โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระปัจเจกพุทธเจ้า

ดัชนี พระปัจเจกพุทธเจ้า

ระปัจเจกพุทธเจ้า (ปจฺเจกพุทฺธ; ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น) พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดีแต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตรในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

21 ความสัมพันธ์: พระพุทธเจ้าพระอรหันต์พระนรสีหสัมพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระเจ้าอชาตศัตรูพระเทวทัตกัปมหายานวันอาสาฬหบูชาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรหลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกันหีนยานอำเภอแม่แจ่มอิสิคิลิสูตรอนุพุทธะถูปารหบุคคลคันธมาทน์โยคาจารเรลิกเทียนไถ

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระอรหันต์

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระนรสีหสัมพุทธเจ้า

ระนรสีหสัมพุทธเจ้า ปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ครั้นเมื่อศาสนาของพระเทวเทพสัมพุทธเจ้า เสื่อมลง ในมัณฑกัปป์เดียวกันนี้จะมีพระพุทธเจ้า อีกพระองค์หนึ่งนามว่า พระนรสีหสัมพุทธเจ้าโดยในสมัย พระโคตมพุทธเจ้า ท่านคือโตไทยพราหมณ์ โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยช่วงระหว่าง พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระโคตมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นมาณพ ชื่อว่า นันทมาณพ มีอาชีพเป็นพ่อค้า ครั้งนั้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งกำลังบิณฑบาตอยู่ มาณพนี้ได้พบก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงเอาผ้ากัมพลสีแดงผืนหนึ่งกับทองคำแสนตำลึง ทำเป็นเครื่องไทยธรรมถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า และตั้งจิตอธิษฐานด้วยผลทานที่กระทำนี้ขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต พระปัจเจกพุทธเจ้ารับเครื่องไทยธรรมนั้นไว้และนำผ้ามาคลุมกายโดยรอบ ยังเหลือแค่พระหัตถ์กับพระบาทเท่านั้น เมื่อมาณพเห็นดังนั้น จึงตั้งจิตอธิษฐานอีกว่า ขอให้มีเดชานุภาพแผ่ทั่วราชอาณาจักร พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงอนุโมทนาและก็จากไป ระหว่างทางพระปัจเจกพุทธเจ้าได้พบหญิงสาวผู้หนึ่งซึ่งหญิงสาวนี้พอเห็นพระ ห่มผ้าแดงก็สอบถามว่าผ้าที่สวยงามนี้ใครเป็นผู้ถวาย พระปัจเจกพุทธเจ้าก็บอกถึง มาณพ และความปรารถนา 2 ประการของมาณพนั้น ความปรารถนาหนึ่ง คือ เป็นพระพุทธเจ้า และอีกความปรารถนาหนึ่งคือ เป็นกษัตริย์ เมื่อหญิงสาวได้ยินดังนั้น จึงทำบุญตามมาณพนั้นและปรารถขอเมื่อมาณพนั้นเป็นกษัตริย์แล้วก็ขอให้ตนได้เป็นมเหสีแห่งกษัตริย์นั้น และด้วยบุญนี้ทั้งสองคนจึงได้อยู่กินเป็นสามีภรรยากันในชาตินี้ และยังสร้างศาลาหลังหนึ่งไว้ พร้อมจ้างช่างมาแกะสลักรูปพระปัจเจกพุทธเจ้าประดิษฐานไว้ในศาลา ฝ่ายหญิงยังโกนเอาผมชุบน้ำมันหอม ทำเป็นไส้ปทีปสักการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อทั้งสอง สิ้นอายุขัยเกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสวยทิพยสมบัติอยู่นาน จนสิ้นอายุขัยก็จุติเป็น บรมกษัติย์แห่ง เมืองทวารวดี ฝ่ายหญิงก็เกิดในตระกูลเศรษฐี พออายุได้ 16 ปีก็ได้มาเป็นมเหสีแห่งกษัตริย์นามว่า พระมงคลราชเทวี มียศถาบรรดาศักดิ์พร้อมด้วยบริวารถึง 1 ล้าน ส่วนกษัตริย์ ก็มีสนมถึง 16 ล้านด้วยกัน วันหนึ่ง กษัตริย์มีพระประสงค์ทดลองบุญของ พระมงคลราชเทวี ให้ประจักษ์แก่เหล่าสนมทั้งหลาย จึงสั่งให้สนมเตรียมสำรับคนละที่และมาบริโภคตรงหน้าพระที่นั่ง สนมทุกคนก็บริโภคเป็นปกติ หาได้มีความแปลกประหลาดอันใด แต่พอพระมงคลราชเทวี ทรงนั่งและล้างพระหัตถ์ รับเอาอาหารขึ้นเข้าไปในพระโอษฐ์ ปรากฏว่านิ้วพระหัตถ์ของนางกลายเป็นทองคำทุกนิ้ว เป็นอย่างนี้ทุกคำที่เสวย ด้วยผลบุญที่กระทำอย่างประณีตแต่ปางก่อน พอเหล่าสนมเห็นดังนั้น จึงรู้ว่าพระมเหสี มีบุญหาควรเทียบเทียมไม่ ตั้งแต่วันนั้นมาจึงเกิดความยำเกรงต่อมเหสีเป็นอันมาก พระนรสีหสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 60 ศอก มีพระชนมายุ 8 หมื่นปี มีรัศมีรุ่งเรืองสว่างไสว มีไม้แคฝอยเป็นมหาโพธิ มีต้นกัลปพฤกษ์ ต้นหนึ่งพร้อมข้าวสาลีอันหอมให้มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภค ผิวพรรณมนุษย์เป็นสีทอง พระองค์เสด็จไปที่ใดก็จะมีเศวตฉัตรแก้วบังเกิดอยู่ตลอดเวล.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระนรสีหสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า

หลังจากพระศาสนาพระทีปังกรพุทธเจ้าอันตรธานไป เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิเลยอยู่ถึง 1 อสงไขยสุญกัป เรียกว่า เสละอสงไขย จากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ มีชื่อว่า สารกัป มีพระพุทธเจ้ามาเกิด 1 พระองค์ ชื่อ พระโกณฑัญญพุทธเจ้.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระโกณฑัญญพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอชาตศัตรู

ูปพระเจ้าอชาตศัตรู เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรู (अजातशत्रु; ครองราชย์ 2 ปีก่อน พ.ศ.- พ.ศ. 83) พระราชาองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธ ปกครองทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ พระธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศลและพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นอุบาสก และผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุท.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระเจ้าอชาตศัตรู · ดูเพิ่มเติม »

พระเทวทัต

ระเทวทัต เป็นพระภิกษุในสมัยพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสุปปพุทธะผู้ครองกรุงเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระพุทธองค์ พระเทวทัตเป็นที่รู้จักกันดีจากเรื่องราวในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ว่าเป็นผู้ที่มีความร้ายกาจ กระทำแต่เรื่องไม่สมควรต่อพระพุทธเจ้าเป็นอันมากมาย ตลอดเวลาแห่งการบำเพ็ญพรตในพุทธวิสัยตั้งแต่ครั้งพระพุทธโคดมยังเป็นพระโพธิสัตว์ ตลอดถึงในปัจจุบันชาติ พระเทวทัตก็ยังคงประพฤติผิดถึงกับกระทำอนันตริยกรรมคือลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าและทำสังฆเภท ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาระบุว่า เดิมนั้นท่านออกบวชด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทว่าในที่สุดพระเทวทัตได้สำนึกผิดเมื่อช้าไป ได้ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรกหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร แต่ด้วยการกระทำที่เคยบำเพ็ญบุญบารมีมาแล้วในอดีตมากนับประมาณ และประกอบกับการเห็นถูกต้องตรงสัมมาทิฏฐิเมื่อก่อนสิ้นใจกลับสำนึกผิดมอบถวายกระดูกคางด้วยเป็นพระพุทธบูชาแม้ในขณะวินาทีสุดท้ายในขณะที่ถูกแผ่นดินสูบ ทำให้พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ด้วยเหตุนั้น ว่าเมื่อพระเทวทัตสิ้นกรรมจากอเวจีมหานรก จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระในอนาคต.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระเทวทัต · ดูเพิ่มเติม »

กัป

กัป หรือ กัลป์ (กปฺป; कल्प กลฺป) หมายถึง ช่วงระยะเวลาอันยาวนานของโลก จนไม่สามารถกำหนดเป็นวัน เดือน หรือปีได้ พบในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและกัป · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน

หลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน (Basic Points Unifying the Theravāda and the Mahāyāna) เป็นคำแถลงว่าด้วยหลักความเชื่อที่มีร่วมกันอันสำคัญยิ่ง ซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งของพุทธเถรสมาคมโลก (World Buddhist Sangha Council, อักษรย่อ WBSC).

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและหลักพื้นฐานที่เถรวาทและมหายานมีร่วมกัน · ดูเพิ่มเติม »

หีนยาน

หีนยาน (บาลี; हीनयान Hīnayāna) แปลว่า ยานชั้นเลวหรือยานชั้นต่ำ เป็นคำที่คณาจารย์ฝ่ายมหายานใช้เรียกแนวการปฏิบัติใด ๆ ในศาสนาพุทธที่ไม่ได้ยึดแนวทางแบบพระโพธิสัตว์ แต่เน้นการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นเฉพาะตนแบบพระสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกยานและปัจเจกยาน ต่างจากมหายานซึ่งเป็นแนวทางที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมุ่งบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์จำนวนมากได้พ้นทุกข์ตามไปด้วย แนวทางอย่างหลังนี้จึงเรียกว่า มหายาน แปลว่ายานใหญ.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและหีนยาน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่แจ่ม

แม่แจ่ม (55px) เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและอำเภอแม่แจ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อิสิคิลิสูตร

อิสิคิลิสูตรเป็นพระสูตรซึ่งว่าด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า และว่าด้วยเรื่องที่มาที่ไปของภูเขาอิสิคิลิ ในเขตพระนครราชคฤห์ ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ และด้วยความที่เนื้อหาพระสูตรมีการเอ่ยถึงพระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นจำนวนมาก รวมถึงคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงถือกันว่าเป็นพระสูตรอันมรมงคล มีความศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมารวบรวมไว้ในภาณวารหรือบทสวดมนต์หลวง โดยจัดอยู่ในภาณวารที่ 3 ร่วมกับคิริมานันทสุตตปาฐะ หรือคิริมานนทสูตร.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและอิสิคิลิสูตร · ดูเพิ่มเติม »

อนุพุทธะ

อนุพุทธะ หมายถึง สาวกผู้รับคำสอนจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติตามจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงเรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ โดยคำว่า อนุพุทธะ มาจากศัพท์ว่า อนุ (ตาม) + พุทธะ (ผู้รู้) แปลว่า ผู้ตรัสรู้ตาม อนุพุทธะ จัดเป็นพุทธะประเภทหนึ่งในพุทธะ 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและอนุพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

ถูปารหบุคคล

ูปารหบุคคล คือบุคคลผู้ควรแก่สถูปหรือเจดีย์ ได้แก่ บุคคลผู้สมควรที่จะสร้างสถูปหรือเจดีย์บรรจุอัฐิไว้เพื่อเป็นที่ระลึกและกราบไหว้บูชา ถูปะ แปลว่า กระหม่อม, ยอด, จอม, หน้าจั่ว ใช้หมายถึง เนิน โดม สถูป หรือเจดีย์ ที่มียอดสูงซึ่งสร้างครอบหรือบรรจุของควรบูชา เช่น อัฐิของบุคคลที่ควรบูชากราบไหว้.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและถูปารหบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

คันธมาทน์

ันธมาทน์ (อ่านว่า คันทะมาด) เป็นชื่อภูเขาในป่าหิมพานต์ แปลว่า ภูเขาเป็นที่ยังสัตว์ให้เมาด้วยกลิ่นหอม คือภูเขาหอม   “คันธมาทน์” เป็นชื่อภูเขาสำคัญลูกหนึ่งตามตำนานการสร้างโลกและจักรวาลในคติทางพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๕ ขุนเขาที่ล้อมรอบสระอโนดาตในป่าหิมพานต์ อันได้แก่ สุทัสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ และไกรลาส แต่ละลูกมีความสูงถึง ๒๐๐ โยชน์           คำ คันธมาทน์ นี้มาจาก คันธ (กลิ่นหอม) + มาทน (ยินดี) คือ ภูเขาที่ให้ชาวโลกยินดีด้วยกลิ่นหอม ความหมายดังกล่าวนี้เป็นคุณลักษณะประการสำคัญของเขาคันธมาทน์ คือเป็นขุนเขาที่พร้อมพรั่งไปด้วยพรรณไม้ที่ส่งกลิ่นหอม ดังในคัมภีร์โลกทีปกสารและไตรภูมิกถาพรรณนาลักษณะเขาคันธมาทน์ไว้ว่า    คันธมาทน์ นัยว่ามีกลิ่นหอมอบอวลอยู่ตลอดเวลา ด้วยเป็นภูเขาที่สะพรั่งด้วยต้นไม้หอมนานาชนิด ดารดาษไปด้วยต้นไม้สมุนไพรนับจำนวนมิได้ ยอดเขาคันธมาทนะนั้น มั่วมูลด้วยกลิ่น ๑๐ ประการเหล่านี้คือ กลิ่นที่รากมีต้นกฤษณาเป็นต้น กลิ่นที่แก่นมีต้นจันทน์เป็นต้น กลิ่นที่กระพี้มีต้นสนเป็นต้น กลิ่นที่เปลือกมีต้นสวังคะเป็นต้น กลิ่นที่สะเก็ดมีมะขวิดเป็นต้น กลิ่นที่ยางมีต้นสัชฌะเป็นต้น กลิ่นที่ใบมีต้นพิมเสน เป็นต้น กลิ่นที่ดอกมีต้นบุนนาคและโกสุมเป็นต้น กลิ่นที่ผลมีต้นชาติผลเป็นต้น กลิ่นที่กลิ่นเพราะเป็นกลิ่นรวมของทุก ๆ กลิ่นเป็นแหล่งรวมแห่งโอสถ เป็นที่อาศัยแห่งหมู่สัตว์ใหญ่น้อย มีถ้ำใหญ่อยู่ ๓ ถ้ำ คือ ถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายโดยรวมกันอยู่ที่เงื้อมชื่อนันทมูลกะ (นัยอรรถกถา) เขาอันชื่อคันธมาทนกูฏนั้นเทียรย่อมแก้วอันชื่อมสาลรัตนะ กลวงในเขานั้นดั่งถั่วสะแตกแลราชมาส พรรณไม้ที่เกิดในเขานั้น ลางต้นรากหอม ลางต้นแก่นหอม ลางต้นยอดหอม ลางต้นเปลือกหอม ลางต้นลำหอม ลางต้นดอกหอม ลางต้นลูกหอม ลางต้นใบหอม ลางต้นยางหอม (ลางต้นหอมทุกอย่าง) แลว่าไม้ในเขานั้นหอม ๑๐ สิ่งดั่งกล่าวนี้แล ไม้ทั้งหลายนั้นเทียรย่อมเป็นยา แลว่าเชือกเขาเถาวัลย์อันมีในเขานั้นเทียรย่อมมีทุกสิ่ง แลเทียรย่อมหอมอยู่ทุกเมื่อบ่มิรู้วายรสเลย จึงเรียกว่าคันธมาทนเพื่อดั่งนั้น                                                                                                                                                                 (ไตรภูมิกถา)           ความมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของเขาคันธมาทน์ คือในวันเดือนดับและวันเดือนเพ็ญ ขุนเขาแห่งไม้หอมนี้จะมีแสงสว่างรุ่งโรจน์โชติช่วง ดังในไตรภูมิกถาพรรณนาไว้ว่า “แลเขานั้นเมื่อเดือนดับแลรุ่งเรืองชัชวาลอยู่ดั่งถ่านเพลิง ถ้าเมื่อเดือนเพ็งเรืองอยู่ดั่งไฟไหม้ป่าแลไหม้เมืองแล”           นอกจากนี้เขาคันธมาทน์ยังเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย  ดังในคัมภีร์จักรวาฬทีปนีกล่าวไว้อย่างละเอียดว่า           ภูเขาชื่อคันธมาทน์ล่วงเลยภูเขาทั้งเจ็ด คือ จูฬกาฬบรรพต มหากาฬบรรพต ขุทกบรรพต จันทบรรพต สุริยบรรพต มณีบรรพต และสุวรรณบรรพต ในหิมวันตประเทศ ณ ภูเขาคันธมาทน์นั้นแลมีเงื้อมชื่อนันทมูลกะเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีถ้ำ๓ ถ้ำ คือ ถ้ำทอง ถ้ำแก้วมณี และถ้ำเงิน ที่ปากถ้ำแก้วมณี มีต้นคำสูงโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง ต้นคำนั้นย่อมผลิดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้นโดยทั่วถึงทั้งในน้ำหรือบนบก โดยวิเศษในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้ามา ข้างหน้าต้นคำนั้นเป็นโรงกลมสำเร็จด้วยสรรพรัตนะ ณ โรงกลมนั้น  สัมมัชนกวาต (ลมกวาด)  กวาดหยากเยื่อทิ้ง สมกรณวาต (ลมเกลี่ย)  เกลี่ยทรายซึ่งล้วนแล้วด้วยสรรพรัตนะ ให้เสมอ สิญจนวาต (ลมรด)  นำน้ำจากสระอโนดาตมารด สุคันธกรณวาต (ลมกลิ่น) นำกลิ่นของต้นไม้หอมทุกอย่างมาจากป่าหิมพานต์  โอจินกวาต (ลมโปรย)  โปรยดอกไม้  สันถรกวาต (ลมลาด) ปูลาดในที่ทุกแห่ง ในโรงกลมนี้มีอาสนะปูไว้ทุกเมื่อ ซึ่งเป็นที่นั่งประชุมของพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์ในวันอุบัติแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า และในวันอุโบสถพระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นนั่งแล้วย่อมเข้าสมาบัติบางอย่าง แล้วออก (จากสมาบัตินั้น) จากนั้นพระสังฆเถระก็ถามพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์มาใหม่ถึงกรรมฐานว่าท่านได้บรรลุอย่างไร  เพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงจะได้อนุโมทนาในกาลนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์มาใหม่ก็จะกล่าวคาถาพยากรณ์อันเป็นคำอุทานของตนนั้นแล                                                                                                                                                        (จักรวาฬทีปนี) ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กล่าวว่า พระเวสสันดรพร้อมทั้งพระมเหสีและพระโอรสพระธิดา ได้เสด็จผนวชในป่าเชิงเขานี้.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและคันธมาทน์ · ดูเพิ่มเติม »

โยคาจาร

นิกายโยคาจารตั้งขึ้นโดยเมตตรัยนาคซึ่งเกิดหลังนาคารชุนราว 100 ปี ชื่ออื่นๆของนิกายนี้คือ นิกายวิญญาณวาท หรือนิกายวิชญาณวาท สานุศิษย์ที่สืบต่อนิกายนี้คือ พระอสังคะ และพระวสุพันธุ พระทินนาคะ และพระธรรมปาละ เป็นต้น.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและโยคาจาร · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เทียนไถ

นิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นิกายเทียนไถ (天台宗 Tiāntái) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศจีน ก่อตั้งโดยฉีอี้ นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก.

ใหม่!!: พระปัจเจกพุทธเจ้าและเทียนไถ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระปัจเจกพุทธะปัจเจกพุทธะปัจเจกพุทธเจ้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »