โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พายุฟ้าคะนอง

ดัชนี พายุฟ้าคะนอง

ฝนฟ้าคะนองตรงแบบเหนือทุ่ง พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ ฟ้าร้อง อุตุนิยมวิทยาได้กำหนดชนิดของ เมฆ ที่เกี่ยวข้องกับพายุฝนฟ้าคะนองว่าเป็นคิวมูโลนิมบัส ปกติแล้วพายุฝนฟ้าคะนองจะมาพร้อมกับลมแรง, ฝนตกหนัก และบางครั้งมี หิมะ ฝนหิมะ หรืออาจไม่ตกลงสู่พื้นดินเลยก็ได้ ทั้งหมดนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดลูกเห็บตกซึ่งเรียก พายุลูกเห็บ พายุฝนฟ้าคะนองอาจจะตกหนักเป็นหย่อม ๆ หรือตกหนักแบบกระจายตัวที่เรียก ซูเปอร์เซลล์ ก็ได้ พายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักหรือรุนแรงอาจเกิดการหมุนตัวซึ่งเรียกว่าซูปเปอร์เซลล์ ในขณะที่พายุฝนฟ้าคะนองส่วนใหญ่เคลื่อนที่ด้วยแรงลมปกติผ่านชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่มันสถิตย์อยู่ เมื่อเกิดแรงลมพัดเฉือนในแนวตั้งเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการหันเหเบี่ยงเบนในทิศทางที่ลมพัดเฉือนนั้นพัดมาเป็นสาเหตุให้พายุเคลื่อนตัว ผลของพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากการเคลื่อนตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็วของอากาศที่อุ่นและชื้น มันก่อให้เกิดมวลอากาศที่อุ่นและชื้นขึ้นภายในและด้านหน้าของกลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองนั้น ในขณะที่มวลอากาศอุ่นและชื้นเคลื่อนตัวขึ้นลงนั้น มันเกิดความเย็น,กลั่นตัวจนควบแน่นและก่อตัวเป็นกลุ่มก้อนเมฆที่แผ่ตัวต่ำปกคลุมทั่วท้องฟ้าจนมาถึงความสูงเกิน 20 กม.

9 ความสัมพันธ์: พายุหมุนเขตร้อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2561ลูกเห็บยักษ์สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาลคิวมูโลนิมบัสตา (พายุหมุน)

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

ูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก..

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556

ูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก..

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560

มื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2561

มื่อวันที่ 23 ตุลาคม..

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2561 · ดูเพิ่มเติม »

ลูกเห็บยักษ์

ลูกเห็บยักษ์(megacryometeor) เป็นหยาดน้ำฟ้าชนิดหนึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกเห็บ เกิดขึ้นจากความผิดปกติของสภาพอากาศแจ่มใส ไม่มีเมฆ ไม่เกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนอง.

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและลูกเห็บยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล

ตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล (Star Trek) เป็นภาพยนตร์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ ในปี 2009 กำกับโดย เจ. เจ. อับรามส์ เขียนบทโดยโรเบอร์โต ออร์ซี และอเล็กซ์ เคิร์ตซแมน และสร้างโดยเดมอน ลินเดลอฟและไบรอัน เบิร์ก เป็นภาพยนตร์ชุดสตาร์เทร็ค ภาคที่ 11 โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับตัวละครหลักของเรื่อง นำแสดงโดยนักแสดงใหม่ทั้งหมด และถึงแม้ว่าเนื้อเรื่องภาพยนตร์จะมีเส้นเวลาที่แตกต่างไปจากเนื้อเรื่องดั้งเดิม โดยเล่าถึงเรื่องราวความหลังของ เจมส์ ที. เคิร์ก (คริส ไพน์) และสป็อก (แซกแครี ควินโต) ก่อนที่พวกเขาจะรวมตัวบนยาน ยูเอสเอสเอนเตอร์ไพร์ซ ที่จะต่อสู้กับเนโร (อีริก บานา) ชาวโรมูลันจากอนาคตที่คิดว่าพวกตนถูกคุกคามโดยสมาพันธ์อวกาศ ซึ่งเริ่มออกฉายโดยโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ ออกฉายในระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม..

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและสตาร์ เทรค: สงครามพิฆาตจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

คิวมูโลนิมบัส

วมูโลนิมบัสที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ลักษณะของแท่งทั่งตีเหล็กที่ใช้เปรียบเทียบกับลักษณะของเมฆคิมมูโลนิมบัส คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน cumulus "กองของสิ่งของ" และ nimbus "พายุฝน, เมฆพายุ" คิวมูโลนิมบัส คือ เมฆที่มีลักษณะหนาสูงทึบในแนวตั้ง โดยมีความสัมพันธ์กับ พายุฟ้าคะนอง และ อากาศที่มีลักษณะแปรปรวน ก่อตัวขึ้นจากไอน้ำซึ่งได้รับการนำพาพัดขึ้นด้านบนด้วยกระแสลมแรง สามารถพบได้ในแบบเดี่ยว, รวมเป็นกลุ่ม, หรือ ตามแนวปะทะอากาศเย็น คิวมูโลนิมบัส สามารถทำให้เกิด ฟ้าผ่า หรือ สภาพอากาศที่รุนแรงได้ ยกตัวอย่างเช่น ทำให้เกิดพายุทอร์นาโด อักษรย่อสำหรับ คิวมูโลนิมบัส คือ Cb.

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและคิวมูโลนิมบัส · ดูเพิ่มเติม »

ตา (พายุหมุน)

ตาพายุ คือบริเวณที่สภาพอากาศโดยส่วนมากสงบที่จุดศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนที่มีพลัง ตาของพายุมีลักษณะเป็นพื้นที่วงกลมอย่างคร่าว ๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยปกติที่ 30–65 กม.

ใหม่!!: พายุฟ้าคะนองและตา (พายุหมุน) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Thunder StormThunder stormThunderstormพายุฝนฟ้าคะนอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »