่วไปร่องลึกก้นสมุทรจะมีความลึกประมาณ 3 ถึง 4 กิโลเมตรลงไปจากพื้นมหาสมุทรรอบข้าง ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่าซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรใต้ระดับทะเล แผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรจะเคลื่อนที่หายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรด้วยอัตราประมาณ 10 ตารางเมตรต่อวินาที.

ใหม่!!: มีเทนและร่องลึกก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรคาร์บอน

แผนภูมิของวัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรคาร์บอน เป็นวัฏจักรชีวธรณีเคมี ซึ่งคาร์บอนถูกแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งมีชีวิต, พื้นดิน, น้ำ และบรรยากาศของโลกคาร์บอนเป็นธาตุสำคัญธาตุหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบประมาณ 50%ของเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 แบบ ตามระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนเวียนให้ครบรอบคือ ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว.

ใหม่!!: มีเทนและวัฏจักรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

ื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (Bermuda Triangle) หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมปีศาจ (Devil's Triangle) เป็นพื้นที่สมมุติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว วัฒนธรรมสมัยนิยมได้ให้เหตุผลของการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือฐานทัพของสิ่งมีชีวิตนอกโลก หลักฐานซึ่งบันทึกไว้ได้ระบุว่า เหตุการณ์การหายสาบสูญของอากาศยานและเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ได้รับรายงานอย่างไม่ถูกต้องหรือถูกเสริมแต่งโดยนักประพันธ์ในช่วงหลัง และหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้กล่าวว่า จำนวนและธรรมชาติของการหายสาบสูญไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการหายสาบสูญไปในมหาสมุทรส่วนอื่น ๆ ของโลก.

ใหม่!!: มีเทนและสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบแอลิแฟติก

รประกอบแอลิแฟติก (Aliphatic Compound IPA:; G. aleiphar, fat, oil) คือสารประกอบในศาสตร์เคมีอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอน) ประเภทที่ไม่มีวงอโรมาติก สารประกอบแอลิแฟติกสามารถประกอบด้วยวง (cyclic) ดั่งไซโคลเฮกเซนหรืออไซคลิก สารประกอบอาจอยู่ในรูปอิ่มตัว เช่น เฮกเซนหรือไม่อิ่มตัว เช่น เฮกซีน ก็ได้ ในสารประกอบแอลิแฟติก อะตอมของคาร์บอนจะสร้างพันธะแก่กันอาจอยู่ในแบบโซ่ตรง (straight chains), โซ่กิ่ง (branched chains), หรือไม่เป็นวงอโรมาติกก็ได้ (อลิไซคลิก) และอาจสร้างพันธะเดี่ยว (แอลเคน), พันธะคู่ (แอลคีน) หรือพันธะสาม (แอลไคน์) นอกเหนือจากไฮโดรเจนนั้น ยังมีอะตอมของธาตุอื่นๆสามารถสร้างพันธะกับคาร์บอนได้ โดยส่วนมากจะได้แก่อะตอมของออกซิเจน, ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และโคลรีน สารประกอบแอลิแฟติกอย่างง่ายที่สุดคือมีเทน (CH4) อลิฟาติยังรวมไปถึงสารจำพวกแอลเคน อาทิ พาราฟิน ไฮโดรคาร์บอน, แอลคีน อาทิ เอทิลีน และแอลไคน์ เช่น อะเซทิลีน กรดไขมัน ซึ่งจะประกอบด้วยแอลิแฟติกแบบไม่มีกิ่งต่อเข้ากับหมู่คาร์บอกซิล.

ใหม่!!: มีเทนและสารประกอบแอลิแฟติก · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มีเทนและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

สุสานจักรพรรดิฉินที่ 1

นฉินสื่อหวง (ฉินสื่อหวงปิงหมาหย่ง แปลว่า หุ่นทหารและม้าของฉินสื่อหวง) คือ ฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจีนฉินสื่อหวงแห่งราชวงศ์ฉิน ตั้งอยู่ที่ตำบลหลินถง ห่างจากเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน สุสานฉินสื่อหวงได้ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยชาวนาในหมู่บ้านซีหยาง ชื่อ หยางจื้อฟา ในขณะที่ขุดดินเพื่อทำบ่อน้ำ บริเวณเชิงเขาหลีซาน ห่างจากตัวเมืองซีอาน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม.

ใหม่!!: มีเทนและสุสานจักรพรรดิฉินที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สูตรเคมี

ูตรเคมี (chemical formula) เป็นวิธีรวบรัดที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมที่อยู่ในสารประกอบเคมีนั้นๆ สูตรเคมีจะแสดงเอกลักษณ์ของธาตุเคมีต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุนั้นๆที่มีอยู่ในหนึ่งโมเลกุลของสารประกอบ จำนวนอะตอมถ้ามีมากกว่าหนึ่งจะแสดงเป็นตัวห้อย (subscript) คือส่วนล่างของบรรทัด ที่อยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ธาตุ สำหรับสารประกอบที่ไม่เป็นโมเลกุล ตัวห้อยจะแสดงเป็นอัตราส่วนของธาตุในสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) สูตรเคมีที่ใช้สำหรับสารประกอบที่เป็นกลุ่มซีรีส์ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เราเรียกว่า สูตรทั่วไป และกลุ่มซีรี่เราเรียกว่า โฮโมโลกัส ซีรีส์ (homologous series) และสมาชิกในกลุ่มเราเรียกว่า โฮโมลอกส์ (homologs).

ใหม่!!: มีเทนและสูตรเคมี · ดูเพิ่มเติม »

หลุมแก๊สดาร์วาซา

หลุมแก๊สดาร์วาซา หรือ เดร์เวเซ (Jähennem derwezesi, Җәхеннем дервезеси, Darwaza gas crater) เป็นหลุมแก๊สขนาดใหญ่กลางทะเลทรายการากุม ในเขตจังหวัดอาฮาล ประเทศเติร์กเมนิสถาน เกิดจากการพังถล่มของเพดานแอ่งเก็บแก๊สธรรมชาติที่เดิมเป็นถ้ำลง หลุมแก๊สมีขนาดความกว้าง 69 เมตร และลึก 30 เมตร ในปี พ.ศ. 2514 นักธรณีวิทยาจุดไฟเพื่อจะกำจัดแก๊สมีเทนซึ่งเป็นพิษและคาดว่าไฟจะลุกไม่นาน แต่กลับไม่เป็นไปตามนั้น โดยไฟได้ลุกโชติช่วงต่อเนื่องตั้งแต่เวลานั้นจนถึงปัจจุบัน คนท้องถิ่นและผู้มาเยือนบางส่วนเรียกว่า ประตูสู่นรก ปัจจุบันหลุมแก๊สเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ในปี..

ใหม่!!: มีเทนและหลุมแก๊สดาร์วาซา · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจนเหลว

ังบรรจุออกซิเจนเหลว ออกซิเจนเหลว (liquid oxygen; ย่อ LOX) เป็นออกซิเจนในรูปของเหลวอุณหภูมิต่ำมาก ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศเหลว มีสีฟ้าอ่อน มีคุณสมบัติเป็นพาราแมกเนติก ออกซิเจนเหลวมีความหนาแน่น 1.141 g/cm3 (1.141 kg/L, 1141 kg/m3) มีจุดเยือกแข็งที่ 54.36 K (−218.79 °C, −361.82 °F) มีจุดเดือดที่ 90.19 K (−182.96 °C, −297.33 °F) ที่ 101.325 kPa (760 mmHg) มีอัตราส่วนขยายตัว 1:861 ภายใต้ 1 บรรยากาศมาตรฐาน (100 kPa) และที่ 20 °C (68 °F) ด้วยเหตุนี้ จึงมีการขนส่งออกซิเจนเหลวทางอากาศเพื่อใช้หายใจในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร ด้วยอุณหภูมิที่ต่ำมาก วัตถุที่สัมผัสกับออกซิเจนเหลวจะเปราะ ออกซิเจนเหลวเป็นตัวออกซิไดซ์ที่มีฤทธิ์สูง หากเผาออกซิเจนเหลวจะทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง วัตถุที่ราดด้วยออกซิเจนเหลวเมื่อถูกเผาจะไหม้อย่างรวดเร็ว ออกซิเจนเหลวใช้เป็นก๊าซเชิงอุตสาหกรรมและใช้เป็นตัวออกซิไดซ์ในการขับเคลื่อนยานอวกาศ โดยผสมกับไฮโดรเจนเหลว เคโรซีนและมีเทน.

ใหม่!!: มีเทนและออกซิเจนเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ออมนิทริกซ์

ออมนิทริกซ์ (Omnitrix) เป็นอุปกรณ์ของมนุษย์ต่างดาว จากการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของประเทศสหรัฐอเมริกาเรื่องเบ็นเท็น มีลักษณะคล้ายๆกับกำไลข้อมือ ซึ่งเบ็น ตัวเอกของเรื่องหรือตัวละครอื่นๆในเรื่อง ใช้มันเปลี่ยนร่างเป็นเอเลี่ยนที่ถูกเก็บอยู่ข้างใน ซึ่งนิสัยมักจะนึกคิดของตัวเองอยู่เสมอ.

ใหม่!!: มีเทนและออมนิทริกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ออร์กาโนคลอรีน

thumb thumb ออร์กาโนคลอรีนหรือออร์กาโนคลอไรด์ หรือตัวทำละลายที่มีคลอรีน เป็นสารอินทรีย์ที่มีพันธะโควาเลนต์ระหว่างคาร์บอนกับคลอรีนอย่างน้อย 1 พันธะ ทำให้สารกลุ่มนี้มีโครงสร้างที่กว้างมาก แต่สารกลุ่มนี้และอนุพันธ์มักส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: มีเทนและออร์กาโนคลอรีน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เคีย

อาร์เคีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายแบคทีเรีย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่แปลกออกไป เป็นโปรคาริโอตที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและในมหาสมุทร ผนังเซลล์ไม่มีเปบทิโดไกลแคน กรดไขมันในเยื่อหุ้มแตกกิ่ง ไม่ไวต่อยาปฏิชีวนะ ยีนไม่มีอินทรอน RNA polymerase มีหลายชนิด บางส่วนเหมือนยูคาริโอต rRNA บางส่วนคล้ายกับของยูคาริโอตด้วยเช่นกัน กลุ่มของอาร์เคียที่สำคัญได้แก.

ใหม่!!: มีเทนและอาร์เคีย · ดูเพิ่มเติม »

อาหารคาร์บอนต่ำ

อาหารคาร์บอนต่ำ กล่าวถึงการเลือกใช้ชีวิตโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGe) ที่มาจากการใช้พลังงาน มีการประเมินว่า อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซเรือนกระจกในสหรัฐอเมริกามาจากวิธีการทางอาหาร ตัวเลขนี้อาจต่ำเพราะคำนวณจากแหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกโดยตรง แหล่งกำเนิดทางอ้อม เช่น ความต้องการผลิตภัณฑ์จากประเทศอื่นยังไม่ได้ถูกรวมไว้ อาหารคาร์บอนต่ำจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซให้น้อยที่สุดจากผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ กรรมวิธีทางอาหาร การขนส่ง การเตรียมอาหาร และขยะจากอาหาร หลักการของอาหารคาร์บอนต่ำนี้รวมถึงการบริโภคเนื้อและนมจากโรงงานให้น้อยลง โดยทั่วไปคือลดการบริโภคอาหารจากโรงงาน แต่บริโภคอาหารจากท้องถิ่นและอาหารตามฤดูกาล บริโภคอาหารที่ผ่านกรรมวิธีน้อยขั้นตอนและมีบรรจุภัณฑ์น้อย ลดขยะจากอาหารโดยการเลือกปริมาณอาหารให้พอเหมาะ การรีไซเคิล และการทำปุ๋.

ใหม่!!: มีเทนและอาหารคาร์บอนต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย

ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า พื้นที่อันตรายหมายถึง พื้นที่ที่อาจจะเต็มไปด้วยก๊าซไวไฟ ไอน้ำ ฝุ่นละออง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องถูกออกแบบและทดลองมาอย่างพิเศษ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดการระเบิด ประกายไฟ หรือมีพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูง ตัวอย่างเช่น สวิตช์ไฟในบ้าน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดประกายไฟเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในสภาวะบรรยากาศปกติ จะไม่ได้รับความสนใจ แต่ในสภาวะที่มีไอระเหยที่ติดไฟได้อยู่ ประกายไฟอาจจะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะถูกนำไปติดตั้งใช้ในโรงงานเคมีหรือโรงงานถลุงแร่จะต้องถูกออกแบบมาให้ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรืออะไรก็ตามที่อาจจะก่อให้เกิดประกายไฟอันจะทำให้ไอระเหยติดไฟได้ที่อาจจะปรากฏในบริเวณนั้นเกิดการระเบิดขึ้นได้ มีแนวทางแก้ปัญหาในการติดตั้งทางไฟฟ้าเหล่านี้มากมาย แต่วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการลดจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะด้วยการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าออกนอกบริเวณอันตราย หรือการลดความอันตรายของพื้นที่ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการใช้ระบบระบายอากาศ Intrinsic safety คือเทคนิกในทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดระดับกำลังของไฟฟ้าและมีพลังงานสะสมต่ำ อันจะทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิดต่ำลง การปิดคลุมอุปกรณ์สามารถอัดอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในระบบแล้วปิดตาย ซึ่งอุปกรณ์จะถูกตัดออกจากระบบเมื่อระบบจ่ายอากาศไม่ทำงาน เป็นเรื่องธรรมดาในสายงานเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานที่แต่งต่างกันออกไปและมีวิธีการทดสอบที่อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานในพื้นที่อันตรายที่ไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยการค้าโลกทวีความสำคัญในการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นมาตรฐานนานาชาติจค่อย ๆ จึงค่อย ๆ ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนมีเทคนิกที่ได้รับการยอมรับโดนตัวแทนของแต่ละชาติมากขึ้น.

ใหม่!!: มีเทนและอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย · ดูเพิ่มเติม »

ผายลม

ผายลม หรือ ตด ในภาษาพูด โดยทั่วไปเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ ในวันหนึ่งๆ มนุษย์อาจผายลมได้ 10-20 ครั้ง ซึ่งคิดเป็นปริมาณแก๊สที่ปล่อยออกมา คือ 0.5-1 ลิตรต่อวัน ผายลมเกิดจากการรวมตัวของแก๊สหลายชนิด แก๊สที่ไม่มีกลิ่น 99% มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และมีเทน ส่วนแก๊สที่มีกลิ่นมี 1% เท่านั้นซึ่งเกิดจากการหมักหมมของอาหารในลำไส้ใหญ่ และทำให้เกิดแก๊สจำพวกกำมะถัน ได้แก่ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ปกติมนุษย์ขับแก๊สส่วนเกินออกจากร่างกายได้ 2 ทาง คือ การขับออกทางปาก (เรอ) และการขับออกทางทวารหนัก (ผายลม หรือตด) หากแก๊สนั้นไม่ขับออกมาจะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร จะทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ปวดมวนในท้อง และเกิดอาการท้องอืดตามม.

ใหม่!!: มีเทนและผายลม · ดูเพิ่มเติม »

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

กราฟแสดงการผลิตน้ำมันโลก ทั้งข้อมูลตามประวัติและข้อมูลอนาคตตามที่คาดหมาย และตามที่เสนอโดยนักธรณีวิทยา ดร. คิง ฮับเบิร์ต ได้ถึงจุดสูงสุดที่ 1.5 ล้านล้านลิตร (12,500 ล้านบาร์เรล) ต่อปีที่ประมาณปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) การผลิตน้ำมันดิบของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงลักษณะคล้ายคลึงกับเส้นโค้งฮับเบิร์ต (Hubbert curve) แต่ให้สังเกตความแตกต่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กีปีมานี้ จุดผลิตน้ำมันสูงสุด (Peak oil) เป็นเหตุการณ์ตามทฤษฎีจุดสูงสุดฮับเบิร์ต (Hubbert peak theory) ของ ดร.

ใหม่!!: มีเทนและจุดผลิตน้ำมันสูงสุด · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์

ทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน (Valence Shell Electron Pair Repulsion (VSEPR) Theory) เสนอขึ้นโดย โรนัลด์ กิลเลสพาย และ เซอร์โรนัลด์ ซิดนีย์ ไนโฮล์ม ในปี พ.ศ. 2500 เพื่อใช้เป็นแบบจำลองเพื่อทำนายรูปร่างของโมเลกุลของสารประกอบโคเวเลนต์ ซึ่งศึกษาโดยใช้คุณสมบัติทางไฟฟ้าของอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวโดยใช้จำนวนกลุ่มอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลาง (Stearic number) ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ทฤษฎีนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีกิลเลสพาย-ไนโฮล์ม หรือในบางครั้งก็เรีกกันว่า "เวสเปอร์" เพื่อความสะดวกในการเรียก ซึ่งโครงสร้างในการพิจารณานั้นก็มาจากสูตรโครงสร้างของลิวอิสแล้วมาจำลองให้เป็นรูปแบบสามมิติ โดยที่ต้องให้อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางผลักกันให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้.

ใหม่!!: มีเทนและทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อนาโนคาร์บอน

ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon nanotubes) คือ วัสดุที่มีรูปทรงเป็นท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในระดับนาโนเมตร ผนังท่ออาจมีเพียงแค่ชั้นเดียว (Single-walled) หรือหลายชั้น (Multi-walled) ซึ่งประกอบขึ้นจากอะตอมของธาตุคาร์บอนเพียงธาตุเดียว ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1991 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ Sumio Iijima ปัจจุบันพบว่ามีสมบัติที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ทำเส้นใยเสริมความแข็งแกร่งในวัสดุคอมพอสิท ทำอิเล็กโทรดเพิ่มกำลังไฟและอายุการใช้งานในแบตเตอรี และตัวเก็บประจุ เป็นต้น ท่อนาโนคาร์บอนมีโครงสร้างและสมบัติหลากหลายซึ่งขึ้นกับวิธีที่ใช้ในการสังเคราะห.

ใหม่!!: มีเทนและท่อนาโนคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มีเทนและดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: มีเทนและดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมาคีมาคี

มาคีมาคี (Makemake;; ภาษาราปานุย: มาเกมาเก) มีชื่อเดิมว่า (136472) มาคีมาคี เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์ ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย จากเริ่มแรกที่มีชื่อว่า (และต่อมามีหมายเลขดาวเคราะห์น้อย 136472 กำกับ) ดาวมาคีมาคีถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) พร้อมทีมค้นหา ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้รวมมาคีมาคีไว้ในรายชื่อวัตถุที่มีสภาพเหมาะสมที่จะได้รับสถานะ "พลูตอยด์" (Plutoid) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกประเภทของดาวเคราะห์แคระที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป บริเวณเดียวกับดาวพลูโตและดาวอีริส ในที่สุดมาคีมาคีก็ได้รับการจัดให้เป็นพลูตอยด์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: มีเทนและดาวมาคีมาคี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยูเรนัส

ซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ภาพจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวยูเรนัส วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3.

ใหม่!!: มีเทนและดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: มีเทนและดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: มีเทนและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแก๊สยักษ์

วแก๊สยักษ์ทั้ง 4 ดวงของระบบสุริยะ เปรียบเทียบขนาดกับดวงอาทิตย์ (ตามสัดส่วนจริง) ดาวแก๊สยักษ์ (Gas giant) หรือบางครั้งเรียกกันว่า ดาวเคราะห์โจเวียน (Jovian planet; เรียกตามชื่อดาวพฤหัสบดี หรือดาวจูปิเตอร์ ซึ่งเป็นดาวแก๊สยักษ์ที่ใหญ่ที่สุด) คือดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มิได้มีองค์ประกอบของหินหรือสสารแข็ง ในระบบสุริยะมีดาวแก๊สยักษ์ 4 ดวงคือ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ยังมีดาวแก๊สยักษ์อื่นๆ ที่ค้นพบว่าโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ อีก ดาวแก๊สยักษ์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดาวแก๊สยักษ์ "ดั้งเดิม" คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีส่วนประกอบโดยพื้นฐานเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม ส่วนดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนอาจจัดเป็นประเภทย่อยอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์" เพราะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น น้ำ แอมโมเนีย และมีเทน ส่วนไฮโดรเจนกับฮีเลียมจะอยู่ในส่วนรอบนอกสุดของดาว สำหรับกลุ่มดาวเคราะห์นอกระบบ "ดาวพฤหัสบดีร้อน" (Hot Jupiter) คือดาวแก๊สยักษ์ที่โคจรใกล้กับดาวฤกษ์ของมันมากและมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงมาก ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้เราสามารถตรวจจับมันพบได้ง่าย ลักษณะของดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากที่ค้นพบ จะเป็นแบบ ดาวพฤหัสบดีร้อน นี้เกือบทั้งหม.

ใหม่!!: มีเทนและดาวแก๊สยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

ใหม่!!: มีเทนและดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: มีเทนและดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้ำแข็ง

วเคราะห์ OGLE-2005-BLG-390Lb ถูกคาดการณ์ว่าเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็ง ดาวเคราะห์น้ำแข็ง (Ice planet) คือดาวเคราะห์นอกระบบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพื้นผิวเป็นน้ำแข็ง และมีชั้นไครโอสเฟียร์ปกคลุมทั่วดาวเคราะห์ ตัวอย่างวัตถุในระบบสุริยะที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้ำแข็ง อาทิเช่น ยูโรปา เอนเซลาดัส ไทรทัน ดาวพลูโต อีริส และวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะอื่น ๆ ที่หนาวเย็น.

ใหม่!!: มีเทนและดาวเคราะห์น้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเนปจูน

วเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก: โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: มีเทนและดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ดีแก๊สเซอร์

ีแก๊สเซอร์ (อังกฤษ: Degasser) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดเจาะ เพื่อกำจัดแก๊สออกจาก drilling fluid ซึ่งอาจจะกลายเป็นฟองได้.

ใหม่!!: มีเทนและดีแก๊สเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรฟลูออโรคาร์บอน

คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbon, ย่อ: CFC) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีแต่ธาตุคาร์บอน คลอรีน ไฮโดรเจนและฟลูออรีน เป็นอนุพันธ์ของมีเทนและอีเทนที่ระเหยเป็นไอได้รวดเร็ว ซีเอฟซียังรู้จักกันในชื่อการค้า ฟรีออน ของดูปอง อนุพันธ์ที่พบมากที่สุด คือ ไดคลอโรฟลูออโรมีเทน (อาร์-12 หรือฟรีออน-12) สารซีเอฟซีจำนวนมากใช้เป็นสารทำความเย็น ตัวขับเคลื่อน (ในการใช้ละอองลอย) และตัวทำละลาย การผลิตสารซีเอฟซีถูกยกเลิกไปตามพิธีสารมอนทรีออล เพราะทำให้เกิดการลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศระดับบน และถูกทดแทนด้วยสารเช่น อาร์-410เอ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หมวดหมู่:การลดลงของโอโซน หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก หมวดหมู่:ตัวขับเคลื่อนละอองลอย หมวดหมู่:ตัวทำละลาย หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศ.

ใหม่!!: มีเทนและคลอโรฟลูออโรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว

วามร้อนแฝงของการหลอมเหลว (Enthalpy of fusion) คือ พลังงานที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนสารชนิดหนึ่ง 1 กรัมให้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว โดยสารนั้นต้องมีอุณหภูมิเท่ากับจุดหลอมเหลวของสารชนิดนั้นๆ โดยทั่วไป หากให้พลังงานแก่สารจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของสารนั้น และถ้าดึงพลังงานออกจากสาร สารจะมีอุณหภูมิลดลง แต่หากสารนั้นมีอุณหภูมิถึงจุดๆ หนึ่ง ซึ่งก็คือจุดหลอมเหลว จะมีพลังงานจำนวนหนึ่งที่ถูกใช้ไป แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการเปลี่ยนอุณหภูมิของสาร แต่เป็นการใช้หรือคายพลังงานเพื่อเปลี่ยนสถานะ พลังงานนั้นก็คือ ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ในการเปลี่ยนสถานะของสารที่อุณหภูมิเท่ากับจุดหลอมเหลว หากจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว ต้องใช้พลังงานเท่ากับความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ในขณะที่การเปลี่ยนสถานะของของเหลวเป็นของแข็ง ต้องคายพลังงานในจำนวนที่เท่ากัน ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น หากนำน้ำใส่ตู้แช่เข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ แล้ววัดอุณหภูมิของน้ำ จะพบว่า ในช่วงแรก น้ำจะมีอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงช่วงหนึ่ง ซึ่งน้ำมีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะคงที่ ในขณะที่น้ำเริ่มกลายเป็นน้ำแข็งทีละน้อย หลังจากที่น้ำแข็งตัวหมดแล้ว อุณหภูมิของน้ำ (ที่เป็นน้ำแข็ง) ก็จะลดลงอย่างรวดเร็วอีกครั้ง เหตุที่อุณหภูมิของน้ำคงที่ในช่วงที่น้ำอยู่ที่จุดหลอมเหลวนั้น เพราะมีการคายพลังงานซึ่งเท่ากับความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำออกมา เพื่อทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็งได้ ก่อนที่จะกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด อุณหภูมิจึงไม่ลดลงในช่วงนั้น หลังจากนั้นก็จะไม่มีการคายพลังงานในส่วนนี้ อุณหภูมิจึงลดลงอีกครั้ง.

ใหม่!!: มีเทนและความร้อนแฝงของการหลอมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเบอร์มิวดา

ตราแผ่นดินของเบอร์มิวดาเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2453 โดยมีที่มาจากเหตุการณ์ที่เรือของอังกฤษที่นำโดยเซอร์จอร์จ ซอมเมอร์แตกอยู่ นอกชายฝั่งเบอร์มิวดาระหว่างทางมุ่งสู่เวอร์จิเนีย ภาพทีอยู๋ในโล่ที่สิงห์โตคาลีบานถือโล่อันเล็ก (สิงห์โตคาลีบาน คือสัตว์ในตำนานเป็นมนุษย์ที่มีอุปนิสัยคล้ายสัตว์ตัวหนึ่ง) โล่แสดงภาพเรือเดินสมุทรชนโขดหินโสโครกจนล่มลงท้องทะเล ในมหาสมุทรมีเกลียวคลื่นเกิดจากฟองของแก๊สมีเทน โดยแก๊สดังกล่าวอยู่ใต้ท้องทะเลในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา โดยเมื่อแก๊สเหล่านี้ขึ้นสู่พื้นผิว มันจะทะยานสู่อากาศ และขยายตัวเป็นวงกว้างและก่อตัวเป็นฟองแก๊สขนาดใหญ่ เมื่อเรือลำใดผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น ก็จะเข้าไปสู่ฟองแก๊สมีเทนขนาดยักษ์ จนทำให้เรือเหล่านี้สูญเสียการควบคุม และจมลงในที่สุด ซึ่งตราอาณานิคมดังที่ได้กล่าวมาข้า่งต้น โดยมูลเหตุของการออกแบบตราดังกล่าวนี้ บอกเล่าถึงที่มาของอาณานิคมแห่งนี้ว่าผู้ก่อตั้งอาณานิคมเป็นลูกเรือซีเวนเจอร์ (Sea Venture) ซึ่งจมลงในปี ค.ศ. 1609 (พ.ศ. 2152) โดยมาจากวรรณกรรมของ วิลเลียม เชคสเปียร์ ที่ประพันธ์บทละครเรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่อง The Thempest ขึ้นในปี พ.ศ. 2154 สิงห์โตคาลีบานถือโล่ที่บรรจุภาพดังกล่าว อันเล็ก อยู่ในโล่ใหญ่พื้นสีขาวโดย สิงห์โตคาลีบานยืนถือโล่อันเล็กบนแถบสีเขียวขนาดเล็ก ที่บนผืนหญ้า ตราแผ่นดิน (ตราอาณานิคม) ในยุคแรกเมื่อปีค.ศ. 1875 (พ.ศ. 2418) โดยมีลักษณะเป็นรูปเรือสามลำที่แล่นในมหาสมุทร โดยเรือลำใหญ่ที่อยู่ตรงกลางกำลังแล่นเข้าสู่อู่แห้ง ซึ่งสันนิษฐานว่าในความเป็นจริงที่ว่าเกาะแห่งนี้คือฐานสำหรับการหยุดพักระหว่างการสัญจรทางเรือ.

ใหม่!!: มีเทนและตราแผ่นดินของเบอร์มิวดา · ดูเพิ่มเติม »

ตะเกียงเดวี

แผนภาพตะเกียงเดวี ตะเกียงเดวี (Davy lamp) เป็นตะเกียงนิรภัยสำหรับใช้ในบรยากาศที่ติดไฟได้ เซอร์ฮัมฟรี เดวีประดิษฐ์ใน..

ใหม่!!: มีเทนและตะเกียงเดวี · ดูเพิ่มเติม »

ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

ใหม่!!: มีเทนและตารางธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ซินแก๊ส

ซินแก๊ส Syngas, or synthesis gas, เป็นแก๊สเชื้อเพลิงผสม ส่วนผสมหลักประกอบด้วย ไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ชื่อนี้เพราะถูกใช้เป็นตัวกลางในการผลิต synthetic natural gas (SNG) และ แอมโมเนีย หรือ เมทานอล นอกจากนี้ ซินแก๊ส ยังใช้ผลิตปิโตรเลียมสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงและตัวหล่อลื่นในการผลิตแก๊สโวลีนอีกด้วย ซินแก๊สเผาไหม้ได้ดี และถูกนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในบ่อยๆ แต่มีความหนาแน่นของพลังงานน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของแก๊สธรรมชาติเท่านั้น วิธีการผลิตซินแก๊ส คือการใช้ขบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (gasification) ของถ่านหิน หรือ มวลชีวภาพ หรือขบวนการเปลี่ยนสถานะจากพลังงานเหลือใช้โดยใช้เทคนิคของ gasification หรือใช้ขบวนการ เปลี่ยนรูปไอน้ำของแก๊สธรรมชาติหรือสารไฮโดรคาร์บอนเหลวให้เป็นแก๊สไฮโดรเจน.

ใหม่!!: มีเทนและซินแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: มีเทนและปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H. Schneider, in Geosphere-biosphere Interactions and Climate, Lennart O. Bengtsson and Claus U. Hammer, eds., Cambridge University Press, 2001, ISBN 0-521-78238-4, pp.

ใหม่!!: มีเทนและปรากฏการณ์เรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: มีเทนและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: มีเทนและนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม

น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม (Eternal Flame Falls) เป็นน้ำตกขนาดเล็กในสวนสาธารณะเชสต์นัตริดจ์ รัฐนิวยอร์ก ความพิเศษของน้ำตกแห่งนี้คือบริเวณฐานหลังม่านน้ำตกจะมีการลุกไหม้ของดวงไฟซึ่งเกิดจากการทับถมของแก๊สธรรมชาติ โดยดวงไฟนั้นสามารถลุกไหม้ได้ตลอดปีและสามารถดับได้ในบางครั้งแต่หลังจากดับได้ไม่นานมันก็จะกลับมาลุกไหม้ใหม่อีกครั้ง น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลมยังได้รับการกล่าวถึงในหนังสือ Secret Places ของนักสิ่งแวดล้อมนามว่าบรูซ เคิร์ชเนอร.

ใหม่!!: มีเทนและน้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สจากขยะฝังกลบ

แก๊สจากขยะฝังกลบ เมื่อนำขยะชุมชนมากำจัดด้วยการฝังกลบ จะทำให้เกิดส่วนผสมของแก๊สหลายๆชนิดภายในหลุมฝังกลบนั้นด้วยขบวนการย่อยสลายของสารอินทรีย์ เราสามารถนำแก๊สบางชนิดมาใช้เป็นพลังงานได้ แก๊สบางอย่างต้องทำล.

ใหม่!!: มีเทนและแก๊สจากขยะฝังกลบ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติ

ประเทศผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทนล้วนหรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังแก๊ส เรียกว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ แก๊สหุงต้ม แก๊สธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและแก๊สหุงต้ม ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้แก๊สธรรมชาติ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.

ใหม่!!: มีเทนและแก๊สธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติอัด

right แก๊สธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas, CNG) เป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อีกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และ แก๊สปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มีใช้กับพาหนะได้ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถตู้ รถประจำทาง เป็นต้น ราคาถูกกว่าน้ำมัน และ ช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงมาก จึงมีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างสูง.

ใหม่!!: มีเทนและแก๊สธรรมชาติอัด · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สไบโอมีเทนอัด

แก๊สไบโอมีเทนอัด (compressed bio-methane gas) หรือ ซีบีจี (CBG) เป็นแก๊สที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากแก๊สชีวภาพ โดยนำมาบรรจุลงถังเพื่อสะดวกในการนำไปใช้.

ใหม่!!: มีเทนและแก๊สไบโอมีเทนอัด · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเชี้อเพลิง

แก๊สเชื้อเพลิง เป็นเชื้อเพลิงแบบหนึ่งที่ในสภาวะปกติอยู่ในรูปของแก๊ส ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอน (เช่น มีเทน หรือ โพรเพน) บวกกับไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือสารประกอบอื่นๆ เป็นสารทีใช้สร้างพลังงานความร้อนหรือพลังงานแสงสว่างและสามารถส่งตามท่อออกจากแหล่งผลิตได้ แก๊สเชื้อเพลิงจะต้องถูกเติมกลิ่นเข้าไป เพื่อเตือนผู้ใช้หากเกิดการรั่วไหลเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แก๊สที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แก๊สธรรมชาต.

ใหม่!!: มีเทนและแก๊สเชี้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: มีเทนและแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

แล็กทูโลส

แล็กทูโลส (Lactulose) เป็นน้ำตาลที่ดูดซึมไม่ได้และใช้รักษาอาการท้องผูกและโรคสมองเหตุตับ (hepatic encephalopathy) โดยใช้ทานสำหรับท้องผูก และใช้ทานหรือใส่ในไส้ตรงสำหรับโรคสมอง ปกติจะออกฤทธิ์ภายใน 8-12 ชม.

ใหม่!!: มีเทนและแล็กทูโลส · ดูเพิ่มเติม »

แอลเคน

thumb แอลเคน (Alkane) ในเคมีอินทรีย์ คือไฮโดรคาร์บอนอะซิคลิกที่อิ่มตัว กล่าวคือ อัลเคนคือโซ่คาร์บอนที่ยึดกันด้วยพันธะเดี่ยว อัลเคนคือสารประกอบ aliphatic สูตรของแอลเคนโดยทั่วไปคือ CnH2n+2 อัลเคนที่มีรูปแบบง่ายที่สุด จึงเป็นมีเทน หรือ CH4 ขั้นถัดไปคืออีเทน หรือ C2H6 และชุดนี้ต่อเนื่องไปไม่มีสิ้นสุด ทุกอะตอมคาร์บอนในอัลเคนมี sp³ hybridization.

ใหม่!!: มีเทนและแอลเคน · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: มีเทนและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรคาร์บอน

ในเคมีอินทรีย์ ไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบขึ้นจากไฮโดรเจนและคาร์บอนทั้งหมด ไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมไฮโดรเจนหนึ่งอะตอมถูกนำออกเป็นหมู่ฟังก์ชัน เรียก ไฮโดรคาร์บิล ไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ เช่น อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (อะรีน) อัลเคน อัลคีน ไซโคลอัลเคนและอัลไคน์ ไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่ที่พบบนโลกเกิดตามธรรมชาติในน้ำมันดิบ ซึ่งสสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายให้คาร์บอนและไฮโดรเจนปริมาณมากซึ่งเมื่อสร้างพันธะสามารถเรียงต่อกันเพื่อสร้างสายที่ดูไม่มีที่สิ้น.

ใหม่!!: มีเทนและไฮโดรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน (ดาวบริวาร)

ไททัน (Titan) คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีระยะห่างจากดาวเสาร์เป็นลำดับที่ 20 เป็นดาวบริวารดวงเดียวที่เป็นที่ทราบกันว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่น และเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในระบบสุริยะ รองจากดาวบริวารแกนีมีดของดาวพฤหัสบดี และมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดซึ่งคือ ดาวพุธ (ถึงแม้ว่าจะมีมวลน้อยกว่าเพียงครึ่งเดียวก็ตาม) ผู้คนได้รู้ว่าไททันเป็นดาวบริวารดวงแรกของดาวเสาร์ หลังจากที่ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ. 1655) โดยคริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens) นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ ไททันประกอบด้วยน้ำ น้ำแข็ง และหินเป็นหลัก ด้วยความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของไททัน ทำให้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวของมันมากนัก จนกระทั่งยานอวกาศ "กัสซีนี-เฮยเคินส์" (Cassini–Huygens) ได้เดินทางไปถึงในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) รวมถึงการค้นพบทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนเหลว บริเวณขั้วของดาวโดยดาวเทียม ลักษณะของพื้นผิวนั้น ทางธรณีวิทยาถือว่ายังค่อนข้างใหม่ ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยภูเขาและภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcano) ก็ตาม ชั้นบรรยากาศของไททันประกอบด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ สภาพอากาศจะมีเมฆมีเทนและอีเทน ลมและฝน ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นผิวที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา เช่น ทะเลทราย และแนวชายฝั่ง หมวดหมู่:ดาวบริวารของดาวเสาร์ หมวดหมู่:วัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2198.

ใหม่!!: มีเทนและไททัน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ไดฟลูออโรมีเทน

ไดฟลูออโรมีเทน (หรือเขียนโดยย่อเป็นา HFC-32 และ R-32) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มไดฮาโลเจนอัลเคน มีโครงสร้างหลักจากมีเทนแต่ว่าสองอะตอมไฮโดรเจนถูกแทนที่ไปด้วยฟลูออรีน มีสูตรเคมีคือ CH2F2 แทนที่จะเป็น CH4 อย่างมีเทน ใช้เป็นสารทำความเย็น เมื่อผสมกับ pentafluoroethane จะได้สารหล่อเย็น R-410A ซึ่งใช้แทนฟรีออนในระบบทำความเย็น สารนี้ไม่ทำลายชั้นโอโซนแต่ทำให้โลกร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 550 เท่า หมวดหมู่:สารเคมี.

ใหม่!!: มีเทนและไดฟลูออโรมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ไดคลอโรมีเทน

ลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ (Dichloromethane หรือ Methylene chloride) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง มีสูตรเป็น CH2Cl2 เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารประกอบคลอโรคาร์บอนที่มีอันตรายน้อยที่สุดชนิดหนึ่ง การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิต.

ใหม่!!: มีเทนและไดคลอโรมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ไนตรัสออกไซด์

แนวโน้มในการเป็นแก๊สเรือนกระจก ถังแก๊สไนตรัสออกไซด์สำหรับใช้ในทางทันตกรรม ไนตรัสออกไซด์ หรือ แก๊สหัวเราะ (Nitrous oxide หรือ laughing gas) คือสารประกอบทางเคมีที่มีสูตรทางเคมีว่า N2O ที่อุณหภูมิห้อง ไนตรัสออกไซด์จะไม่มีสี และเป็นแก๊สไม่ติดไฟ ไนตรัสออกไซด์มีกลิ่นหอมและมีรสหวานเล็กน้อย มีการนำไนตรัสออกไซด์ไปใช้ในการผ่าตัดและทางทันตกรรมเพื่อให้เกิดอาการชาและเพื่อการระงับความปวด โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ “แก๊สหัวเราะ” เนื่องจากเมื่อสูดดมแล้วจะให้ความรู้สึกเคลิ้มสุขหรือครึ้มใจ เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มีการใช้ในเชิงนันทนาการโดยการใช้เป็นยาดม และยังมีการนำไปใช้ในการแข่งรถยนต์โดยให้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อเพิ่มกำลังให้เครื่องยนต์อีกด้ว.

ใหม่!!: มีเทนและไนตรัสออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงชีวภาพ

ื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลสัตว์ ซึ่งเป็น พลังงานทดแทน (Alternative energy) และเป็นพลังงานสะอาด (clean energy)ไม่เหมือนพลังงานจาก แหล่งธรรมชาติ อื่น เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ เชื้อเพลิง นิวเคลียร.

ใหม่!!: มีเทนและเชื้อเพลิงชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

ื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel; เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นศัพท์ทางธรณีวิทยา ส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล) หรือแร่เชื้อเพลิง (อังกฤษ: mineral fuel) เป็นเชื้อเพลิงอันเกิดแต่ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งได้แก่ไฮโดรคาร์บอนที่พบจากช่วงชั้นดิน (layer) ด้านบนสุดของเปลือกโลก เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มีตั้งแต่แร่สารระเหยสูง (volatile material) ซึ่งมีอัตราคาร์บอนต่อไฮโดรเจนต่ำ เป็นต้นว่า แก๊สมีเทน ไปจนถึงปิโตรเลียมเหลว (liquid petroleum) และแร่ไร้สารระเหย (nonvolatile material) ซึ่งแร่ไร้สารระเหยนี้มักประกอบด้วยคาร์บอนบริสุทธิ์ เป็นต้นว่า ถ่านแอนทราไซต์ (anthracite coal) ทั้งนี้ แก๊สมีเทนอันมีในแร่สารระเหยสูงเช่นว่าสามารถพบได้ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนเพียงจำพวกเดียวก็ได้ ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนประสมกับน้ำมันก็ได้ และในรูปมีเทนผังหนา (methane clathrate) ก็ได้ ใน พ.ศ. 2548 องค์การข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Energy Information Administration) ได้ประเมินว่าในบรรดาผลิตผลจากพลังงานในโลกนี้ ร้อยละแปดสิบหกมีต้นกำเนิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ร้อยละหกจุดสามกำเนิดแต่พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ (hydroelectric) และร้อยละหกจากพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนร้อยละศูนย์จุดเก้าที่เหลือจากแหล่งพลังงานอื่น ๆ เป็นต้นว่า ความร้อนจากธรณีภาค (geothermal) พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากไม้ และพลังงานจากของใช้แล้ว.

ใหม่!!: มีเทนและเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

เมทาโนเจน

มทาโนเจน (Methanogen) เป็นอาร์เคียกลุ่มที่สร้างก๊าซมีเทน อยู่ในสภาพไร้ออกซิเจน เช่นในน้ำลึก ในโคลนและในดินก้นบ่อ และอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์รวมทั้งมนุษย์ เป็นกลุ่มที่ไวต่อออกซิเจนที่สุด หากได้รับออกซิเจนจะตาย แบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตมีเทนได้เป็น กลุ่มที่ใช้ CO2 เช่น สกุล Methanobacterium กลุ่มที่ใช้สารที่มีหมู่เมทิล เช่น เมทานอล เมทิลามีน (Methylamine) ตัวอย่างเช่น สกุล Methanolobus และกลุ่มที่ใช้ ไพรูเวต หรือแอซิเตต (Acetate) เช่น สกุล Methanosaeta.

ใหม่!!: มีเทนและเมทาโนเจน · ดูเพิ่มเติม »

เมฆออร์ต

กราฟิกของนาซ่า แสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพกราฟิกแสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางของเมฆออร์ตเปรียบเทียบกับขนาดของระบบสุริยะ เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 50,000 - 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ ไกลออกไปจากขอบระบบสุริยะรอบนอก ตำแหน่งของเมฆออร์ตอยู่ในระยะความห่าง 1 ใน 4 ของดาวแคระแดงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ในกลุ่มเมฆออร์ตนี้มีวัตถุพ้นดาวเนปจูน อย่างดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: มีเทนและเมฆออร์ต · ดูเพิ่มเติม »

เวเลนซ์

วเลนซ์ หรือ เวเลนซี (valence or valency) ของธาตุเคมีเป็นการระบุความสามารถของอะตอมในการเกิดเป็นสารประกอบหรือโมเลกุล โดยหลักการเกี่ยวกับเวเลนซีนี้ได้ถูกพัฒนาในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และใช้ในการอธิบายโครงสร้างของสารได้ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับเวเลนซ์จะถูกกล่าวถึงมานานแต่ยังสามารถใช้ได้กับอีกทฤษฎีเกี่ยวกับพันธะเคมี อาทิ ทฤษฎีอะตอมทรงลูกบาศก์ (cubical atom) โครงสร้างลิวอีส (Lewis structures) ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ (valence bond theory; VBT) ทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (molecular orbital theory; MOT) ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์ (valence shell electron pair repulsion theory; VSEPR) รวมถึงทฤษฎีควอนตัมสมัยใหม่ เป็นต้น.

ใหม่!!: มีเทนและเวเลนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ คือ เส้นเวลาที่บอกถึงประวัติศาสตร์ของธรรมชาติตั้งแต่การเกิดบิกแบงจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: มีเทนและเส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์เหมืองซาสยาดโคระเบิด พ.ศ. 2550

หมืองซาสยาดโค เหตุการณ์เหมืองซาสยาดโคร..

ใหม่!!: มีเทนและเหตุการณ์เหมืองซาสยาดโคระเบิด พ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: มีเทนและเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์

อราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ (Gerard Peter Kuiper) ชื่อเกิดคือ แคร์ริต ปีเตอร์ เกยเปอร์ (Gerrit Pieter Kuiper; 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 — 23 ธันวาคม พ.ศ. 2516) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวดัตช์สัญชาติอเมริกัน เป็นผู้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยในแถบไคเปอร์ รวมทั้งเทหวัตถุและสภาพของเทหวัตถุมากมาย ซึ่งช่วยขยายความเข้าใจในระบบสุริยะและดาวเคราะห์ในระบบสุร.

ใหม่!!: มีเทนและเจอราร์ด ปีเตอร์ ไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์เชื้อเพลิง

Toyota FCHV ใช้เซลล์เชื้อเพลิง proton-conducting fuel cell) เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานเคมีจากเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางปฏิกิริยาเคมีของไอออนของไฮโดรเจนประจุบวกกับอ๊อกซิเจนหรือตัวทำอ๊อกซิเดชันอื่น เซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากแบตเตอรี่ที่ว่ามันต้องการแหล่งจ่ายเชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของปฏิกิริยาเคมี ในขณะที่ในแบตเตอรี่สารเคมีภายในจะทำปฏิกิริยาต่อกันเพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนานเท่าที่เชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศยังคงถูกใส่เข้าไป ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ที่จะหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าถ้าสารเคมีหมดอายุการใช้งาน เซลล์เชื้อเพลิงครั้งแรกถูกคิดค้นในปี 1838 เซลล์เชื้อเพลิงเชิงพาณิชย์ครั้งแรกถูกใช้มากว่าหนึ่งศตวรรษต่อมาในโครงการอวกาศของ นาซ่า ที่จะผลิตพลังงานให้กับดาวเทียมและแคปซูลอวกาศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเซลล์เชื้อเพลิงถูกนำมาใช้ในงานที่หลากหลายอื่น ๆ เซลล์เชื้อเพลิงถูกใช้สำหรับพลังงานหลักและพลังงานสำรองเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและอาคารที่อยู่อาศัยและในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้ พวกมันยังถูกใช้เพื่อให้พลังงานกับยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิง รวมทั้งรถยก, รถยนต์, รถโดยสาร, เรือ, รถจักรยานยนต์และเรือดำน้ำ เซลล์เชื้อเพลิงมีอยู่หลายชนิด ทุกชนิดประกอบด้วยแอโนด แคโทดและอิเล็กโทรไลต์ อิเล็กโทรไลต์จะยอมให้ไอออนไฮโดรเจนประจุบวก (หรือโปรตอน) สามารถเคลื่อนที่ได้จากแอโนดไปแคโทดของเซลล์เชื้อเพลิง แอโนดและแคโทดประกอบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เชื้อเพลิงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่สร้างไอออนไฮโดรเจนประจุบวกและอิเล็กตรอน ไอออนไฮโดรเจนจะถูกดึงผ่านอิเล็กโทรไลต์หลังจากการเกิดปฏิกิริยาและเคลื่อนที่ไปยังแคโทด ในขณะเดียวกันอิเล็กตรอนที่เหลือจากอะตอมของไฮโดรเจนจะถูกดึงจากแอโนดไปยังแคโทดผ่านวงจรภายนอก ทำให้เกิดกระแสตรง ที่แคโทดไอออนไฮโดรเจน อิเล็กตรอนและออกซิเจนทำปฏิกิริยากันก่อตัวเป็นน้ำ เนื่องจากความแตกต่างหลักระหว่างเซลล์เชื้อเพลิงในแต่ละประเภทคืออิเล็กโทรไลต์ เซลล์เชื้อเพลิงจึงถูกแยกประเภทตามชนิดของอิเล็กโทรไลต์ที่พวกมันใช้ และแยกตามระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ 1 วินาทีสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงเยื่อหุ้มแลกเปลี่ยนโปรตอน (solid oxide fuel cell (SOFC)) เซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยว ๆ จะผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันขนาดค่อนข้างเล็ก ประมาณ 0.7 โวลต์ ดังนั้นเซลล์จึงต้องวาง "ซ้อน" กัน หรือถูกวางเรียงกันเป็นแถว เพื่อที่จะสร้างแรงดันเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของการใช้งาน นอกเหนือไปจากกระแสไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิงยังผลิตน้ำ ความร้อนและ(ขึ้นอยู่กับแหล่งเชื้อเพลิง)ปริมาณขนาดเล็กมากของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเซลล์เชื้อเพลิงโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 40-60% หรือสูงขึ้นถึง 85% ในการผลิตแบบความร้อนร่วม (cogeneration) ถ้าความร้อนที่เหลือทิ้งถูกนำกลับมาใช้งานอีก ตลาดของเซลล์เชื้อเพลิงกำลังเจริญเติบโตและบริษัท Pike Research ได้ประมาณการว่าตลาดเซลล์เชื้อเพลิงอยู่กับที่จะสูงถึง 50 GW ในปี 2020 สารตั้งต้นที่ใช้โดยทั่วไปในเซลล์เชื้อเพลิงได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจนที่ด้านแอโนด และก๊าซออกซิเจนที่ด้านแคโทด (เซลล์ไฮโดรเจน) โดยปกติแล้วเมื่อมีสารตั้งต้นไหลเข้าสู่ระบบ สารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นก็จะไหลออกจะระบบไปด้วย ดังนั้นการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงจึงดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ตราบเท่าที่เราสามารถควบคุมการไหลได้ เซลล์เชื้อเพลิงมักจะถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงและปราศจากมลพิษ เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิง เช่น มีเทนและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวที่เกิดจากการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงคือน้ำ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลอยู่ในขั้นตอนการผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งใช้พลังงานมาก การผลิตไฮโดรเจนจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบที่มีไฮโดรเจน เช่น น้ำ หรือ เชื้อเพลิงอื่นๆ นอกจากนั้นยังต้องใช้ไฟฟ้าซึ่งก็ก็ผลิตมาจากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่พลังงานทางเลือกเช่น ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ก็อาจสามารถใช้ได้ แต่ราคาก็ยังสูงมากในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอิสระจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ จนกว่าเราจะสามารถหาวิธีการผลิตไฮโดรเจนปริมาณมากด้วยพลังงานทดแทนหรือพลังงานนิวเคลียร.

ใหม่!!: มีเทนและเซลล์เชื้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

เนินพุโคลน

เนินพุโคลน (mud volcano; mud dome) หมายถึง หมวดหินที่เกิดขึ้นจากของเหลวและแก๊สที่ปลดปล่อยออกมาในทางธรณีวิทยา ทว่ามีกระบวนการที่แตกต่างอย่างหลากหลาย ซึ่งอาจซึ่งก่อให้เกิดผลในลักษณะเช่นนี้ อุณหภูมิในกระบวนการนี้จะเย็นกว่ากระบวนการเกิดหินอัคนีเป็นอย่างมาก โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 กิโลเมตร และมีความสูงถึง 700 เมตร แก๊สที่ปล่อยออกมาในเนินพุโคลนนี้ เป็นแก๊สมีเทน 80% พร้อมกันนี้ยังมีไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์อีกเล็กน้อย วัตถุที่ถูกขับออกมานั้นมีลักษณะหนืด ประกอบด้วยของวัตถุแข็งขนาดเล็กละเอียด แขวนลอยอยู่ในของเหลว ซึ่งอาจรวมถึงน้ำ (มักจะเป็นกรด หรือเกลือ) และของเหลวจำพวกไฮโดรคาร์บอน เคยพบที่ประเทศไต้หวัน จังหวัดเกาสวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงพอสมควร ผู้หญิงนิยมนำโคลนไปพอกหน้าเป็นเครื่องสำอางค์บำรุงผิว หมวดหมู่:วิทยาภูเขาไฟ.

ใหม่!!: มีเทนและเนินพุโคลน · ดูเพิ่มเติม »

90377 เซดนา

วเคราะห์แคระเซดนา อยู่ในวงกลมสีเขียว ภาพจำลองดาวเคราะห์แคระเซดนาที่วาดขึ้นโดยศิลปิน 90377 เซดนา (Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะ ในปี..

ใหม่!!: มีเทนและ90377 เซดนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Methaneก๊าซมีเทนแก๊สมีเทน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »