โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปะการัง

ดัชนี ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

100 ความสัมพันธ์: บอราบอราชาวโบฮีเมียพระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)พะสิมพืดหินปะการังพืดหินใต้น้ำกะละปังหากุ้งมดแดงภูเขาใต้ทะเลม้าน้ำยุคไทรแอสซิกระบบนิเวศในน้ำรัฐปาราอีบารัตนชาติรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียงรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัดรถไฟดนตรีลากูนวัฏจักรแคลเซียมวงศ์ปลากะรังวงศ์ปลามังกรน้อยวงศ์ปลาวัววงศ์ปลาผีเสื้อวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ดวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่วงศ์ปลานกแก้ววงศ์ปลาใบมีดโกนวงศ์ปลาไหลมอเรย์สมัยอีโอซีนสาว สาว สาวสุชนา ชวนิชย์สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาหญ้าทะเลหมึก (สัตว์)หมึกกระดองลายเสือหมู่เกาะเติกส์และเคคอสหอยทะเลหอยเต้าปูนหินปูนหนอนถั่วห้องสารภัณฑ์อะทอลล์อันดับปลาไหลอันเดอร์วอเตอร์เวิลด์อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทองอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีอุทยานแห่งชาติโกโมโด...อ่าวอะกาบาอ่าวไทยจักรวรรดิจักรกลสังหาร แมทรินทิสจังหวัดโบโฮลทะเลคอรัลที่อยู่อาศัยใต้ทะเลดาวมงกุฎหนามดาวทะเลดิอะเมซิ่งเรซ 19ดิอะเมซิ่งเรซ: A Corrida Milionáriaความจำชัดแจ้งตะกอนซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเทศตองงาปลากะรังหน้างอนปลามีดโกนปลาวัวปิกัสโซปลาสินสมุทรหางเส้นปลาอมไข่ครีบยาวปลาผีเสื้อจมูกยาวปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลืองปลาผีเสื้อนกกระจิบปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าปลาฉลามกบปลาฉลามเสือดาวปลาปักเป้าหน้าหมาปลานกแก้วหัวตัดปลาไซเชเดลิกาแชมป์ (สัตว์ประหลาด)แหลมพันวาโอเชียเนียไทรโลไบต์ไนดาเรียเชลิเซอราตาเฟิร์นเพรียงหัวหอมเกาะเกาะกระดานเกาะหมากเกาะตางเกาะต่ำเกาะปริ่มน้ำเกาะนางยวนเกาะนาแวสซาเกาะโลซินเรนโบว์วอร์ริเออร์เห็ดหลุบเห็ดทะเลเอปตาเซียเต่ากระ ขยายดัชนี (50 มากกว่า) »

บอราบอรา

right โบราโบร่า (Bora Bora); โบรา-โบร่า (Bora-Bora) หรือ ปอราปอรา (ตาฮีตี: Porapora) เป็นเกาะแห่งหนึ่งของหมู่เกาะโซไซเอตีในเฟรนช์โปลินีเซีย ดินแดนโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ลักษณะเป็นเกาะที่ปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อน มีซากภูเขาไฟหลายลูก พื้นทะเลนิ่งเพราะมีเทือกปะการังล้อมรอบเกาะ และมีหาดทรายที่สวยงาม.

ใหม่!!: ปะการังและบอราบอรา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวโบฮีเมีย

เสื้อแบบโบฮีเมีย ชาวโบฮีเมีย เป็นชื่อกลุ่มชนในโบฮีเมีย ประเทศเช็กเกีย คำนี้หมายถึงกลุ่มผู้อาศัยในอาณาจักรโบฮีเมียด้วย ปัจจุบันรู้จักกันว่าเป็นแฟชั่นการแต่งกายแนวยิปซี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "โบโฮ" รูปแบบไม่ตายตัว แต่มักพบเป็นผ้ามัดย้อม ฝ้าฝ้าย ส่วนใหญ่เป็นเสื้อแขนกุดหรือเสื้อสายเดี่ยว มีเครื่องประดับประเภท ลูกปัด เปลือกหอย ปะการัง ที่มาจากการแต่งตัวของพวกยิปซีเร่ร่อน บโฮีเมี่ยน.

ใหม่!!: ปะการังและชาวโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)

ลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดูว์ เปลซี เดอ รีเชอลีเยอ) หรือ กัปตัน ริเชอลิเออ (André du Plessis de Richelieu, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2476) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือของกองทัพเรือสยาม เป็นรองผู้บัญชาการการรบของไทยในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 และเป็นผู้ออกแบบป้อมพระจุลจอมเกล้.

ใหม่!!: ปะการังและพระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) · ดูเพิ่มเติม »

พะสิม

ม (ဖာသဳ พะแซม) หรือ บัสเซียน (Bassein) เป็นเมืองท่าสำคัญและเป็นเมืองศูนย์กลางของเขตอิรวดี ห่างจากนครย่างกุ้งมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ริมแม่น้ำพะสิม ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี เมืองนี้มีประชากร 237,089 คน (ค.ศ. 2017) ถึงแม้จะเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมอญ แต่ปัจจุบันก็มีชาวมอญเหลืออยู่น้อยมาก กลุ่มชาติพันธุ์หลักในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวพม่า พม่าเชื้อสายอินเดีย ชาวกะเหรี่ยง และชาว.

ใหม่!!: ปะการังและพะสิม · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ปะการังและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินใต้น้ำ

ปะการังนูซาเลมโบงัน บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย พืดหินใต้น้ำ หรือ หินโสโครก (reef) เป็นหาดสันดอนหิน ทราย ปะการังหรือวัสดุคล้ายกัน อยู่ใต้ผิวน้ำ พืดหินใต้น้ำหลายที่เกิดจากกระบวนการอชีวนะ (เช่น การทับถมของทราย การกร่อนของคลื่นที่ลดระดับของหินโผล่ และกระบวนการธรรมชาติอื่น) แต่พืดหินใต้น้ำที่รู้จักกันมากที่สุด คือ พืดหินปะการัง (coral reef) ในแหล่งน้ำเขตร้อนที่เกิดจากกระบวนการชีวนะที่มีปะการังและสาหร่ายเนื้อปูนเป็นตัวการหลัก พืดหินใต้น้ำเทียม (เช่น ซากเรือล่ม) บางทีมีบทบาทในการส่งเสริมความซับซ้อนทางกายภาพของก้นสมุทรทราย เพื่อดึงดูดกลุ่มชีวินหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหร่ายและปลา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ชายฝั่ง หมวดหมู่:วิชาลำดับชั้นหิน หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานชายฝั่งและมหาสมุทร.

ใหม่!!: ปะการังและพืดหินใต้น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กะละปังหา

กะละปังหา หรือ กัลปังหา (ยืมมาจากภาษามลายูคำว่า "kalam pangha") เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายทรงกระบอกหรือรูปถ้วย จัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการัง กะละปังหาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวกะละปังหา (โพลิป) ตัวของกะละปังหานี้มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวนแปดเส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างกะละปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้ายพัดและซี่หวี แล้วแต่ชนิดกิ่งโครงสร้างนี้ตัวกะละปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็นสารเขาจำพวกสัตว.

ใหม่!!: ปะการังและกะละปังหา · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งมดแดง

กุ้งมดแดง (Dancing shrimp, Hinge-beak shrimp, Camel shrimp) เป็นกุ้งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์กุ้งมดแดง (Rhynchocinetidae) เป็นกุ้งขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม โดยมีสีแดงสลับสีขาวเป็นตารางทั้งลำตัว หลังมีสันนูนไม่โค้งมน ส่วนหัวและอกรวมมีปล้องหนึ่งคู่ สันกรีสูงและปลายคม ส่วนของกรีมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมีสีแดงอยู่ด้านล่าง ด้านบนเป็นสีขาวมีหนวดสองคู่ หนวดคู่แรกมีขนาดเล็กอยู่บนสันกรี หนวดคู่ที่สองมีความยาวประมาณสองเท่าของลำตัว ส่วนระยางค์อก แม็กซิลลิเพด เปลี่ยนเป็นลักษณะแหลมยาวเรียว ขาเดินมีสีขาวสลับแดงห้าคู่ ขาเดินคู่แรกเปลี่ยนไปเป็นก้ามเพื่อใช้สำหรับหยิบจับอาหาร ลำตัวมีขาสำหับว่ายน้ำห้าคู่ มีทั้งหมดหกปล้อง หางมีหนึ่งปล้อง ปลายหางเรียว แพนหางมีสี่ใบ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1.4 นิ้ว เป็นกุ้งที่พบได้ง่ายในแนวปะการังของเขตร้อนทั่วโลก พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หลบซ่อนอยู่ตามโพรงหินหรือปะการัง หากินในเวลากลางคืน โดยกินแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ สัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึงตัวอ่อนของปะการังบางชนิดเป็นอาหาร และซากพืชซากสัตว์ต่าง ๆ ด้วย กุ้งมดแดงหากตกใจ สีจะซีดลง ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีลักษณะลำตัวที่ผอมเพรียวกว่าตัวเมีย หัวเชิดขึ้นเล็กน้อย โคนหางและระยางค์ที่หางเล็กกว่า ขณะที่ตัวเมียจะมีลำตัวที่อวบกว่าเพื่อใช้ในการเก็บไข่บริเวณท้อง จัดเป็นกุ้งชนิดหนึ่งที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณน้ำเป็นอย่างมาก เพื่อแหล่งน้ำที่อยู่อาศัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง กุ้งจะย้ายที่อยู่หรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนไป ซึ่งหากปรับตัวไม่สำเร็จก็จะตาย กุ้งมดแดง ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วโดยหน่วยงานของกรมประมง และด้วยความที่เป็นกุ้งที่มีสีสันสวยงาม มีขนาดเล็ก เลี้ยงง่าย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันในตู้ปลา โดยเฉพาะตู้ที่มีการเลี้ยงปะการัง.

ใหม่!!: ปะการังและกุ้งมดแดง · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาใต้ทะเล

ูเขาใต้ทะเล คือภูเขาที่อยู่บนพื้นทะเลและมีความสูงต่ำกว่าระดับน้ำทะเลซึ่งไม่ใช้เกาะ, เกาะเล็กและหน้าผา ภูเขาใต้ทะเลมักเกิดจากภูเขาไฟที่ดับแล้วที่ปะทุขึ้นอย่างกระทันหันซึ่งปกติแล้วจะตั้งสูงขึ้นมาประมาณ 1,000-4,000 เมตรเหนือพื้นทะเล นักสมุทรศาสตร์กำหนดได้กำหนดลักษณะคร่าว ๆ คือสูงเหนือพื้นทะเลอย่างน้อย 1,000 เมตรและมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยIHO, 2008.

ใหม่!!: ปะการังและภูเขาใต้ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ม้าน้ำ

ม้าน้ำ เป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae (ซึ่งมีอยู่ 2 สกุล คือหนึ่งสกุลนั้นคือ ปลาจิ้มฟันจระเข้สัน ที่อยู่ในสกุล Histiogamphelus มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้ผสมกับม้าน้ำ) ในวงศ์ Syngnathidae อันเป็นวงศ์เดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล ในอันดับ Syngnathiformes.

ใหม่!!: ปะการังและม้าน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: ปะการังและยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศในน้ำ

ริเวณปากน้ำและบริเวณชายฝั่งซึ่งเชื่อมต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม ระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem) คือ ระบบนิเวศน้ำซึ่งจัดเป็นสังคมของสิ่งชีวิตที่อยู่ในน้ำ สังคมของสิ่งมีชีวิตจะขึ้นอยู่กับลักษณะและสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ ระบบนิเวศในน้ำจะแบ่งออกเป็น สองประเภทคือ ระบบนิเวศทางทะเลและระบบนิเวศน้ำจื.

ใหม่!!: ปะการังและระบบนิเวศในน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปาราอีบา

รัฐปาราอีบา (Paraíba) เป็นรัฐในประเทศบราซิล ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทางชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของทวีปอเมริกา บนแหลม Ponta do Seixas ชายฝั่งมีชายหาดสะอาด หมู่ปะการังและแหล่งน้ำธรรมชาติ มีเมืองหลวงของรัฐที่ชื่อโจเอาเปสโซอา ที่มีเอกลักษณ์พิเศษคือเป็นเมืองแรกในบราซิลที่เห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้.

ใหม่!!: ปะการังและรัฐปาราอีบา · ดูเพิ่มเติม »

รัตนชาติ

รัตนชาติหรือหินอัญมณี (gemstone) เป็นกลุ่มประเภทของแร่ประเภทหนึ่ง โดยหมายถึง แร่หรือหินบางชนิด หรืออินทรียวัตถุธรรมชาติที่นำมาเจียระไน ตกแต่ง หรือแกะสลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ มีความงาม ทนทาน และหายาก โดยปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เพชร และพลอย ซึ่งหมายถึง อัญมณีทุกชนิดยกเว้นเพชร หากผ่านการตกแต่งหรือเจียระไนแล้ว เรียกว่า อัญมณี นอกจากนี้ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่อาจจัดเป็นรัตนชาติได้แก่ ไข่มุก และปะการังและอำพัน รัตนชาติหรืออัญมณี เป็นผลึกที่มีมลทินอยู่ภายใน ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป มีความแข็ง สามารถเจียระไนให้เกิดมุม เพื่อให้เกิดการกระจายแสงเห็นความแวววาว มลทินในแร่ ทำให้แร่มีสีต่าง ๆ กัน แร่คอรันดัมบริสุทธิ์ เป็นสารพวกอะลูมิเนียมออกไซด์ มีสีขาว ถ้ามีมลทินจำพวกโครเมียมผสม ทำให้มีสีแดง เช่นทับทิม ส่วน เหล็ก ไทเทเนียม ทำให้มีสีน้ำเงิน (ทับทิมกับไพลิน เป็นแร่คอรันดัมเหมือนกัน แต่มีมลทินต่างชนิดกัน) เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินอัญมณีได้แก่ ความแข็ง (ตามมาตราโมส), ความถ่วงจำเพาะ และค่าดัชนีหักเหของแสง ดัชนีหักเหของแสง เป็นค่าคงที่ของอัญมณีแต่ละชนิด จึงใช้ตัดสินว่าเป็นของปลอมหรือไม่ ความแข็งของแร่ก็มีผลต่อราคาของอัญมณีด้วย จึงนำมาทดสอบ โดยการขูดขีดกัน (อาจใช้ตะไบ มือ เหรียญทองแดง มีดพับ, กระจก ทดสอบ) แร่ที่มีรอยขูดขีดจะอ่อนกว่า ซึ่งทดสอบได้.

ใหม่!!: ปะการังและรัตนชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง

ในการตั้งชื่อทางชีววิทยา สิ่งมีชีวิตมักได้รับชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล ชั้นอนุกรมวิธาน (taxon) (ตัวอย่างเช่น สปีชีส์ หรือ สกุล) ที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่งอื่นอื่นเรียกว่า eponymous taxon ส่วนชื่อที่ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลใดบุคคลนึง หรือกลุ่มคน เรียกว่า patronymic ปกติแล้วชื่อทางวิทยาศาสตร์ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการในวารสารที่มีการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ โดยมีคำบรรยายชื่อชั้นอนุกรมวิธานและวิธีบอกความแตกต่างกับชั้นอนุกรมวิธานอื่น ตามกฎของไวยากรณ์ภาษาละตินชื่อสปีชีส์หรือชนิดย่อยที่มาจากชื่อผู้ชายส่วนใหญ่ลงท้ายด้วย -i หรือ -ii หากตั้งชื่อตามคนบุคคลและ -orum หากตั้งชื่อตามกลุ่มผู้ชายหรือชายหญิง เช่น ครอบครัว ในทางคล้ายกัน ชื่อที่ตั้งตามผู้หญิงล้วนลงท้ายด้วย -ae หรือ -arum สำหรับผู้หญิงสองคนหรือมากกว่า รายชื่อนี้มีสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามบุคคลหรือคณะที่มีชื่อเสียง (รวมไปถึงวงดนตรี และคณะนักแสดง) แต่ไม่รวมบริษัท สถาบัน กลุ่มชาติพันธุ์หรือชาติ และสถานที่ซึ่งมีคนอยู่มาก ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามตัวละครในนวนิยาย นักชีววิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ หรือคนในครอบครัวของนักวิจัยที่อาจไม่เป็นที่รู้จัก ชื่อวิทยาศาสตร์อยู่ในรูปแบบที่บรรยายไว้ดั้งเดิม.

ใหม่!!: ปะการังและรายชื่อสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามผู้มีชื่อเสียง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด

ำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น คำขวัญประจำจังหวัด แยกตามภาคได้ดังนี้.

ใหม่!!: ปะการังและรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟดนตรี

รถไฟดนตรี ก่อตั้งในช่วง..

ใหม่!!: ปะการังและรถไฟดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ลากูน

ลากูนบาลอสในเกาะครีต ลากูน หรือ ทะเลสาบน้ำเค็มชายฝั่ง (lagoon) คือแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่แบ่งแยกจากทะเลโดยเกาะสันดอนหรือแนวปะการัง โดยอยู่ขนานกับชายฝั่ง ส่วนมากจะมีทางเปิดสู่ทะเล โดยมากแล้วจะแบ่งเป็นลากูนชายหาดและลากูนอะทอลล์ โดยแยกแยะด้วยทรายและกรว.

ใหม่!!: ปะการังและลากูน · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรแคลเซียม

วัฏจักรแคลเซียมเป็นการหมุนเวียนของแคลเซียมในสิ่งแวดล้อม แคลเซียมเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย การตกตะกอนและการละลายในรูป CaCO3 และ Ca2 มีความสำคัญอย่างมากในสิ่งแวดล้อม การตกตะกอนของ CO32- เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างภายนอกของจุลินทรีย์และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังจะสะสม CO32- ในกระดูกและฟัน เป็นแสดงถึงวัฏจักรแคลเซียม Ca2ละลายน้ำได้ดีกว่าCaCO3 สมดุลระหว่าง CO32- และ HCO3- ควบคุมโดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายน้ำในรูป H2CO3 การเพิ่มไฮโดรเจนอิออนทำให้การละลายของ CO32- ดีขึ้น ส่วนสภาวะที่เป็นกลางหรือเบส จะทำให้ CO32- ตกตะกอนได้ดีขึ้น โดยในสภาวะที่เป็นเบสนี้จะมี Ca2+มาก CO32- จึงตกตะกอนในรูป CaCO3 กระบวนการที่มีผลต่อการตกตะกอนของ CaCO3 โดยสิ่งมีชีวิตคือกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งโดยทั่วไปในน้ำทะเล Ca2+จะอยู่ในรูปของ Ca2 ที่สมดุลกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกใช้ไปในการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้ Ca2 ถูกเปลี่ยนเป็น CaCO3 มากขึ้น กลไกนี้มีความสำคัญมากในแนวปะการัง แม้ว่าในน้ำทะเลจะมี Mg2+ อยู่มากและมีพฤติกรรมคล้าย Ca2+แต่เนื่องจาก MgCO3 ละลายน้ำได้ดีกว่า CaCO3 Ca2+ จึงถูกนำไปใช้ในโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตมากกว.

ใหม่!!: ปะการังและวัฏจักรแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากะรัง

วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้ ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้ สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง มีชื่อสามัญในภาษาไทยอื่น ๆ เช่น "ปลาเก๋า" หรือ "ปลาตุ๊กแก".

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลากะรัง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลามังกรน้อย

วงศ์ปลามังกรน้อย (Dragonet, Scotter blenny, ชื่อวิทยาศาสตร์: Callionymidae) เป็นวงศ์ปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกัน แต่วงศ์ปลามังกรน้อยไม่จัดอยู่ในวงศ์ปลาบู่ แต่กลับมีความใกล้เคียงกับปลาในวงศ์ปลามังกรน้อยลาด (Draconettidae) มากกว่า โดยคำว่า "Callionymidae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "Kallis" ซึ่งแปลว่า "สวย" และ "onyma" แปลว่า "ชื่อ" เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด 17 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดยใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยจะหากินในเวลากลางคืนเริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีส่วนหัวขนาดโต ดวงตากลมมีขนาดใหญ่ มีครีบต่าง ๆ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง ซึ่งแข็งแรงมาก มีพฤติกรรมใช้ครีบท้องนี้คืบคลานหาอาหารตามพื้นทรายมากกว่าจะว่ายน้ำ โดยมีครีบหางเป็นเครื่องบังคับทิศทาง มีเงี่ยงครีบหลัง 4 ก้าน มีก้านครีบอ่อน 6-11 ก้าน ก้านครีบก้น 4-10 ก้าน มีเส้นข้างลำตัว มีกระดูกเรเดียส 3 ชิ้น ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีกระโดงครีบหลังชี้ยาวออกมาเห็นเป็นจุดเด่น ขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยมากแล้วมีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามมาก มีพฤติกรรมการวางไข่ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปรอบ ๆ ตัวเมีย พร้อมเบ่งสีและครีบต่าง ๆ เพื่อเกี้ยวพา เมื่อตัวเมียปล่อยไข่ออกมาแล้ว ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมทันที ไข่จะลอยไปตามกระแสน้ำ ตัวอ่อนใช้ชีวิตเบื้องต้นเป็นเหมือนแพลงก์ตอน ในบางชนิดมีรายงานว่ามีพิษด้วย ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้ว 18 สกุล (ดูในตาราง) ราว 130 ชนิด และเนื่องจากเป็นปลาสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามในตู้ปะการัง ซึ่งบางชนิดสามารถเพาะเลี้ยงในที่เลี้ยงได้แล้ว อาทิ ปลาแมนดาริน (Synchiropus splendidus), ปลาแมนดารินจุด (S. picturatus) เป็นต้น.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลามังกรน้อย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวัว

วงศ์ปลาวัว หรือ วงศ์ปลางัว หรือ วงศ์ปลากวาง (วงศ์: Balistidae, Triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวกว้างแบนเป็นทรงกลมรีคล้ายรูปไข่ ข้างตำแหน่งตาอยู่สูงบริเวณด้านบนของหัว ที่ครีบหลังอันแรกจะมีหนามแข็ง 3 อัน สามารถพับเก็บได้ และจะตั้งขึ้นได้เพื่อใช้ในการข่มขู่ศัตรู มีก้านครีบหางจำนวน 12 ก้าน และ 18 ก้านครีบที่ครีบหลัง มีเกล็ดที่ใหญ่แข็งและหนังหนา ส่วนของใบหน้ายาวและยื่นแหลมออกมา ปากมีขนาดเล็ก ภายในมีฟัน 4 ซี่ที่ด้านนอก และด้านในอีก 3 ซี่ ที่แหลมคมมาก ใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ กินเป็นอาหาร รวมถึงฟองน้ำ, ปะการัง, สาหร่าย หรือเม่นทะเลด้วย เช่นเดียวกับปลาปักเป้า อันเป็นปลาในอันดับเดียวกัน แต่อยู่ต่างวงศ์กัน พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น อินโด-แปซิฟิก, หมู่เกาะฮาวาย, ทะเลแดง, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลฟิลิปปิน และมหาสมุทรแอตแลนติก ตาของปลาวัวสามารถกลอกกลิ้งไปมาได้ อันเป็นลักษณะเฉพาะ โดยปกติแล้ว เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าวก้าวร้าวมาก มักไล่กัดปลาอื่นหรือแม้แต่พวกเดียวกันเองที่รุกล้ำเข้ามาในถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่จะหากินและอาศัยอยู่ในแนวปะการัง มีพฤติกรรมหากินโดยซอกซอนหากินเอาในแนวปะการังในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมากโดยใช้ครีบหลัก ๆ ทั้ง 2 ครีบในด้านบนและด้านล่างของลำตัว ขณะที่ครีบหางใช้เป็นตัวควบคุมทิศทาง เป็นปลาที่มีพฤติกรรมผสมพันธุ์วางไข่ โดยวางไข่ตามพื้นในรังซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง ซึ่งบางชนิดจะมีนิสัยดุร้ายมากในช่วงนี้ โดยมากแล้วเป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงามสดใสมาก จึงเป็นที่นิยมมากของนักดำน้ำและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่ว่าเป็นปลาที่ดุร้ายมาก สามารถพุ่งเข้ากัดจนเป็นแผลเหวอะหรือไล่มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใหญ่กว่ามากได้อย่างไม่เกรงกลัว มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 25-50 เซนติเมตร โดยมีชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาวัวไททัน (Balistoides viridescens) ที่ใหญ่ได้ถึง 75 เซนติเมตร หรือราว 1 เมตร และนับเป็นชนิดที่อันตรายมาก เพราะมีรายงานการกัดและไล่นักดำน้ำมาแล้วในหลายที.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลาวัว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด

วงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Surgeonfish, Tang, Lancetfish, Unicornfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Acanthuridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวสั้นหรือค่อนข้างยาวรูปไข่ ด้านข้างแบน ส่วนหลังและส่วนท้องโค้งเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กมากเป็นแบบบางเรียบ มีก้านครีบที่โคนหางสามารถขยับได้ ปากมีขนาดเล็ก มีฟันแบบฟันตัดเพียงแถวเดียว ไม่มีฟันที่เพดานปาก จะงอยปากไม่มีลักษณะเป็นท่อสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 4-9 ก้าน ไม่แยกจากครีบอ่อน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2-3 ก้าน เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ ครีบหางตัดตรงหรือเว้าแบบพระจันทร์เสี้ยว เกล็ดบนลำตัวบางครั้งพบว่าค่อนข้างหยาบ ในขณะที่อายุยังน้อยไม่มีเกล็ด ลักษณะเด่นของปลาในวงศ์นี้ คือ มีเกล็ดที่พัฒนาบริเวณส่วนโคนหางและครีบหางที่มีขนาดเล็กแต่แหลมคมมาก ใช้สำหรับป้องกันตัวและเป็นที่มาของชื่อเรียก และเป็นส่วนสำคัญในการอนุกรมวิธาน กินสาหร่าย และหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่บนหิน และปะการังเป็นอาหาร หรือบางชนิดกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร ส่วนใหญ่มีสีสันที่สวยสดงดงาม มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 83 ชนิด มีขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป 15-40 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม กระจายพันธุ์อยู่ในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่

วงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ (Porcupinefish, Blowfish, Globefish, Balloonfish, Burrfish, วงศ์: Diodontidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Diodontidae ซึ่งมีความหมายว่า "ฟันสองซี่" มีรูปร่างคล้ายกับปลาปักเป้าในวงศ์ Tetraodontidae แต่ว่าปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่นี้ มีฟันแหลมคมที่ใช้สำหรับกัดกินสัตว์มีเปลือกรวมถึงปะการังชนิดต่าง ๆ สองซี่ใหญ่ ๆ ในปาก เชื่อมติดต่อกันบนขากรรไกร โดยที่ไม่มีร่องผ่าตรงกลาง มีเส้นข้างลำตัวไม่สมบูรณ์ ครีบอกมีขนาดใหญ่คล้ายพัด ครีบหลัง และครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง ไม่มีครีบท้อง ครีบหางกลมมน มีรูปร่างอ้วน กลม แบนข้างเล็กน้อย สามารถขยายร่างกายให้กลมเหมือนลูกบอลได้ ด้วยการสูดอากาศหรือน้ำเข้าไปในช่องท้อง และผิวหนังจะมีหนามแหลมคมทั่วทั้งตัว ซึ่งจะตั้งตรงทั้งตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูด้วย พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปในทะเลทั้งเขตร้อน, เขตอบอุ่น และเขตหนาว โดยเป็นปลาน้ำเค็มทั้งหมด จัดเป็นปลาที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยสามารถยาวได้ถึง 2 ฟุต เป็นปลาที่มีสารเตโตรโดท็อกซิน อย่างร้ายแรง จึงไม่ใช้ในการบริโภค แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ทั้งในตู้ปลาส่วนบุคคลหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมทำเป็นเครื่องประดับ โดยเฉพาะการสตัฟฟ์เวลาที่พองตัวออก.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลาปักเป้าฟันสองซี่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลานกแก้ว

ปลานกแก้ว (parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งในวงศ์ Scaridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่มีประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) อาศัยอยู่ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบมากกว่า 20 ชนิด เป็นปลาที่มีฟันแหลมคมคล้าย ๆ จะงอยของนกแก้วอันเป็นที่มาของชื่อเรียก จะงอยปากยืดหดได้ เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวขาดตอน ครีบหางกลมมนหรือตัดตรง เป็นปลาที่กินฟองน้ำ, ปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้าย ๆ จะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง และมีฟันอีกชุดในคอหอยด้วย ซึ่งเมื่อกัดแทะนั้นจะเกิดเป็นเสียง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ ออกหากินในเวลากลางวัน นอนหลับในเวลากลางคืน เมื่อนอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่าง ๆ เช่น พวกหนอนพยาธิหรือปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน เป็นปลาที่สวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และรับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลานกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาใบมีดโกน

วงศ์ปลาใบมีดโกน หรือ วงศ์ปลาข้างใส (Razorfish, Shrimpfish, Snipefish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Centriscidae มีลักษณะทั่วไปเหมือนกับปลาวงศ์อื่นทั่วไปในอันดับนี้ คือ มีปากยาวเหมือนท่อ ไม่มีฟัน ไม่มีกราม กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์ ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกใส ครีบหลังมี 2 อันและอยู่ในแนวราบ ครีบหางกลมมน บางชนิดลำตัวใส บางชนิดมีแถบคาดตามยาวสีดำ มีพฤติกรรมที่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจาก ปลาวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน คือ จะตั้งตัวทรงเป็นมุมฉากกับพื้นทะเลเหนือ แม้จะว่ายน้ำก็จะว่ายไปในลักษณะเช่นนี้ จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์น้ำอย่างอื่น ได้แก่ ปะการัง, ปะการังอ่อน และเม่นทะเล บางครั้งจะเข้าไปอาศัยหลบภัยในหนามของเม่นทะเล อีกทั้งมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปในกลางทะเล โดยไม่มีพฤติกรรมการตั้งท้องเหมือนปลาจิ้มฟันจระเข้หรือม้าน้ำ ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่กลางทะเลลึก ก่อนที่โตขึ้นและกลับมาอาศัยอยู่ในแนวปะการังและชายฝั่ง.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลาใบมีดโกน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาไหลมอเรย์

ปลาไหลมอเรย์ หรือ ปลาหลดหิน (Moray eel, Moray) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Muraenidae อยู่ในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลทั่วไป ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง โดยมีจุดเด่นร่วมกันคือ มีส่วนปากที่แหลม ไม่มีเกล็ดแต่มีหนังขนาดหนาและเมือกลื่นแทน เหงือกของปลาไหลมอเรย์ยังลดรูป เป็นเพียงรูเล็ก ๆ อยู่ข้างครีบอกที่ลดรูปเหมือนกัน เลยต้องอ้าปากช่วยหายใจเกือบตลอดเวลา คล้ายกับการที่อ้าปากขู่ นอกจากนี้แล้วภายในกรามยังมีกรามขนาดเล็กซ้อนกันอยู่ข้างใน ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วงคอหอย แต่จะออกมาซ้อนกับกรามใหญ่เมื่อเวลาอ้าปาก ใช้สำหรับจับและขบกัดกินอาหารไม่ให้หลุด ปลาไหลมอเรย์เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน โดยการล่าเหยื่อด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทางกลิ่น ที่เป็นแท่งเล็ก ๆ ยื่นอยู่ตรงปลายปาก 2 แท่ง คล้ายจมูก ซึ่งอวัยวะส่วนนี้มีความไวต่อกลิ่นมาก โดยเฉพาะกลิ่นคาวแบบต่าง ๆ เช่น กลิ่นเลือดหรือกลิ่นของสัตว์ที่บาดเจ็บมีบาดแผล อาหารได้แก่ ปลาทั่วไป รวมถึงสัตว์ที่มีกระดองแข็งเช่น กุ้ง, กั้ง, ปู รวมถึงหมึกด้วย โดยปกติแล้วปลาไหลมอเรย์จะอาศัยอยู่ตามโพรงหินหรือซอกปะการังในแนวปะการัง โดยยื่นแต่เฉพาะส่วนหัวโผล่ออกมาราว 1/4 ของความยาวลำตัว พร้อมกับอ้าปากส่ายหัว เพื่อป้องกันถิ่นที่อยู่อาศัยและหาเหยื่อ ที่จะออกมาว่ายน้ำนั้นจะเป็นช่วงเวลากลางคืนที่หาอาหาร ปลาไหลมอเรย์มีกรามที่แข็งแรงและฟันที่แหลมคม แม้จะมีหน้าตาน่ากลัว แต่ไม่ใช่เป็นปลาที่ดุร้าย กลับกันกลับเป็นปลาที่รักสงบ แต่จะจู่โจมใส่ผู้ที่บุกรุก โดยหลายครั้งที่นักประดาน้ำไปเผลอรบกวนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็อาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ เพราะฟันที่แหลมคมและการกัดที่ไม่ปล่อย และอีกช่วงที่ปลาไหลมอเรย์จะดุร้าย คือ ในฤดูผสมพันธุ์ ปลาไหลมอเรย์ มีทั้งหมดราว 70 ชนิด พบในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ส่วนใหญ่มีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันออกไปตามแตค่ละชนิดหรือสกุล แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย ในบางชนิดที่มีขนาดเล็ก จะไม่ความยาวไม่เกิน 2 ฟุตและอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ขณะที่ชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ (Gymnothorax javanicus) ยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนัก 36 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ปะการังและวงศ์ปลาไหลมอเรย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: ปะการังและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สาว สาว สาว

ว สาว สาว คือกลุ่มนักร้องหญิงแนวเพลงป็อป และเน้นการผสานเสียง ของค่ายรถไฟดนตรีซึ่งออกผลงานอยู่ในช่วงปี 2524-2533 ประกอบด้วยสมาชิก 3 คนคือ แอม แหม่ม และ ปุ้ม.

ใหม่!!: ปะการังและสาว สาว สาว · ดูเพิ่มเติม »

สุชนา ชวนิชย์

รองศาสตราจารย์ สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทย ผู้ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยยังทวีปแอนตาร์กติก ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไท.

ใหม่!!: ปะการังและสุชนา ชวนิชย์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

แผนที่ที่ตั้งของสถาบันภายในมหาวิทยาลัยบูรพา (หมายเลข 2) สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชม สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และถูกเรียกชื่อตามความเข้าใจในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตั้งอยู่ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: ปะการังและสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าทะเล

หญ้าตะกานน้ำเค็ม (''Ruppia maritima'') หญ้าทะเล (Seagrass) เป็นกลุ่มของพืชดอกเพียงกลุ่มเดียว ที่ได้มีวิวัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล โดยมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอารหารและแร่ธาตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง 2.เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน 3.ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบน และชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล หญ้าทะเล เดิมเคยเป็นพืชที่อยู่บนบกมาก่อน ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตโบราณแบบเดียวกับฟองน้ำหรือปะการัง จึงมีโครงสร้างแบบพืชบนบกในปัจจุบันปรากฏให้เห็น.

ใหม่!!: ปะการังและหญ้าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ปะการังและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

หมึกกระดองลายเสือ

หมึกกระดองลายเสือ หรือ หมึกหน้าดิน หรือ หมึกแม่ไก่ (Pharaoh cuttlefish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sepia pharaonis) ปลาหมึกเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอย มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศน์ และมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปลาหมึกกระดองลายเสือมีลำตัวกว้าง ครีบกว้างทอดยาวตลอดด้านข้างของลำตัว ด้านหลังของลำตัวและส่วนหัวมีลายคล้ายลายเสือพาดขวาง และมีกระดอง(cuttlebone) เป็นแผ่นแข็งสีขาวขุ่น เป็นสารประกอบจำพวกหินปูน ซึ่งเรียกกันว่า “ลิ้นทะเล เพศผู้จะมีลายมีสีม่วงเข้ม ส่วนตัวเมียจะมีลายที่แคบกว่า และสีจางกว่า ที่บริเวณหัวมีหนวด(arm) 4 คู่ และหนวดจับ(tentacle) 1 คู่ และหนวดคู่ที่ 4 ข้างซ้ายของเพศผู้ใช้สำหรับการผสมพัน.

ใหม่!!: ปะการังและหมึกกระดองลายเสือ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส (Turks and Caicos Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหมู่เกาะย่อยในเขตร้อน 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะเคคอสและหมู่เกาะเติกส์ อาณานิคมนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน และมีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทต่างชาติ หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 970 กม.

ใหม่!!: ปะการังและหมู่เกาะเติกส์และเคคอส · ดูเพิ่มเติม »

หอยทะเล

หอยทะเล หอยทะเล เป็นหอยที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยมากมักมีเปลือกแข็งหุ้มตัว สำหรับประเทศไทยมักนิยมนำมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีรสชาติที่อร่อย ถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: ปะการังและหอยทะเล · ดูเพิ่มเติม »

หอยเต้าปูน

หอยเต้าปูน (Cone snail, Cone shell) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา ชั้นแกสโทรโพดา เป็นสัตว์นักล่า พบได้ตามแถบแนวปะการัง เปลือกมีสีสันสดใส และมีลวดลายสวยงาม ดึงดูดสายตา แต่มีบางสายพันธุ์ที่สีของหอยเต้าปูนจะซ่อนอยู่ภายใต้เนื้อเยื่อพิเศษ ที่ยังไม่ทราบการทำงานที่แน่ชัด (Periostracum) บางชนิดในแถบทะเลเขตร้อน จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ มีมากกว่า 500 สปีชี่ส์ จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มักจะล่าหนอนทะเล ปลาเล็ก ๆ หอย หรือแม้กระทั่งหอยเต้าปูนด้วยกันเองเป็นอาหาร เนื่องจากเคลื่อนที่ได้ช้า จึงมีการพัฒนาอาวุธเฉพาะตัวขึ้นมาคือ เข็มพิษ (venomous harpoon) เพื่อใช้สำหรับล่าเหยื่อและทำให้เหยื่อหมดสติก่อนกลายเป็นอาหาร ที่มีความรวดเร็วสูง ซึ่งในสายพันธุ์ขนาดใหญ่ พิษของหอยเต้าปูนมีความรุนแรงมากพอที่จะฆ่าคนได้.

ใหม่!!: ปะการังและหอยเต้าปูน · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: ปะการังและหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

หนอนถั่ว

หนอนถั่ว (Sipuncula) เป็นสิ่งมีชีวิตอาศัยตามทราย โคลน ซอกหิน รอยแยกของปะการัง ในทะเลน้ำตื้น ถึง น้ำลึก ลักษณะลำตัวกลมยาวไม่มีขา ผิวไม่เรียบ เป็นร่องสันทั่วตัวคล้ายเปลือกถั่วลิสง ปลายด้านหนึ่งยืดหดได้คล้ายคอ มีกระจุกหนวดไว้คอยหาอาหาร หนอนถั่วมีอยู่ประมาณ 350 ชนิดพัน.

ใหม่!!: ปะการังและหนอนถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ห้องสารภัณฑ์

“พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เวอร์มิเนีย” แสดงให้เห็นถึงลักษณะของห้องสารภัณฑ์ ห้องสารภัณฑ์ (Cabinet of curiosities หรือ Cabinets of Wonder หรือ Kunstkammer หรือ Wunderkammer) คือการสะสมสิ่งของที่น่าสนใจที่เนื้อหาของสิ่งที่อยู่ในข่ายการสะสมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรปไม่ได้ให้คำจำกัดความที่แน่นอน ในสมัยปัจจุบัน “ห้องสารภัณฑ์” หมายถึงสิ่งที่อาจจะเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา (ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นของปลอมก็ได้), ธรณีวิทยา, ชาติพันธุ์วรรณนา, โบราณคดี, รำลึกวัตถุทางศาสนาหรือประวัติศาสตร์, งานศิลปะ (รวมทั้งจิตรกรรมตู้) และวัตถุโบราณ “ห้องสารภัณฑ์ถือว่าเป็น “โลกย่อ” (microcosm) หรือ “เวทีโลก” (theater of the world) และ “เวทีแห่งความทรงจำ” ห้องสารภัณฑ์เป็นการสะท้อนถึงการพยายามควบคุมโลกภายนอกของผู้สะสมในรูปแบบของสิ่งที่สะสมในโลกส่วนตัว” ตามความเห็นของปีเตอร์ ทอมัสเกี่ยวกับสิ่งสะสมในห้องสารภัณฑ์ของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นรูปการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วห้องสารภัณฑ์ของนักสะสมผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่ได้รับการบันทึกไว้เป็นหลักฐานในยุโรปของชนชั้นปกครอง, ขุนนาง, พ่อค้า หรือ นักวิทยาศาสตร์ ก็เป็นต้นตอของสิ่งที่กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ต่อม.

ใหม่!!: ปะการังและห้องสารภัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

อะทอลล์

กดาวเทียมของอะทอลล์อาตาฟูในโตเกเลาในมหาสมุทรแปซิฟิก อะทอลล์ (atoll) เป็นเกาะปะการังรูปวงแหวนที่ล้อมรอบลากูน ที่อาจล้อมปิดลากูนโดยสมบูรณ์หรือล้อมรอบเป็นบางส่วนก็ได้.

ใหม่!!: ปะการังและอะทอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ปะการังและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์

อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ (Underwater WOrld) เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ในพัทยา เริ่มเปิดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ในบริเวณประกอบด้วย หาดทราย แก่งหิน ดงปะการัง และมีอุโมงค์ขนาดใหญ่สัมผัสกับสัตว์ใต้น้ำพันธุ์ต่างๆจากทะเล.

ใหม่!!: ปะการังและอันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา

อุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา (Bahurang Tubbataha; Tubbataha Reefs Natural Park) คือ พื้นที่คุ้มครองแห่งหนึ่งของฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางทะเลซูลู เขตสงวนพันธุ์นกและสัตว์ทะเลประกอบด้วย เกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการังใหญ่ 2 เกาะ (ชื่อเกาะวงแหวนเหนือและใต้) และปะการังเจสซี บีซลีย์ ที่เล็กกว่าครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 97,030 เฮกตาร์ (239,800 เอเคอร์; 371.6 ตารางไมล์) เขตเกาะปะการังตั้งอยู่ 150 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปูเวร์โตปรินเซซา (Puerto Princesa City) เมืองหลักของจังหวัดปาลาวัน เกาะที่ไม่มีใครอยู่อาศัยและปะการังเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลเกาะคากายันซิลโย (Cagayancillo) จังหวัดปาลาวัน ตั้งอยู่ราว 130 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉี่ยงเหนือของปะการัง ในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ปะการังและอุทยานธรรมชาติพืดหินปะการังตุบบาตาฮา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง

กาะช้าง เกาะช้างดูจากมุมมองหมู่เกาะรัง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ที่มากถึง 52  เกาะ เรียงตัวกันตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่น ๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติ ได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะง่าม บางแห่งมีปะการังใต้น้ำที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เช่น เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง ฯลฯ ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะช้างใกล้คลองธารมะยม บริเวณด้านหน้ามีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ของอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยพิทักษ์อุทยานอีก 3 จุด ซึ่งล้วนอยู่บนเกาะช้าง คือ บริเวณอ่าวคลองสน  บริเวณทางเข้าน้ำตกคลองพลู  และบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร เกาะช้าง เดิมเป็นเกาะที่ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย แต่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม แหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืด โดยเฉพาะที่บริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และชาวญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ 429 ตารางกิโลเมตร   ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อน ยอดเขาที่สูงที่สุดได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูงประมาณ 744 เมตร สภาพป่าโดยทั่วไปมีอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ด้านฝั่งตะวันออกของเกาะนั้น มีชายฝั่งที่สวยงามอย่างมาก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เป็นพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมื่อปี..

ใหม่!!: ปะการังและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ทิวทัศน์เกาะสิมิลันหรือเกาะแปด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษามลายูแปลว่า เก้า หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเรย์ ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเก.

ใหม่!!: ปะการังและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในอ่าวไทยประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ 42 เกาะ ได้แก่ เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะหินดับ เกาะนายพุด และเกาะไผ่ลวก เป็นต้น ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 84 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523.

ใหม่!!: ปะการังและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ รอบ ๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย 40 ล้านปี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร.

ใหม่!!: ปะการังและอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติโกโมโด

อุทยานแห่งชาติโกโมโด (Taman Nasional Komodo) เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้หมู่เกาะซุนดาน้อย ระหว่างจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออกกับจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก อุทยานประกอบด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะ คือ เกาะโกโมโด เกาะรินจา และเกาะปาดาร์ รวมทั้งยังมีเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย ซึ่งเกาะเหล่านี้กำเนิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,817 ตารางกิโลเมตร (ส่วนที่เป็นแผ่นดิน 603 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4,000 คน ก่อตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่ออนุรักษ์มังกรโกโมโด ซึ่งเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ภายหลังยังจัดเป็นพื้นที่สำหรับอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ใน พ.ศ. 2534 อุทยานได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางธรรมชาติยุคใหม่อีกด้วย กิจกรรมดำน้ำเป็นที่นิยมในอุทยานแห่งชาติโกโมโด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลสูง มีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ฉลามวาฬ ปลาแสงอาทิตย์ กระเบนราหู กระเบนนก ม้าน้ำแคระ ปลากบตัวตลก ทากเปลือย หมึกวงแหวนสีน้ำเงิน ฟองน้ำ เพรียงหัวหอม และปะการัง รวมถึงเส้นทางเดินสำรวจธรรมชาติ ทางอุทยานได้แบ่งเส้นทางเดินออกเป็น 3 สาย คือ สายไกล, สายกลาง และสายสั้น โดยมากนักท่องเที่ยวจะนิยมดูและถ่ายภาพมังกรโกโมโด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อุทยานจะเดินตามไปด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากมังกรโกโมโดที่จะทำร้ายนักท่องเที่ยว โดยใช้เพียงไม้ง่ามเพียงชิ้นเดียว หากมังกรโกโมโดเข้าใกล้จะใช้ไม้นี้แยงตา ก็จะล่าถอยไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ทางอุทยานได้รับการสนับสนุนจาก The Nature Conservancy (TNC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจากสหรัฐอเมริกา มีการวางแผนการจัดการอุทยานใหม่ร่วมกัน และนำไปใช้ในปี พ.ศ. 2543 เพื่อรับมือกับปัญหาการใช้ทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาของทรัพยากรทางทะเลส่วนใหญ่เริ่มมาจากชุมชนชาวประมงและบริษัทเชิงพาณิชย์ภายนอกอุทยาน แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมและจำกัดการใช้ทรัพยากรจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอุทยาน ซึ่งมีทางเลือกในการดำรงชีวิตน้อยนอกจากต้องรอรับสิ่งที่ทางอุทยานจัดหาให้ จึงมีแผนการวางแนวทางเลือกในการดำรงชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการอุทยาน แต่ชุมชนภายในอุทยานยังต้องการได้รับผลประโยชน์ตามมาตรฐานที่ตรงกับความต้องการของผู้อยู่อาศั.

ใหม่!!: ปะการังและอุทยานแห่งชาติโกโมโด · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวอะกาบา

อ่าวอะกาบา (ขวา) บนคาบสมุทรไซนาย อ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba; خليج العقبة, Khalyj al-'Aqabah; מפרץ אילת, Mifratz Eilat) หรือ อ่าวเอลัต (Gulf of Eilat) เป็นอ่าวที่อยู่ทางเหนือของทะเลแดง ติดกับคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกและคาบสมุทรอาหรับทางตะวันตก อ่าวด้านตะวันตกของอ่าวแห่งนี้คือ อ่าวสุเอซ (Gulf of Suez) อ่าวอะกาบามีความลึกสูงสุด 1,850 เมตร (1.15 ไมล์) มีความกว้างจากจุดที่กว้างที่สุด 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) และมีความยาวถึงส่วนปลายคือช่องแคบติราน (Straits of Tiran) ประมาณ 160 กิโลเมตร (99 ไมล์) ชายฝั่งของอ่าวแห่งนี้อยู่ในสี่ประเทศคือ อียิปต์ อิสราเอล จอร์แดนและซาอุดีอาระเบีย มีเมืองท่องเที่ยวและเมืองท่าอย่าง ทาบา (Taba) ในอียิปต์, เอลัต (Eilat) ในอิสราเอลและอะกาบา (Aqaba) ในจอร์แดน มีบันทึกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์ว่าอ่าวอะกาบาเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งของการค้าขายในภูมิภาค มีการบันทึกในอีกหลายราชวงศ์ของอียิปต์ถึงการเดินทางข้ามทะเลแดงไปทำการค้ากับอาณาจักรพันต์ (Punt) นอกจากนี้เมืองอายลา (Ayla; ปัจจุบันคือเมืองอะกาบา) ยังเป็นเมืองที่ทำการค้ากับชาวแนบาเทีย (Nabataeans) ต่อมาชาวโรมันได้สร้างเส้นทาง Via Traiana Nova ทำให้การค้าระหว่างแอฟริกากับเลแวนต์สะดวกขึ้น ในปัจจุบัน อ่าวอะกาบาเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำเพื่อชมปะการัง ซากเรืออับปางและสัตว์น้ำ ประมาณการว่ามีนักดำน้ำ 250,000 คนต่อปี คิดเป็น 10% ของรายได้จากการท่องเที่ยวในบริเวณนี้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น หุบเขาวาดีรัม (Wadi Rum) ซากเมืองอายลาและสนามรบของยุทธการอะกาบา (Battle of Aqaba) ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: ปะการังและอ่าวอะกาบา · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: ปะการังและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิจักรกลสังหาร แมทรินทิส

ักรวรรดิจักรกลสังหาร แมทรินทิส เป็นชื่อกลุ่มตัวละครประเภทกลุ่มองค์กรจากเรื่อง โกเซย์เจอร์ ปรากฏตัวตั้งแต่ตอนที่ 33 จนถึง ตอนที่ 44.

ใหม่!!: ปะการังและจักรวรรดิจักรกลสังหาร แมทรินทิส · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดโบโฮล

ังหวัดโบโฮล เป็นจังหวัดเกาะในเขตกิตนางคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะใหญ่ และเกาะบริวารขนาดเล็กอีก 75 เกาะ เมืองหลักคือตักบีลารัน มีพื้นที่ และมีชายฝั่งทะเลยาว โบโฮลเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของฟิลิปปินส์ Retrieved 15 November 2006.

ใหม่!!: ปะการังและจังหวัดโบโฮล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลคอรัล

ทะเลคอรัล ทะเลคอรัล (Coral Sea) เป็นทะเลชายอาณาเขต ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย อยู่ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลียทางตะวันตก หมู่เกาะวานวาตูและเกาะนิวแคลิโดเนียทางตะวันออก ทิศเหนือติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกีนีและหมู่เกาะโซโลมอน ส่วนทางตอนเหนือของทะเลเรียกอีกชื่อว่า ทะเลโซโลมอน จุดเด่นของทะเลคอรัลคือมีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นและคงที่ มีฝนตกและพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้ง มีเกาะและปะการังมากมาย รวมถึงเครือข่ายปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เรียกว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี..

ใหม่!!: ปะการังและทะเลคอรัล · ดูเพิ่มเติม »

ที่อยู่อาศัยใต้ทะเล

ใต้ทะเลมีสภาพแวดล้อมมากมายที่สิ่งมีชีวิตสามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลทุกชนิดต้องพึ่งน้ำทะเล ที่อยู่อาศัยคือพื้นที่ทางระบบนิเวศวิทยาหรือสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่หนึ่งหรือหลายสปีชีส์อาศัยอยู่Dickinson, C.I. 1963.

ใหม่!!: ปะการังและที่อยู่อาศัยใต้ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมงกุฎหนาม

วมงกุฎหนาม หรือ ปลาดาวหนาม (Crown-of-thorns starfish) เป็นดาวทะเลชนิดหนึ่ง เป็นดาวทะเลขนาดใหญ่ มีแขนรวมกันทั้งหมด 16-21 แฉก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตามผิวหนังมีหนามยาวคล้ายเม่น ปากอยู่ทางด้านล่าง มีกระเพาะอยู่ด้านนอก ใต้แขนมีขาขนาดเล็ก ๆ คล้าย ๆ กับปุ่มที่หนวดปลาหมึกเป็นจำนวนมากยื่นออกมายึดเกาะพื้น ตรงกลางตัวด้านล่างมีปาก มีหนามแหลมคมปกคลุมที่ตัวทางด้านบน บนหนามมีสารซาโปนินเคลือบอยู่ ซึ่งมีพิษต่อสัตว์หลายชนิด เป็นสัตว์ที่แยกเพศ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยตัวเมียปล่อยไข่ออกมานอกตัว และตัวผู้ปล่อยสเปอร์มออกมาผสมพันธุ์ ตัวเมียแต่ละตัวมีไข่ประมาณ 12-24 ล้านฟอง ฤดูกาลวางไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีรายงานว่าดาวมงกุฎหนามที่เกรตแบร์ริเออร์รีฟ วางไข่ในเดือนธันวาคม และมกราคม ดาวมงกุฎหนามเป็นสัตว์ที่กินปะการังเป็นอาหาร ในทางนิเวศวิทยาถือเป็นสัตว์ที่ควบคุมประชากรปะการังไม่ให้มากจนเกินไป แต่ในหลายพื้นที่ก็มีการแพร่ระบาดจนเกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ที่เกาะกวม แนวปะการังถูกดาวมงกุฎหนามทำลายไปเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร ต่อเดือน บริเวณที่ถูกทำลายไปแล้วปะการังอาจฟื้นตัว ก่อตัวขึ้นใหม่ ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 10-40 ปี หรือนานกว่านี้ หรือในประเทศญี่ปุ่น ได้ลงทุนกำจัดดาวมงกุฎหนามโดยใช้ทุนไป 600 ล้านเยน กำจัดดาวมงกุฏหนามไป 13 ล้านตัวที่เกาะริวกิว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1983 แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และจากการศึกษาในระยะหลัง มีการสรุปว่าปริมาณดาวมงกุฎหนามในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (10,000 ตารางเมตร) หากมีจำนวนเกิน 10 ตัว ก็ถือว่าอยู่ในระดับระบาดแล้ว ถ้าเกิน 30 ตัว ถือว่าระบาดรุนแรงมาก เมื่อดาวมงกุฎหนามระบาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแนวปะการังจะแผ่เป็นบริเวณกว้างกว่าที่จะเกิดจากสาเหตุการทำลายโดยปัจจัยอื่น ๆ เพราะดาวมงกุฎหนามสามารถคืบคลานกินปะการังได้ทุกซอกทุกมุม แต่ดาวมงกุฎหนามเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือ หอยสังข์แตร (Charonia tritonis) ที่กินดาวมงกุฎหนามเป็นอาหาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นตัวควบคุมมิให้ปริมาณดาวมงกุฏหนามมีปริมาณมากเกินไปด้วย รวมถึงปูขนาดเล็กบางชนิดหนึ่งที่ซ่อนตัวในปะการัง ใช้ก้ามในการต่อสู้กับดาวมงกุฎหมายมิให้มากินปะการังอันเป็นที่หลบอาศัยด้วย แต่ก็ทำได้เพียงแค่ขับไล่ให้ออกไปเท่านั้น.

ใหม่!!: ปะการังและดาวมงกุฎหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวทะเล

วทะเล หรือ ปลาดาว เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ในชั้น Asteroidea ลักษณะทั่วไป มีลำตัวแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปดาวเรียกว่า แขน ส่วนกลาง มีลักษณะเป็นจานกลม ด้านหลังมีตุ่มหินปูน ขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป มีปากอยู่ด้านล่างบริเวณ จุดกึ่งกลางของ ลำตัว ใต้แขนแต่ละข้างมีหนวดสั้น ๆ เรียงตามส่วนยาว ของแขนเป็นคู่ ๆ มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อที่เหนียวและแข็งแรงเรียกว่า โปเดีย ใช้สำหรับยึดเกาะกับเคลื่อนที่ มีสีต่าง ๆ ออกไป ทั้ง ขาว, ชมพู, แดง, ดำ, ม่วง หรือน้ำเงิน เป็นต้น พบอยู่ตามชายฝั่งทะเล โขดหิน และบางส่วนอาจพบได้ถึงพื้นทะเลลึก กินหอยสองฝา โดยเฉพาะ หอยนางรม, กุ้ง, ปู หนอน และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เช่น ฟองน้ำหรือปะการัง เป็นอาหาร.

ใหม่!!: ปะการังและดาวทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 19

อะเมซิ่ง เรซ 19 (The Amazing Race 19) เป็นฤดูกาลที่ 19 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอ.

ใหม่!!: ปะการังและดิอะเมซิ่งเรซ 19 · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ: A Corrida Milionária

อะเมซิ่ง เรซ: A Corrida Milionária (The Amazing Race: The Million Dollar Race; ดิ อะเมซิ่ง เรซ: การแข่งขันสู่เงินล้าน) เป็นเวอร์ชันบราซิลของรายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดยมีพิธีกรประจำรายการคือโรนี่ เซิร์ฟเวอร์โร่ รายการนี้มีการผลิตและออกอากาศเป็นอิสระ ในช่วงที่ต้องมีการซื้อเวลาของเครือข่ายโทรทัศน์บราซิล RedeTV! สำหรับรายการนี้เริ่มออกอากาศในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และตอนสุดท้ายออกอากาศในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: ปะการังและดิอะเมซิ่งเรซ: A Corrida Milionária · ดูเพิ่มเติม »

ความจำชัดแจ้ง

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ "ความจำชัดแจ้ง" (Explicit memory) หรือบางครั้งเรียกว่า "ความจำเชิงประกาศ" (Declarative memory) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาวสองอย่างในมนุษย์ ความจำชัดแจ้งหมายถึงความจำที่สามารถระลึกได้ใต้อำนาจจิตใจเช่นความจริงและความรู้ต่าง ๆ ดังนั้น การระลึกถึงประสบการณ์ในอดีตหรือข้อมูลอื่น ๆ โดยตั้งใจและประกอบด้วยความรู้สึกตัวว่ากำลังระลึกถึงความจำ จึงเป็นการระลึกถึงความจำชัดแจ้ง มนุษย์มีการจำได้แบบชัดแจ้งตลอดทั้งวัน เช่นจำเวลานัดได้ หรือจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายปีได้ ส่วนความจำที่คู่กันก็คือ "ความจำโดยปริยาย" (implicit memory) หรือ "ความจำเชิงไม่ประกาศ" (non-declarative memory) หรือ "ความจำเชิงกระบวนวิธี" (procedural memory) ซึ่งหมายถึงความจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น ทักษะในการขี่จักรยาน) การเข้าถึงความจำโดยปริยายไม่ประกอบด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่เป็นการระลึกได้ด้วยความตั้งใจ ให้เทียบกับการระลึกถึงความจำชัดแจ้งซึ่งเป็นการระลึกได้พร้อมด้วยความรู้สึกตัว ตัวอย่างเช่น การระลึกถึงการหัดขับรถชั่วโมงหนึ่งได้เป็นตัวอย่างของการจำได้แบบชัดแจ้ง ส่วนทักษะการขับรถที่พัฒนาขึ้นเพราะการหัดขับรถนั้นเป็นตัวอย่างของการจำได้โดยปริยาย ส่วนความจำชัดแจ้งยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ.

ใหม่!!: ปะการังและความจำชัดแจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ตะกอน

ตะกอน คือ อินทรีย์วัตถุ หรือ อนินทรีย์วัตถุที่มีขนาดเล็กเช่น กรวด หิน ดิน ทราย ที่เกิดจากกระบวนการสลายตามธรรมชาติ ถูกพัดพาปะปนกับกระแสน้ำ และทับถมกันบริเวณด้านล่างที่กระแสน้ำไหลผ่าน ตะกอนมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับสิ่งปะปนในกระแสน้ำนั้น ๆ เช่น ดิน หิน ทราย หรือตะกอนที่เป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลาย ลักษณะเป็นสีคล้ำ มีความหยุ่น เรียกว่า โคลน อีกความหมายหนึ่งคือ อนุภาคที่แยกตัวออกมาจากสารละลาย เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง เช่น น้ำผสมผงแป้ง เมื่อทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง ผงแป้งจะตกตะกอนลงสู่ด้านล่าง เห็นเป็นชั้นแป้งและน้ำอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: ปะการังและตะกอน · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นซากเหลือของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate fossil) ที่พบถูกเก็บรักษาไว้ในเนื้อของหินที่มีอายุมากถึงยุคแคมเบรียน จนถึงหินที่มีอายุอ่อนที่สุด มีการค้นพบที่หลากหลายประเภทโดยในที่นี้จะแบ่งย่อยเป็นไฟลั่มที่สำคัญๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ปะการังและซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตองงา

ตองงา (อังกฤษและTonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (Kingdom of Tonga; Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี..

ใหม่!!: ปะการังและประเทศตองงา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังหน้างอน

ปลากะรังหน้างอน หรือ ปลากะรังหงส์ หรือ ปลาเก๋าหงส์ (Humpback grouper, Barramundi cod, Panther grouper) อยู่ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างหัวเรียวแหลม ปากเล็ก ตาเล็ก ครีบหลังต่อเป็นแผ่นเดียว ลำตัวสีเทาอ่อน แต้มด้วยจุดสีดำกระจายทั่วทั้งตัวและครีบ จัดเป็นปลาชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cromileptes มีความยาวเต็มที่ 70 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2 ปี น้ำหนักกว่า 2.5 กิโลกรัม พบกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังหรือกองหินที่มีน้ำขุ่น ความลึกตั้งแต่ 2–40 เมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทะเลจีน, ญี่ปุ่น, ปาปัวนิวกินี, มหาสมุทรอินเดีย, หมู่เกาะนิโคบาร์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ปลากะรังหน้างอนเป็นปลาที่มีความโดดเด่นที่สีสันที่มีความสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก พื้นลำตัวจะเป็นสีขาวตัดกับจุดกลมสีดำเห็นชัดเจน จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อย จึงนิยมจับเพื่อรับประทานเป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาตัวที่ถูกจับได้ในธรรมชาติจะมีราคาสูงถึงตัวละ 2,400–2,800 บาท ดังนั้น สถานะในธรรมชาติของปลากะรังหน้างอนจึงอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม แต่ในปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: ปะการังและปลากะรังหน้างอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลามีดโกน

ปลามีดโกน หรือ ปลาใบมีดโกน หรือ ปลาข้างใส (Razorfish, Shrimpfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาใบมีดโกน (Centriscidae) มีรูปร่างเหมือนใบมีดโกน จะงอยปากยาวมากและงอนขึ้นเล็กน้อย ท้องบาง ผิวเป็นแผ่นกระดูกบาง ด้านท้ายยื่นแหลม ครีบหลัง, ครีบหาง และครีบก้นอยู่ชิดกัน ลำตัวใสเป็นสีชมพูหรือสีเนื้อเหลือบ มีแถบสีดำพาดจากปลายปากจนถึงส่วนท้ายลำตัว มีความยาวโดยเฉลี่ย 10 เซนติเมตร และสามารถโตเต็มที่ได้ 15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก โดยอาศัยอยู่กับปะการัง, กัลปังหา และหนามของเม่นทะเล เพื่อหลบหลีกจากศัตรูผู้ล่า เนื่องจากไม่มีอาวุธอะไรที่จะป้องกันตัวได้ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง จะเอาหัวทิ่มลงพื้นเสมอ และตั้งฉากกับพื้นทะเล แม้แต่จะว่ายน้ำไปไหนมาไหนก็จะไปด้วยลักษณะเช่นนี้เสมอ ในน่านน้ำไทยจัดเป็นปลาที่พบได้บ่อยในบางพื้นที่ กินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และเป็นปลาสวยงาม "Eyewitness handbooks Aquarium Fish: The visual guide to more than 500 marine and freshwater fish varieties" By Dick Mills.

ใหม่!!: ปะการังและปลามีดโกน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวัวปิกัสโซ

ปลาวัวปิกัสโซ (Lagoon triggerfish, Blackbar triggerfish, Picasso triggerfish, Jamal, White-banded triggerfish, ฮาวาย: Humuhumu) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinecanthus aculeatus อยู่ในวงศ์ปลาวัว (Balistidae) มีรูปร่างกลมรีคล้ายรูปไข่ ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันแหลมคม ส่วนหน้าและจะงอยปากยาว มีลักษณะเฉพาะ คือ ลวดลายบนลำตัวที่จะเป็นแถบสีสดขีดไปมาเหมือนไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นหรือตั้งใจวาด ทั้งสีเขียวมะกอก, สีดำ, ฟ้า, เหลือง บนพื้นสีขาว แต่แลดูแล้วสวยงาม เหมือนกับภาพวาดของปาโบล ปิกัสโซ จิตรกรชื่อดังระดับโลก อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทย พบได้ทางฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้แต่ก็พบในปริมาณที่น้อยมาก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ เช่น มอลลัสคา, ครัสตาเชียน รวมทั้งปะการังและสาหร่ายด้วย โดยออกหากินในเวลากลางวัน และนอนหลับพักผ่อนตามโขดหินหรือแนวปะการังในเวลากลางคืน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดและพฤติกรรมใกล้เคียงกันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากแม้จะเป็นปลาก้าวร้าว แต่ก็ไม่ถึงกับดุร้ายเกินไปนัก ซึ่งผู้เลี้ยงสามารถฝึกให้กินอาหารจากมือได้ด้วย แต่ก็ต้องระวังเพราะมีฟันที่แหลมคมมาก ซึ่งปลาที่ถูกขายกันในตลาดปลาสวยงามนั้น โดยมากเป็นปลาขนาดเล็ก และนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียและทะเลฟิลิปปิน.

ใหม่!!: ปะการังและปลาวัวปิกัสโซ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสินสมุทรหางเส้น

ปลาสินสมุทรหางเส้น หรือ ปลาสินสมุทรโคราน หรือ ปลาสินสมุทรลายโค้ง หรือที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า โครานแองเจิล หรือ บลูโคราน (Koran angel, Sixbanded angel, Semicircle angel, Half-circle angel, Blue koran angel, Zebra angel) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacanthus semicirculatus อยู่ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มีลำตัวแบน ครีบหลังมี 2 ตอนเชื่อมต่อกัน โดยที่ครีบหลังยื่นยาวออกไปทางหาง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุเพิ่มมากขึ้น ครีบหูบางใส ครีบอกยาวแหลม ส่วนปลายครีบทวารยื่นยาวออกไปเช่นเดียวกับครีบหลัง ครีบหางโค้งเป็นรูปพัด พื้นผิวลำตัวของตัวอายุน้อยมีสีเหลืองอมน้ำตาล มีเส้นคาดตามขวางในแนวโค้งสีขาวและสีน้ำเงินมากกว่า 12 เส้น ลายเหล่านี้จะค่อย ๆ จางหายไปหมดเมื่อเจริญเต็มวัย โดยจะมีพื้นสีเหลืองอมเขียว แต้มด้วยจุดสีดำและสีน้ำเงินทั่วลำตัว ขอบแก้มและขอบครีบต่าง ๆ เป็นเส้นสีน้ำเงิน ซึ่งลวดลายและสีสันของปลาสินสมุทรหางเส้นวัยอ่อนนั้นจะคล้ายกับปลาสินสมุทรวงฟ้า (P. annularis) มาก หากแต่ลูกปลาสินสมุทรวงฟ้านั้น มีลวดลายบนตัวเป็นไปในลักษณะค่อนข้างตรง และครีบหางเป็นสีขาวหรือใสไม่มีสี ขณะที่ครีบหางของลูกปลาสินสมุทรหางเส้นจะมีลาย โดยลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนสีสันและลวดลายไปเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีขนาดประมาณ 7-8 นิ้ว มีความยาวเต็มที่ประมาณ 36-40 เซนติเมตร นับเป็นปลาอีกชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ที่มีขนาดใหญ่ กระจายพันธุ์อยู่ตามเกาะแก่งและแนวปะการังใต้น้ำของมหาสมุทรอินเดีย และอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ที่ทะเลอันดามัน แต่ไม่พบในฝั่งอ่าวไทย ลูกปลาวัยอ่อนจะกินสาหร่ายในแนวปะการังเป็นหลัก เมื่อเป็นปลาเต็มวัยจะกินฟองน้ำ, ปะการัง และสาหร่ายเป็นหลัก รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างอื่น อาทิ หนอนท่อ, กระดุมทะเล, ปะการังอ่อน และหอยสองฝา เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยถือเป็นปลาสินสมุทรที่เลี้ยงง่ายมากชนิดหนึ่ง เป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป ประกอบกับมีราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงปลาทะเลมือใหม่ แต่ควรเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ที่มีความจุน้ำไม่ต่ำกว่า 400 ลิตร เนื่องจากเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ และเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก โดยเฉพาะต่อปลาในสกุลเดียวกัน โดยปลาที่มีการซื้อขายกันในตลาดปลาสวยงามนั้น เป็นปลาที่ต้องจับรวบรวมจากทะเลทั้งนั้น.

ใหม่!!: ปะการังและปลาสินสมุทรหางเส้น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอมไข่ครีบยาว

ปลาอมไข่ครีบยาว (Banggai cardinalfish, Longfin cardinalfish, Kaudern's cardinal) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาอมไข่ (Apogonidae) ถือเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pterapogon มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนจากกันชัดเจนและมีครีบที่ยาวมาก มีก้านครีบแข็ง 8 ก้าน ก้านครีบอ่อน 14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 13 ก้าน ครีบหางยาวเป็นรูปส้อมชัดเจน ลำตัวมีสีขาวเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านลำตัว 3 แถบ คือ ที่ตา, ที่ครีบหลังอันที่ 1 และครีบหลังอันที่ 2 มีแถบดำตามความยาวของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางทั้งด้านบนและด้านล่าง มีจุดสีขาวกระจายทั่วลำตัวและครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอก ที่มีลักษณะโปร่งแสง การเกิดจุดสีขาวของปลานี้จะแตกต่างกันไปเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว จัดเป็นปลาขนาดเล็กมีขนาดความยาวเต็มที่ 8 เซนติเมตร ขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 4-5 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ไม่กี่ตัวจนถึงหลายร้อยตัวในแนวปะการังร่วมกับสิ่งมีชีวิตอย่างอื่น ปลาในวัยรุ่นมักหลบซ่อนอยู่ตามหญ้าทะเล, สาหร่าย, เม่นทะเล, ดาวขนนก, ปะการัง, ปะการังอ่อน โดยใช้เป็นที่ซ่อนภัยจากผู้ล่า อาศัยอยู่ในความลึกตั้งแต่ 0.5-6 เมตร แต่มักพบในความลึกประมาณ 1.5-2.5 เมตร ออกหากินในเวลากลางวัน โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เช่น แพลงก์ตอน, ครัสเตเชียนขนาดเล็ก เป็นต้น พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลแถบอินโด-แปซิฟิก แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย แต่จะพบชุกชุมที่เกาะบังไก ประเทศอินโดนีเซีย ปลาอมไข่ครีบยาว เป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้ง่ายและไวมาก โดยการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2005 พบมีประชากรอยู่ประมาณ 2.4 ล้านตัว แต่ถูกจับไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามถึงปีละ 700,000-900,000 ตัวต่อปี โดยอายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ได้ราว 2.5 ปี โดยพบที่อายุยืนสูงสุดถึง 4-5 ปี เป็นปลาที่ปัจจุบันเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยปลาตัวผู้จะอมใข่และกระทั่งลูกปลาฟักเป็นตัว และพัฒนากลายมาเป็นลูกปลา ซึ่งพ่อปลาจะดูแลลูกปลาจนกว่าจะเติบโตอย่างแข็งแรงที่จะเอาตัวรอด จึงปล่อยไป แต่ปลาที่มีขายกันในตลาดปลาสวยงามส่วนใหญ่ ยังเป็นปลาที่จับมาจากแหล่งน้ำในธรรมชาต.

ใหม่!!: ปะการังและปลาอมไข่ครีบยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อจมูกยาว

ปลาผีเสื้อจมูกยาว หรือ ปลาผีเสื้อลองโนส (Longnose butterflyfish) เป็นสกุลของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Forcipiger (/ฟอร์-ซิ-พิ-เกอร์/) ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีลักษณะเด่นต่างจากปลาผีเสื้อสกุลอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ส่วนปากและจมูกยื่นแหลมยาวออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงทำให้กินได้แต่อาหารขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น เช่น แพลงก์ตอนสัตว์ หรือโพลิปของปะการัง เป็นปลาที่มีลำตัวสีเหลืองสดใส กระจายพันธุ์ตามแนวปะการังในน่านน้ำแถบอินโด-แปซิฟิก กระนั้น ก็ยังมีรายงานพบ ปลาบางตัวที่มีสีผิดเพี้ยนไปจากปกติ คือ มีสีขาวตลอดทั้งตัวหรือสีดำสนิทก็มี ซึ่งอาจจะเป็นความผิดปกติของเม็ดสี แต่ทว่าหาได้ยากมาก และมีราคาซื้อขายที่แพงในวงการปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปะการังและปลาผีเสื้อจมูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง

ปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง หรือ ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Yellow longnose butterflyfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีส่วนปากยาวมาก ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบยาว ลำตัวสีเหลืองสด หน้าและหัวสีคล้ำถึงครึ่งบนลูกตา ขอบตาด้านล่างขาวถึงจะงอยปากและข้างแก้ม มีจุดสีดำตรงด้านท้ายครีบก้น ครีบหางใส มีความยาวประมาณ 19 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังในทะเลเขตร้อน-เขตอบอุ่นทั่วโลก ตั้งแต่อินโดแปซิฟิก, ฮาวาย, ทะเลแดง, ทะเลคอร์เตซ, อเมริกาใต้, หมู่เกาะกาลาปากอส, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย ในน่านน้ำไทย เฉพาะฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ กินโพลิปของปะการัง, หอย และหนอนทะเล เป็นอาหาร เป็นปลาผีเสื้ออีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และจัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: ปะการังและปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผีเสื้อนกกระจิบ

ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Copperband butterflyfish, Beak coralfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelmon rostratus ในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มีลำตัวแบนข้าง ลบลำตัวมีสีขาวคาดด้วยแถบสีส้มจำนวน 4 แถบ โดย 2 แถบแรกมีขอบสีดำตัดบาง ๆ ทั้งด้านหน้าและหลัง ปลายครีบบนและครีบล่างเจือด้วยปื้นสีส้ม โคนหางมีจุดสีดำเล็ก ๆ และมีจุดสีดำขนาดใหญ่บริเวณโคนครีบบนหนึ่งจุด คล้ายตา เพื่อใช้หลอกล่อศัตรูให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นดวงตาจริง ๆ ในขณะที่ดวงตาแท้ ๆ มีแถบสีส้มคาดเพื่ออำพรางไม่ให้ดูเด่นกว่าจุดวงกลมสีดำนั้น ปากยื่นยาวและมีขนาดเล็กคล้ายหลอด ใช้สำหรับดูดกินหรือแทะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ ที่อาศัยตามแนวปะการังที่หลบตามซอกหลีบได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วยังสามารถกินดอกไม้ทะเลแก้ว (Aiptasia spp.) ซึ่งเป็นดอกไม้ทะเลขนาดเล็กที่หนวดพิษสามารถทำร้ายปะการังได้ด้วย นับเป็นปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในทะเลชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแนวปะการังของมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก เช่น ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, หมู่เกาะริวกิว จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดเป็นปลาที่ราคาไม่แพง เลี้ยงง่าย แต่ไม่อาจจะฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้เหมือนปลาผีเสื้อชนิดอื่น ๆ ซึ่งผู้เลี้ยงต้องให้กินอาหารสด เช่น ไรทะเลหรือเนื้อหอยชนิดต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นปลาที่ต้องรวบรวมมาจากแหล่งน้ำรรมชาติ ซึ่งในปลาขนาดกลางที่ไม่เล็กไปหรือใหญ่ไป ราว ๆ 2.5-3.5 นิ้ว เป็นขนาดที่กำลังพอดีที่จะนำมาเลี้ยง เพราะปลาจะปรับตัวให้เข้ากับตู้เลี้ยงได้ไม่ยากนัก ไม่ตื่นกลัวเหมือนปลาใหญ่หรืออ่อนแอเกินไปเหมือนปลาขนาดเล็ก อนึ่ง ปลาผีเสื้อนกกระจิบนั้น ในแวดวงของการดำน้ำยังมีการเรียกปนกับปลาผีเสื้อจมูกยาวในสกุลปลาผีเสื้อจมูกยาว ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ปลาผีเสื้อจมูกยาวใหญ่ (Forcipiger longirostris) และปลาผีเสื้อจมูกยาวเหลือง (F. flavissimus) ซึ่งปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีสีสันที่แตกต่างออกจากปลาผีเสื้อนกกระจิบพอสมควร โดยมีสีเหลืองสดเป็นสีพื้นเป็นหลัก.

ใหม่!!: ปะการังและปลาผีเสื้อนกกระจิบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า

ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า หรือชื่อที่นิยมเรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า ปลาบลูแทง (blue tang, regal tang, palette surgeonfish, royal blue tang, hippo tang, flagtail surgeonfish, blue surgeonfish, Pacific regal blue tang) เป็นปลาทะเลที่อาศัยตามแนวปะการังที่มีสีสันสดใส จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จัดอยู่ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล ParacanthurusFroese, Rainer, and Daniel Pauly, eds.

ใหม่!!: ปะการังและปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามกบ

ปลาฉลามกบ หรือ ปลาฉลามปล้องอ้อย (Brownbanded bamboo shark, Banded cat shark) เป็นปลาฉลามขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chiloscyllium punctatum อยู่ในวงศ์ Hemiscylliidae มีลำตัวและหางเรียวยาว จะงอยปากกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง ตามีขนาดเล็ก ครีบหางแฉกบนโค้งเรียวยาวกว่าแฉกล่าง ในลูกปลาวัยอ่อนจะมีลายเป็นแถบสีขาวสลับดำคาดตามขวางลำตัวและจะค่อย ๆ จางลงเมื่อโตขึ้นและกลายเป็นสีน้ำตาลแทน และมีอวัยวะคล้ายหนวดบริเวณส่วนหน้าด้วย จึงได้อีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "ปลาฉลามแมว" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ความยาวที่เคยพบสูงสุด คือ 121 เซนติเมตร พบทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการังในเขตน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์ จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และไทย พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาฉลามที่หากินอยู่บริเวณหน้าดิน มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กินแต่พืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ โดยที่ตัวเมียจะไม่ดูแลไข่ แต่จะวางไข่อยู่บริเวณแนวปะการังที่มีสาหร่ายล้อมรอบอยู่ และสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรงเพื่อปกป้องตัวอ่อน จัดเป็นปลาทะเลอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จากการที่เป็นปลาขนาดเล็กและสีสันที่สวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้เลี้ยง ตั้งแต่ยังเป็นไข่ โดยมีการเพาะฟักจนกลายเป็นปลาวัยอ่อนและนำไปปล่อยคืนสู่ทะเลเพื่อเป็นการอนุรักษ.

ใหม่!!: ปะการังและปลาฉลามกบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือดาว

ำหรับปลาฉลามเสือดาวอีกชนิดหนึ่ง ดูที่ ปลาฉลามเสือดาว (''Triakis semifasciata'') ปลาฉลามเสือดาว (Leopard shark, Zebra shark, Leppard shark) ปลาฉลามชนิดหนึ่งที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegostoma fasciatum อยู่ในวงศ์ Stegostomatidae และถือเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้และสกุล Stegostoma ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวมนกลมสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว ยกเว้นส่วนหัวและหาง จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย บนลำตัวมีสันเป็นเหลี่ยมด้านละสองสัน ผิวหนังหยาบเป็นเม็ด เป็นปลาที่มีไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลามชนิดอื่น ๆ มีอุปนิสัยชอบนอนอยู่นิ่ง ๆ บนพื้นทรายและแนวปะการังใต้ทะเล ในความลึกตั้งแต่ 5-30 เมตร โดยพบในทะเลบริเวณแถบอินโด-แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้เวลาในช่วงกลางวันนอน กลางคืนออกหากิน อาหารได้แก่ สัตว์มีกระดอง และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เมื่อถูกรบกวนจะว่ายหนีไป โดยใช้อวัยวะคล้ายหนวดที่อยู่รอบ ๆ ปลายส่วนหัวซึ่งเป็นอวัยวะใช้รับสัมผัสในการนำทางและหาอาหาร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ โดยจะวางไข่ในเขตน้ำตื้น ลูกปลาขนาดเล็กอาจจะเข้าไปอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำจืด แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยย้ายลงสู่ทะเลลึก ดังนั้นลูกปลาขนาดเล็กจึงมักติดเบ็ดหรืออวนของชาวประมงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งในทางประมงแล้ว ปลาฉลามชนิดนี้ไม่จัดว่าเป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วยังเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และมักพบเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก.

ใหม่!!: ปะการังและปลาฉลามเสือดาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหน้าหมา

ปลาปักเป้าหน้าหมา (Blackspotted puffer, Dog-faced puffer, Brown puffer) เป็นปลาปักเป้าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arothron nigropunctatus ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลำตัวสีน้ำตาลเทา มีจุดสีดำกระจัดกระจายอยู่ทั่วลำตัว มีแต้มสีเข้มรอบ ๆ ปาก จะงอยปากยื่นยาวออกมาดูคล้ายปากของสุนัขหรือหมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 33 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ได้กว้างขวาง ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงหมู่เกาะกลางมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นปลาปักเป้าที่เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไวและไม่ค่อยจะอยู่นิ่ง อาหารหลักของปลาปักเป้าหน้าหมา มิใช่ครัสเตเชียนหรือหอยเหมือนปลาปักเป้าจำพวกอื่น แต่เป็นปะการังในสกุลปะการังเขากวาง (Acropora spp.) สาหร่ายและฟองน้ำชนิดต่าง ๆ เป็นปลาที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว แต่กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำอย่างอื่นเป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามตามบ้านเรือนทั่วไปหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยปกติแล้ว ปลาปักเป้าชนิดนี้มีสีเทา แต่บางตัวจะมีสีที่แปลกไป คือ สีเหลือง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาปักเป้าทอง" ซึ่งสีเหลืองนี้จะมีมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป บางตัวยังมีสีขาวปะปนอยู่เป็นปื้น ๆ อีกด้วย ลักษณะการผิดเพี้ยนของสีสันนี้เป็นลักษณะที่พบได้น้อย ทำให้ปลาปักเป้าหน้าหมาลักษณะนี้มีราคาซื้อขายกันสูงในตลาดค้าปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปะการังและปลาปักเป้าหน้าหมา · ดูเพิ่มเติม »

ปลานกแก้วหัวตัด

ปลานกแก้วหัวตัด (Steephead parrotfish, Indian ocean steephead parrotfish) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลานกแก้ว (Scaridae) มีตัวอ้วนกลม หัวตัดโค้ง ปลายแพนหางบนและล่างแหลมยาว ปลาเพศผู้มีสีเขียวเข้ม แก้มมีสีขาวอมเหลือง หลังตามีแถบสีเขียวเข้ม 3 แถบ ปลาเพศเมียลำตัวด้านบนมีสีเหลืองอมเขียวอกและท้องมีสีส้ม มีฟันและจะงอยปากที่เป็นแผ่นตัดแหลมคม ใช้สำหรับกัดแทะปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร มีขนาดความยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินโดนีเซีย และทะเลอันดามันทางตอนเหนือ มักอาศัยอยู่ในแนวปะการัง ในระดับความลึก 2- 25 เมตร มักหากินอยู่เพียงลำพัง หรืออยู่เป็นคู่ ไม่ค่อยพบอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนปลานกแก้วชนิดอื่น เวลากลางคืนนอนตามพื้นหรือซากปะการัง มีการสร้างเมือกห่อหุ้มตัว เป็นปลานกแก้วชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้บริโภคเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ปะการังและปลานกแก้วหัวตัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไซเชเดลิกา

ปลาไซเชเดลิกา (Psychedelica frogfish, Ambon frogfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Histiophryne psychedelica (/ฮิส-ทิ-โอฟ-ไรน์-ไซ-เช-เด-ลิ-กา/) อยู่ในวงศ์ปลากบ (Antennariidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีลายรอบตัวเหมือนม้าลายสีน้ำตาลไหม้ และสีลูกพีช ซึ่งพาดยาวจากดวงตาสีน้ำเงินไปปลายหาง มีขนาดประมาณกำปั้น ร่างกายปกคลุมด้วยผิวหนังย่น ๆ เป็นวุ้นหนา ๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากปะการังที่แหลมคม มีใบหน้าแบนและดวงตามองตรงหน้าได้ อีกทั้งยังมีปากที่อ้าได้กว้าง ที่มีครีบทั้ง 2 ข้างของลำตัว ที่ใช้คืบคลานไปกับพื้นทะเล หรือกระแทกหรือกระเด้งเหมือนลูกบอลไปกับพื้นทะเล จะกางครีบออกแล้วพ่นน้ำออกจากเหงือก เพื่อส่งตัวเองให้พุ่งไปข้างหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาด พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังบริเวณเกาะอัมบนของอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาชนิดใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบและถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 2009 ถูกจำแนกชนิดออกจากปลาชนิดอื่นในสกุล Histiophryne ด้วยความแตกต่างทางดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ปะการังและปลาไซเชเดลิกา · ดูเพิ่มเติม »

แชมป์ (สัตว์ประหลาด)

วาดของแชมป์โดยเบน เรดฟอร์ด จากภาพถ่ายของแซนดรา แมนซี แชมป์ หรือ แชมปี (Champ, Champy) สิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่าอาศัยอยู่ในทะเลสาบแชมเพลน ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ในนิวอิงแลนด์ ระหว่างรัฐนิวยอร์กและรัฐเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการขนามนามว่าเป็น "ล็อกเนสส์อเมริกา" แชมป์ มีบันทึกว่าพบเห็นครั้งแรกโดย ซามูแอล เดอ แชมเพลน นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งเป็นชื่อทะเลสาบ ในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ปะการังและแชมป์ (สัตว์ประหลาด) · ดูเพิ่มเติม »

แหลมพันวา

แหลมพันวา (cape Panwa) ตั้งอยู่ในเขตตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต บริเวณนั้นมีทิวทัศน์ที่สวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด และยังคงความเป็นธรรมชาติของคนท้องถิ่นไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นที่ตั้งของโครงการก่อสร้างโรงแรมระดับห้าดาวเป็นจำนวนมาก โดยโรงแรมแห่งแรกที่ตั้งอยู่ที่แหลมนี้ คือ โรงแรมเคปพันวา เป็นโรงแรมระดับหรูแห่งแรกของจังหวัดภูเก็ต หาดพันวา ภูเก็ต หาดพันวาเป็นหาดที่อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 15 กิโลเมตร โดยทางเข้าจะเป็นเนินเขาอยู่ทางซ้ายมือ ก่อนถึงพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเล็กน้อย เป็นหาดทรายสีขาว น้ำทะเลสีเขียวมรกต มีต้นมะพร้าวขึ้นอยู่เต็มชายหาด เหมาะแก่การเล่นน้ำ อาบแดด กีฬาทางน้ำเป็นอย่างยิ่ง จุดเด่น - มีแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณใกล้เคียงคือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ - บริเวณหาดเหมาะสำหรับเล่นน้ำ - เม็ดทรายบริเวณหาดมีความขาวและละเอียดมาก - มีแหล่งช็อปปิ้ง ขนาดเล็ก และแพ็คเกจทัวร์ ไว้ค่อยบริการนักท่องเที่ยว จุดด้อย - เป็นหาดที่ต้องผ่านโรงแรมเคปพันวาเข้าไป ดังนั้นต้องเป็นแขกที่พักในโรงแรม จึงสามารถชื่นชมบรรยากาศได้ การเดินทาง สามารถเดินทางจากในเมืองประมาณ 20 นาที โดยใช้เส้นทางมาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยผ่านร้านอาหารเคียงเล และค่ายทหารเรือประมาณ 20 เมตร จะมีซอยยะนุ้ยด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าซอยดังกล่าว ขับตามทางขึ้นเนินสู่โรงแรมเคปพันวา และต้องเดินเท้าโดยผ่านโรงแรมเคปพันวาเข้าสู่หาด แหลมพันวาอยู่ใกล้เคียงกับอ่าวตังเขิน ที่ยังมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ ชายหาดมีแหล่งหญ้าทะเล แนวปะการัง และป่าชายเลน เป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีรายงานการพบพะยูน เมื่อ..

ใหม่!!: ปะการังและแหลมพันวา · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: ปะการังและโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ไทรโลไบต์

ทรโลไบต์ (Trilobite; สามพู) เป็นสัตว์ทะเลที่มีรยางค์เป็นข้อปล้องในไฟลัมอาร์โธรโพดา ในชั้น “ไทรโลไบตา” เริ่มปรากฏครั้งแรกในยุคแคมเบรียนตอนต้นและชุกชุมในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นก่อนที่จะเริ่มต้นลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด โดยระหว่างช่วงเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคดีโวเนียนตอนปลายไทรโลไบต์ทุกอันดับได้สูญพันธุ์ไปยกเว้นแต่เพียงอันดับพรีเอตทิดา และไทรโลไบต์ก็ได้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปทั้งหมดเมื่อสิ้นยุคเพอร์เมียนประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว ไทรโลไบต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางและอาจจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับสองรองจากไดโนเสาร์ เมื่อไทรโลไบต์ได้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของยุคแคมเบรียนก็เกิดการแตกแขนงเผ่าพันธุ์อย่างรวดเร็วและแผ่ขยายแพร่พันธุ์ไปกว้างขวาง เนื่องด้วยความหลากหลายในสายพันธุ์และมีเปลือกกระดองที่ง่ายต่อการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์จึงได้พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้มากกว่า 17,000 ชนิดในช่วงตลอดมหายุคพาลีโอโซอิก ไทรโลไบต์มีความสำคัญในการวิจัยทางด้านการลำดับชั้นหินทางชีวภาพ บรรพชีวินวิทยา และเพลทเทคโทนิก ไทรโลไบต์ถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมอาร์โธรโพดา ไฟลัมย่อยชีสโซราเมีย อยู่ในเหนือชั้นอะราชโนมอร์ฟา (เทียบเคียงได้กับ อะราชนาต้า) แต่ก็พบว่ามีผู้จัดจำแนกที่แตกต่างไปจากนี้ ไทรโลไบต์ต่างชนิดกันก็มีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไป บางกลุ่มก็อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล อาจเป็นนักล่า กินของเน่า หรือดูดกรองอาหารจากน้ำทะเล บางกลุ่มก็ดำรงชีวิตด้วยการว่ายน้ำและกินแพลงตอนเป็นอาหาร การดำรงชีวิตทั้งหลายก็จะคล้ายกับสัตว์ทะเลปัจจุบันที่อยู่ในไฟลั่มนี้ทั้งหลายยกเว้นไม่เป็นพวกพาราสิต ไทรโลไบต์บางกลุ่ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในวงศ์โอลีนิดา) ถูกเข้าใจว่าได้วิวัฒนาการมีความสัมพันธ์แบบซิมไบโอติกกับแบคทีเรียที่กินกำมะถันจากอาหารที่ตนได้รับม.

ใหม่!!: ปะการังและไทรโลไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไนดาเรีย

ฟลัมไนดาเรีย หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอราตา เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา ส่วนใหญ่พบตามชายฝั่งลงไปจนถึงทะเลลึก บางชนิดพบในน้ำจืด กลางลำตัวเป็นท่อกลวง มีอวัยวะคล้ายหนวดหลายเส้น ภายในหนวดนี้มีเข็มพิษจำนวนมาก เมื่อสัมผัสจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองและพิษจากเข็มพิษบางชนิดทำให้สัตว์เป็นอัมพาตได้ สัตว์กลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะพวกปะการัง เสมือนเป็นป่าใต้น้ำ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ที่เจริญเติบโตและหลบภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด สัตว์กลุ่มนี้ บางชนิดจะสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น ไฮดรา ปะการัง และกัลปังหา บางชนิดสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น แมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปะการังและไนดาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เชลิเซอราตา

ฟลัมย่อยเชลิเซอราตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelicerata) หรือ เชลิเซอเรต (Chelicerate) เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธพอดา (Arthropoda) หรือ อาร์โธพอด ถือกำเนิดมาแล้วกว่า 600 ล้านปี ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในไฟลัมย่อยนี้คือ ไม่มีกราม และไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟาโลทอแรกซ์ และส่วนท้อง เซฟาโลทอแรกซ์เป็นส่วนที่รวมส่วนหัวและส่วนอกเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเปลือกแข็งชิ้นเดียวคลุมอยู่เรียก คาราเพช ระยางค์ทั้ง 6 คู่ ประกอบด้วยระยางคู่แรกเป็นระยางค์หนีบ ระยางค์คู่ที่ 2 คือ เพดิพาลพ์ ช่วยในการฉีกอาหาร ระยางค์อีก 4 คู่ เป็นขาเกิน ส่วนท้องไม่มีระยางค์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก.

ใหม่!!: ปะการังและเชลิเซอราตา · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ใหม่!!: ปะการังและเฟิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เพรียงหัวหอม

รียงหัวหอม (Sea squirts) เป็นสัตว์ในกลุ่มยูโรคอร์ดาตา คือ เป็นสัตว์ทะเลมีแกนสันหลัง รูปร่างคล้ายหัวหอม เมื่อถูกสัมผัสจะปล่อยน้ำออกจากตัว มีกลิ่นคล้ายหอมแดง ขนาดประมาณ 3-8 เซนติเมตร อาศัยเกาะกับวัตถุใต้น้ำ อยู่แบบเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ พบตามเขตน้ำตื้น แนวปะการัง โขดหิน ทราย หรือโคลนในทะเล ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดของกบ การสืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศที่ปฏิสนธิภายนอก และแบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ เพรียงหัวหอม แม้จะเป็นสัตว์ที่แลดูคล้ายฟองน้ำ แต่เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าหน้า 66–89, ความงามใต้โลกน้ำแข็ง โดย โลรอง บาเลสต.

ใหม่!!: ปะการังและเพรียงหัวหอม · ดูเพิ่มเติม »

เกาะ

กาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบซารานักล่าง เกาะ (island) เป็นพื้นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ มีขนาดเล็กกว่าทวีป อาจอยู่ในมหาสมุทร ทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ำ เกาะขนาดเล็กเรียกว่า เกาะเล็ก (isle) ซึ่งรวมถึงอะทอลล์ (atoll) หรือ เกาะปะการังวงแหวน และ เกาะปริ่มน้ำ (key หรือ cay) ที่เป็นเกาะขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำ เกาะหลายเกาะที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มเกาะ (archipelago) อาจแบ่งเกาะได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เกาะริมทวีป (continental island) เกาะแม่น้ำ (river island) และ เกาะภูเขาไฟ (volcanic island) นอกจากนี้ยังมีเกาะเทียม (artificial island) ที่สร้างขึ้นโดยมนุษ.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะกระดาน

กาะกระดาน จังหวัดตรัง ได้ชื่อว่า เกาะที่มีชายหาดสวยที่สุดในทะเลตรัง พื้นที่บนเกาะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและส่วนของเอกชน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมที่ 3 (เกาะกระดาน) ทางด้านตะวันออกเป็นสวนยาง สวนมะพร้าว และรีสอร์ทของเอกชน ด้วยความที่อยู่ไกลจากชายฝั่งจึงทำให้เกาะกระดานมีน้ำทะเลเขียวใส มีแนวชายหาดเกือบรอบเกาะเหมาะกับการเล่นน้ำ จึงเคยถูกเลือกให้เป็นสถานที่จัดงานวิวาห์ใต้สมุทรของจังหวัดตรัง เกาะกระดานอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะมุก และเกาะลิบง โดยใช้เวลาเดินทางจากปากเมง ประมาณ 1 ชั่งโมง 40 นาที หรือจากท่าเรือควนตุงกู (เรียกอีกชื่อว่า ท่าเรือเกาะมุกต์) โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 50 นาที.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะกระดาน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะหมาก

กาะหมาก เกาะหมาก เป็นเกาะในจังหวัดตราด อยู่ระหว่าง เกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร มีพื้นที่ 9,000 ไร่ มีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก มีความยาวชายหาด 27 กม.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะหมาก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะตาง

กาะตาง (Koh Tang; ภาษาเขมร: កោះតាង) เป็นเกาะที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของจังหวัดพระสีหนุ ในอ่าวไทย อยู่ห่างจากชายฝั่งกัมพูชาไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 52 กม.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะตาง · ดูเพิ่มเติม »

เกาะต่ำ

นีวเว''เกาะต่ำ''ที่ยกตัวสูงขึ้นจากระดับน้ำทะเล ในทางธรณีวิทยา (รวมถึงในโบราณคดี) เกาะต่ำคือเกาะที่มีแหล่งกำเนิดมาจากปะการัง โดยอาจจะเกิดขึ้นเกิดจากการตกตะกอนหรือการยกตัวและทับทมของพืดหินปะการัง และคำว่าเกาะต่ำนี้เอาไวแยกกลุ่มเกาะเหล่านี้ออกจากเกาะสูงที่จะเกิดจากภูเขาไฟ.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะปริ่มน้ำ

กาะเฮรอน, ออสเตรเลีย เกาะปริ่มน้ำ เป็นเกาะเล็กที่มีทรายกองบนพื้นผิวของแนวปะการังสูงเหนือระดับน้ำทะเลเล็กน้อย สามารถเกิดขึ้นในบริเวณที่มีอากาศร้อนทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแอตแลนติก (รวมทั้งในทะเลแคริบเบียนและแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟและเบลีซแบร์ริเออร์รีฟ).

ใหม่!!: ปะการังและเกาะปริ่มน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนางยวน

กาะนางยวน เกาะนางยวน อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก 3 เกาะซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยสันทรายในลักษณะเหมือนทะเลแหวก เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังอีกแห่งหนึ่ง เกาะนางยวนเป็นสมบัติของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ปัจจุบันถูกเช่าและดำเนินการโดยนางยวน ไอส์แลนด์ ไดว์ รีสอร์ท.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะนางยวน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนาแวสซา

กาะนาแวสซา เกาะนาแวสซา (Navassa Island) หรือ ลานาวาซ (La Navase) เป็นเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลแคริบเบียนอยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกาผ่านองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ (US Fish and Wildlife Service) นอกจากนั้นเฮติได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้เช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะนาแวสซา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะโลซิน

กาะโลซิน (Ko Losin) เป็นเกาะหินปูนขนาดย่อมกลางทะเลอ่าวไทย ขึ้นอยู่กับจังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งดำน้ำและตกปลาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง และเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: ปะการังและเกาะโลซิน · ดูเพิ่มเติม »

เรนโบว์วอร์ริเออร์

รนโบว์วอร์ริเออร์ลำปัจจุบัน เรนโบว์วอร์ริเออร์ลำแรก เรนโบว์วอร์ริเออร์ (Rainbow Warrior, นักรบสายรุ้ง) เป็นชื่อของเรือธงที่ใช้ในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซ โดยใช้เดินทางไปทั่วโลก เพื่อรณรงค์ต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการล่าปลาวาฬ โลมา แมวน้ำ การทิ้งกากนิวเคลียร์วอร์ริเออร์ หรือการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เรนโบว์วอร์ริเออร์ลำปัจจุบันเป็นลำที่สอง โดยลำแรกเป็นเรือประมงสัญชาติสกอตแลนด์ ชื่อ "Sir William Hardy" ต่อขึ้นในปี..

ใหม่!!: ปะการังและเรนโบว์วอร์ริเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดหลุบ

ห็ดหลุบ (Haddon's sea anemone) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกดอกไม้ทะเลหรือซีแอนนีโมนชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบอินโด-แปซิฟิก เห็ดหลุบ เป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนวดสั้น มีชื่อเรียกหนึ่งว่า "พังผืดทะเล" มีพฤติกรรมเหมือนดอกไม้ทะเลทั่วไป คือ จะบานเมื่อปราศจากสิ่งใดมารบกวน หากมีสิ่งรบกวนจะหุบตัวเข้ากับซอกหินที่ใช้เป็นที่เกาะ มีสีต่าง ๆ มากมายหลายสี เช่น สีเหลือง, เขียว, เทา หรือสีปริน ซึ่งเป็นสีที่หายาก ปลายหนวดลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ หากไปสัมผัสถูกเข้าจะเหนียวหนึบขาดติดกับมือมาได้เลย กินอาหารด้วยวิธีการสองวิธี คือ การสังเคราะห์แสงจากสาหร่ายซูแซนแทนลีที่อยู่ในเนื้อเยื่อ และจับเหยื่อเอาจากหนวดซึ่งได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กและปลาวัยอ่อน อาศัยอยู่ตามพื้นทรายและกระจายพันธุ์ไปทั่วน่านน้ำเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของพื้นที่อินโด-แปซิฟิกตั้งแต่มอริเชียส, ฟิจิ, หมู่เกาะริวกิวทางใต้ของญี่ปุ่นไปถึงออสเตรเลีย ในทางชีววิทยาเห็ดหลุบเป็นดอกไม้ทะเลที่เป็นแหล่งที่พักพิงของสัตว์ทะเลหลายชนิด ทั้งปลาการ์ตูน เช่น ปลาการ์ตูนอานม้า (Amphiprion polymnus), ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (A. sebae), ปลาการ์ตูนลายปล้อง (A. clarkii), ปลาการ์ตูนครีบส้ม (A. chrysopterus), ปลาการ์ตูนแนวปะการัง (A. akindynos), ปลาการ์ตูนมอริเทียน (A. chrysogaster) รวมถึงปลาสลิดหินสามจุด (Dascyllus trimaculatus) ในวัยอ่อน และยังมีความสัมพันธ์กับสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ เช่น กุ้งในสกุล Periclimenes, กุ้งชนิด Thor amboinensis หรือกุ้งเซ็กซี่ และปูดอกไม้ทะเล (Neopetrolisthes maculatus) โดยให้เป็นสถานที่หลบภัย ในประเทศไทย เห็ดหลุบยังเป็นอาหารพื้นบ้านของเกาะสมุยหรือเกาะพะงัน ในอ่าวไทย รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง โดยสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะแกงคั่ว มีความกรุบกรอบ นอกจากนี้แล้วเห็ดหลุบยังเป็นที่ต้องการในเชิงการค้าโดยมักมีการลักลอบจับจากทะเลเพื่อนำไปเลี้ยงในตู้ปลาทะเล จึงเป็นสัตว์สงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ปะการังและเห็ดหลุบ · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดทะเล

ห็ดทะเล (Mushroom anemones.) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมไนดาเรียที่อยู่ในอันดับ Corallimorpharia พบอาศัยอยูในแนวปะการังน้ำตื้นของเขตร้อนทั่วโลก มีรูปรางคล้ายดอกไม้ทะเล (Actiniaria) มาก มีแผนปากกลม โดยแผ่นปากจะมีช่องปากอยู่ตรงกลาง และมีฐานสําหรับยึดเกาะ เห็ดทะเลบางชนิดจะมีหนวดที่รอบปากที่สั้นกวาดอกไมทะเลหรือบางชนิดก็ไมมีหนวดรอบปากหรือไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ เห็ดทะเลถูกแยกออกจากดอกไม้ทะเล เพราะเห็ดทะเลมีโครงสรางทางสรีรวิทยาของรางกายคล้ายกับปะการังโครงแข็ง (Scleractinia) มากกวาดอกไม้ทะเล แตอยางไรก็ตามเห็ดทะเลไมสามารถสร้างโครงสร้างของรางกายที่เปนหินปูนไดเหมือนกับปะการังโครงแข็ง ดังนั้นนักอนุกรมวิธานจึงแยกเห็ดทะเลไว้ในอันดับ Corallimorpharia เห็ดทะเลอาศัยและเจริญเติบโตบนก้อนหินหรือซากปะการังที่ตายแล้ว เป็นการดำรงชีวิตอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย หรืออาจมีการเคลื่อนที่เล็กน้อยเพื่อความ อยู่รอดและการขยายพันธุ์ ในเนื้อเยื่อตามร่างกายของเห็ดทะเลจะมีสาหร่ายเซลล์เดียว คือ ซูแซนทาลี อาศัยอยู่และเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพา เห็ดทะเลจะได้รับสารอาหารจากการสังเคราะห์แสงของซูแซนทาลีเป็นหลัก บางครั้งพบว่าซูแซนทาลีที่เจริญเติบโตมีจำนวนมากเกินไปเห็ดทะเลก็สามารถกรองกินซูแซนทาลีได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น นอกจากนี้เห็ดทะเลบางชนิดยังสามารถจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกินเป็นอาหารเช่น ลูกกุ้ง, ลูกปลา ซึ่งเป็นการกินอาหารอาหารของเห็ดทะเลอีกวิธีหนึ่ง เห็ดทะเลมีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้ดีมาก ส่วนมากที่พบคือการแตกหน่อ เห็ดทะเลจะใช้ฐานเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากตำแหน่งเดิมแต่จะทิ้งเนื้อเยื้อส่วนหนึ่งไว้เล็กน้อย เนื้อเยื่อเหล่านี้จะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นเห็ดทะเลตัวใหม่ได้ พบว่าเห็ดทะเลบางชนิดที่มีความสมบูรณ์สามารถแตกหน่อได้ถึง 5–6 หน่อในระยะเวลา 1 ปี อีกวิธีหนึ่งที่พบเห็นทั่วไป คือ เห็ดทะเลจะปล่อยตัวเองออกจากวัสดุยึดเกาะ และล่องลอยไปกับกระแสน้ำเมื่อไปตกในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เห็ดทะเลเหล่านั้นจะสามารถเจริญเติบโตต่อไป เห็ดทะเลมีสีสันสวยงาม และรูปร่างแปลกตา กอรปกับไม่ได้เป็นสัตว์ที่อยู่ในรายชื่อพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า จึงนิยมในการเก็บจากธรรมชาติเพื่อมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาทะเล ซึ่งปัจจุบันทางกรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์เห็ดทะเลเป็นที่สำเร็จได้แล้ว.

ใหม่!!: ปะการังและเห็ดทะเล · ดูเพิ่มเติม »

เอปตาเซีย

อปตาเซีย หรือ ดอกไม้ทะเลแก้ว หรือ แอนนีโมนแก้ว (Glass anemones, Glassrose anemones, Rock anemones) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกดอกไม้ทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aiptasia จากการสำรวจเมื่อปี ค.ศ. 1831 พบว่าเอปตาเซียมีจำนวนทั้งหมด 17 ชนิด โดยสามารถพบได้ทั่วไปในทะเลเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนทั่วไป จำนวนชนิดของเอปตาเซียส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ขณะที่ด้านมหาสมุทรแปซิฟิกมี 2 ชนิด คือ Aiptasia californica และA. pulchella ที่พบได้เฉพาะมหาสมุทรแห่งนี้ เอปตาเซียมีลักษณะทางกายวิภาค คือ มีรูปร่างคล้ายต้นปาล์ม เจริญเป็นตัวเดี่ยว ๆ หรืออาจพบเจริญเป็นกลุ่ม แต่จะไม่มีเนื้อเยื่อเชื่่อมถึงกันเหมือนกับปะการัง เนื้อเยื่อทั้งตัวของเอปตาเซียเรียกว่า โพลิป ซึ่งในโพลิปจะประกอบด้ว.

ใหม่!!: ปะการังและเอปตาเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เต่ากระ

ต่ากระ หรือ เต่าปากเหยี่ยว (Hawksbill sea turtle) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลาน และเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Eretmochelys มีลักษณะคล้ายเต่าตนุ (Chelonia mydas) โดยที่เป็นเต่าทะเลขนาดกลาง มีลำตัวไม่ใหญ่มากนัก จะงอยปากแหลมงองุ้มคล้ายกับจะงอยปากของนกเหยี่ยว มีเกล็ดบริเวณหัวด้านหน้า 2 คู่ และเกล็ดบริเวณด้านข้างข้างละ 4 เกล็ด ลักษณะของกระดองมีลวดลายและสีสันสวยงาม ขอบกระดองเป็นหยักโดยรอบ ซึ่งในอดีตมักจะถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับและข้าวของต่าง ๆ เช่น หวี เมื่อโตเต็มที่ จะมีขนาดความยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม เต่ากระพบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นในมหาสมุทรทั่วทั้งโลก โดยมักอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งที่สงบเงียบไม่มีการรบกวน จากการศึกษาพบว่า เต่ากระกินทั้งได้พืชและสัตว์ โดยใช้ปากที่งองุ้มนี้กินทั้งสาหร่ายทะเล, หญ้าทะเล รวมทั้งสัตว์น้ำประเภทต่าง ๆ รวมถึงปะการังด้วย วางไข่บนชายหาดครั้งละ 150-250 ฟอง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และจัดเป็น 1 ใน 4 ชนิดของเต่าทะเลที่พบได้ในน่านน้ำไท.

ใหม่!!: ปะการังและเต่ากระ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Coralกะรัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »