โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2175

ดัชนี พ.ศ. 2175

ทธศักราช 2175 ใกล้เคียงกั.

34 ความสัมพันธ์: บารุค สปิโนซาบทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์ฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตพระราชวังบางปะอินพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์การทดลองทางความคิดยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3 (แร็มบรันต์)รัฐบาลเอโดะรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชารายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดนรายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหารวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)สังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชูอักษรแมนจูอาณาจักรอยุธยาอำเภอพรหมบุรีฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลีจอห์น ล็อกทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐประวัติศาสตร์เยอรมนีโยฮันเนิส เฟอร์เมร์โทกูงาวะ อิเอมิตสึโทกูงาวะ ฮิเดตาดะเอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลีเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์11 กรกฎาคม16 สิงหาคม20 ตุลาคม21 กุมภาพันธ์28 ตุลาคม29 สิงหาคม

บารุค สปิโนซา

รุค สปิโนซา เบเนดิคตัส เดอ สปิโนซา หรือ บารุค สปิโนซา หรือชื่อในภาษาลาตินของเขาคือ เบเนดิก (24 พ.ย. ค.ศ. 1632 (พ.ศ. 2175) - 21 ก.พ. ค.ศ. 1677 (พ.ศ. 2220) จากผู้อาวุโสชาวยิว และเป็นที่รู้จักในชื่อ เบนโต เดอ สปิโนซา หรือ เบนโต เอสปิโนซา ในชุมชนที่เขาได้เติบโตขึ้น เรอเน เดส์การตส์ กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ และสปิโนซา) เป็นนักเหตุผลนิยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปรัชญาคริสต์ศตวรรษที่ 17 เขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ริเริ่มการวิพากษ์เกี่ยวกับไบเบิล ผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือหนังสือ จริยศาสตร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และบารุค สปิโนซา · ดูเพิ่มเติม »

บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์

ทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์นีโกลาส ตึลป์ (De anatomische les van Dr.; The Anatomy Lesson of Dr.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยแร็มบรันต์ จิตรกรชาวดัตช์ในยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่เมาริตส์เฮยส์ (Mauritshuis) เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แร็มบรันต์เขียนภาพ "บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์" เสร็จในปี ค.ศ. 1632 นายแพทย์นีโกลาส ตึลป์ (Nicolaes Tulp) ในภาพกำลังอธิบายระบบกล้ามเนื้อของแขนแก่นักศึกษาแพทย์ ศพในภาพเป็นของอาชญากรอาริส กินต์ (Aris Kindt) ที่เสียชีวิตโดยการถูกลงโทษโดยการแขวนคอในเช้าวันเดียวกันด้วยข้อหาลักทรัพย์ ผู้สังเกตการณ์เป็นนายแพทย์ที่ต้องจ่ายเงินเพื่อจะปรากฏในภาพเขียน การชำแหละเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1632 สมาคมศัลยแพทย์แห่งอัมสเตอร์ดัมที่นายแพทย์ตึลป์เป็นผู้เชี่ยวชาญกายวิภาคศาสตร์ประจำเมืองอนุญาตให้ทำการชำแหละ (dissection) ได้เพียงปีละครั้ง และร่างที่ใช้ในการชำแหละต้องมาจากอาชญากรผู้ถูกสังหารเท่านั้น บทเรียนกายวิภาคศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จัดกันในห้องบรรยายที่เป็นโรงละครจริง ๆ โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นนักศึกษา ผู้ร่วมวิชาชีพ และสาธารณชนที่ต้องจ่ายค่าเข้าชม ผู้ที่เข้ามาสังเกตการณ์จะแต่งตัวให้เหมาะสมอย่างการเข้าร่วมพิธีการของสังคม เชื่อกันว่านอกไปจากบุคคลที่อยู่ข้างหลังและบุคคลทางด้านซ้ายมาเพิ่มในภายหลัง บุคคลหนึ่งที่ขาดจากภาพนี้คือผู้เตรียมศพที่มีหน้าที่เตรียมร่างสำหรับการชำแหละ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญเช่นนายแพทย์ตึลป์จะไม่ทำหน้าที่ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ย่อย ๆ เช่นการชำแหละ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้อื่น ฉะนั้นเราจึงไม่เห็นภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการชำแหละในภาพนี้ แต่จะมีภาพของตำรากายวิภาคศาสตร์เปิดอยู่ตรงมุมล่างขวาของภาพ ที่อาจจะเป็นตำรา "โครงสร้างของร่างกายมนุษย์" (De humani corporis fabrica) ที่พิมพ์ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และบทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต

ฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต หรือพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งโบฮีเมีย (Friedrich V, Frederick V, Elector Palatine; 26 สิงหาคม ค.ศ. 1596 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1632) เป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ในพระนามว่า "พระเจ้าฟรีดริชที่ 1" (Fridrich Falcký) ระหว่างปี ค.ศ. 1619 ถึงปี ค.ศ. 1620 อันเป็นระยะเวลาอันสั้นที่ทำให้เรียกกันว่า "พระราชาแห่งเหมันต์" (Zimní král) พระเจ้าฟรีดริชเสด็จพระราชสมภพที่ตำหนักล่าสัตว์ใกล้อัมแบร์กที่โอเบอร์พฟาลซ์ พระองค์เป็นพระโอรสและทายาทของฟรีดริชที่ 4 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนตและหลุยส์ ยูเลียนาแห่งนัสเซาพระราชธิดาของวิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และ ชาร์ลอตต์เดอบูร์บอง พระองค์ทรงเป็นผู้คงแก่เรียน รหัสยิก และผู้ถือลัทธิคาลวิน ต่อมาฟรีดริชสืบครองรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตเป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกในปี ค.ศ. 1610 ฟรีดริชทรงเป็นผู้สร้าง สวนพฤกษชาติพาเลไทน์ อันมีชื่อเสียงที่ไฮเดลแบร์ก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และฟรีดริชที่ 5 ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังบางปะอิน

ระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากเกาะเมืองลงมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งโดยสุนทรภู่ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และพระราชวังบางปะอิน · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์

ระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ แบบจำลองทางสถาปัตยกรรม พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕ โดยสร้างเป็นปราสาทตรีมุขที่มุมกำแพงชั้นในของเขตพระราชฐานติดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงก์" ต่อมา สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่า สมเด็จพระอมรินทราธิราชเสด็จลงมานั่งแทบพระองค์และตรัสให้ตั้งจักรพยุหแล้วจึงหายไป เมื่อพระองค์เสด็จออกขุนนางทรงตรัวเล่าพระสุบินให้โหราพฤฒาจารย์ทั้งหลายฟัง พระมหาราชครูปโรหิตโหราพฤฒาจารย์ทูลว่า พระนามพระที่นั่งศิริยโสธรมหาพิมานบรรยงก์ที่พระราชทานนั้นเห็นไม่ต้องนามสมเด็จพระอมรินทราธิราชซึ่งลงมาบอกให้ตั้งจักรพยุห ซึ่งจักรพยุหนี้เป็นที่ตั้งใหญ่ในมหาพิไชยสงคราม จึงขอให้นำนามจักรนี้ให้เป็นนามของมหาปราสาทว่า "พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์มหาปราสาท" สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงโปรดให้เปลี่ยนนามมหาปราสาทตามคำกราบบังคมทูลของโหราพฤฒาจารย์ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์มีลักษณะเป็นปราสาทโถง มีสามชั้น สำหรับเป็นที่ประทับเพื่อทอดพระเนตรกระบวนแห่มหรสพ และการยกทัพพยุหยาตราผ่านบริเวณสนามไชยซึ่งอยู่หน้าพระที่นั่ง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองทางความคิด

การทดลองทางความคิด (Thought Experiment) (มาจากคำ เยอรมัน ว่า Gedankenexperiment ซึ่งตั้งโดย ฮานส์ คริสเตียน เออร์สเตด) ในความหมายที่แพร่หลายที่สุดคือ การใช้แผนการที่จินตนาการขึ้นมาเพื่อช่วยเราเข้าใจวิถีทางที่สิ่งต่าง ๆ เป็นในความเป็นจริง ความเข้าใจได้มาจากปฏิกิริยาต่อสถานการณ์นั้น หลักการของการทดลองทางความคิด เป็น a priori มากกว่า เชิงประจักษ์ กล่าวคือ การทดลองทางความคิดไม่ได้มาจาก การสังเกต หรือ การทดลอง แต่อย่างใด การทดลองทางความคิดคือคำถามเชิง สมมติฐาน ที่วางรูปแบบอย่างดีซึ่งให้เหตุผลจำพวก "จะเกิดอะไรถ้า?" (ดูที่ irrealis moods) การทดลองทางความคิดถูกนำมาใช้ใน ปรัชญา, ฟิสิกส์, และสาขาอื่น ๆ มันถูกใช้ในการตั้งคำถามทางปรัชญาอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ยุคกรีก สมัยก่อน โสกราตีส ในฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ นั้น การทดลองทางความคิดที่มีชื่อเริ่มจากคริสตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ตัวอย่างต่าง ๆ ก็ได้เริ่มพบมากตั้งแต่อย่างน้อยในยุคของ กาลิเลโอ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และการทดลองทางความคิด · ดูเพิ่มเติม »

ยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3 (แร็มบรันต์)

กบ เดอ ไคน์ที่ 3 (Jacob de Gheyn III หรือ Jacob III de Gheyn) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันที่เขียนโดยแร็มบรันต์ จิตรกรคนสำคัญชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จัดแสดงอยู่ที่หอศิลป์ดัลลิช (Dulwich) ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ภาพ "ยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3" ที่แร็มบรันต์เขียนราวปี ค.ศ. 1632 เป็นภาพเหมือนของยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3 นักแกะภาพพิมพ์ (engraving) ชาวดัตช์ ซึ่งเป็นภาพคู่กับภาพเหมือนของเพื่อนของไคน์ เมาริตส์ เฮยเคินส์ที่แต่งตัวคล้ายคลึงกัน และหันหน้าเข้าหากัน ภาพเขียนภาพนี้มีขนาดเล็กกว่าภาพเขียนส่วนใหญ่ที่แร็มบรันต์เขียน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพเขียนนี้ง่ายต่อการโจรกรรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และยาโกบ เดอ ไคน์ที่ 3 (แร็มบรันต์) · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

250px หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน

ตราแห่งสวีเดน พระมหากษัตริย์สวีเดน (Monarki i Sverige) เป็นประมุขของราชอาณาจักรสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศสวีเดนมีการปกครองเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและองค์กษัตริย์เองมิได้มีพระราชอำนาจทางการเมือง กระนั้นก็ยังทรงเป็นสถาบันสูงสุดรวมถึงได้รับความเคารพจากสังคมของราชอาณาจักรสวีเดนมาโดยตลอด ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และรายพระนามพระมหากษัตริย์สวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์

ทความนี้รวบรวม รายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Koningen der Nederlanden) ประกอบไปด้วยรายพระนามสตัดเฮาเดอร์แห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาตั้งแต..

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และรายพระนามพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร

วัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หัวเกาะบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดต่อกับเขตอุปจาระพระราชวังบางปะอิน มีอาณาเขตติดกับพระราชวังบางปะอิน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และวัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดบุปผาราม (จังหวัดตราด)

วัดบุปผาราม เดิมชื่อ วัดปลายคลอง ตั้งอยู่ เนินหย่อง หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และวัดบุปผาราม (จังหวัดตราด) · ดูเพิ่มเติม »

สังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู

ระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปปัจจุบันแห่งนิชิเรนโชชู ในนิกายนิชิเร็งโชชู สังฆนายก เป็นตำแหน่งของผู้นำและประมุขสุงสุดของนิกาย ซึ่งมีสานุศิษย์อยู่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีผู้นับถือส่วนมากในประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน กานา มาเลเซีย บราซิล ศรีลังกา และประเทศไทย สังฆนายกรูปปัจจุบันคือ พระนิชิเนียว โชนิง สังฆนายกรูปที่ 68.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และสังฆนายกแห่งนิชิเร็งโชชู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแมนจู

อักษรแมนจู (จีนกลาง: 满文; พินอิน: mǎn wén หม่าน เหวิน, Manchu alphabet) เริ่มปรากฏเมื่อ พ.ศ. 2142 ประดิษฐ์โดยผู้นำชาวแมนจู นูร์ฮาจี ผู้สถาปนารัฐแมนจู พัฒนามาจากอักษรมองโกเลียโบราณ มีการปรับปรุงเล็กน้อยเมื่อ พ.ศ. 2175 เมื่อชาวแมนจูสถาปนาราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ. 2187 ช่วง 200 ปีแรก ภาษาแมนจูเป็นภาษาราชการหลักและใช้เป็นภาษากลาง เมื่อราว..

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และอักษรแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพรหมบุรี

รหมบุรี เป็นอำเภอหนึ่งใน 6 อำเภอของจังหวัดสิงห์บุรี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และอำเภอพรหมบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี

็อง-บาติสต์ ลูว์ลี ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี (Jean-Baptiste Lully) เดิมชื่อ โจวันนี บัตติสตา ลุลลี (Giovanni Battista Lulli) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1632 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของเจ้าของโรงโม่ เขาได้รับการศึกษาเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีพรสวรรค์ในการเล่นกีตาร์ ไวโอลิน และเต้นรำ ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ล็อก

อห์น ล็อก จอห์น ล็อก (John Locke; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และจอห์น ล็อก · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1

ทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Thomas Wentworth, 1st Earl of Strafford) (13 เมษายน ค.ศ. 1593 - 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1641) ทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ก่อนหน้าที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมืองอังกฤษ ทอมัส เวนท์เวิร์ธรับราชการในรัฐสภาและเป็นฝ่ายสนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ระหว่างปี ค.ศ. 1632 ถึงปี ค.ศ. 1639 ทอมัส เวนท์เวิร์ธมีหน้าที่เป็นผู้ปกครองไอร์แลนด์ผู้ปกครองอย่างข่มขี่ ทอมัส เวนท์เวิร์ธถูกเรียกตัวกลับมาอังกฤษเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าชาร์ลส์ในการสร้างความมั่นคงให้แก่พระองค์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐสภา ในบั้นปลายทอมัส เวนท์เวิร์ธถูกกล่าวโทษโดยรัฐสภาและในที่สุดก็ถูกสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1641 ทอมัส เวนท์เวิร์ธเกิดในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1593 เป็นลูกของวิลเลียม เวนท์ เวิร์ทแห่งเวนท์ เวิร์ทวูดเฮาส์จากยอร์คเชอร์และแอนน์ ลูกสาวของเซอร์โรเบิร์ต แอตคินส์แห่งสโตเวลล์ (Robert Atkins of Stowell) จากกลอสเตอร์เชอร์ ทอมัส เวนท์เวิร์ธได้รับการศึกษาที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น, เคมบริดจ์ และศึกษากฎหมายที่อินเนอร์เทมเปิล ในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ

ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ ร่วมกันแถลงข่าว ณ ห้องตะวันออกของทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560 ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร-สหรัฐ เปิดกว้างในทุกทุกด้านและขยายความสัมพันธ์กันตลอดช่วงสี่ศตวรรษที่ผ่านมา แรกเริ่มในปี พ.ศ. 2150 เมื่ออังกฤษสถาปนาเขตพักพิงถาวรแห่งแรกขึ้นบนพื้นทวีปอเมริกาเหนือ เขตพักพิงแห่งนี้มีชื่อว่า เจมส์ทาวน์ ในยุคที่สหรัฐยังเป็นอาณานิคมทั้งสิบสาม ทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษด้วยกันคู่ ซึ่งทั้งสองรัฐถูกผูกมัดเข้าด้วยกันทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ภาษาแม่ ระบบยุติธรรม วัฒนธรรม รวมทั้งความเกี่ยวดองกันทางสายเลือดและเครือญาติ ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษในสหรัฐจึงสามารถย้อนต้นตระกูลกลับไปได้หลายชั่วอายุคน ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมามีทั้งสงคราม การก่อกบฏ สันติภาพและความบาดหมางต่อกัน จนกระทั่งท้ายที่สุดทั้งสองก็กลายเป็นทั้งเพื่อนและพันธมิตรต่อกัน ความสัมพันธ์อันหยั่งรากลึกนี้ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดและถาวรเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ สายสัมพันธ์พิเศษ ซึ่งถูกอธิบายโดยนักวิจารณ์ชั้นแนวหน้าอย่าง คริสเตียน อามันพัวร์ ว่าเป็น "พันธมิตรหลักแห่งแอตแลนติก" เช่นเดียวกับประธานวุฒิสมาชิกด้านกิจการยุโรปของสหรัฐ ฌอง ชาฮีน ที่ยอมรับใน พ.ศ. 2553 ว่าเป็น "หนึ่งในเสาหลักแห่งเสถียรภาพของทั่วทั้งโลก" ปัจจุบัน นโยบายด้านการต่างประเทศของสหราชอาณาจักรฉบับล่าสุดกล่าวถึงความสัมพันธ์กับสหรัฐว่าเป็น "หุ้นส่วนความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีที่สำคัญที่สุด" ขณะที่นโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐเองก็ยืนยันเช่นกันว่าสหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีที่ยืนยงที่สุด ซึ่งเห็นได้จากสภาพทางสังคมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งในด้านการเมือง ความเชื่อมโยงกันของการค้า การพาณิชย์ การเงินการคลัง เทคโนโลยี การศึกษา เช่นเดียวกับด้านศิลปะและวิทยาการ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกันของรัฐบาลและหน่วยงานทางการทหาร เช่น ปฏิบัติการทางการทหารและปฏิบัติการรักษาสันติภาพร่วมกัน นอกจากนี้โดยปกติแล้วประธานาธิบดีแห่งสหรัฐจะเป็นบุคคลแรกในโลกที่จะส่งจดหมายแสดงความยินดีในการเข้ารับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรคนใหม่ ในทางกลับกัน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรก็จะส่งจดหมายแสดงความยินดีเป็นบุคคลแรกในโลกเช่นเดียวกัน สหรัฐยังเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับที่สหราชอาณาจักรเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐ เมื่อรวมทั้งสองประเทศเข้าด้วยกันแล้วจะพบว่าการค้าของทั้งสองประเทศมีสัดส่วนมหาศาลเมื่อเทียบกับการค้าทั่วโลก อีกยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมอย่างมากต่อประเทศและดินแดนอื่น ๆ ทั่วโลก สหราชอาณาจักรและสหรัฐยังเปนสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดและประชากรมากที่สุดในกลุ่มประเทศ แองโกลสเฟียร์ มีประชากรรวมกันมากกว่า 370 ล้านคนในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซียึดอำนาจเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองหรือ จักรวรรดิที่ 3 แต่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และประวัติศาสตร์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนิส เฟอร์เมร์

''สาวใส่ต่างหูมุก'' โยฮันเนิส ไรเนียส์โซน เฟอร์เมร์ (Johannes Reynierszoon Vermeer) หรือ โยฮัน เฟอร์เมร์ (Johan Vermeer; 31 ตุลาคม พ.ศ. 2175 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2218) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ มีผลงานในด้านศิลปะบาโรก มักวาดภาพที่แสดงถึงชีวิตประจำวันธรรมดาของคน เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเดลฟท์ และเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จพอสมควรในเมืองของเขา แต่ว่าไม่ได้ร่ำรวยเป็นพิเศษเพราะสร้างผลงานค่อนข้างน้อย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ สาวใส่ต่างหูมุก ซึ่งเป็นภาพที่รู้จักกันในชื่อ "โมนาลีซาจากทางเหนือ" เฟอร์เมร์ถูกลืมไปกว่าสองร้อยปี และกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งเมื่อนักวิจารณ์ศิลปะชื่อ ตอเร-เบือร์เกอร์ (Thoré-Bürger) เขียนบทความระบุภาพ 66 ภาพว่าเป็นของเขา (แต่มีเพียง 35 ภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างแน่นอนว่าเป็นของเขาในปัจจุบัน) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของเฟอร์เมร์ก็เริ่มโด่งดังขึ้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่ยอมรับในเรื่องเทคนิคการใช้แสงในผลงานของ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และโยฮันเนิส เฟอร์เมร์ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอมิตสึ

ทะกุงะวะ อิเอะมิสึ เป็น โชกุน คนที่ 3 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1604 เป็นบุตรชายคนโตของโชกุนคนที่ 2 โทะกุงะวะ ฮิเดะทะดะ และเป็นหลานปู่ของโชกุนคนแรกของตระกูล โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โดยท่านเป็นสมาชิกของตระกูลคนแรกที่เกิดในสมัย ที่ผู้เป็นปู่ได้เป็นโชกุนต่อมาเมื่อผู้เป็นบิดาได้ลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ท่านก็ได้ขึ้นเป็นโชกุนคนใหม่ขณะอายุได้เพียง 19 ปีแต่อำนาจและอิทธิพลก็ยังคงอยู่ที่อดีตโชกุนฮิเดะทะดะผู้เป็นพ่อจนถึงปี ค.ศ. 1632 เมื่ออดีตโชกุนถึงแก่อสัญกรรม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และโทกูงาวะ อิเอมิตสึ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ

ทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ เป็นโชกุนคนที่ 2 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1579 หลังจากผู้เป็นบิดาได้ลงจากตำแหน่งโชกุนในปี ค.ศ. 1605 ท่านจึงขึ้นดำรงตำแหน่งสืบต่อมาขณะอายุได้เพียง 26 ปี ในสมัยของท่านตระกูลโทะกุงะวะสามารถขยายอำนาจออกไปได้อย่างกว้างขวาง และลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ขณะอายุได้ 44 ปีแต่ก็ยังทรงอิทธิพลอยู่ก่อนจะที่จะเสียชีวิตลงในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1632 ขณะอายุได้ 53 ปี.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และโทกูงาวะ ฮิเดตาดะ · ดูเพิ่มเติม »

เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี

อวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (อิตาลี: Evangelista Torricelli, บางตำราออกเสียงภาษาอังกฤษว่า ตอร์ริเชลลี หรือ ทอร์ริเชลลี, 15 ตุลาคม พ.ศ. 2151 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2190) เป็นนักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ ชาวอิตาลี ผู้ประดิษฐ์คิดค้น บารอมิเตอร์ และภายหลังได้ถูกนำชื่อของเขาได้นำไปตั้งเป็น หน่วยของความดันในระบบ หน่วยเอสไอ บางตำรายกย่องให้เขาเป็น บิดาแห่งอุทกพลศาสตร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และเอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี · ดูเพิ่มเติม »

เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์

รไมอาห์ ฮอร์รอกส์กำลังสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ เมื่อปี พ.ศ. 2182 เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ (Jeremiah Horrocks - ประมาณ พ.ศ. 2161 - 3 มกราคม, พ.ศ. 2184), บางครั้งก็เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Jeremiah Horrox, นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษคนแรกที่ได้สังเกตการณ์การเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ · ดูเพิ่มเติม »

11 กรกฎาคม

วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันที่ 192 ของปี (วันที่ 193 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 173 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และ11 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

16 สิงหาคม

วันที่ 16 สิงหาคม เป็นวันที่ 228 ของปี (วันที่ 229 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 137 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และ16 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

20 ตุลาคม

วันที่ 20 ตุลาคม เป็นวันที่ 293 ของปี (วันที่ 294 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 72 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และ20 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 กุมภาพันธ์

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 52 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 313 วันในปีนั้น (314 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และ21 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

28 ตุลาคม

วันที่ 28 ตุลาคม เป็นวันที่ 301 ของปี (วันที่ 302 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 64 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และ28 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

29 สิงหาคม

วันที่ 29 สิงหาคม เป็นวันที่ 241 ของปี (วันที่ 242 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 124 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2175และ29 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1632

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »