โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พ.ศ. 1615

ดัชนี พ.ศ. 1615

ทธศักราช 1615 ใกล้เคียงกั.

7 ความสัมพันธ์: พระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 แห่งอังกฤษรายชื่อทุพภิกขภัยรายพระนามจักรพรรดิเวียดนามสมัยกลางประวัติศาสตร์เยอรมนีเอลซิด

พระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (Philip I of France หรือ Philip the Amorous หรือ Philippe I de France) (23 พฤษภาคม ค.ศ. 1052 - 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1059 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1108 รัชสมัยของพระองค์ก็เช่นเดียวกับรัชสมัยของกษัตริย์ของราชวงศ์กาเปเตียงเป็นรัชสมัยที่ยืดยาว พระองค์ทรงได้รับราชบัลลังก์ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัวจากสมัยที่ตกต่ำของพระราชบิดาและทรงได้ดินแดน เวอแซ็ง (Vexin) และ บูร์ก (Bourges) เข้ามาเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระเจ้าฟิลิปที่ 1 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1052 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอ็องรีที่ 1 แห่งฝรั่งเศสและอานแห่งเคียฟ (Anne of Kiev) พระนามของพระองค์มาจากภาษากรีก “Philippos” ที่แปลว่า “ผู้รักม้า” ซึ่งเป็นชื่อที่แปลกสำหรับยุโรปตะวันตกในขณะนั้น เป็นชื่อที่ได้รับพระราชมารดาผู้ทรงมาจากยุโรปตะวันออก ฟิลิปขึ้นครองราชสมบัติเมื่อมีพระชนมายุได้ 7 พรรษา โดยมีพระราชมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนพระชนมายุได้ 14 พรรษาในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1615และพระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง (Anglo-Saxon period to refer to male members of the royal family) (ราว ค.ศ. 1051 – ค.ศ. 1126) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 1051 ในประเทศฮังการีปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสของเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัย ผู้เป็นรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ และ อากาธา พระเจ้าเอ็ดการ์ เป็นพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือ “Ironside” ทรงราชย์ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1066 จนถึงวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1066 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า “เอ็ดการ์ผู้นอกกฎหมาย” (Edgar the Outlaw) หรือ “เอ็ดการ์ที่ 2” ทรงเป็นกษัตริย์เวสต์แซ็กซอนองค์สุดท้ายของราชวงศ์เซอร์ดิค ทรงได้รับการประกาศให้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษแต่มิได้ทรงรับการสวมมงกุฏ เมื่อเอ็ดเวิร์ดผู้ลี้ภัยสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1057 เอ็ดการ์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรัชทายาทโดยนิตินัยโดยพระอัยกา สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ แต่เอ็ดการ์ยังทรงพระเยาว์เกินกว่าที่จะครองราชสมบัติและสามารถป้องกันประเทศที่มึเค้าการรุกรานของฝรั่งเศสโดย ดยุคแห่งนอร์ม็องดี ดังนั้นเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตสภาวิททันจึงเลือก ฮาโรลด์ กอดวินสัน ผู้เป็นน้องเขยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเป็นสมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน เมื่อพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันเสด็จสวรรคตที่ยุทธการเฮสติงส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 เอ็ดการ์จึงได้รับการประกาศให้เป็น สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 โดยสภาวิททันในลอนดอน แต่มิได้ทรงรับการสวมมงกุฏ พระเจ้าเอ็ดการ์ถูกส่งตัวให้ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ราวหกถึงแปดอาทิตย์ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 14 หรือ 15 พรรษ.

ใหม่!!: พ.ศ. 1615และพระเจ้าเอ็ดการ์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: พ.ศ. 1615และรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม

้านล่างนี้คือ รายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม.

ใหม่!!: พ.ศ. 1615และรายพระนามจักรพรรดิเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: พ.ศ. 1615และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซียึดอำนาจเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองหรือ จักรวรรดิที่ 3 แต่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: พ.ศ. 1615และประวัติศาสตร์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เอลซิด

อนุสาวรีย์เอลซิดในเมืองบูร์โกส ดาบของเอลซิด ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน La Real Armería ภาพเอลซิด ขณะอยู่ในอิริยาบถขี่ม้า เอลซิด (El Cid) เป็นขุนศึกชาวสเปนผู้เก่งกาจคนหนึ่ง เกิดใน พ.ศ. 1586 (ค.ศ. 1043) ที่หมู่บ้านบีบาร์ ในเมืองบูร์โกส อาณาจักรคาสตีล เกิดในตระกูลขุนนางสเปน มีชื่อจริงว่า โรดรีโก ดีอัซ เด บีบาร์ (Rodrigo Díaz de Vivar) โรดรีโกได้รู้จักและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเจ้าชายซานโช รัชทายาทแห่งอาณาจักรคาสตีลในฐานะเจ้านายและข้ารับใช้มาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่นานทั้งคู่ก็สนิทสนมกันจนแทบจะเรียกว่าเป็นสหายกันก็ได้ โรดรีโกจงรักภักดีต่อเจ้าชายซานโชมาก ดังจะเห็นได้จากใน พ.ศ. 1606 (ค.ศ. 1063) อาณาจักรคาสตีลมีสงครามกับอาณาจักรอารากอน เพราะต้องการแย่งชิงดินแดนซาราโกซา สงครามครั้งนี้ไม่สามารถตัดสินได้ในสมรภูมิรบ เพราะต่างฝ่ายต่างเข้มแข็งจนไม่มีใครเอาชนะใครได้ จึงตกลงกันว่า ให้แต่ละฝ่ายส่งตัวแทนมา 1 คนมาประลองกันแบบ 1:1 ใครชนะจะได้ดินแดนซาราโกซาไป ฝ่ายคาสตีลนั้น โรดรีโกอาสาไปเป็นตัวแทนประลอง และในวันจริงนั้น แม้คู่ต่อสู้จากอารากอนจะมีร่างกายกำยำ แรงเยอะ และตัวโตกว่าโรดรีโกอย่างมาก แต่โรดรีโกก็สามารถชนะได้ ทำให้คาสตีลชนะในสงครามนี้ ทหารของคาสตีลจึงให้ฉายาจากการสร้างวีรกรรมของเขา คือ "เอลซิดกัมเปอาดอร์" (El Cid Campeador) โดย El Cid มีที่มาจากคำในภาษาอาหรับถิ่นอันดาลูเซียว่า "อัลซีด" (al-sīd) แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "The Lord" ส่วน Campeador นั้นเป็นภาษาสเปน แปลว่า "Champion" ซึ่งฉายาเอลซิดก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ที่รู้จักโรดรีโกใช้เรียกเขามาจนถึงปัจจุบัน หลังจากสงครามกับอารากอนแล้ว อาณาจักรคาสตีลยังพบสงครามใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้เป็นสงครามกับแขกมัวร์ (เป็นส่วนหนึ่งของการพิชิตดินแดนคืนหรือ Reconquista ของชาวคริสต์ในคาบสมุทรไอบีเรีย) ผลคือกองทัพคาสตีลภายใต้การนำของเจ้าชายซานโชที่ 2 และโรดรีโก ชนะแทบทุกครั้ง ทำให้คาสตีลมีเมืองขึ้นและแผ่ขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวาง แต่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 กษัตริย์แห่งคาสตีลและพระชนก (พ่อ) ของเจ้าชายซานโชได้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1608 (ค.ศ. 1065) โดยที่ก่อนจะเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงจัดสรรดินแดนให้พระโอรสและพระธิดาได้แบ่งกันไปปกครอง โดยเจ้าชายซานโช เจ้านายเอลซิดได้ขึ้นครองบัลลังก์คาสตีล แต่ไม่นาน พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงเห็นว่า พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 พระอนุชา (น้องชาย) ของพระองค์ที่ได้ไปปกครองอาณาจักรเลออนนั้น ขาดความสามารถในการปกครอง ประกอบกับคาสตีลมีสงครามกับแขกมัวร์ ควรรวมคาสตีลและเลออนเข้ากับคาสตีลดีกว่า เพื่อที่อาณาจักรคาสตีลจะได้เข้มแข็ง ดังนั้น พระเจ้าซานโชที่ 2 จึงทรงเปิดศึกแย่งชิงดินแดนเลออนกับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1608 นั้นเอง ศึกแย่งชิงเลออนดำเนินมาจนถึง พ.ศ. 1615 (ค.ศ. 1072) พระเจ้าซานโชที่ 2 ทรงมีชัยต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และผนวกอาณาจักรคาสตีลกับเลออนได้สำเร็จ ต่อไปก็ต้องทรงสังหารพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เพื่อให้กษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมีเพียงพระองค์เดียว คือพระเจ้าซานโชที่ 2 แต่ว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทรงลี้ภัยไปยังอาณาจักรซาโมรา เพื่อขอความช่วยเหลือกับพระนางอูร์รากา พระกนิษฐา (น้องสาว) ของพระองค์ พระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสมคบคิดกันลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เสียใน พ.ศ. 1615 นั้นเอง แผนการลอบสังหารในครั้งนี้ทรงมอบให้ทหารอาสาผู้ภักดีต่อพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ทำอย่างลับ ๆ ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าพระนางอูร์รากาและพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 เมื่อพระเจ้าซานโชที่ 2 เสด็จสวรรคตแล้ว ก็ไม่มีใครเหมาะสมจะเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรคาสตีล-เลออนมากไปกว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และเข้าพิธีเพื่อสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งคาสตีล-เลออน แต่ในพิธีแต่งตั้งพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดไม่คุกเข่าถวายพระพร เพราะเขาคลางแคลงใจว่าพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 และขอร้องให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 สาบานต่อหน้าพระคัมภีร์ว่า ทรงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซานโชที่ 2 (แต่ความจริงแล้วพระองค์กับพระนางอูร์รากาทรงมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก) แต่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ทรงสาบานออกมาอย่างเต็มพิธี เอลซิดจึงยอมรับอำนาจและถวายตัวเข้าเป็นข้ารับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เอลซิดแต่งงานกับคีเมนา เด โอเบียโด พระญาติของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ใน พ.ศ. 1617 (ค.ศ. 1074) มีบุตรด้วยกัน 3 คน ชื่อ กริสตีนา มารีอา และดีเอโก โรดรีเกซ เอลซิดรับใช้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 อย่างจงรักภักดีเรื่อยมา จนพระเจ้าอัลฟอนโซไว้วางใจดูแลเลี้ยงดูอย่างดี ทำให้ขุนนางอื่น ๆ เกิดความอิจฉาเอลซิด จึงกล่าวหาเอลซิด ว่ายักยอกเครื่องบรรณาการที่เก็บมาจากรัฐเซบียา พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 จึงสั่งเนรเทศเอลซิดออกจากอาณาจักรคาสตีล-เลออน เมื่อเอลซิดถูกเนรเทศจึงเดินทางไปยังซาราโกซา ซึ่งผู้ครองเมืองได้ให้การต้อนรับเอลซิดเป็นอย่างดี ขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองนี้ ได้รับจ้างทำสงครามอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 1629 (ค.ศ. 1086) ปัญหาสงครามระหว่างแขกมัวร์กับอาณาจักรคาสตีล-เลออนหนักขึ้น พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มต้านแขกมัวร์ไม่อยู่ ใน พ.ศ. 1635 (ค.ศ. 1092) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 ได้ส่งสาส์นขอความช่วยเหลือให้เอลซิดกลับมาทำงานให้พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 และคำตอบจากเอลซิดคือ จะไม่รบให้กับพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แต่จะรบให้อาณาจักรคาสตีล-เลออน โดยมีตนเป็นผู้นำและเจ้าของทัพเพียงคนเดียว ไม่ขึ้นต่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 เริ่มช่วยรบใน พ.ศ. 1635 นั้นเอง การรบระหว่างแขกมัวร์ดำเนินไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนใหญ่เอลซิดเป็นผู้ชนะ แต่ในที่สุด ในศึกครั้งหนึ่งที่เมืองบาเลนเซียซึ่งเขารบกับแขกมัวร์เพื่อรับใช้อาณาจักรคาสตีล-เลออนอยู่นั้น เอลซิดพลาดท่าถูกยิงได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1642 แต่ภรรยาของเขาก็นำร่างของเขาขึ้นไปกับม้าคู่ใจ เพื่อไม่ให้ทหารรู้ว่าเอลซิดเสียชีวิตแล้ว เพราะอาจเสียขวัญ และก็ชนะ กษัตริย์อาหรับชื่อ เบน ยูซุฟ ในที่สุด ร่างของเอลซิดและภรรยา (คีเมนา) ถูกฝังไว้ที่มหาวิหารบูร์โกส หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1586 อเลซิด.

ใหม่!!: พ.ศ. 1615และเอลซิด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ค.ศ. 1072

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »