โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มอร์ฟีน

ดัชนี มอร์ฟีน

มอร์ฟีน (Morphine) ที่ขายภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ เป็นยาระงับปวดชนิดยาเข้าฝิ่น ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดความรู้สึกปวด ใช้ได้ทั้งกับอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง มอร์ฟีนยังมักใช้กับอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและระหว่างการคลอด สามารถให้ทางปาก โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง เข้าหลอดเลือดดำ เข้าช่องว่างระหว่างไขสันหลัง หรือทางทวารหนัก ฤทธิ์สูงสุดอยู่ประมาณ 20 นาทีเมื่อให้เข้าหลอดเลือดดำ และ 60 นาทีเมื่อให้ทางปาก ส่วนระยะออกฤทธิ์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีสูตรออกฤทธิ์ยาว ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดได้มีความพยายามหายใจลดและความดันเลือดต่ำ มอร์ฟีนมีศักยะสูงสำหรับการติดยาและการใช้เป็นสารเสพติด หากลดขนาดหลังการใช้ระยะยาว อาจเกิดอาการถอนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปมีซึม อาเจียนและท้องผูก แนะนำให้ระวังเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะมอร์ฟีนจะมีผลต่อทารก ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์เป็นผู้แรกที่แยกมอร์ฟีนระหว่าง..

34 ความสัมพันธ์: ATC รหัส N02บิวพรีนอร์ฟีนชีววิทยาของความซึมเศร้าพาวเวอร์เรนเจอร์ ซีโอฝิ่นภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวดมอร์ฟิโนนยาระงับปวดรายชื่อสารประกอบอินทรีย์สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลีออกซิมอร์ฟีนอะมิกดะลาจิตพยาธิวิทยาสัตว์ธีโอดอร์ โมเรลความเจ็บปวดคาร์เฟนทานิลงูแมมบาตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดปลาช่อนแฮร์มันน์ เกอริงโอปิออยด์โอปิแอตโคดีอีนโปรดรักไดไฮโดรโคดีอีนเชอร์ล็อก โฮมส์เฟนทานิลเภสัชวิทยาเอ็นดอร์ฟินเฮาส์ เอ็ม.ดี.เฮโรอีนเธบาอีนเคซีนICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ATC รหัส N02

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) N ระบบประสาท (Nervous system).

ใหม่!!: มอร์ฟีนและATC รหัส N02 · ดูเพิ่มเติม »

บิวพรีนอร์ฟีน

วพรีนอร์ฟีน หรือ bupe (Buprenorphine) เป็นยาในกลุ่ม โอปิออยด์ ที่มีฤทธิ์เป็นตัวทำการ ย่อย(agonist) และปฏิปักษ์ (antagonist) บิวพรีนอร์ฟีนไฮโดรคลอไรด์นำออกทำตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980 โดยเรคกิตต์และโคลแมน (ปัจจุบันคือเรคกิตต์เบนค์กิเซอร์ (Reckitt Benckiser)) เป็นยาบรรเทาปวด ครั้งแรกใช้รักษาการติดยาในกลุ่มโอปิออยด์ จัดเป็นยาประเภท Schedule III โดยอนุสัญญาว่าด้วยสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Convention on Psychotropic Substances).

ใหม่!!: มอร์ฟีนและบิวพรีนอร์ฟีน · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยาของความซึมเศร้า

งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า บริเวณสมองเป็นจำนวนมากทำงานเปลี่ยนไปในคนไข้โรคซึมเศร้า ซึ่งให้กำลังใจแก่ผู้สนับสนุนทฤษฎีหลายอย่างที่พยายามกำหนดเหตุทางชีวภาพ-เคมีของโรค เปรียบเทียบกับทฤษฎีที่เน้นเหตุทางจิตหรือทางสถานการณ์ มีทฤษฎีหลายอย่างในเรื่องเหตุทางชีววิทยาของโรคซึมเศร้าที่ได้รับการเสนอ และที่เด่นที่สุดมีการวิจัยมากที่สุดก็คือสมมติฐานโมโนอะมีน (monoamine hypothesis).

ใหม่!!: มอร์ฟีนและชีววิทยาของความซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

พาวเวอร์เรนเจอร์ ซีโอ

วเวอร์เรนเจอร์ ซีโอ (Power Rangers ZEO) เป็นซี่รี่ส์ พาวเวอร์เรนเจอร์ ลำดับที่ 3 ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากขบวนการนักสู้ โอเรนเจอร์ ออกอากาศเมื่อวันที่ 20 เมษายน ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996 มีจำนวนตอนทั้งหมด 50 ตอน.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและพาวเวอร์เรนเจอร์ ซีโอ · ดูเพิ่มเติม »

ฝิ่น

ผลฝิ่น ฝิ่น (Opium) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ..

ใหม่!!: มอร์ฟีนและฝิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด

วะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด (Pain asymbolia, pain dissociation) เป็นสภาพที่รู้สึกเจ็บปวดโดยไม่รู้สึกทุกข์ร้อน ปกติเป็นผลของการบาดเจ็บต่อสมอง, การผ่าตัดแบบ prefrontal lobotomy หรือ cingulotomy, และความไม่รู้เจ็บเพราะมอร์ฟีน นอกจากนั้น รอยโรคที่ insular cortex อาจกำจัดความไม่น่าชอบใจของสิ่งเร้าที่เจ็บ แม้จะยังสามารถรู้ตำแหน่งและระดับความรุนแรง ปกติแล้ว คนไข้จะรายงานว่ารู้สึกเจ็บแต่ไม่ทุกข์ร้อน คือเข้าใจว่าเจ็บ แต่ก็ไม่เดือดร้อน.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ฟิโนน

มอร์ฟิโนน (Morphinone) เป็นสารจำพวก โอปิออยด์ ชนิดแรง เป็นสารเคมีระหว่างขั้นตอนการสังเคราะห์โอปิออยด์ เช่น นาลอกโซน นาลเตรกโซน และ ออกซิโคโดน.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและมอร์ฟิโนน · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับปวด

ระงับปวด ยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (analgesic หรือ painkiller) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้ว.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและยาระงับปวด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสารประกอบอินทรีย์

รายชื่อสารประกอบอินทรีย์ (List of organic compounds) โดยสังเขป.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและรายชื่อสารประกอบอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี

รูม 39 (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บูโร 39, ดิวิชั่น 39, หรือ ออฟฟิด 39) เป็นองค์กรลับของพรรคแรงงานแห่งเกาหลี ที่พยายามเก็บรักษาเงินสกุลต่างประเทศด้วยการปลอม เพื่อผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ มีการนำเงินเข้าองค์กร ระหว่าง $500 ล้าน ถึง $1 พันล้านต่อปี หรือมากกว่านี้ และอาจจะเกี่ยวข้องกับกิจการที่ผิดกฏหมาย ตัวอย่างเช่น การปลอมธนบัตร 100 ดอลลาร์, ผลิตสารควบคุม (รวมทั้งการสังเคราะห์เมแทมเฟตามีน และการแปลงมอร์ฟีนที่มีฝิ่นปนเปื้อนสารบริสุทธิ์ เช่น เฮโรอีน) และการฉ้อโกงประกันระหว่างประเทศ แม้ว่าประเทศเกาหลีเหนือจะถูกโดดเดี่ยว แต่มันก็ยากที่จะประเมินข้อมูลชุดนี้ หลายข้อมูลของ รูม 39 นั้นเป็นวิกฤตศรัทธาของ คิม จ็อง-อึน อย่างต่อเนื่อง การเปิดสำนักงานของเขาสู่การสนับสนุนทางการเมืองและการช่วยกองทุน อาวุธนิวเคลียร์ เชื่อกันว่าที่ทำการ รูม 39 ตั้งอยู่ภายในอาคารใน พรรคแรงงานแห่งชาติ ที่เปียงยาง ไม่ไกลจากบ้านพักของผู้นำประเทศเกาหลีเหนือ.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและสำนักงานกรรมการกลาง 39 แห่งพรรคแรงงานเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิมอร์ฟีน

ออกซิมอร์ฟีน หรือ ออกซิมอร์ฟีน (Oxymorphine หรือ Oxymorphone) เป็นสารสังเคราะห์ที่มีความแรงมากฤทธิ์ของมันคือเป็น ยาเสพติด ยาบรรเทาปวด คล้าย มอร์ฟีน ในทางคลีนิคให้ยาคนไข้โดยการฉีด หรือ ยาเหน็บ ขนาดการใช้ (dosages) สำหรับการฉีดคือ 1 มก.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและออกซิมอร์ฟีน · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

จิตพยาธิวิทยาสัตว์

ตพยาธิวิทยาสัตว์ (Animal psychopathology) เป็นการศึกษาโรคจิตและพฤติกรรมในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยประวัติแล้ว ศาสตร์มักจะเอามนุษย์เป็นศูนย์ (มานุษยประมาณนิยม) เมื่อศึกษาจิตพยาธิวิทยาในสัตว์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองสำหรับโรคจิตในมนุษย์ แต่จากมุมมองทางวิวัฒนาการ จิตพยาธิของสัตว์จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมกว่าว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ปรับตัว (non-adaptive) เพราะความพิการทางความรู้คิด ความพิการทางอารมณ์ หรือความทุกข์บางอย่าง บทความนี้แสดงจิตพยาธิสัตว์จำนวนหนึ่งแต่ไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและจิตพยาธิวิทยาสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอดอร์ โมเรล

ีโอดอร์ กิลเบิร์ต โมเรล (22 กรกฎาคม 1886 – 26 พฤษภาคม 1948) เป็นแพทย์ชาวเยอรมันซึ่งเป็นที่รู้จักคือเป็นแพทย์ส่วนตัวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร.โมเรลเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในประเทศเยอรมนีสำหรับการรักษาแบบนอกคอกของ.เขาได้ช่วยเหลือฮิตเลอร์เป็นประจำวันในสิ่งที่เขาทำเป็นเวลาหลายปีและอยู่เคียงข้างกับฮิตเลอร์จนถึงช่วงสุดท้ายของยุทธการที่เบอร์ลิน ธีโอดอร์ โมเรล เป็นแพทย์ที่ได้สั่งจ่ายยาให้กับฮิตเลอร์ทั้งหมดเพื่อที่จะรักษาโรคหลายโรคที่ฮิตเลอร์เป็นอยู่และฮิตเลอร์ก็ทานยาหลายเม็ดต่อวัน ซึ่งยาที่โมเรลได้จ่ายยานั้นจะมีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและธีโอดอร์ โมเรล · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

คาร์เฟนทานิล

ร์เฟนทานิล (Carfentanil หรือ Carfentanyl) เป็นอานาลอกของโอปิออยด์ เฟนทานิล (Fentanyl) ที่นิยมแพร่หลาย ซึ่งมีความแรงประมาณ 10,000 เท่าของ มอร์ฟีน และประมาณ 100 เท่า ของ เฟนทานิล (ยาตัวนี้มีฤทธิ์ต่อมนุษย์ในปริมาณเริ่มต้นตั้งแต่ 1 µกรัม)ผลิตและนำออกจำหน่ายในชื่อ ไวลด์นิล(Wildnil) โดยใช้เป็น ยากล่อมประสาท (tranquilizer)ในสัตว์ขนาดใหญ่เท่านั้น ไม่ใช้ในมนุษย์เพราะความแรงของมัน.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและคาร์เฟนทานิล · ดูเพิ่มเติม »

งูแมมบา

งูแมมบา (Mambas) เป็นงูพิษร้ายแรงมากสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Dendroaspis จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา งูในสกุลงูแมมบานั้น เป็นงูที่มีลำตัวเรียวยาว มีส่วนหัวขนาดเล็ก มีตากลมโต มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 4 เมตร และเป็นงูที่มีความว่องไวมาก สามารถเลื้อยคลานได้เร็วถึง 12-20 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนพื้นดิน จนถูกจัดให้เป็นงูที่เลื้อยไวที่สุดบนโลกมาแล้ว งูแมมบานั้น จะมีสีเดียวตลอดทั้งลำตัว โดยจะมีทั้งสีน้ำตาล, สีเขียว หรือเหลือบสีต่าง ๆ บนเกล็ด รวมถึงสีขาวอมเทาหรือเทาตุ่น ๆ ด้วย ในบางชนิด มีเกล็ดเรียบลื่น เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่ มุมปากยาว ดวงตามีขนาดกลมโต มีความแตกต่างกันมากระหว่างเพศ โดยงูตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย เป็นงูที่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ดำรงชีวิตทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ รวมทั้งงูด้วยกันเองด้วย งูแมมบานั้นได้ถูกอนุกรมวิธานออกเป็นชนิดได้ 4 ชนิด คือ.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและงูแมมบา · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด

นซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor มาจาก nocere แปลว่า "ทำให้เจ็บ") เป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองโดยเฉพาะต่อตัวกระตุ้นที่อาจจะทำความเสียหายต่อร่างกาย/เนื้อเยื่อ โดยส่งสัญญาณประสาทไปยังระบบประสาทกลางผ่านไขสันหลังหรือก้านสมอง กระบวนการเช่นนี้เรียกว่า โนซิเซ็ปชั่น และโดยปกติก็จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด โนซิเซ็ปเตอร์มีอยู่ทั่วร่างกายอย่างไม่เท่ากันโดยเฉพาะส่วนผิว ๆ ที่เสี่ยงเสียหายมากที่สุด และไวต่อตัวกระตุ้นระดับต่าง ๆ กัน บางส่วนไวต่อตัวกระตุ้นที่ทำอันตรายให้แล้ว บางส่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าก่อนที่ความเสียหายจะเกิด ตัวกระตุ้นอันตรายดังที่ว่าอาจเป็นแรงกระทบ/แรงกลที่ผิวหนัง อุณหภูมิที่ร้อนเย็นเกิน สารที่ระคายเคือง สารที่เซลล์ในร่างกายหลั่งตอบสนองต่อการอักเสบ เป็นต้น ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญญาณที่โนซิเซ็ปเตอร์ส่งเท่านั้น แต่เป็นผลของการประมวลผลความรู้สึกต่าง ๆ อย่างซับซ้อนในระบบประสาทกลาง ที่ได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดสิ่งเร้าและประสบการณ์ชีวิต แม้แต่สิ่งเร้าเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ กันในบุคคลเดียวกัน ทหารที่บาดเจ็บในสนามรบอาจไม่รู้สึกเจ็บเลยจนกระทั่งไปถึงสถานพยาบาลแล้ว นักกีฬาที่บาดเจ็บอาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งการแข่งขันจบแล้ว ดังนั้น ความรู้สึกเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสั.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อน

ปลาช่อน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร โดยปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า "ปลาช่อนจำศีล" พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่าและอินโดนีเซีย นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า "ปลาช่อนแม่ลา" มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า "ปลาหลิม" ในภาษาเหนือ "ปลาค้อ" หรือ "ปลาก๊วน" ในภาษาอีสาน เป็นต้น และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบว่าเนื้อปลาช่อนมีสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจน มีฤทธิในการห้ามเลือดและระงับความเจ็บปวดได้คล้ายมอร์ฟีน จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยหรือผู้ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด นอกจากนี้แล้วในหลายพื้นที่ของไทย เช่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงในพื้นที่ตำบลหัวดวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นั้นว่า ปลาช่อนสามารถขอฝนได้ โดยต้องทำตามพิธีตามแบบแผนโบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์เบื้องหน้าองค์พระประธาน และมีการโยงสายสิญจน์กับอ่างที่มีปลาช่อน 9 ตัว และสวดคาถาปลาช่อน เชื่อกันว่าระหว่างทำพิธี หากปลาช่อนดิ้นกระโดดขึ้นมา เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกลงมาในเร็ววันนี้ นอกจากนี้แล้ว ที่อินเดียก็มีความเชื่อและพิธีกรรมที่คล้ายคลึงแบบนี้เหมือนกัน.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มันน์ เกอริง

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง (Hermann Wilhelm Göring) เป็นผู้นำทางทหารของไรช์ที่สามที่ตำแหน่งจอมพลไรช์ และยังเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) เขามีบทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่วเยอรมนี รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะกองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง ภายหลังนาซีล่มสลาย เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก แต่เขาก็จบชีวิตตนเองด้วยการกลืนไซยาไนด์ก่อนหน้าการประหารชีวิตไม่กี่ชั่วโมง และก่อนกลืนไซยาไนด์เขาได้ตระโกนว่า "ไฮล์ ฮิตเลอร์".

ใหม่!!: มอร์ฟีนและแฮร์มันน์ เกอริง · ดูเพิ่มเติม »

โอปิออยด์

อปิออยด์ (opioid) เป็นสารที่เชื่อมกับโอปิออยด์ รีเซพเตอร์ (opioid receptor) พบในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) และ ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) โอปิออยด์มี 4 กลุ่มคือ.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและโอปิออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

โอปิแอต

อปิแอต(อัวกฤษ:opiate) เป็นอัลคะลอยด์ที่พบในฝิ่น (opium) โดยการสกัดจากเมล็ดของต้นฝิ่น (opium poppy-Papaver somniferum L.) มันยังหมายถึงสารที่ได้จากธรรมชาติ และเป็นอนุพันธ์กึ่งสังเคราะห์ของมอร์ฟีน ยาทุกตัวที่มีฤทธ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนฝิ่นและมอร์ฟีนจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มโอปิออยด์ (opioid)หมายถึงเหมือนฝิ่น โอปิแอตหลักๆ จากฝิ่นคือ.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและโอปิแอต · ดูเพิ่มเติม »

โคดีอีน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและโคดีอีน · ดูเพิ่มเติม »

โปรดรัก

ปรดรัก (โปร-ดรัก) (prodrug) เป็นสารประกอบเคมีในลักษณะยาแก่คนไข้ โดยจะไม่ออกฤทธิ์ในการรักษาจนกระทั่งถูกเมตาโบไลซ์ในร่างผู้ป่วยก่อน จึงจะมีฤทธิ์ทาง.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและโปรดรัก · ดูเพิ่มเติม »

ไดไฮโดรโคดีอีน

รโคดีอีน (Dihydrocodeine; ชื่อย่อ: DHC หรือ DF-118) เป็นยาบรรเทาปวดสังเคราะห์กลุ่มโอปิออยด์ ใช้แก้ปวดหลังการผ่าตัด อาการหายใจลำบาก หรือเป็นยาแก้ไอ ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นปี..

ใหม่!!: มอร์ฟีนและไดไฮโดรโคดีอีน · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์

อร์ล็อก โฮมส์ เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนและนายแพทย์ชาวสกอต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน หรือ หมอวอตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี..

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเชอร์ล็อก โฮมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟนทานิล

ฟนทานิล (Fentanyl) เป็นยาบรรเทาปวด ในกลุ่มโอปิออยด์ สังคราะห์ได้ครั้งแรกในประเทศเบลเยียม ประมาณปลายปี 1950 มีฤทธิ์บรรเทาปวดมากกว่า มอร์ฟีน 80 เท่า ถูกนำมาใช้ทาง การแพทย์ ในปี 1960 โดยใช้ฉีดเข้าเส้นเป็น ยาระงับความรู้สึก มีชื่อทางการค้าว่า Sublimaze เฟนทานิลมีค่า LD50 เท่ากับ 3.1 มก/กก ในหนู LD50 ในมนุษย์ยังไม่ทราบ เฟนทานิลเป็นยาควบคุมประเภท Schedule II.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเฟนทานิล · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชวิทยา

ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเภสัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นดอร์ฟิน

เอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารภายในร่างกายมนุษย์ที่หลั่งออกมาเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ผลิตจากต่อมใต้สมอง และ ไฮโปทาลามัส ในกระดูกสันหลัง สารเอ็นดอร์ฟินมีลักษณะคล้ายคลึงกับ โอปิแอต ในกลุ่มโอปิออยด์ ที่ใช้สำหรับระงับการเจ็บปวด คำว่า "เอ็นดอร์ฟิน" มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "เอนโดจีนัส" (endogenous) ที่หมายถึง ผลิตจากภายใน กับ คำว่า "มอร์ฟิน" (morphine) ที่เป็นสารบรรเทาความเจ็บปวด รวมหมายถึง สารบรรเทาความเจ็บปวดที่ผลิตจากภายในร่างกาย หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:สารสื่อประสาท หมวดหมู่:โอปิออยด์ หมวดหมู่:ยาบรรเทาปวด.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเอ็นดอร์ฟิน · ดูเพิ่มเติม »

เฮาส์ เอ็ม.ดี.

(House) หรือ เฮาส์ เอ็ม.ดี. (House M.D.) เป็นละครแพทย์ (medical drama) ทางโทรทัศน์สัญชาติอเมริกันซึ่งเดิมฉายทางเครือข่ายฟ็อกซ์จำนวน 8 ฤดูกาล ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 ถึง 21 พฤษภาคม 2555 ตัวละครหลักของเรื่อง คือ น. เกรกอรี เฮาส์ (ฮิวจ์ ลอรี) เป็นอัจฉริยะการแพทย์ที่ติดยาแก้ปวด นอกคอกและเกลียดมนุษย์ผู้นำทีมผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยโรค ณ โรงพยาบาลสอนพรินซ์ตัน–เพลนส์โบโร (Princeton–Plainsboro Teaching Hospital (PPTH)) ซึ่งไม่มีอยู่จริงในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ข้อตั้งของละครกำเนิดกับพอล แอตตานาซิโอ (Paul Attanasio) ฝ่ายเดวิด ชอร์ ซึ่งได้รับความชอบเป็นผู้สร้าง รับผิดชอบแนวคิดของตัวละครอันเป็นชื่อเรื่องเป็นหลัก ผู้ผลิตบริหารของละครมีชอร์, แอตตานาซิโอ, แคที เจคอบส์ (Katie Jacobs) หุ้นส่วนธุรกิจของแอตตานาซิโอ, และผู้กำกับภาพยนตร์ ไบรอัน ซิงเกอร์ ส่วนใหญ่ถ่ายทำในเซนชูรีซิตี เฮาส์มักขัดแย้งกับแพทย์ด้วยกัน ซึ่งรวมทีมวินิจฉัยของเขาเองด้วย เพราะทฤษฎีของเขาจำนวนมากเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วยอาศัยวิจารณญาณที่ละเอียดมากหรือซึ่งเป็นข้อโต้เถียง การดูหมิ่นกฎและกระบวนการโรงพยาบาลของเขาทำให้เขาขัดแย้งกับเจ้านายของเขา คือ ผู้บริหารโรงพยาบาลและคณบดีคณะแพทยศาสตร์ พญ.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเฮาส์ เอ็ม.ดี. · ดูเพิ่มเติม »

เฮโรอีน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเฮโรอีน · ดูเพิ่มเติม »

เธบาอีน

อีน (Thebaine) หรือ พารามอร์ฟีน (Paramorphine) เป็นสารที่พบได้ใน ฝิ่น คุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับทั้ง มอร์ฟีน และ โคดีอีน แต่มันมีฤทธิ์กระตุ้นน้อยกว่าฤทธิ์กด โดยตัวของมันเองไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรคอะไร แต่มันสามารถเปลี่ยนไปเป็นสารประกอบได้หลายตัวดังนี้.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเธบาอีน · ดูเพิ่มเติม »

เคซีน

ซีน (Casein มาจากภาษาละตินว่า caseus ซึ่งแปลว่า ชีส) เป็นชื่อของกลุ่มฟอสโฟโปรตีน คือ αS1, αS2, β, κ โปรตีนเหล่านี้พบโดยทั่วไปในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นส่วนถึง 80% ของโปรตีนในนมวัว และประมาณ 20%-45% ของโปรตีนในนมมนุษย์ เคซีนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของชีส สารเติมแต่งอาหาร และตัวยึดในไม้ขีดไฟ โดยเป็นอาหาร เคซีนประกอบด้วยกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และสารอนินทรีย์สองอย่างคือแคลเซียมและฟอสฟอรั.

ใหม่!!: มอร์ฟีนและเคซีน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: มอร์ฟีนและICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »