โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2227

ดัชนี พ.ศ. 2227

ทธศักราช 2227 ใกล้เคียงกั..

24 ความสัมพันธ์: พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสกลุ่มโนรนภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิสรัฐบาลเอโดะรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนรายชื่อธงในประเทศไอร์แลนด์รายพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซียรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซียอามาติอ็องตวน วาโตจอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 1 แห่งรัสเซียทีทิส (ดาวบริวาร)ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ตประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1684ปีเตอร์ เดอ โฮคแสงจักรราศีโยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ไดโอนีเจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์ก12 มีนาคม23 กุมภาพันธ์25 มกราคม29 พฤษภาคม

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มโนรน

กลุ่มโนรน (Noron) กลุ่มการเมืองสำคัญในสมัย ราชวงศ์โชซ็อน ที่สนับสนุน ซง ชี-ย็อล ภายหลังการแยกตัวออกมาจาก ฝ่ายตะวันตก ซึ่งกลุ่มโนรนเป็นกลุ่มการเมืองที่มีแนวความคิดแบบ อนุรักษ์นิยม โดยกลุ่มโนรนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเมื่อ คิม ซ็อก-จู หนึ่งในแกนนำกลุ่มโนรนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1684 และการประหารชีวิตซงซียอลในปี ค.ศ. 1689 ต่อมาในปี ค.ศ. 1701 พระมเหสีอินฮยอน พระมเหสีของ พระเจ้าซุกจง ที่ทางฝ่ายตะวันตกและกลุ่มโนรนให้การสนับสนุนสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันทำให้กลุ่มโนรนแทบจะหมดอำนาจทางการเมืองในราชสำนักจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1724 องค์ชายลีกึม พระราชโอรสของพระเจ้าซุกจงที่ประสูติแต่ พระสนมซุกบิน พระสนมเอกที่กลุ่มโนรนให้การสนับสนุนได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น พระเจ้ายองโจ ทำให้กลุ่มโนรนกลับมามีอำนาจอีกครั้ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และกลุ่มโนรน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส

ระราชินีมารี เดอ เมดีซิส (Marie de' Medici cycle) เป็นภาพเขียนชุดจำนวนยี่สิบสี่ภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรคนสำคัญของสมัยบาโรกแบบเฟลมิช ที่ว่าจ้างโดยพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส พระอัครมเหสีในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สำหรับตั้งแสดงที่พระราชวังลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รือเบินส์ได้รับการจ้างในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1621 หลังจากที่มีการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อตกลงภายในสัญญาเมื่อต้นปี ค.ศ. 1622 แล้ว สัญญาก็ระบุว่าโครงการเขียนภาพจะต้องเสร็จภายในสองปีเพื่อให้ทันเวลากับการเสกสมรสของพระราชธิดาเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียกับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ภาพเขียนยี่สิบเอ็ดภาพเป็นภาพการต่อสู้และการได้รับชัยชนะต่าง ๆ ในชีวิตของพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส อีกสามภาพเป็นภาพเหมือนของพระองค์เองและพระราชบิดามารดาBelkin, pp.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศไอร์แลนด์

ทความนี้ว่าด้วยธงต่าง ๆ ในประเทศไอร์แลนด์โดยสังเขป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธงชาติ สามารถศึกษาได้จากบทความธงชาติไอร์แลน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และรายชื่อธงในประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซีย

มเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซีย(อังกฤษ: Queen of Prussia)เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรปรัสเซียตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ. 1701 จนถึงคราวล่มสลายในปีค.ศ. 1918 จนถึงเมื่อปีค.ศ. 1806 สมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซียยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระชายาในเจ้าชายผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กอีกด้วย และภายหลังจากปีค.ศ. 1871 สมเด็จพระราชินีก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดินีแห่งเยอรมนี อีกด้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และรายพระนามสมเด็จพระราชินีแห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย

รายพระนามคู่สมรสในพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น "ซารีนา" หรือ "จักรพรรดินี".

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

อามาติ

ตระกูลอามาติ (Amati) เป็นตระกูลช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียง อยู่ที่เมืองเครโมนา ประเทศอิตาลี ระหว่างปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และอามาติ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องตวน วาโต

วาโตในปีสุดท้ายของชีวิตเขา โดยโรซัลบา การ์รีเอรา (Rosalba Carriera) พ.ศ. 2264 ฌ็อง-อ็องตวน วาโต เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของ “ชนชั้นสูง” (fêtes galantes) อ็องตวน วาโตเป็นหนึ่งนักวาดภาพร่างยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของศิลปะยุโรป.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และอ็องตวน วาโต · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แลมเบิร์ต (นายพล)

นายพลจอห์น แลมเบิร์ต (John Lambert) (ฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1619 - มีนาคม ค.ศ. 1684) แลมเบิร์ตเป็นนายพลของฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมืองอังกฤษ นายพลแลมเบิร์ตเกิดในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1619 ที่คาร์ลตัน ฮอลล์, เคิร์คบี มาลแลมในมลฑลอีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ปัจจุบันในครอบครัวที่มั่นคง แลมเบิร์ตศึกษากฎหมายที่อินส์ออฟคอร์ตในกรุงลอนดอน ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และจอห์น แลมเบิร์ต (นายพล) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 1 แห่งรัสเซีย

สมเด็จพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ซารีนาแคทเธอรีนที่ 1 แห่งรัสเซีย (Emperess Catherine I of Russia, 15 เมษายน พ.ศ. 2227 — 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2270) จักรพรรดินีแห่งรัสเซีย เป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ใน จักรพรรดิปีเตอร์มหาราชต่อมาทรงบริหารราชการแผ่นดิน ร่วมกับพระสวามีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2267 และเมื่อพระสวามีสวรรคต ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268 พระนางจึงทรงบริหารราชการแผ่นดินแต่เพียงพระองค์เดียวถือว่าเป็นพระจักรพรรดินี องค์แรกที่ได้ทรงครองแผ่นดินรัสเซีย แต่ทรงครองราชย์ได้เพียง 2 ปีก็สวรรคตเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2270 ขณะพระชนม์เพียง 43 พรรษา ด้วยสาเหตุทรงพระกาสะและประชวรโดยมีพระโลหิตออกทางพระนาสิก สันนิษฐานว่าเกิดจากการติดเชื้อในพระปับผาสะ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2227 หมวดหมู่:ราชวงศ์โรมานอฟ หมวดหมู่:บุคคลจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก หมวดหมู่:บุคคลจากลิโวเนีย หมวดหมู่:จักรพรรดินีรัสเซีย.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 1 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทีทิส (ดาวบริวาร)

ทีทิส หรือ Saturn III เป็นดาวบริวารขนาดกลางของดาวเสาร์อยู่ผ่านประมาณ 1,060 กิโลเมตร (660 ไมล์) ค้นพบโดย โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1684 และตั้งชื่อมาจากยักษ์ทีทิส ในเทพปกรณัมกรีก ทีทิส ได้รับการสำรวจโดยยานอวกาศหลายคนรวมถึง ไพโอเนียร์ 11 (ค.ศ. 1979),วอยเอจเจอร์ 1 (ค.ศ. 1980),วอยเอจเจอร์ 2 (ค.ศ. 1981) และยานแคสซีนี ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2004.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และทีทิส (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต

ตราประจำจังหวัดภูเก็ต ประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า "ภูเก็จ" อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน..

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และประวัติศาสตร์จังหวัดภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1684

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1684 ในประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และประเทศรัสเซียใน ค.ศ. 1684 · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เดอ โฮค

ปีเตอร์ เดอ โฮค (Pieter de Hooch, Hoogh หรือ Hooghe; 20 ธันวาคม ค.ศ. 1629 (รับศีลจุ่ม) - ค.ศ. 1684) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปีเตอร์ เดอ โฮคมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพชีวิตประจำวันและเป็นจิตรกรที่มีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับโยฮันเนิส เฟอร์เมร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และปีเตอร์ เดอ โฮค · ดูเพิ่มเติม »

แสงจักรราศี

แสงจักรราศี บนท้องฟ้าตะวันออกก่อนแสงอรุณยามเช้า ในภาพจะมองเห็นดาวศุกร์กับกระจุกดาวเปิด M44 ด้วย แสงจักรราศี (zodiacal light) คือแสงสว่างเรืองรองจางๆ เป็นโครงรูปสามเหลี่ยมหยาบๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้ายามค่ำคืนหลังจากที่แสงสนธยาของตะวันตกดินลับฟ้าไปแล้ว โดยปรากฏอยู่ในแนวเส้นสุริยวิถี ในเขตซีกโลกเหนือตอนกลางจะสามารถมองเห็นแสงจักรราศีได้ดีที่สุดในช่วงเย็นของฤดูใบไม้ผลิทางท้องฟ้าทิศตะวันตก หลังจากที่แสงอาทิตย์อัสดงจางหายไปหมด หรือในฤดูใบไม้ร่วงยามเช้ามืดทางท้องฟ้าตะวันออกก่อนที่แสงอรุณจะมาถึง แสงจักรราศีมีลักษณะจางมากเพราะมีแสงอื่นรบกวนเช่น แสงจันทร์ หรือมลภาวะทางแสงอื่นๆ ปรากฏการณ์นี้มีการสังเกตและตรวจสอบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1683 โดยนักดาราศาสตร์ชื่อ จิโอวานนี โดเมนิโก คาสสินี ต่อมาได้รับการอธิบายเป็นครั้งแรกโดย นิโคลัส ฟาชิโอ เดอ ดุยล์เลียร์ ในปี ค.ศ. 1684.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และแสงจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์

ันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ โยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ (Johann Heinrich Schultz) (พ.ศ. 2227 - พ.ศ. 2287) เป็นผู้ค้นพบเคมีภัณฑ์ทางการถ่ายภาพ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ (Altrof) อยู่ใกล้ ๆ กับเมืองนูเรมเบอร์ก เยอรมนี ชูลซ์เป็นศาสตราจารย์ชาวเยอรมันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัลทอร์ฟ ซึ่งการทดลองของเขาได้เป็นสิ่งที่ปูทางให้แก่การถ่ายภาพในวันข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสารเคมีที่มีอยู่นั้นจะมีสีดำขึ้นเมื่อถูกแสงอาทิตย์ แต่มันก็ยังไม่สารเคมีด้านที่ไม่โดนแสงจะหลงเหลือส่วนที่เป็นสีขาวเขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของเอาแต่มันไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลง เขาได้บรรยายในหนังสือเอาไว้ว่า ชูลท์คิดว่ามันเป็นไปได้ที่จะทาสารละลายไปบนหนัง กระดูก ไม้ เพื่อทำให้เกิดภาพขึ้น ในที่สุดภาพที่เกิดขึ้นเหล่านั้นก็จางหายไป การทดลองของเขาไม่ประสบผลสำเร็จเวลานั้นยังไม่มีทางที่จะทำให้ภาพสเตนซิลเหล่านี้เกิดขึ้นถาวรได้ การทำให้เกิดเกลือโลหะเงินสีดำ (Black Metallic Silver) ของชูลท์นั้นพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ในปัจจุบัน จากการสังเกตของชูลท์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ เขาส่งสิ่งที่ค้นพบเหล่านั้นไปยัง Nurnberg Imperial Academy แต่ก็ยังไม่มีการนำหลักการนี้มาใช้หรือพิจารณากันในเวลานั้น แต่ก็เป็นผลดีต่อการคิดค้นทางการถ่ายภาพ ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และโยฮันน์ ไฮน์ริช ชูลซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโอนี

อนี (Διώνη) เป็นดาวบริวารของดาวเสาร์ ค้นพบโดย โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี ในปี ค.ศ. 1684 เป็นชื่อจากไททัน ไดโอนีของเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และไดโอนี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์ก

อร์จแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายพระราชสวามี (Prince George of Denmark) (2 เมษายน ค.ศ. 1653 - 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708) เจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์กประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1653 ที่โคเปนเฮเกนในประเทศเดนมาร์ก เป็นพระโอรสองค์ที่สามของพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ 3 แห่งเดนมาร์กและพระราชินีโซฟี อมาลี (Sophie Amalie of Brunswick-Lüneburg) เป็นพระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1702 ถึงวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708 เจ้าชายจอร์จสิ้นพระชนม์เมื่อ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1708 ที่พระราชวังเค็นซิงตัน ประเทศอังกฤษ พระศพตั้งอยู่ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และเจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

12 มีนาคม

วันที่ 12 มีนาคม เป็นวันที่ 71 ของปี (วันที่ 72 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 294 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และ12 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 กุมภาพันธ์

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 54 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 311 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และ23 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

25 มกราคม

วันที่ 25 มกราคม เป็นวันที่ 25 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 340 วันในปีนั้น (341 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และ25 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

29 พฤษภาคม

วันที่ 29 พฤษภาคม เป็นวันที่ 149 ของปี (วันที่ 150 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 216 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2227และ29 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1684

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »