โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)

ดัชนี ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนเต็มใด ๆ จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจำนวนนั้นเป็นพหุคูณของ 2 มันจะเป็นจำนวนคู่ มิฉะนั้น มันจะเป็นจำนวนคี่ ตัวอย่างของจำนวนคู่ เช่น -4, 8, 0 และ 70 ตัวอย่างของจำนวนคี่ เช่น -5, 1 และ 71 เลข 0 เป็นจำนวนคู่ เพราะ 0.

28 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดานฟังก์ชันจำนวนเต็มใกล้สุดฟังก์ชันแกมมาการพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์การปัดเศษภาวะคู่หรือคี่ภาวะคู่หรือคี่ของ 0ภาวะแตกต่างภาวะเชิงการนับภาวะเชิงอันดับที่มัธยฐานรหัสเที่ยวบินระบบพิกัดเชิงขั้วริง (คณิตศาสตร์)ลูกเต๋าส่วนเติมเต็มหอคอยฮานอยจำนวนข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาคตัวหารแฟกทอเรียลแพริตีบิตเมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลางเมทริกซ์สมมาตรเสมือนเมทริกซ์แลกเปลี่ยน011 − 2 + 3 − 4 + · · ·

ฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดาน

กราฟของฟังก์ชันพื้น กราฟของฟังก์ชันเพดาน ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟังก์ชันพื้น (floor function) คือฟังก์ชันที่จับคู่จำนวนจริงไปยังจำนวนเต็มที่อยู่ก่อนหน้า นั่นคือ floor (x) เป็นจำนวนเต็มมากที่สุดที่ไม่มากกว่า x ส่วน ฟังก์ชันเพดาน (ceiling function) คือฟังก์ชันที่จับคู่จำนวนจริงไปยังจำนวนเต็มที่อยู่ถัดจากจำนวนนั้น นั่นคือ ceiling (x) คือจำนวนเต็มน้อยที่สุดที่ไม่น้อยกว่า x กราฟของฟังก์ชันพื้นและเพดานทั้งหมด มีลักษณะคล้ายฟังก์ชันขั้นบันได แต่ไม่ใช่ฟังก์ชันขั้นบันได เนื่องจากมีช่วงบนแกน x เป็นจำนวนอนันต.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดาน · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันจำนวนเต็มใกล้สุด

กราฟของฟังก์ชันจำนวนเต็มใกล้สุด ฟังก์ชันจำนวนเต็มใกล้สุด (nearest integer function) คือฟังก์ชันที่ให้ค่าจำนวนเต็มสำหรับจำนวนจริง x ใด ๆ เขียนสัญกรณ์แทนได้หลายอย่างเช่น, ||x||, ⌊x⌉, nint (x), หรือ round (x) เป็นต้น และเพื่อไม่ให้เกิดความกำกวมเมื่อดำเนินการบนจำนวนเต็มครึ่ง (จำนวนเต็มที่บวก 0.5) ฟังก์ชันนี้จึงนิยามให้มีค่าไปยังจำนวนคู่ที่ใกล้เคียงที่สุด ตัวอย่างในกรณีนี้เช่น.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และฟังก์ชันจำนวนเต็มใกล้สุด · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันแกมมา

กราฟของฟังก์ชันแกมมาบนระนาบจำนวนจริง ฟังก์ชันแกมมา (Gamma function, G ตัวใหญ่) เป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เป็นส่วนขยายของฟังก์ชันแฟกทอเรียลบนจำนวนเชิงซ้อน หรือสามารถกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ฟังก์ชันแกมมาเป็นการเติมเต็มฟังก์ชันแฟกทอเรียลของค่า n ที่ไม่ใช่จำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ สำหรับจำนวนเชิงซ้อน z ซึ่งส่วนจริงเป็นค่าบวก ได้นิยามไว้ว่า นิยามดังกล่าวทำให้ผลลัพธ์สามารถขยายไปได้ถึงระนาบจำนวนเชิงซ้อน ยกเว้นเมื่อส่วนจริงเป็นจำนวนเต็มลบ สำหรับกรณีถ้า z มีค่าเป็นจำนวนเต็มบวก จะได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชันแฟกทอเรียล ฟังก์ชันแกมมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการกระจายและความน่าจะเป็นหลากหลายฟังก์ชัน นั่นหมายความว่าฟังก์ชันนี้นำไปใช้ได้ในเรื่องของความน่าจะเป็นและสถิต.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และฟังก์ชันแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

การพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์

ในคณิตศาสตร์ การพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Proof) คือการแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากประพจน์ (หรือในบางกรณีเป็นสัจพจน์) บางอย่างเป็นจริงแล้ว ประพจน์ทางคณิตศาสตร์เป็นผลจากสมมุติฐานดังกล่าวที่จะต้องเป็นจริงด้วยCupillari, Antonella.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และการพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การปัดเศษ

การปัดเศษ หรือ การปัดเลข หมายถึงการลดทอนเลขนัยสำคัญของจำนวนจำนวนหนึ่ง ผลที่ได้จากการปัดเศษจะได้จำนวนที่มีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ลดน้อยลง และทำให้ความแม่นยำลดลง แต่สามารถนำไปใช้ต่อได้สะดวกยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น 73 สามารถปัดเศษในหลักสิบได้ใกล้เคียงที่สุดเป็น 70 เพราะว่า 73 มีค่าใกล้เคียง 70 มากกว่า 80 อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ในการปัดเศษอาจมีวิธีแตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และการปัดเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะคู่หรือคี่

วะคู่หรือคี่ (parity) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และภาวะคู่หรือคี่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะคู่หรือคี่ของ 0

ตราชั่งนี้มีวัตถุ 0 วัตถุ แบ่งเป็นสองข้างเท่ากัน 0 (ศูนย์) เป็นจำนวนคู่ กล่าวได้อีกอย่างคือ ภาวะคู่หรือคี่ของ 0 เป็นคู่ วิธีพิสูจน์ว่า 0 เป็นคู่ง่ายที่สุดคือตรวจสอบว่า 0 เข้ากับนิยามของ "คู่" หรือไม่ โดย 0 เป็นพหุคูณของ 2 คือ 0 × 2 ผลคือ ศูนย์มีคุณสมบัติทั้งหมดอันเป็นลักษณะของจำนวนคู่ ตัวอย่างเช่น 0 มีจำนวนคี่ที่มากกว่าและน้อยกว่าขนาบ, 0+x มีภาวะคู่หรือคี่เหมือน x และเซตของวัตถุ 0 วัตถุสามารถแบ่งได้เป็นสองเซตเท่า ๆ กัน 0 ยังเข้ากับแบบรูปที่จำนวนคู่อื่นมี กฎเลขคณิตภาวะคู่หรือคี่ เช่น คู่ − คู.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และภาวะคู่หรือคี่ของ 0 · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะแตกต่าง

แอปเปิลเขียวและแอปเปิลแดง มีภาวะแตกต่างในเรื่องสีสัน ภาวะแตกต่าง หมายถึง ภาวะที่สิ่งใดๆ สองสิ่งหรือมากกว่า ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน ในทางคณิตศาสตร์ สิ่งใดๆ จะเกิดภาวะแตกต่าง ก็ต่อเมื่อสิ่งเหล่านั้นไม่เท่ากัน.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และภาวะแตกต่าง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเชิงการนับ

ในทางคณิตศาสตร์ ภาวะเชิงการนับ ของเซต (cardinality) คือการวัดปริมาณว่ามีสมาชิกจำนวนเท่าไรในเซต ตัวอย่างเช่น เซต A.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และภาวะเชิงการนับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเชิงอันดับที่

ในทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะกับทฤษฎีเซต เซตอันดับสองเซต X, Y จะกล่าวว่ามี ภาวะเชิงอันดับที่ (order type, ordinality) เท่ากัน ก็ต่อเมื่อเซตทั้งสองสมสัณฐานเชิงอันดับ (order isomorphic) นั่นคือ มีฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง (bijection) f: X → Y อย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชัน ที่ทั้ง f และ f −1 เป็นฟังก์ชันทางเดียว (monotone function) (ยังคงเรียงตามลำดับ) ตัวอย่างเช่น เซตของจำนวนเต็มและเซตของจำนวนคู่ มีภาวะเชิงอันดับที่เท่ากัน เพราะว่าการจับคู่ n ↦ 2n ยังคงเรียงตามลำดับ แต่เซตของจำนวนเต็มกับเซตของจำนวนตรรกยะไม่สมสัณฐานเชิงอันดับ ถึงแม้ว่าจะมีขนาดเท่ากัน เพราะไม่มีการจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงที่ยังคงเรียงตามลำดับระหว่างสองเซตนั้น อันเนื่องจากความเทียบเท่าเชิงอันดับเป็นความสัมพันธ์สมมูล (equivalence relation) มันจึงแบ่งคลาสของเซตทั้งหมด ให้เป็นคลาสที่สมมูลกันหลายคล.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และภาวะเชิงอันดับที่ · ดูเพิ่มเติม »

มัธยฐาน

ในทฤษฎีความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์ มัธยฐาน (median) คือการวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลางชนิดหนึ่ง ที่ใช้อธิบายจำนวนหนึ่งจำนวนที่แบ่งข้อมูลตัวอย่าง หรือประชากร หรือการแจกแจงความน่าจะเป็น ออกเป็นครึ่งส่วนบนกับครึ่งส่วนล่าง มัธยฐานของรายการข้อมูลขนาดจำกัด สามารถหาได้โดยการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปมาก (หรือมากไปน้อยก็ได้) แล้วถือเอาตัวเลขที่อยู่ตรงกลางเป็นค่ามัธยฐาน ถ้าหากจำนวนสิ่งที่สังเกตการณ์เป็นจำนวนคู่ ทำให้ค่าที่อยู่ตรงกลางมีสองค่า ดังนั้นเรามักจะหามัชฌิม (mean) ของสองจำนวนนั้นเพื่อให้ได้มัธยฐานเพียงหนึ่งเดียว.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และมัธยฐาน · ดูเพิ่มเติม »

รหัสเที่ยวบิน

รหัสเที่ยวบินบน ป้ายแสดงผลแบบพับ ภายในสนามบินแฟรงเฟิร์ต รหัสเที่ยวบิน (อังกฤษ: flight number) ประกอบไปด้วยรหัสของสายการบินและเลขเที่ยวบิน เพื่อที่จะแสดงถึงเที่ยวบินนั้นโดยเฉพาะ รหัสเที่ยวบินไม่ควรที่จะเกี่ยวข้องกับ รหัสประจำเครื่องบินใช้เป็นสัญญาณเรียกขานในการบิน ในรหัสเที่ยวบินหนึ่งอาจบินหลายเที่ยวบินในหนึ่งวัน และรหัสเที่ยวบินหนึ่งอาจใช้กับเครื่องบินหลายลำ.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และรหัสเที่ยวบิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัดเชิงขั้ว

ในระบบพิกัดเชิงขั้วกับขั้ว ''O'' และแกนเชิงขั้ว ''L'' ในเส้นสีเขียว จุดกับพิกัดรัศมี 3 และพิกัดมุม 60 องศาหรือ (3,60°) ในเส้นสีฟ้า จุด (4,210°) ในทางคณิตศาสตร์ ระบบพิกัดเชิงขั้ว (polar coordinate system) คือระบบค่าพิกัดสองมิติในแต่ละจุดบนระนาบถูกกำหนดโดยระยะทางจากจุดตรึงและมุมจากทิศทางตรึง จุดตรึง (เหมือนจุดกำเนิดของระบบพิกัดคาร์ทีเซียน) เรียกว่าขั้ว, และลากรังสีจากขั้วเข้ากับทิศทางตรึงคือแกนเชิงขั้ว ระยะทางจากขั้วเรียกว่าพิกัดรัศมีหรือรัศมี และมุมคือพิกัดมุม, มุมเชิงขั้ว, หรือมุมท.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และระบบพิกัดเชิงขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

ริง (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ ริง (ring) หมายถึงโครงสร้างเชิงพีชคณิตประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ทางพีชคณิตของจำนวนเต็ม ริงหนึ่งๆ มีการดำเนินการสองชนิดที่มักเรียกว่า การบวก กับ การคูณ ต่างกับกรุป (group) ที่มีการดำเนินการเพียงชนิดเดียว สาขาหนึ่งของพีชคณิตนามธรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับริง เรียกว่า ทฤษฎีริง.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และริง (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ลูกเต๋า

ลูกเต๋าธรรมดาสี่ลูก จัดวางให้เห็นหน้าที่แตกต่างกันทั้งหกหน้า ลูกเต๋า(douse)เป็นวัตถุทรงลูกบาศก์หรือทรงเรขาคณิตอื่นๆ ซึ่งแต่ละด้านกำกับด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสุ่ม สำหรับเกมต่างๆ ทั้งที่เป็นเกมการพนันในกาสิโนหรือบ่อนการพนัน เช่น แครปส์ ไฮโล และเกมที่ไม่ใช่การพนัน โดยเฉพาะเกมกระดาน เช่น แบ็กแกมมอน งูตกบันได ลูกเต๋าธรรมดา เป็นลูกบาศก์ ขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร แต่ละด้านของลูกเต๋า (เรียกว่า หน้า) จะระบุตัวเลข แสดงเป็นจุดจำนวนต่าง ๆ กันตั้งแต่ 1 ถึง 6 เมื่อต้องการสุ่มตัวเลข ผู้ใช้จะโยนลูกเต๋าไปบนพื้นราบให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้ง (เรียกว่า ทอยลูกเต๋า หรือ ทอดลูกเต๋า) หรือใช้วิธีการอื่นใด เพื่อให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้งก็ได้ เมื่อลูกเต๋าหยุดหมุนหรือกลิ้งแล้ว ถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือตัวเลขที่อยู่บนด้านบนสุดของลูกเต๋า เช่น หากทอยลูกเต๋าแล้ว หน้าที่แสดงเลข 4 อยู่บนสุด ถือว่าสุ่มได้เลข 4 หรืออาจเรียกว่า ออกเลข 4 ก็ได้ ในบางเกมจะใช้ลูกเต๋ามากกว่า 1 ลูก โยนพร้อมกัน แล้วถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือผลรวมของเลขที่ออกทั้งหมด หากใช้ลูกเต๋าธรรมดาลูกเดียว ตัวเลข 1 ถึง 6 จะมีความน่าจะเป็นที่จะถูกสุ่มขึ้นมาได้เท่า ๆ กัน หากต้องการสุ่มสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเลข 1 ถึง 6 อาจใช้ลูกเต๋าชนิดอื่น ที่มีจำนวนหน้าหรือสัญลักษณ์แตกต่างจากลูกเต๋าธรรมดา และหากต้องการให้ความน่าจะเป็นที่ออกแต่ละหน้าไม่เท่ากัน อาจใช้ลูกเต๋าถ่วง ซึ่งโดยปกติแล้วการใช้ลูกเต๋าถ่วงถือเป็นการโกงอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และลูกเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนเติมเต็ม

วนเติมเต็ม หรือ คอมพลีเมนต์ (complement) คือแนวคิดหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบเซต เพื่อที่จะให้ทราบว่า เมื่อเซตหนึ่งสัมพันธ์กับอีกเซตหนึ่ง มีสมาชิกใดบ้างที่อยู่ภายใต้เซตเพียงเซตเดียว แบ่งออกตามการใช้งานเป็น ส่วนเติมเต็มสัมบูรณ์ (absolute complement) กับ ส่วนเติมเต็มสัมพัทธ์ (relative complement) ซึ่งแนวคิดแรกหมายถึงส่วนเติมเต็มที่เกี่ยวข้องกับเอกภพสัมพัทธ์ (universal set) ส่วนแนวคิดหลังเกี่ยวข้องกับเซตตัวอื่น.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และส่วนเติมเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยฮานอย

องเล่น หอคอยแห่งฮานอย หอคอยแห่งฮานอย หรือ ทาวเวอร์ออฟฮานอย (Tower of Hanoi) เป็นเกมคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยหมุด 3 แท่ง และ จานกลมแบนขนาดต่างๆ ซึ่งมีรูตรงกลางสำหรับให้หมุดลอด เกมเริ่มจากจานทั้งหมดวางอยู่ที่หมุดเดียวกัน โดยเรียงตามขนาดจากใหญ่ที่สุดอยู่ทางด้านล่าง จนถึงจานขนาดเล็กที่สุดอยู่ด้านบนสุด เป็นลักษณะกรวยคว่ำตามรูป เป้าหมายของเกมคือ พยายามย้ายกองจานทั้งหมดไปไว้ที่อีกหมุดหนึ่ง โดยการเคลื่อนย้ายจานจะต้องเป็นไปตามกติกาคือ.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และหอคอยฮานอย · ดูเพิ่มเติม »

จำนวน

ำนวน (number) คือวัตถุนามธรรมที่ใช้สำหรับอธิบายปริมาณ จำนวนมีหลายแบบ จำนวนที่เป็นที่คุ้นเคยก็คือ.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และจำนวน · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาค

ในคณิตศาสตร์ ข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาค (Goldbach's conjecture) เป็นหนึ่งในปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดในทฤษฎีจำนวน และในคณิตศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า ตัวอย่างเช่น 4.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และข้อความคาดการณ์ของโกลด์บาค · ดูเพิ่มเติม »

ตัวหาร

ในคณิตศาสตร์ ตัวหาร (divisor) ของจำนวนเต็ม n หรือเรียกว่า ตัวประกอบ (factor) ของ n คือจำนวนเต็มที่หาร n ไvด้โดยไม่มีเศษเหลือ.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และตัวหาร · ดูเพิ่มเติม »

แฟกทอเรียล

ในทางคณิตศาสตร์ แฟกทอเรียล (factorial) ของจำนวนเต็มไม่เป็นลบ n คือผลคูณของจำนวนเต็มบวกทั้งหมดที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ n เขียนแทนด้วย n! (อ่านว่า n แฟกทอเรียล) ตัวอย่างเช่น สำหรับค่าของ 0! ถูกกำหนดให้เท่ากับ 1 ตามหลักการของผลคูณว่าง การดำเนินการแฟกทอเรียลพบได้ในคณิตศาสตร์สาขา ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณิตศาสตร์เชิงการจัด พีชคณิต และคณิตวิเคราะห์ การพบเห็นโดยพื้นฐานที่สุดคือข้อเท็จจริงที่ว่า การจัดลำดับวัตถุที่แตกต่างกัน n สิ่งสามารถทำได้ n! วิธี (การเรียงสับเปลี่ยนของเซตของวัตถุ) ข้อเท็จจริงนี้เป็นที่ทราบโดยนักวิชาการชาวอินเดียตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ คริสเตียน แครมป์ (Christian Kramp) เป็นผู้แนะนำให้ใช้สัญกรณ์ n! เมื่อ ค.ศ. 1808 (พ.ศ. 2351) นิยามของแฟกทอเรียลสามารถขยายแนวคิดไปบนอาร์กิวเมนต์ที่ไม่เป็นจำนวนเต็มได้โดยยังคงมีสมบัติที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ชั้นสูงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในคณิตวิเคราะห.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และแฟกทอเรียล · ดูเพิ่มเติม »

แพริตีบิต

แพริตีบิต หรือ บิตภาวะคู่หรือคี่ (parity bit) หรืออาจเรียกเพียงแค่ แพริตี หมายถึงบิตที่เพิ่มเข้าไปในข้อมูล โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปต่อท้ายหรือขึ้นต้น เพื่อทำให้แน่ใจว่าบิตที่เป็นค่า 1 ในข้อมูลมีจำนวนเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ การใช้แพริตีบิตเป็นวิธีที่ง่ายอย่างหนึ่งในการตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาด แพริตีบิตมีสองชนิดคือ แพริตีบิตคู่ (even parity bit) กับ แพริตีบิตคี่ (odd parity bit) ตามข้อมูลในเลขฐานสอง.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และแพริตีบิต · ดูเพิ่มเติม »

เมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลาง

เมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลาง (centrosymmetric matrix) หมายถึงเมทริกซ์จัตุรัสที่สมาชิกมีความสมมาตรกับจุดกึ่งกลางสมมติในเมทริกซ์ เมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลางนิยามโดยเมทริกซ์ A มิติ n×n ดังนี้ เมื่อ i และ j มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง n นิยามอีกแบบหนึ่ง เมทริกซ์ A จะเป็นเมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลางก็ต่อเมื่อ เมื่อ J คือเมทริกซ์แลกเปลี่ยน (exchange matrix) มิติ n×n ตัวอย่างเมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลาง 3 & 2 & 1 \\ 0 & 7 & 0 \\ 1 & 2 & 3 \\ \end, \quad \begin 1 & 3 & 6 & 9 \\ 0 & 2 & 5 & 7 \\ 7 & 5 & 2 & 0 \\ 9 & 6 & 3 & 1 \\ \end จะพบว่าจุดกึ่งกลางของเมทริกซ์ซึ่ง n เป็นจำนวนคี่ อยู่บนสมาชิกตรงกลางพอดี (สมาชิกบนแถวที่ \tfrac หลักที่ \tfrac) ส่วน n ที่เป็นจำนวนคู่จะอยู่ที่จุดสมมติระหว่างกลางเมทริกซ์ เมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลางที่มีความสมมาตรกับเส้นทแยงมุมเส้นใดเส้นหนึ่ง จะทำให้เกิดความสมมาตรกับเส้นทแยงมุมอีกเส้นหนึ่งโดยปริยาย สามารถเรียกได้ว่าเป็นเมทริกซ์ทวิสมมาตร (bisymmetric matrix) สมมาตรศูนย์กลาง.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และเมทริกซ์สมมาตรศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

เมทริกซ์สมมาตรเสมือน

ในทางพีชคณิตเชิงเส้น เมทริกซ์สมมาตรเสมือน หรือ เมทริกซ์ปฏิสมมาตร คือเมทริกซ์จัตุรัสที่เมื่อสลับเปลี่ยน (transpose) แล้วจะได้ผลลัพธ์เป็นเมทริกซ์ที่สมาชิกทุกตัวมีเครื่องหมายตรงข้ามจากเดิม นั่นคือ เราสามารถนิยามเมทริกซ์สมมาตรเสมือนได้อีกอย่างหนึ่งว่า สำหรับทุกดัชนีที่ i และ j ตัวอย่างต่อไปนี้คือเมทริกซ์สมมาตรเสมือน ในมิติ 3×3 0 & 2 & -1 \\ -2 & 0 & -4 \\ 1 & 4 & 0\end^\mathrm.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และเมทริกซ์สมมาตรเสมือน · ดูเพิ่มเติม »

เมทริกซ์แลกเปลี่ยน

มทริกซ์แลกเปลี่ยน (exchange matrix) คือเมทริกซ์จัตุรัสที่ประกอบด้วยสมาชิกบนเส้นทแยงมุมรองเป็น 1 และสมาชิกอื่นเป็น 0 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เมทริกซ์แลกเปลี่ยนมีลักษณะคล้ายเมทริกซ์เอกลักษณ์ แต่การเรียงตัวของเลข 1 กลับทิศทางกัน (จากมุมล่างซ้ายไปยังมุมบนขวา ↗) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ J_n หรือเพียงแค่ J (เจ) ตัวอย่างเมทริกซ์แลกเปลี่ยนเช่น J_1.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และเมทริกซ์แลกเปลี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

0

0 (ศูนย์) เป็นทั้งจำนวนและเลขโดดที่ใช้สำหรับนำเสนอจำนวนต่าง ๆ ในระบบเลข มีบทบาทเป็นตัวกลางในทางคณิตศาสตร์ คือเป็นเอกลักษณ์การบวกของจำนวนเต็ม จำนวนจริง และโครงสร้างเชิงพีชคณิตอื่น ๆ ศูนย์ในฐานะเลขโดดใช้เป็นตัววางหลักในระบบเลขเชิงตำแหน่ง.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และ0 · ดูเพิ่มเติม »

1

1 (หนึ่ง) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพที่แทนจำนวนนั้น หนึ่งแทนสิ่งสิ่งเดียว หน่วยในการนับหรือการวัด ตัวอย่างเช่น ส่วนของเส้นตรงของ "ความยาวหนึ่งหน่วย" คือส่วนของเส้นตรงของความยาวเท่ากับ 1.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และ1 · ดูเพิ่มเติม »

1 − 2 + 3 − 4 + · · ·

กราฟแสดงผลรวมจำกัดพจน์ 15,000 ค่าแรกของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … ในทางคณิตศาสตร์ 1 − 2 + 3 − 4 + ··· เป็นอนุกรมอนันต์ที่แต่ละพจน์เป็นจำนวนเต็มบวกลำดับถัดจากพจน์ก่อนหน้า โดยใส่เครื่องหมายบวกและลบสลับกัน ผลรวม m พจน์แรกของอนุกรมนี้สามารถเขียนโดยใช้สัญลักษณ์ผลรวมได้ในรูป อนุกรมนี้เป็นอนุกรมลู่ออก เพราะลำดับของผลรวมจำกัดพจน์ (1, -1, 2, -2, …) ไม่ลู่เข้าหาลิมิตที่เป็นจำนวนจำกัดใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีปฏิทรรศน์จำนวนมากที่แสดงว่าอนุกรมนี้มีลิมิต ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้เขียนสมการซึ่งเขายอมรับว่าเป็นปฏิทรรศน์ต่อไปนี้ เป็นเวลานานกว่าจะมีคำอธิบายอย่างชัดเจนถึงสมการดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 แอร์เนสโต เชซะโร, เอมีล บอแรล และนักคณิตศาสตร์คนอื่น ๆ ได้ร่วมกันพัฒนาวิธีการนิยามผลรวมของอนุกรมลู่ออกทั่วไป วิธีเหล่านั้นจำนวนมากต่างได้นิยามค่า 1 − 2 + 3 − 4 + … ให้ "เท่ากับ" 1/4 ผลรวมเซซาโรเป็นหนึ่งในวิธีการที่ไม่สามารถนิยามค่าของ 1 − 2 + 3 − 4 + … ได้ อนุกรมนี้จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ต้องใช้วิธีการที่แรงกว่าเพื่อนิยามค่า เช่น ผลรวมอาเบล อนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมที่เกี่ยวข้องกับอนุกรมแกรนดี 1 − 1 + 1 − 1 + … ออยเลอร์ได้พิจารณาอนุกรมทั้งสองว่าเป็นกรณีเฉพาะของอนุกรม งานวิจัยของเขาได้ต่อยอดไปสู่การศึกษาเรื่องปัญหาบาเซิล ซึ่งนำไปสู่สมการเชิงฟังก์ชันที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์และฟังก์ชันซีตาของรีมันน.

ใหม่!!: ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)และ1 − 2 + 3 − 4 + · · · · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

จำนวนคี่จำนวนคี่และจำนวนคู่จำนวนคู่จำนวนคู่และจำนวนคี่เลขคี่เลขคู่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »