เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระสัทธรรมวิทยาตถาคต

ดัชนี พระสัทธรรมวิทยาตถาคต

ระสัทธรรมวิทยาตถาคต เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน พระนามของพระองค์หมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้ทรงรอบรู้แจ้งในพระธรรมอันประเสริฐ บางคัมภีร์ระบุพระนามของพระองค์เป็น พระสัทธรรมประภาตถาคต ไม่ปรากฏพระพุทธรูปของพระองค์เป็นพิเศษ โดยมากจะนับถือพระองค์คู่ไปกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในคัมภีร์สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ไวปุลยสมบูรณอภิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตร กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต ตรัสรู้ในกาลที่ล่วงมาแล้วนานมาก แต่ยังทรงมีจิตเมตตาต่อสัตว์โลกจึงได้เนรมิตรพระโพธิสัตว์จำนวนมากมาโปรดสัตว์รวมทั้งพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงแนวคิดของมหายานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์แบบหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เกิดจากพระพุทธเจ้.

สารบัญ

  1. 1 ความสัมพันธ์: พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ดู พระสัทธรรมวิทยาตถาคตและพระพุทธเจ้า