โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระอภิธรรมปิฎก

ดัชนี พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

56 ความสัมพันธ์: บุคลาธิษฐานบุคคลาธิษฐานเทศนาพระพิธีธรรมพระพุทธโฆสะพระวินัยปิฎกพระสารีบุตรพระสุตตันตปิฎกพระอภิธรรมปิฎกพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)พระโคตมพุทธเจ้าพระไตรปิฎกพระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)พิธีกรรมในงานศพไทยพ่อลาวแก่นท้าวกรรมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยกถาวัตถุกถาวัตถุอรรถกถามหายานศตธรรมประกาศมุขศาสตร์มาติกายมกยมกปกรณ์อรรถกถาระวี ภาวิไลวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)วิริยะศรัทธาในศาสนาพุทธศาสนาพุทธศาสนาพุทธกับจิตวิทยาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป)สวดคฤหัสถ์สัมโมหวิโนทนีสังกัสสะสังคายนาในศาสนาพุทธสัตตมหาสถานสีลัพพตปรามาสหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์อภิธัมมาวตารอรรถกถาอวตารอัฏฐสาลินีผัสสะธรรมขันธ์ธาตุกถาปกรณ์อรรถกถาถีนมิทธะปรมัตถธรรมปาพจน์ปุคคลบัญญัติปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถาปีติ...โลกุตระโคกุลิกะเมทาเวทนาเสาตรานติกะเจตสิก ขยายดัชนี (6 มากกว่า) »

บุคลาธิษฐาน

ลาธิษฐาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและบุคลาธิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

บุคคลาธิษฐานเทศนา

ลาธิษฐานเทศนา (Puggalādhiṭṭhāna-desanā) หมายถึงเทศนาที่มีบุคคลเป็นที่ตั้ง หรืออ้างถึงบุคคล ได้แก่ พระวินัย พระสูตร เป็นต้น ต่างจาก ธรรมาธิษฐานเทศนา ซึ่งหมายถึงเทศนาที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง หรืออ้างถึงสภาวะธรรมล้วน ๆ ได้แก่ พระอภิธรรม ปัจจุบันความหมายบุคคลาธิษฐานเทศนาในศาสนาพุทธเปลี่ยนมาใช้หมายถึงการยกคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนมาร คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและบุคคลาธิษฐานเทศนา · ดูเพิ่มเติม »

พระพิธีธรรม

ระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พัดยศประจำตำแหน่งพระพิธีธรรม พระพิธีธรรมคือสมณศักดิ์ประเภทหนึ่ง (ไม่พระราชทานแก่พระสงฆ์ แต่พระราชทานแก่วัด) พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งจากวัดที่เป็น พระอารามหลวงเป็นส่วนมาก (ไม่ระบุพระสงฆ์วัดใดที่ไม่มีการโปรดเกล้าฯจะไม่สามารถตั้งพระพิธีธรรมได้ แม้แต่ในวัดนั้นจะมีพระสงฆ์ซึ่งเคยเป็นพระพิธีธรรมมาแล้วก็ตาม) ทางวัดจะแต่งตั้งวัดละ 1 สำหรับ สำรับละ 4 รูป เป็นพระพิธีธรรม เพื่อสวดในการบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ เช่น สวดพระอภิธรรมในงานพระบรมศพ พระศพ หรือศพในพระบรมราชานุเคราะห์ สวดอาฎานาฏิยสูตรในพระราชพิธีสงกรานต์ เป็นต้น นอกจากนี้พระพิธีธรรมต้องไปสวดจตุรเวทที่หอศาสตราคมในพระบรมมหาราชวังทุกวันพระ เวียนกันไปวัดละ 1 เดือน ในปัจจุบัน วัดที่มีการพระราชทานแต่งตั้งพระพิธีธรรม ปัจจุบันมีอยู่ 10 วัด ได้แก.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระพิธีธรรม · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสารีบุตร

ระสารีบุตร (ศฺริปุตฺร; สาริปุตฺต) เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "ธรรมเสนาบดี" (แม่ทัพธรรม) คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น "ธรรมราชา" พระสารีบุตรเกิดเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่นิพพานเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนกฤติกา (เดือนสิบสอง) ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระสารีบุตร · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

ระธรรมสิงหบุราจารย์ นามเดิม จรัญ จรรยารักษ์ ฉายา ตธมฺโม เป็นพระภิกษุชาวไทย ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 ท่านมีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์ แนวทางการสืบทอดพระพุทธศาสนาของท่านเน้นหนักที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์อยู่เสมอ และเน้นการพัฒนาจิตใจคนด้วยการฝึกวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 แบบพองหนอ-ยุบหนอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้ว.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)

ระเทพวิทยาคม นามเดิม คูณ ฉัตร์พลกรัง หรือที่รู้จักในนาม หลวงพ่อคูณ (4 ตุลาคม พ.ศ. 2466-16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) เป็นพระเกจิอาจารย์ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 และอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) · ดูเพิ่มเติม »

พิธีกรรมในงานศพไทย

ีกรรมในงานศพไทย แบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ พิธีรดน้ำศพ พิธีสวดอภิธรรม และพิธีฌาปณก.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพิธีกรรมในงานศพไทย · ดูเพิ่มเติม »

พ่อลาวแก่นท้าว

อลาวแก่นท้าว (ဘောလောကျန်းထော,; ประมาณ 1383 - 1390) พระราชโอรสองค์ใหญ่และพระราชบุตรองค์แรกของ พระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กับตะละแม่ท้าว เจ้าชายน้อยพระองค์นี้เป็นที่รู้จักจากคำสาบานที่พระองค์ให้ไว้ก่อนถูกสำเร็จโทษตามพระบัญชาของพระเจ้าราชาธิราช ว่าจะกลับมาเกิดใหม่เพื่อสู้กับพระองค์ถ้าพระองค์บริสุทธิ์ ทำให้ประชาชนของหงสาวดีและประชาชนของอาณาจักรคู่แข่งอย่างอังวะเชื่อว่าเจ้าชาย มังรายกะยอชวา แห่งอาณาอังวะคือพ่อลาวแก่นท้าวที่กลับมาเกิดใหม่เพื่อเติมเต็มคำสาบาน พระเจ้าราชาธิราชกลัวว่าเจ้าชายหนุ่มจะก่อการจลาจลต่อต้านพระองค์ หลังพระมารดาของพระองค์ตะละแม่ท้าวปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง และกลัวว่าเจ้าชายหนุ่มจะแก้แค้นให้กับพระมาร.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและพ่อลาวแก่นท้าว · ดูเพิ่มเติม »

กรรม

ในพระพุทธศาสนา กรรม (กรฺม, กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

ษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันเทวประภาส มากคล้าย เปรียญ..

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

กถาวัตถุ

กถาวัตถุ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมปิฎก เป็นคัมภีร์ที่ 5 ของอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นคำแถลงวินิจฉัยทัศนะต่างๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัยสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออก เพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น 2 ส่วน คือกถาวัตถุบริสุทธิ์ (ของพระพุทธเจ้า) และที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคยนาครั้งที่สาม.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและกถาวัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

กถาวัตถุอรรถกถา

กถาวัตถุอรรถกถา เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในกถาวัตถุปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งกถาวัตถุ มีลักษณะเป็นการถามตอบระหว่างนิกายเถรวาทและนิกายอื่น ๆ ที่แตกออกไปจากนิกายเถรวาท อันเป็นพุทธศาสนาดั้งเดิม ที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปฐมสังคายนา รวมถึงการถามตอบระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาท และลัทธิศาสนาอื่น ๆ โดยอรรถกถาระบุว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงมาติกา หรือบทตั้ง หรือคำเริ่มต้นไว้เพียงเล็ก น้อยต่อจากนั้น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้เรียบเรียงขึ้นจนจบในสังคายนาครั้งที่ 3 มีข้อความอันเป็นคำตอบคำถามตั้งแต่ ต้นจนจบ กถาวัตถุปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งในปรมัตถทีปนีหรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา หรือ อรรถกถาปัญจปกรณ์ หรือบางทีก็เรียกว่า "ปรมัตถทีปนี ปัญจปกรณัฏฐกถา กถาวัตถุวัณณา" เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งตามคำอาราธนาของพระจุลลพุทธโฆสะชาวลังกา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1000 - 1,100 ซึ่งปรมัตถทีปนี หรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา นั้นเป็นการอธิบายเนื้อความในปกรณ์ทั้ง 5 ของพระพระอภิธรรมปิฎก 5 คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน โดยกถาวัตถุปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม และใหญ่โตมโหมาร.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและกถาวัตถุอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

มหายานศตธรรมประกาศมุขศาสตร์

มหายานศตธรรมประกาศมุขศาสตร์ (大乘百法明門論) เป็นบทนิพนธ์ของพระวสุพันธุ อาจารย์แห่งนิกายโยคาจาร ว่าด้วยลักษณะธรรมทั้ง 100 ประเภท มีลักษณะคล้ายกับบทมาติกาของอภิธรรมฝ่ายเถรวาท และยังเป็นการจัดข้อธรรมเป็นหมวด ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นลักษณะธรรม เริ่มจากจิตไปจบลงที่ตถตา หรือความเป็นเช่นนั้น หรือพุทธภาว.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและมหายานศตธรรมประกาศมุขศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาติกา

มาติกา (อ่านว่า มาดติกา) แปลว่า หัวข้อ, แม่บท มาติกา หมายถึงพระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่นที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า "14.00 น. พระสงฆ์มาติกา บังสุกุล" ธัมมะสังคิณีมาติกา กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา ฯ สุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ทุกขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา อะทุกขะมะสุขายะ เวทะนายะ สัมปะยุตตา ธัมมา ฯ วิปากา ธัมมา วิปากะธัมมะธัมมา เนวะวิปากะนะวิปากะ ธัมมะธัมมา ฯ อุปาทินนุปาทานิยา ธัมมา อะนุปาทินนุ ปาทานิ ยา ธัมมา อะนุปาทินนานุปาทานิยา ธัมมา ฯ สังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา อะสังกิลิฏฐะสังกิเลสิกา ธัมมา อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา ฯ สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา อะวิตักกะวิจาระมัตตา ธัมมา อะวิตักกาวิจารา ธัมมา ฯ ปีติ สะหะคะตา ธัมมา สุขะสะหะคะตา ธัมมา อุ เปกขา สะหะคะตา ธัมมา ฯ ทัสสะเนนะ ปะหาตัพพา ธัมมา ภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา เนวะทัสสะเนนะ นะภาวะนายะ ปะหาตัพพา ธัมมา ฯ ทัสสะเนนะ ปะหาตั พพะเหตุกา ธัมมา ภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุ กา ธัมมา เนวะทัสสะเนนะ นะภาวะนายะ ปะหาตัพพะเหตุกา ธัมมา ฯ อาจะยะคามิโน ธัมมา อะปะจะยะคามิโน ธัมมา เนวาจะยะคามิโน นาปะจะยะคามิโน ธัมมา ฯ เสกขา ธัมมา อะเสกขา ธัมมา เนวะเสกขานาเสกขา ธัมมา ฯ ปะริตตา ธัมมา มะหัคคะตา ธัมมา อัปปะมาณา ธัมมา ฯ ปะริ ตตารัมมะณา ธัมมา มะหั คคะตารัมมะณา ธัมมา อัปปะมาณารัมมะณา ธัมมา ฯ หีนา ธัมมา มัชฌิมา ธัมมา ปะณีตา ธัมมา ฯ มิจฉัตตะนิยะตา ธัมมา สัมมัตตะนิยะตา ธัมมา อะนิยะตา ธัมมา ฯ มัคคารั มมะณา ธัมมา มัคคะเหตุกา ธัมมา มัคคาธิปะติ โน ธัมมา ฯ อุปปันนา ธัมมา อะนุปปันนา ธัมมา อุปปาทิโน ธัมมา ฯ อะตีตา ธัมมา อะนาคะตา ธัมมา ปัจจุปปันนา ธัมมา ฯ อะตี ตารัมมะณา ธัมมา อะนาคะตา รัมมะณา ธัมมา ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา ฯ อัชฌัตตา ธัมมา พะหิทธา ธัมมา อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา ฯ อัชฌัตตารั มมะณา ธั มมา พะหิทธารัมมะณา ธัมมา อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฯ สะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา อะนิทั สสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา อะนิทัสสะนาปปะฏิฆา ธัมมา ฯ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและมาติกา · ดูเพิ่มเติม »

ยมก

มก หรือยมกปกรณ์ หรือมูลยมก เป็นหนึ่งในคัมภีร์ของพระอภิธรรมปิฎก คำว่า ยมก แปลว่า "คู่" ดังในอรรถกถายกตัวอย่างคำว่า ยมกปาฏิหาริย์ หมายถึง ปาฏิหาริย์คู่ หรือคำว่า ยมกสาลา หมายถึง ไม้สาละคู่ เป็นต้น ยมกเป็นคัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และมีการทดสอบความรู้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, กรือคำถามที่ว่ารูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, หรือคำถามที่ว่าทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ ดังนี้ หลักธรรมหลักที่นำมาอธิบายแจกแจงในคัมภีร์ยมกมีทั้งสิ้น 10 หลักธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกที่แบ่งคัมภีร์ยมกออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 เล่ม เช่นฉบับภาษาไทย จะแบ่งหลักธรรมเป็น 2 ส่วน ในเล่มแรกหลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มแรกมี 7 ข้อ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น ส่วนในเล่ม 2 แบ่งออกเป็น 3 หลักธรรม คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก รวมเป็น10 ยมก.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและยมก · ดูเพิ่มเติม »

ยมกปกรณ์อรรถกถา

มกปกรณ์อรรถกถา เป็นคัมภีร์อธิบายยมกปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งยมกปกรณ์นี้ว่าด้วยธรรมที่เป็นคู่ ประกอบด้วย 1.) มูลยมก คือ ธรรมเป็นคู่อันเป็นมูล 2.) ขันธยมก คือ ธรรมเป็นคู่ คือขันธ์ 3.) อายตนะยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือสังขาร 4.) ธาตุยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือธาตุห้า 5.) สัจจยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือสัจจะ 6.) สังขาร คือ ธรรมเป็นคู่คือสังขาร 7.) อนุสสัยยมก คือ ธรรมเป็นคู่คืออนุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องด้วยในสันดาน) รวมถึง 8.) จิตตยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือจิต 9.) ธัมมยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือธรรม และ 10.) อินทรียยมก คือ ธรรมเป็นคู่คืออินทรีย์ การจำแนกเป็นคู่ๆ นี้ เป็นไปตามอำนาจของยมก หรือธรรมที่ถูกจำแนกเป็นคู่ๆ ทั้ง 10 ประการ มีลักษณะเป็นการถามถึงลักษณะของธรรมหนึ่ง แล้วตอบด้วยธรรมที่มีลักษณะเป็นคู่กับธรรมนั้นๆ ดังในอรรถกถาอธิบายว่า "ในยมกทั้ง 10 อย่างนี้ ยมกหนึ่งๆ ชื่อว่าคู่ เพราะแสดงไว้ด้วยอำนาจของยมกทั้งหลาย คือคู่ ด้วยประการฉะนี้ ปกรณ์นี้ทั้งหมด พึงทราบว่า ชื่อว่ายมก เพราะรวบรวมคู่ทั้งหลายเหล่านี้ไว้".

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและยมกปกรณ์อรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

ระวี ภาวิไล

ตราจารย์กิตติคุณ ระวี ภาวิไล (17 ตุลาคม พ.ศ. 2468 — 17 มีนาคม พ.ศ. 2560) เป็นราชบัณฑิต อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทย นับเป็นบุคคลที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของไทย และมีส่วนให้สังคมไทย โดยเฉพาะเยาวชนให้ความสนใจการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์มากขึ้น สำหรับบุคคลทั่วไป อาจเริ่มรู้จักท่านดีในช่วงการมาเยือนของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อต้นปี..

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและระวี ภาวิไล · ดูเพิ่มเติม »

วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

วัดร่ำเปิง (140px) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 1 หมู่ 5 ถนนคันคลองชลประทาน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นอกเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ อีกทั้งอยู่ใกล้บริเวณวัดอุโมงค์ วัดป่าแดง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายในวัดมีพื้นที่ทั้งหมด 19 ไร่ 1 งาน 78 ตารางวา วัดร่ำเปิงยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ปี..

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) · ดูเพิ่มเติม »

วิริยะ

วิริยะ (วิริย; วีรฺย) แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ ภาวะของผู้กล้า เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป โดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ "วิริยะ" เป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขณะทำงาน ตรงกันข้าม หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว วิริยารัมภกถา เป็น ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ5 ในกถาวัตถุ10).

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและวิริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ศรัทธาในศาสนาพุทธ

ตามหลักพระพุทธศาสนา ศรัทธา (ศฺรทฺธา) หรือสัทธา (สทฺธา) หมายถึงความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและศรัทธาในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

นาพุทธกับจิตวิทยา (Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและศาสนาพุทธกับจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป)

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม แสง ฉายา ปญฺญาทีโป เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดราชบุรณราชวรวิหารและเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป) · ดูเพิ่มเติม »

สวดคฤหัสถ์

วดคฤหัสถ์ สวดคฤหัสถ์ หรือ สวดกะหัด คือการสวดชนิดหนึ่ง เป็นการเล่นที่นิยมเล่นในงานศพ เป็นการเล่นเลียนแบบการสวดพระอภิธรรมของพระสงฆ์ และเล่นในตอนดึกหลังจากพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว การแสดงจะมีบทสวด "พื้น" อยู่ 4 อย่าง คือ พื้นพระอภิธรรม (สวดบทพระอภิธรรม) พื้นโพชฌงค์มอญหรือหับเผย พื้นพระมาลัย (สวดเรื่องพระมาลัย) และพื้นมหาชัย 1 แต่ที่นิยมใช้สวดกันอย่างแพร่หลาย คือพื้นพระอภิธรรม แต่เดิมเป็นการละเล่นของพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์แล้วออกลำนำเป็นภาษาต่างๆ มีปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ห้ามไม่ให้พระสงฆ์สวดออกลำนำแบบนี้ จากนั้นจึงแพร่หลายมาในหมู่ชาวบ้าน และเริ่มมีการแต่งตัวตามภาษาที่ใช้สวดภาษิต จิตรภาษ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและสวดคฤหัสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัมโมหวิโนทนี

ัมโมหวิโนทนี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 2 ในบรรดาพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกและปัฏฐาน คัมภีร์นี้เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ หรือพระพุทธโฆสาจารย์แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรี.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและสัมโมหวิโนทนี · ดูเพิ่มเติม »

สังกัสสะ

ังกัสสะ (Sankassa) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากที่พระองค์เสด็จไปทรงจำพรรษาที่ 7 หลังการตรัสรู้ ณ ดาวดึงส์ เพื่อทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดา ปัจจุบันสังกัสสะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสังกิสสะ บะสันตะปุระ (Sankissa Basantapura) ในจังหวัดฟารุกาหบาท (Farrukhabad) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองแห่งนี้ไม่ค่อยมีผู้แสวงบุญไปจาริกเท่าใดนัก เนื่องจากการเดินทางไปยังหมู่บ้านแห่งนี้ในปัจจุบันเป็นไปด้วยความยากลำบาก.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและสังกัสสะ · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ สังคายนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 487-8 (สํคายนา) คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามศัพท์ "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุมพระสงฆ์ จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและสังคายนาในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สัตตมหาสถาน

ัตตมหาสถาน คือ สถานที่สำคัญ 7 แห่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข หลังจากได้ตรัสรู้ธรรมวิเศษแล้วเป็นเวลาแห่งละ 1 สัปดาห์ เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและสัตตมหาสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สีลัพพตปรามาส

'''สีลัพพตปรามาส''' โดยความหมายหลักคือความเชื่อในการบำเพ็ญศีลหรือวัตรปฏิบัติ (พรต) นอกพระพุทธศาสนา (ภาพ: ขบวนชาวฮินดูเปลือยกายในพิธีทางศาสนาในเมืองหริดวาร์ อินเดีย สีลัพพตปรามาส (บาลี: สีลพฺพตปรามาส) เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎกเถรวาท มาจากคำสมาสแบบสนธิว่า สีล (แปลว่า ศีล หรือ วิรัติ อันเป็นข้องดเว้น) + วต (แปลว่า พรต หรือ วัตร อันเป็นข้อปฏิบัติ) + ปรามาส (อ่านว่า ปะ-รา-มาด, แปลว่า การจับต้อง, การลูบคลำ) สีลัพพตปรามาส หมายความถึงความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือศีลพรตภายนอกพระพุทธศาสนา หรือความยึดมั่นถือมั่นในการบำเพ็ญเพียงกายและวาจาตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (ศีล) ของตนว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ซึ่งเป็นเหตุให้ละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการใช้ปัญญาเพื่อหลุดพ้น สีลัพพตปรามาสจัดเป็นความเห็นผิดหรือมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง จัดเข้าในกลุ่มสังโยชน์ขั้นต้นที่พระอริยบุคคลระดับโสดาบันจะละความยึดมั่นเช่นนี้ได้ สีลัพพตปรามาสในพระไตรปิฎก ปรากฏทั้งในคัมภีร์สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก โดยความหมายหลักของคำว่าศีลและพรตในศัพท์นี้ หมายถึงการปฏิบัติตามความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อในอำนาจบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระผู้เป็นเจ้า, ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ที่เชื่อว่าการบำเพ็ญทุกกรกิริยาจะสามารถทำให้ผู้บำเพ็ญหลุดพ้นจากความทุกข์หรือหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสได้ หรือความเชื่อของลัทธิตันตระที่เชื่อว่าการมั่วสุมอยู่ในกามารมณ์จะสามารถทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาก็อาจถือว่าเป็นศีลพรตในสีลัพพตปรามาสได้ กล่าวคือความยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญศีลในทางพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ของตนว่าเป็นสิ่งประเสริฐจนละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจ และความเชื่ออย่างยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญเพียงแต่ศีลในพระพุทธศาสนาตามที่ตนยึดถือเพียงอย่างเดียวจะช่วยให้เป็นผู้บริสุทธิ์ได้ เช่น ความเชื่อว่าการถือศีลจะช่วยให้คนบริสุทธิ์ ซึ่งรวมไปถึงความเชื่อในการทานเจ หรือการปิดวาจา หรือความเชื่อในอำนาจอิทธิฤทธิ์บันดาลของพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์เป็นต้น โดยสรุป สีลัพพตปรามาส คือความเชื่ออย่างเห็นผิดในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอกตัว, ความยึดมั่นในความดีเพียงขั้นศีลของตน และความเชื่อว่าการบำเพ็ญทางกายวาจาเท่านั้นที่จะสามารถทำให้คนบริสุทธิ์จากกิเลสหรือหลุดพ้นได้ ความเห็นเหล่านี้ถูกจัดเป็นความเห็นที่ผิดพลาดในทางพระพุทธศาสนาเพราะเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องภายในจิตใจคือการหลุดพ้นด้วยปัญญาภายในเป็นสำคัญ นอกจากนี้พระพุทธเจ้าตรัสหลักสีลัพพตปรามาสไว้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติหลงผิดจากแนวทางหลักในพระพุทธศาสนา กล่าวคือไม่ให้มัวแต่หลงยึดมั่นแค่เพียงความบริสุทธิ์ของศีลที่มีเฉพาะด้านกายและวาจา โดยละเลยความบริสุทธิ์ด้านจิตใจไป ซึ่งความยึดมั่นถือมั่นเช่นนี้จัดเป็นอัสมิมานะซึ่งจัดเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและสีลัพพตปรามาส · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์

หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ นักเขียนชาวไทย เจ้าของผลงานคอลัมน์ และหนังสือชุด "ชีวิตในวัง" และ "ชีวิตนอกวัง" ผู้ได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อภิธัมมาวตาร

อภิธัมมาวตาร แปลว่า หยั่งลงสู่อภิธรรม หรือ หยั่งรู้เข้าใจในสรรพสิ่งทุกประการอย่างละเอียดที่สุด เป็นผลงานการเรียบเรียงของท่านพระพุทธัตตะ (พุทธัตตาจารย์) ชาวชมพูทวีป ผู้ชำนาญพระไตรปิฎก ซึ่งท่านได้เรียบเรียงขึ้นจากเนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถาของพระไตรปิฎกภาษาบาลีต่าง ๆ ทั้งที่สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล และของอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกที่มีชื่อเสียงมีความรู้มากในยุคก่อน..

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและอภิธัมมาวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและอวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อัฏฐสาลินี

อัฏฐสาลินี หรืออรรถสาลินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก ผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรีย์ ซึ่งนอกจากจะอธิบายคำและศัพท์เทคนิคทางจิตวิทยา เจตสิก รูป นิพพาน ทางพระพุทธศาสนาในธัมมสังคณีแล้ว ยังให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์อีกด้วย ทั้งนี้ คัมภีร์อัฏฐสาลินีเป็นที่นิยมศึกษากันมากในหมู่นักศึกษาพระอภิธรรม และเป็นหนึ่งในผลงานของพระพุทธโฆสะที่เป็นที่รู้จักกันมากที.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและอัฏฐสาลินี · ดูเพิ่มเติม »

ผัสสะ

ผัสสะ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง สัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก ผัสสะ เป็น ความประจวบกันแห่งสามสิ่ง คือ อายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) อายตนะภายนอก(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) และวิญญาณ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและผัสสะ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมขันธ์

ธรรมขันธ์ (ธมฺขนฺธ) หมายถึง กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาพุทธ หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและธรรมขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา

ตุกถาปกรณ์อรรถกถา เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธาตุกถาปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งธาตุกถา มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การสงเคราะห์เข้ากันได้หรือไม่ได้ของธรรม 3 ประการ คือ ขันธ์ 5 อายตนะ ธาตุ ธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งในปรมัตถทีปนี หรือปัญจปกรณัฏฐกถา หรือ อรรถกถาปัญจปกรณ์ หรือบางทีก็เรียกว่า "ปรมัตถทีปนี ปัญจัปปกรณัฏฐกถา ธาตุกถาวัณณา" เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งตามคำอาราธนาของพระจุลลพุทธโฆสะชาวลังกา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 1000 - 1,100 ซึ่งปรมัตถทีปนี หรือปัญจัปปกรณัฏฐกถา นั้นเป็นการอธิบายเนื้อความในปกรณ์ทั้ง 5 ของพระพระอภิธรรมปิฎก 5 คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน โดยธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม และใหญ่โตมโหมาร ทั้งนี้ โดยเหตุที่ธาตุกถามักรวมกับปุคคลบัญญัติอยู่ในเล่มเดียวกัน อรรถกถาของทั้ง 2 ปกรณ์ของพระอภิธรรมปิฎกนี้ จึงมักรวมเป็นฉบับเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็แยกเป็นเอกเทศจากกัน.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและธาตุกถาปกรณ์อรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

ถีนมิทธะ

ีนมิทธะ (อ่านว่า ถี-นะ-มิด-ทะ; ถีนมิทฺธ) แปลว่า ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม (ถีนะ ความหดหู่ มิทธะ ความเคลิบเคลิ้ม) หมายถึง อาการที่จิตเกิดความห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง และเศร้าซึม ง่วงเหงา หาวนอน เป็นเหตุให้เกิดความหมดอาลัย ความเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ปล่อยปละละเลยไปตามยถากรรม จัดเป็น นิวรณ์ คือเครื่องปิดกั้นขัดขวางมิให้บรรลุถึงสมาธิและปิดกั้นสมาธิมิให้เข้าถึงจิต ถีนมิทธะ เกิดจาก อรติ คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความเมาอาหาร คืออิ่มเกินไป แก้ได้ด้วยอนุสติ คือระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เป็นต้น ถีนมิทธะ เป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 อันเป็นสิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ทำให้จิตเศร้าหมอง และทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ซึ่งมีห้าอย่าง คือ กามฉันทะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและถีนมิทธะ · ดูเพิ่มเติม »

ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นอภิธรรม (อภิธรรม คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่) เป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติและตรัสรู้ สภาพธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล และธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น ปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริง ฉะนั้น ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ตามลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆ ปรมัตถธรรม มี 2 ประเภท คือ รูปธรรม และ นามธรรม (หรือ รูป และ นาม หรือ รูปธาตุ และ นามธาตุ) 1 รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ 2 นามธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏ และรู้ได้ เป็นได้ทั้ง รูปธรรม และนามธรรม เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ หรือ อาลมฺพน) ปรมัตถธรรม มี 4 ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและปรมัตถธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ปาพจน์

ปาพจน์ แปลว่า คำเป็นประธาน หมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่คือพระธรรมวินัยซึ่งถือว่าเป็นศาสดาแทนองค์พระพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและปาพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

ปุคคลบัญญัติ

ปุคคลบัญญัติ หรือปุคคลบัญญัติปกรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎก และมีเนื้อหาน้อยที่สุดในบรรดาคัมภีร์ทั้ง 7 ของพระอภิธรรม อีกทั้งยังมีลักษณะต่างจากคัมภีร์อื่นๆ ตรงที่กล่าวถึงบุคคล ไม่ได้เน้นหนักที่ปรมัตถธรรม หรือเรื่องจิต ดังในคัมภีร์อื่นๆ ของอภิธรรม นอกจากนี้ยังมีลักษณะการเรียบเรียงภาษาคล้ายกับประโยคบอกเล่าในพระสุตตันตปิฎก โดยเฉพาะในส่วนของอังคุตตรนิกาย และสังคีติสูตร ในทีฆนิกาย ขณะที่พระอภิธรรมปิฎกใช้สำนวนภาษาแบบแจกแจงเป็นข้อๆ หรือรายละเอียดปลีกย่อย และในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ มักรวมเป็นเล่มเดียวกับคัมภีร์ธาตุกถา เนื่องจากมีเนื้อหาไม่มากนัก.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและปุคคลบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

ปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถา

ปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถา เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในปุคคลบัญญัติปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ของพระไตรปิฎก ซึ่งปุคคลบัญญัติ มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การบัญญัติบุคคลว่า บุคคลนั้นๆ ประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและปุคคลบัญญัติปกรณ์อรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

ปีติ

ปิติ (Pīti) หมายถึง ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและปีติ · ดูเพิ่มเติม »

โลกุตระ

ลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก อยู่เหนือวิสัยของโลก หรืออุตรภาพ เป็นคำที่ใช้คู่กับ โลกิยะ ซึ่งแปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก เรื่องของโลก โลกุตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม 9 ประการซึ่งเรียกว่า นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม 9 ในธัมมสังคณี พระอภิธรรมปิฎก ระบุว่า โลกุตรธรรม มี 9 ได้แก่ อริยมรรค 4 อริยผล 4 นิพพาน 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและโลกุตระ · ดูเพิ่มเติม »

โคกุลิกะ

นิกายโคกุลิกวาท แป็นนิกายที่แยกตัวออกมาจากนิกายมหาสังฆิกะ หลักธรรมโดยทั่วไปเหมือนกับนิกายมหาสังฆิกะ แต่ที่แยกตัวออกมาเพราะนิกายนี้ถือพระอภิธรรมปิฎกเป็นพิเศษ ไม่เคร่งครัดในพระวินัย ถือว่าการปฏิบัติให้พ้นกิเลสตัณหาโดยเร็วสำคัญกว่าการรักษาสิกขาบท.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและโคกุลิกะ · ดูเพิ่มเติม »

เมทา

มทา (meta) “Meta-” เป็นคำอุปสรรค (Prefix) ที่มาจากภาษากรีก หมายถึง “About” ในภาษาไทยที่ใช้กันคือ อภิ มีความหมายคือ "ยิ่ง" "ใหญ่" "ทับ" เพื่อบ่งบอกหรือขยายความหมายของคำที่ตามมา เช่นคำที่เราคุ้นเคยในภาษาบาลี สันสกฤต อภิธมฺม หรือ อภิธรรม คือ "ธรรมวิเศษ" ซึ่งบ่งบอกถึงธรรมคำสอนที่มีความยิ่งใหญ่กว่าธรรมหรือคำสอนโดยทั่วไป เมื่อนำมาประกอบกับคำว่า “Data” ซึ่งเป็นคำพหูพจน์ (Plural) ของคำว่า “Datum” ที่มาจากภาษาละติน จึงแปลความหมายตรงตัวได้ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลอีกชุดหนึ่ง.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและเมทา · ดูเพิ่มเติม »

เวทนา

วทนา เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมีการกล่าวถึงในพระพุทธศาสนา หมายถึง การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์) เวทนา สามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและเวทนา · ดูเพิ่มเติม »

เสาตรานติกะ

ตรานติกะ หรือสุตตวาท เป็นพระพุทธศาสนานิกายหนึ่ง คัมภีร์ฝ่ายสันสกฤตระบุว่าแยกมาจากนิกายสรวาสติวาท ส่วนฝ่ายบาลีว่าแยกมาจากนิกายสังกันติกะ เหตุที่แยกออกมาเพราะเมื่อคณาจารย์ฝ่ายสรวาสติวาทหันไปนับถือพระอภิธรรมปิฎกมากขึ้น แต่มีบางส่วนเห็นแย้งว่าพระสุตตันตปิฎกสำคัญกว่า กลุ่มนี้จึงแยกมาตั้งนิกายใหม่ นิกายทั้ง 2 นี้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนมีกล่าวโต้แย้งปรัชญาซึ่งกันและกัน นิกายนี้แพร่หลายอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย เชื่อว่าผู้ก่อตั้งนิกายนี้คือพระกุมารลาตะ ไม่มีคัมภีร์ของนิกายนี้เหลืออยู่ คงมีแต่ที่กล่าวพาดพิงถึงในคัมภีร์ของนิกายสรวาสติวาทเท่านั้น ปรัชญาของนิกายนี้เชื่อว่าความจริงมีสองอย่างคือวัตถุกับจิตใจ เน้นเรื่องอนิจจัง ทุกอย่างไม่เที่ยงทั้งภาวะและอภาวะ ชีวิตเป็นเพียงลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความรู้ทั้งหลายจะรู้ได้เฉพาะอนุมานประมาณเท่านั้น เพราะจิตไม่อาจยึดความจริงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ นิกายนี้ถือว่าเฉพาะวิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้าเท่านั้นที่ไปเกิดใหม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับนิกายสางมิตียะ เชื่อว่าทุกคนมีธาตุแห่งพุทธะอยู่ในตัวเช่นเดียวกับความเชื่อของฝ่ายมหายาน นิกายนี้เมื่อแพร่หลายไปที่ญี่ปุ่นเรียกว่านิกายโจจิต.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและเสาตรานติกะ · ดูเพิ่มเติม »

เจตสิก

ตสิก (อ่านว่า เจตะสิก) (cetasika; caitasika) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต มีลักษณะที่เกิดดับพร้อมกับจิต เป็นอารมณ์ของจิต มีวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต เป็นกฎเกณฑ์ให้ประกอบเป็นจิต เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ) สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง) เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต) เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: พระอภิธรรมปิฎกและเจตสิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อภิธรรมอภิธรรมปิฎกอภิธัมมะพระอภิธรรมพระิอภิธรรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »