เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปุ๋ย

ดัชนี ปุ๋ย

A large, modern fertilizer spreader ปุ๋ย เป็นผลผลิตทางการเกษตรทีเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น ปุ๋ย หมายถึง สารที่ใส่ลงในดินเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิด ได้แก่ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน ในจำนวนนี้ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน(โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หรือเรียกว่าธาตุอาหารหลัก) พืชได้รับจากน้ำและอากาศ ส่วนไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม พืชต้องการในปริมาณมากเมื่อเทียบกับธาตุอื่นๆ (ซึ่งถูกจัดเป็นธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย) และในดินมักมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมธาตุเหล่านี้โดยการให้ปุ๋ย ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 1.

สารบัญ

  1. 51 ความสัมพันธ์: บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนขนาดใหญ่ชีราซฟอสเฟตกระบวนการฮาเบอร์กรดฟอสฟอริกกรดซัลฟิวริกกล้วยหอมกากน้ำตาลการหมักเชิงอุตสาหกรรมการควบคุมทางวิทยาศาสตร์กำมะถันมะหาดยิปซัมวิกฤติราคาอาหารโลก (พ.ศ. 2550–2551)วินัย ไกรบุตรศูนย์บริการชาวนาสารอาหารสำหรับพืชสาหร่ายวุ้นหญ้ามิสแคนทัสหลังคาเขียวจุดผลิตน้ำมันสูงสุดทุพภิกขภัยทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ดามพ์ ดัสกรความยากจนความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกตั้ว ลพานุกรมประเทศอียิปต์ประเทศเกาหลีเหนือปลาสลิดปิโตรเลียมปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยขี้นกป่าสันทรายน้ำตาลขอนแก่นแก๊สเรือนกระจกแอมโมเนียแอมโมเนียมซัลเฟตโพแทสเซียมคลอไรด์โรคพยาธิแส้ม้าโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ไท่หยวนไดโพแทสเซียมฟอสเฟตไนโตรเจนไนเตรตเมลามีนเศรษฐกิจจีนเศรษฐกิจของประเทศไนจีเรียเหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554... ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนขนาดใหญ่

รรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนขนาดใหญ่ บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนขนาดใหญ่ หรือ บิ๊กแบ็ก หรือ บัลก์แบ็ก (Flexible Intermediate Bulk Container ย่อ: FIBC, big bag หรือ bulk bag) เป็นบรรจุภัณฑ์มาตรฐานขนาดใหญ่สำหรับเก็บและขนส่งผลิตภัณฑ์แห้งที่ไหลได้ ตัวอย่างเช่น ทราย ปุ๋ย และพลาสติกเม็ดเล็ก ๆ บิ๊กแบ็กพบทำจากพอลีเอทีลีนหรือพอลีโพรพีลีนสานหนามากที่สุด มีทั้งแบบเคลือบผิวและไม่เคลือบผิว มักมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 110 เซนติเมตร และมีความสูงหลายขนาดตั้งแต่ 100 ถึง 200 เซนติเมตร ปกติรับน้ำหนักได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม แต่บรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่กว่าสามารถเก็บได้มากกว่านั้น บิ๊กแบ็กเฉลี่ยที่ทำขึ้นเพื่อขนส่งของหนักหนึ่งตันมีน้ำหนักระหว่าง 5-7 ปอนด์ บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนขนาดใหญ่นิยามว่าเป็น intermediate bulk container ที่มีตัวทำมาจากเส้นใยยืดหยุ่น มีคุณสมบัติ ไม่สามารถถือได้ด้วยมือเมื่อบรรจุแล้ว, ตั้งใจใช้กับการขนส่งวัตถุแข็งในรูปผง เกล็ดหรือเม็ดเล็ก ๆ, ไม่ต้องการการบรรจุเพิ่มเติม, ออกแบบมาเพื่อให้ยกขึ้นโดยจับส่วนบนสุดโดยอุปกรณ์อย่าง lift loop หรือ strap.

ดู ปุ๋ยและบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนขนาดใหญ่

ชีราซ

ีราซ (شیراز Shīrāz) เป็นเมืองที่มีประชากรเป็นอันดับ 6 ของประเทศอิหร่าน และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟาร์ส ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในภูมิภาคมามากกว่า 1 พันปี ชีราซ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองแห่งกวี วรรณกรรม ไวน์และดอกไม้ เป็นเมืองอุตสาหกรรม ซีเมนต์ น้ำตาล ปุ๋ย สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ไม้ งานโลหะ และพรม ยังมีโรงกลั่นน้ำมันและเป็นเมืองอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็น 53% ของประเทศ เป็นสถานที่เกิดของกวีชื่อ ซาดี ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ ฮาเฟซ ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในสมัยกลางเป็นเมืองที่มีความสำคัญและมีความสำคัญสูงสุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10-11 เมืองนี้เกิดแผ่นดินไหวบ่อย ๆ ครั้ง มีซากปรักหักพังของเมืองโบราณชื่อ เปอร์เซโปลิส ตั้งอยู่ห่างจากเมืองนี้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 55 กิโลเมตร.

ดู ปุ๋ยและชีราซ

ฟอสเฟต

ฟอสเฟต (phosphate) คือ หินชนิดหนึ่ง แร่ที่สำคัญของฟอสเฟต คือ อะพาไทต์ เกิดจากการสะสมตัวจากฟอสเฟต ส่วนใหญ่มักจะใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ไฟล์:3-phosphoric-acid-3D-balls.png| ไฟล์:2-dihydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:1-hydrogenphosphate-3D-balls.png| ไฟล์:0-phosphate-3D-balls.png|.

ดู ปุ๋ยและฟอสเฟต

กระบวนการฮาเบอร์

กระบวนการฮาเบอร์ หรือเรียกว่า กระบวนการฮาเบอร์-โบสช์ เป็นปฏิกิริยาการตรึงไนโตรเจนของแก๊สไนโตรเจนและแก๊สไฮโดรเจน เหนือเหล็กเสริมสมรรถนะหรือตัวเร่งปฏิกิริยารูทีเนียม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ผลิตแอมโมเนียEnriching the Earth: Fritz Haber, Carl Bosch, and the Transformation of World Food Production by Vaclav Smil (2001) ISBN 0-262-19449-XHager, Thomas (2008).

ดู ปุ๋ยและกระบวนการฮาเบอร์

กรดฟอสฟอริก

กรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) เป็นกรดแร่ มีสูตรเคมี H3PO4 กรดฟอสฟอริกบริสุทธิ์จะอยู่ในรูปผลึกใส (มีจุดหลอมละลายที่ 42.35° C) แต่กรดฟอสฟอริกที่ความเข้มข้นและอุณหภูมิอื่น ๆ อาจพบในรูปของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สามารถละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ กรดฟอสฟอริกถูกใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในการผลิตสารพวกฟอสเฟต เช่น ผงซักฟอก สบู่ ปุ๋ย รวมถึงใช้ผสมเป็นวัสดุอุดฟัน จนถึง ถูกใช้เป็นส่วนผสมของน้ำอัดลม อันตรายของกรดฟอสฟอริกหากได้รับโดยตรงในปริมาณที่มากพอทั้งจากการหายใจหรือสัมผัสทางผิวหนังก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้.

ดู ปุ๋ยและกรดฟอสฟอริก

กรดซัลฟิวริก

กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid หรือ sulphuric acid) มีสูตรเคมีว่า H2SO 4 เป็นกรดแร่ (mineral acid) แก่ ละลายได้ในน้ำในทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี..

ดู ปุ๋ยและกรดซัลฟิวริก

กล้วยหอม

กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุก.

ดู ปุ๋ยและกล้วยหอม

กากน้ำตาล

กากน้ำตาล (molasses "โมลาส") มีรากศัพท์มาจากคำว่า “melaço” ในภาษาโปรตุเกสmerriam-webster กากน้ำตาลเป็นของเหลวลักษณะเหนียวข้นสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยจากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ที่ใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส Thai Sugar Mill Group กากน้ำตาลมีระดับพลังงานระดับต่ำถึงปานกลางขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่มีอยู่ในกากน้ำตาล มีโพแทสเซียม และมีปริมาณน้ำในระดับสูง ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย กากน้ำตาลแบ่งได้หลายชน.

ดู ปุ๋ยและกากน้ำตาล

การหมักเชิงอุตสาหกรรม

การหมักเชิงอุตสาหกรรม (Industrial fermentation) เป็นการหมักจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียและเห็ดรา ที่ทำโดยตั้งใจเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถใช้เป็นอาหารหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในอุตสาหกรรม สารเคมีที่มีขายทั่วไปบางอย่าง เช่น กรดน้ำส้ม กรดซิตริก และเอทานอล ล้วนผลิตโดยวิธีการหมัก ความช้าเร็วของกระบวนการหมักขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ เซลล์ องค์ประกอบของเซลล์ เอนไซม์ รวมทั้งอุณหภูมิและค่ากรด และสำหรับการหมักบางชนิด ออกซิเจน กระบวนการสกัดผลิตภัณฑ์ออกมา บ่อยครั้งต้องเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางนั้น เอนไซม์ที่ผลิตขายทั้งหมด เช่น lipase, invertase, และ rennet จะทำโดยการหมักที่ใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ในบางกรณี มวลชีวภาพของจุลินทรีย์นั่นแหละเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยีสต์ขนมอบ (Saccharomyces cerevisiae) และแบคทีเรียที่เปลี่ยนแล็กโทสเป็นกรดแล็กติกที่ใช้ในการผลิตชีส โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งการหมักได้ออกเป็น 4 จำพวก คือ.

ดู ปุ๋ยและการหมักเชิงอุตสาหกรรม

การควบคุมทางวิทยาศาสตร์

แบ่งพืชเหมือนกันเป็นสองกลุ่มแล้วให้ปุ๋ยกับกลุ่มเดียว ถ้าเกิดความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้ปุ๋ย และ "กลุ่มควบคุม" ที่ไม่ได้ ความแตกต่างอาจจะเกิดจากปุ๋ย การควบคุมทางวิทยาศาสตร์ (scientific control) หรือ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์ เป็นการทดลอง หรือการสังเกตการณ์อันหนึ่ง ที่ทำเพื่อใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองว่า การกระทำหรือความต่างอย่างอื่นที่มีในกลุ่มทดลองแต่ไม่มีในกลุ่มควบคุม มีผลต่างต่อกลุ่มทดลองอย่างไร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นกลุ่มที่ทำเพื่อลดผลต่างของตัวแปรอื่น ๆ ยกเว้นตัวแปรอิสระเดียวที่เป็นประเด็นการศึกษา เป็นวิธีการที่เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลต่างที่พบ (ที่ควรจะเกิดจากความต่างของตัวแปรอิสระอย่างเดียว) บ่อยครั้งโดยเปรียบเทียบค่าวัดจากกลุ่มควบคุมและค่าวัดในกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มควบคุมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างกลุ่มควบคุม (บางครั้งเรียกว่า กลุ่มควบคุมของการทดลอง) ที่ใช้ตรวจสอบผลของปุ๋ย โดยให้ปุ๋ยกับพืชเพียงครึ่งเดียวในแปลง พืชที่ไม่ได้รับปุ๋ยก็คือกลุ่มควบคุม เพราะว่าเป็นกลุ่มแสดงระดับการเติบโตพื้นฐาน ที่จะใช้เปรียบเทียบกับพืชที่ใส่ปุ๋ย ถ้าไม่มีกลุ่มควบคุม การทดลองจะไม่สามารถกำหนดได้ว่า พืชที่ใส่ปุ๋ย โตได้ "ดีกว่า" พืชที่ไม่ใส่หรือไม่ ในการทดลองสมบูรณ์แบบ ตัวแปรทั้งหมดจะมีการควบคุม (คือโดยเปรียบเทียบค่าวัดต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม) และดังนั้น ถ้าตัวแปรอื่น ๆ ควบคุมได้อย่างที่คาดหวัง ก็จะสามารถสรุปได้ว่า การทดลองนั้นดำเนินไปอย่างที่ตั้งใจ และผลที่พบในการทดลอง มาจากความต่างของตัวแปรอิสระที่เป็นประเด็นศึกษา ซึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ทำงานอ้างได้ว่า "สถานการณ์ 2 อย่างเหมือนกันทุกอย่าง จนกระทั่งปัจจัย ก เกิดขึ้น และเนื่องจากปัจจัย ก เป็นความแตกต่างอย่างเดียวที่มีในสองสถานการณ์ ผลที่พบจึงเกิดจากปัจจัย ก".

ดู ปุ๋ยและการควบคุมทางวิทยาศาสตร์

กำมะถัน

กำมะถัน(สุพรรณถัน) หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าร.

ดู ปุ๋ยและกำมะถัน

มะหาด

มะหาด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย, ดินร่วนปนทราย, ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป.

ดู ปุ๋ยและมะหาด

ยิปซัม

ปซัม (Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.

ดู ปุ๋ยและยิปซัม

วิกฤติราคาอาหารโลก (พ.ศ. 2550–2551)

กราฟแสดงปริมาณค้าขายทั่วโลกของข้าวสาลี ธัญพืช และถั่วเหลือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ถึง 2551 และปริมาณคาดการณ์ถึง พ.ศ. 2559 โดยกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา 2551 กราฟแสดงอัตราสินค้าคงคลังต่อความต้องการของถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลี ตั้งแต่ปี พ.ศ.

ดู ปุ๋ยและวิกฤติราคาอาหารโลก (พ.ศ. 2550–2551)

วินัย ไกรบุตร

วินัย ไกรบุตร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น หัสนัย ไกรบุตร แต่ยังใช้ชื่อในวงการเป็น วินัย ไกรบุตร มีชื่อเล่นว่า เมฆ (16 มิถุนายน พ.ศ.

ดู ปุ๋ยและวินัย ไกรบุตร

ศูนย์บริการชาวนา

ูนย์บริการชาวนา (Rice Farmer Service Center) เป็นโครงการของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกรมการข้าว เป็นหน่วยงานใหม่ เริ่มก่อตั้งใหม่อีกครั้งในปี..

ดู ปุ๋ยและศูนย์บริการชาวนา

สารอาหารสำหรับพืช

ตุอาหารสำหรับพืช หมายถึง ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช ซึ่งสามารถถูกจัดได้จากเกณฑ์คือ (1) ถ้าเกิดพืชขาดสารอาหารนี้แล้ว ทำให้พืชไม่สามารถวงจรชีวิตได้ตามปกติ หรือ (2) สารนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของพืชหรือส่วนประกอบของสารตัวกลางในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite)Emanuel Epstein, Mineral Nutrition of Plants: Principles and Perspectives, 1972.

ดู ปุ๋ยและสารอาหารสำหรับพืช

สาหร่ายวุ้น

หร่ายวุ้น อยู่ในกลุ่ม Red algae มีตั้งแต่สีดำแดง,สีแดง,สีน้ำตาล,สีน้ำตาลแดง,สีชมพู,สีม่วงเข้ม,สีม่วงแดง,สีเทา,สีเขียว,สีเหลือง หรือใส เกือบทุกชนิดสามารถรับประทานได้ หรือนำมาสกัดวุ้น จึงรวมเรียกว่า สาหร่ายวุ้น มีชื่อพื้นเมืองว่า สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) และชื่อสามัญว่า สาหร่ายวุ้น.

ดู ปุ๋ยและสาหร่ายวุ้น

หญ้ามิสแคนทัส

หญ้ามิสแคนทัส (ชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ Miscanthus) เป็น สกุล (genus) ของหญ้าพืชหลายปี ประมาณ 15 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในถิ่นกึ่งโซนร้อนของแอฟริกาและเอเซียใต้ โดยมีหญ้ามิสแคนทัสชนิดไซเนนซิส หรือ "หญ้าซูซูกิ" (M.

ดู ปุ๋ยและหญ้ามิสแคนทัส

หลังคาเขียว

้านในรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ที่สร้างขึ้นใหม่ตามแบบบ้านไวกิง หลังคาปลูกหญ้ของบ้านหลายพลังที่เห็นในหม่บ้าน Bøur และเกาะฟาโร(Faroe Islands) หลังคาเขียว (green roof) คือหลังคาของอาคารที่ปิดทับบางส่วนหรือทั้งหมดด้วยพืชพรรณและดิน หรือเครื่องปลูกอย่างอื่นบนชั้นแผ่นกันน้ำ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงหลังคาที่ทาด้วยสีเขียว หรือวัสดุมุงสีเขียวใดๆ หลังคาเขียวอาจรวมส่วนประกอบอื่น เช่นแผ่นชั้นกันราก ระบบระบายน้ำและระบบรดน้ำต้นไม้ สวนกระถางที่จัดบนหลังคาซึ่งต้นไม้ปลูกในกระถางอิสระไม่นับเป็น “หลังคาเขียว” ที่แท้จริงในความหมายนี้ แม้จะยังเป็นที่ถกเถียงกันได้อยู่ คำว่า “หลังคาเขียว” อาจใช้กับหลังคาที่ใช้เทคโลโลยี “เขียว” บางรูปแบบ เช่นแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังสุริยะด้วยก็ได้ หลังคาเขียวอาจหมายถึงหลังคาแบบอื่น เช่น หลังคานิเวศ (eco-roofs) หลังคามีชีวิต (living roofs) ที่มีเป้าหมายของแนวคิดเดียวกัน ปัจจุบัน ประโยชน์ของหลังคาเขียวได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรการหนึ่งทางสถาปัตยกรรมและการผังเมืองเพื่อช่วยบรรเทาปรากฏการณ์โลกร้อน.

ดู ปุ๋ยและหลังคาเขียว

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

กราฟแสดงการผลิตน้ำมันโลก ทั้งข้อมูลตามประวัติและข้อมูลอนาคตตามที่คาดหมาย และตามที่เสนอโดยนักธรณีวิทยา ดร.

ดู ปุ๋ยและจุดผลิตน้ำมันสูงสุด

ทุพภิกขภัย

ทุพภิกขภัย (famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงhttp://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1914655, 00.html Can one pill tame the illness no one wants to talk about? ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยการลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลงhttp://www.theatlantic.com/issues/97jan/borlaug/borlaug.htm Forgotten benefactor of humanity.

ดู ปุ๋ยและทุพภิกขภัย

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

ร่างสตรีและเด็กที่เป็นบรรยายความยากเข็ญของบริจิต โอดอนเนล จากลอนดอนนิวส์ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1849 ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ (An Gorta Mór, Irish Potato Famine) หรือในภาษาเกลิก “An Gorta Mór” แปลตรงตัวว่า “ความโหยหิวอันยิ่งใหญ่” หรือ “An Drochshaol” ที่แปลว่า “ชีวิตอันตกอับ” เป็นสมัยที่เกิดทุพภิกขภัย โรคระบาด และการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ระหว่างปี..

ดู ปุ๋ยและทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์

ดามพ์ ดัสกร

มพ์ ดัสกร นักแสดงผู้รู้จักกันดีในบทของดาวร้ายในอดีต มีชื่อจริงว่า ดามพ์ เผด็จดัสกร (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "ธนฤกษ์ ธัญมงคล") มีชื่อเล่นว่า "เบิ้ม" เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.

ดู ปุ๋ยและดามพ์ ดัสกร

ความยากจน

วามยากจน เป็นสภาพซึ่งบุคคลขาดการครอบครองทรัพยากรหรือเงิน ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) หรือความยากจนข้นแค้น (destitution) หมายถึง บุคคลที่ขาดความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ น้ำจืดและอาหารที่สะอาด โภชนาการ สาธารณสุข การศึกษา เครื่องนุ่งห่มและที่พักอาศัย มีการประเมินว่า ปัจจุบันมีประชากรราว 1,700 ล้านคนอาศัยอยู่ในความยากจนสัมบูรณ์ ความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty) หมายถึง การขาดระดับทรัพยากรหรือรายได้ตามปกติหรือระดับที่สังคมยอมรับเมื่อเทียบกับบุคคลอื่นในสังคมหรือประเทศ ในอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ความยากจนถูกมองว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกับวิธีการผลิตดั้งเดิมไม่เพียงพอจะให้ประชากรทั้งหมดมีมาตรฐานการครองชีพที่สะดวกสบายได้Krugman, Paul, and Robin Wells.

ดู ปุ๋ยและความยากจน

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ดู ปุ๋ยและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

ตั้ว ลพานุกรม

รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม (21 ตุลาคม พ.ศ. 2441- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2484)น้าชาด สำนักพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม..

ดู ปุ๋ยและตั้ว ลพานุกรม

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ดู ปุ๋ยและประเทศอียิปต์

ประเทศเกาหลีเหนือ

รณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น..

ดู ปุ๋ยและประเทศเกาหลีเหนือ

ปลาสลิด

ำหรับปลาใบไม้ชนิดอื่น ดูที่: ปลาใบไม้ ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T.

ดู ปุ๋ยและปลาสลิด

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ดู ปุ๋ยและปิโตรเลียม

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก คือปุ๋ยที่ได้จากการหมักสารอินทรีย์ให้สลายตัวผุพังตามธรรมชาติ โดยนำสิ่งเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงนำไปใช้ปรับปรุงดิน ในการเตรียมกองปุ๋ยหมัก อาจใส่จุลิทรทรีย์ที่เตรียมไว้โดยกรมวิชาการเกษตร(พด.2)เพื่อช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ให้เร็วขึ้น เป็นการเพิ่มคุณค่าด้านธาตุอาหารของปุ๋ยหมักด้ว.

ดู ปุ๋ยและปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) หรือ ปุ๋ยหมัก (Compost) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุทางชีวเคมีโดยจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน (Aerobic Microorganisms) จนเป็นประโยชน์ต่อพืช ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยทำจากวัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ ของเสียจากโรงงาน(บางประเภท) มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบไม้ กรดอะมิโน โดโลไมท์ และแร่ธาตุต่าง ๆ นำมาบด เติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก กลับกอง จนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดี จะต้องประกอบด้วยแร่ธาตุครบทั้ง 13 ชนิดที่พืชต้องการ ดังนี้ แร่ธาตุหลัก ซึ่งพืชต้องการในปริมาณสูงมาก ประกอบด้ว.

ดู ปุ๋ยและปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยขี้นก

รังของ Peruvian Booby ทำด้วย “ขี้นก” ปุ๋ยขี้นก (Guano) มาจากภาษาเกชัวว่า “wanu” ที่มาจากภาษาสเปนที่แปลว่าสิ่งที่มาจากการขับถ่าย (อุจจาระและปัสสาวะ) ของนกทะเล, ค้างคาว และแมวน้ำ ขี้นกเป็นปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนผสมที่ใช้ทำดินปืนเพราะมีฟอสฟอรัส และ ไนโตรเจนสูง และไม่มีกลิ่น โมโนแคลเซียมฟอสเฟตที่ทำจากขี้นกใช้ในการการหว่านปุ๋ยทางอากาศ ดินที่ขาดสารชีวภาพสามารถทำให้เป็นดินที่มีประสิทธิภาพได้โดยการใช้ปุ๋ยขี้นก.

ดู ปุ๋ยและปุ๋ยขี้นก

ป่าสันทราย

ป่าสันทรายที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ป่าสันทราย เป็นป่าที่มีความพิเศษกว่าป่าอื่น ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งสามารถที่จะเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ของโลก ที่มีเขตพื้นที่ติดกับทะเลส่วนใหญ่จะมีความเป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมกันของกรวดและหิน ก้อนเล็ก ๆ จากการพัดมาของลมทะเล ระยะเวลาการเกิดใช้เวลานาน กว่าจะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์พืชนานาชนิด ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งไม่มากนัก หากอยู่ห่างจากฝั่งมากก็เป็นการบ่งบอกถึงเวลาว่ามีอายุที่มากกว่าป่าที่อยู่บริเวณใกล้กับชายฝั่ง มีจุดเด่นคือ เกิดจากแรงลมพัดทรายมากองทับถมกันคล้ายกับ Sand dunes แต่ไม่ได้เกิดกับหาดทรายทั่วไป มีพันธุ์ไม้และพันธุ์พืชหลากหลายชนิด บ้างก็ใช้รับประทาน บ้างก็ใช้เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรค เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน กระบวนการเกิดป่าสันทรายอาจต้องใช้เวลาหลายร้อยหลายพันปี กว่าจะเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใช้องค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ตามสภาพแวดล้อมที่มีของแต่ละสถานที่วงจรของป่าสันทรายวนเวียนอยู่อย่างนี้ ตลอดไป.

ดู ปุ๋ยและป่าสันทราย

น้ำตาลขอนแก่น

ริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) (KHON KAEN SUGAR INDUSTRY PUBLIC COMPANY ชื่อย่อ:KSL) บริษัทและบริษัทย่อย ภายใต้กลุ่ม เค เอส แอล เป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย โดยกลุ่มบริษัทมีโรงงานน้ำตาลที่อยู่ภายใต้กลุ่มธุรกิจทั้งหมด 5 โรง โดยแบ่งสายการผลิตออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก แบบรายงาน56-1 น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ประจำปี:2555.

ดู ปุ๋ยและน้ำตาลขอนแก่น

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ดู ปุ๋ยและแก๊สเรือนกระจก

แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็น สารประกอบเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน โดยมี สูตรเคมี ดังนี้ NH3.

ดู ปุ๋ยและแอมโมเนีย

แอมโมเนียมซัลเฟต

ณสมบัติ ทั่วไป แอมโมเนียมซัลเฟตแอมโมเนียมซัลเฟต กายภาพ เคมีความร้อน (Thermochemistry) ความปลอดภัย (Safety) SI units were used where possible.

ดู ปุ๋ยและแอมโมเนียมซัลเฟต

โพแทสเซียมคลอไรด์

แทสเซียมคลอไรด์ (Potassium chloride หรือ KCl) ประกอบด้วยโพแทสเซียมและคลอรีน ใช้เป็นแหล่งของโพแทสเซียมไออนและไอโอไดด์ไอออน สามารถใช้เป็นปุ๋ยและใช้เป็นสารพิษในการฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อประหารชีวิตคนได้.

ดู ปุ๋ยและโพแทสเซียมคลอไรด์

โรคพยาธิแส้ม้า

Trichuriasis หรือ โรคพยาธิแส้ม้า เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากพยาธิที่ชื่อว่า:en:Trichuris trichiura (พยาธิแส้ม้า) หากพยาธิมีเพียงไม่กี่ตัว ก็มักจะไม่มีอาการใดๆ ส่วนผู้ที่ติดเชื้อพยาธิจำนวนมาก อาจมีอาการปวดท้อง, อ่อนเพลียและท้องร่วง บางครั้งในผู้ที่ท้องร่วงรุนแรงอาจถ่ายเป็นมูกได้ เด็กที่ติดเชื้อพยาธิอาจมีความเสื่อมถอยทางสติปัญญาและพัฒนาการทางกายภาพ การสูญเสียเลือดอาจก่อให้เกิดระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ.

ดู ปุ๋ยและโรคพยาธิแส้ม้า

โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์

ริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (THORESEN THAI AGENCIES PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:TTA) บริษัทดำเนินธุรกิจเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นเพื่อการลงทุนเชิงกลยุทธ์ (strategic investment holding company) บริษัทมีธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนส่ง กลุ่มธุรกิจพลังงาน และกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานแบบรายงาน56-1 โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ประจำปี:2555.

ดู ปุ๋ยและโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์

ไท่หยวน

ท่หยวน เป็นเมืองในประเทศจีน เมืองหลวงของมณฑลซานซี เป็นเมืองอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศจีน และเป็นแหล่งผลิตถ่านหินที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศจีน.

ดู ปุ๋ยและไท่หยวน

ไดโพแทสเซียมฟอสเฟต

แทสเซียมฟอสเฟต (Dipotassium phosphate, dipotassium hydrogen orthophosphate, potassium phosphate dibasic สูตรเคมี K2HPO4) เป็นเกลือละลายน้ำได้ดี มักจะใช้เป็นปุ๋ย สารเติมแต่งอาหาร (food additive) และสารบัฟเฟอร์ (buffering agent) เป็นสารต้นผลิตของฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม สารละลายไดโพแทสเซียมฟอสเฟตเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาปริมาณสัมพันธ์ (stoichiometric reaction) ของกรดฟอสฟอริก กับโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ คือ.

ดู ปุ๋ยและไดโพแทสเซียมฟอสเฟต

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ดู ปุ๋ยและไนโตรเจน

ไนเตรต

นเตรต ในทางอนินทรีย์เคมีเป็นเกลือของกรดไนตริก ไนเตรตไอออน เป็น พอลิอะตอมิกไอออน (polyatomic ion) ซึ่งมีสูตรเอมไพริกัล ดังนี้ NO3− และมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 62.01 ดัลตัน (daltons) มันเป็นด่างร่วม (conjugate) ของกรดไนตริก ไนเตรตไอออนมีโครงสร้างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal planar-โดยแต่ละออร์บิทัลทำมุมกัน 120 องศา) และสามารถแทนด้วยลูกผสม (hybrid) ดังรูปข้างล่างนี้ 300px เกลือไนเตรตเกิดเมื่อไอออนประจุไฟฟ้าบวกเข้าเชื่อมต่อกับอะตอมของออกซิเจน ประจุไฟฟ้าลบตัวหนึ่งของไนเตรตไอออน.

ดู ปุ๋ยและไนเตรต

เมลามีน

มลามีน Melamine เป็นเบสอินทรีย์ มีสูตรทางเคมีว่า C3H6N6, และชื่อทาง IUPAC ว่า 1,3,5-triazine-2,4,6-triamine เมลามีนเป็นสารที่ละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย เมลามีนเป็นไทรเมอร์ (หรือสารประกอบที่เกิดจากโมเลกุล 3 ตัวที่เหมือนกันแตกเป็นสามขา) ของไซยานาไมด์ (cyanamide) เช่นเดียวกันกับไซยานาไมด์ เมลามีนประกอบด้วยไนโตรเจน 66% (โดยมวล) เป็นสารที่มีคุณสมบัติหน่วงไฟเมื่ออยูในรูปของเรซินด้วยการปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาเมื่อลุกใหม้หรือถูกเผา มีการนำเอา Dicyandiamide (หรือ cyanoguanidine), ที่เป็นไดเมอร์ (สองส่วน - dimer) ของไซยานาไมด์มาใช้เป็นสารหน่วงไฟเช่นกัน เมลามีนเป็นสารในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolite) ของ “ไซโลมาซีน (cyromazine) ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง เป็นสารที่เกิดขึ้นในตัวของสัตว์เลือดอุ่นที่ย่อยไซโลมาซีน มีรายงานด้วยเช่นกันว่าไซโลมาซีนเปลี่ยนเป็นเมลามีนในพื.

ดู ปุ๋ยและเมลามีน

เศรษฐกิจจีน

รษฐกิจจีนเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยม เป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับสองของโลกตามจีดีพีราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ (PPP) จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจใหญ่เติบโตเร็วสุดของโลกก่อนปี 2558 โดยมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ย 10% ในช่วงกว่า 30 ปี เนื่องจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และการเมืองของเศรษฐกิจกำลังพัฒนาของจีน ภาครัฐของจีนจึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าภาคเอกชนที่กำลังเฟื่องฟู สำหรับรายได้ต่อหัวนั้น ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 71 ตามจีดีพี (ราคาตลาด) และที่ 78 ตามจีดีพี (PPP) ในปี 2559 จากข้อมูลของ IMF ประเทศจีนมีทรัพยากรธรรมชาติประเมินมูลค่า 23 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจำนวนนี้กว่า 90% เป็นถ่านหินและโลหะหายาก ประเทศจีนเป็นเศรษฐกิจการผลิตและผู้ส่งสินค้าออกรายใหญ่สุดของโลก มักได้รับขนานนามเป็น "โรงงานของโลก" ประเทศจีนยังเป็นตลาดผู้บริโภคเติบโตเร็วสุดของโลก และผู้นำสินค้าเข้ารายใหญ่สุดอันดับสองของโลก ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้าสุทธิซึ่งผลิตภัณฑ์บริการ ในปี 2559 ประเทศจีนเป็นประเทศการค้าใหญ่สุดอันดับสองของโลกและมีบทบาทเด่นในการค้าระหว่างประเทศ และเข้าร่วมองค์การและสนธิสัญญาการค้าเพิ่มขึ้นในปีหลัง ๆ ประเทศจีนเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปี 2544 ประเทศจีนยังมีความตกลงการค้าเสรีกับหลายชาติ รวมทั้งอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน เกาหลีใต้และสวิสเซอร์แลนด์ มณฑลในแถบชายฝั่งของจีนมีแนวโน้มกลายเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่วนบริเวณในแผ่นดินยังด้อยพัฒนากว่า เพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจระยะยาวของมลภาวะสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน นิโคลัส สเทิร์นและเฟอร์กัส กรีนแห่งสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment) แนะนำว่า เศรษฐกิจจีนควรเปลี่ยนเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำไฮเท็คที่มีการจัดสรรทรัพยากรของชาติไปยังนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนาสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้ดีขึ้นเพื่อผลกระทบของอุตสาหกรรมหนักของจีน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการวางแผนของรัฐบาลกลาง ฝันจีนของสี จิ้นผิงอธิบายว่าบรรลุ "สองร้อย" คือ เป้าหมายของจีนทางวัตถุให้กลายเป็น "สังคมกินดีอยู่ดีปานกลาง" ภายในปี 2564 ซึ่งปีครบรอบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเป้าหมายการทำให้จีนทันสมัยเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ในปี 2592 ซึ่งเป็นปีที่ 100 ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน สากลวิวัฒน์ของเศรษฐกิจจีนยังมีผลกระทบต่อการพยากรณ์เศรษฐกิจปรับเป็นมาตรฐานซึ่งดัชนีผู้จัดการซื้อออกในประเทศจีนอย่างเป็นทางการในปี 2543 ต่อมาในปี 2549 ประเทศจีนเป็นประเทศในทวีปเอเชียประเทศเดียวที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร่วมกับสหรัฐและสหภาพยุโรป) ในปี 2558 ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีจีดีพี (PPP) เกิน 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโต เงินตราเหรินหมินปี้ของจีนก็เติบโตด้วย ซึ่งผ่านกระบวนการที่จำเป็นสำหรับสากลวิวัฒน์ ประเทศจีนริเริ่มการก่อตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียในปี 2558 การพัฒนาเศรษฐกิจของเซินเจิ้นถูกเรียกว่าเป็นซิลิคอนแวลลีย์แห่งถัดไปของโลก.

ดู ปุ๋ยและเศรษฐกิจจีน

เศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย

ประเทศไนจีเรียเป็นประเทศรายได้ปานกลาง มีเศรษฐกิจแบบผสม และเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยภาคการเงิน บริการ สื่อสาร เทคโนโลยีและบันเทิงกำลังขยายตัว เศรษฐกิจไนจีเรียมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากเป็นอันดับที่ 22 ของโลก (จีดีพีราคาตลาด: อันดับที่ 30 ในปี 2556) และในเดือนเมษายน 2557 เป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา ไนจีเรียมีศักยภาพเป็นหนึ่งในยี่สิบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2563 ภาคการผลิตที่กำลังเกิดใหม่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของทวีปแอฟริกา และผลิตสินค้าและบริการเป็นสัดส่วนมากในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปฏิบัติการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เดิมเศรษฐกิจไนจีเรียมีอุปสรรคจากช่วงที่มีการจัดการผิดพลาด แต่การปฏิรูปเศรษฐกิจในทศวรรษที่ผ่านมาดึงไนจีเรียกลับมาสู่การบรรลุศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ จีดีพีที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) ของไนจีเรียเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสามเท่าจาก 170,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 451,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 แต่การประมาณขนาดเศรษฐกิจนอกระบบ (ซึ่งไม่นับรวมในตัวเลขทางการ) ทำให้ตัวเลขแท้จริงใกล้เคียง 630,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เช่นเดียวกัน จีดีพีต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 1,400 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 2,800 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 (เมื่อนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบแล้ว มีการประมาณว่าจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ราว 3,900 ดอลล่าร์สหรัฐ) โดยที่ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านคนในปี 2543 เป็น 160 ล้านคนในปี 2553 จะมีการทบทวนตัวเลขเหล่านี้โดยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 80% เมื่อมีการคำนวณเมตริกใหม่หลังการเปลี่ยนฐานเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2557 แม้ว่าไนจีเรียจะมีสถานภาพเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ แต่ไนจีเรียผลิตน้ำมันได้เพียง 2.7% ของอุปสงค์ทั่วโลก (ซาอุดิอาระเบีย: 12.9%, รัสเซีย: 12.7%, สหรัฐอเมริกา: 8.6%) เพื่อให้เห็นภาพรายได้จากน้ำมัน ที่อัตราการส่งออกที่ประมาณ 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน (300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) และราคาขายประมาณการ 65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2554 รายได้ที่คาดไว้จากปิโตรเลียมของไนจีเรียอยู่ที่ประมาณ 52,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (จีดีพีปี 2555 อยู่ที่ 451,000 ดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นราว 11% ของตัวเลขจีดีพีอย่างเป็นทางการ (และลดเหลือ 8% หากนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบ) ฉะนั้น แม้ว่าภาคปิโตรเลียมจะสำคัญ แต่ยังเป็นส่วนเล็กของเศรษฐกิจไนจีเรียในภาพรวม ภาคเกษตรกรรมที่เน้นการยังชีพเป็นส่วนใหญ่ตามไม่ทันการเติบโตของประชากรที่รวดเร็ว และปัจจุบันไนจีเรียนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณมาก จากเดิมที่เคยเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ แม้จะมีการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารกลับมาใหม่ก็ตาม ตามรายงานของซิตีกรุปซึ่งจัดพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไนจีเรียจะมีการเติบโตของจีดีพีโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกระหว่างปี 2553–2603.

ดู ปุ๋ยและเศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย

เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554

หตุโจมตีในนอร์เว..

ดู ปุ๋ยและเหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554

เจิ้งโจว

้งโจวจตุรัสหน้าสถานีทางรถไฟ เจิ้งโจว เป็นเมืองเอกของมณฑลเหอหนาน.

ดู ปุ๋ยและเจิ้งโจว

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fertilizer

เจิ้งโจว