โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาทิเบต

ดัชนี ภาษาทิเบต

ษาทิเบตเป็นภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเศรป.

84 ความสัมพันธ์: ชาวทิเบตพระราชวังโปตาลาพระวัชรปาณีโพธิสัตว์พระธรรม (ศาสนาพุทธ)พระโพธิสัตว์พระเจ้าตริสองเดซันพระเจ้าซรอนซันกัมโปพุทธจริตกลุ่มภาษามองโกลกลุ่มภาษามองโกลตะวันออกกลุ่มภาษาหิมาลัยกลุ่มภาษาโบดิชญัฮกุรภาษาบอนันภาษาบัลติภาษาบูรุศซัสกีภาษามองโกเลียภาษามองเกอร์ภาษาลาดักภาษาลีสู่ภาษาสิกขิมภาษาออร์ดอสภาษาทิเบตกลางภาษาตันกัตภาษาซองคาภาษาซาลาร์ภาษาน่าซีภาษาในสตาร์ วอร์สภาษาไบมาภาษาเลปชาภาษาเจียรงภาษาเนวารียมานตกะยอดเขาเอเวอเรสต์รัฐสิกขิมราชอาณาจักรทิเบตรายชื่อภาษารายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1รายพระนามพระประมุขทิเบตลาซาวัชรยานวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรวิกิพีเดียภาษาทิเบตศัมภลาศาสนาพุทธแบบทิเบตสมเด็จพระราชินีทเซนดิน ดองด็อกดูลามสรวาสติวาทสองขะปะอักษรพักส์-ปา...อักษรรัญชนาอักษรทิเบตอักษรโซยอมโบจักรพรรดิเซี่ยจิงจงจาตุมหาราชิกาทะไลลามะทะไลลามะที่ 14ทิเบตทิเบต (แก้ความกำกวม)ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติคำตี่คุนดุนตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าตระกูลภาษาจีน-ทิเบตประวัติศาสตร์ทิเบตประเทศภูฏานปีเตอร์ สกิลลิงแชงกรี-ลาแม่น้ำพรหมบุตรโมโม (อาหาร)เยติเรทิงรินโปเชเหรุกะเหวัชระเอเชียใต้เจ้าชายต็อก-โอชิริน นามนานซือเหรินเทศกาลเสวี่ยตุ้นเทนซิง นอร์เกเขาไกรลาสเขตการปกครองของประเทศจีนเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ไห่เป่ย์เขตปกครองตนเองทิเบตISO 639-27 ปี โลกไม่มีวันลืม ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

ชาวทิเบต

วทิเบต เป็นชนกลุ่มใหญ่ในเขตปกครองตนเองทิเบต ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และถือชนชาติกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่เป็นของตนเอง แต่ความเป็นชุมชนเมืองและเศรษฐกิจของชาวจีนซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่กำลังทำลายความเป็นทิเบตดั้งเดิม ดั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศต่างๆทั่วโลก ชาวทิเบตสืบเชื้อสายจากชนเผ่าตูรัน และตังกุตในเอเชียกลาง ต่อมาได้อพยพมาจากทางตอนบนในเขตหุบเขาที่ราบลุ่มแม่น้ำยาร์ลุงซางโป และแต่งงานกับชนพื้นเมืองแถบนี้ แล้วออกลูกออกหลานเป็นชาวทิเบตในปัจจุบัน ชาวทิเบตเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ในอดีตเคยเป็นพวกชาวเขาที่ไม่แตกต่างกับชาวเขาทั่วไป แต่พอได้รับพระพุทธศาสนาแบบวัชรยานจากพระปัทมสัมภวะ (คุรุรินโปเช่) ทำให้ทิเบตมีวัฒนธรรมที่โดดเด่น ชาวทิเบตส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธวัชรยาน นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลามราว 2,000 คน และคริสตังทิเบตราว 600 คน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและชาวทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังโปตาลา

right พระราชวังโปตาลา (ภาษาทิเบต: པོ་ཏ་ལ།, การแปลโดยระบบไวลี: Po ta la; อักษรจีนตัวย่อ: 布达拉宫; อักษรจีนตัวเต็ม: 布達拉宮) ตั้งอยู่ที่กรุงลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน พระราชวังแห่งนี้อยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 3,600 เมตร บนที่ราบสูงทิเบต พระราชวังซึ่งเป็นทั้งป้อมปราการ และ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นราวศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าซรอนซันกัมโป ผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิทิเบต ตัวพระราชวังถูกทำลายและสร้างใหม่หลายครั้งหลายคราว จนถึงรัชสมัย ทะไลลามะ องค์ที่ 5 ใน..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและพระราชวังโปตาลา · ดูเพิ่มเติม »

พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

ระวัชรปาณีโพธิสัตว์ หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ถือสายฟ้า หลักฐานฝ่ายบาลีถือว่าเป็นยักษ์ที่คอยคุ้มครองพระพุทธเจ้า ส่วนทางมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ชั้นสูงองค์หนึ่ง มักปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์และพระปัทมปาณิโพธิสัตว์ ความเชื่อเกี่ยวกับพระวัชรปาณิอาจวิวัฒนาการมาจากพระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์ที่ถือสายฟ้าเช่นกัน และอาจจะพัฒนามาจากความเชื่อเกี่ยวกับพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ชาวพุทธมหายานถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่คุ้มครองนาคที่ควบคุมเมฆฝน และนิยมสร้างรูปของท่านไว้ที่ประตูทางเข้าวัดเพื่อขับไล่ความชั่วร้าย พระวัชรปาณีมีชื่อจีนว่ากิมกังผ่อสัก จัดอยู่ในกลุ่มเจ็ดพระมหาโพธิสัตว์ตามความเชื่อของชาวจีน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าพระอวโลกิเตศวรและพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์มาก.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรม (ศาสนาพุทธ)

ระธรรมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 454 หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ อาจพอกล่าวได้ว่าการเรียนรู้พระธรรม ก็คือการเรียนรู้ธรรมดาโลก และเรียนรู้สิ่งที่เป็นปกติที่มีบ่อเกิดที่มาว่ามาอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและพระธรรม (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าตริสองเดซัน

ระเจ้าตริสองเดซัน (ภาษาทิเบต: ཁྲི་སྲོང་ལྡེ་བཙན, khri srong lde btsan;, ชื่อซงเต๋อซั่น) เป็นพระโอรสของพระเจ้ามีอาธอมซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าซรอนซันกัมโป พระมารดาคือเจ้าหญิงจินเจินจากจีน ครองราชย์เมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและพระเจ้าตริสองเดซัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซรอนซันกัมโป

ระเจ้าซรอนซัน กัมโป (กลาง), เจ้าหญิงเหวินเฉิง (ขวา) และเจ้าหญิงภริคุติ(ซ้าย) พระเจ้าซรอนซันกัมโป (ทิเบต: སྲོང་བཙན་སྒམ་པོ་, Songtsän Gampo) เป็นกษัตริย์ทิเบตระหว่าง พ.ศ. 1163 - 1193 เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของทิเบตที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน ทรงครองราชย์ในสมัยที่ทิเบตเรืองอำนาจทางทหาร ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์แห่งจีนและเนปาล โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงภริคุติ ราชธิดาของพระเจ้าอังศุวรมันแห่งเนปาล และเจ้าหญิงเวนเชิง ราชธิดาของพระเจ้าถังไท้ซุง กษัตริย์จีน พระชายาทั้งสององค์นี้นับถือพุทธศาสนา และได้นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ในทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป ได้ส่งเสนาบดีของพระองค์คือ ทอนมีสัมโภทาไปศึกษาศาสนาพุทธในอินเดีย เมื่อกลับมา สัมโภทาได้ประดิษฐ์อักษรทิเบตและเขียนไวยากรณ์ภาษาทิเบต ส่งผลให้มีการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต นอกจากนี้ พระองค์ได้วางระเบียบปฏิบัติ 16 ข้อ ที่ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของทิเบต และย้ายเมืองหลวงจากยาลุงไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่นครลาซ.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและพระเจ้าซรอนซันกัมโป · ดูเพิ่มเติม »

พุทธจริต

ทธจริต หรือ "จริยาแห่งพระพุทธองค์" มหากาพย์ภาษาสันสกฤต รจนาโดยพระอัศวโฆษ คาดว่ารจนาขึ้นในราวช่วงต้นศตวรรษที่ 2 ปัจจุบันเหลืออยู่ 28 สรรค 14 สรรคแรกเหลือสมบูรณ์ดีในภาษาสันสกฤต ส่วนสรรคที่ 15 ถึง สรรค 28 อยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ พระอัศวโฆษผู้ประพันธ์ได้ใช้ฉันทลักษณ์ 10 ชนิดในการประพันธ์ อาทิ ตริษฏุภฉันท์ อนุษฎุภฉันท์ วังสัสถฉันท์ เอาปัจฉันทสิกฉันท์ เป็นต้น ในปี..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและพุทธจริต · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษามองโกล

กลุ่มภาษามองโกล (Mongolic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเอเชียกลาง มีสมาชิก 13 ภาษา นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มรวมกลุ่มภาษามองโกลเข้ากับกลุ่มภาษาตังกูสิต กลุ่มภาษาเตอร์กิก เป็นตระกูลภาษาอัลไตอิก แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษามองโกเลีย ซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาวมองโกล มีผู้พูด 5.7 ล้านคนในมองโกเลีย รัสเซียและจีน ภาษานิกูดารี ซึ่งเป็นภาษากลุ่มมองโกลที่จัดจำแนกไม่ได้ ยังคงมีผู้พูดราว 100 คนในเฮรัต อัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและกลุ่มภาษามองโกล · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษามองโกลตะวันออก

กลุ่มภาษามองโกลตะวันออก (Eastern Mongolic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเอเชียกลาง ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือภาษามองโกเลียซึ่งเป็นภาษาของชาวมองโกล มีผู้พูดราว 5.7 ล้านคนในมองโกเลีย รัสเซียและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ประเทศจีน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและกลุ่มภาษามองโกลตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาหิมาลัย

กลุ่มภาษาหิมาลัย (Himalayish) เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ภาษาหลักของภาษาในกลุ่มนี้รวมทั้งภาษาทิเบตและภาษาเนวารี มีผู้พูดกลุ่มภาษานี้กระจายทั่วไปในแถบเทือกเขาหิมาลัยทั้งในเนปาล อินเดีย ภูฏาน ทิเบตและส่วนอื่น ๆ ของจีน หมวดหมู่:ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและกลุ่มภาษาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโบดิช

กลุ่มภาษาโบดิช (Bodish languages) มาจากภาษาทิเบต bod ซึ่งเป็นชื่อของภาษาทิเบตในความหมายอย่างกว้าง ซึ่งมาจากการที่กลุ่มผู้พูดภาษาเหล่านี้มักถือว่าตนเป็นชาวทิเบต การแบ่งกลุ่มภาษาโบดิชให้เป็นกลุ่มย่อยมีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ถือว่าภาษาทิเบตแยกต่างหากจากภาษาโบดิชตะวันออก Bradley (1997) ได้ให้กลุ่มภาษาโบดิชรวมถึงกลุ่มภาษาหิมาลัยตะวันตก กลุ่มภาษาซังลา กลุ่มภาษาตามันกิก ทำให้คำว่ากลุ่มภาษาโบดิชมีความหมายเท่ากับกลุ่มภาษาทิเบต-กิเนารีในการแบ่งแบบอื่น ทำให้กลุ่มภาษาโบดิชแยกเป็นสองฝ่ายชัดเจน คือกลุ่มโบดิชตะวันออกกับภาษาทิเบต.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและกลุ่มภาษาโบดิช · ดูเพิ่มเติม »

ญัฮกุร

ญัฮกุร หรือเนียะกุล หรือที่คนไทยเรียกว่า "ชาวบน" ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจนักของชาวญัฮกุร ญัฮกุรคือชุมชนที่ใช้ภาษามอญโบราณ อยู่บนภูเขาแถบแม่น้ำป่าสักในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอจัตุรัส กลุ่มชนดังกล่าวเรียกตนเองว่า “ญัฮกุร” (Nyah-Kur) แปลว่า “คนภูเขา” คนไทยในเมืองเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวบน” ซึ่งพูดภาษาที่คนไทยภาคต่าง ๆ ฟังไม่รู้เรื่อง.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและญัฮกุร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบอนัน

ษาบอนัน (Bonan language; ออกเสียง, Baonang; ภาษาจีน 保安语 Bǎoān) เป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลของชาวบอนันในประเทศจีน เมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาบอนัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบัลติ

ษาบัลติ เป็นภาษาที่ใช้พูดในบัลติสถานทางเหนือของปากีสถานซึ่งเมื่อก่อน..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาบัลติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบูรุศซัสกี

ษาบูรุศซัสกี (Burushaski ภาษาอูรดู: بروشسکی – burū́šaskī) เป็นภาษาโดดเดี่ยวที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษาใดๆในโลก มีผู้พูดราว 87,000 คน (พ.ศ. 2543) โดยชาวบุรุศโศในฮันซา นาคัร ยาซินและบางส่วนของหุบเขากิลกิตในภาคเหนือของปากีสถาน มีผู้พูดราว 300 คนในศรีนคร ประเทศอินเดีย ชื่ออื่นๆของภาษานี้คือ ภาษากันชุต ภาษาเวอร์ชิกวรร ภาษาบูรุศกี และภาษามิยาสกี ปัจจุบัน ภาษาบูรุศซัสกีมีคำยืมจากภาษาอูรดูมาก (รวมทั้งคำยืมจากภาษาอังกฤษและภาษาสันสกฤตที่รับผ่านภาษาอูรดู) และมาจากภาษาเพื่อนบ้านเช่นกลุ่มภาษาดาร์ดิก เช่น ภาษาโคชวาร์และภาษาซีนา และมีบางส่วนมาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิก และจากภาษาบัลติ ภาษาวาคี ภาษาพาซตู แต่ก็มีคำศัพท์ดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก กลุ่มภาษาดาร์ดิกเองก็มีการยิมคำไปจากภาษาบูรุศซัสกี ภาษานี้มีสำเนียงหลักๆ 3 สำเนียงแบ่งตามหุบเขาที่อาศัยอยู่คือ ฮันซา นคร และยาซิน สำเนียงยาซินได้รับอิทธิพลจากภาษาเพื่อนบ้านน้อยที่สุดและต่างจากอีกสองสำเนียงมาก แต่ทั้งสามสำเนียงยังเข้าใจกันได้.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาบูรุศซัสกี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามองโกเลีย

ษามองโกเลีย เป็นภาษาทางการของประเทศมองโกเลีย และเป็นภาษาหลักของชาวมองโกเลียส่วนใหญ่ ซึ่งคนพูดส่วนใหญ่จะพูดแบบคอลคา (Khalkha) นอกจากนี้ ภาษามองโกเลียก็พูดในพื้นที่รอบนอกในบางมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซีย ภาษามองโกเลีย เป็นภาษารูปคำติดต่อคล้ายภาษาตุรกีหรือภาษาฟินน์ มีการเติมปัจจัยที่รากศัพท์ ภาษามองโกเลียมีเพียงสรรพนามบุรุษที่หนึ่งและสอง แต่ไม่มีบุรุษที่สาม แต่ใช้สรรพนามชี้เฉพาะ เช่น นี่ (en) นั่น (ter) นี่ทั้งหลาย (ed nar) และนั่นทั้งหลาย (ted nar) แทน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษามองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามองเกอร์

ษามองเกอร์ (Monguor language; ภาษาจีน: 土族语; พินยิน: Tǔzúyǔ) เป็นกลุ่มภาษามองโกล มีหลายสำเนียง พูดโดยชาวมองเกอร์ มีระบบการเขียนที่พัฒนามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 แต่ปัจจุบันใช้น้อย ภาษานี้แบ่งได้เป็นสองภาษาคือภาษามองคุล (Mongghul) ในเขตปกครองตนเองฮูซูและตู (Huzhu Tu Autonomous County) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาทิเบต และภาษามังเคอร์ (Mangghuer) ในเขตปกครองตนเองมิเญ ฮุยและตู (Minhe Hui and Tu Autonomous County) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาจีน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษามองเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาดัก

ษาลาดัก (ภาษาทิเบต: ལ་དྭགས་སྐད་; La-dwags skad) หรือภาษาโภติหรือที่นักภาษาศาสตร์เรียกว่าภาษาทิเบตโบราณตะวันตก เป็นภาษาหลักของชาวลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีระ และใช้พูดในบัลติสถาน ภาษาลาดักใกล้เคียงกับภาษาทิเบต ชาวลาดักเองก็มีวัฒนธรรมหลายอย่างใกล้ชิดกับชาวทิเบต รวมทั้งนับถือศาสนาพุทธแบบทิเบตด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาลาดักกับภาษาทิเบตกลางไม่สามารถเข้าใจกันได้ แม้ว่าจะมีการเขียนที่ถ่ายทอดมาจากภาษาทิเบตโบราณ มีผู้พูดภาษาลาดักในอินเดีย 200,000 คน และอาจจะมีอีกราว 12,000 คนในทิเบตที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน สำเนียงย่อยหลายสำเนียง ส่วนใหญ่ไม่มีวรรณยุกต์ ยกเว้นสำเนียงสโตตสกัตและสำเนียงลาดักบนที่มีวรรณยุกต์เหมือนภาษาทิเบตกลาง.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาลาดัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลีสู่

ษาลีซอ หรือ ลีสู่ (Lisu)หรือภาษาโยบิน ภาษาเยายิน มีผู้พูดทั้งหมด 723,000 คน พบในจีน 580,000 คน (พ.ศ. 2542) ในจำนวนนี้พูดได้ภาษาเดียว 467,869 คน ในยูนนานตะวันตก พบในอินเดีย 1,000 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐอรุณาจัลประเทศ พบในพม่า 126,000 (พ.ศ. 2530) ในรัฐว้า ชายแดนติดกับรัฐอัสสัมของอินเดียหรือในรัฐฉาน พบในไทย 16,000 คน (พ.ศ. 2536) ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร บางส่วนอพยพมาจากพม่า จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขาพม่า-โลโล สาขาย่อยโลโล มีหลายสำเนียงแต่ความแตกต่างระหว่างสำเนียงมีไม่มาก ในจีนเป็นภาษาที่ใช้ในทางศาสนาคริสต์ การปกครองและในโรงเรียน ส่วนใหญ่พูดภาษาจีนได้ด้วย ในจำนวนนี้มี 150,000 คนสามารถพูดภาษาไป๋ ภาษาทิเบต ภาษาน่าซี ภาษาไทลื้อ หรือภาษาจิงผ่อได้ด้วย เขียนด้วยอักษรโรมัน หรืออักษรฟราเซอร์ เป็นภาษาพูดของชาวลีซอ มีสามสำเนียงคือ หัว ไป่ และลู ใกล้เคียงกับภาษาลาฮูและภาษาอาข่า และมีความสัมพันธ์กับภาษาพม่า ภาษาจิงผ่อ และภาษ.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาลีสู่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิกขิม

ษาสิกขิม หรือ ภาษาภูเตีย เป็นภาษาย่อยของภาษาทิเบตใต้ มีผู้พูดจำนวนหนึ่งในชุมชนภูเตีย ทางภาคเหนือของสิกขิมชื่อเรียกในภาษาของตนเองคือ Dranjongke (Wylie: Bras-ljongs-skad).

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาสิกขิม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาออร์ดอส

ษาออร์ดอส (Ordos หรือ Urdus; ภาษามองโกเลีย: ᠣᠷᠳᠣᠰ; ภาษาจีน: 鄂尔多斯 È'ěrduōsī) เป็นสำเนียงของภาษามองโกเลียที่ใช้พูดในเมืองออร์ดอส ในมองโกเลียใน บางครั้งจัดให้เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษามองโกล หรือจัดให้เป็นสำเนียงของภาษามองโกเลียมาตรฐานทางใต้ ระบบหน่วยเสียงสระของภาษาออร์ดอสในคำขึ้นต้นพยางค์คล้ายกับภาษามองโกเลียจักคาร์ โดยต่างกันที่ใช้ และ แทนที่ และ ในสำเนียงทางใต้ *ɔ จะรวมไปเป็น /ʊ/ เช่น ɔrtɔs กลายเป็น ʊrtʊs ส่วนสำเนียงของภาษามองโกเลียอื่นๆจะรักษาความแตกต่างไว้ได้ ส่วนพยางค์ที่ตามมารวมทั้งคำที่ลงท้ายด้วยพยางค์เปิด มีความคล้ายคลึงกับภาษามองโกเลียกลาง รากศัพท์ของภาษาออร์ดอสเป็นเช่นเดียว กับภาษามองโกเลียอื่นๆ โดยมีคำยืมจากภาษาจีนและภาษาทิเบต.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาออร์ดอส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทิเบตกลาง

ังหวัดในทิเบต ภาษากลุ่มทิเบตกลาง(Central Tibetan languages) เป็นสำเนียงของภาษาทิเบต โดยเป็นกลุ่มของสำเนียงที่มีวรรณยุกต์ของภาษากลุ่มทิเบต ที่ไม่ใช่สำเนียงคาม การแบ่งแยกของภาษากลุ่มนี้ตาม Bradley (1997)ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาทิเบตกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตันกัต

漢合時掌中珠 ภาษาตันกัต หรือภาษาซิเซีย เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าโบราณใช้พูดในจักรวรรดิตันกัต มีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบต ภาษาพม่า และอาจมีความใกล้เคียงกับภาษาจีนด้วย เป็นภาษาราชการในจักรวรรดิตันกัต (ภาษาจีนเรียก ซิเซีย 西夏) ซึ่งเป็นอิสระในสมัยราชวงศ์ซ้องเมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาตันกัต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซองคา

ษาซองคาเป็นภาษาประจำชาติของภูฏาน อยู่ในตระกูลจีน-ทิเบต สาขาทิเบต-พม่า ใกล้เคียงกับภาษาสิกขิมและภาษาอื่นๆของชาวภูฏาน ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสมัยใหม่ เทียบได้กับความแตกต่างระหว่างภาษาสเปนกับภาษาอิตาลี พระในทิเบตและภูฏาน เรียนภาษาทิเบตโบราณเพื่อการอ่านคัมภีร์พุทธศาสนา คำว่าซองคาหมายถึง ภาษา (คา) ที่พูดในวัดที่มีลักษณะเป็นป้อมปราการ (ซอง) ภาษานี้แพร่เข้ามาในภูฏานเมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาซองคา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซาลาร์

ษาซาลาร์เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก พูดโดยชาวซาลาร์ที่อยู่ในมณฑลชิงไห่ และกานซูในประเทศจีน มีอยู่ในเมืองกุลจา (Ghulja) ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ด้วย ชาวซาลาร์มีประมาณ 90,000 คน โดยพูดภาษาซาลาร์ 70,000 คน ที่เหลือพูดภาษาจีน ชาวซาลาร์อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณที่อยู่ปัจจุบันเมื่อราว..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาซาลาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาน่าซี

ษาน่าซีเป็นภาษากลุ่มจีน-ทิเบต มีผู้พูดราว 300,000 คน ในลี่เจียง มณฑลยูนนาน ใน..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาน่าซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาในสตาร์ วอร์ส

alt.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาในสตาร์ วอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไบมา

ษาไบมา (Baima) เป็นภาษาที่มีผู้พูด 11,000 ในกลุ่มของชาวทิเบตในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน นิยมใช้ในกลุ่มของผู้ใหญ่ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา มีเสียงวรรณยุกต์และมีคำยืมจากภาษาทิเบตและภาษาจีน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาไบมา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเลปชา

ษาเลปชา(อักษรเลปชา: ไฟล์:ᰛᰩᰵ་ᰛᰧᰶᰵ.SVG; Róng ríng)เป็นภาษาที่พูดโดยชาวเลปชา ในรัฐสิกขิม อินเดีย รวมทั้งบางส่วนของเนปาลและภูฏาน เขียนด้วยอักษรเลปชา ต้นกำเนิดของอักษรนี้ยังคลุมเครือ เริ่มแรกเขียนในแนวตั้งแบบเดียวกับอักษรจีน จัดเป็นภาษาท้องถิ่นในบริเวณที่ใช้พูด มีผู้พูดราว 50,000 คน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาเลปชา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเจียรง

ภาษาเจียรง (Rgyalrong) เป็นภาษากลุ่มเกวียงอิก มีความใกล้เคียงกับภาษาตันกัต ภาษาเกวียงเหนือและภาษาเกวียงใต้ แต่ถือว่าห่างไกลจากภาษาพม่า ภาษาทิเบตและภาษาจีน มีผู้พูดในมณฑลเสฉวน และในเขตปกครองตนเองทิเบต จีเยรง br:Djiarongeg zh:嘉绒语.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาเจียรง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเนวารี

ษาเนวารี หรือเนปาล ภาษา (नेपाल भाषा, Nepal Bhasa, Newah Bhaye) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งของเนปาล อยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า เป็นภาษาในตระกูลนี้เพียงภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครี พูดโดยชาวเนวาร์ ซึ่งอยู่ในหุบเขากาฏมาณฑุ มีความคล้ายคลึงกับภาษากลุ่มอินโด-อิหร่านด้ว.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและภาษาเนวารี · ดูเพิ่มเติม »

ยมานตกะ

รูปปั้นยมานตกะที่พิพิธภัณฑ์ในอังกฤษ ยมานตกะ (ภาษาทิเบต:གཤིན་རྗེ་གཤེད་ Gshin-rje-gshed) เป็นเทพยิดัมหรือผู้ปกป้องธรรมในภาคดุร้ายองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธในทิเบต แปลว่า ที่ตายของพระยม หรือผู้ทำให้พระยมเกรงกลัว เชื่อกันว่าเป็นภาคดุของพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เพื่อปราบพระยม และอาจสร้างขึ้นเพื่อลดทอนอำนาจของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะไศวนิก.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและยมานตกะ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสิกขิม

รัฐสิกขิม (เทวนาครี: सिक्किम; ภาษาทิเบต: འབྲས་ལྗོངས་; Sikkim) คือรัฐหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน ทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน และทิศใต้ติดต่อกับรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐหนึ่งของอินเดีย แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเกล ด้วยความเป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากร.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและรัฐสิกขิม · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรทิเบต

ราชอาณาจักรทิเบต เป็นรัฐเอกราชโดยพฤตินัยระหว่าง..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและราชอาณาจักรทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษา

รายชื่อภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกเรียงตามลำดับตัวอักษร.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและรายชื่อภาษา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1

ตารางนี้ประกอบด้วยรหัสทั้งหมดของ.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและรายชื่อรหัสภาษา ISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระประมุขทิเบต

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและรายพระนามพระประมุขทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ลาซา

ลาซา เป็นเมืองหลวงของเขตปกครองตนเองทิเบตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองในที่ราบสูงทิเบต รองจากเมืองซีหนิง และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,490 เมตร (11,450 ฟุต) ซึ่งนั่นเองทำให้ลาซากลายเป็นหนึ่งในเมืองที่อยู่สูงที่สุดของโลก ในเมืองประกอบไปด้วยหลายวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะศาสนสถานของศาสนาพุทธ-ทิเบต เช่นพระราชวังโปตาลา หรือ วัดโจคัง หรือ พระราชวังโนร์บูกลิงกา เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและลาซา · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

ระสุภูติกราบทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้าแสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ภาพจากม้วนหนังสือวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรที่พบในถ้ำผาม่อเกา ประเทศจีน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (Diamond Sutra) เป็นชื่อพระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย เสถียร โพธินันท.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดียภาษาทิเบต

ลโก้วิกิพีเดียภาษาทิเบต วิกิพีเดียภาษาทิเบต เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาทิเบต เริ่มสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ปัจจุบันวิกิพีเดียภาษาทิเบตมีบทความมากกว่า 4,000 บทความ (กุมภาพันธ์ 2559).

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและวิกิพีเดียภาษาทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ศัมภลา

Crossman, Sylvie and Jean-Pierre Barou, eds.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและศัมภลา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีทเซนดิน ดองด็อกดูลาม

มเด็จพระราชินีทเซนดิน ดองด็อกดูลาม (Queen Tsendiin Dondogdulam; 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1876 - ค.ศ. 1923) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์สุดท้ายของมองโกเลีย และเป็นพระอัครมเหสีในบอจด์ ข่าน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและสมเด็จพระราชินีทเซนดิน ดองด็อกดูลาม · ดูเพิ่มเติม »

สรวาสติวาท

แนวปฏิบัติของศาสนาพุทธแบบทิเบต โดยธรรมเนียมแล้วยึดถือตามวินัยของนิกายสรวาสติวาท นิกายสรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน คัมภีร์ทีปวงศ์ระบุว่านิกายนี้แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายเถรวาทโดยตรง นิกายนี้แพร่หลายไปทั่วอินเดียภาคกลางและอินเดียภาคเหนือ รวมทั้งแพร่หลายไปสู่เอเชียกลางและจีนด้วย หลักธรรมของนิกายนี้เขียนด้วยภาษาสันสกฤต นิกายนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่านิกายกุชา ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้คือ พระอุปคุตอรหันตเจ้า ผู้ทำการปราบพยามารที่มารบกวนพิธีฉลองเจดีย์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง(อัตตา) พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและสรวาสติวาท · ดูเพิ่มเติม »

สองขะปะ

องขะปะ(ภาษาทิเบต:ཙོང་ཁ་པ་, Tsong-kha-pa) เป็นลามะที่มีบทบาทสำคัญในนิกายเกลุก เกิดเมื่อ พ.ศ. 1900 ที่เมืองสองขะ แคว้นอัมโด รับศีลอุบาสกจากอาจารย์รอลเปดอร์ เจ กรรมะปะองค์ที่ 4 กุงกะนิงโป ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 7 ขวบ ได้ฉายาว่า ลอบซัง ดรักปะ เข้ารับพิธีอภิเษกของเหรุกะ ยมานตกะและเหวัชระ สองขะปะออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้จากอาจารย์นิกายต่างๆ ทั้งเรียนเรื่องจิตตรัสรู้และมหามุทราจากอาจารย์เซนงะ โชกบี เจลโป เรียนการแพทย์จากอาจารย์คอนซ็อก และไปศึกษาพระวินัย ปรากฏการณ์วิทยา การรับรู้ที่ถูกต้อง มาธยมิก คุยหสมาช ที่วัดสักยะ ได้รับถ่ายทอดคำสอนของนโรปะ กาลจักร มหามุทรา มรรควิถีและผล จักรสัมภวะ สองขะปะได้นำความรู้นี้มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นนิกายเกลุก สองขะปะถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 60 พรรษา ท่านได้ยกตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกานเด็นให้เจลซับเจ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสืบทอดผู้นำสายนิกายเกลุก.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและสองขะปะ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพักส์-ปา

อกสารเขียนด้วยอักษรพักส์-ปา อักษรพักส์-ปา (Phags-pa alphabet) กุบไลข่านมอบหมายให้พระลามะจากทิเบตชื่อ มติธวจะ ศรีภัทร (1782 – 1823) ประดิษฐ์อักษรใหม่สำหรับภาษามองโกเลียขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและอักษรพักส์-ปา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรัญชนา

อักษรรัญชนา หรือกูติลา หรือลันต์ซา เป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี เมื่อราว พ.ศ. 1600 และใช้มาจนถึงราว พ.ศ. 2500 ในอินเดียและเนปาล ชาวทิเบตเรียกอักษรนี้ว่าลันต์ซา ใช้เขียนภาษาสันสกฤตก่อนจะแปลเป็นภาษาทิเบต ชาวทิเบตเลิกใช้อักษรนี้เมื่อถูกจีนยึดครอง นอกจากนี้ มีการใช้อักษรนี้ในหมู่ชาวพุทธในจีน มองโกเลีย และญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและอักษรรัญชนา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรทิเบต

ระอักษรทิเบต ในช่วง..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและอักษรทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโซยอมโบ

ตัวอย่างอักษรโซยอมโบแต่ละพยางค์ อักษรโซยอมโบ ประดิษฐ์โดย บอกโด ซานาบาซาร์ พระภิกษุชาวมองโกเลียเมื่อ..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและอักษรโซยอมโบ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเซี่ยจิงจง

ักรพรรดิเซี่ยจิงจง (ค.ศ. 1003–1048) ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและจักรพรรดิเซี่ยจิงจง · ดูเพิ่มเติม »

จาตุมหาราชิกา

วาดจตุโลกบาลหรือจตุมหาราชทั้ง 4 ศิลปะพม่า (จากซ้าย) ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ จาตุมหาราชิกา (Cātummahārājika, จาตุมฺมหาราชิก; Cāturmahārājikakāyika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาพจร (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช หรือ สี่ปวงผี ปกครองอยู่องค์ละทิศ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี) โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีของโลกมนุษย์ คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ 90,000 ปีโลกมนุษย์).

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและจาตุมหาราชิกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะที่ 14

ทนซิน เกียตโซ ทะไลลามะที่ 14 (ภาษาทิเบต: བསྟན་འཛིན་རྒྱ་མཚོ་; Bstan-'dzin Rgya-mtsho; ภาษาจีน: 第十四世达赖喇嘛; His Holiness the 14th Dalai Lama, 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน) คือองค์ทะไลลามะ องค์ที่ 14 แห่งทิเบต เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และเป็นผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบต ถึงแม้ว่าทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ยินยอมก็ตาม พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและทะไลลามะที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบต

ทิเบต (ภาษาทิเบต: བོད་ เป้อ, ภาษาจีน: 西藏 xīzàng ซีจ้าง) เป็นเขตที่ราบสูงในทวีปเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่ของชาวทิเบต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และปัจจุบันมีชาวฮั่นและหุยมาอยู่อาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก ทิเบตเป็นบริเวณที่สูงที่สุดในโลก มีระดับความสูงเฉลี่ย 4,900 เมตร หมวดหมู่:เอเชียกลาง หมวดหมู่:เอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบต (แก้ความกำกวม)

ทิเบต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและทิเบต (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ

วนการทิเบตเอกราชนานาชาติ (International Tibet Independence Movement) เป็นขบวนการที่ก่อตัวขึ้นเพื่อรวมดินแดนทิเบตสามจังหวัดคือ อัมโด คาม และอูจั้งเป็นราชอาณาจักรเอกราช การสนับสนุนขบวนการนี้ในเขตปกครองตนเองทิเบตถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศจีน ขบวนการนี้ได้รับการสนับสนุนจากชาวทิเบตที่ลี้ภัยไปอยู่ทั่วโลก ชาวทิเบตที่ไม่ใช่ชาวพุทธได้ร่วมสนับสนุนขบวนการนี้ด้ว.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและขบวนการทิเบตเอกราชนานาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คำตี่

ำตี่ ขำติ หรือ ชาวไทคำตี่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดกลุ่มหนึ่งในอัสสัม และทางภาคเหนือของประเทศพม่า ในรัฐกะฉิ่น เมืองปูตาโอ แบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไทคำตี่หลวง (ในประเทศพม่า) และ กลุ่มสิงคะลิงคำตี่ (ในประเทศอินเดีย).

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและคำตี่ · ดูเพิ่มเติม »

คุนดุน

นดุน (Kundun) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ กำกับโดยมาร์ติน สกอร์เซซี จากบทภาพยนตร์ของเมลิซซา แมททีสัน ดัดแปลงมาจากเรื่องราวและงานเขียนขององค์ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของทิเบตที่ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังจากถูกรุกรานโดยกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ เทนซิง ทูลอบ ซารง ซึ่งเป็นหลานชายขององค์ทะไลลามะ มารับบทเป็นองค์ทะไลลามะในวัยผู้ใหญ่ ชื่อภาพยนตร์ "คุนดุน" (ทิเบต: སྐུ་མདུན་) แปลว่า "คนปัจจุบัน" มาจากคำสรรพนามที่ชาวทิเบตใช้เรียกทะไลลามะองค์ที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น สืบมาตั้งแต่สมัยทะไลลามะ องค์ที่หนึ่ง โครงการสร้างภาพยนตร์เริ่มต้นจากการที่เมลิซซา แมททีสัน ซึ่งมีชื่อเสียงจากการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง อี.ที. เพื่อนรัก ให้พบกับองค์ทะไลลามะ และทูลขออนุญาตนำชีวประวัติของพระองค์มาสร้างภาพยนตร์ แมททีสันยังเป็นผู้เสนอบริษัทผู้สร้างให้สกอร์เซซีรับเป็นผู้กำกับ ในภาพยนตร์กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและคุนดุน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พูดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง พม่า ทิเบต ภาคเหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฏาน อินเดียและปากีสถาน ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษา ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผู้พูดภาษาทิเบตทุกสำเนียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคนเช่น George van Driem เสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าขึ้นเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนมาเป็นกลุ่มย่อยแทนแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

แผนที่แสดงการแพร่กระจายของภาษากลุ่มจีน-ทิเบต (สีแดง) ตระกูลภาษาจีน – ทิเบต เป็นตระกูลของภาษาที่รวมภาษาจีนและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า มีสมาชิกทั้งสิ้น 250 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาในเอเชียตะวันออกมีจำนวนผู้พูดเป็นอันดับสองของโลกรองจากภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะร่วมกันคือมีเสียงวรรณยุกต.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและตระกูลภาษาจีน-ทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ทิเบต

ทิเบต ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาต.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและประวัติศาสตร์ทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ สกิลลิง

ร.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและปีเตอร์ สกิลลิง · ดูเพิ่มเติม »

แชงกรี-ลา

แชงกรี-ลา (Shangri-La) เป็นดินแดนสมมุติที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง Lost Horizon ฉบับภาษาไทยใช้ชื่อว่า "ลับฟ้าปลายฝัน" ของเจมส์ ฮิลตัน นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933 ฮิลตันพรรณนาว่าแชงกรี-ลาเป็นดินแดนลึกลับอยู่ในเทือกเขาสูงชันทอดยาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาคุนลุน ในนวนิยายกล่าวว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่ล้วนมีชีวิตยืนยาว มีความสุข อาจกล่าวได้ว่าสถานที่นี้เปรียบเหมือนสวรรค์บนดิน ชื่อ แชงกรี-ลา มาจากภาษาทิเบต ཞང་(Shang) + རི (ri) + ལ (La) มีความหมายว่า "Shang Mountain Pass" (ช่องเขาฉาง) มาจากชื่อจังหวัด Ü-Tsang ทางเหนือของวัดจ๋าสือหลุนปู้ (Tashilhunpo Monastery) ในทิเบต" นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่า แชงกรี-ลา คือ ศัมภาล นครในตำนานพุทธศาสนาแบบทิเบต.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและแชงกรี-ลา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพรหมบุตร

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต แม่น้ำพรหมบุตร มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและแม่น้ำพรหมบุตร · ดูเพิ่มเติม »

โมโม (อาหาร)

มโม (མོག་མོག་; Wylie: mog mog) เป็นเกี๊ยวหรือขนมจีบที่มีต้นกำเนิดในทิเบต กลายเป็นอาหารประจำชาติของชาวเนวาร์ ชาวเชอร์ปา ชาวลิมบู Gurungs และ Magars ของเนปาลและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ของประเทศเนปาล คล้ายกับ buuz ของมองโกเลียและ jiaozi ของจีน คำว่า "โมโม" ในภาษาทิเบตเป็นคำยืมจากภาษาจีน mómo (馍馍).

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและโมโม (อาหาร) · ดูเพิ่มเติม »

เยติ

รคดี เยติ หรือ มนุษย์หิมะ (เนปาลี: हिममानव himamānav, คำแปล "มนุษย์หิมะ") เป็นชื่อที่ใช้เรียกสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ในความเชื่อของชาวเชอร์ปา ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล, ภูฏาน, ธิเบต, จีน จนถึงบางพื้นที่ในมองโกเลียและรัสเซีย โดยเชื่อว่าเยติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 5–8 ฟุต น้ำหนักประมาณ 600 ปอนด์ ที่คล้ายมนุษย์ผสมกับลิงไม่มีหางคล้าย กอริลลา มีขนยาวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำหรือสีเทาหรือเทาเข้มปกคลุมทั้งลำตัว ยกเว้นใบหน้าที่มีสีคล้ำ มีเสียงร้องที่น่าสะพรึงกลัว โดยปรกติแล้ว เยติเป็นสัตว์ที่มีนิสัยสงบเสงี่ยม แต่อาจดุร้ายโจมตีใส่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง เช่น จามรี ได้ในบางครั้ง เยติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเชอร์ปามาอย่างช้านาน โดยถูกกล่าวถึงในนิทานและเพลงพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานต่อกันมาถึงผู้ที่เคยพบมัน นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในศิลปะของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบธิเบต โดยปรากฏเป็นภาพในพรมธิเบตที่แขวนไว้ที่ฝาผนังเหมือนจิตรกรรมฝาผนังในวัดลามะอายุกว่า 400 ปี เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตประหลาดอย่างหนึ่งที่ขนดกอยู่ด้านมุมภาพและในมือถือกะโหลกมนุษย์อยู่ และปัจจุบันนี้ ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหนังหัวของเยติถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดลามะแห่งหนึ่งในคุมจุง ซึ่งนับว่าเยติเป็นสัตว์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงยาวนานกว่าสัตว์ประหลาดที่มีลักษณะคล้ายกันชนิดอื่นที่พบในอีกซีกโลก เช่น บิ๊กฟุต หรือ ซาสควาทช์ ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยาวี ในทวีปออสเตรเลีย หรืออัลมาส์ ในเอเชียกลาง หากแต่หลักฐานเกี่ยวกับเยติเมื่อเทียบกับบิ๊กฟุตแล้วพบน้อยกว่ามาก แต่มีหลายกรณีที่บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์ที่ดุร้าย ก้าวร้าวกว่ามาก นอกจากคำว่าเยติแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่เรียกเยติ เช่น เธลม่า (Thelma), แปลว่า "ชายตัวเล็ก" เชื่อว่ามีนิสัยรักสงบ ชอบสะสมกิ่งไม้และชอบร้องเพลงขณะที่เดินไป, ดซูท์เทห์ (Dzuteh) เป็นเยติขนาดใหญ่ มีขนหยาบกร้านรุงรัง มีนิสัยดุร้ายชอบโจมตีใส่มนุษย์, มิห์เทห์ (Mith-teh) มีนิสัยคล้ายดซูท์เทห์ คือ ดุร้าย มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ, เมียกา (Mirka) แปลว่า "คนป่า" เชื่อว่าหากมันพบเห็นสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ มันจะทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, คัง แอดมี (Kang Admi) แปลว่า "มนุษย์หิมะ" และ โจบราน (JoBran) แปลว่า "ตัวกินคน" ขณะที่ในภูฏานเรียกว่า มิกอย (Migoi) หรือ นากอย (Nagoi) ส่วนชื่อ มนุษย์หิมะ นั้น ปรากฎขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1921 เมื่อนักสำรวจชาวตะวันตกซึ่งเป็นผู้ที่ถ่ายภาพรอยเท้าของเยติไว้ได้เป็นภาพแรก เจอกับปัญหาการแปลภาษาเชอร์ปา ซึ่งมาจากคำว่า "ดซูท์เทห์" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ตัวเหม็นแห่งหิมะ" ซึ่งเขาได้เขียนลงในบันทึกในฐานที่พักว่า "มนุษย์ตัวเหม็นน่ารังเกียจแห่งหิมะ" ที่ภูฏาน ชาวพื้นเมืองต่างเชื่อว่าเยติมีจริง หลายคนเคยได้พบเจอตัวหรือได้ยินเสียงของเยติ โดยกล่าวว่าเยติเป็นสัตว์ดุร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ได้ มีรูปร่างสูงใหญ่ มีพละกำลังมาก มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วร่างรวมถึงมีใบหน้าคล้ายลิง มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคม เสียงร้องของเยติเป็นเสียงสูง เยติอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือในป่าลึก ออกหากินในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่น ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้ขัดสานกันเหมือนเตียงนอน และเชื่อว่าหากผู้ใดต้องการพบเห็นตัวเยติต้องทำร่างกายให้สกปรก หากเนื้อตัวสะอาดก็จะไม่ได้พบเยติ มีรายงานการพบเห็นเยติเป็นจำนวนมากทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสากเต็ง ในเขตตราชิกัง เรเน เดอ มีล์วีลล์ นักปีนเขาชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 เรื่องราวของเยติที่โจมตีใส่มนุษย์นั้น ได้ถูกทำเป็นรายงานส่งไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งปากคำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบันทึกโดยอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ทำงานในเนปาล โดยผู้ถูกทำร้ายเป็น เด็กหญิงชาวเชอร์ปาคนหนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเยติ · ดูเพิ่มเติม »

เรทิงรินโปเช

รทิงรินโปเช องค์ที่ห้า ในปี 1938 เรทิงรินโปเช (ทิเบต: རྭ་སྒྲེང་རིན་པོ་ཆེ, rwa-sgreng rin-po-che, พินอิน: Razheng) เป็นตำแหน่งของเจ้าอาวาสวัดเรทิง ในตำบลลุนชุบ มณฑลลาซา ทางตอนกลางของทิเบต ซึ่งเป็นโรงเรียนสงฆ์สำคัญของพุทธศาสนานิกายเกลุก ตำแหน่งนี้สถาปนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามประวัติศาสตร์ เรทิงรินโปเชจะเป็นผู้สรรหาองค์ทะไลลามะองค์ใหม่หลังจากองค์เดิมสิ้นพระชนม์ โดยจะใช้นิมิตตรวจดูว่าเด็กคนใดที่เป็นทะไลลามะองค์เดิมกลับชาติมาเกิดใหม่ ปัจจุบันมีผู้สืบตำแหน่งเรทิงรินโปเชมาแล้ว 7 รูป โดยเรทิงรินโปเชรูปที่ 6 ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ว่าเป็นผู้ใด ระหว่างรูปที่ได้รับการสถาปนาโดยรัฐบาลทิเบตภายใต้การครอบงำของรัฐบาลจีน กับรูปที่ได้รับการสถาปนาโดยทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ ซึ่งลี้ภัยอยู่ในอินเดี.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเรทิงรินโปเช · ดูเพิ่มเติม »

เหรุกะ

หรุกะเป็นยิดัมองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธในทิเบต อยู่ในกลุ่มวัชรโคตร ถือเป็นภาคดุร้ายของพระอักโษภยะพุทธะ รูปลักษณ์โดยทั่วไป มีกายสีน้ำเงิน มีสองแขน ถือคทาและกะโหลกบรรจุเลือด ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความตาย อิตถีภาวะของท่านคือฑากิณี หรือคานโดรในภาษาทิเบต ซึ่งมีที่มาจากยักษ์และมารร้ายก่อนการนับถือพุทธศาสนา เหรุกะและฑากิณีมีหลายองค์แต่เรียกรวมกันว่าเหรุกะ รูปปั้นของท่านมักทำเป็นรูปสวมกอดศักติหรือยับยุม อีกภาคของเหรุกะคือเหวัชร.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเหรุกะ · ดูเพิ่มเติม »

เหวัชระ

หวัชระและไนราตมยะ ล้อมรอบด้วยฑากิณี 8 ตน เหวัชระ (ภาษาทิเบต: ཀྱེའི་རྡོ་རྗེ་ kye'i rdo rje / kye rdo rje; ภาษาจีน: 喜金刚 Xǐ jīngāng) เป็นอีกภาคหนึ่งของเหรุกะ ที่สะท้อนถึงจิตใจด้านดีงามต่างจากเหรุกะที่สะท้อนจิตใจด้านชั่วร้าย ถือเป็นยิดัมเช่นกัน อิตถีภาวะของเหวัชระเรียกว่าวัชรโยคินีหรือไนราตมยะ ซึ่งบ่งถึงสุญตาหรือความไร้ตัวตน รูปปั้นของเหวัชระมีกายสีน้ำเงิน แปดเศียร สี่ขา สิบหกกร ถือถ้วยรูปหัวกะโหลกที่บรรจุรูปพระธยานิพุทธะหรือเทพต่างๆ รวมถึงสัญลักษณ์ของพุทธะและเทพเหล่านั้น.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเหวัชระ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายต็อก-โอชิริน นามนานซือเหริน

ต็อก-โอชิริน นามนานซือเหริน (มองโกเลีย: Төгс-Очирын Намнансүрэн; จีน: 那木囊蘇倫; ทิเบต: རྣམ་སྣང་སྲུང་།; ค.ศ. 1878 - เมษายน ค.ศ. 1919) ตำแหน่งเต็มคือ เซนโนโยนข่าน นามนานซือเหริน (Сайн ноён хан Намнансүрэн, Good Noyan Khan Namnansuren) เป็นเจ้าชายผู้สืบทอดตำแหน่งมาตั้งแต่โบราณของมองโกลและทรงอำนาจมาก และเป็นผู้ที่มีความโดดเด่นในช่วงยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของมองโกเลีย พระองค์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของราชอาณาจักรมองโกเลียในคณะรัฐบาลของพระมหากษัตริย์ซึ่งก็คือ บอจด์ ข่าน ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเจ้าชายต็อก-โอชิริน นามนานซือเหริน · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลเสวี่ยตุ้น

ทศกาลเสวี่ยตุ้น หรือ เทศกาลนมเปรี้ยว (Shoton Festival หรือ Yoghurt Festival; เสวี่ยตุ้น ในภาษาทิเบต แปลว่า งานเลี้ยงนมเปรี้ยว) เป็นเทศกาลของชาวทิเบต จัดขึ้นที่เมืองลาซาช่วงวันที่ 12-18 สิงหาคม ของทุกปี เริ่มมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 11 โดยประกอบไปด้วยด้วยพิธีการคลี่ภาพพระบฏ การดูละครทิเบตและการเดินชมสวน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเทศกาลเสวี่ยตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

เทนซิง นอร์เก

อนุสาวรีย์ของเทียนซิง นอร์เก เทนซิง นอร์เก (ทิเบต: བསྟན་འཛིན་ནོར་རྒྱས།, เนปาล: तेन्जिङ नोर्गे शेर्पा, อังกฤษ: Tenzing Norgay) เกิดในปี พ.ศ. 2457 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เป็นนักปีนเขาชาวเชอร์ปา (เนปาล) โดยเทนซิง นอร์เก และเอดมันด์ ฮิลลารี เป็น 2 คนแรกที่สามารถปีกถึงยอดของยอดเขาเอเวอเรสต์ได้สำเร็จ (ทั้งสองถึงยอดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2496) เทนซิง นอร์เก เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2529.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเทนซิง นอร์เก · ดูเพิ่มเติม »

เขาไกรลาส

กรลาส แผนที่แสดงที่ตั้ง เขาไกรลาส (कैलास ไกลาส; ทิเบต: གངས་རིན་པོ་ཆེ; 冈仁波齐峰; พินอิน: Gāngrénbōqí fēng) เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ มีความสูง 22,020 ฟุต จัดว่าเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย เป็นยอดเขาที่มีอายุกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี ในศาสนาฮินดูเชื่อว่าเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะ ในศาสนาพุทธมีคัมภีร์สารัตถปกาสินีระบุว่าเขาไกรลาสเป็นเขาที่ประเสริฐสุดในบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์ และยังปรากฏในศาสนาเชนและศาสนาบอนด้วย ตามความเชื่อของศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ เขาไกรลาสเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเชื่อว่า คือแห่งเดียวกันกับเขาพระสุเมรุ เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ "ทะเลสาบมานสโรวระ" หรือ "ทะเลสาบมานัสสะ" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ "สระอโนดาต" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ" เขาไกรลาส ปกติจะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งสีขาวโพลน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ภูเขาสีเงิน" ("ไกรลาส" หรือ "ไกลาส" เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "สีเงินยวง") ทุกปีจะมีผู้จารึกแสวงบุญตามศาสนาต่าง ๆ เดินทางมาที่นี่ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ โดยทำการประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูง.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเขาไกรลาส · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศจีน

ตการปกครองของจีน เขตการปกครองของจีน มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ มณฑล อำเภอ และ ตำบล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มมาอีก 2 ระดับ คือ จังหวัด และ หมู่บ้าน ซึ่งถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ไห่เป่ย์

ตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ไห่เป่ย์ (Haibei Tibetan Autonomous Prefecture) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน มีเนื้อที่ 39,354 ตารางกิโลเมตร (15,195 ตารางไมล์) และเป็นที่ตั้งของเทศมณฑลไห่หยั่น.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ไห่เป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ISO 639-2

ISO 639-2 เป็นส่วนที่สองของมาตรฐาน ISO 639 ที่จะใช้รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนภาษาต่างๆ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ประกอบด้วย กลุ่มของตัวอักษร 3 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แทนชื่อของภาษาที่ใช้ใน งานบรรณาณุกรม (bibliographic applications) และกลุ่มที่สองใช้ใน งานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ (terminology applications) รหัสที่ใช้แทนภาษาของทั้งสองกลุ่มเหมือนกันยกเว้นเพียง 23 ภาษา จากภาษาทั้งหมดมากกว่า 450 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขในการสร้างรหัสนั้น การใช้รหัสแทนภาษามาตรฐานนี้เริ่มต้นมาจากการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด การให้บริการข้อมูลต่างๆ ตลอดจนงานพิมพ์ ที่ต้องใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รหัสเหล่านี้ได้มีการใช้แพร่หลายในกลุ่มงานห้องสมุด และต่อมาได้มีการปรับนำมาใช้โดยกลุ่มของนักภาษาศาสตร์ และในกลุ่มงานที่ต้องการคำนิยามเฉพาะ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากความต้องการใช้ภาษานั้นๆที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่รวมถึงโปรแกรมภาษาလိၵ်ႈတၢႆးလိၵ်ႈထ.

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและISO 639-2 · ดูเพิ่มเติม »

7 ปี โลกไม่มีวันลืม

ซเวนเยียร์สอินทิเบต (Seven Years in Tibet) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสืออัตชีวประวัติของไฮน์ริค ฮาร์เรอร์ นักไต่เขาชาวออสเตรียที่ใช้ชีวิตอยู่ในทิเบตระหว่างปี..

ใหม่!!: ภาษาทิเบตและ7 ปี โลกไม่มีวันลืม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »