โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาเนปาล

ดัชนี ภาษาเนปาล

ษาเนปาล เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่พูดในประเทศเนปาล ประเทศอินเดีย ประเทศภูฏาน และบางส่วนของประเทศพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศเนปาล ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของเนปาลพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ และชาวเนปาลอื่น ๆ หลายคนพูดเป็นภาษาที่สอง ชื่อของภาษาเนปาลในภาษาเนปาลคือ คาสกุรา (Khaskura) ชื่ออื่น ๆของภาษานี้มีมากมาย คนที่พูดภาษาอังกฤษเรียกว่า เนปาลี (Nepali) หรือ เนปาลีส (Nepalese) นอกจากนี้ คาสกุรา มีชื่ออื่น เช่น กอร์คาลี (Gorkhali) หรือ กูร์คาลี (Gurkhali) แปลว่าภาษาของชาวกุรข่า และพาร์ตาบิยา (Parbatiya) แปลว่าภาษาของภูเขาภาษาเนปาลมีวรรณกรรมขนาดเล็กในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรวมถึง "อัธยาตมะ รามายณะ" (Adhyatma Ramayana) ประพันธ์โดย สุนทรานันทะ พร (Sundarananda Bara) (1833) ซึ่งเป็นการรวมนิทานพื้นเมืองที่ไม่ปรากฏผู้แต่ง และรามายณะ โดย ภานุภักตะ (Bhanubhakta) นอกจากนี้ยังมีผลงานแปลจากภาษาสันสกฤต รวมถึงไบเบิลด้ว.

44 ความสัมพันธ์: บอนห้วยบิ๊กฟุตพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (สหภาพ)พระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะกลุ่มภาษาอินโด-อารยันกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านกลุ่มภาษาปาหารีกล้วยนากกุมารีกูเกิล แปลภาษาภาษาราชพังสีภาษาราชการของอินเดียภาษาลิมบูภาษาสิกขิมภาษาทาโดภาษาคามภาษาคุชราตภาษาปะหล่องรูไมภาษาโภชปุรีภาษาเบลฮาเรภาษาเลปชาภาษาเนวารีรัฐสิกขิมราชอาณาจักรเนปาลรายชื่อภาษารายชื่อภาษาของอินเดียเรียงตามจำนวนคนพูดรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1รายพระนามพระมหากษัตริย์เนปาลวิกิพีเดียภาษาเนปาลสุนุวาร์สเยาง์ ถุงคา ผูลกา หามีอักษรเทวนาครีอุทยานแห่งชาติสครมาถาขิชี จันเฑศวรีประเทศภูฏานประเทศเนปาลปานีร์นกศิวะโบสถ์พราหมณ์โปขราเยติเอเชียใต้เทนซิง นอร์เก

บอนห้วย

อนห้วย (Eddoe หรือ Eddo) เป็นพืชล้มลุก หัวใต้ดินแบบหัวเผือก น้ำยางใส ใบเดี่ยว ฐานของก้านใบเป็นแผ่นแบนหุ้มลำต้น ช่อดอกแบบ spadix กาบหุ้มสีเหลือง ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกตัวผู้อยู่ปลายช่อ ดอกตัวเมียเกิดที่ส่วนกลางและส่วนโคนของช่อดอก ไม่มีกลีบดอก ผลแบบเบอร์รี ชาวเผ่าลัวะนำลำต้นใต้ดินมาต้มหรือใส่ในแกง บอนห้วยเป็นพืชที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับเผือกPurseglove, J.W. 1972.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและบอนห้วย · ดูเพิ่มเติม »

บิ๊กฟุต

กฟุตในภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวิดีโอ ในปี ค.ศ. 1967 รู้จักกันดีในชื่อของภาพยนตร์ของแพตเตอร์สัน–กิมลิน (Patterson–Gimlin film) บิ๊กฟุต (Bigfoot) หรือ แซสแควตช์ (Sasquatch) หรือชื่อที่แปลตรงตัวว่า "ไอ้ตีนโต" เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือเอป แต่มีขนดก พบในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ โดยชื่อที่เรียกมีที่จากรอยเท้าที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์แต่ใหญ่โตกว่ามาก ส่วนใหญ่บรรยายว่ามีความสูงถึง 8 ฟุต หรือ 9 ฟุต น้ำหนักอาจถึง 800 ปอนด์ มีขนดกปกคลุมทั่วตัวสีเข้ม มีแขนยาว ไร้คอ และใบหน้าเหมือนมนุษย์ มีตาแหลมคม มีพละกำลังมหาศาลสามารถทุ่มก้อนหินขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอลไปไกลได้อย่างสบาย และมีสัตว์ลักษณะคล้ายเคียงกันที่พบในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น ที่เทือกเขาหิมาลัยในเนปาล เรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า "เยติ" (เนปาล: यती; Yeti) หรือ มนุษย์หิมะ ที่ออสเตรเลียเรียกว่า "ยาวี" (Yowie) เป็นต้น โดยบิ๊กฟุตยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ต่างกันไปตามแต่ละชนเผ่าของอินเดียนแดง ซึ่งเป็นกลุ่มปฐมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ เช่น "มายาเด็กเท็ก" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ขนดก" หรือ "มนุษย์กิ่งไม้", "หญิงตะกร้า" หรือ "ยายาริ" และคำว่า "แซสแควตช์" ตั้งขึ้นมาเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและบิ๊กฟุต · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (สหภาพ)

รรคคอมมิวนิสต์เนปาล (สหภาพ) (Communist Party of Nepal (United); ภาษาเนปาล:नेपाल कम्यूनिष्ट पार्टी (संयुक्त)) เป็นพรรคการเมืองในเนปาล ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (สหภาพ) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ

ระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาล (พ.ศ. 2266 - 11 มกราคม พ.ศ. 2318;เนปาลี:पृथ्वीनारायण शाह) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ชาห์หรือศาห์ที่ปกครองเนปาล พระองค์ทรงเป็นที่นับถือจากการที่ทรงเริ่มต้นการรวมชาติเนปาล ที่ซึ่งถูกแบ่งแยกและอ่อนแอภายใต้การปกครองของสหพันธ์มัลละ พระองค์ทรงเป็นเชื้อสายรุ่นที่ 9 ของดราวะยะ ศาห์ (พ.ศ. 2102 - พ.ศ. 2113) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์แห่งกุรข่า มเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีนารายณศาหะทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีนาราภูปาลศาหะเป็นกษัตริย์แห่งกุรข่าในปี..

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ตที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอินโดอารยัน กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน จากรายงานใน..

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาปาหารี

กลุ่มภาษาปาหารีเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาอินโดอารยันเหนือ เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่ใช้พูดในบริเวณที่ราบของเทือกเขาหิมาลัยจากเนปาลทางตะวันออก ไปจนถึงรัฐหิมาจัลประเทศทางตะวันตก ภาษาในกลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มตะวันออกประกอบด้วยสำเนียงต่างๆของภาษาเนปาล เช่น โดขาลี กุรขาลี คาสกุรา กลุ่มกลาง ประกอบไปด้วยภาษาที่พูดในรัฐอุตรขัณฑ์และกลุ่มตะวันตกพูดในรัฐหิมาจัลประเทศ ในเนปาล ภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ของชนกลุ่มอินโด-อารยันส่วนใหญ่ที่อยู่ในหุบเขาทางเหนือของอินเดียจนถึงเขตสูงสุดที่สามารถปลูกข้าวได้ ภาษาแม่ของชนเผ่าในบริเวณภูเขาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า ภาษาเนปาลมีความแตกต่างจากภาษาปาหารีกลางเพราะได้รับอิทธิพลทั้งทางไวยากรณ์และคำศัพท์จากภาษากลุ่มทิเบต-พม่า ผู้พูดภาษาปาหารีกลางและตะวันตกไม่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับภาษากลุ่มทิเบต-พม่า จึงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันได้ แม้ว่าชาวปาหารีจะได้พัฒนารูปแบบของตนเองและมีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่บางครั้งก็จัดภาษาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของภาษาฮินดี ชื่อเรียกของภาษาเหล่านี้มีมาก เช่น เนปาลี (ภาษาของชาวเนปาล) กุรขาลี (ภาษาของชาวกุรข่า) ปัรภติยะ (ภาษาของชาวภูเขา) ภาษาปัลปาเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเนปาล บางครั้งถูกแยกเป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหาก มีผู้พูดภาษากลุ่มปาหารีจำนวนมากในหุบเขาทางเหนือของปากีสถาน ระหว่างแคชเมียร์และอัฟกานิสถาน ภาษาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาประจำชาติในบริเวณนั้นเช่น ภาษาอูรดูและภาษาปัญจาบ หมวดหมู่:ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หมวดหมู่:ภาษาในเอเชียใต้.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและกลุ่มภาษาปาหารี · ดูเพิ่มเติม »

กล้วยนาก

กล้วยนาก (Red bananas) เป็นสายพันธุ์ของกล้วยที่เปลือกสีแดงคล้ำ ลูกเล็กกว่ากล้วยหอมเขียว เนื้อเมื่อสุกเป็นสีเหลืองครีมหรือสีเหลืองอมชมพู นิ่มและหวานกว่ากล้วยพันธุ์อื่นในกลุ่มคาเวนดิช แหล่งปลูกอยู่ในแอฟริกาตะวันออก เอเชีย อเมริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นที่นิยมในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและกล้วยนาก · ดูเพิ่มเติม »

กุมารี

นี ศากยะ อดีตกุมารีของเมืองภัคตปุระ กุมารี (เนปาล: कुमारी; Kumari) คือเทพธิดาผู้มีชีวิตจริงของชาวเนปาล ที่เชื่อว่าเป็นปางหนึ่งของเทวีทาเลจู ซึ่งเป็นปางหนึ่งของเทวีทุรคา ศักติ (ชายา) ของพระศิวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติ (เทพผู้ยิ่งใหญ่ 3 องค์) ที่ดุร้ายเหมือนเทวีกาลี มาจุติเกิด มาจากการสรรหาจากเด็กหญิงจากวรรณะล่าง และเป็นที่เคารพของผู้นับถือศาสนาฮินดู จนกระทั่งเทวีทุรคามาออกจากร่าง ซึ่งจะนับเมื่อเด็กหญิงผู้นั้นมีประจำเดือน หรือได้รับบาดแผลจนมีเลือดออกจากร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยความเชื่อเรื่องกุมารี เป็นการผสมผสมานกันระหว่างความเชื่อในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาแบบธิเบตหรือวัชรยานในท้องถิ่น มีความเชื่อกระจายทั่วไปในอนุทวีปอินเดีย เช่น อัสสัม, ทมิฬนาฑู, เบงกอล, แคชเมียร์ แต่ที่ได้รับความนิยมและเชื่อถือมากที่สุด คือ เนปาลหน้า 44-57, เทพเจ้าผู้มีลมหายใจแห่งเนปาล โดย อิซาเบลลา ทรี.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล แปลภาษา

กูเกิลแปลภาษา (Google Translate) เป็นบริการแปลภาษาหลายภาษาด้วยเครื่องจักรโดยไม่คิดค่าบริการของบริษัทกูเกิล กูเกิลแปลภาษามีลักษณะไม่เหมือนกับบริการแปลอื่น ๆ เช่น Babel Fish, AOL, ยาฮู! ที่ใช้ SYSTRAN ขณะที่กูเกิลใช้ซอฟต์แวร์การแปลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามคู่แข่งทางการค้าเจ้าใหญ่อย่างบริษัท ไมโครซอฟท์ ได้มีผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันมากมาลงแข่งขันด้วย ซึ่งมีชื่อว่า Bing Translator.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและกูเกิล แปลภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชพังสี

ษาราชพังสี หรือภาษารังปุรีเป็นภาษาทางตะวันออกของอินเดีย อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ใช้พูดโดยชาวราชพังสี 1 ล้านคนในบังกลาเทศและ 5 ล้านคนในอินเดีย ส่วนใหญ่จะพูดได้สองภาษาโดยพูดภาษาเบงกาลีหรือภาษาอัสสัมได้ด้วยมีขบวนการสนับสนุนการใช้ภาษานี้ในเบงกอลตะวันตก.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาราชพังสี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการของอินเดีย

ประเทศอินเดียมีภาษาพูดที่แตกต่างกันมากมาย ในกลุ่มคนต่าง ๆ กัน มีภาษาอย่างน้อย 30 ภาษา รวมถึงภาษาย่อยอีก 2,000 ภาษาด้ว.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาราชการของอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลิมบู

ษาลิมบูเป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ใช้พูดในเนปาล สิกขิม และตำบลดาร์จีลิงในรัฐเบงกอลตะวันตก อินเดีย โดยชาวลิมบู ซึ่งส่วนใหญ่จะพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาที่สอง ชื่อภาษา “ลิมบู” เป็นคำจากภาษาอื่นและไม่รู้ที่มา ชาวลิมบูเรียกตนเองว่า “ยักทุมบา” และเรียกภาษาของตนว่า “ยักทุงปัน” มีสำเนียงสำคัญสี่สำเนียงคือ ปันแทร์ เพดาเป ชัตแทร์ และทัมบาร์ โคเล สำเนียงปันแทร์เป็นสำเนียงมาตรฐาน ในขณะที่สำเนียงเพดาเปเป็นสำเนียงที่เข้าใจได้ทั่วไป สิ่งตีพิมพ์ในภาษาลิมบูมักพิมพ์ควบคู่ไปกับภาษาเนปาล ภาษานี้เขียนด้วยอักษรเทวนาครีได้ด้ว.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาลิมบู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิกขิม

ษาสิกขิม หรือ ภาษาภูเตีย เป็นภาษาย่อยของภาษาทิเบตใต้ มีผู้พูดจำนวนหนึ่งในชุมชนภูเตีย ทางภาคเหนือของสิกขิมชื่อเรียกในภาษาของตนเองคือ Dranjongke (Wylie: Bras-ljongs-skad).

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาสิกขิม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทาโด

ษาทาโด (Thado language) มีผู้พูดทั้งหมด 231,200 คน พบในอินเดีย 205,000 คน ในรัฐมณีปุระ รัฐอัสสัม รัฐไมโซรัม รัฐนาคาแลนด์ รัฐตรีปุระพบในพม่า 26,200 คน (พ.ศ. 2526) ในเขตสะกายและทางเหนือของรัฐฉิ่น จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า สาขากูกี-ฉิ่น-นาคา สาขาย่อยกูกี-ฉิ่น ผู้พูดภาษานี้ในอินเดียจะพูดภาษามณีปุรีหรือภาษาเนปาลได้ด้วย มีรายการวิทยุออกอากาศด้วยภาษานี้ เขียนด้วยอักษรละติน เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กร.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาทาโด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาม

ภาษาคาม หรือภาษาคามกูรา ภาษากามกูรา เป็นภาษาในกลุ่มทิเบต-พม่าใช้พูดในเขตที่สูงของเนปาลตะวันตกโดยเผ่ามาคัร โดยชนที่อยู่ตามพื้นที่ราบในบริเวณนั้นเป็นผู้พูดภาษาเนปาลหรือพูดภาษาเนปาลและภาษาเนวารี ที่นับถือศาสนาฮินดู บริเวณที่ชนเผ่านี้อาศัยอยู่นั้นเป็นทางผ่านระหว่างทิเบตกับอินเดีย การได้รับอิทธิพลจากอินเดียและทิเบตน้อย ทำให้ภาษาคามยังคงอยู่ได้ คาม.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาคาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคุชราต

ษาคุชราต (ગુજરાતી คุชราตี) คือภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการ และ 14 ภาษาภูมิภาคของอินเดีย และเป็นหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยของปากีสถาน มีผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก โดยที่ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนในยูกันดา 100,000 คนในปากีสถาน 250,000 คนในแทนซาเนีย และ 50,000 คนในเคนยา ภาษาคุชราต คือภาษาหลักของรัฐคุชราตในอินเดีย รวมถึงพื้นที่สหภาพที่ติดกันคือ ดามานและดีอู และ ดาดราและนครหเวลี และยังเป็นภาษาของชุมชนชาวคุชราตในเมืองมุมไบ (บอมเบย์เดิม) นอกจากนี้ยังปรากฏประชาการจำนวนหนึ่งที่พูดภาษาคุชราตได้ในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร คุชราตเป็นภาษาแม่ของมหาตมะ คานธี "บิดาของอินเดีย" มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ "บิดาของปากีสถาน" และซาร์ดาร์ วัลลัภภัย ปาเทล "บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย".

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาคุชราต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปะหล่องรูไม

ษาปะหล่องรูไม (Rumai Palaung) หรือภาษาปะหล่องเงิน มีผู้พูดทั้งหมด 139,000 คน พบในพม่า 137,000 คน ทางตอนเหนือของรัฐฉาน พบในจีน 2,000 คน (พ.ศ. 2538) ทางตะวันตกของยูนนาน ในเขตปกครองตนเองเต๋อหง และตามแนวชายแดนพม่า จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร สาขามอญ-เขมรเหนือ สาขาย่อยปะหล่อง เป็นภาษาที่ยังมีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย ผู้พูดภาษานี้บางส่วนสามารถพูดภาษาไทใหญ่ ภาษาปะหล่องรูไล ภาษาปะหล่องรูชิง ภาษาเนปาล ภาษาพม่า ภาษากะฉิ่น ภาษาจิงผ่อและภาษาจีนได้ มีพจนานุกรม เขียนด้วยอักษรพม่า เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาปะหล่องรูไม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโภชปุรี

ษาโภชปุรีเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย คือทางตะวันตกของรัฐพิหาร ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฌารขัณฑ์ และบริเวณปุรวัณฉัลของอุตรประเทศรวมถึงทางใต้ของเนปาล ภาษาโภชปุรีมีผู้พูดในกายอานา ซูรินาม ฟิจิ ทรินิแดดฯ และมอริเชียสด้วย ภาษานี้ถือว่าไม่ใช่ภาษาถิ่นของภาษาฮินดี เตรียมจะรับรองสถานะเป็นภาษาประจำชาติอีกภาษาหนึ่ง ภาษาโภชปุรีมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และภาษาตระกูลอินโด-อารยันอื่นๆในภาคเหนือของอินเดีย ภาษาโภชปุรีและภาษาใกล้เคียงได้แก่ ภาษาไมถิลีและภาษามคธีเป็นที่รู้จักโดยรวมว่าภาษาพิหาร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกเช่นเดียวกับภาษาเบงกาลีและภาษาโอริยา ภาษาถิ่นของภาษาโภชปุรีมีราว 3-4 ภาษาในภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเท.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาโภชปุรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบลฮาเร

ภาษาเบลฮาเร เป็นภาษากลุ่มกิรันตี มีผู้พูดราว 2,000 คน ในเทือกเขาเบลฮาเร ซึ่งอยู่ทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ในตำบลธันกุตา เนปาลตะวันออก ผู้พูดภาษานี้จะพูดภาษาเนปาลเป็นภาษาที่สอง ทำให้มีคำยืมจากภาษาเนปาลมาก แต่ไวยากรณ์ยังเป็นแบบของภาษากิรันตี บเลฮาเร.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาเบลฮาเร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเลปชา

ษาเลปชา(อักษรเลปชา: ไฟล์:ᰛᰩᰵ་ᰛᰧᰶᰵ.SVG; Róng ríng)เป็นภาษาที่พูดโดยชาวเลปชา ในรัฐสิกขิม อินเดีย รวมทั้งบางส่วนของเนปาลและภูฏาน เขียนด้วยอักษรเลปชา ต้นกำเนิดของอักษรนี้ยังคลุมเครือ เริ่มแรกเขียนในแนวตั้งแบบเดียวกับอักษรจีน จัดเป็นภาษาท้องถิ่นในบริเวณที่ใช้พูด มีผู้พูดราว 50,000 คน.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาเลปชา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเนวารี

ษาเนวารี หรือเนปาล ภาษา (नेपाल भाषा, Nepal Bhasa, Newah Bhaye) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งของเนปาล อยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า เป็นภาษาในตระกูลนี้เพียงภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครี พูดโดยชาวเนวาร์ ซึ่งอยู่ในหุบเขากาฏมาณฑุ มีความคล้ายคลึงกับภาษากลุ่มอินโด-อิหร่านด้ว.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและภาษาเนวารี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสิกขิม

รัฐสิกขิม (เทวนาครี: सिक्किम; ภาษาทิเบต: འབྲས་ལྗོངས་; Sikkim) คือรัฐหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน ทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน และทิศใต้ติดต่อกับรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐหนึ่งของอินเดีย แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเกล ด้วยความเป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากร.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและรัฐสิกขิม · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเนปาล

ราชอาณาจักรเนปาล (Kingdom of Nepal, नेपाल अधिराज्य) หรือราชอาณาจักรโครขา ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและราชอาณาจักรเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษา

รายชื่อภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกเรียงตามลำดับตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาของอินเดียเรียงตามจำนวนคนพูด

รายชื่อของภาษาของประเทศอินเดียที่มีผู้พูดมากกว่า 10 ล้านคน มีอยู่ด้านล่าง ภาษาอังกฤษมีชาวอินเดียพูดเป็นภาษาที่สองระหว่าง 50 และ 250 ล้านคน ข้อมูลนี้มาจากฐานข้อมูลของ Ethnologue โดยคิดเฉพาะผู้พูดเป็นภาษาแม่ ภาษาที่พูดในอินเดียส่วนใหญ่จะอยู่ในตระกูลอินโด-อารยัน (ประมาณ 74%), ดราวิเดียน (ประมาณ 24%), ออสโตรเอเชียติก (มุนดา) (ประมาณ 1.2%) หรือทิเบโต-เบอร์แมน (ประมาณ 0.6%) โดยที่มีบางภาษาของเทือกเขาหิมาลัยที่ยังไม่ได้จัดประเภท ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้นำมาใช้ภายใต้จักรพรรดิอังกฤษ มีบทบาทสำคัญเป็น ภาษากลางที่ไม่ยึดติดกับชนพื้นเมืองใด ๆ ของอินเดียโดยเฉพาะ ก่อนหน้ายุคอาณานิคม ภาษาเปอร์เซีย มีบทบาทสำคัญเป็นภาษาของรัฐบาล การศึกษาและการค้า เนื่องจากข้อบัญญัติของผู้นำมุสลิม และยังคงเป็นภาษาคลาสสิกที่ศึกษาในโรงเรียนอินเดียหลายแห่ง จำนวนอย่างเป็นทางการของ 'ภาษาแม่' ที่พูดในอินเดีย คือ 1,683 ซึ่งจำนวนนี้มีประมาณ 850 ภาษาที่ใช้ประจำวัน ส่วน SIL Ethnologue นับภาษาที่มีชีวิตได้ 387 ภาษาในอินเดี.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและรายชื่อภาษาของอินเดียเรียงตามจำนวนคนพูด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1

ตารางนี้ประกอบด้วยรหัสทั้งหมดของ.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เนปาล

ระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาล เรียกโดยราชประเพณีว่า "ศรีปัญจมหาราชธิราช" (เนปาลี: श्री ५ महाराजधिराज, Śrī Pañca Mahārājdhirāj) ส่วนสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรเนปาล เรียก "ศรีปัญจพฑามหารานี" (เนปาลี: श्री ५ बडामहारानी, Śrī Pañca Badāmahārānī) ทั้งนี้ การปกครองประเทศเนปาลตามระบอบราชาธิปไตยนั้นได้ยกเลิกไปโดยมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งเนปาลซึ่งให้เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบสาธารณรัฐตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและรายพระนามพระมหากษัตริย์เนปาล · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษาเนปาล

ลโก้วิกิพีเดียภาษาเนปาล วิกิพีเดียภาษาเนปาล เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาเนปาล ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาเนปาลมีบทความมากกว่า 26,000 บทความ (2558).

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและวิกิพีเดียภาษาเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

สุนุวาร์

นุวาร์ หรือ ซูนูวาร์ EngSunuwar NPसुनुवार คนสุนุวาร์เป็นส่วนหนึ่งของชนพื้นเมืองของประเทศเนปาลและบางพื้นที่ในประเทศอินเดีย ภูฏาน: ดาร์จีลิง, สิกขิม, อัสสัม ชนเผ่าได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู ส่วนใหญ่คนสุนุวาร์นับถือศาสนา 79.50% ฮินดู และ 17.4% พุทธ กีราต แต่ไม่แบ่งแยกศาสนา การสำรวจสำมะโนประชากรปี 2012 คนสุนุวาร์ ประมาณ 100,000 คน ซูนูวาร.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและสุนุวาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สเยาง์ ถุงคา ผูลกา หามี

ลงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลมีชื่อว่า สเยาง์ ถุงฺคา ผูลกา หามี (เนปาล: सयौं थुँगा फूलका हामी, แปลว่า "เราคือบุปผานับร้อย") เป็นผลงานการประพันธ์เนื้อร้องโดยประทีป กุมาร ราอิ (Pradeep Kumar Rai) กวีชาวเนปาล ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ พยากุล มาอิลา (Byakul Maila) ทำนองโดยอัมพาร์ คุรุง (Ambar Gurung) เพลงนี้ได้เริ่มใช้เป็นเพลงชาติเนปาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ในรัฐพิธีซึ่งจัดขึ้น ณ หอประชุมคณะกรรมการการวางแผนชาติ ภายในพระราชวังสิงหดรูบาร์ (Singha Durbar) อันเป็นที่ตั้งของรัฐสภาเนปาล โดยนายสุภาศ เนมวัง (Subhash Nemwang) ประธานรัฐสภาเนปาล เป็นผู้เปิดแผ่นซีดีบรรเลงเพลงชาติในพิธีดังกล่าวทั้งนี้ การเริ่มใช้เพลงชาติเนปาลใหม่อย่างเป็นทางการข้างต้น ได้มีขึ้นก่อนการผ่านกฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมาสู่ระบอบสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการประมาณ 4 เดือน อนึ่ง คำว่าเพลงชาติในภาษาเนปาลใช้คำว่า "ราษฺฏฺริย คาน" (อักษรเทวนาครี: राष्ट्रिय गान) แต่ในเอกสารภาษาต่างประเทศมักใช้อ้างอิงถึงเพลง "ศรีมาน คัมภีระ เนปาลี" (อักษรเทวนาครี: श्रीमान् गम्भीर नेपाली) ซึ่งเป็นเพลงชาติเนปาล ในสมัยราชาธิปไต.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและสเยาง์ ถุงคา ผูลกา หามี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติสครมาถา

อุทยานแห่งชาติสครมาถา (Sagarmatha National Park) อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ในประเทศเนปาลตรงบริเวณชายแดนติดต่อกับทิเบต มีชื่อเป็นภาษาเนปาลว่า สครมาถา ซึ่งแปลว่า "หน้าผากแห่งท้องฟ้า" (เอเวอเรสต์) อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 1240 ตารางกิโลเมตร ตั้งขึ้นมาเพื่อพิทักษ์พรรณไม้และพันธุ์สัตว์ในบริเวณแถบนี้ และนอกจากจะมีทั้งยอดเขาเอเวอเรสต์แล้วก็ยังมียอดเขาที่สูงเกินกว่า 7,000 เมตร อีกกว่า 7 ยอด และมีสัตว์ เช่น กระต่ายป่า หนูผี และนกอีกว่า 120 ชนิด สครมาถา สครมาถา หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศเนปาล.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและอุทยานแห่งชาติสครมาถา · ดูเพิ่มเติม »

ขิชี จันเฑศวรี

ี จันเฑศวรี (खिजी चण्डेश्वरी) เป็นคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านใน จังหวัดโอขาลดุงกา ในเขตสครมาถา ภาคกลาง-ตะวันออกของเนปาล ในช่วงเวลาของปี 1991 การสำรวจสำมะโนประชากรเนปาลมันมีประชากร 3001 ที่อาศัยอยู่ใน 590 ผู้ประกอบการแต่ละราย หมู่บ้าน: ขิชี จันเฑศวรี หมู่บ้านคณะกรรมการพัฒนา (วีดีชี) ตั้งอยู่ในเขตการพัฒนาภาคตะวันออกของประเทศ จังหวัดเป็นโอขาลดุงกา และเขตเป็นสครมาถา ครอบคลุมประมาณ 35 ตารางกิโลเมตรมีชาวบ้านรอบ 4000.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและขิชี จันเฑศวรี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

ปานีร์

ปานีร์ (Paneer;ਪਨੀਰ; ภาษาฮินดี และภาษาเนปาลี पनीर panīr; Պանիր panir; پنير; پەنییر penîr; پنير panir; peynir) เป็นชีสสดชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในอินเดียภาคเหนือและภาคตะวันออก โดยในอินเดียภาคเหนือเรียกเชนะ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้รับประทานมังสวิรัตน์เพราะไม่ใช้เอนไซม์จากตับลูกวัวมาช่วยในการแข็งตัว แต่ใช้น้ำมะนาว น้ำส้มหรือหางนมจากการทำปานีร์ครั้งก่อนหน้าใส่ลงในนมที่ต้มจนเดือดแล้วคนไปในทางเดียวกัน นมจะตกตะกอนเป็นก้อน เมื่อบีบน้ำออกและกดทับให้แข็ง จะได้ปานีร์ ในอินเดียใช้ปานีร์ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงใส่ถั่วลันเตา แกงใส่ผักปวยเล้ง รัสมาลัย ปานีร์ย่างหรือข้าวหมกปานีร์ เป็นต้น คำว่าปานีร์มีต้นกำเนิดมาจากภาษาเปอร์เซีย คำใน ภาษาดุรกี peynir คำใน ภาษาเปอร์เซีย panir คำใน ภาษาอาเซอร์ไบจาน panir, และคำใน ภาษาอาร์เมเนีย panir (պանիր) ล้วนมาจากคำว่า "paneer" ซึ่งหมายถึงเนยชนิดหนึ่ง จุดกำเนิดของปานีร์ยังเป็นที่โต้เถียง ทั้งอินเดียในยุคพระเวท ชาวอัฟกัน ชาวอิหร่าน ชาวเบงกอล และชาวอินเดียเชื้อสายโปรตุเก.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและปานีร์ · ดูเพิ่มเติม »

นกศิวะ

นกศิวะ เป็นนกขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Minla (มาจากภาษาเนปาลคำว่า minla หมายถึง นกศิวะหางแดง; สำหรับชื่อสามัญในภาษาไทยสันนิษฐานว่ามาจากสีของนกศิวะปีกสีฟ้าที่เป็นสีขาว เหมือนพระศิวะที่มีกายสีขาว) ในวงศ์นกกะรางและนกหางรำ (Leiothrichidae) เป็นนกขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด (และอาจจะแบ่งออกได้เป็นเพียงชนิดเดียว คือ นกศิวะหางแดง).

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและนกศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์พราหมณ์

ราหมณ์ หมายถึง เทวสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดู มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

โปขรา

ปขรา (เนปาล: पोखरा उपमहानगरपालिका Pokharā Upa-Mahānagarpālikā; Pokhara Sub-Metropolitan City) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศเนปาล มีประชากรราว 250,000 คน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองหลวง กาฐมาณฑุ ราว 200 กม..

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและโปขรา · ดูเพิ่มเติม »

เยติ

รคดี เยติ หรือ มนุษย์หิมะ (เนปาลี: हिममानव himamānav, คำแปล "มนุษย์หิมะ") เป็นชื่อที่ใช้เรียกสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ในความเชื่อของชาวเชอร์ปา ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล, ภูฏาน, ธิเบต, จีน จนถึงบางพื้นที่ในมองโกเลียและรัสเซีย โดยเชื่อว่าเยติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 5–8 ฟุต น้ำหนักประมาณ 600 ปอนด์ ที่คล้ายมนุษย์ผสมกับลิงไม่มีหางคล้าย กอริลลา มีขนยาวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำหรือสีเทาหรือเทาเข้มปกคลุมทั้งลำตัว ยกเว้นใบหน้าที่มีสีคล้ำ มีเสียงร้องที่น่าสะพรึงกลัว โดยปรกติแล้ว เยติเป็นสัตว์ที่มีนิสัยสงบเสงี่ยม แต่อาจดุร้ายโจมตีใส่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง เช่น จามรี ได้ในบางครั้ง เยติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเชอร์ปามาอย่างช้านาน โดยถูกกล่าวถึงในนิทานและเพลงพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานต่อกันมาถึงผู้ที่เคยพบมัน นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในศิลปะของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบธิเบต โดยปรากฏเป็นภาพในพรมธิเบตที่แขวนไว้ที่ฝาผนังเหมือนจิตรกรรมฝาผนังในวัดลามะอายุกว่า 400 ปี เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตประหลาดอย่างหนึ่งที่ขนดกอยู่ด้านมุมภาพและในมือถือกะโหลกมนุษย์อยู่ และปัจจุบันนี้ ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหนังหัวของเยติถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดลามะแห่งหนึ่งในคุมจุง ซึ่งนับว่าเยติเป็นสัตว์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงยาวนานกว่าสัตว์ประหลาดที่มีลักษณะคล้ายกันชนิดอื่นที่พบในอีกซีกโลก เช่น บิ๊กฟุต หรือ ซาสควาทช์ ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยาวี ในทวีปออสเตรเลีย หรืออัลมาส์ ในเอเชียกลาง หากแต่หลักฐานเกี่ยวกับเยติเมื่อเทียบกับบิ๊กฟุตแล้วพบน้อยกว่ามาก แต่มีหลายกรณีที่บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์ที่ดุร้าย ก้าวร้าวกว่ามาก นอกจากคำว่าเยติแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่เรียกเยติ เช่น เธลม่า (Thelma), แปลว่า "ชายตัวเล็ก" เชื่อว่ามีนิสัยรักสงบ ชอบสะสมกิ่งไม้และชอบร้องเพลงขณะที่เดินไป, ดซูท์เทห์ (Dzuteh) เป็นเยติขนาดใหญ่ มีขนหยาบกร้านรุงรัง มีนิสัยดุร้ายชอบโจมตีใส่มนุษย์, มิห์เทห์ (Mith-teh) มีนิสัยคล้ายดซูท์เทห์ คือ ดุร้าย มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ, เมียกา (Mirka) แปลว่า "คนป่า" เชื่อว่าหากมันพบเห็นสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ มันจะทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, คัง แอดมี (Kang Admi) แปลว่า "มนุษย์หิมะ" และ โจบราน (JoBran) แปลว่า "ตัวกินคน" ขณะที่ในภูฏานเรียกว่า มิกอย (Migoi) หรือ นากอย (Nagoi) ส่วนชื่อ มนุษย์หิมะ นั้น ปรากฎขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1921 เมื่อนักสำรวจชาวตะวันตกซึ่งเป็นผู้ที่ถ่ายภาพรอยเท้าของเยติไว้ได้เป็นภาพแรก เจอกับปัญหาการแปลภาษาเชอร์ปา ซึ่งมาจากคำว่า "ดซูท์เทห์" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ตัวเหม็นแห่งหิมะ" ซึ่งเขาได้เขียนลงในบันทึกในฐานที่พักว่า "มนุษย์ตัวเหม็นน่ารังเกียจแห่งหิมะ" ที่ภูฏาน ชาวพื้นเมืองต่างเชื่อว่าเยติมีจริง หลายคนเคยได้พบเจอตัวหรือได้ยินเสียงของเยติ โดยกล่าวว่าเยติเป็นสัตว์ดุร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ได้ มีรูปร่างสูงใหญ่ มีพละกำลังมาก มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วร่างรวมถึงมีใบหน้าคล้ายลิง มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคม เสียงร้องของเยติเป็นเสียงสูง เยติอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือในป่าลึก ออกหากินในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่น ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้ขัดสานกันเหมือนเตียงนอน และเชื่อว่าหากผู้ใดต้องการพบเห็นตัวเยติต้องทำร่างกายให้สกปรก หากเนื้อตัวสะอาดก็จะไม่ได้พบเยติ มีรายงานการพบเห็นเยติเป็นจำนวนมากทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสากเต็ง ในเขตตราชิกัง เรเน เดอ มีล์วีลล์ นักปีนเขาชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 เรื่องราวของเยติที่โจมตีใส่มนุษย์นั้น ได้ถูกทำเป็นรายงานส่งไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งปากคำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบันทึกโดยอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ทำงานในเนปาล โดยผู้ถูกทำร้ายเป็น เด็กหญิงชาวเชอร์ปาคนหนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและเยติ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เทนซิง นอร์เก

อนุสาวรีย์ของเทียนซิง นอร์เก เทนซิง นอร์เก (ทิเบต: བསྟན་འཛིན་ནོར་རྒྱས།, เนปาล: तेन्जिङ नोर्गे शेर्पा, อังกฤษ: Tenzing Norgay) เกิดในปี พ.ศ. 2457 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นนักปีนเขาชาวเชอร์ปา (เนปาล) โดยเทนซิง นอร์เก และเอดมันด์ ฮิลลารี เป็น 2 คนแรกที่สามารถปีกถึงยอดของยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สำเร็จ (ทั้งสองถึงยอดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) เทนซิง นอร์เก เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529.

ใหม่!!: ภาษาเนปาลและเทนซิง นอร์เก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาเนปาลี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »