โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 2173

ดัชนี พ.ศ. 2173

ทธศักราช 2173 ใกล้เคียงกั.

30 ความสัมพันธ์: บอสตันพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกสกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิสมาเลเซียเชื้อสายไทยราชวงศ์สุโขทัยรายชื่อธงในประเทศเนเธอร์แลนด์รายชื่อทุพภิกขภัยรายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกสวัดไชยวัฒนารามสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมอัลเฟรด โนเบลอาณาจักรอยุธยาจอห์น เอิร์สคิน เอิร์ลแห่งมาร์ที่ 18จักรพรรดิว่านลี่จังหวัดชุมพรดัชชีซาวอยประวัติศาสตร์เยอรมนีประเทศภูฏานประเทศภูฏานใน ค.ศ. 1630แคร์ริต เดาแคลวิน คูลิดจ์โยฮันเนส เคปเลอร์เอเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอเฮนนิก แบรนด์14 ตุลาคม29 พฤษภาคม

บอสตัน

อสตัน (Boston) เป็นเมืองหลวงของรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตนิวอิงแลนด์ บอสตันเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด มั่งคั่งที่สุด และมีวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ธุรกิจที่สำคัญในบอสตัน ได้แก่ การศึกษา สถานพยาบาล การเงิน และเทคโนโลยี บอสตันได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 100 แห่งในเมืองบอสตัน โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยที่สำคัญและมีชื่อเสียงอื่นๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยบอสตัน วิทยาลัยบอสตัน มหาวิทยาลัยทัฟส์ และ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ทีมกีฬาหลายทีมประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงในบอสตัน ได้แก.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และบอสตัน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส

ระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส (João IV de Portugal, 18 มีนาคม ค.ศ. 1603 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1656) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและอัลการ์เวส (King of Portugal and the Algarves) ในราชวงศ์บรากานซา เป็นพระนัดดาของแคเทอรีน ดัชเชสแห่งบรากานซา ผู้ได้ประกาศอ้างสิทธิในราชบัลลังก์โปรตุเกสและกลายเป็นชนวนสงครามชิงราชสมบัติใน ค.ศ. 1580 มีพระสมัญญานามว่า พระเจ้าฌูเอาผู้ฟื้นฟู (João o Restaurador, John the Restorer) ก่อนพระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1656 ดินแดนของจักรวรรดิโปรตุเกสได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางที่สุด ด้วยพื้นที่ที่มากถึงเกือบ 3,000 ล้านเอเคอร์ พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกสเสด็จพระราชสมภพที่เมืองวิลลา วีซอซา (Vila Viçosa) และได้รับสืบทอดตำแหน่งดยุคแห่งบรากานซาจากเจ้าชายทีโอโซโอที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดา เมื่อ ค.ศ. 1630 ทรงเสกสมรสกับลุยซา ดี กุซมาน (Luisa de Guzman, ค.ศ. 1613 - 1666) พระธิดาองค์โตของดยุคแห่งเมดินา-ซีโดเนีย เมื่อ ค.ศ. 1633 พระองค์ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติจากการปฏิวัติต่อต้านพระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1640 และกระทำพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1640 พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกสเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1656 พระเจ้าอฟองโซที่ 6 ผู้เป็นพระราชโอรสได้สืบราชสมบัติเป็นลำดับถัดมา พระราชธิดาของพระองค์ผู้หนึ่ง คือ เจ้าหญิงคาทารีนาแห่งบรากานซา ได้อถิเษกสมรสกับพระเจ้าชาร์ลสที่ 2 กษัตริย์แห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และพระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์

แสดงกฎ 3 ข้อของเคปเลอร์ที่มีวงโคจรดาวเคราะห์ 2 วง (1) วงโคจรเป็นวงรีด้วยจุดโฟกัส ''f1'' และ ''f2'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงแรกและ ''f1'' และ ''f3'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงที่ 2 ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุด ''f1'' (2) ส่วนแรเงา 2 ส่วน ''A1'' และ ''A2'' มีผิวพื้นเท่ากันและเวลาที่ดาวเคราะห์ 1 ทับพื้นที่ ''A1'' เท่ากับเวลาที่ทับพื้นที่ ''A2''. (3) เวลารวมของวงโคจรสำหรับดาวเคราะห์ 1 และดาวเคราะห์ 2 มีสัดส่วนเท่ากับ a1^3/2:a2^3/2. กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ (Kepler's laws of planetary motion) คือกฎทางคณิตศาสตร์ 3 ข้อที่กล่าวถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันเนส เคปเลอร์ (พ.ศ. 2114 – พ.ศ. 2173) เป็นผู้ค้นพบ เคปเลอร์ได้ศึกษาการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวเดนมาร์กชื่อไทโค บราห์ (Tycho Brahe) โดยประมาณ พ.ศ. 2148 เคปเลอร์พบว่าการสังเกตตำแหน่งของดาวเคราะห์ของบราห์เป็นไปตามกฎง่ายๆ ทางคณิตศาสตร์ กฎของเคปเลอร์ท้าทายดาราศาสตร์สายอริสโตเติลและสายทอเลมีและกฎทางฟิสิกส์ในขณะนั้น เคปเลอร์ยืนยันว่าโลกเคลื่อนที่เป็นวงรีมากกว่าวงกลม และยังได้พิสูจน์ว่าความเร็วการเคลื่อนที่มีความผันแปรด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางดาราศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างไรก็ดี คำอธิบายเชิงฟิสิกส์เกี่ยวกับพฤติกรรมของดาวเคราะห์ก็ได้ปรากฏชัดเจนได้ในอีกเกือบศตวรรษต่อมา เมื่อไอแซก นิวตันสามารถสรุปกฎของเคปเลอร์ได้ว่าเข้ากันกับกฎการเคลื่อนที่และกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตันเองโดยใช้วิชาแคลคูลัสที่เขาคิดสร้างขึ้น รูปจำลองแบบอื่นที่นำมาใช้มักให้ผลผิดพล.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส

ระราชินีมารี เดอ เมดีซิส (Marie de' Medici cycle) เป็นภาพเขียนชุดจำนวนยี่สิบสี่ภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรคนสำคัญของสมัยบาโรกแบบเฟลมิช ที่ว่าจ้างโดยพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส พระอัครมเหสีในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สำหรับตั้งแสดงที่พระราชวังลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รือเบินส์ได้รับการจ้างในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1621 หลังจากที่มีการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อตกลงภายในสัญญาเมื่อต้นปี ค.ศ. 1622 แล้ว สัญญาก็ระบุว่าโครงการเขียนภาพจะต้องเสร็จภายในสองปีเพื่อให้ทันเวลากับการเสกสมรสของพระราชธิดาเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียกับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ภาพเขียนยี่สิบเอ็ดภาพเป็นภาพการต่อสู้และการได้รับชัยชนะต่าง ๆ ในชีวิตของพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส อีกสามภาพเป็นภาพเหมือนของพระองค์เองและพระราชบิดามารดาBelkin, pp.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียเชื้อสายไทย

วมาเลเซียเชื้อสายไทย หรือ ชาวสยาม (นิยมเรียกในมาเลเซีย) เป็นชาวไทยถิ่นใต้ที่อาศัยอยู่พื้นที่แถบนี้มาช้านาน โดยการเข้ามาเรื่อย ๆ พอนานเข้าก็กลายเป็นชนกลุ่มหนึ่งในรัฐไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ทางตอนเหนือของรัฐเประก์ และมีจำนวนหนึ่งอาศัยในปีนัง โดยบางส่วนได้ผสมกลมกลืนกับชนพื้นเมืองแถบนี้ด้วย ภายหลังการยกดินแดนส่วนนี้แก่อังกฤษ ชาวไทยกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งตกค้างในประเทศมาเลเซียจนถึงปัจจุบัน แต่ชาวไทยในประเทศมาเลเซียนี้ก็ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยในอดีตไว้ได้อย่างดี รวมถึงภาษา และศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกับชาวมลายูทั่วไป.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และมาเลเซียเชื้อสายไทย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สุโขทัย

ราชวงศ์สุโขทัย เป็นราชวงศ์ที่ 3 ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา โดยสืบเชื้อสายจากกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ราชวงศ์สุโขทัยถูกสถาปนาขึ้นโดย สมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชโอรสในตำแหน่ง ขุนพิเรนทรเทพ ที่เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากพ่อขุน หรือกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยแต่ดั้งเดิม เป็นราชวงศ์ที่ถูกผลัดเปลี่ยนขึ้นมาแทนที่ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ หรือราชวงศ์สุวรรณภูมิ ที่สูญสิ้นไปหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า โดยที่ พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าให้สถาปนาขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือพระองค์ในการทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา ภายใต้การเป็นเมืองขึ้นของพม่าต่อไป ราชวงศ์สุโขทัยมีอายุ 60 ปี รายพระนามของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัย ประกอบด้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และราชวงศ์สุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศเนเธอร์แลนด์

นื้อหาในหน้านี้ว่าด้วยธงประเภทต่างๆ ที่มีการใช้ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับธงชาติ สามารถศึกษาได้ที่บทความ ธงชาติเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และรายชื่อธงในประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์

ระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ตามธรรมเนียม พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอตพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 (ซีเนียด แม็คอัลปิน) ผู้ทรงสถาปนารัฐเอกราชขึ้นในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และรายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกส พระอิศริยยศเริ่มขึ้นตั้งแต่โปรตุเกสประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรเลออน ภายใต้การนำของอัลฟอนโซ เฮนริเก ผู้ซึ่งประกาศตั้นตนเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และรายพระนามพระมหากษัตริย์โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม หรือ วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173โดยเดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของพระราชมารดาที่ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าปราสาททองได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ พระองค์จึงได้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ และอีกประการหนึ่งวัดนี้อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือเขมรด้วย จึงทำให้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งมาจากปราสาทนครวั.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และวัดไชยวัฒนาราม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

มเด็จพระเจ้าทรงธรรม หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 หรือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงธรรม หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สำเร็จโทษพระมหากษัตริย์องค์ก่อนแล้ว พระศรีศิลป์หรือพระพิมลธรรม หรือพระเจ้าทรงธรรมก็เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัต.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด โนเบล

อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบล (21 ตุลาคม พ.ศ. 2376, สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2439, ซานเรโม ประเทศอิตาลี) นักเคมีชาวสวีเดน วิศวกร นักประดิษฐ์ ผู้ผลิตอาวุธและผู้คิดค้นดินระเบิดไดนาไมท์ เขาเป็นเจ้าของบริษัทโบโฟรส์ (Bofors) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ โดยเขาได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของโรงงานจากเดิมที่เป็นโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า มาเป็นโรงผลิตปืนใหญ่ และอาวุธต่างๆ ในพินัยกรรมของเขา เขาได้ยกทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลได้จากการผลิตอาวุธให้แก่สถาบันรางวัลโนเบล เพื่อมอบรางวัลแก่บุคคลที่สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ เรียกว่า รางวัลโนเบล และในโอกาสที่มีการสังเคราะห์ธาตุชนิดใหม่ขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อธาตุนั้นตามชื่อของเขา เพื่อเป็นการให้เกียรติ ว่า โนเบเลียม (Nobelium).

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และอัลเฟรด โนเบล · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอิร์สคิน เอิร์ลแห่งมาร์ที่ 18

อห์น เอิร์สคิน เอิร์ลแห่งมาร์ที่ 18 (’’John Erskine, 18th Earl of Mar’’; ราว ค.ศ. 1558 - 14 ธันวาคม ค.ศ. 1634) จอห์น เอิร์สคินเป็นนักการเมืองชาวสกอตแลนด์ จอห์น เอิร์สคินผู้ที่เกิดราว ค.ศ. 1558 เป็นบุตรของเอิร์สคิน เอิร์ลแห่งมาร์ที่ 1 ได้รับการศึกษาพร้อมกับสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์โดยพระอาจารย์นักมนุษยนิยมจอร์จ บุคานัน หลังจากการบรรลุนิติภาวะแล้วจอห์น เอิร์สคินก็ได้รับหน้าที่ในเชิงเป็นผู้ดูและสมเด็จพระเจ้าเจมส์ผู้มีอายุอ่อนกว่าเจ็ดปี ที่ประทับอาศัยอยู่ด้วยกันที่สเตอร์ลิง แต่อันที่จริงแล้วก็เป็นเพียงหุ่นเชิดของเจมส์ ดักกลาส เอิร์ลแห่งมอร์ตันที่ 4ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ และมาสูญเสียอำนาจและตำแหน่งเมื่อเอิร์ลแห่งมอร์ตันถูกจำคุก จอห์นมีความวิตกกังวลเมื่อมีการลักตัวสมเด็จพระเจ้าเจมส์โดยวิลเลียม รูธเว็น เอิร์ลแห่งเกาว์รีที่ 1ในปี ค.ศ. 1582 ในการคบคิดที่เป็นที่รู้จักกันว่า "การคบคิดรูธเว็น’’ (Raid of Ruthven) แต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าเจมส์เสด็จหนีจากผู้ดูแลใหม่ของพระองค์ได้ เอิร์ลแห่งเกาว์รีก็หลบหนีไปทางตะวันตกของสกอตแลนด์ เมื่อออกมาจากที่ซ่อนเอิร์ลแห่งมาร์ก็ทำการยึดปราสาทสเตอร์ลิง โดยมีสมเด็จพระเจ้าเจมส์เข้าประชิด จนมาร์ต้องหลบหนีไปยังอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษทรงพยายามไกล่เกลี่ยแต่ไม่สำเร็จ หลังจากการเจรจาหลายครั้งระหว่างรัฐบาลอังกฤษและสกอตแลนด์ที่ไม่ประสบความสำเร็จแล้ว มาร์ก็รวบรวมกองกำลังกับเพื่อนๆ และเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ปราสาทสเตอร์ลิง และไม่นานหลังจากนั้นก็ได้รับอำนาจสูงสุดในปี ค.ศ. 1585 มาร์ได้รับทรัพย์สินและตำแหน่งคืน ตั้งแต่บัดนั้นมาร์ก็ได้รับความรุ่งเรืองในหน้าที่การงานและเป็นที่โปรดปราน ต่อมามาร์ก็ได้รับตำแหน่งเป็นข้าหลวงของปราสาทเอดินบะระห์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์ของเฮนรี เฟรเดอริค เจ้าชายแห่งเวลส์พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ จอห์น เอิร์สคินสมรสครั้งที่สองกับแมรี บุตรีของเอเม สจวต ดยุคแห่งเลนน็อกซ์ ในปี ค.ศ. 1601 จอห์น เอิร์สคินก็ถูกส่งตัวไปยังลอนดอนในฐานะราชทูตจากสกอตแลนด์ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงรับรองกับเอิร์สคินว่าเจมส์ควรจะเป็นทายาทของพระองค์ และการเดินทางมาทำหน้าที่ของเอิร์สคินเป็นการกระทำที่ทำด้วยความสุขุมและรอบคอบ เมื่อได้เป็นสมาชิกของสภาองคมนตรีแล้วเอิร์สคินก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นลอร์ด คาร์รอสส์ในปี ค.ศ. 1610 นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีตำแหน่งใน Court of High Commission และ เป็นองคมนตรีการคลังระหว่างปี ค.ศ. 1615 ถึงปี ค.ศ. 1630 จอห์น เอิร์สคินเสียชีวิตที่สเตอร์ลิงเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1634 เอิร์สคิน เอิร์ลแห่งมาร์ที่ 3 บุตรชายคนเดียวจากภรรยาคนแรกได้รับตำแหน่งเอิร์ลต่อจากบิดา จอห์น เอิร์สคินมีบุตรชายห้าคนกับภรรยาคนที่สอง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และจอห์น เอิร์สคิน เอิร์ลแห่งมาร์ที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิว่านลี่

มเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ (4 กันยายน ค.ศ. 1563 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1620) ประสูติเมื่อวันที่4 กันยายน..

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และจักรพรรดิว่านลี่ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชุมพร

มพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และจังหวัดชุมพร · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีซาวอย

ัชชีแห่งซาวอย (Duchy of Savoy, Savoie, Savoia) ระหว่างปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และดัชชีซาวอย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซียึดอำนาจเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองหรือ จักรวรรดิที่ 3 แต่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และประวัติศาสตร์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏานใน ค.ศ. 1630

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1630 ในประเทศภูฏาน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และประเทศภูฏานใน ค.ศ. 1630 · ดูเพิ่มเติม »

แคร์ริต เดา

แคร์ริต เดา หรือ เคราร์ด เดา (Gerrit Dou, Gerard Dou; 7 เมษายน ค.ศ. 1613 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1675) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แคร์ริตมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพชีวิตประจำวันที่มีลักษณะที่เรียกว่า จิตรกรรมไลเดิน (Leidse Fijnschilders) และมีลักษณะการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่เป็นศิลปะเชิง 3 มิติ และการใช้แสงเทียนจ้าจัดในลักษณะการเขียนที่ใช้ค่าต่างแสง (chiaroscuro) หรือแสงเงาที่ตัดกันอย่างรุนแรง.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และแคร์ริต เดา · ดูเพิ่มเติม »

แคลวิน คูลิดจ์

อห์น แคลวิน คูลิดจ์ จูเนียร์ (John Calvin Coolidge, Jr.; 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 – 5 มกราคม พ.ศ. 2476) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 30 ของประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2476) มักมีผู้เรียกเขาว่า "คาลผู้เงียบขรึม" คูลิดจ์เป็นนักกฎหมายจากรัฐเวอร์มอนต์ ไต่เต้าสู่วงการเมืองด้วยการลงเล่นการเมืองในรัฐแมสซาชูเซตส์จนได้เป็นผู้ว่าการรัฐ และจากฝีมือในการจัดการกับกรณีตำรวจบอสตันสไตค์เมื่อ พ.ศ. 2462 ทำให้คูลิดจ์เป็นที่รู้จักเด่นชัดในระดับประเทศ หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2463 คูลิดจ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิดีคนที่ 29 และได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนประธานาธิบดีวาร์เรน จี. ฮาร์ดิงซึ่งถึงอสัญกรรมในตำแหน่ง คูลิดจ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีโดยตรงเมื่อ พ.ศ. 2467 และได้รับการกล่าวว่าเป็นรัฐบาลอนุรักษนิยมขนาดเล็ก มีหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่าสไตล์การบริหารประเทศของคูลิดจ์ย้อนกลับไปสู่ยุคประธาธิบดีเฉื่อยของสหรัฐฯ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344-2403) แต่คูลิดจ์ก็ได้กู้ความเชื่อมั่นของทำเนียบขาวจากเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นในสมัยประธานาธิบดีฮาร์ดิง และหมดวาระประธานาธิบดีด้วยความนิยมค่อนข้างสูง ดังที่นักเขียนชีวประวัติของคูลิดจ์ได้กล่าวว่า "คูลิดจ์ได้หลอมจิตวิญญาณและความหวังของคนชั้นกลาง สามารถแปลและเข้าใจถึงสิ่งที่คนกลุ่มนี้ไฝ่หาและแสดงออกมา เป็นตัวแทนของความอัจฉริยะของคนในระดับเฉลี่ยนั่นเองที่เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นพลังของคูลิดจ์" มีหลายคนที่วิพากษ์วิจารณ์คูลิดจ์ในตอนหลังว่ามีส่วนทำให้เกิดการบริหารประเทศแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา (laissez-faire government) จนทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำสุดขีด ชื่อเสียงในด้านนี้ได้เกิดซ้ำอีกในสมัยประธานาธิบดีรีแกน แต่การประเมินการบริหารประเทศของคูลิดจ์ก็ยังแยกเป็นสองฝ่ายระหว่างผู้เห็นด้วยกับการปรับขนาดของคณะรัฐมนตรีให้เล็กลง กับ ฝ่ายที่เห็นว่ารัฐบาลกลางควรเข้าไปมีส่วนในการยับยั้งผลเสียที่กำลังแรงของระบบทุนนิยม.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และแคลวิน คูลิดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนส เคปเลอร์

ันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 - 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630) นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ เขาค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในงาน Astronomia nova, Harmonice Mundi ของเขา และได้แต่งหนังสือชื่อ Epitome of Copernican Astronomy โยฮันเนส เคปเลอร์ ประกอบอาชีพเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน Graz (ภายหลังเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัย Graz) และเป็นผู้ช่วยของ ไทโค บราเฮ นักคณิตศาสตร์ในความอุปถัมภ์ของจักรพรรดิรูดอร์ฟที่ 2 ผู้ซึ่งรวบรวมรวมข้อมูลของดาวเคราะห์มาตลอดชีวิต และปูทางให้เคปเลอร์ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในเวลาต่อมา เขาทำงานด้านทัศนศาสตร์ และช่วยสนับสนุนการค้นพบกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ กาลิเลอี เขาถูกยกย่องว่าเป็น "นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎีคนแรก" แต่คาร์ล ซาแกน ยกย่องเขาในฐานะ "นักโหราศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์คนสุดท้าย".

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และโยฮันเนส เคปเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอ

อเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอ (Esaias van de Velde; 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1587 - 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟัน เดอแฟ็ลเดอมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์และภาพชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และเอเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนนิก แบรนด์

นนิก แบรนด์ (ด้านหน้า) ในภาพวาด ''The Alchemist in Search of the Philosopher's Stone'' โดยโจเซฟ ไรต์ เฮนนิก แบรนด์ (Hennig Brand; ประมาณ ค.ศ. 1630 – ประมาณ ค.ศ. 1692 หรือ ค.ศ. 1710) เป็นพ่อค้าและนักเล่นแร่แปรธาตุจากฮัมบูร์ก เยอรมนี เป็นผู้ค้นพบฟอสฟอรัส มีประวัติในวัยเด็กเกี่ยวกับเขาน้อยมาก แต่เมื่อโตขึ้น แบรนด์รับราชการทหารในสงครามสามสิบปี หลังสงคราม เขาทำงานเป็นช่างทำแก้ว ก่อนจะผันตัวมาเป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อค้นหาศิลานักปราชญ์เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ จนถึงปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และเฮนนิก แบรนด์ · ดูเพิ่มเติม »

14 ตุลาคม

วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันที่ 287 ของปี (วันที่ 288 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 78 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และ14 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

29 พฤษภาคม

วันที่ 29 พฤษภาคม เป็นวันที่ 149 ของปี (วันที่ 150 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 216 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 2173และ29 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1630

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »