โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ดัชนี พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

57 ความสัมพันธ์: บัญญัติเอกบารโธโลมิวอัครทูตบาป (ศาสนาคริสต์)พระวรสารพระวรสารสหทรรศน์พระวรสารนักบุญยอห์นพระคริสตราชาพระเยซูพระเยซูทรงรับบัพติศมาพระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ)พระเจ้าพระบุตรพระเจ้าเฮโรดมหาราชพันธสัญญาใหม่การมาครั้งที่สองการหนีไปอียิปต์การทดลองพระเยซูการดลใจนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)การตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ)การฉาบปูนขาวการประกาศข่าวดีการประสูติของพระเยซูการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)การประหารทารกผู้วิมลการประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ)การนมัสการของโหราจารย์การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)ภาษาอราเมอิกพระเยซูมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสารมารีย์ (มารดาพระเยซู)มารีย์ชาวมักดาลายากอบ บุตรอัลเฟอัสยากอบ บุตรเศเบดียากอบผู้ชอบธรรมยูดาส อิสคาริโอทรับบีรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์รูปเคารพลำดับพงศ์ของพระเยซูสะโลเมสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์หนังสือดาเนียลอันล่วงละเมิดมิได้อาณาจักรของพระเป็นเจ้าผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านคริสต์มาสคัมภีร์ไบเบิลคำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้าซาตานซีโมนเศโลเทนักบุญอันดรูว์...นักบุญโยเซฟแม่พระรับสารโบสถ์น้อยกอนตาเรลลีโยเซฟชาวอาริมาเธียไทยโยเดียเก็บภาษี (มาซาชิโอ)เรซีฟี ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

บัญญัติเอก

ัญญัติเอก (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ บัญญัติของพระเยซูคริสต์ (ศัพท์ศาสนศาสตร์) หรือ พระ‍บัญญัติ​ข้อ​ที่​สำคัญ​ที่​สุด (ศัพท์คัมภีร์ไบเบิล) หรือ พระมหาบัญญัติ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ บทบัญญัติเอก (ศัพท์คาทอลิก) (Great Commandment; Greatest Commandment) เป็นบทบัญญัติของพระเยซู ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ในพระวรสารสหทรรศน์ ได้แก่ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญลูกา เป็นบทบัญญัติที่คริสต์ศาสนิกชนยึดถือเพิ่มเติมจากบัญญัติ 10 ประการ ของศาสนายูดาห์ โดยบัญญัติของพระเยซูคริสต์นี้เป็นบทบัญญัติที่รวบรวมบัญญัติ 10 ประการให้สำเร็จใน 2 ข้อ.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและบัญญัติเอก · ดูเพิ่มเติม »

บารโธโลมิวอัครทูต

รโธโลมิวอัครทูต (Bartholomew the Apostle; Βαρθολομαίος (Bartholomaios)) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตที่ประเทศอาร์มีเนีย บารโธโลมิวเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู ชื่อ “บารโธโลมิว” มาจากภาษาแอราเมอิก “bar-Tôlmay” (תולמי‎‎‎‎‎-בר‎‎) หมายความว่า “ลูกของโทลเม” (โทเลมี) หรืออาจจะเป็น “ลูกของคนไถนา” บางครั้งก็เชื่อกันว่าเป็นนามสกุลมากกว่าจะเป็นชื่อตัวEncyclopedia Britannica, micropedia.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและบารโธโลมิวอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

บาป (ศาสนาคริสต์)

ในศาสนาคริสต์ บาป (sin; חָטָא khatah ทำผิด) คือการไม่บรรลุถึงความครบถ้วนแห่งกฎหมายอันชอบธรรมที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมสำหรับมนุษย์ (กฎทางศีลธรรม) การไม่บรรลุเช่นนั้น ยังผลให้มนุษย์ตกเข้าสู่แนวทางการดำเนินชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ ความไม่สมบูรณ์อันเป็นผลจากบาปได้เป็นเหมือนนายที่กดขี่เขา ให้อยู่ในสภาพเป็นทาส สภาพเช่นนั้นคือ ความบกพร่องของทั้งจิตวิญญาน (ทั้งหมดในตัวบุคคล) ที่ต้องเสื่อมลงทุกด้าน และที่สุดคือ ความตาย ดังที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่า "เพราะ‍ว่า​ค่า‍จ้าง​ของ​บาป​คือ​ความ​ตาย".

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและบาป (ศาสนาคริสต์) · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารสหทรรศน์

ระวรสารสหทรรศน์ (คาทอลิก) หรือพระกิตติคุณสัมพันธ์ (โปรเตสแตนต์) (Synoptic Gospels) เป็นพระวรสารสามเล่มแรกจากทั้งหมดสี่เล่มของพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วย พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญลูกา ทั้งสามฉบับมีเนื้อหาและการวางเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันรวมไปถึงลักษณะการใช้ประโยคและบทเขียน และมีทัศนะที่คล้ายคลึงกัน พระวรสารเล่มที่สี่ในสารบบคือพระวรสารนักบุญยอห์น แตกต่างจากสามฉบับแรกเป็นอันมากและแตกต่างจากพระวรสารนอกสารบบ (Apocryphal gospels) ฉบับอื่น.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารสหทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญยอห์น

ระวรสารนักบุญยอห์น (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณยอห์น (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of John; ภาษากรีก: Κατά Ιωαννην, “Kata Iōannēn”) เป็นพระวรสารฉบับที่สี่ของ “พระวรสารในสารบบ ” (Canonical gospels) ซึ่งเป็นเอกสารหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ แต่มิได้ถูกนับเป็นพระวรสารสหทรรศน์สามฉบับซึ่งประกอบด้วยพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญยอห์น เป็นพระวรสารที่เขียนโดยยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นท่านเดียวกับยอห์นอัครทูตซึ่งเป็น "สาวกที่พระองค์ทรงรัก" (john 13:23 One of his disciples, whom Jesus loved, was reclining at table close to Jesus) ผู้ซึ่งรู้วิถีชีวิตของชาวยิวเป็นอย่างดี และได้อ้างถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวอยู่หลายบทในพระวรสารเล่มนี้ ยอห์นเป็นอัครทูตแห่งความรัก ไม่มีใครบรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้าได้อย่างยอห์น เช่น "เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์" กับอีกหลายเหตุการณ์ที่ยอห์นบรรยายถึงพระเยซูได้อย่างจับใจ แสดงว่าเรื่องราวต่างๆถูกบันทึกจากความทรงจำที่ได้เห็นมากับตา พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นประมาณปี..85 หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับพระวรสารอีกสามฉบับที่เล่าเรื่องชีวิตของพระเยซูคริสต์ แต่บางเหตุการณ์มีการตีความอย่างละเอียด พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นพระวรสารของ “ความเชื่อ” ที่เขียนขึ้นเพื่อจะยืนยันกับผู้อ่านว่าพระเยซูเป็น "พระเมสสิยาห์" และเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” ดังที่ปรากฏอยู่ในพระวรสารว่า "แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *คือการเข้าอาศัยอยู่ในพระเยซูคริสต์ รักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ดั่งพระองค์ เชื่อและปฏิบัติตามคำสั่ง และคำสอนของพระองค์ ในแง่ของเทววิทยาศาสนาคริสต์แล้ว พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นฉบับที่มีน้ำหนักที่สุดในทางคริสตวิทยา (Christology) ซึ่งบรรยายพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าว่าเป็น “พระวจนะ” (Logos) (ภาษากรีกหมายความว่า “คำ” “เหตุผล” “ความเป็นเหตุเป็นผล” “ภาษา” หรือ “โอวาท”) ผู้เป็น “Arche” (ภาษากรีกหมายความว่า “ผู้เป็นตัวตนมาตั้งแต่ต้น” หรือ “เป็นสิ่งที่สุดของทุกอย่าง”), กล่าวถึงความเป็นผู้ที่มาช่วยมวลมนุษย์ และประกาศพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า พระวรสารของยอห์นได้รับการทรงนำจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นอย่างมาก บทเริ่มต้นของพระวรสารนำผู้อ่านกลับไปสู่ช่วงก่อนกาลเวลา ซึ่งมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นอยู่ คล้ายกับบทเริ่มต้นในพระธรรมปฐมกาลที่พระเจ้าทรงสร้างโลก รวมทั้งการกล่าวถึงเทศกาลของชาวยิวอยู่บ่อยๆ "ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​สถิต​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า ใน​ปฐม​กาล​พระ​องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า​ ​พระ​เจ้า​ทรง​สร้าง​สิ่ง​ทั้ง​ปวง​ขึ้น​มา​โดย​พระ​วาทะ ใน​บรรดา​สิ่ง​ที่​เป็นมา​นั้น ไม่​มี​สัก​สิ่ง​เดียว​ที่​ได้​เป็นมา​นอกเหนือ​พระ​วาทะ​ ​พระ​องค์​ทรง​เป็น​แหล่ง​ชีวิต และ​ชีวิต​นั้น​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์​ ความ​สว่าง​ส่อง​เข้า​มา​ใน​ความ​มืด และ​ความ​มืด​หา​ได้​ชนะ​ความ​สว่าง​ไม่" (john 1:1-5) พระวรสารฉบับนี้กล่าวถึงพระเยซูอย่างมีเนื้อหา มีคำสอนเป็นอันมากที่พระองค์ทรงสอนกับสาวก อีกทั้งยังได้บันทึกเหตุการณ์บางอย่างที่พระวรสารเล่มอื่นไม่ได้กล่าวถึงไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า "ห้องชั้นบน" เป็นช่วงเวลาของการร่วมรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูคริสต์ตรัสเป็นส่วนตัวกับเหล่าสาวกของพระองค์ถึงเรื่องความรอด ประตูซึ่งนำไปสู่ความรอด พระบัญญัติแห่งพระเยซู ความรักที่พระองค์มีให้ต่อเหล่าสาวก การเปิดเผยถึงการทรยศของยูดาส อิสคาริโอท​ การสำแดงพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ถึงความเป็นหนึ่งเดียว การเปิดเผยและทำนายการตายของพระองค์เอง และฟื้นขึ้นในวันที่สาม และความชื่นชมยินดี ยอห์นได้รับการทรงนำในการเขียนพระวรสารเล่มนี้ และพระวรสารเล่มนี้ได้บอกให้ทราบว่า พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เพราะว่าตั้งแต่ก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จเข้ามาในโลก พระองค์ทรงดำรงอยู่กับพระเจ้า และยอห์นได้เน้นคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ของพระเยซู เช่น พระองค์มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ มีการกันแสงด้วยความเศร้าเสียใจ ฯลฯ ยอห์นยังได้บันทึกพระวรสารเล่มนี้ เพื่อให้ผู้ใดที่เชื่อในพระเยซู แล้ว "ก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *พระองค์โปรดประทานพระนามพระองค์ให้เหล่าผู้เชื่อ เพื่อเป็นสิทธิอำนาจในการอธิษฐาน และเกิดขึ้นจริงตามนั้นโดยพระนามของพระองค์ และยอห์นบอกเล่าถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น "เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ" ซึ่งนำมาสู่การสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระองค์ เพื่อไถ่บาปแก่คนที่เชื่อในพระองค์ทั้งสิ้น ให้ได้รับความรอดจากการถูกพิพากษา เป็นต้น พระวรสารนักบุญยอห์น ใช้ “ยอห์น” หรือ “ยน” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญยอห์น · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสตราชา

"พระคริสตราชา" ผลงานของยัน ฟัน ไอก์ พระคริสตราชา (Christ the King) เป็นสมัญญาที่คริสต์ศาสนิกชนถวายแด่พระเยซู ในฐานะที่ทรงเป็นพระคริสต์และเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหล.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระคริสตราชา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูทรงรับบัพติศมา

''พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง'' ของฟรันเชสโก อัลบานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17''Medieval art: a topical dictionary'' by Leslie Ross 1996 ISBN 978-0-313-29329-0 page 30 เหตุการณ์พระเยซูทรงรับบัพติศมา (โปรเตสแตนต์) หรือ พระเยซูทรงรับพิธีล้าง (คาทอลิก) (Baptism of Jesus) ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติพระภารกิจของพระเยซู เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในพระวรสารทั้ง 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การจำแลงพระกาย การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 ยอห์นผู้ให้บัพติศมาประกาศพิธีบัพติศมาด้วยน้ำเพื่อแสดงการกลับใจและขอรับการอภัยบาปจากพระเจ้า ท่านกล่าวว่าจะมีผู้หนึ่งมาภายหลัง ผู้นั้นจะให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และไฟ ท่านจึงได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้น พระเยซูได้เสด็จไปแม่น้ำจอร์แดนและรับบัพติศมาจากยอห์นด้วย พระวรสารยังบรรยายเหตุการณ์ขณะนั้นว่าฟ้าสวรรค์ได้เปิดออก พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏรูปเหมือนนกพิราบบินลงมาเหนือพระเยซู พร้อมกับมีเสียงจากสวรรค์ประกาศว่า "ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก" คริสต์ศาสนิกชนส่วนมากถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของพิธีบัพติศมาซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ แนวคิดบุตรบุญธรรมนิยมซึ่งศาสนาคริสต์ยุคแรกประณามว่าเป็นความเชื่อนอกรีตก็เกิดขึ้นเพราะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้ ศาสนาคริสต์ตะวันออกจัดฉลองพระเยซูทรงรับบัพติศมาในวันที่ 6 มกราคม ส่วนคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน และบางนิกายจัดการฉลองในสัปดาห์ถัดมาเรียกว่าวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับพิธีล้าง.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ)

ระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (The Calling of St Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” เขียนเสร็จระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 สำหรับชาเปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิในกรุงโรม ในทศวรรษก่อนหน้านั้น หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลในหัวเรื่องของชื่อของท่าน (มัตเตโอ.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพระบุตร

ตามหลักเทววิทยาศาสนาคริสต์ ถือว่าพระเจ้าพระบุตร (God the Son) คือพระบุคคลที่สองในตรีเอกภาพ โดยเชื่อว่าพระเจ้าพระบิดา พระเจ้าพระบุตร และพระเจ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระเจ้าในสารัตถะเดียว แต่ต่างบุคคลกัน และเชื่อว่าพระเจ้าพระบุตรก็คือพระเยซู ตามความเชื่อนี้ พระเจ้าพระบุตรดำรงอยู่มาก่อนที่จะรับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซู และเป็นพระเป็นเจ้าที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์เช่นเดียวกับพระบิดาและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คำว่า "พระเจ้าพระบุตร" จึงเน้นถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซู ต่างจากคำว่า พระบุตรของพระเจ้า ที่เน้นความเป็นมนุษย์มากกว.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเจ้าพระบุตร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮโรดมหาราช

ระเจ้าเฮโรดมหาราช (Herod the Great หรือ Herod I; הוֹרְדוֹס Horodos, Ἡρῴδης (Hērōdēs)) (73 - 4 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งมณฑลยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน เฮโรดมิได้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิว และตอนแรกเป็นเพียงคนรับใช้ กล่าวกันว่าเป็น “ผู้บ้าอำนาจและฆาตกรรมครอบครัวของตนเองและรับบีอีกหลายคน” พระเจ้าเฮโรดมหาราชมักจะสับสนกับเฮโรด อันทิปาสที่มาจากราชวงศ์เฮโรเดียน (Herodian dynasty) เดียวกัน ผู้เป็นประมุขของกาลิลี ระหว่างปีที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเจ้าเฮโรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาใหม่

ันธสัญญาใหม่ หรือ พระคริสตธรรมใหม่ (Καινή Διαθήκη; New Testament) เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ทุกเล่มเขียนโดยนักบุญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและพันธสัญญาใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

การมาครั้งที่สอง

การมาครั้งที่สอง ตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนและชาวมุสลิม การมาครั้งที่สอง (Second Coming) หมายถึงการที่พระเยซูจะเสด็จมาบนโลกอีกครั้งในอนาคต ความเชื่อนี้มีที่มาจากข้อความในพระวรสารในสารบบและถูกพัฒนาต่อมาตามอวสานวิทยาของศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม แนวคิดเรื่องการมาครั้งที่สองถือเป็นหลักความเชื่อสำคัญ จึงปรากฏรายละเอียดในหลักข้อเชื่อไนซีนว.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการมาครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

การหนีไปอียิปต์

ระเยซูหนีไปอียิปต์ (Flight into Egypt) เป็นเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ไบเบิลที่บรรยายในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว (แม็ทธิว) เมื่อนักบุญโจเซฟหนีไปอียิปต์พร้อมกับพระแม่มารีและพระบุตรหลังจากการมาถวายของขวัญของแมไจ เมื่อได้ข่าวว่าพระเจ้าแฮรอด (Herod Antipas) มีคำสั่งให้สังหารเด็กทารกในอาณาจักร เหตุการณ์นี้เป็นหัวเรื่องที่จิตรกรนิยมวาดกันมากฉากหนึ่งและเป็นฉากสุดท้ายในภาพชุด “การประสูติของพระเยซู” และในชุด “ชีวิตของพระแม่มารี” และ “ชีวิตของพระเยซู”.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการหนีไปอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองพระเยซู

การทดลองพระเยซู (Temptation of Christ) ในศาสนาคริสต์ หมายถึง เหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูเมื่อทรงถูกทดลองโดยมารร้ายจากรายละเอียดจาก “พระวรสารสหทรรศน์” พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา ในการแปลต่าง ๆ ในคริสต์ศาสนามักจะใช้คำว่า “ซาตาน” ในการบรรยายถึงศัตรูของพระเยซู แต่ในคัมภีร์ไบเบิลจะใช้คำว่า “diabolos” ในภาษากรีกซึ่งแปลว่า “ผู้กล่าวร้าย” ในพระวรสารนักบุญมัทธิวและ พระวรสารนักบุญลูกาไม่ได้ใช้คำว่า “ซาตาน” แต่พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้คำว่า “ซาตาน” ตามที่กล่าวถึงในพระวรสาร หลังจากพระเยซูทรงรับบัพติศมา ก็ทรงอดพระกระยาหารเป็นเวลา 40 วันในทะเลทราย ระหว่างนี้ปีศาจร้ายก็มาปรากฏตัวต่อพระเยซูและยั่วให้พระองค์แสดงปาฏิหาริย์เพื่อพิศูจน์ว่าเป็นเทพจริง แต่ทุกครั้งที่พยายามพระเยซูก็ทรงปฏิเสธด้วยการอ้างหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติจากคัมภีร์ไบเบิล พระวรสารกล่าวต่อไปว่าเมื่อไม่สำเร็จปีศาจก็หายตัวไป เทวดาก็นำอาหารที่บำรุงร่างกายมาถวายพระเยซู พระวรสารนักบุญมาระโกกล่าวถึงชีวิตตอนนี้เพียงสั้น ๆ แต่พระวรสารนักบุญมัทธิงและพระวรสารนักบุญลูกาบรรยายการทดสอบของมารอย่างละเอียด โดยการบรรยายถึงคำสนทนาระหว่างพระเยซูกับมาร จากวิธีเขียนของพระวรสารนักบุญมัทธิงและลูกาที่ส่วนใหญ่จะเป็นคำอ้างอิงที่เป็นคู่ ๆ แทนที่จะเป็นคำบรรยาย ทำให้นักวิชาการเชื่อกันว่ารายละเอียดเหล่านี้มีรากฐานมาจาก “เอกสารคิว”.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการทดลองพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การดลใจนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)

การดลใจนักบุญมัทธิว (The Inspiration of Saint Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ตั้งอยู่ภายในชาเปลคอนทราเรลลิในโบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลในหัวเรื่องของชื่อของท่าน (มัตเตโอ.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการดลใจนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ)

นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน (Crucifixion of St.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันอยู่ที่วัดซานตามาเรียเดลโปโปโลในกรุงโรมในประเทศอิตาลี ภาพ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” เป็นภาพที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1601 เป็นภาพที่เขียนสำหรับชาเปลเซราซิ (Cerasi Chapel) ภายในวัดซานตามาเรียเดลโปโปโล ตรงกันข้ามเป็นภาพ “มโนทัศน์ของนักบุญพอลบนถนนสู่ดามาสคัส” ซึ่งเป็นภาพเขียนอีกภาพหนึ่งของคาราวัจโจ ตรงกลางบนแท่นบูชาระหว่างสองภาพนี้เป็นภาพ “อัสสัมชัญของพระแม่มารี” โดยอันนิบาเล คารัคชี ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงการพลีชีพโดยการถูกตรึงกางเขนของนักบุญปีเตอร์—ก่อนจะถูกตรึงกางเขนนักบุญปีเตอร์ขอให้เป็นกางเขนที่กลับกับกางเขนที่ใช้ในการตรึงพระเยซูเพื่อที่จะไม่เป็นการเลียนแบบพระองค์ นักบุญปีเตอร์จึงถูกตรึงกางเขนโดยการห้อยหัวลงมา นอกจากนักบุญปีเตอร์แล้วก็มีชาวโรมันที่เราไม่เห็นหน้าพยายามที่จะตั้งกางเขนของนักบุญผู้สูงอายุแต่ก็ยังมีกล้ามเนื้อ นักบุญปีเตอร์ดูจะมีน้ำหนักมากกว่าที่ร่างกายบ่งไว้ที่ต้องใช้คนถึงสามคนในการพยายามยกกางเขนขึ้นราวกับว่าบาปในสิ่งที่กำลังทำถ่วงตัวบุคคลทั้งสาม ภาพสองภาพนี้และฉากแท่นบูชาที่เขียนโดยอันนิบาเล คารัคชีได้รับการจ้างให้เขียนโดยมอนซิยอร์ทิแบริโอ เซราซิผู้เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น ภาพเขียนแรกทั้งสองภาพได้รับการปฏิเสธ และผ่านมือไปเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคลของคาร์ดินัลซันเนซซิโอ นักวิชาการหลายคนที่รวมทั้งจอห์น แกช, เฮเลน แลกดอน และปีเตอร์ รอบบ์ สันนิษฐานว่าคาร์ดินัลซันเนซซิโอฉวยโอกาสเมื่อเซราซิเสียชีวิตโดยไม่คาดในการเป็นเจ้าของภาพหลายภาพของคาราวัจโจ แต่ภาพแรกของ “นักบุญปีเตอร์ตรึงกางเขน” สูญหายไป นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นภาพที่เป็นของพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกัน ภาพที่สองจึงได้รับการยอมรับในปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการตรึงนักบุญเปโตรบนกางเขน (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

การฉาบปูนขาว

การฉาบปูนขาวภาคพันธสัญญาใหม่, มัทธิว, บทที่ 23, ข้อที่ 27:"วิบัติแก่เจ้า พวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสี คนหน้าซื่อใจคด เพราะว่า เจ้าเป็นเหมือนอุโมงค์ฝังศพซึ่งฉาบด้วยปูนขาว ข้างนอกดูงดงามจริง ๆ แต่ข้างในเต็มไปด้วยกระดูกคนตาย และการโสโครกสารพัด" "...like whitewashed tombs, which look beautiful on the outside but on the inside are full of dead men's bones." (whitewashing) เป็นคำพังเพยในสังคมตะวันตก หมายถึง "ปกปิดหรือซ่อนเร้นความชั่ว ความผิด หรือความอัปยศ หรือทำให้พ้นข้อครหา โดยใช้วิธีสืบสวนแบบขอไปที หรือนำเสนอข้อมูลข่าวสารอันมากด้วยอคติ""Whitewash",Encyclopedia Britannica, 2003 DVD Ultimate reference suite.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการฉาบปูนขาว · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศข่าวดี

การประกาศข่าวดี (ศัพท์คาทอลิก) หรือ การประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelism) คือการเผยแพร่พระวรสารหรือประกาศข่าวดีตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าผู้มารับสภาพมนุษย์และถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เพื่อไถ่มนุษย์ผู้เชื่อจากบาป หลังจากนั้น 3 วัน ก็ทรงคืนพระชนม์แล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าผู้เชื่อข่าวดีนี้จะถูกไถ่จากบาปทันทีและได้ขึ้นสวรรค์หลังจากเสียชีวิต จนถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็จะได้รับบำเหน็จจากพระเจ้า การประกาศข่าวดีถือเป็นพันธกิจสำคัญที่พระเยซูฝากไว้แก่สาวกของพระองค์ก่อนจะเสด็จขึ้นสวรรค์ ดังปรากฏในพระวรสารนักบุญมัทธิวว่า "ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" ผู้อุทิศตนทำงานประกาศข่าวดีเรียกว่า ผู้ประกาศข่าวดี (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelist).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการประกาศข่าวดี · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู

“การประสูติ” โดยเปตรุส คริสตุส (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445 การประสูติของพระเยซู (The Nativity of Jesus; the Nativity) หรือพระคริสตสมภพ ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์นมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซูไว้ แหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของนางมารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล การระลึกถึง การแสดง หรือการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระเยซูถือเป็นหัวใจของการฉลองเทศกาลคริสต์มาส เพื่อแสดงความเชื่อว่าพระเยซูชาวนาซาเรธเป็น “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ตามที่ทำนายไว้คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในบางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก ถือว่าจุดยอดของการฉลองอยู่ที่พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสคริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการประสูติของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)

นายช่างโบฮีเมีย ราวปี ค.ศ. 1350 แสดงให้เห็นอิทธิพลของไบเซนไทน์แบบอิตาลีในราชสำนักของจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การประสูติของพระเยซู (Nativity หรือ Nativity of Jesus) เป็นหัวเรื่องที่วาดกันบ่อยที่สุดหัวข้อหนึ่งในศิลปะศาสนาคริสต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบของศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันคริสต์มาสตามข้อมูลในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกา และต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องราวจากข้อเขียนอื่น ๆ หรือเรื่องเล่าต่างๆ ศิลปะคริสต์ศาสนามักจะมีรูปเคารพของพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซู งานศิลปะแบบนี้จะเรียกว่า “แม่พระและพระกุมาร” หรือ “พระนางพรหมจารีและพระกุมาร” แต่รูปนี้จะไม่รวมอยู่ในชุด “การประสูติของพระเยซู” ฉากการประสูติของพระเยซูจะมีคำบรรยายอย่างชัดเจนจากหลักฐานหลายแห่ง การกำเนิดของพระเยซูเป็นฉากที่ใช้ในการสร้างศิลปะหลายแบบทั้งทางจักษุศิลป์และประติมากรรม และศิลปะแบบอื่นๆ ในรูปของจักษุศิลป์ก็อาจจะเป็น ไอคอน, จิตรกรรมฝาผนัง, บานพับภาพ, ภาพเขียนสีน้ำมัน, หนังสือวิจิตร และ หน้าต่างประดับกระจกสี บางครั้งการแสดงภาพก็อาจจะผสมระหว่างจักษุศิลป์และประติมากรรม ที่ตั้งของภาพหรืองานศิลปะก็อาจจะเป็น ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) ศิลปะแบบอื่นๆ ก็อาจจะเป็นจุลจิตรกรรม งานแกะงาช้าง การแกะภาพบนโลงหิน การสลักบนหน้าบันเหนือประตูทางเข้าโบสถ์ หรือคานเหนือประตู หรืออาจจะเป็นรูปปั้นแบบลอยตัว รูปปั้นแบบลอยตัวของ “การประสูติของพระเยซู” มักจะทำเป็น “Creche” หรือ “Presepe” ซึ่งเรียกว่า “ฉากพระเยซูประสูติ” (Nativity scene) ซึ่งอาจจะใช้ตั้งตรงมุมใดมุมหนึ่งของโบสถ์ หน้าหรือในสถานที่สาธารณะ, บ้าน หรือกลางแจ้งเป็นการชั่วคราว ขนาดของกลุ่มรูปปั้นก็มีตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนขนาดเท่าคนจริง ที่มาของการสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” อาจจะมาจากการแสดงกลุ่มรูปปั้น ที่เรียกว่า “Tableau vivant” ที่กรุงโรม ซึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมีบทบาททำให้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น การสร้าง “ฉากพระเยซูประสูติ” ก็ยังเป็นที่นิยมกันถึงปัจจุบันนี้ โดยบางครั้งฉากเล็กอาจจะทำจากกระเบื้องพอร์ซิเลน (Porcelain), พลาสเตอร์, พลาสติก หรือ กระดาษ เพื่อใช้ตั้งภายในที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการประสูติของพระเยซู (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

การประหารทารกผู้วิมล

ตรกรรม “ทารกผู้วิมล” (the Holy Innocents) โดยแมตเทโอ ดี จีโอวานนี (Matteo di Giovanni) ค.ศ. 1482 (พ.ศ. 2024) การประหารทารกผู้วิมล (Massacre of the Innocents) เป็นมหาทารกฆาตอันกษัตริย์เฮโรด พระเจ้ากรุงเยรูซาเลม รับสั่งให้ประหารทารกเพศชายผู้ไร้มลทินทั้งนครเบธเลเฮม ในวาระที่พระเยซูประสูติ เพื่อกันมิให้พระองค์ต้องทรงเสียพระราชบัลลังก์ไปให้แก่พระเยซูผู้ทรงได้ชื่อว่าเป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” เหตุการณ์นี้มีบันทึกในพระวรสารนักบุญมัทธิว (Gospel of Matthew) บทที่ 2 ข้อ 13-16 ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลงานการประพันธ์ของนักบุญมัทธิว ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (Matthew the Evangelist) และพระวรสารนักบุญเจมส์เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2Protoevangelium of James: Online.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการประหารทารกผู้วิมล · ดูเพิ่มเติม »

การประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ)

“การประหารทารกผู้วิมล” โดย จอตโต ดี บอนโดเน การสังหารทารกบริสุทธิ์ (ภาษาอังกฤษ: Massacre of the Innocents) เป็นฉากหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระแม่มารีที่เป็นการสังหารหมู่ของทารกในเมืองบ้านเบ็ธเลเฮม ตามพระราชโองการของ พระเจ้าแฮรอดมหาราช พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน ที่บรรยายในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว ผู้ประพันธ์เชื่อกันว่าเป็นนักบุญแม็ทธิวอีแวนเจลลิส บันทึกว่าพระเจ้าแฮรอดมีพระบรมราชโองการให้ฆ่าเด็กผู้ชายในหมู่บ้านเบ็ธเลเฮมเพื่อป้องกันการยึดครองราชบัลลังก์โดยเด็กที่เกิดใหม่ ตามคำพยากรณ์ของแมไจที่ว่าเมื่อโตขึ้นจะได้เป็น “กษัตริย์ของชาวยิว” (King of the Jews) หัวเรื่อง “การประหารทารกผู้บริสุทธิ์” เป็นหัวเรื่องหนึ่งของศิลปะคริสต์ศาสนาที่ศิลปินนิยมสร้างหรือเขียนกัน.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการประหารทารกผู้วิมล (ศิลปะ) · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการของโหราจารย์

“การนมัสการของโหราจารย์” โดย เดียริค เบาท์ คริสต์ศตวรรษที่ 15 “การนมัสการของโหราจารย์” โดย เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน ค.ศ. 1423 การนมัสการของโหราจารย์ (Adoration of the Magi) เป็นชื่อที่ใช้ในหัวข้อการวาดภาพหนึ่งในชุดการประสูติของพระเยซู ซึ่งเป็นภาพของโหราจารย์สามคนเดินทางตามดาวแห่งเบธเลเฮม (star of Bethlehem) จนกระทั่งพบพระกุมารเยซู เมื่อพบแล้วก็มอบของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน และมดยอบ (myrrh) และถวายการสักการะ ในปฏิทินศาสนาเหตุการณ์นี้ฉลองกันทางตะวันตกในวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ซึ่งเป็นวันฉลองการที่พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์คือพระเยซู ทุกวันที่ 6 มกราคม ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันเดียวกับวันประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคม การขยายความจากคำบรรยายเพียงสั้นๆ เกี่ยวกับแมไจในพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 2 ข้อที่ 1-11 เป็นการแสดงว่าการประสูติของพระเยซูเป็นที่ยอมรับตั้งแต่ประสูติในฐานะกษัตริย์แห่งโลก.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการนมัสการของโหราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

การเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ)

การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว (The Martyrdom of Saint Matthew) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ตั้งอยู่ภายในชาเปลคอนทราเรลลิในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิในกรุงโรมในประเทศอิตาลี หลังจากเสียชีวิตไปแล้วคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “มัตเตโอ คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีก็ทิ้งมรดกไว้โดยระบุว่าให้ใช้ในการตกแต่งชาเปลของตนเองในหัวเรื่องของนักบุญผู้ที่ท่านใช้เป็นชื่อ (มัตเตโอ.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและการเป็นมรณสักขีของนักบุญมัทธิว (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอราเมอิกพระเยซู

ษาอราเมอิกพระเยซู (Aramaic of Jesus)เป็นภาษาอราเมอิกที่นักวิชาการเชื่อว่าพระเยซูเคยใช้พูด ควบคู่ไปกับภาษาฮีบรูและภาษากรีก เมืองนาซาเร็ธและคาร์เปอร์เนียมที่พระเยซูเคยอยู่ เป็นชุมชนที่เคยพูดภาษาอราเมอิก ส่วนภาษากรีกเป็นภาษาที่ใช้พูดอย่างกว้างขวางในจักรวรรดิโรมันตะวันออก เป็นที่ทราบกันดีว่าพระเยซูทรงรู้ภาษาฮีบรูและอภิปรายเกี่ยวกับไบเบิลภาษาฮีบรูได้ ภาษาอราเมอิกเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกที่ใกล้เคียงกับภาษาฮีบรูที่เป็นภาษาในเขตเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกในช่วงเวลาระหว่างจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ บาบิโลเนียใหม่ และอาแคมินิดรวมทั้งช่วงเวลาหลังจากนั้น (179 ปีก่อนพุทธศักราช - พ.ศ. 213) หลังจากการรุกรานของกรีก..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและภาษาอราเมอิกพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

มัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร

มัทธิว (Matthew the Evangelist; מתי - ของขวัญของพระเจ้า; ภาษาฮีบรูมาตรฐาน และ ภาษาฮีบรูไทบีเรียน “Mattay”; Μαθθαίος, “Matthaios”) เป็นอัครทูตของพระเยซู และเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีกสามท่านคือ มาระโก ยอห์น และลูกา) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมัทธิวซึ่งเป็นพระวรสารฉบับหนึ่งในพันธสัญญาใหม่ และเชื่อกันว่าเป็นคนเดียวกับ “เลวี” (Levi) ผู้เก็บภาษี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ (มารดาพระเยซู)

มารีย์ (מרים, มัรยาม, มีเรียม) คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายเรียกว่าพระแม่มารีย์ พระนางมารีย์พรหมจารี (Blessed Virgin Mary) หรือพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า (Mary, Mother of God) (ในอัลกุรอานว่านางมัรยัม) เป็นสตรีชาวยิวจากเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่และคัมภีร์อัลกุรอานระบุตรงกันว่านางได้เป็นมารดาของพระเยซูโดยอำนาจของพระเจ้า พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูการะบุว่ามารีย์เป็นหญิงพรหมจรรย์ (παρθένος, parthénos ในภาษากรีก) ชาวคริสต์เชื่อสืบกันมาแต่อดีตว่านางได้ตั้งครรภ์บุตรด้วยอำนาจพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ยังเป็นหญิงพรหมจรรย์ ส่วนชาวมุสลิมก็เชื่อว่านางตั้งครรภ์ด้วยโองการของพระเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อนางได้หมั้นหมายกับนักบุญโยเซฟแล้วและอยู่ระหว่างรอพิธีแต่งงาน เมื่อนางได้แต่งงานกับโยเซฟแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งได้เป็นที่ประสูติพระเยซู ตามธรรมเนียมยิวการหมั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนางอายุราว 12 ปีแล้วให้กำเนิดพระเยซูในหนึ่งปีหลังจากนั้น คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มกล่าวถึงนางด้วยเหตุการณ์แม่พระรับสาร เมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลมาปรากฏกายต่อหน้านาง แล้วแจ้งว่าพระเจ้าทรงเลือกนางให้เป็นมารดาของพระเยซู คริสตจักรและข้อเขียนนอกพระคัมภีร์ในยุคแรกยังระบุว่าบิดามารดาของนางเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุชื่อนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา คัมภีร์ไบเบิลบันทึกถึงบทบาทของนางในชีวิตของพระเยซูตั้งแต่การตั้งครรภ์พระองค์จนถึงพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ ข้อเขียนจากคัมภีร์นอกสารบบยังกล่าวว่าหลังจากมรณกรรมนางได้รับการยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณด้ว.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและมารีย์ (มารดาพระเยซู) · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ชาวมักดาลา

มารีย์ชาวมักดาลา หรือพบเขียนว่าแมรี แม็กดาเลน (Μαρία ἡ Μαγδαληνή, Mary Magdalene) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง และเป็นสาวกสตรีคนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวของพระเยซู พระเยซูทรงขับ "เจ็ดผี" ออกจากตัวนาง ซึ่งตามฉบับนั้นตีความว่าหมายถึงอาการป่วยอันซับซ้อนSaint Mary Magdalene.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบ บุตรอัลเฟอัส

กอบ บุตรอัลเฟอัส (James, son of Alphaeus) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ ไม่ทราบสถานที่เกิดและปีที่เกิด และเสียชีวิตโดยการตรึงกางเขนที่ออสตราไคน์ ทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ราว..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและยากอบ บุตรอัลเฟอัส · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบ บุตรเศเบดี

กอบ บุตรเศเบดี (James, son of Zebedee หรือ Yaakov Ben-Zebedee) หรือนักบุญยากอบองค์ใหญ่ (James the Greater) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เสียชีวิตราว..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและยากอบ บุตรเศเบดี · ดูเพิ่มเติม »

ยากอบผู้ชอบธรรม

กอบ (יעקב. Ya'akov; Ἰάκωβος Iákōbos คำเดียวกันกับคำว่า "ยาโคบ") ผู้ได้รับสมัญญาว่าผู้ชอบธรรม เปาโลอัครทูตเรียกท่านว่าพี่/น้องขององค์พระผู้เป็นเจ้า แม้จะไม่ใช่อัครทูต แต่ก็มีบทบาทสำคัญในคริสตจักรยุคแรก ๆ จนได้รับเลือกเป็นผู้ปกครองดูแลคริสตจักรในกรุงเยรูซาเลมเป็นคนแรก เชื่อว่าเป็นผู้เขียนจดหมายของนักบุญยากอบ และเป็นคนละคนกับยากอบ บุตรเศเบดี ชาวคาทอลิกเชื่อว่าท่านเป็นคนเดียวกันกับอัครทูตยากอบ บุตรอัลเฟอั.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและยากอบผู้ชอบธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ยูดาส อิสคาริโอท

นักบุญยูดาส อิสคาริโอท (Judas Iscariot; יהודה איש־קריות Yəhûḏāh ʾΚ-qəriyyôṯ) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซูผู้กล่าวว่ามีหน้าที่ถือ “ถุงเงิน” (ภาษากรีก: γλωσσόκομον) และเป็นผู้ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ทรยศต่อพระเยซูโดยการบอกทหารประจำพระวิหารว่าใครคือพระเยซูซึ่งเป็นผลให้พระเยซูถูกจั.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและยูดาส อิสคาริโอท · ดูเพิ่มเติม »

รับบี

ราไบโมเช ไฟน์สไตน์ผู้นำคนสำคัญของศาสนายูดาห์ออร์ทอดอกซ์ของครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 รับบี (רב รับบี; Rabbi, แรบาย) เป็นภาษาฮิบรูแปลว่า “อาจารย์” เป็นคำที่ใช้ในศาสนายูดาห์ที่หมายถึงผู้สอนศาสนา คำว่า “rabbi” มีรากมาจากภาษาฮิบรูว่า “רַב” หรือ “rav” ที่ในคัมภีร์ฮีบรูหมายความว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ “เป็นที่เคารพ” คำนี้มีรากมาจากรากภาษากลุ่มเซมิติก R-B-B เทียบเท่ากับภาษาอาหรับ “ربّ” หรือ “rabb” ที่แปลว่า “lord” (ที่โดยทั่วไปเป็นการเอ่ยถึงพระเจ้าทางโลกด้วย เพื่อเป็นการแสดงความนับถือบางครั้งรับบีผู้มีชื่อเสียงก็จะเรียกกันว่า “The Rav.” รับบีไม่ใช่งานอาชีพตามคัมภีร์โทราห์ ฉะนั้นจึงไม่มีการใช้ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเช่น “Rabban” “Ribbi” หรือ “Rab” เพื่อกล่าวถึงนักปราชญ์ในบาบิโลเนียหรือในอิสราเอล แม้แต่ศาสดาผู้มีความสำคัญในพระคัมภีร์ก็ยังไม่เรียกว่ารับบี แต่เรียกว่า “ฮักไก” ตำแหน่ง “รับบัน” หรือ “รับบี” เริ่มใช้กันเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฮีบรูในมิชนาห์ (ราว 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกสำหรับรับบันกามาลิเอลผู้อาวุโส (Rabban Gamaliel the elder), ราบันซิเมอันลูกชาย และโยฮานัน เบน ซัคไค ซึ่งต่างก็เป็นประธานสภาซันเฮดริน คำนี้ในภาษากรีกพบในพระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญมาระโก และพระวรสารนักบุญยอห์นในพันธสัญญาใหม่เมื่อกล่าวถึงพระเยซู. การพัฒนาความคิดเกี่ยวกับรับบีเริ่มขึ้นในสมัยฟาริสีและทาลมุด เมื่อปรจารย์มาประชุมกันเพื่อร่างกฎเกี่ยวกับศาสนายูดาห์ทั้งทางภาษาเขียนและภาษาพูด ในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา หน้าที่ของรับบีก็ยิ่งเพิ่มความมีอิทธิพลมากขึ้น ที่ทำให้เกิดคำใหม่ๆ เช่น “รับบีแท่นเทศน์” (pulpit rabbi) และในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หน้าที่ของราไบก็รวมการเทศนา, การให้คำปรึกษา และ การเป็นผู้แทนชองประชาคมในโลกภายนอกก็เพิ่มความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ ในนิกายต่างๆ ของศาสนายูดาห์ ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งรับบีก็แตกต่างกันออกไป หรือกฎที่ใครควรจะเรียกว่าเป็นรับบี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและรับบี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์

รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ (Newfoundland and Labrador) เป็นรัฐของแคนาดา ทางชายฝั่งแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ เป็นส่วนตะวันออกสุดของรัฐแคนาดา ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เกาะนิวฟันด์แลนด์ทางตะวันออกของชายฝั่ง และแลบราดอร์บนแผ่นดินใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ จากข้อมูลเดือนมกราคม..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปเคารพ

“พระเยซู” โดยอันเดร รูเบลฟ (Andrei Rublev) ราวปี ค.ศ. 1410 รูปเคารพทำจากเซรามิคจากราวปีค.ศ. 900 จากเพรสลาฟ ประเทศบัลกาเรีย รูปเคารพ (ภาษาอังกฤษ: icon; ภาษากรีก: εἰκών, eikon) คือรูป, รูปเหมือน หรือสิ่งที่สร้างแทน ที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน “รูปเคารพ” โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยทั่วไปจะหมายถึงสัญลักษณ์เช่นชื่อ, หน้า, รูป หรือคนที่เป็นที่รู้จักที่มีชื่อเสียงที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้สิ่งของหรือรูปเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าไม่ว่าจะเป็นตามตัวอักษรหรือตามการตีความหมายมักจะใช้ในศาสนา, วัฒนธรรม, การเมือง, หรือทางเศรษฐกิจ ในประวัติศาสตร์ลัทธินิยมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมทางศาสนารูปเคารพจะมีอิทธิพลมาจากรูปที่เป็นตัวเป็นตนไม่ว่าจะเป็นรูปสองหรือสามมิติ ความประสงค์ของรูปเคารพไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสั่งสอนหรือเป็นแรงบันดาลใจ หรือวิธีใช้เช่นเพื่อการบูชาหรือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความสำคัญของการใช้รูปเคารพก็ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ใช้และสมัยของการใช้.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับพงศ์ของพระเยซู

ปั้นนูนของ “ต้นไม้ของเจสสี” (Tree of Jesse) แสดงภาพผู้สืบเชื้อสายมาจากเจสสีจนมาถึงพระเยซูที่บาซิลิกาแซงต์เควนแตงในฝรั่งเศส ลำดับพงศ์ของพระเยซู (Genealogy of Jesus) เป็นพงศาวลีวิทยาของพระเยซูซึ่งบันทึกไว้สองบทในพระวรสารสองฉบับคือ และ ที่ลำดับย้อนจากพระเยซูไปถึงกษัตริย์ดาวิด การลำดับพงศ์ในพระวรสารทั้งสองฉบับมีเนื้อหาแตกต่างกันโดยเฉพาะในเรื่องการสืบทางสายนักบุญโยเซฟซึ่งถือว่าเป็นบิดาของพระเยซูไปยังกษัตริย์เดวิด นักบุญมัทธิวเริ่มด้วยอับราฮัมและลำดับการสืบเชื้อสายทางกษัตริย์โซโลมอนพระราชโอรสของกษัตริย์เดวิด และข้ามไปหลายชั่วคน จนกระทั่งย้อนไปถึงอาดัมมนุษย์คนแรก พระวรสารทั้งสองฉบับเห็นพ้องกันว่าพระเยซูมิได้เป็นบุตรของนักบุญโยเซฟแต่เป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงถือกำเนิดจากพระแม่มารีย์ นอกไปจากการกล่าวเป็นนัยยะว่าพระแม่มารีย์สืบเชื้อสายมาทางกษัตริย์เดวิดแล้วก็ไม่มีหลักฐานในพระคัมภีร์เกี่ยวกับเชื้อสายของพระองค์นอกไปจากนั้น และหลักฐานอื่นๆ ที่บางชิ้นก็เป็นหลักฐานเก่ากล่าวถึงญาติสนิท และให้คำอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างพระวรสารทั้งสองฉบับ ความขัดแย้งของข้อมูลของพระวรสารทั้งสองฉบับสร้างความขัดแย้งให้แก่ผู้อ่านมาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว แต่นักวิชาการสมัยปัจจุบันมีความเห็นว่าการลำดับพงศ์ในพระวรสารดังกล่าวเป็นเพียงการจัดระบบทางเทววิทยามากกว่าที่จะเป็นความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ และมีการเสนอว่าโยเซฟมีบิดาสองคน คนหนึ่งเป็นบิดาตามกฎหมาย ส่วนนักวิชาการผู้อื่นมีความเห็นว่าพระวรสารฉบับหนึ่งบันทึกลำดับบรรพบุรุษของพระแม่มารีย์ไว้จริง.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและลำดับพงศ์ของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

สะโลเม

“สะโลเม” โดยทิเชียน สะโลเม (Salome; Σαλωμη) เป็นลูกสาวของเฮโรเดียส (Herodias) จากพันธสัญญาใหม่ (มาระโก 6:21-29 และมัทธิว 14:6-11 แต่ไม่ได้กล่าวชื่อ) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา (หรือยอห์นแบปติสต์) แหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งเกี่ยวกับสะโลเมมาจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์ชนยิว” (Antiquities of the Jews) โดยนักประวัติศาสตร์ชาวยิวเฟลเวียส โจซีฟัส (Flavius Josephus) ที่กล่าวถึงชื่อและรายละเอียดของครอบครัว ตามตำนานในคริสต์ศาสนาสะโลเมเป็นสัญลักษณ์ของสตรีที่มีเสน่ห์แรงเช่นในการเต้นรำที่ยั่วยวนอารมณ์ที่กล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ หรือเน้นความใจแข็งไม่แคร์ต่อความรู้สึกซึ่งตามพระวรสารเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความตายของนักบุญยอห์นแบปติสต์ ในบทละคร “สะโลเม” ออสคาร์ ไวลด์ (Oscar Wilde) เพิ่มลักษณะว่าเป็นผู้หลงเสน่ห์ศพ (necrophiliac) และถูกฆ่าวันเดียวกับที่ผู้ที่เธอขอให้ฆ่าตาย อีกความหมายหนึ่งมาจากอุปรากรของริชาร์ด เสตราส์ (Richard Strauss) ที่เขียนจากบทละครของออสคาร์ ไวลด์ แต่ไม่ตรงกับข้อเขียนของโจซีฟัส ผู้กล่าวว่าสะโลเมมีชีวิตยืนต่อมาจนแต่งงานอีกสองครั้งและมีลูกอีกหลายคน.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและสะโลเม · ดูเพิ่มเติม »

สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

ัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2, 252-3, 395-6 (Holy Week) เป็นสัปดาห์สำคัญในปีพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ตรงกับสัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรต ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 1 สัปดาห์ก่อนวันอีสเตอร์ ในสัปดาห์นี้มีวันสำคัญหลายวัน ได้แก่ วันอาทิตย์ใบลาน วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมวันอีสเตอร์ สำหรับนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มจากวันเสาร์ลาซารัส (ก่อนวันอาทิตย์ใบลาน).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือดาเนียล

ระธรรมดาเนียล (Book of Daniel; דָּנִיֵּאל) เป็นหนังสือลำดับที่ 5 ในหนังสือผู้เผยพระวจนะ (Nevi'im) ของพระธรรมยูดาย (Tanakh) และเป็นหนังสือเล่มที่ 5 ในหมวดประกาศกใหญ่ ของพระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testament) ของศาสนาคริสต์ เขียนด้วยภาษาฮีบรูในช่วงที่ชาวยิวอยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรบาบิโลน เป็นระยะที่ชนชาติยิวได้ถูกเนรเทศ และถูกบังคับให้อพยพไปยังเมืองบาบิโลน พระธรรมนี้เป็นคำบรรยายของ ดาเนียล ชาวอิสราเอล โดยเฉพาะ ผู้เป็นโหร และที่ปรึกษาทางของ กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ ผู้ปกครองยิ่งใหญ่ ของอาณาจักรบาบิโลน ประมาณ 605 ถึง 562 ก่อนคริสต์ศตวรรษ พระธรรมนี้แบ่งเป็นสองภาค เริ่มด้วยบทที่หนึ่งถึงบทที่หก บอกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของท่าน และ บทที่ 7-12 บรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆ จากคำทำนาย ดาเนียลเขียนถึง ดาเนียลและเพื่อนที่ถูกปรักปรำลงโทษ เพราะไม่ละที้งความเชื่อในพระเจ้าของชนชาติอิสราเอล ต่อมา เป็นคำทำนายความฝัน และแปลความหมายของมโนภาพของกษัตริย์ เนบูคัดเนสซาร์ ในภาคที่สอง ของพระธรรม ดาเนียลกล่าวถึง ความหมาย คำพยากรณ์ และคำแปรความฝัน บรรยายนิมิต และสิ่งที่ทูตสวรรค์อธิบายความหมายให้ท่านโดยตรง ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ระหว่างชาวยิวและคริสตชน ถึงระยะเวลาที่แน่นอนและผู้เขียนที่แท้จริงของพระธรรมดาเนียล เชื่อกันแต่โบราณว่า ผู้พยากรณ์นามว่าดาเนียลผู้เขียน ซึ่งมีชีวิตก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ในหมู่นักศึกษาคริสตธรรมคัมภีร์ยุคใหม่เชื่อว่า พระธรรมเล่มนี้ ได้บันทึก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 และบันทึกหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้ปรากฏและผ่านไปแล้ว และความเห็นแย้งที่สามคือ พระธรรมบทนี้ เขียนเสร็จบริบูรณ์ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 4.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและหนังสือดาเนียล · ดูเพิ่มเติม »

อันล่วงละเมิดมิได้

อันล่วงละเมิดมิได้ (Touch Me Not; Noli Me Tangere) เป็นนวนิยายอมตะเรื่องหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ ประพันธ์โดยโฮเซ รีซัล นักเขียนและนักปฏิวัติในยุคเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน เขาเขียนนวนิยายเรื่องนี้ด้วยภาษาสเปนขณะที่อาศัยอยู่ในยุโรป และเป็นหนังสือต้องห้ามเล่มหนึ่งในอาณานิคมฟิลิปปินส์สมัยนั้น นิยายเรื่องนี้แปลเป็นภาษาไทยโดยจิตราภรณ์ ตันรัตนกุล.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและอันล่วงละเมิดมิได้ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรของพระเป็นเจ้า

อาณาจักรของพระเป็นเจ้าพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล, หน้า 303 (ศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน) หรือ พระอาณาจักรของพระเจ้า (ศัพท์คาทอลิก) หรือ แผ่นดินของพระเจ้า (โปรเตสแตนต์) หมายถึง พระอำนาจของพระเป็นเจ้าในการปกครองทุกสิ่งโดยตลอดชั่วนิรันดร์ ในศาสนาคริสต์ถือว่าเรื่องอาณาจักรของพระเป็นเจ้าเป็นหัวใจของการประกาศข่าวดี พระวรสารนักบุญยอห์นระบุว่า พระเยซูสอนว่าเฉพาะผู้เกิดใหม่ด้วยน้ำและพระวิญญาณบริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะเข้าในอาณาจักรนี้ได้ พระวรสารนักบุญมัทธิวเรียกอาณาจักรของพระเป็นเจ้าว่า "อาณาจักรสวรรค์" (ศัพท์คาทอลิก) หรือ "แผ่นดินสวรรค์" (โปรเตสแตนต์).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและอาณาจักรของพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน

ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านล้อมรอบพระเยซู วาดราว ค.ศ. 850 โดย แฮริกาเรียสแห่งทัวรส์ (Haregarius ofTours) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านบนเพดานบริเวณสงฆ์ในวัดเซ็นต์โมริทซ (St. Moritz) ที่โรทเท็นเบิร์กอัมเนคคาร์ (Rottenburg am Neckar) ประเทศเยอรมันจากบนซ้ายนักบุญมัทธิว (มนุษย์) นักบุญมาระโก (สิงโต) นักบุญลูกา (วัว) และนักบุญยอห์น (อินทรี) ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (Four Evangelists) หมายถึงผู้ประพันธ์พระวรสารสี่เล่มซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่ในคัมภีร์ไบเบิล วรสาร แปลว่า ข่าวประเสริฐ ซึ่งหมายถึงข่าวการเสด็จมาของพระเยซู หรือชีวประวัติของพระองค์นั่นเอง อย่างไรก็ดีพระวรสารเขียนขึ้นประมาณหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ไปแล้วเกือบหนึ่งร้อยปี.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า

ำอธิษฐาน (โปรเตสแตนต์) หรือ บทภาวนา (คาทอลิก) ขององค์พระผู้เป็นเจ้า (the Lord's Prayer) เป็นการอธิษฐานในศาสนาคริสต์ ซึ่งมีที่มาจากคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ คัมภีร์ระบุคำอธิษฐานนี้ไว้อยู่สองแบบ คือแบบพระวรสารนักบุญมัทธิวตอนที่พระเยซูแสดงคำเทศนาบนภูเขา และแบบพระวรสารนักบุญลูกาตอนที่สาวกคนหนึ่งทูลพระเยซูว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงสอนพวกข้าพระองค์อธิษฐาน เหมือนที่ยอห์นสอนพวกศิษย์ของท่าน".

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและคำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ซาตาน

''Depiction of Satan'' โดย จอห์น มิลตัน ค.ศ. 1866 ซาตานถูกกำราบโดยอัครทูตสวรรค์มีคาเอล ซาตาน (שָּׂטָן satan หมายถึง "ศัตรู หรือ ปฏิปักษ์"; شيطان shaitan หมายถึง "หลงผิด") เป็นตัวตนซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาอับราฮัม ว่าเป็นผู้นำพาความชั่วร้ายและเป็นผู้ชักจูงมวลมนุษย์ไปในทางที่ผิด ในบางศาสนาสอนว่าซาตานคือทูตสวรรค์ที่เคยเปี่ยมด้วยความงดงามและเป็นที่เคารพ ซาตานทำให้เกิดสงครามบนสวรรค์และร่วงหล่นจากสวรรค์เพราะความหยิ่งผยองในตน และได้ล่อลวงมนุษย์ชาติไปสู่การโกหกและบาป จึงกลายเป็นผู้มีอำนาจในโลกมนุษย์ ในคัมภีร์ฮีบรูและพันธสัญญาใหม่ระบุว่าซาตานเป็นศัตรูตัวฉกาจ เป็นตัวแทนแห่งภัยชั่วร้ายอย่างแท้จริง บางครั้งก็เรียกว่าปีศาจ เป็นสัญลักษณ์ของความชิงชัง คำว่า "ซาตาน" มักไม่เป็นที่กล่าวถึงโดยตรงในคัมภีร์ของศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ แต่ใช้คำว่า ὁ δράκων (dragon) ซึ่งโรมันคาทอลิกแปลว่า "มังกร" ส่วนโปรเตสแตนต์แปลว่า "พญานาค" และใช้คำว่า "ศัตรู/ปฏิปักษ์" (adversary) แทน โดยมักปรากฏภาพอัครทูตสวรรค์มีคาเอลกำราบพญานาคอยู่ตามอาสนวิหารต่างๆ โดยในหนังสือวิวรณ์ระบุถึงพญานาคและเหตุการณ์นั้นไว้ว่า "...พญานาคสีแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่ง มันมีเจ็ดหัวและสิบเขา และบนหัวทั้งเจ็ดมีมงกุฎเจ็ดอัน และหางของพญานาคตวัดดวงดาวหนึ่งส่วนสามในท้องฟ้า แล้วทิ้งลงมาบนแผ่นดินโลก...ขณะนั้นเกิดสงครามขึ้นในสวรรค์ มีคาเอลกับบรรดาทูตสวรรค์ของท่านต่อสู้กับพญานาค และพญานาคกับบริวารของมันก็ต่อสู้ แต่มันพ่ายแพ้และพบว่าไม่มีที่อยู่สำหรับพวกมันในสวรรค์อีกต่อไป พญานาคใหญ่ตัวนั้นคืองูดึกดำบรรพ์ ที่เขาเรียกกันว่ามารและซาตานผู้ล่อลวงมนุษย์ทั้งโลก มันถูกโยนลงมาที่แผ่นดินโลก และเหล่าบริวารของมันถูกโยนลงมากับมันด้วย" ในพระวรสารนักบุญมัทธิว เมื่อครั้งพระเยซูจะเดินทางเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ทรงถูกเปรโตรอัครสาวกหยุดยื้อไว้เพราะไม่ต้องการให้เหตุร้ายเกิดกับพระองค์ พระเยซูได้ตำหนิเปโตรอย่างรุนแรงว่า "จงไปให้พ้น เจ้าซาตาน เจ้าเป็นเครื่องกีดขวางเรา เพราะเจ้าไม่ได้คิดอย่างพระเจ้า แต่เจ้าคิดอย่างมนุษย์".

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและซาตาน · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเศโลเท

ซีโมนเศโลเท (Σίμων ο Ζηλωτής) หรือซีโมนผู้ร้อนรน (Simon the Zealot) หรือซีโมน พรรคชาตินิยม (Simon the Canaanite) เป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู เสียชีวิตราว..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและซีโมนเศโลเท · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและนักบุญอันดรูว์ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญโยเซฟ

ซฟ (יוֹסֵף Yosef) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญยอแซฟ เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และเสียชีวิตในคริสต์ศตวรรษเดียวกัน ที่เมืองนาซาเร็ธในประเทศอิสราเอลปัจจุบัน นักบุญโยเซฟสืบสายมาจากตระกูลกษัตริย์ดาวิด คัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุว่าเป็นสามีของนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) นักบุญโยเซฟมิใช่บิดาตามเชึ้อสายของพระเยซูแต่ก็ถือกันว่าเป็นบิดาบุญธรรมและเป็นหัวหน้าของ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ครอบครัวพระเยซู” (Holy Family) เชี้อสายตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญมัทธิว กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อยาโคบ แต่ตามหลักฐานของพระวรสารนักบุญลูกา กล่าวว่าพ่อของนักบุญโยเซฟชื่อเฮลี พระวรสารในสารบบไม่ได้ระบุวันและสถานที่เกิดและตายของโยเซฟ เท่าที่ทราบโยเซฟอยู่ที่เมืองนาซาเรธ ใน กาลิลี อยู่ที่เบธเลเฮม ในแคว้นยูเดียเป็นเวลาอีกสองปี และถูกบังคับให้ไปลี้ภัยไปอยู่อียิปต์อีกระยะหนึ่ง แม้ว่า “พระวรสารสหทรรศน์” จะไม่ได้กล่าวถึงอายุของโยเซฟแต่จากเอกสารอื่น ๆ โยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ และมารีย์เป็นหม้ายเมื่อพระเยซูออกเทศนาและเมื่อพระเยซูทรงรับพระทรมาน ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่าโยเซฟเสียชีวิตก่อนที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ อาชีพของโยเซฟตามที่บรรยายในพระวรสารว่าเป็น τεκτων, ภาษากรีกหมายถึงช่างแต่ในศาสนาคริสต์ถือกันว่าโยเซฟเป็นผู้ทำงานกับไม้หรือช่างไม้ แต่ในภาษาอังกฤษปัจจุบันใช้คำว่า “joiner” หรือ “cabinet-maker” หรือช่างทำเฟอร์นิเจอร์ซึ่งเหมาะกับความหมายในภาษากรีกมากกว่า นอกจากนั้นแล้วพระวรสารก็มิได้กล่าวถึงโยเซฟ และไม่มีบทพูด มิได้บอกสถานที่เกิดและสถานที่เสียชีวิต และเวลาต่างที่เกี่ยวกับโยเซฟก็แตกต่างกัน บางครั้งก็จะกล่าวว่าอายุมากกว่ามารีมาก และบางครั้งก็เพียงไม่กี่ปี บางวรสารกล่าวว่าโยเซฟเป็นพ่อหม้ายลูกติดเมื่อแต่งงานกับมารีย์ ในพระวรสารกล่าวถึงโยเซฟเมื่อพระเยซูไปเยรูซาเลมเมื่ออายุสิบสองปี แต่ไม่มีอะไรที่กล่าวถึงโยเซฟหลังจากนั้น เอกสารเกี่ยวกับเวลาเสียชีวิตไม่ชัดเจนแต่เมื่อพระเยซูออกเทศนามารีย์ก็เป็นหม้ายแล้ว ในนิกายโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญโยเซฟเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์กรรกรและมีวันสมโภชหลายวัน และในปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและนักบุญโยเซฟ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยกอนตาเรลลี

ปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) เป็นชาเปลหรือคูหาสวดมนต์ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสนาโวนาในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เป็นวัดที่สร้างในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ออกแบบโดย จาโคโม เดลลา พอร์ตา (Giacomo della Porta) และสร้างโดยสถาปนิกโดเมนิโค ฟอนทานา (Domenico Fontana) ระหว่างปี ค.ศ. 1518 ถึงปี ค.ศ. 1589 เพื่อเป็นวัดประจำชาติของฝรั่งเศสในกรุงโรม ชาเปลคอนทราเรลลิมีความสำคัญในการเป็นที่ตั้งของภาพเขียนสามภาพโดยคาราวัจโจจิตรกรคนสำคัญของยุคบาโรกระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 ที่เป็นฉากชีวิตของนักบุญแม็ทธิวที่รวมทั้งภาพ: “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว”, “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว” ชาเปลสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีผู้ที่ก่อนเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและโบสถ์น้อยกอนตาเรลลี · ดูเพิ่มเติม »

โยเซฟชาวอาริมาเธีย

ซฟชาวอาริมาเธีย (Joseph of Arimathea) เป็นผู้จัดการฝังพระศพพระเยซูหลังจากทรงถูกตรึงที่กางเขน พระวรสารนักบุญมัทธิวระบุว่าเขาเป็นเศรษฐี และพระวรสารนักบุญมาระโกระบุว่าเขา "เป็นสมาชิกสภาและเป็นที่นับถือของคนทั้งหลาย อีกทั้งยังเป็นคนที่กำลังคอยท่าแผ่นดินของพระเจ้า" และตามพระวรสารนักบุญยอห์นว่าโยเซฟเป็นสาวกของพระเยซูอย่างลับ ๆ เมื่อได้ข่าวว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์ โยเซฟก็รีบไปหาป็อนติอุส ปีลาตุสและขอพระศพของพระเยซู ตามความเห็นของผู้รู้อีกมุมหนึ่งกล่าวว่า “เป็นสิ่งที่ไม่คาด…โยเซฟนำพระเยซูเข้ามาในครอบครัวของตนเองหรือ?” เมื่อทหารโรมันมาบอกปีลาตุสว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้ว ปีลาตุสก็อนุญาตให้โยเซฟไปเอาร่างพระเยซู โยเซฟก็รีบไปซึ้อผ้าลินินอย่างดี (มาร์ค 15:46) แล้วก็เดินทางไปกอลกอธา (Golgotha) ซึ่งเป็นที่ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนเพื่อทำการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน โดยมีนิโคเดอมัส (Nicodemus) เป็นผู้ช่วย ร่างที่นำลงมาก็ห่อด้วยผ้าลินินพรมด้วยของหอมที่นิโคเดอมัสนำติดตัวมา (จอห์น) เสร็จแล้วก็นำร่างไปไว้ในที่เก็บศพที่ถูกเตรียมไว้ก่อนหน้านั้นสำหรับตัวโยเซฟเอง ซึ่งเป็นที่เก็บศพที่ขุดเข้าไปในหินในสวนไม่ไกลนัก ผู้ที่เป็นพยานเมื่อโจเซฟวางร่างพระเยซูไว้ในที่เก็บศพก็คือมารีย์ชาวมักดาลา มารีย์ (มารดาพระเยซู) และสตรีคนอื่น ๆ แล้วก็เอาก้อนหินปิดก่อนจะกลับ (ลูค 23:53, 55) โยเซฟต้องรีบทำเพราะใกล้จะเป็นวันซับบัธ ในสมัยกลางมีตำนานหลายเรื่องที่เกี่ยวกับโยเซฟแห่งอาริมาเธียซึ่งโยงโยเซฟว่าเป็นผู้นำจอกศักดิ์สิทธิ์มายังประเทศอังกฤษ นอกจากนั้นโยเซฟแห่งอาริมาเธียยังมักจะปรากฏในจิตรกรรมหรือประติมากรรมเกี่ยวกับ “การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน”.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและโยเซฟชาวอาริมาเธีย · ดูเพิ่มเติม »

ไทยโยเดีย

วโยดายา หรือ ชาวอยุธยาในพม่า (โยดายา หลุ มฺโย) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบรรพบุรุษเป็นเป็นชาวไทยสยามจากอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอพยพเข้ามาประเทศพม่า มีทั้งอพยพไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์พม่าโดยสมัครใจ บ้างก็เป็นเชลยซึ่งถูกกวาดต้อนเมื่อเกิดสงคราม เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวอยุธยาในพม่าค่อย ๆ ผสมปนเปไปกับสังคมพม่า บ้างก็โยกย้ายจากถิ่นฐานเดิม พวกเขาเลิกพูดภาษาไทยและหันไปพูดภาษาพม่า จนกระทั่งทิน มอง จี นักวิชาการชาวพม่าผู้มีเชื้อสายโยดายาเขียนบทความสั้นชื่อ "สุสานกษัตริย์ไทย" (A Thai King’s Tomb) ก่อนปี..

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและไทยโยเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เก็บภาษี (มาซาชิโอ)

ก็บภาษี (Tribute Money) เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยมาซาชิโอจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่เขียนราวคริสต์ทศวรรษ 1420 ภายในชาเปลบรันคาชชิ, ภายในวัดซานตามาเรียเดลคาร์มิเนในเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี งานชิ้นนี้ถือกันว่าเป็นงานชิ้นที่ดีที่สุดชิ้หนึ่งของมาซาชิโอและเป็นงานชิ้นสำคัญของการวิวัฒนาการของศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีGardner, p. 599-600.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและเก็บภาษี (มาซาชิโอ) · ดูเพิ่มเติม »

เรซีฟี

เรซีฟี (Recife) เป็นเมืองท่าที่สำคัญและเมืองหลวงของรัฐเปร์นัมบูกู มีประชากรในเขตเมือง 4,136,506 คน มากที่สุดในภาคเหนือของบราซิล เรซีฟีได้ชื่อว่าเป็น เวนิสแห่งบราซิล เนื่องจากแม่น้ำหลายสาย เกาะขนาดเล็ก สะพานที่สวยงามมากมายกว่า 50 แห่ง และมีแม่น้ำสายหลักได้แก่ แม่น้ำเบเบรีบีและแม่น้ำกาปีบารีบี ไหลมาบรรจบกันลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก หมวดหมู่:เมืองในประเทศบราซิล.

ใหม่!!: พระวรสารนักบุญมัทธิวและเรซีฟี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gospel of Matthewพระกิตติคุณมัทธิวพระวรสารมัทธิวพระวรสารนักบุญแม็ทธิว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »