โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บิต

ดัชนี บิต

ต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลและทฤษฎีข้อมูล ข้อมูลหนึ่งบิต มีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ.

55 ความสัมพันธ์: บลูทูธบล็อกเชนบิตคอยน์บิตเครื่องหมายชนิดข้อมูลแบบบูลฟลิปฟล็อปพีชคณิตแบบบูลกระแสข้อมูลบิตกรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอสการกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดาการยกกำลังการตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวางการเลื่อนวนการเข้ารหัสฮัฟฟ์แมนกูกอลภาวะคู่หรือคี่รหัสเครื่องลอการิทึมลายน้ำดิจิทัลหอดูดาวอาเรซีโบหน่วยอัตราข้อมูลหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัตออโตสเตอริโอแกรมอัตราบิตอันดับของขนาด (ข้อมูล)ฮาร์ดดิสก์จำนวนจริงทฤษฎีสารสนเทศทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณขั้นตอนวิธี Schonhage-Strassenข้อความอาเรซีโบดีดีอาร์ เอสดีแรมคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)ตัวทดต้นไม้แดงดำแบบจำลองโอเอสไอแฟมิคอมแพริตีบิตแรมแอสกีแผ่นซีดีเพลย์สเตชัน 3เมกะเลขฐานสองเลขฐานสิบหกเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองเลขที่อยู่ไอพีเลขโดดเวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ)...เหตุผลวิบัติของนักการพนันเอ็นเคสเทระWindows-12514 ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

บลูทูธ

ลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูธช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ ที่มาของชื่อบลูทูธนั้นนำมาจากพระนามพระเจ้าฮาราลด์ บลูทูท (King Harald Bluetooth) ของประเทศเดนมาร์ก เพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ Bluetooth ผู้ปกครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และระบบ Bluetooth นี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ และเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: บิตและบลูทูธ · ดูเพิ่มเติม »

บล็อกเชน

แผนภาพของบล็อกเชน (หรือโซ่บล็อก) สายโซ่หลักมีบล็อกต่อกันยาวสุดตั้งแต่บล็อกเริ่มต้น (สีเขียว) จนถึงบล็อกปัจจุบัน บล็อกกำพร้า (สีม่วง) จะอยู่นอกโซ่หลัก บล็อกเชน#timestamping block for bitcoin --> บล็อกเชน (blockchain) หรือว่า โซ่บล็อก ซึ่งคำอังกฤษดั้งเดิมเป็นคำสองคำคือ block chain เป็นรายการระเบียน/บันทึก (record) ที่เพิ่มขึ้น/ยาวขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละรายการเรียกว่า บล็อก ซึ่งนำมาเชื่อมต่อเป็นลูกโซ่ (เชน) โดยตรวจสอบความถูกต้องและรับประกันความปลอดภัยโดยวิทยาการเข้ารหัสลับ บล็อกแต่ละบล็อกปกติจะมีค่าแฮชของบล็อกก่อนหน้าซึ่งสามารถใช้ยืนยันความถูกต้องของบล็อกก่อนหน้า มีตราเวลาและข้อมูลธุรกรรม บล็อกเชนออกแบบให้ทนทานต่อการเปลี่ยนข้อมูลที่บันทึกแล้ว คือมันเป็น "บัญชีแยกประเภท (ledger) แบบกระจายและเปิด ที่สามารถบันทึกธุรกรรมระหว่างบุคคลสองพวกอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่ยืนยันได้และถาวร" เมื่อใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนปกติจะจัดการโดยเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ ซึ่งร่วมกันใช้โพรโทคอลเดียวกันเพื่อการสื่อสารระหว่างสถานี (node) และเพื่อยืนยันความถูกต้องของบล็อกใหม่ ๆ เมื่อบันทึกแล้ว ข้อมูลในบล็อกใดบล็อกหนึ่ง จะไม่สามารถเปลี่ยนย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนข้อมูลในบล็อกต่อ ๆ มาทั้งหมดด้วย ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้การร่วมมือจากสถานีโดยมากในเครือข่าย บล็อกเชนออกแบบมาตั้งแต่ต้นเพื่อให้ปลอดภัย (secure by design) และเป็นตัวอย่างของระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจายที่ทนต่อความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ได้สูง ดังนั้น ความเห็นพ้องแบบไม่รวมศูนย์ จึงเกิดได้โดยอาศัยบล็อกเชน ซึ่งอาจทำให้มันเหมาะเพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ, บันทึกระเบียนการแพทย์, ในการจัดการบริหารระเบียนแบบอื่น ๆ เช่น การจัดการผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบ (identity management), การประมวลผลธุรกรรม, การสร้างเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ, การตามรอยการผลิตและขนส่งอาหาร, หรือการใช้สิทธิออกเสียง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝง ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ประดิษฐ์บล็อกเชนขึ้นในปี 2008 (พ.ศ. 2551) เพื่อใช้กับเงินคริปโทสกุลบิตคอยน์ โดยเป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนทำให้บิตคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่แก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (Double spending problem) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามซึ่งเชื่อใจหรือมีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เป็นการออกแบบซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำหรับโปรแกรมประยุกต์อีกมากมายหลายอย่าง ในกรณีของบิตคอยน์ ผู้ใช้งานจะทำการโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถซื้อขายและยืนยันการใช้จ่ายบิตคอยน์ โดยจะมีการสร้างบล็อกขึ้นใหม่เพื่อเก็บรายการการซื้อขายแลกเปลี่ยน ในอัตราประมาณหนึ่งบล็อกต่อ 10 นาที และแต่ละบล็อกจะมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ยมากกว่า 500 รายการ.

ใหม่!!: บิตและบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

บิตคอยน์

ตคอยน์ (Bitcoin) เป็นเงินตราแบบดิจิทัล (cryptocurrency) และเป็นระบบการชำระเงินที่ใช้กันทั่วโลก บิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้คุมระบบแม้แต่คนเดียว เครือข่ายเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ และการซื้อขายเกิดขึ้นระหว่างจุดต่อเครือข่าย (network node)โดยตรง ผ่านการใช้วิทยาการเข้ารหัสลับและไม่มีสื่อกลาง การซื้อขายเหล่านี้ถูกตรวจสอบโดยรายการเดินบัญชีแบบสาธารณะที่เรียกว่าบล็อกเชน บิตคอยน์ถูกพัฒนาโดยคนหรือกลุ่มคนภายใต้นามแฝง "ซาโตชิ นากาโมโตะ" และถูกเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี..

ใหม่!!: บิตและบิตคอยน์ · ดูเพิ่มเติม »

บิตเครื่องหมาย

ตเครื่องหมาย (sign bit) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์หมายถึง บิตหนึ่งบิตในการแทนจำนวนมีเครื่องหมายที่ใช้แสดง "เครื่องหมาย" (ความเป็นบวกหรือลบ) ของจำนวนหนึ่ง ๆ เฉพาะชนิดข้อมูลตัวเลขแบบมีเครื่องหมาย (signed) เท่านั้นที่จะมีบิตเครื่องหมาย และมักจะถูกวางไว้ทางซ้ายสุด ซึ่งถัดจากบิตเครื่องหมายก็จะเป็นบิตนัยสำคัญมากสุด (most significant bit) ของจำนวนแบบไม่มีเครื่องหมาย (unsigned) จำนวนจุดลอยตัวในรูปแบบไอทริปเพิลอีนั้นมีเครื่องหมายเสมอ และบิตเครื่องหมายก็อยู่ในตำแหน่งซ้ายสุดเช่นกัน โดยทั่วไปถ้าบิตเครื่องหมายเป็น 1 หมายความว่าจำนวนนั้นเป็นจำนวนลบ (สำหรับจำนวนเต็มแบบส่วนเติมเต็มสอง) หรือจำนวนไม่เป็นบวก (สำหรับจำนวนเต็มแบบส่วนเติมเต็มหนึ่ง จำนวนเต็มแบบเครื่องหมายกับขนาด และจำนวนจุดลอยตัว) ถ้าเป็น 0 หมายถึงจำนวนไม่เป็นลบ ในการแทนจำนวนแบบส่วนเติมเต็มสองนั้น บิตเครื่องหมายมีค่าน้ำหนัก (ค่าประจำหลัก) เท่ากับ −2w−1 เมื่อ w คือจำนวนบิตทั้งหมด ในการแทนจำนวนแบบส่วนเติมเต็มหนึ่งนั้น ค่าลบที่น้อยที่สุดคือ 1 − 2w−1 แต่มีการแทนค่าศูนย์ถึงสองแบบคือ +0 กับ −0 และในการแทนจำนวนแบบเครื่องหมายกับขนาด (sign-and-magnitude) บิตเครื่องหมายมีหน้าที่เพียงบอกว่าจำนวนนั้นเป็นบวกหรือลบ เมื่อบวกจำนวน 8 บิตเข้ากับจำนวน 16 บิตโดยใช้เลขคณิตมีเครื่องหมาย หน่วยประมวลผลกลางจะถ่ายทอดบิตเครื่องหมายผ่านครึ่งอันดับสูงของเรจิสเตอร์ 16 บิตที่เก็บจำนวน 8 บิตอยู่นั้น กระบวนการดังกล่าวเรียกว่าการขยายเครื่องหมาย (sign extension) หรือการถ่ายทอดเครื่องหมาย (sign propagation) กระบวนการขยายเครื่องหมายจะนำมาใช้ เมื่อใดก็ตามที่ชนิดข้อมูลมีเครื่องหมายที่เล็กกว่าจำเป็นต้องแปลงเป็นชนิดข้อมูลมีเครื่องหมายที่ใหญ่กว่า ในขณะที่ยังคงค่าตัวเลขเดิมเอาไว้.

ใหม่!!: บิตและบิตเครื่องหมาย · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดข้อมูลแบบบูล

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชนิดข้อมูลแบบบูล (Boolean data type) หรือ ชนิดข้อมูลแบบตรรกะ เป็นชนิดข้อมูลแบบหนึ่ง เก็บค่าได้เพียง 2 ค่าคือ ค่าจริงและค่าเท็จ ใช้ในการเก็บค่าความจริงและดำเนินการแบบพีชคณิตบูลีน ชื่อบูลนี้มาจากจอร์จ บูลซึ่งได้นิยามระบบพีชคณิตบูลีนขึ้น.

ใหม่!!: บิตและชนิดข้อมูลแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

ฟลิปฟล็อป

''R1, R2''.

ใหม่!!: บิตและฟลิปฟล็อป · ดูเพิ่มเติม »

พีชคณิตแบบบูล

ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พีชคณิตแบบบูล, พีชคณิตบูลีน หรือ แลตทิซแบบบูล (Boolean algebra) คือโครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต โดยชื่อพีชคณิตแบบบูลนั้นตั้งตามจอร์จ บูล ผู้พัฒนาพีชคณิตแบบนี้.

ใหม่!!: บิตและพีชคณิตแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

กระแสข้อมูลบิต

กระแสข้อมูลบิต (bit stream, bitstream) คือข้อมูลบิตจำนวนหนึ่งที่ส่งผ่านไปตามอนุกรมเวลาหรือตามลำดับ มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในทางโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ เช่นลำดับชั้นดิจิทัลแบบประสานเวลา (Synchronous Digital Hierarchy: SDH) จะส่งข้อมูลบิตโดยประสานเวลาให้พร้อมกัน นอกจากนี้กระแสข้อมูลไบต์ คือกระแสข้อมูลบิตที่ถูกจัดกลุ่มให้เป็นไบต์ ซึ่งโดยปกติคือ 8 บิต อาจจัดได้ว่าเป็นกรณีพิเศษของกระแสข้อมูลบิต เมื่อกระแสข้อมูลบิตถูกบันทึกลงบนสื่อสำรองข้อมูลของคอมพิวเตอร์ กระแสข้อมูลบิตจะกลายเป็นไฟล.

ใหม่!!: บิตและกระแสข้อมูลบิต · ดูเพิ่มเติม »

กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส

deadurl.

ใหม่!!: บิตและกรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส · ดูเพิ่มเติม »

การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา

ในทฤษฎีจำนวนนั้น การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา (General number field sieve: GNFS) เป็น วิธีการในการแยกตัวประกอบจำนวนเต็มที่มีขนาดใหญ่ (มีตัวประกอบ 100 ตัวขึ้นไป) ได้เร็วที่สุด มักจะใช้กับเลขที่มีจำนวนมากกว่า 110 บิท โดยนำไปใช้ในการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร (Public-key cryptography) ซึ่งเป็นขั้นตอนวิธีที่เหมาะสำหรับลายเซ็นดิจิตอลรวมทั้งการเข้ารหัสที่มีความปลอดภัย การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา นั้นมีเป้าหมายเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของที่มา, ข้อมูล และทฤษฎี ให้ผู้อ่านที่มีความเข้าใจในด้านต่างๆ เข้าใจและได้ข้อสรุปตรงกันและร่วมกันยกระดับพื้นฐานของวิธีการนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย จะเห็นได้ว่า การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดานั้นมีความสำคัญอย่างมากในการรับส่งข้อความที่เป็นความลับ จึงเป็นสิ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นตัวขั้นตอนการทำงาน ผลลัพธ์จากหลากหลายขอบเขตของคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์, ทฤษฎีเลขพีชคณิต, สมการเชิงเส้น, ค่าจำนวนจริง และการวิเคราะห์เชิงซ้อน.

ใหม่!!: บิตและการกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

การยกกำลัง

้าx+1ส่วนx.

ใหม่!!: บิตและการยกกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวาง

ในทางโทรคมนาคม การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวาง (transverse redundancy check: TRC) หรือ การตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนแนวตั้ง (vertical redundancy check: VRC) คือการตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนสำหรับกระแสข้อมูลบิตคู่ขนานที่มาพร้อมกัน โดยสร้างบิตตรวจสอบขึ้นมาหนึ่งครั้งต่อบิตคู่ขนานหนึ่งชุด จึงจำเป็นที่จะต้องมีช่องสัญญาณคู่ขนานเพิ่มสำหรับการส่งบิตตรวจสอบนี้ไปกับกระแสข้อมูล คำนี้อาจหมายถึงการใช้แพริตีบิตหลักเดียว หรืออาจหมายถึงรหัสอื่นที่ใหญ่กว่าเช่นรหัสแฮมมิง (Hamming code) หมวดหมู่:การตรวจหาและแก้ความผิดพลาด.

ใหม่!!: บิตและการตรวจสอบด้วยส่วนซ้ำซ้อนตามขวาง · ดูเพิ่มเติม »

การเลื่อนวน

การเลื่อนวนทางซ้ายหนึ่งบิต การเลื่อนวนทางขวาหนึ่งบิต ในทางคณิตศาสตร์เชิงการจัด การเลื่อนวน (circular/cycle/cyclic shift) คือการเรียงสับเปลี่ยนของ n สิ่งอันดับ ที่ซึ่งสมาชิกสุดท้ายจะกลายเป็นสมาชิกแรก หรือสมาชิกแรกกลายเป็นสมาชิกสุดท้าย แล้วสมาชิกอื่นๆ จะถูกเลื่อนไปแทนที่โดยไม่สลับกัน เปรียบได้กับการเรียงสับเปลี่ยนที่มีการวนรอบ ตัวอย่างเช่น การเลื่อนวนของสามสิ่งอันดับ (a, b, c) ได้แก.

ใหม่!!: บิตและการเลื่อนวน · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสฮัฟฟ์แมน

"รหัสไร้ส่วนนำ" รหัสฮัฟแมน (Huffman code) เป็นการเข้ารหัสประเภทเอนโทรปี เพื่อใช้ในการบีบอัดข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูล.

ใหม่!!: บิตและการเข้ารหัสฮัฟฟ์แมน · ดูเพิ่มเติม »

กูกอล

กูกอล (อังกฤษ: googol) หมายถึง จำนวนมหาศาล (large number) จำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ 10100 นั่นคือมีเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีก 100 ตัวในเลขฐานสิบ หรือเท่ากับ 10,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000 คำนี้ถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดยเด็กอายุ 9 ขวบชื่อว่า มิลทัน ซิรอตทา (Milton Sirotta) หลานชายของนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน เอดเวิร์ด แคสเนอร์ (Edward Kasner) ซึ่งแคสเนอร์เป็นคนเสนอแนวความคิดนี้ให้เป็นที่รู้จักในหนังสือ Mathematics and the Imagination (คณิตศาสตร์กับจินตนาการ) กูกอลมีอันดับของปริมาณ (order of magnitude) เท่ากับแฟกทอเรียลของ 70 (70! ≈ 1.198 กูกอล ≈ 10100.0784) และตัวประกอบเฉพาะของกูกอลก็มีเพียง 2 กับ 5 เป็นจำนวน 100 คู่ สำหรับเลขฐานสองต้องใช้ถึง 333 บิตในการบันทึกค่านี้ กูกอลมักไม่มีนัยสำคัญในทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ แต่ก็อาจมีประโยชน์เมื่อใช้เปรียบเทียบกับปริมาณมหาศาลอื่นๆ เช่น จำนวนอนุภาคภายในอะตอมในเอกภพที่มองเห็น หรือจำนวนความน่าจะเป็นทั้งหมดของการเล่นหมากรุก แคสเนอร์สร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างจำนวนมหาศาลกับอนันต์ กูเกิล (Google) ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต ได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อของจำนวนนี้ แลร์รี เพจ (Larry Page) หนึ่งในผู้ก่อตั้งกูเกิลกล่าวว่า เขาหลงใหลในคณิตศาสตร์และจำนวนกูกอล แต่เขาก็ตั้งชื่อเว็บไซต์เป็น "กูเกิล" ด้วยเหตุที่ว่าเขาสะกดชื่อผ.

ใหม่!!: บิตและกูกอล · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะคู่หรือคี่

วะคู่หรือคี่ (parity) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: บิตและภาวะคู่หรือคี่ · ดูเพิ่มเติม »

รหัสเครื่อง

อภาพแสดงรหัสเครื่องในคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว W65C816S แสดงการทำย้อนกลับเป็นรหัสแอสเซมบลี พร้อมด้วยเรจิสเตอร์ของหน่วยประมวลผล และข้อมูลเทออกจากหน่วยความจำ รหัสเครื่อง หรือ ภาษาเครื่อง คือกลุ่มของคำสั่งเครื่องที่กระทำการโดยตรงโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเครื่องแต่ละคำสั่งจะปฏิบัติงานเฉพาะกิจงานเดียวเท่านั้น เช่นการบรรจุ (load) การกระโดด (jump) หรือการดำเนินการผ่านหน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU) บนหน่วยของข้อมูลในหน่วยความจำหรือเรจิสเตอร์ ทุก ๆ โปรแกรมที่กระทำการโดยหน่วยประมวลผลกลางสร้างขึ้นจากอนุกรมของคำสั่งเครื่องเช่นว่านั้น รหัสเครื่องเชิงตัวเลข (ซึ่งไม่ใช่รหัสแอสเซมบลี) อาจพิจารณาได้ว่าเป็นตัวแทนระดับต่ำสุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้คอมไพล์และ/หรือเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี หรือเป็นภาษาโปรแกรมแบบดั้งเดิมและขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถึงแม้ว่าเราจะสามารถเขียนโปรแกรมด้วยรหัสเครื่องเชิงตัวเลขโดยตรงก็ได้ แต่การจัดการบิตต่าง ๆ เป็นเอกเทศ และการคำนวณตำแหน่งที่อยู่กับค่าคงตัวเชิงตัวเลขด้วยมือ จะทำให้น่าเบื่อหน่ายและมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาด ดังนั้นการเขียนรหัสเครื่องจึงไม่ค่อยกระทำกันในทุกวันนี้ เว้นแต่ในสถานการณ์ที่ต้องการทำให้เหมาะสมอย่างที่สุดหรือแก้จุดบกพร่อง ปัจจุบันนี้โปรแกรมเกือบทั้งหมดในทางปฏิบัติเขียนขึ้นด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาระดับสูงกว่า แล้วแปลเป็นรหัสเครื่องที่กระทำการได้โดยคอมไพเลอร์และ/หรือแอสเซมเบลอร์ กับลิงเกอร์ อย่างไรก็ดี โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาที่แปลด้วยอินเทอร์พรีเตอร์จะไม่ถูกแปลเป็นรหัสเครื่อง ถึงแม้ว่าอินเทอร์พรีเตอร์ (ซึ่งอาจเห็นเป็นชื่อ ตัวกระทำการ หรือ ตัวประมวลผล) โดยทั่วไปประกอบขึ้นจากรหัสเครื่องที่กระทำการได้โดยตรง.

ใหม่!!: บิตและรหัสเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ลอการิทึม

ีม่วงคือฐาน 1.7 กราฟทุกเส้นผ่านจุด (1, 0) เนื่องจากจำนวนใด ๆ ที่ไม่เป็นศูนย์ เมื่อยกกำลัง 0 แล้วได้ 1 และกราฟทุกเส้นผ่านจุด (''b'', 1) สำหรับฐาน ''b'' เพราะว่าจำนวนใด ๆ ยกกำลัง 1 แล้วได้ค่าเดิม เส้นโค้งทางซ้ายเข้าใกล้แกน ''y'' แต่ไม่ตัดกับแกน ''y'' เพราะมีภาวะเอกฐานอยู่ที่ ''x''.

ใหม่!!: บิตและลอการิทึม · ดูเพิ่มเติม »

ลายน้ำดิจิทัล

ลายน้ำดิจิทัล (digital watermarking) เป็นวิธีการแอบแทรกข้อมูล เช่น ข้อความสงวนสิทธิ์ หรือ ข้อความเพื่อใช้ในตรวจสอบ ลงบนเอกสารดิจิทัลต่างๆ เช่น เสียง ภาพ ภาพยนตร์ เอกสารข้อความ ข้อมูลที่แทรกลงไปนี้จะอยู่ในรูปบิตเพื่อใช้แทนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร รวมถึงแหล่งที่มาของเอกสาร กรรมวิธีการแทรกข้อมูลนี้ตั้งชื่อตาม ลายน้ำที่ใช้กับสิ่งพิมพ์และธนบัตร เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ลายน้ำดิจิทัลนี้ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ สเตกาโนกราฟี (steganography) ซึ่งเป็นการแอบแทรกข้อมูลลงบนข้อมูลหลัก โดยที่ผู้ใช้ข้อมูลหลักปลายทางนั้นจะไม่รู้ ลายน้ำดิจิทัลนี้จะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ แบบที่สังเกตได้ และ แบบที่สังเกตไม่ได้.

ใหม่!!: บิตและลายน้ำดิจิทัล · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวอาเรซีโบ

ทางอากาศของหอดูดาวอาเรซีโบ หอดูดาวอาเรซีโบ (Observatorio de Arecibo; Arecibo Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองอาเรซีโบทางตอนเหนือของปวยร์โตรีโก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ร่วมกับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation, NSF) ของสหรัฐอเมริกา ภายใต้หน่วยงานที่ชื่อว่า "ศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แห่งชาติ" (National Astronomy and Ionosphere Center, NAIC) กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่นี่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ยาว 305 เมตร เป็นกล้องโทรทรรศน์เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมา โครงการก่อสร้างเริ่มต้นนำเสนอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 โดยศาสตราจารย์ วิลเลียมส์ อี.

ใหม่!!: บิตและหอดูดาวอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยอัตราข้อมูล

ในสาขาโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์, อัตราบิต หรือ จำนวนบิตข้อมูลที่ถูกส่งในหนึ่งหน่วยเวลา สามารถวัดได้ในหน่วยของ บิตต่อวินาที, ไบต์ต่อวินาที และยังนิยมเติมคำอุปสรรคของระบบเอสไอไว้ด้านหน้า ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายของหน่วยอัตราข้อมูล (data rate units) ในการวัดดังนี้.

ใหม่!!: บิตและหน่วยอัตราข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต (Dynamic random-access memory, DRAM) หรือ ดีแรม เป็นหน่วยความจำชั่วคราวเข้าถึงโดยสุ่ม (หรือ แรม) โดยเก็บข้อมูลแต่ละบิตในแต่ละตัวเก็บประจุซึ่งอยู่ภายในแผงวงจรรวมของหน่วยความจำ การทำงานอาศัยการเก็บประจุและการเสียประจุของแต่ละตัวเก็บประจุซึ่งจะใช้แทนค่า 0 และ 1 ของแต่ละบิตได้ แต่เมื่อหน่วยความจำมีการเสียประจุออกจึงทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้นั้นอันตรธานหายไปด้วย ดังนั้นการใช้ดีแรมจึงต้องมีการทวนความจำให้กับดีแรมอย่างสม่ำเสมอตราบเท่าที่ยังต้องการให้มันเก็บข้อมูลได้อยู่ จึงทำให้เรียกแรมชนิดนี้ว่าพลวัต (ซึ่งต่างจากเอสแรม) และทำให้ดีแรมถือเป็นหน่วยความจำชั่วคราวด้วย ดีแรมยังถูกใช้เป็นหน่วยความจำหลักในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, โน้ตบุ๊ค และสมาร์ทโฟน กล่าวคือคำว่า "แรม" ที่นิยมเรียกกันนั้นก็เป็นแรมชนิด ดีแรม นั่นเอง (เป็นประเภท DDR SDRAM) จุดเด่นอย่างหนึ่งของดีแรมก็คือความง่ายของโครงสร้าง กล่าวคือมีเพียงทรานซิสเตอร์หนึ่งตัวประกอบกับตัวเก็บประจุหนึ่งตัวก็เพียงต่อการเก็บข้อมูลหนึ่งบิตแล้ว ต่างกับหน่วยความจำอย่างเอสแรมที่อาจะต้องใช้ 4-6 ทรานซิสเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลหนึ่งบิตเท่ากัน ความง่ายนี่เองทำให้ดีแรมมีความจุต่อพื้นที่สูงกว่าเอสแรม และได้รับความนิยมมากกว่า หมวดหมู่:ประวัติฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:สิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐอเมริกา el:Μνήμη τυχαίας προσπέλασης#Τύποι μνήμης RAM.

ใหม่!!: บิตและหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต · ดูเพิ่มเติม »

ออโตสเตอริโอแกรม

ออโตสเตอริโอแกรม (autostereogram) เป็น สเตอริโอแกรม หรือ ภาพสเตอริโอแบบภาพเดี่ยว ที่ออกแบบมาเพื่อลวงตา ทำให้มองเห็นภาพสองมิตินั้นเป็นภาพสามมิติ สเตอริโอแกรมชนิดที่ง่ายที่สุดก็คือ สเตอริโอแกรมแบบกระดาษบุผนัง (wallpaper autostereogram) ภาพมหัศจรรย์สามมิติที่รู้จักกันดีนั้นเรียกว่า ออโต้สเตอริโอแกรมแบบใช้จุดมั่ว (random dot autostereogram) หลักการในการมองเห็นภาพประเภทนี้นั้นจะเกิดจากการมองเห็นที่สูญเสียการโฟกัส Tut Animated Shark.gif 800x200 version.

ใหม่!!: บิตและออโตสเตอริโอแกรม · ดูเพิ่มเติม »

อัตราบิต

ในสาขาโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ อัตราบิต หรือ บิตเรต (bit rate) หมายถึงจำนวนบิตที่สามารถสื่อสารกันได้ หรือประมวลผลได้ ในหนึ่งหน่วยเวลา การนับอัตราบิตใช้วิธีนับด้วยปริมาณ บิตต่อวินาที (bit/s) ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับคำอุปสรรคของระบบเอสไอ เช่น กิโล- (kbit/s), เมกะ- (Mbit/s), จิกะ- (Gbit/s) และ เทระ- (Tbit/s) หลังจากมีมาตรฐาน IEC 60027-2 ทำให้ความกำกวมในการบ่งปริมาณหมดไป กล่าวคือ 1 กิโลบิตต่อวินาที (1 kbit/s) จะหมายถึง 1,000 (103) บิตต่อวินาทีเท่านั้น และ 1,024 (210) บิตต่อวินาทีก็จะเขียนได้เป็น 1 กิบิบิตต่อวินาที (kibit/s) เท่านั้น โดยจะไม่ใช้ K (เคตัวใหญ่) แทนคำอุปสรรค "กิโล-" นั่นคือจะไม่มีการเขียน Kbit/s การเขียนตัวย่อของ bits per second (บิตต่อวินาที) อย่างเป็นทางการสามารถเขียนได้โดย "bit/s" (จะไม่เขียน "bits/s") และการเขียนแบบไม่เป็นทางการก็สามารถเขียนได้ด้วย "b/s" หรือ "bps" (มักพบเห็นในการบ่งความเร็วอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในปัจจุบัน) ซึ่งมักเป็นที่สับสนบ่อยๆ กับ bytes per second (ไบต์ต่อวินาที) ซึ่งเขียนตัวย่อด้วย "B/s" หรือ "Bps" โดย 1 Byte/s มีขนาดเท่ากับ 8 bit/s หมวดหมู่:การส่งผ่านข้อมูล หมวดหมู่:หน่วยวัด.

ใหม่!!: บิตและอัตราบิต · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ข้อมูล)

หมวดหมู่:อันดับของขนาด หมวดหมู่:ข้อมูล.

ใหม่!!: บิตและอันดับของขนาด (ข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ดดิสก์

ร์ดดิสก์ชนิดต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk drive) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA), แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ฮาร์ดดิสก์ SSD โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ โซลิดสเตตไดรฟ.

ใหม่!!: บิตและฮาร์ดดิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนจริง

ำนวนจริง คือจำนวนที่สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งกับจุดบนเส้นตรงที่มีความยาวไม่สิ้นสุด (เส้นจำนวน) ได้ คำว่า จำนวนจริง นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแยกเซตนี้ออกจากจำนวนจินตภาพ จำนวนจริงเป็นศูนย์กลางการศึกษาในสาขาคณิตวิเคราะห์จำนวนจริง (real analysis).

ใหม่!!: บิตและจำนวนจริง · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสารสนเทศ

ทฤษฎีสารสนเทศ (information theory) เป็นสาขาหนึ่งใน ทฤษฎีความน่าจะเป็น และคณิตศาสตร์เชิงสถิติ ขอบข่ายเนื้อหาของทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ, เอนโทรปีของสารสนเทศ, ระบบการสื่อสาร, การส่งข้อมูล, ทฤษฎีอัตราการบิดเบือน, วิทยาการเข้ารหัสลับ, สัดส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน, การบีบอัดข้อมูล, การแก้ความผิดพลาด และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คำแปลที่ตามราชบัณฑิต คือ "ทฤษฎีสารสนเทศ" นี้ มาจากคำว่า "information theory" ซึ่งคำว่า information เป็นคำเดียวกันกับที่หมายถึง สารสนเทศ แต่เนื่องจากความหมายของ information theory นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับ เนื้อความในแง่ของสัญญาณ จึงอาจจะใช้คำว่า ทฤษฎีข้อมูล แทนความหมายของสารสนเทศ ที่เป็นในแง่ของเนื้อหาข่าวสาร และ สื่อตัวกลาง หรือสื่อบันทึกในบางกรณี ตัวอย่างของการนำทฤษฎีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ZIP Files, เครื่องเล่นเอ็มพีสาม, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงดีเอสแอล, อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย อาทิ โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร, เครื่องเล่นซีดี และการศึกษาเกี่ยวกับหลุมดำ เป็นต้น.

ใหม่!!: บิตและทฤษฎีสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ

ทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ (Computational Complexity Theory) เป็นสาขาหนึ่งของทฤษฎีการคำนวณ ที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เวลาและเนื้อที่สำหรับการแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ โดยปกติแล้วคำว่า "เวลา" ที่เราพูดถึงนั้น จะเป็นการนับจำนวนขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ปัญหา ส่วนในเรื่องของ "เนื้อที่" เราจะพิจารณาเนื้อที่ ๆ ใช้ในการทำงานเท่านั้น (ไม่นับเนื้อที่ ๆ ใช้ในการเก็บข้อมูลป้อนเข้า).

ใหม่!!: บิตและทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธี Schonhage-Strassen

ั้นตอนวิธีของ Schönhage–Strassen คือ ขั้นตอนวิธีในการคูณเลขจำนวนเต็มขนาดใหญ่ ขั้นตอนวิธีนี้ได้รับการพัฒนามาจาก อาร์โนลด์ ชุนฮาเก้ และ วอล์คเกอร์ สตราเซน ในปี..

ใหม่!!: บิตและขั้นตอนวิธี Schonhage-Strassen · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความอาเรซีโบ

้อความอาเรซีโบจัดเรียงเป็น 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ มีการเน้นสี แสดงให้เห็นข้อความแต่ละส่วน ข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) เป็นข้อความคลื่นวิทยุที่ส่งไปในอวกาศ เล็งไปที่กระจุกดาวดาวเอ็ม 13 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 25,000 ปีแสง เนื่องในพิธีฉลองการปรับปรุงหอดูดาวอาเรซีโบเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สัญญาณวิทยุที่ส่งขึ้นไปนี้ มีความยาว 1,679 บิต (เลขฐานสองจำนวน 1,679 ตัว) เป็นเวลา 169 วินาที ข้อความที่ส่งขึ้นไปมีความยาว 1,679 บิต เนื่องจากเป็นตัวเลข semiprime สามารถแยกตัวประกอบได้เป็นจำนวนเฉพาะสองจำนวนคือ 23 กับ 73 ซึ่งสามารถจัดเรียงเป็นภาพได้เพียงสองแบบคือ ขนาด 23 แถว คูณ 73 คอลัมน์ หรือ 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ (ดังรูป) ข้อความอาเรซีโบออกแบบโดย ดร. แฟรงก์ เดรก แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ร่วมกับคาร์ล เซแกน สามารถแบ่งได้เป็น 7 ส่วน (ในภาพมีการเพิ่มสีเพื่อให้แยกแยะได้สะดวก) คือ.

ใหม่!!: บิตและข้อความอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

ดีดีอาร์ เอสดีแรม

หน้าตาของหน่วยความจำ DDR-266 ทั่วไปซึ่งมี 184 พินแบบ DIMM หน่วยความจำ Corsair DDR-400 และมีแผ่นกระจายความร้อนติดตั้งอยู่ หน่วยความจำเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่มแบบพลวัตซิงโครนัสที่มีอัตราข้อมูลสองเท่า (Double data rate synchronous dynamic random-access memory, DDR SDRAM) หรือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม นิยมเรียกว่า ดีดีอาร์แรม คือชื่อเรียกระดับชั้นของหน่วยความจำที่มีลักษณะเป็นวงจรรวม และถูกใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในบางครั้งการเรียก DDR SDRAM ก็หมายถึง DDR1 SDRAM ซึ่งในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย DDR2 SDRAM และ DDR3 SDRAM ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า แต่สามารถกล่าวรวมได้ว่าแรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นประเภทเดียวกันนั่นคือ ดีดีอาร์ เอสดีแรม แต่แรมทั้งสามชนิดนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ กล่าวคือในแผงหลัก (motherboards) ที่รองรับ DDR1 SDRAM ก็จะไม่รองรับแรม 2 ชนิดที่เหลือ เมื่อเปรียบเทียบกับ SDR (single data rate) หรือ SDRAM ที่มีอัตราข้อมูลปกติ (เท่าเดียว) นั้น DDR จะมีอัตราข้อมูลสูงกว่าอันเนื่องจากมีการส่งข้อมูลสองครั้งต่อหนึ่งจังหวะสัญญาณนาฬิกา (ทั้งขาขึ้น และขาลง) ต่างกับ SDR ที่จะส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้แม้ว่าความถี่สัญญาณนาฬิกาจะเท่ากันแต่ DDR ก็สามารถส่งข้อมูลมากกว่าเป็นสองเท่า และนี่ก็เป็นที่มาของคำว่า "อัตราข้อมูลสองเท่า" (DDR) ที่อยู่ในชื่อของหน่วยความจำชนิดนี้นั่นเอง อีกทั้งการรักษาความถี่สัญญาณนาฬิกาให้ต่ำยังจะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของสัญญาณอีกด้วย ด้วยการส่งข้อมูล 64 บิตต่อครั้ง ทำให้ DDR SDRAM มีอัตราการการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) × 2 (ส่งข้อมูล 2 ครั้งต่อรอบ) × 64 (จำนวนบิตของข้อมูลที่ถูกส่งต่อครั้ง) / 8 (แปลงหน่วยบิตเป็นหน่วยไบต์) จะเห็นว่าสำหรับ DDR SRAM ที่มีความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ 100 MHz จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 1600 MB/s.

ใหม่!!: บิตและดีดีอาร์ เอสดีแรม · ดูเพิ่มเติม »

คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต

วอลเลตบิตคอยน์แบบกระดาษซึ่งมีที่อยู่บิตคอยน์เลขหนึ่งเพื่อรับเงิน และมีกุญแจส่วนตัวที่จับคู่กันสำหรับใช้จ่าย คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต (cryptocurrency wallet) เป็นที่ที่เก็บกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว ซึ่งสามารถใช้รับหรือจ่ายคริปโทเคอร์เรนซีได้ วอลเลตใบหนึ่งสามารถมีกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัวหลายคู่ นี่ไม่เหมือนวอลเลตจริง ๆ ตรงที่ว่า คริปโทเคอร์เรนซีจริง ๆ ไม่ได้อยู่ในวอลเลต เพราะวอลเลตมีแต่กุญแจเป็นคู่ ๆ ดังนั้น จึงอาจจะเรียกได้ชัดเจนกว่าว่า สายคล้องกุญแจ ในกรณีของบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีสกุลอื่น ๆ ที่มาจากมัน คริปโทเคอร์เรนซีเองจะเก็บไว้อย่างกระจายศูนย์ คือบันทึกไว้ในบัญชีแยกประเภทที่เป็นสาธารณะ คริปโทเคอร์เรนซีทุก ๆ หน่วยจะระบุกุญแจสาธารณะของบุคคลที่เป็นเจ้าของ ดังนั้น เพื่อจะบันทึกธุรกรรมใหม่ในบัญชีซึ่งเท่ากับเป็นการใช้คริปโทเคอร์เรนซีที่ว่านั้น ผู้ที่ออกคำสั่งทำธุรกรรมจะต้องมีกุญแจส่วนตัวที่คู่กับกุญแจสาธารณะนั้น โดยเดือนมกราคม 2018 มีคริปโทเคอร์เรนซีกว่า 1,300 สกุล สกุลแรกซึ่งรู้จักกันดีที่สุดก็คือบิตคอยน.

ใหม่!!: บิตและคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ใหม่!!: บิตและคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ตัวทด

ในเลขคณิตมูลฐาน ตัวทด หรือ เลขทด คือตัวเลขที่ถูกส่งมาจากตัวเลขหลักหนึ่ง ไปยังตัวเลขหลักอื่นที่มีนัยสำคัญมากกว่า ในระหว่างขั้นตอนวิธีของการคำนวณ การกระทำที่ให้เกิดตัวทดเรียกว่า การทด ตัวทดเป็นสิ่งที่ช่วยคำนวณคณิตศาสตร์มาแต่ดั้งเดิม เพื่อเน้นให้เห็นถึงวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้อง เมื่อคำนวณจนชำนาญแล้วตัวทดก็มักจะถูกละเลยไปเพราะสามารถคิดได้ในใจ และตัวทดก็ไม่ได้ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของผลลั.

ใหม่!!: บิตและตัวทด · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้แดงดำ

ต้นไม้แดงดำ (Red-Black Tree) เป็นต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่ประยุกต์แนวคิดมาจากต้นไม้ได้ดุล 2-3-4 ให้เป็นต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค โดยที่ปมของต้นไม้แดงดำจะมีการเก็บตัวแปรหนึ่ง มักเรียกว่าสีแดงและสีดำ มีสองสีซึ่งสามารถเก็บด้วยค่าความจริงหรือตัวแปรขนาดหนึ่งบิตได้ และทำให้ต้นไม้นี้ถูกเรียกชื่อว่า ต้นไม้แดงดำ.

ใหม่!!: บิตและต้นไม้แดงดำ · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองโอเอสไอ

แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.

ใหม่!!: บิตและแบบจำลองโอเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

แฟมิคอม

แฟมิคอม (Famicom) หรือ เครื่องเกมนินเทนโด (Nintendo Entertainment System: NES) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม 8 บิต ผลิตโดยบริษัทนินเทนโด ชื่อของแฟมิคอมมาจากคำเต็มว่า แฟมิลี่คอมพิวเตอร์ (Family Computer) คนไทยมักเรียกเครื่องเล่นเกมชนิดนี้ว่า เครื่องแฟมิลี่ มะซะยุกิ อุเอะมุระได้เป็นผู้ออกแบบระบบเกม และวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ในราคา 14,800 เยน โดยมีเกม 3 เกมที่ออกมาพร้อมกัน คือ ดองกีคอง (Donkey Kong) ดองกีคองจูเนียร์ (Donkey Kong Jr.) และป็อปอาย (Popeye) ส่วนเกมที่ได้รับความนิยมในเครื่องเล่นเกมชนิดนี้คือซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส (Super Mario Bros.) และซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 (Super Mario Bros. 2) และซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 (Super Mario Bros. 3) และซูเปอร์มาริโอบราเธอส์: เดอะลอสต์เลเวลส์ (Super Mario Bros: The Lost Levels).

ใหม่!!: บิตและแฟมิคอม · ดูเพิ่มเติม »

แพริตีบิต

แพริตีบิต หรือ บิตภาวะคู่หรือคี่ (parity bit) หรืออาจเรียกเพียงแค่ แพริตี หมายถึงบิตที่เพิ่มเข้าไปในข้อมูล โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องนำไปต่อท้ายหรือขึ้นต้น เพื่อทำให้แน่ใจว่าบิตที่เป็นค่า 1 ในข้อมูลมีจำนวนเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ การใช้แพริตีบิตเป็นวิธีที่ง่ายอย่างหนึ่งในการตรวจจับและแก้ไขความผิดพลาด แพริตีบิตมีสองชนิดคือ แพริตีบิตคู่ (even parity bit) กับ แพริตีบิตคี่ (odd parity bit) ตามข้อมูลในเลขฐานสอง.

ใหม่!!: บิตและแพริตีบิต · ดูเพิ่มเติม »

แรม

แรมแบบ DDR SDRAM แรม หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว).

ใหม่!!: บิตและแรม · ดูเพิ่มเติม »

แอสกี

ตัวอย่างอักขระแอสกี จากรหัส 32 ถึง 126 แอสกี้(ASCII) หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (ASCII: American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: บิตและแอสกี · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นซีดี

แผ่นซีดี แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นจานแสง หรือดิสก์แสงเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตราฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน.

ใหม่!!: บิตและแผ่นซีดี · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 3

ลย์สเตชัน 3 (อังกฤษ PlayStation 3, ญี่ปุ่น プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB.

ใหม่!!: บิตและเพลย์สเตชัน 3 · ดูเพิ่มเติม »

เมกะ

มกะ (Mega, สัญลักษณ์ M) เป็นคำนำหน้าหน่วยที่ใช้ในระบบเมตริก ที่เรียกกันว่า คำอุปสรรคเอสไอ แสดงถึงค่าหนึ่งล้าน (106 หรือ 1000000) คำดังกล่าวเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในระบบเอสไอตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: บิตและเมกะ · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสอง

ลขฐานสอง (อังกฤษ: binary numeral system) หมายถึง ระบบเลขที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น ปิดกับเปิด, ไม่ใช่กับใช่, เท็จกับจริง, ซ้ายกับขวา เป็นต้น ถ้าแปลงค่าเลขฐานสิบ มาเป็นเลขฐานสอง จะได้ดังนี้.

ใหม่!!: บิตและเลขฐานสอง · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสิบหก

ลขฐานสิบหก (hexadecimal) หมายถึงระบบเลขฐานที่มีสัญลักษณ์ 16 ตัว (ฐานสิบมี 10 ตัวคือ 0-9) โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F ในการแสดงหรือเขียนทั้ง 16 ตัว ตัวอย่างของเลขฐานสิบหกได้แก่เลข 2AF316 ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเลขฐานสิบได้ สังเกตได้ว่า 2AF316 นั้นคือผลบวกของ (200016 + A0016 + F016 + 316) โดยเปลี่ยนเลขแต่ละหลักเป็นเลขฐานสิบได้ตามนี้ \begin \mathrm_ &.

ใหม่!!: บิตและเลขฐานสิบหก · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง

ตารางการเปรียบเทียบระหว่างเลขฐานสิบกับบีซีดี เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง หรือ บีซีดี (Binary-coded decimal: BCD) เป็นระบบเลขที่ใช้เลขฐานสองจำนวนอย่างน้อย 4 บิตแทนเลขฐานสิบ 0 ถึง 9 ในแต่ละหลัก เพื่อความสะดวกในการแสดงผลจากการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง เลขฐานสิบ 127 จะสามารถแปลงเป็นบีซีดีได้เป็น 0001 0010 0111 เป็นต้น โดยพื้นฐานแล้วบีซีดีจะต้องมีบิตอย่างน้อย 4 บิตจึงจะแสดงผลออกมาได้ครบทั้ง 0-9 แต่ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อนำบีซีดีไปคำนวณ เช่นการบวกหรือการลบ อาจจะต้องมีบิตอื่นเพิ่ม เพื่อใช้ในการทดเลขหรือการกำหนดเครื่องหมาย และเนื่องจากบีซีดีเป็นระบบเลขที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เลขในแต่ละบิตจึงสามารถเก็บอยู่ในหน่วยความจำได้.

ใหม่!!: บิตและเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง · ดูเพิ่มเติม »

เลขที่อยู่ไอพี

ลขที่อยู่ไอพี (IP address: Internet Protocol address) หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร RFC 760, DOD Standard Internet Protocol (January 1980) เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "ชื่อใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร" RFC 791, Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification (September 1981) แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน..

ใหม่!!: บิตและเลขที่อยู่ไอพี · ดูเพิ่มเติม »

เลขโดด

ลขโดดสิบตัวของเลขอารบิก เรียงลำดับตามค่า เลขโดด คือสัญลักษณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารวมกันเพื่อใช้แทนจำนวนและระบบเลขเชิงตำแหน่ง ในระบบเลขระบบหนึ่ง ๆ ถ้าฐานเป็นจำนวนเต็ม จำนวนของเลขโดดที่จำเป็นต้องใช้จะเท่ากับค่าสัมบูรณ์ของฐานเสมอ.

ใหม่!!: บิตและเลขโดด · ดูเพิ่มเติม »

เวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ)

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ เวิร์ด (word) หมายถึง เนื้อที่ที่คอมพิวเตอร์จัด​ไว้​สำ​หรับเก็บข้อมูล​ ไม่น้อยกว่า 1 ​ตัวอักษรตามรหัสแอสกี หรือไม่น้อยกว่า 8 บิต ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ที่เข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมของไอบีเอ็ม (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) 1 เวิร์ดจะมีขนาด 16 บิต (2 ไบต์) เวิร์ดมีประโยชน์ในการช่วยการประมวลผลของซีพียู โดยใช้เป็นขนาดชุดคำสั่งของการนำเข้าสู่ซีพียู (fetch) และการอ้างอิงตำแหน่งในหน่วยความจำ บางครั้งเราอาจเห็นหน่วย สองเวิร์ด (Dword - Double word) และ สี่เวิร์ด (Qword - Quadruple word) ซึ่งมีขนาดเป็นสองเท่าและสี่เท่าของเวิร์ด ตามลำดับ ในการเขียนโปรแกรมบางภาษา เช่น ภาษาแอสเซมบลี ภาษาซี เป็นต้น.

ใหม่!!: บิตและเวิร์ด (หน่วยสารสนเทศ) · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติของนักการพนัน

หตุผลวิบัติของนักการพนัน (gambler's fallacy) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล (Monte Carlo fallacy) เป็นความเชื่อผิด ๆ ว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งน้อยลงในอนาคต หรือว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นน้อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดบ่อยขึ้นในอนาคต เพื่อที่จะให้เกิดการสมดุลกัน แต่ว่าถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์สุ่ม คือเป็นการลองตามลำดับที่เป็นอิสระทางสถิติ (statistical independent trial) ของกระบวนการสุ่ม แม้ว่าความเชื่อนี้จะดึงดูดใจ แต่ก็จะไม่เป็นความจริง เหตุผลวิบัตินี้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์จริง ๆ มากมาย แต่มักจะมีการกล่าวถึงในเรื่องของการเล่นการพนัน เพราะเป็นเหตุผลวิบัติที่คนเล่นการพนันมีโดยสามัญ ส่วนคำบัญญัติว่า "เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล" มีกำเนิดมาจากตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเหตุผลวิบัตินี้ ซึ่งเกิดขึ้นในบ่อนกาสิโนมอนตีคาร์โลในปี..

ใหม่!!: บิตและเหตุผลวิบัติของนักการพนัน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเคส

อ็นเคส (EnCase) เป็นชุดโปรแกรมนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลโดยบริษัท Guidance Software ซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาในหลายรูปแบบซึ่งออกแบบมาสำหรับการสืบหาพยานหลักฐาน ความมั่นคงไซเบอร์ และ e-discovery บริษัทดังกล่าวยังมีบริการอบรมและออกใบรับรอง ข้อมูลที่ถูกดึงกลับขึ้นมาโดยซอฟต์แวร์ EnCase ถูกใช้ในศาลหลายแห่งทั่วโลก เช่นคดี BTK Killer.

ใหม่!!: บิตและเอ็นเคส · ดูเพิ่มเติม »

เทระ

ทระ (Tera) เป็นคำนำหน้าหน่วยในระบบเมตริก แสดงถึงค่าหนึ่งล้านล้าน (1012 หรือ 1000000000000) มีสัญลักษณ์คือ T.

ใหม่!!: บิตและเทระ · ดูเพิ่มเติม »

Windows-1251

Windows-1251 คือการเข้ารหัสอักขระแบบ 8 บิตชนิดหนึ่ง ถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมภาษาที่ใช้อักษรซีริลลิก อย่างเช่น ภาษารัสเซีย ภาษาบัลแกเรีย เป็นต้น แต่การเข้ารหัสอักขระนี้นิยมใช้เฉพาะภาษาเซอร์เบียและภาษาบัลแกเรีย การเข้ารหัสอักขระ Windows-1251 และ KOI8-R (หรือสำหรับภาษายูเครนคือ KOI8-U) มีการใช้งานมากกว่า ISO 8859-5 ซึ่งไม่ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง ทางออกในอนาคตคือการใช้ยูนิโคดเข้ามาแทนที่ ในตารางข้างบนนี้ 20 คือเว้นวรรค A0 คือเว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ และ AD คือยัติภังค์เผื่อเลือก.

ใหม่!!: บิตและWindows-1251 · ดูเพิ่มเติม »

4

4 (สี่) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 3 (สาม) และอยู่ก่อนหน้า 5 (ห้า).

ใหม่!!: บิตและ4 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bitบิท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »