โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก

ดัชนี ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก

ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาสเตอร์เจียนขาว (Pacific sturgeon, White sturgeon; หมายถึง "ปลาสเตอร์เจียนที่ใหญ่กว่าภูเขา") เป็นปลาสเตอร์เจียนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาสเตอร์เจียนชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในเขตน้ำเย็นของชายฝั่งอ่าวมอนเทอเรย์ของทวีปอเมริกาเหนือ หมู่เกาะอาลิวเชียน ทะเลสาบอิลลิแอมนาในรัฐอะแลสกา แม่น้ำโคลอมเบียในแคนาดา ไปจนถึงแคลิฟอร์เนียตอนกลาง ใต้ส่วนหัวมีหนวดใช้สำหรับสัมผัสหาอาหารใต้น้ำเป็นอาหาร 4 เส้น กินอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กทั่วไป และสัตว์น้ำมีกระดอง เช่น ปู กุ้ง และหอย ส่วนหัวมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก ข้างลำตัว ส่วนหัว และส่วนหลังมีกระดูกยื่นออกมาโดยรอบใช้สำหรับป้องกันตัว จัดเป็นปลาสองน้ำจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบ หรือบริเวณปากแม่น้ำในวัยอ่อน แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพลงสู่ทะเลบริเวณชายฝั่ง และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืดอีกครั้ง ปลาสเตอร์เจียนขาวนับเป็นปลาสเตอร์เจียนที่มีความใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ ปลาสเตอร์เจียนฮูโซ่ (Huso huso) และนับเป็นปลาสเตอร์เจียนที่มีความใหญ่ที่สุดที่อยู่ในสกุล Acipenser ด้วย โดยเคยมีบันทึกไว้ว่าตัวที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 20 ฟุต และน้ำหนักถึง 816 กิโลกรัม เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้นานถึง 200 ปี จัดเป็นปลาเศรษฐกิจและนิยมตกกันเป็นเกมกีฬา นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนขาวยังสามารถกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วยเมื่อตกใจ ทั้ง ๆ ที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เรือของชาวประมงและชาวพื้นเมืองอับปาง และมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ จึงทำให้ได้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสัตว์ประหลาดแห่งทะเลสาบอิลลิแอมนา โดยที่ชาวพื้นเมืองมีความเชื่อหากได้พบเจอกับสัตว์ประหลาดตัวนี้แล้วจะพบกับความหายน.

3 ความสัมพันธ์: ทะเลสาบอิลิแอมนาปลาสเตอร์เจียนปลาสเตอร์เจียนใหญ่

ทะเลสาบอิลิแอมนา

ฝั่งทะเลสาบอิลิแอมนา ทะเลสาบอิลิแอมนา (Iliamna Lake, Lake Iliamna) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลสาบอิลิแอมนาตั้งอยู่ในทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐอะแลสกา ทางเหนือจรดคาบสมุทรอะแลสกา ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวควีแจ็กกับเวิ้งคุก ทะเลสาบอิลิแอมนา เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในอะแลสกา และถือเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่เป็นอันดับแปดของสหรัฐอเมริกา และเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของทวีปอเมริกาเหนือ พื้นที่ทะเลสาบครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,000 ตารางไมล์ มีความยาว 77 ไมล์ ความกว้าง 22 ไมล์ และจุดที่ลึกที่สุดลึกถึง 1,000 ฟุต โดยเฉลี่ยน้ำในทะเลสาบจะมีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาฟาเรนไฮต์ (10 องศาเซลเซียส) ได้รับน้ำจากแม่น้ำควีแจ็ก และไหลออกสู่อ่าวบริสตอล คำว่า "อิลิแอมนา" มีความหมายว่า "ทะเลสาบปลาดำ" รอบ ๆ ทะเลสาบเป็นถิ่นที่อยู่ชนพื้นเมืองอะแลสกามานานกว่า 7,000 ปี โดยพื้นที่นี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและสัตว์น้ำนานาชนิด เช่น หมีกริซลีย์, ปลาแซลมอนซ็อกอาย เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นไม่กี่แห่งในโลกที่พบแมวน้ำน้ำจืดอยู่ด้วย โดยแมวน้ำจะว่ายมาจากทะเลมาทางอ่าวบริสตอล รวมทั้งอาจพบวาฬเบลูกา หรือวาฬขาวว่ายเข้ามาได้ด้วย ชนพื้นเมืองอะแลสกา มีความเชื่อว่า ณ ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่ของสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ ที่ลำตัวใหญ่พอที่จะชนเรือให้จม และทำให้ผู้คนจมน้ำตายได้ ซึ่งถ้าหากใครพบเจอสัตว์ประหลาดจะพบกับความอัปมงคลหรือถึงแก่ชีวิตในไม่ช้า ซึ่งมีผู้เคยตกปลา ณ ทะเลสาบแห่งนี้ ผูกสายเบ็ดของตนไว้กับตอไม้ขนาดใหญ่ ปรากฏว่า เมื่อปลาติดเบ็ดมันลากตอไม้นั้นทั้งตอลงในน้ำในแบบที่ทวนกระแสน้ำ รวมถึงมีผู้ที่เคยมองเห็นเงาดำของสัตว์ในน้ำขนาดใหญ่ เมื่อมองจากเครื่องบินด้วย ซึ่งสัตว์ประหลาดในทะเลสาบอิลิแอมนานี้ เชื่อว่า คือ ปลาไพก์เหนือ ซึ่งเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่มีฟันแหลมคมในปาก ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ และปลาสเตอร์เจียนขาว ซึ่งเป็นปลาสองน้ำขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ที่เมื่อโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 20 ฟุต ก็อาศัยอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้Alaskan Horror, "River Monsters" สารคดีทางแอนิมอลแพลเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556.

ใหม่!!: ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิกและทะเลสาบอิลิแอมนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียน

ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon, Oсетр, 鱘) ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่ในวงศ์ Acipenseridae ในอันดับ Acipenseriformes อาศัยได้อยู่ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เมื่อยังเล็กจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบหรือตามปากแม่น้ำ แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพสลงสู่ทะเลใหญ่ และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืด ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านใต้ของลำตัว เพราะฉะนั้นหนวดเหล่านี้มีหน้าที่เหมือนมือที่คอยสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ข้างใต้ของตัวเอง หากินตามพื้นน้ำโดยอาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ สเตอร์เจียนจะพบแต่เฉพาะซีกโลกทางเหนือซึ่งเป็นเขตหนาวเท่านั้น ได้แก่ ทวีปเอเชียตอนเหนือและตะวันออก, ทวีปยุโรปตอนเหนือ และทวีปอเมริกาเหนือตอนบน เช่น อะแลสกา, แคนาดา และบางส่วนในสหรัฐอเมริกา สถานะปัจจุบันของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์เต็มที แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปลาสเตอร์เจียน มีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 3 สกุล โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลาฮูโซ่ (Huso huso) พบในรัสเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 900 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวถึง 210 ปี นับเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก เท่าที่มีการบันทึกมา และเป็นชนิดที่ให้ไข่รสชาติดีที่สุดและแพงที่สุดด้วย ส่วนชนิดที่เล็กที่สุดคือ ปลาสเตอร์เจียนแคระ (Pseudoscaphirhynchus hermanni) ที่โตเต็มที่มีขนาดไม่ถึง 1 ฟุตเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ในประเทศไทย ปลาสเตอร์เจียนชนิด ปลาสเตอร์เจียนไซบีเรีย (Acipenser baerii) ได้มีการทดลองเลี้ยงในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยคำ อันเป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อำเภอเวียงแหง ที่หน่วยวิจัยประมงบนพื้นที่สูงดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการทดลองเป็นไปได้อย่างดี.

ใหม่!!: ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิกและปลาสเตอร์เจียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียนใหญ่

ปลาสเตอร์เจียนใหญ่ (Greater sturgeons) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ จำพวกปลาสเตอร์เจียน (Acipenseridae) ในสกุล Acipenser (/อะ-ซิ-เพน-เซอร์/).

ใหม่!!: ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิกและปลาสเตอร์เจียนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Acipenser transmontanusปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »