โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาแอสเซมบลี

ดัชนี ภาษาแอสเซมบลี

ษาแอสเซมบลี (Assembly Language) หมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะทำงานโดยขึ้นกับรุ่นของไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "หน่วยประมวลผล" (CPU) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้ภาษาแอสเซมบลีจำเป็นต้องผ่านการแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์เฉพาะเรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (assembler) ให้อยู่ในรูปของรหัสคำสั่งก่อน (เช่น.OBJ) โดยปกติ ภาษานี้ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการใช้งาน และการเขียนโปรแกรมเป็นจำนวนบรรทัดมากมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ภาษาระดับสูง เช่น ภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์การทำงานของโปรแกรมเร็วกว่า และขนาดของตัวโปรแกรมมีขนาดเนื้อที่น้อยกว่าโปรแกรมที่สร้างจากภาษาอื่นมาก จึงนิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม เนื่องจากตัวคำสั่งภายในภาษาอ้างอิงเฉพาะกับรุ่นของหน่วยประมวลผล ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปใช้กับหน่วยประมวลผลอื่นหรือระบบอื่น (เช่น หน่วยประมวลผล x86 ไม่เหมือนกับ z80) จะต้องมีการปรับแก้ตัวคำสั่งภายในซึ่งบางครั้งอาจไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

17 ความสัมพันธ์: ชุดแปลโปรแกรมของกนูภาษาระดับต่ำภาษาซีภาษาโปรแกรมยูนิกซ์รหัสเครื่องราชวิถีเวิร์ดพีซีรามา สเปลล์เช็กอาซิโมค่า (วิทยาการคอมพิวเตอร์)ซียูไรเตอร์ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์โปรแกรมแปลไอบีเอ็มพีซีดอสเมทาโปรแกรมมิงเลขฐานสองเวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ)

ชุดแปลโปรแกรมของกนู

GCC เริ่มพัฒนาใน..

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและชุดแปลโปรแกรมของกนู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาระดับต่ำ

ษาระดับต่ำ (low-level programming language) ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาที่อิงกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ใดสถาปัตยกรรมหนึ่ง ซึ่งไมโครโพรเซสเซอร์แต่ละรุ่น หรือ แต่ละตระกูล ก็มักมีภาษาระดับต่ำที่แตกต่างกัน และโดยปกติแล้ว หนึ่งคำสั่งในภาษาระดับต่ำ จะหมายถึงการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานหนึ่งอย่าง (1 instruction.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและภาษาระดับต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรแกรม

ษาโปรแกรม คือภาษาประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสื่อสารชุดคำสั่งแก่เครื่องจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมสามารถใช้สร้างโปรแกรมที่ควบคุมพฤติกรรมของเครื่องจักร และ/หรือ แสดงออกด้วยขั้นตอนวิธี (algorithm) อย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนโปรแกรมซึ่งหมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer) ภาษาโปรแกรมในยุคแรกเริ่มนั้นเกิดขึ้นก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกประดิษฐ์ขึ้น โดยถูกใช้เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องทอผ้าของแจ็กการ์ดและเครื่องเล่นเปียโน ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ หลายพันภาษาถูกสร้างขึ้นมา ส่วนมากใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ และสำหรับวงการอื่นภาษาโปรแกรมก็เกิดขึ้นใหม่ทุก ๆ ปี ภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่อธิบายการคิดคำนวณในรูปแบบเชิงคำสั่ง อาทิลำดับของคำสั่ง ถึงแม้ว่าบางภาษาจะใช้การอธิบายในรูปแบบอื่น ตัวอย่างเช่น ภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน หรือการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ การพรรณนาถึงภาษาโปรแกรมหนึ่ง ๆ มักจะแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ วากยสัมพันธ์ (รูปแบบ) และอรรถศาสตร์ (ความหมาย) บางภาษาถูกนิยามขึ้นด้วยเอกสารข้อกำหนด (ตัวอย่างเช่น ภาษาซีเป็นภาษาหนึ่งที่กำหนดโดยมาตรฐานไอโซ) ในขณะที่ภาษาอื่นอย่างภาษาเพิร์ลรุ่น 5 และก่อนหน้านั้น ใช้การทำให้เกิดผลแบบอ้างอิง (reference implementation) เป็นลักษณะเด่น.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและภาษาโปรแกรม · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รหัสเครื่อง

อภาพแสดงรหัสเครื่องในคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว W65C816S แสดงการทำย้อนกลับเป็นรหัสแอสเซมบลี พร้อมด้วยเรจิสเตอร์ของหน่วยประมวลผล และข้อมูลเทออกจากหน่วยความจำ รหัสเครื่อง หรือ ภาษาเครื่อง คือกลุ่มของคำสั่งเครื่องที่กระทำการโดยตรงโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเครื่องแต่ละคำสั่งจะปฏิบัติงานเฉพาะกิจงานเดียวเท่านั้น เช่นการบรรจุ (load) การกระโดด (jump) หรือการดำเนินการผ่านหน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU) บนหน่วยของข้อมูลในหน่วยความจำหรือเรจิสเตอร์ ทุก ๆ โปรแกรมที่กระทำการโดยหน่วยประมวลผลกลางสร้างขึ้นจากอนุกรมของคำสั่งเครื่องเช่นว่านั้น รหัสเครื่องเชิงตัวเลข (ซึ่งไม่ใช่รหัสแอสเซมบลี) อาจพิจารณาได้ว่าเป็นตัวแทนระดับต่ำสุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้คอมไพล์และ/หรือเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี หรือเป็นภาษาโปรแกรมแบบดั้งเดิมและขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถึงแม้ว่าเราจะสามารถเขียนโปรแกรมด้วยรหัสเครื่องเชิงตัวเลขโดยตรงก็ได้ แต่การจัดการบิตต่าง ๆ เป็นเอกเทศ และการคำนวณตำแหน่งที่อยู่กับค่าคงตัวเชิงตัวเลขด้วยมือ จะทำให้น่าเบื่อหน่ายและมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาด ดังนั้นการเขียนรหัสเครื่องจึงไม่ค่อยกระทำกันในทุกวันนี้ เว้นแต่ในสถานการณ์ที่ต้องการทำให้เหมาะสมอย่างที่สุดหรือแก้จุดบกพร่อง ปัจจุบันนี้โปรแกรมเกือบทั้งหมดในทางปฏิบัติเขียนขึ้นด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาระดับสูงกว่า แล้วแปลเป็นรหัสเครื่องที่กระทำการได้โดยคอมไพเลอร์และ/หรือแอสเซมเบลอร์ กับลิงเกอร์ อย่างไรก็ดี โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาที่แปลด้วยอินเทอร์พรีเตอร์จะไม่ถูกแปลเป็นรหัสเครื่อง ถึงแม้ว่าอินเทอร์พรีเตอร์ (ซึ่งอาจเห็นเป็นชื่อ ตัวกระทำการ หรือ ตัวประมวลผล) โดยทั่วไปประกอบขึ้นจากรหัสเครื่องที่กระทำการได้โดยตรง.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและรหัสเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวิถีเวิร์ดพีซี

ราชวิถีเวิร์ดพีซี (Rajavithi Word PC) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ราชวิถีเวิร์ดพีซี, เวิร์ดราชวิถี หรือ RW เป็นโปรแกรมประมวลคำ ทำงานบนระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส สร้างขึ้นโดยชมรมไมโครคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลราชวิถี นำโดยนายแพทย์ชุษณะ มะกรสาร เมื่อ พ.ศ. 2526 พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2536 รุ่นล่าสุดอยู่ที่รุ่น 2.4 โปรแกรมนี้มีการนำมาใช้สอนเป็นหลักสูตรวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในสถานศึกษาด้ว.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและราชวิถีเวิร์ดพีซี · ดูเพิ่มเติม »

รามา สเปลล์เช็ก

รามา สเปลล์เช็ก (Rama SpellCheck) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เวิร์ดรามา เป็นโปรแกรมประมวลคำ ทำงานบนเอ็มเอสดอส สร้างขึ้นโดยชมรมไมโครคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นำโดยนายแพทย์ทวีศักดิ์ จันทร์วิทยานุชิต.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและรามา สเปลล์เช็ก · ดูเพิ่มเติม »

อาซิโม

อาซิโม (ASIMO) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 พัฒนาโดยทีมวิศวกรเยอรมนี โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสรเสรี ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อาซิโมมีขีดความสามารถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต บริษัทฮอนด้าได้ให้คำนิยามของชื่อ ASIMO ว่าย่อมาจาก Advanced Step in Innovative Mobility หมายถึง นวัตกรรมแห่งการเคลื่อนที่อันล้ำสมัย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับชื่อสกุลของไอแซค อสิมอฟ (アジモフ) นักวิทยาศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ชื่อดังแต่อย่างใด แม้ว่าชื่อในภาษาญี่ปุ่นของอาซิโมและอสิมอฟจะสะกดใกล้เคียงกันมาก นอกจากนี้ยังไปพ้องเสียงกับคำว่า อะชิโมะ ที่แปลว่า "มีขาด้วย" อาซิโมได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือการควบคุมระยะไกล ทีมวิศวกรเริ่มต้นคิดค้น พัฒนาศึกษาวิจัยหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยเริ่มจากการสร้างหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทู (P2) ในปี พ.ศ. 2539 และต่อด้วยหุ่นยนต์ต้นแบบ พีทรี (P3) ในปี พ.ศ. 2540 จนกระทั่งมาถึงหุ่นยนต์อาซิโมในปี พ.ศ. 2543 ปัจจุบันฮอนด้าได้เปิดโอกาสให้เช่าอาซิโมเพื่อใช้งานในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและอาซิโม · ดูเพิ่มเติม »

ค่า (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมายถึงนิพจน์ที่ไม่สามารถประเมินค่าต่อได้อีก (รูปแบบบรรทัดฐาน) สมาชิกของแบบชนิดก็คือค่าของแบบชนิดนั้น ตัวอย่างเช่น นิพจน์ 1 + 2 ยังไม่เรียกว่าเป็นค่า เพราะยังสามารถลดทอนได้อีกเป็นนิพจน์ 3 แต่นิพจน์ 3 ก็ไม่สามารถลดทอนได้มากกว่านี้อีกแล้วดังนั้นมันจึงเป็นค่า ค่าของตัวแปร จะถูกกำหนดโดยการจับคู่ที่สอดคล้องกันในสภาพแวดล้อมของแบบชนิด (typing environment) ในภาษาโปรแกรมที่ตัวแปรสามารถกำหนดค่าได้ การแยกออกเป็น ค่าทางขวา (r-value คือเนื้อหา) และค่าทางซ้าย (l-value คือตำแหน่ง) ในการกำหนดค่าของตัวแปรเป็นสิ่งจำเป็น ในภาษาโปรแกรมเชิงประกาศ (ระดับสูง) ค่าจะต้องมีคุณสมบัติความโปร่งใสเชิงอ้างอิง (referential transparency) หมายความว่า ค่าผลลัพธ์เป็นอิสระจากตำแหน่งของหน่วยความจำที่เก็บบันทึกซึ่งนิพจน์ (หรือนิพจน์ย่อย) จำเป็นต้องใช้คำนวณหาค่า เฉพาะเนื้อหาที่ตำแหน่งนั้น (คือบิตต่าง ๆ อันประกอบด้วย 0 และ 1) และการตีความของมันเท่านั้นที่มีนัยสำคัญ.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและค่า (วิทยาการคอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ซียูไรเตอร์

ซียูไรเตอร์ (CU Writer) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า จุฬาเวิร์ด, เวิร์ดจุฬา หรือ CW เป็นโปรแกรมประมวลคำภาษาไทย ทำงานบนระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส สร้างขึ้นโดยความร่วมมือจาก สถาบันบริการคอมพิวเตอร์ กับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยนายสำนวน หิรัญวงษ์ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2532 พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2536 จึงยุติการพัฒนา รุ่นล่าสุดอยู่ที่รุ่น 1.6.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและซียูไรเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมแปล

ปรแกรมแปล (translator) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แปลชุดคำสั่งของภาษาโปรแกรมหนึ่ง ไปเป็นชุดคำสั่งของอีกภาษาโปรแกรมหนึ่ง โดยความหมายดั้งเดิมไม่สูญเสียไป โปรแกรมแปลภาษาระดับสูงบางตัวจะเปลี่ยนแปลงตรรกะบางอย่าง หรือทำตรรกะให้ง่ายขึ้นโดยผลลัพธ์ยังเป็นเช่นเดิม.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและโปรแกรมแปล · ดูเพิ่มเติม »

ไอบีเอ็มพีซีดอส

IBM PC DOS (ย่อมาจากคำว่า IBM personal computer disk operating system) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็มซึ่งหยุดพัฒนาแล้ว ผลิตและวางจำหน่ายโดยไอบีเอ็มตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 จนถึงคริสต์ทศวรรษ 2000 โดย PC DOS รุ่นก่อนรุ่น 6.1 เป็น MS-DOS รุ่นที่อยู่ภายใต้ยี่ห้อไอบีเอ็ม หลังจากรุ่น 6.1 PC DOS ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ของไอบีเอ็มต่างหาก.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและไอบีเอ็มพีซีดอส · ดูเพิ่มเติม »

เมทาโปรแกรมมิง

มทาโปรแกรมมิง (metaprogramming) คือเทคนิคการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานโดยเขียนหรือจัดการโปรแกรมอื่น (หรือโปรแกรมของตัวเอง) เสมือนข้อมูลของโปรแกรม หรือสร้างงานบางส่วนขณะแปลโปรแกรมแล้วเติมเต็มงานที่เหลือขณะโปรแกรมทำงาน ในหลายกรณี เมทาโปรแกรมมิงช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถประหยัดเวลาในการเขียนรหัสต้นฉบับที่เหมือนๆ กันจำนวนมากแทนที่จะเขียนทั้งหมดเองด้วยมือ อาจเรียกได้ว่าเป็นการทำงานแบบ "โปรแกรมที่เขียนโปรแกรม" ภาษาที่ใช้เขียน เมทาโปรแกรม (metaprogram) จะถูกเรียกว่าอภิภาษา (metalanguage) และภาษาที่ถูกโปรแกรมจัดการจะเรียกว่าภาษาจุดหมาย (object language) ความสามารถของภาษาที่เป็นอภิภาษาภายในภาษาเดียวกันได้ เรียกว่าสมบัติสะท้อนของภาษาโปรแกรม (reflection/reflexivity) ซึ่งสมบัติสะท้อนเป็นคุณลักษณะหนึ่งของภาษาที่จะนำไปสู่เมทาโปรแกรมมิงได้สะดวกยิ่งขึ้น เมทาโปรแกรมมิงมักจะมีแนวทางการเขียนหนึ่งในสองทาง ทางแรกคือการเปิดเผยโครงสร้างภายในของเอนจินขณะทำงานไปเป็นรหัสต้นฉบับผ่านทางเอพีไอ ทางที่สองคือการจัดการนิพจน์สตริงที่รวมคำสั่งไปเป็นรหัสต้นฉบับแบบพลวัต.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและเมทาโปรแกรมมิง · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสอง

ลขฐานสอง (อังกฤษ: binary numeral system) หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด, ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น ถ้าแปลงค่าเลขฐานสิบ มาเป็นเลขฐานสอง จะได้ดังนี้.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและเลขฐานสอง · ดูเพิ่มเติม »

เวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ)

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ เวิร์ด (word) หมายถึง เนื้อที่ที่คอมพิวเตอร์จัด​ไว้​สำ​หรับเก็บข้อมูล​ ไม่น้อยกว่า 1 ​ตัวอักษรตามรหัสแอสกี หรือไม่น้อยกว่า 8 บิต ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ที่เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมของไอบีเอ็ม (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) 1 เวิร์ดจะมีขนาด 16 บิต (2 ไบต์) เวิร์ดมีประโยชน์ในการช่วยการประมวลผลของซีพียู โดยใช้เป็นขนาดชุดคำสั่งของการนำเข้าสู่ซีพียู (fetch) และการอ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำ บางครั้งเราอาจเห็นหน่วย สองเวิร์ด (Dword - Double word) และ สี่เวิร์ด (Qword - Quadruple word) ซึ่งมีขนาดเป็นสองเท่าและสี่เท่าของเวิร์ด ตามลำดับ ในการเขียนโปรแกรมบางภาษา เช่น ภาษาแอสเซมบลี ภาษาซี เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาแอสเซมบลีและเวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AssemblyAssembly Languageภาษาแอสแซมบลีแอสเซมบลี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »