โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

บิกแบง

ดัชนี บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

78 ความสัมพันธ์: บิกแบง (แก้ความกำกวม)บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิสบิล เวิร์ซบทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปฟิสิกส์พ.ศ. 2530พ.ศ. 2531พ.ศ. 2532พัก ซันดารากฎของฮับเบิลกระบวนการทริปเปิล-อัลฟาการพองตัวของจักรวาลการสังเคราะห์นิวเคลียสกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงมิวสิกคอร์มิวสิกแบงก์มีซอน (อนุภาค)รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลรายชื่อดาราจักรรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรูหนอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการสสารมืดสสารมืดเย็นสถานะ (สสาร)สตีเฟน ฮอว์กิงหลุมดำอวกาศอสมมาตรของแบริออนอะตอมอันดับของขนาด (อุณหภูมิ)อาร์โน อัลลัน เพนเซียสอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมนฌอร์ฌ เลอแม็ทร์จอร์จ สมูทจอห์น ครอมเวล เมเทอร์จักรวาลจุน. เคธาตุดาราศาสตร์ดาราจักรดาวฤกษ์ดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสันดาวเทียมโคบีดิวเทอเรียมคลื่นความโน้มถ่วงความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)ค่าคงที่จักรวาล...ซึงรีปฏิทรรศน์ของออลเบอร์ประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบงปัญหาขอบฟ้าปัญหาความแบนของเอกภพนิวไคลด์ดึกดำบรรพ์แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็มแบริออนแบริโอเจเนซิสแสงวาบรังสีแกมมาแสงแรกแอนติโปรตอนแดซ็องโรเบิร์ต วูดโรว์ วิลสันไข่จักรวาลเฟรด ฮอยล์เส้นเวลากราฟิกจากบิกแบงถึงฮีทเดธเส้นเวลากราฟิกของบิกแบงเส้นเวลากราฟิกของจักรวาลเส้นเวลาของอนาคตไกลเส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติเอกภพเอกภพที่สังเกตได้เอ็มเน็ตเอเชียมิวสิกอะวอดส์ 2015เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์เซเว่น (นักร้องเกาหลี)12 ธันวาคม4 พฤศจิกายน ขยายดัชนี (28 มากกว่า) »

บิกแบง (แก้ความกำกวม)

กแบง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: บิกแบงและบิกแบง (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส

ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส (Big Bang nucleosynthesis; BBN) หรือ นิวคลีโอซินทีสิสเริ่มแรก เป็นการอธิบายถึงกระบวนการกำเนิดนิวเคลียสต่างๆ นอกเหนือไปจากนิวเคลียสของ H-1 (เช่น ไอโซโทปแสงของไฮโดรเจน ซึ่งนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนเดี่ยว) ระหว่างช่วงยุคต้นของการเกิดเอกภพ นิวคลีโอซินทีสิสแรกเริ่มนี้เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากเกิดบิกแบง เชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุของการก่อตัวของไอโซโทปธาตุหนักของไฮโดรเจน ที่รู้จักกันในชื่อ ดิวเทอเรียม (H-2 หรือ D), ฮีเลียมไอโซโทป He-3 และ He-4, และ ลิเทียมไอโซโทป Li-6 และ Li-7 นอกจากนิวเคลียสที่เสถียรเหล่านี้ ยังมีพวกที่ไม่เสถียรอยู่ด้วย หรือพวกไอโซโทปกัมมันตรังสี (Radionuclide) เช่น ทริเทียม H-3, เบอริลเลียม Be-7 และ เบอริลเลียม Be-8 ไอโซโทปที่ไม่เสถียรเหล่านี้อาจเสื่อมสลายไปหรือรวมตัวเข้ากับนิวเคลียสอื่นๆ และกลายเป็นหนึ่งในบรรดาไอโซโทปเสถียร.

ใหม่!!: บิกแบงและบิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส · ดูเพิ่มเติม »

บิล เวิร์ซ

ล เวิร์ซ (Bill wurtz) เป็นคนสร้างวิดีโอบนยูทูป เชื่อว่าอาศัยอยู่ในนครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก เขาเป็นที่รู้จักในวิธีการร้องเพลง และวิดีโอของเขาที่มีสีซึ่งดูเหนือจริง ส่วนใหญ่เพลงโฆษณาและเพลงในเว็บไซต์ของเขามีความยาวไม่กี่วินาที และส่วนใหญ่ถูกอัปโหลดไว้ในช่องยูทูปของ.

ใหม่!!: บิกแบงและบิล เวิร์ซ · ดูเพิ่มเติม »

บทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

แคสซีนี (จินตนาการของศิลปิน): คลื่นวิทยุถูกส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกชะลอโดยปริภูมิ-เวลาที่บิดงอ (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์พัฒนาระหว่าง..

ใหม่!!: บิกแบงและบทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: บิกแบงและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2530

ทธศักราช 2530 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1987 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: บิกแบงและพ.ศ. 2530 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: บิกแบงและพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2532

ทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: บิกแบงและพ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

พัก ซันดารา

ัก ซันดารา(박산다라; เกิด 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984)หรืออีกชื่อหนึ่ง ดารา (다라), เป็น นักร้อง นักแสดง นางแบบ ไอดอลชาวเกาหลีใต้ มีชื่อเสียงจากการเป็นสมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวง ทูเอนีวัน ภายใต้สังกัด YG Entertainment ดารามีน้องชาย และน้องสาว น้องชายของเขาชื่อจริง พัก ซังฮยอน หรือรู้จักภายชื่อซ็อนดุง เป็นสมาชิก บอยแบนด์ วง MBLAQ ภายใต้สังกัด J. Tune Entertainmentในเครือ JYP Entertainment.

ใหม่!!: บิกแบงและพัก ซันดารา · ดูเพิ่มเติม »

กฎของฮับเบิล

กฎของฮับเบิล เป็นสมการในวิชาฟิสิกส์จักรวาลวิทยาที่อธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางแดงของแสงที่ได้รับจากดาราจักรอันห่างไกลซึ่งมีค่าแปรผันไปตามระยะห่าง กฎนี้คิดค้นขึ้นครั้งแรกโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1929 หลังจากเขาได้เฝ้าสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์มานับสิบปี นับได้ว่าการเฝ้าสังเกตการณ์ของฮับเบิลเป็นหลักฐานชิ้นแรกของแนวคิดการขยายตัวของจักรวาล ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของแนวคิดบิกแบง ข้อมูลในการคำนวณล่าสุดใช้ข้อมูลในปี 2003 ซึ่งได้จากดาวเทียม WMAP ร่วมกับข้อมูลทางดาราศาสตร์อื่นๆ ได้ค่าคงที่ของฮับเบิลเท่ากับ 70.1 ± 1.3 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก ซึ่งสอดคล้องกับค่าที่คำนวณได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี 2001 คือ 72 ± 8 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก.

ใหม่!!: บิกแบงและกฎของฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการทริปเปิล-อัลฟา

ทั่วไปของกระบวนการทริปเปิลอัลฟา กระบวนการทริปเปิล-อัลฟา (Triple alpha process) คือกลุ่มของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งนิวเคลียสของฮีเลียม-4 สามตัว (อนุภาคอัลฟา) จะแปลงไปเป็นคาร์บอน ดาวฤกษ์ที่มีอายุมากขึ้นจะสะสมฮีเลียมเอาไว้ ซึ่งเป็นผลผลิตจากห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอนและวงจรซีเอ็นโอซึ่งเกิดขึ้นที่แกนของดาว ผลผลิตที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นต่อเนื่องของฮีเลียมกับไฮโดรเจนหรือนิวเคลียสฮีเลียมอื่นๆ จะทำให้เกิด ลิเทียม-5 และเบริลเลียม-8 ขึ้นมาตามลำดับ ธาตุทั้งสองนี้ไม่เสถียรอย่างรุนแรงและแทบจะสลายตัวกลับไปเป็นนิวเคลียสขนาดเล็กตามเดิมในทันทีG.

ใหม่!!: บิกแบงและกระบวนการทริปเปิล-อัลฟา · ดูเพิ่มเติม »

การพองตัวของจักรวาล

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา การพองตัวของจักรวาล (Cosmic Inflation) หรือการพองตัวของเอกภพ คือแบบจำลองการขยายตัวแบบเอ็กโปเนนเชียลของเอกภพตามทฤษฎี ที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดบิกแบงเป็นเวลา 10−36 วินาที เนื่องจากมีความหนาแน่นของพลังงานสุญญากาศเป็นแรงดันล.

ใหม่!!: บิกแบงและการพองตัวของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

การสังเคราะห์นิวเคลียส

การสังเคราะห์นิวเคลียส (Nucleosynthesis) คือกระบวนการในการสร้างนิวเคลียสของอะตอมใหม่ขึ้นจากนิวคลีออนเดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว (โปรตอนและนิวตรอน) เชื่อว่านิวคลีออนดั้งเดิมเองนั้นกำเนิดขึ้นจากการรวมตัวของควาร์ก-กลูออนพลาสมาในเหตุการณ์บิกแบงขณะที่มันมีอุณหภูมิเย็นลง 2 ล้านล้านองศา ไม่กี่นาทีหลังจากนั้น จากเพียงโปรตอนและนิวตรอนจึงได้เกิดเป็นนิวเคลียสของลิเทียมและเบอริลเลียม (ที่เลขมวล 7) แต่ก็มีเพียงจำนวนน้อยมาก จากนั้นกระบวนการฟิวชั่นจึงหยุดลงเมื่ออุณหภูมิและความหนาแน่นลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจากการที่เอกภพขยายตัวออก กระบวนการแรกสุดของการสังเคราะห์นิวเคลียสดั้งเดิมนี้อาจเรียกชื่อว่า นิวคลีโอเจเนซิส ก็ได้ สำหรับการเกิดการสังเคราะห์นิวเคลียสในลำดับถัดมาของอะตอมธาตุหนัก เกิดขึ้นได้หลังจากการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากและซูเปอร์โนวาในช่วงเวลาเดียวกัน ตามหลักการของทฤษฎีนี้ ไฮโดรเจนและฮีเลียมจากบิกแบง (รวมถึงอิทธิพลจากความหนาแน่นของสสารมืด) ควบรวมกันกลายเป็นดาวฤกษ์ยุคแรกในราว 500 ล้านปีหลังจากบิกแบง ธาตุที่เกิดในช่วงการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์มีเลขอะตอมตั้งแต่ 6 (คาร์บอน) ไปจนถึงอย่างน้อย 98 (แคลิฟอร์เนียม) ซึ่งสามารถตรวจจับได้ในเส้นสเปกตรัมของซูเปอร์โนวา การเกิดซินทีสิสของธาตุหนักเหล่านี้เกิดได้ทั้งจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น หรือจากนิวเคลียร์ฟิชชั่น และบางครั้งก็มีการสลายปลดปล่อยอนุภาคเบตาเกิดขึ้นด้ว.

ใหม่!!: บิกแบงและการสังเคราะห์นิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ

วาดโดยศิลปิน แสดงจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดในจินตนาการ กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะดำเนินมาตั้งแต่ประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน โดยเริ่มจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ มวลส่วนมากในการแตกสลายครั้งนั้นได้กระจุกรวมกันอยู่บริเวณศูนย์กลาง และกลายมาเป็นดวงอาทิตย์ มวลส่วนที่เหลือวนเวียนโดยรอบมีรูปร่างแบนลง กลายเป็นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ในระบบสุริยะ แบบจำลองดังกล่าวมานี้ถือเป็นแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เรียกชื่อว่า สมมติฐานเนบิวลา มีการพัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเอมมานูเอล สวีเดนบอร์ก อิมมานูเอล คานท์ และปีแยร์-ซีมง ลาปลัส การวิวัฒนาการในลำดับถัดมาเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ นับแต่ยุคเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศในคริสต์ทศวรรษ 1950 และการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในคริสต์ทศวรรษ 1990 แบบจำลองนี้ได้ถูกท้าทายและผ่านการปรับแต่งมาอีกหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ๆ ระบบสุริยะได้เริ่มวิวัฒนาการอย่างมากนับตั้งแต่มันเริ่มกำเนิดขึ้น ดาวบริวารหลายดวงกำเนิดขึ้นจากจานของแก๊สและฝุ่นรอบๆดาวเคราะห์แม่ของมัน ขณะที่มีดาวบริวารบางดวงที่เกิดในบริเวณอื่น แล้วถูกดึงดูดให้กลายเป็นดาวบริวารในภายหลัง นอกจากนั้น เช่น ดวงจันทร์ ซึ่งอาจจะกำเนิดหลังจากการปะทะครั้งใหญ่ การปะทะระหว่างวัตถุสองวัตถุ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเคยเป็นหัวใจสำคัญของการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ ตำแหน่งของดาวเคราะห์มักจะเลื่อนจากตำแหน่งเดิม เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วง การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นมากขณะในช่วงต้นของการวิวัฒนาการ ในช่วงประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะเย็นลง และผิวนอกจะขยายตัวออกไปหลายเท่าจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (กลายเป็นดาวยักษ์แดง) หลังจากนั้นดาวยักษ์แดงก็จะสลายผิวนอกกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และเหลือแกนกลางไว้ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็น ดาวแคระขาว ในอนาคตอันไกลโพ้น ความโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์จะลดลง ดาวเคราะห์บางดวงอาจจะถูกทำลาย บางส่วนอาจจะหลุดออกไปสู่อวกาศระหว่างดวงดาว ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงประมาณหมื่นล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวฤกษ์ที่ไม่มีวัตถุใดโคจรรอบๆเล.

ใหม่!!: บิกแบงและกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร

การศึกษาเรื่องการก่อกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักรนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการกำเนิดเอกภพที่มีลักษณะแตกต่างกันจากจุดเริ่มต้นเดียวกัน การกำเนิดของดาราจักรแรก ๆ การเปลี่ยนแปลงของดาราจักรตามกาลเวลา และกระบวนการที่ก่อให้เกิดโครงสร้างแบบต่าง ๆ จากที่มีการสังเกตดาราจักรข้างเคียง โดยการศึกษาในเรื่องนี้เป็นการศึกษาที่สำคัญเรื่องหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ การกำเนิดดาราจักร เชื่อว่าเกิดจากทฤษฎีการกำเนิดโครงสร้าง (structure formation theories) ซึ่งเป็นผลมาจากเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ ทางควอนตัมซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการเกิดบิกแบง (Big Bang) วิวัฒนาการการกำเนิดหลุมดำนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเกิดจากโครงสร้างของแบบจำลองแลมดา-ซีดีเอ็ม(\Lambda) ซึ่งว่าด้วยวัตถุที่เย็นและมืดในจักรวาล โดยกล่าวว่าการรวมตัวของดาราจักรนั้นเป็นเพิ่มมวลที่สามารถจะคาดการณ์รูปร่างและโครงสร้างได้.

ใหม่!!: บิกแบงและกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง

วะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง (gravitational singularity) คือภาวะซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลักษณะดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มีพื้นฐานมาจากสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity) โดยมีเหตุมาจากการคาดการณ์พฤติกรรมเชิงอายุรการ (pathological bahavior) ของอวกาศ-เวลา (space-time) เช่นความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีค่าเป็นอนันต์ (infinite) นิยามนี้มีความคล้ายคลึงกับภาวะเอกฐานเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical singularity) เป็นอย่างมากในเชิงที่ว่าภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อสมการแสดงภาวะเอกฐานเชิงคณิตศาสตร์ ข้อสังเกตของภาวะเอกฐานคือ ณ จุดหนึ่งเมื่อความโค้งของอวกาศ-เวลาเกิดการระเบิดขึ้น ล้วนเป็นช่วงที่การอธิบายเป็นการจินตนาการเสียส่วนมาก อย่างไรก็ตามภาวะเอกฐานนั้นสามารถเกิดขึ้นจริงได้แม้ว่าความโค้งของอวกาศ-เวลายังคงไม่เป็นอนันต์อยู่ก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้น อวกาศ-เวลาจะเป็นเอกฐานได้ก็ต่อเมื่อ.

ใหม่!!: บิกแบงและภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

มิวสิกคอร์

ว์! มิวสิกคอร์ (ภาษาเกาหลี: 쇼! 음악중심 ภาษาอังกฤษ: Show! Music Core) เป็นรายการเพลงเกาหลี ของสถานีโทรทัศน์ MBC ออกอากาศเวลา 16.00 น. ตามเวลาประเทศเกาหลี (14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) โดยจะมีการแสดงของศิลปินเกาหลีที่กำลังทำกิจกรรม ในช่วงเวลานั้นๆ ขึ้นแสดง ผู้ดำเนินรายการปัจจุบันได้แก่ ฮองชุล, คิม โซฮยอน, ชายนี่ มิน.

ใหม่!!: บิกแบงและมิวสิกคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิวสิกแบงก์

มิวสิกแบงก์ (ภาษาเกาหลี: 뮤직뱅크) เป็นรายการเพลงที่ได้รับความนิยมรายการหนึ่งของประเทศ เกาหลีใต้ ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ KBS2 ปัจจุบันมีพิธีกรประจำรายการคือ อี ซอวอน และ โซลบิน (สมาชิกวง ลาบุม) ออกอากาศทุกวันศุกร์เวลา 17:00 น. (ตามเวลาประเทศเกาหลี) โดยเผยแพร่สัญญาณไปยัง 117 ประเทศทั่วโลกให้รับชมผ่านทางสถานีโทรทัศน์ KBS World (ถ่ายทอดสดผ่านแอปฯ Youtube ด้วย) โดยใช้สถานที่ออกอากาศสดที่ KBS New Wing Open Hall ย่านยออึยโด เขตยองดึงโพ กรุงโซล.

ใหม่!!: บิกแบงและมิวสิกแบงก์ · ดูเพิ่มเติม »

มีซอน (อนุภาค)

ในฟิสิกส์ของอนุภาค มีซอน (Meson) (หรือ) คืออนุภาคย่อยในกลุ่มแฮดรอนที่ประกอบด้วยควาร์ก 1 ตัวและปฏิควาร์ก 1 ตัว เกาะเกี่ยวอยู่ด้วยกันด้วยแรงอย่างเข้ม เนื่องจากมีซอนประกอบด้วยอนุภาคย่อย มันจึงมีขนาดทางกายภาพ ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งเฟมโตเมตร(10−15 เมตร) ซึ่งมีขนาดประมาณ ของหนึ่งโปรตอนหรือหนึ่งนิวตรอน มีซอนทั้งหมดไม่เสถียร ที่มีอายุยืนที่สุดเพียงไม่กี่หนึ่งส่วนร้อยของหนึ่งไมโครวินาทีเท่านั้น มีซอนที่มีประจุจะสลายตัว (บางครั้งผ่านทางอนุภาคระดับกลาง) กลายเป็นอิเล็กตรอนและนิวทริโน มีซอนที่ไม่มีประจุอาจสลายตัวไปเป็นโฟตอน มีซอนไม่ได้เกิดจากการสลายให้กัมมันตรังสี แต่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติเพียงแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่อายุสั้นมากของปฏิสัมพันธ์พลังงานสูงมากในสสาร ระหว่างกลุ่มอนุภาคที่ทำจากควาร์ก ตัวอย่างเช่น ในปฏิสัมพันธ์ รังสีคอสมิก อนุภาคดังกล่าวเป็นโปรตอนและนิวตรอนทั่วไป มีซอนยังเกิดขึ้นบ่อยอีกด้วยโดยการสร้างขึ้นในเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงที่มีการชนกันของกลุ่มโปรตอน, กลุ่มปฏิโปรตอนหรืออนุภาคอื่น ๆ ในธรรมชาติความสำคัญของมีซอนน้ำหนักเบาก็คือการที่พวกมันเป็นอนุภาคสนามควอนตัมที่สัมพันธ์กันที่สามารถส่ง แรงนิวเคลียร์ แบบเดียวกับที่โฟตอนเป็นอนุภาคที่ส่งแรงแม่เหล็กไฟฟ้า มีซอนที่มีพลังงานสูงกว่า (มวลมากกว่า) ได้ถูกสร้างขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งตอน บิกแบง แต่ไม่ถูกพิจารณาว่ามีบทบาทสำคัญในธรรมชาติวันนี้ อย่างไรก็ตามอนุภาคดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นอย่างสม่ำเสมอในการทดลอง เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของควาร์กชนิดหนักที่ประกอบกันขึ้นเป็นมีซอนชนิดที่หนักกว่า มีซอนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอนุภาค แฮดรอน และถูกกำหนดให้เป็นเพียงอนุภาคที่ประกอบด้วยสองควาร์ก สมาชิกอื่น ๆ ของครอบครัวแฮดรอนคือ แบริออน ที่เป็นอนุภาคย่อยที่ประกอบด้วยสามควาร์กแทนที่จะเป็นสองควาร์ก การทดลองบางอย่างแสดงหลักฐานของ มีซอนแปลกใหม่ ซึ่งไม่ได้มีเนื้อหาควาร์กที่มีวาเลนซ์แบบเดิมที่มีหนึ่งควาร์กและหนึ่งปฏิควาร์ก เพราะว่าควาร์กมีสปินเท่ากับ ความแตกต่างในจำนวนควาร์กระหว่างมีซอนและแบริออนเป็นผลให้เกิดมีซอนสองควาร์กทั่วไปกลายเป็น โบซอน ในขณะที่แบริออนเป็น เฟอร์มิออน แต่ละชนิดของมีซอนมีปฏิยานุภาคที่สอดคล้องกัน (ปฏิมีซอน) ซึ่งควาร์กจะถูกแทนที่ด้วยปฏิควาร์กที่สอดคล้องกันของมันและถูกแทนที่ได้ในทางกลับกัน ตัวอย่างเช่น ไพออน บวก (π+) ถูกสร้างขึ้นจากอัพควาร์กหนึ่งตัวและดาวน์ปฏิควาร์กหนึ่งตัว และปฏิยานุภาคที่สอดคล้องกันของมันคือ ไพออนลบ (π-) ถูกสร้างขึ้นจากหนึ่งอัพปฏิควาร์กและหนึ่งดาวน์ควาร์ก เพราะว่ามีซอนประกอบด้วยควาร์ก มันจึงมีส่วนร่วมทั้งใน อันตรกิริยาอย่างอ่อน และ อันตรกิริยาอย่างเข้ม มีซอนที่มีประจุไฟฟ้าสุทธิก็ยังมีส่วนร่วมใน แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นกัน พวกมันจะถูกแยกประเภทตามเนื้อหาของควาร์ก, โมเมนตัมเชิงมุมรวม, เท่าเทียมกัน และคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมายเช่น C-เท่าเทียมกัน และ G-เท่าเทียมกัน แม้ว่าจะไม่มีมีซอนที่เสถียรก็ตาม พวกที่มีมวลต่ำกว่าก็ยังเสถียรมากกว่ามีซอนทีมีมวลขนาดใหญ่ที่สุด และมีความง่ายกว่าที่จะสังเกตเห็นและศึกษาในเครื่องเร่งอนุภาค หรือในการทดลองรังสีคอสมิก พวกมันก็ยังมักจะมีมวลน้อยกว่าแบริออนอีกด้วย หมายความว่าพวกมันจะถูกผลิตขึ้นได้ง่ายกว่าในการทดลอง ดังนั้นพวกมันจึงแสดงปรากฏการณ์บางอย่างที่ให้พลังงานที่สูงกว่าได้อย่างรวดเร็วกว่าแบริออนที่ประกอบด้วยกลุ่มควาร์กเดียวกันจะสามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น ชาร์มควาร์กถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกใน J/Psi meson (J/ψ) ในปี 1974 และ บอตทอมควาร์ก ใน upsilon meson (ϒ) ในปี 1977.

ใหม่!!: บิกแบงและมีซอน (อนุภาค) · ดูเพิ่มเติม »

รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล

รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (cosmic microwave background radiation; เรียกย่อว่า CMB, MBR, หรือ CMBR) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารูปแบบหนึ่งที่แผ่อยู่ในเอกภพ กล่าวให้เข้าใจง่าย เมื่อเรามองดูท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ห้วงอวกาศระหว่างดาวและดาราจักรต่างๆ จะไม่เป็นสีดำ แต่กลับมีการเรืองแสงน้อยๆ อยู่ที่เกือบจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเส้นเรืองแสงนั้นไม่ได้มาจากดาวฤกษ์หรือดาราจักรใดๆ เลย เส้นเรืองแสงนี้จะเข้มที่สุดในย่านคลื่นไมโครเวฟของสเปกตรัมวิทยุ มันจึงได้ชื่อว่า รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ส่วนที่เกี่ยวข้องกับรังสีก็เนื่องมาจากทฤษฎีซึ่งเป็นที่แพร่หลายที่อธิบายว่า การแผ่รังสีนี้เป็นสิ่งหลงเหลือจากเอกภพยุคแรกเริ่ม การตรวจวัดการแผ่รังสีพื้นหลังของจักรวาลอย่างแม่นยำมีความสำคัญมากในการศึกษาจักรวาลวิทยา เพราะแบบจำลองของเอกภพใดๆ ก็ตามจะต้องสามารถอธิบายการแผ่รังสีที่ตรวจพบนี้ได้ด้วย การค้นพบเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1965 ที่ว่ากันว่าเป็นรังสีที่แผ่ปกคลุมทั้งเอกภพ มีสเปกตรัมคล้ายกับวัตถุดำที่มีอุณหภูมิ 2.725 เคลวินในช่วงความถี่160.2 กิโลเฮิร์ตซ์ หรือคำนวณเป็นความยาวคลื่นประมาณ 1.9 มิลลิเมตรนักจักรวาลวิทยาส่วนใหญ่คิดว่าไมโครเวฟพื้นหลังนี้เป็นหลักฐานที่ดีที่สุดสำหรับการสนับสนุนทฤษฎีบิ๊กแบง อันเป็นทฤษฎีการกำเนิดเอกภพที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดในปัจจุบัน.

ใหม่!!: บิกแบงและรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาราจักร

รายชื่อของดาราจักรที่น่าสนใ.

ใหม่!!: บิกแบงและรายชื่อดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: บิกแบงและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รูหนอน

"แผนภาพฝัง" ของรูหนอนชวอสเชลด์ (Schwarzschild wormhole) รูหนอน (wormhole) เป็นที่รู้จักกันว่า ทางเชื่อมต่อ หรือ สะพานไอน์สไตน์-โรเซน (Einstein-Rosen bridge) เป็นคุณลักษณะที่มีสมมุติฐานของทอพอโลยีของปริภูมิ-เวลาที่จะเป็นพื้นฐานในการเป็น "ทางลัด" ตัดผ่านไปมาระหว่างปริภูมิ-เวลา สำหรับคำอธิบายภาพที่เรียบง่ายของรูหนอนนั้น, พิจารณาปริภูมิ-เวลาที่มองเห็นได้เป็นพื้นผิวสองมิติ (2D) ถ้าพื้นผิวนี้ถูกพับไปตามแนวแบบสามมิติจะช่วยในการวาดภาพ "สะพาน" ของรูหนอนให้เห็นได้แบบหนึ่ง (โปรดทราบในที่นี้ว่า, นี่เป็นเพียงการสร้างภาพที่ปรากฏในการถ่ายทอดโครงสร้างที่ไม่สามารถมองเห็นได้ (Unvisualisable) เป็นหลักที่มีอยู่ใน 4 มิติหรือมากกว่า, ส่วนของรูหนอนอาจจะมีความต่อเนื่องของมิติที่มีค่าสูงกว่า (Higher-dimensional analogues) สำหรับส่วนของพื้นผิวโค้ง 2 มิติ, ตัวอย่างเช่น, ปากของรูหนอนแทนที่จะเป็นปากหลุมซึ่งเป็นหลุมวงกลมในระนาบ 2 มิติ, ปากของรูหนอนจริงอาจจะเป็นทรงกลมในพื้นที่ 3 มิติ) รูหนอนคือ, ในทางทฤษฎีคล้ายกับอุโมงค์ที่มีปลายทั้งสองข้างในแต่ละจุดแยกจากกันในปริภูมิ-เวลา ไม่มีหลักฐานการสังเกตการณ์สำหรับรูหนอน, แต่ในระดับเชิงทฤษฎีมีวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องในสมการของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งรวมถึงรูหนอนด้วย เพราะความแข็งแรงเชิงทฤษฎีที่แข็งแกร่งของมัน, รูหนอนเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในคำเปรียบเปรยทางฟิสิกส์ที่ดีเยี่ยมสำหรับการเรียนการสอนวิชาสัมพัทธภาพทั่วไป ชนิดแรกของการแก้ปัญหารูหนอนที่ถูกค้นพบคือรูหนอนชวอสเชลด์, ซึ่งจะมีอยู่ในเมตริกชวอสเชลด์ (Schwarzschild metric) ที่อธิบายถึงหลุมดำนิรันดร์ (Eternal black hole) แต่ก็พบว่ารูหนอนประเภทนี้จะยุบตัวลงอย่างรวดเร็วเกินไปสำหรับสิ่งที่จะข้ามจากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกปลายด้านหนึ่ง รูหนอนซึ่งสามารถจะทำให้เป็นจริงที่สามารถเดินทางผ่านข้ามไปได้ในทั้งสองทิศทางได้นั้นเรียกว่า รูหนอนทะลุได้, ซึ่งรูหนอนชนิดนี้เท่านั้นที่จะมีความเป็นไปได้ถ้าใช้สสารประหลาด (Exotic matter) ที่มีความหนาแน่นพลังงาน (Energy density) ที่มีค่าเชิงลบที่อาจนำมาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพของรูหนอนให้คงอยู่ได้ ปรากฏการณ์คาซิเมียร์ (Casimir effect) แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสนามควอนตัมช่วยให้ความหนาแน่นของพลังงานในบางส่วนของปริภูมินั้นมีความสัมพัทธ์ในทางลบต่อพลังงานสุญญากาศสามัญ (Ordinary vacuum energy) และมันได้รับการแสดงให้เห็นได้ในทางทฤษฎีซึ่งทฤษฎีสนามควอนตัมอนุญาตให้สถานะของพลังงานสามารถมีสถานะเป็นเชิงลบได้ตามใจชอบ ณ จุดที่กำหนดให้ นักฟิสิกส์จำนวนมากเช่น สตีเฟน ฮอว์คิง, คิบ โทร์น (Kip Thorne) และคนอื่น ๆ ได้โต้แย้งว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจจะทำให้มันมีความเป็นไปได้ที่จะรักษาเสถียรภาพของรูหนอนแบบทะลุได้นี้ นักฟิสิกส์ยังไม่พบกระบวนการทางธรรมชาติใด ๆ ที่จะได้รับการคาดว่าจะก่อให้เกิดรูหนอนตามธรรมชาติในบริบทของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปได้, แม้ว่าสมมติฐานโฟมควอนตัม (Quantum foam) บางครั้งจะใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่ารูหนอนขนาดเล็ก ๆ อาจจะปรากฏขึ้นและหายไปเองตามธรรมชาติโดยมาตรวัดในหน่วยวัดขนาดมาตราส่วนพลังค์ (Planck scale) และในเวอร์ชันของรูหนอนที่มีเสถียรภาพดังกล่าวที่ได้รับการแนะนำให้เป็นผู้สมัครท้าชิงกับสสารมืดก็ตาม นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอว่าถ้ารูหนอนขนาดจิ๋วนี้ ได้ถูกทำให้เปิดตัวออกโดยใช้เส้นคอสมิค (Cosmic string) ที่มีมวลที่มีค่าเป็นเชิงลบที่เคยปรากฏมีอยู่ในช่วงเวลาประมาณของการเกิดบิกแบง, มันก็จะได้รับการขยายขนาดให้อยู่ในระดับมหภาค (Macroscopic) หรือขนาดที่ใหญ่ได้โดยการพองตัวของจักรวาล อีกด้วย นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวอเมริกันชื่อ จอห์น อาร์ชิบัล วีลเลอร์ (John Archibald Wheeler) ได้บัญญัติศัพท์คำว่า รูหนอน ขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: บิกแบงและรูหนอน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ

นื่องจากไม่มีหลักสำคัญทางพุทธศาสนาที่ค้านกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ชาวพุทธเป็นจำนวนมากยอมรับหลักวิทยาศาสตร์ข้อนี้ได้ แต่คำถามเกี่ยวกับความที่โลก (เอกภพ) มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เที่ยงหรือไม่เที่ยง โดยทั่วไปเป็นปัญหาในปัญหา 10 อย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อข้อปฏิบัติให้ถึงมรรคผลนิพพาน เพราะเหตุนั้น ชาวพุทธบางพวกไม่ใส่ใจในปัญหาเหล่านี้ว่ามีประโยชน์เพื่อการพ้นทุกข์ทั้งของตนและผู้อื่น ส่วนองค์ทะไลลามะทรงปฏิเสธวิวัฒนาการที่มาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติว่า ซึ่งเป็นคำกล่าวที่มีนักวิชาการอธิบายว่า องค์ทะไลลามะได้ตรัสเช่นนี้ก็เพราะว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นผลของกรรม ตามหลักของศาสนาพุท.

ใหม่!!: บิกแบงและศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สสารมืด

รมืด (Dark Matter) สสารมืดคือสสารในจักรวาลที่เรามองไม่เห็นแต่รู้ว่ามีอยู่ เพราะอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของมันต่อสสารปกติในกาแล็กซี่ สสารมืดเป็นองค์ประกอบในอวกาศชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเพียงสมมุติฐานทางด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยา ว่ามันเป็นสสารซึ่งไม่สามารถส่องแสงหรือสะท้อนแสงได้เพียงพอที่ระบบตรวจจับการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะสามารถตรวจจับได้โดยตรง แต่การมีอยู่ของมันศึกษาได้จากการสำรวจทางอินฟราเรดจากผลกระทบของแรงโน้มถ่วงรวมที่มีต่อวัตถุท้องฟ้าที่เรามองเห็น จากการสังเกตการณ์โครงสร้างขนาดใหญ่ในอวกาศที่ใหญ่กว่าดาราจักรในปัจจุบัน ตลอดจนถึงทฤษฎีบิกแบง นับได้ว่าสสารมืดเป็นส่วนประกอบของมวลจำนวนมากในเอกภพในสังเกตการณ์ของเรา ปรากฏการณ์ที่ตรวจพบอันเกี่ยวข้องกับสสารมืด เช่น ความเร็วในการหมุนตัวของดาราจักร ความเร็วในการโคจรของดาราจักรในกระจุกดาราจักร รวมถึงการกระจายอุณหภูมิของแก๊สร้อนในดาราจักรและในคลัสเตอร์ของดาราจักร สสารมืดยังมีบทบาทอย่างมากในการก่อตัวและการพัฒนาการของดาราจักร ผลการศึกษาด้านต่างๆ ล้วนบ่งชี้ว่า ในกระจุกดาราจักรและเอกภพโดยรวม ยังคงมีสสารชนิดอื่นอีกนอกเหนือจากสิ่งที่ตอบสนองต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกสสารโดยรวมเหล่านั้นว่า "สสารมืด" สสารปกติจะถูกตรวจจับได้จากการแผ่พลังงานออกมา เนบิวลา กาแล็กซี ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ต้นไม้ หรือแม้กระทั่งจุลชีพเล็กๆ จะถูกตรวจจับได้จากรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมา ทว่าสสารมืดจะไม่แผ่พลังงานเพียงพอที่จะตรวจจับได้โดยตรง นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าในจักรวาลมีสสารมืดตั้งแต่ปี 1933 เมื่อ ฟริตซ์ ซวิคกี้ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ศึกษากระจุกกาแล็กซีโคมา โดยวัดมวลทั้งหมดของกระจุกกาแล็กซีนี้บนพื้นฐานการศึกษาการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีบริเวณขอบของกระจุกกาแล็กซี สสารมืด มีมวลมากกว่าที่มองเห็น จากการประมาณค่าพบว่าการแผ่รังสีทั้งหมดในจักรวาลพบว่า 4% เป็นของวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ 22% มาจากสสารมืด 74% มาจากพลังงานมืด แต่เป็นการยากมากที่จะทดสอบได้ว่าสสารมืดเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าน่าจะมาจากการประกอบกันของส่วนเล็ก ๆ ของ baryons จนเกิดเป็นสสารมืดขึ้น ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ในการศึกษาด้านอนุภาคทางฟิสิกส์เนื่องจากมีมวลบางส่วนของระบบที่ศึกษาหายไป สสารมืด จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการศึกษาอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: บิกแบงและสสารมืด · ดูเพิ่มเติม »

สสารมืดเย็น

รมืดเย็น (Cold dark matter; CDM) เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มทฤษฎีบิกแบง ซึ่งมีสมมุติฐานข้อใหญ่อยู่ว่า สสารส่วนใหญ่ในเอกภพนั้นเป็นสสารที่ไม่สามารถสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ มันจึงมีลักษณะ มืด ขณะที่อนุภาคที่ประกอบกันขึ้นเป็นสสารนี้มีความเร็วต่ำมาก มันจึงมีลักษณะ เย็น ตราบถึงปี..

ใหม่!!: บิกแบงและสสารมืดเย็น · ดูเพิ่มเติม »

สถานะ (สสาร)

นะ (State of matter) เป็นความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น, โครงสร้างผลึก (crystal structure), ดรรชนีหักเหของแสง (refractive index) และอื่นๆ สถานะที่คุ้นเคยกันมาก ได้แก่ ของแข็ง, ของเหลว, และแก๊ส ส่วนสถานะที่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ได้แก่ พลาสมา และ พลาสมาควาร์ก-กลูออน, โบส-ไอน์สไตน์ คอนเดนเซต และ เฟอร์มิโอนิค คอนเดนเซต, วัตถุประหลาด, ผลึกเหลว, ซูเปอร์ฟลูอิด ซูเปอร์โซลิด พาราแมกเนติก, เฟอโรแมกเนติก, เฟสของ วัสดุ แม่เหล็ก.

ใหม่!!: บิกแบงและสถานะ (สสาร) · ดูเพิ่มเติม »

สตีเฟน ฮอว์กิง

ตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง) ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ปัจจุบันต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์ สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม..

ใหม่!!: บิกแบงและสตีเฟน ฮอว์กิง · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำ

มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม.

ใหม่!!: บิกแบงและหลุมดำ · ดูเพิ่มเติม »

อวกาศ

อวกาศ (outer space, หรือ space) คือ ความว่างเปล่าที่มีอยู่ระหว่างวัตถุท้องฟ้า รวมถึงโลก อวกาศมิได้ว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง แต่ประกอบด้วยสุญญากาศแข็งที่ประกอบด้วยอนุภาคความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมีพลาสมาของไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก เช่นเดียวกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและนิวตริโน ปัจจุบัน การสังเกตได้พิสูจน์แล้วว่าอวกาศยังมีสสารมืดและพลังงานมืดอยู่ด้วย อุณหภูมิเส้นฐานกำหนดโดยรังสีพื้นหลังที่หลงเหลือจากบิกแบงมีค่าเพียง 2.7 เคลวิน ในทางตรงข้าม อุณหภูมิในโคโรนาของดาวฤกษ์อาจสูงถึงหนึ่งล้านเคลวิน พลาสมาที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (น้อยกว่าหนึ่งอะตอมไฮโดรเจนต่อลูกบาศก์เมตร) และอุณหภูมิสูง (หลายล้านเคลวิน) ในอวกาศระหว่างดาราจักรเป็นที่มาของสสารแบริออน (baryonic matter) ในอวกาศ ความเข้มข้นเฉพาะถิ่นรวมกันเป็นดาวฤกษ์และดาราจักร อวกาศระหว่างดาราจักรกินปริมาตรส่วนใหญ่ของเอกภพ กระนั้น แม้แต่ดาราจักรและระบบดาวฤกษ์ก็แทบเป็นอวกาศที่ว่างเปล่าสิ้นเชิง หมวดหมู่:สุญญากาศ หมวดหมู่:โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ.

ใหม่!!: บิกแบงและอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อสมมาตรของแบริออน

อสมมาตรของแบริออน (Baryon asymmetry) เป็นปัญหาทางฟิสิกส์เกี่ยวข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันถึงความไม่สมดุลระหว่างสสารแบริออนกับแอนติแบริออนในเอกภพ ไม่ว่าแบบจำลองมาตรฐานในวิชาฟิสิกส์อนุภาค หรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ก็ยังไมสามารถให้คำอธิบายที่แจ่มแจ้งได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ตามสมมุติฐาน เอกภพมีภาวะเป็นกลางจากประจุทุกชนิด การเกิดบิกแบงควรจะทำให้เกิดสสารและปฏิสสารขึ้นเป็นจำนวนพอๆ กัน ซึ่งจะทำให้มันเกิดการหักล้างกันและกัน กล่าวคือ โปรตอนจะหักล้างกับแอนติโปรตอน อิเล็กตรอนจะหักล้างกับแอนติอิเล็กตรอน นิวตรอนจะหักล้างกับแอนตินิวตรอน เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ กับอนุภาคมูลฐานทุกชนิด ผลก็คือเอกภพจะเต็มไปด้วยทะเลโฟตอนโดยไม่มีสสารเกิดขึ้นเลย แต่เอกภพของเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลังจากบิกแบงแล้ว มีบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้กฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์แตกต่างไปสำหรับสสารและปฏิสสาร มีทฤษฎีอยู่หลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์แบริโอเจเนซิส แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีที่เป็นเอกฉันท์ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้.

ใหม่!!: บิกแบงและอสมมาตรของแบริออน · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: บิกแบงและอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (อุณหภูมิ)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: บิกแบงและอันดับของขนาด (อุณหภูมิ) · ดูเพิ่มเติม »

อาร์โน อัลลัน เพนเซียส

อาร์โน อัลลัน เพนเซียส (Arno Allan Penzias; 26 เมษายน ค.ศ. 1933) เป็นนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เพนเซียสเกิดที่เมืองมิวนิค ประเทศสาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมนี) เมื่ออายุ 6 ขวบได้อยู่ในกลุ่มเด็กๆ ชาวยิวที่อพยพไปยังประเทศอังกฤษในปฏิบัติการช่วยเหลือ Kindertransport หกเดือนต่อมาผู้ปกครองของเขาได้หลบหนีจากพวกนาซีไปยังสหรัฐอเมริกา จากนั้นครอบครัวจึงได้ตั้งรกรากที่เมืองนิวยอร์กในปี..

ใหม่!!: บิกแบงและอาร์โน อัลลัน เพนเซียส · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน

อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานโดรวิช ฟรีดมาน (Alexander Alexandrovich Friedman; Александр Александрович Фридман) (16 มิถุนายน ค.ศ. 1888, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย – 16 กันยายน ค.ศ. 1925, เลนินกราด, สหภาพโซเวียตรัสเซีย) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวรัสเซียและสหภาพโซเวียต ผู้ค้นพบคำตอบของการขยายตัวของเอกภพจากสมการสนามของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปในปี ค.ศ. 1922 สอดคล้องกับการสังเกตการณ์ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1929 บทความวิชาการของฟรีดมานใน..

ใหม่!!: บิกแบงและอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์

มงแซเญอร์ฌอร์ฌ อ็องรี โฌแซ็ฟ เอดัวร์ เลอแม็ทร์ (Monseigneur Georges Henri Joseph Édouard Lemaître; 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1894 - 20 มิถุนายน ค.ศ. 1966) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวเบลเยียม มีสมณศักดิ์เป็นเพรเลต และเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน บางครั้งเรียกโดยย่อด้วยชื่อตำแหน่งว่า "คุณพ่อ" (Abbé) หรือ "พระคุณเจ้า" (Monseigneur) เลอแม็ทร์ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของจักรวาล ซึ่งต่อมากลายมาเป็นทฤษฎีบิกแบง เขาเรียกทฤษฎีของเขาว่า "สมมุติฐานว่าด้วยอะตอมแรกเริ่ม".

ใหม่!!: บิกแบงและฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ สมูท

อร์จ ฟิตซ์เจอรัลด์ สมูท ที่ 3 (George Fitzgerald Smoot III; เกิดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ชนะรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐจากการแข่งขันรายการทางโทรทัศน์ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อปี..

ใหม่!!: บิกแบงและจอร์จ สมูท · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ครอมเวล เมเทอร์

อห์น ครอมเวล เมเทอร์ (John Cromwell Mather; เกิดวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1946) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานดาวเทียม COBE ร่วมกับ จอร์จ สมูท ดาวเทียม COBE สามารถตรวจวัด "...รูปแบบของวัตถุดำและความไม่เหมือนกันทุกทิศทาง (Anisotropy) ของการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล" ได้เป็นครั้งแรก ผลงานนี้ช่วยยืนยันเป็นหลักฐานแน่นหนาแก่ทฤษฎีบิกแบงโดยอาศัยดาวเทียมสำรวจไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (COBE) จากความเห็นของคณะกรรมการรางวัลโนเบล กล่าวว่า "โครงการ COBE อาจพิจารณาได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาจักรวาลวิทยาอย่างละเอียดแม่นยำ" เมเทอร์เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์อาวุโสที่ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดขององค์การนาซาในแมริแลนด์ และเป็นศาสตราจารย์พิเศษสาขาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ เมื่อปี..

ใหม่!!: บิกแบงและจอห์น ครอมเวล เมเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาล

การแกะลายแบบ Flammarion, กรุงปารีส ค.ศ. 1888 จักรวาล (cosmos) คือ เอกภพซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อนและเป็นระบบระเบียบ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความยุ่งเหยิง (chaos) นักปรัชญา พีทาโกรัส ใช้คำว่า จักรวาล (cosmos) เพื่อกล่าวถึงความเป็นระเบียบของเอกภพ ทว่าคำนี้ไม่ถูกใช้ในภาษาสมัยใหม่จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภูมิศาสตร์ อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ได้นำคำนี้จากกรีกโบราณกลับมาใช้อีกครั้ง ในชุดหนังสือของเขา Kosmos ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองสมัยใหม่องค์รวม ที่มองเอกภพเป็นสิ่งสิ่งเดียวซึ่งปฏิสัมพันธ์กัน.

ใหม่!!: บิกแบงและจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

จุน. เค

ม มินจุน (김민준) เป็นนักร้องสัญชาติเกาหลี สมาชิกวงทูพีเอ็ม ที่มีน้ำเสียงในการร้องเพลงที่ไพเราะและได้รับการยอมรั.

ใหม่!!: บิกแบงและจุน. เค · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: บิกแบงและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: บิกแบงและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: บิกแบงและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: บิกแบงและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน

วเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน (Wilkinson Microwave Anisotropy Probe; WMAP) หรือ ดาวเทียมดับเบิลยูแมป ชื่อเดิมคือ แมป (MAP) และ เอ็กพลอเรอร์ 80 (Explorer 80) เป็นยานอวกาศที่วัดความแตกต่างของอุณหภูมิการแผ่รังสีความร้อนที่หลงเหลืออยู่จากเหตุการณ์บิกแบง หรือที่เรียกว่า การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล โดยการตรวจวัดไปทั่วท้องฟ้า หัวหน้าโครงการคือศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ แอล.

ใหม่!!: บิกแบงและดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียมโคบี

แผนที่อุณหภูมิพื้นหลังของอวกาศ ดาวเทียมโคบี (Cosmic Background Explorer; คำย่อ COBE) ขึ้นสู่อวกาศไปโคจรรอบโลกเมื่อ ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) หน้าที่หลักคือตรวจสอบความอบอุ่นที่ยังหลงเหลืออยู่จากการเกิดบิกแบงซึ่งเรียกว่า อุณหภูมิพื้นหลังของอวกาศ ดาวเทียมโคบีได้ทำแผนที่อุณหภูมิท้องฟ้าทั้งหมดแล้วพบความแตกต่างน้อยมากคล้ายกับคลื่นน้ำ ดาวเทียมโคบีได้ตรวจสอบอุณหภูมิย้อนกลับไปถึงครึ่งล้านปีหลังบิกแบง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียงเล็กน้อยของท้องฟ้า แสดงว่าเอกภพมีอุณหภูมิไม่สม่ำเสมอเมื่อตอนที่มีอายุได้ครึ่งล้านปี เมื่อเอกภพเริ่มไม่ราบเรียบและอุณหภูมิไม่สม่ำเสมอแล้ว สสารก็เกาะกลุ่มกันเป็นก้อน.

ใหม่!!: บิกแบงและดาวเทียมโคบี · ดูเพิ่มเติม »

ดิวเทอเรียม

วเทอเรียม (Deuterium) สัญญลักษณ์ 2H ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไฮโดรเจนหนัก เป็นหนึ่งในสองของไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เสถียร โดยที่นิวเคลียสของอะตอมมีโปรตอน 1 ตัวและนิวตรอน 1 ตัว ในขณะที่ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่รู้จักกันทั่วไปมากกว่าที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรเทียม (protium) มีเพียงโปรตอนเดียวเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน ดิวเทอเรียมมี'ความอุดมในธรรมชาติ' โดยพบในมหาสมุทรทั่วไปประมาณหนึ่งอะตอมใน 6420 อะตอมของไฮโดรเจน ทำให้ดิวเทอเรียมมีสัดส่วนที่ประมาณ 0.0156% (หรือ 0.0312% ถ้าคิดตามมวล) ของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งหมดในมหาสมุทร ในขณะที่โปรเทียมมีสัดส่วนมากกว่า 99.98% ความอุดมของดิวเทอเรียมเปลี่ยนแปงเล็กน้อยตามชนิดของน้ำตามธรรมชาติ (ดู ค่าเฉลี่ยของน้ำในมหาสมุทรตามมาตรฐานเวียนนา) นิวเคลียสของดิวเทอเรียมเรียกว่าดิวเทอรอน เราใช้สัญลักษณ์ 2H แทนดิวเทอเรียม อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่เราใช้ D แทนดิวเทอเรียม เช่นเมื่อเราต้องการจะเขียนสัญลักษณ์แทนโมเลกุลก๊าซดิวเทอเรียม จะสามารถเขียนแทนได้ว่า 2H2 หรือ D2 ก็ได้ หากแทนที่ดิวเทอเรียมในโมเลกุลของน้ำ จะทำให้เกิดสารดิวเทอเรียมออกไซด์หรือที่เรียกว่าน้ำมวลหนักขึ้น ถึงแม้น้ำชนิดหนักจะไม่เป็นสารพิษที่ร้ายแรงมากนัก แต่ก็ไม่เคยถูกนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค การมีอยู่ของดิวเทอเรียมในดาวฤกษ์เป็นข้อมูลสำคัญในวิชาจักรวาลวิทยา โดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในดาวฤกษ์จะทำลายดิวเทอเรียม ยังไม่พบกระบวนการในธรรมชาติใดๆที่ทำให้เกิดดิวเทอเรียมนอกจากปรากฏการณ์บิ๊กแบง ดิวเทอเรียมไม่มีอะไรต่างจากไฮโดรเจนมากนักในเชิงเคมีฟิสิกส์ นอกเสียจากว่ามีมวลที่หนักกว่า ซึ่งมวลที่หนักกว่านี้เองที่ทำให้ดิวเทอเรียมเปรียบเสมือนกับไฮโดรเจนที่เชื่องช้า เนื่องจากการที่มีมวลมากกว่า จะทำให้มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว.

ใหม่!!: บิกแบงและดิวเทอเรียม · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นความโน้มถ่วง

ในวิชาฟิสิกส์ คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) คือความผันผวนของความโค้งในปริภูมิ-เวลาที่แผ่ออกเป็นคลื่น ที่เดินทางออกจากแหล่งกำเนิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทำนายไว้ใน..

ใหม่!!: บิกแบงและคลื่นความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)

ในทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ความเป็นโลหะ (metallicity) ของวัตถุคือค่าสัดส่วนองค์ประกอบของสสารในวัตถุนั้นที่มีส่วนประกอบของธาตุทางเคมีชนิดอื่นมากกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม ทั้งนี้ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ชัดในเอกภพมักประกอบด้วยไฮโดรเจนกับฮีเลียม นักดาราศาสตร์จึงนิยมเรียกส่วนที่เหลือ (ในที่ว่างดำมืด) ว่าเป็น "โลหะ" เพื่อความสะดวกในการบรรยายถึงส่วนที่เหลือทั้งหมด จากคำนิยามนี้ เนบิวลาซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และนีออน อยู่อย่างล้นเหลือ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุอุดมโลหะ" ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้เป็นโลหะจริงๆ ตามความหมายของเคมีดั้งเดิม จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องระมัดระวังไม่นำไปปะปนกับคำว่า "โลหะ" (metal หรือ metallic) โดยทั่วไป ความเป็นโลหะของวัตถุทางดาราศาสตร์อาจพิจารณาได้จากอายุของวัตถุนั้นๆ เมื่อแรกที่เอกภพก่อตัวขึ้นตามทฤษฎีบิกแบง มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนิวคลีโอซินทีสิสในยุคแรกเริ่มแล้ว จึงได้เกิดสัดส่วนฮีเลียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น กับลิเทียมและเบริลเลียมอีกจำนวนเล็กน้อย แต่ยังไม่มีธาตุหนักเกิดขึ้น ดาวฤกษ์ที่อายุเก่าแก่จึงมักมีส่วนประกอบโลหะอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ข้อเท็จจริงที่พบจากการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์จำนวนมากและพบส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ด้วย ยังเป็นปริศนาที่ไขไม่ออก คำอธิบายในปัจจุบันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลการมีอยู่ของดาวฤกษ์ชนิด Population III เชื่อกันว่า ถ้าไม่มีโลหะ ก็มีแต่เพียงดาวฤกษ์ที่มีมวลมากอย่างมหาศาลเท่านั้นที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ และในช่วงปลายอายุขัยของมันก็จะมีการสร้างธาตุ 26 ชนิดแรกไปจนถึงเหล็กในตารางธาตุ ผ่านกระบวนการนิวคลีโอซินทีสิส ในเมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลมหาศาล แบบจำลองในปัจจุบันจึงระบุถึงการสิ้นอายุขัยของมันในลักษณะซูเปอร์โนวา ซึ่งทำให้สสารภายในของดาวแตกกระจายและแผ่ออกไปในเอกภพ ทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นถัดมาที่มีส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ตามทฤษฎีเท่าที่มีในปี..

ใหม่!!: บิกแบงและความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงที่จักรวาล

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ค่าคงที่จักรวาล (Cosmological constant; มักเขียนย่อด้วยอักษรกรีกตัวใหญ่ แลมบ์ดา: Λ) คือค่าคงที่ที่นำเสนอโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพื่อปรับปรุงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเองให้สามารถได้ผลสอดคล้องกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์เชื่อ ในภายหลังไอน์สไตน์ก็ละทิ้งแนวคิดนี้ไปหลังจากมีผลสังเกตการณ์การเคลื่อนไปทางแดง ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ซึ่งบ่งชี้ว่าเอกภพไม่ได้มีสภาวะสถิตหรือหยุดนิ่งกับที่ แต่เอกภพกำลังขยายตัว อย่างไรก็ดี การค้นพบ ความเร่งของจักรวาล (cosmic acceleration) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รื้อฟื้นความสนใจเกี่ยวกับค่าคงที่จักรวาลขึ้นมาใหม.

ใหม่!!: บิกแบงและค่าคงที่จักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

ซึงรี

อี ซึง-ฮย็อน (이승현; Lee Seunghyun) รู้จักกันในนาม ซึงรี หรือ V.I.(승리; Seungri) เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง ชาวเกาหลีใต้ และนักแสดง, เขาเป็นสมาชิกที่เด็กในวงบอยแบนด์เกาหลีใต้ วงบิ๊กแบง ซึงรีมีผลงานอัลบั้มเดี่ยว, VVIP ที่ปล่อยวางจำหน่ายเมื่อปี 2011.

ใหม่!!: บิกแบงและซึงรี · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์

ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์ หรือปฏิทรรศน์ว่าด้วยความมืดของท้องฟ้าเวลากลางคืน เป็นแนวคิดทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ออลเบอร์ส ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า หากการอนุมานที่ว่าเอกภพมีขนาดกว้างไกลไม่สิ้นสุด มีจำนวนดาวเป็นอนันต์กระจายสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาวะสถิต ท้องฟ้าเวลากลางคืนก็ไม่ควรจะมืดมิดเช่นที่ปรากฎ จึงถือเป็นหลักฐานหนึ่งที่สนับสนุนว่าเอกภพนั้นไม่ได้อยู่ในสภาวะสถิต เช่น มีจุดกำเนิดและกำลังเปลี่ยนแปลง เช่นที่บรรยายไว้ในแบบจำลองแบบบิกแบง ในกรณีที่เอกภพมีขนาดกว้างไกลไม่สิ้นสุด มีจำนวนดาวเป็นอนันต์ กระจายสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาวะสถิต เส้นสายตาใดๆ ที่มองออกจากโลกย่อมต้องสิ้นสุดที่ดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งเสมอ ดังนั้นท้องฟ้าเวลากลางคืนก็ควรจะสว่างไปทั่วด้วยแสงดาวฤกษ์ที่มีจำนวนอนันต์ หมวดหมู่:จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ.

ใหม่!!: บิกแบงและปฏิทรรศน์ของออลเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบง

ประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบง เริ่มต้นจากการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีบิกแบงจากการเฝ้าสังเกตการณ์และคำนวณในเชิงทฤษฎี งานด้านทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นการขยายความและปรับแต่งทฤษฎีบิกแบงพื้นฐานให้ดียิ่งขึ้น.

ใหม่!!: บิกแบงและประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาขอบฟ้า

ปัญหาขอบฟ้า (Horizon Problem) เป็นปัญหาในแบบจำลองมาตรฐานจักรวาลวิทยาตามทฤษฎีบิกแบง เริ่มต้นขึ้นในราวคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยบอกว่า มีย่านต่างๆ ที่แตกต่างกันในเอกภพซึ่งมิได้ "เชื่อมโยง" (contacted) เข้ากับที่อื่นๆ อันเนื่องมาจากระยะทางอันไพศาล ทว่ามันกลับมีอุณหภูมิเท่ากันและมีคุณลักษณะทางกายภาพอื่นอีกหลายประการเหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ หากถือว่าการแลกเปลี่ยน "ข้อมูล" (หรือพลังงาน, ความร้อน, ฯลฯ) จะสามารถเกิดขึ้นได้ภายในขีดจำกัดความเร็วแสงเท่านั้น ปัญหาขอบฟ้านี้อาจอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการพองตัว ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถือกำเนิดมาเพื่อแก้ปัญหาข้อนี้ส่วนหนึ่ง หมวดหมู่:จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ.

ใหม่!!: บิกแบงและปัญหาขอบฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาความแบนของเอกภพ

ตัวแปรจักรวาลโอเมกามีค่าน้อยกว่า เท่ากับ หรือมากกว่า 1; ภาพจากบนลงล่าง: เอกภพปิดที่มีความโค้งเป็นบวก, เอกภพไฮเพอร์โบลิกที่มีความโค้งเป็นลบ, และเอกภพแบนที่มีค่าความโค้งเป็นศูนย์ ปัญหาความแบนของเอกภพ (Flatness Problem) เป็นปัญหาเชิงลึกของการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพตามแบบจำลองทฤษฎีบิกแบง เกิดขึ้นเนื่องจากการสังเกตการณ์พบว่า สถานะเริ่มต้นบางประการของเอกภพมิได้เข้ากันอย่างสนิทดีกับค่า "พิเศษ" บางประการ การผิดเพี้ยนไปเพียงเล็กน้อยนั้นอาจส่งผลกระทบอันกว้างขวางต่อลักษณะของเอกภพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้ ในกรณีของปัญหาความแบนนี้ ค่าตัวแปรที่มิได้เข้ากันพอดีคือ ค่าความหนาแน่นของสสารและพลังงานในเอกภพ ค่านี้ส่งผลกระทบต่อความโค้งของกาล-อวกาศ โดยมีค่าความหนาแน่นวิกฤตที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ที่จำเป็นต่อสภาวะเอกภพที่แบน การสังเกตการณ์พบว่าความหนาแน่นของเอกภพในปัจจุบันมีค่าใกล้เคียงกับค่าวิกฤตนี้มาก ความหนาแน่นโดยรวมนั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปจากค่าวิกฤตตลอดช่วงเวลาคอสมิก ดังนั้นเอกภพในยุคเริ่มแรกจะต้องมีความหนาแน่นใกล้กับความหนาแน่นวิกฤตมากๆ โดยผิดเพี้ยนไปไม่เกินหนึ่งส่วน 1062 สิ่งนี้ทำให้นักจักรวาลวิทยาตั้งข้อสงสัยว่า ค่าความหนาแน่นเริ่มต้นของเอกภพมีค่าใกล้เคียงกับค่า "พิเศษ" นี้ได้อย่างไร ผู้ระบุถึงปัญหานี้ขึ้นเป็นครั้งแรกคือ โรเบิร์ต ดิค เมื่อปี..

ใหม่!!: บิกแบงและปัญหาความแบนของเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์

ในธรณีเคมีและธรณีฟิสิกส์นิวเคลียร์ นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์ (Primodial nuclide) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไอโซโทปดึกดำบรรพ์ เป็นนิวไคลด์ที่พบบนโลกที่ยังคงสภาพเดิมนับตั้งแต่ก่อนที่โลกก่อตัวขึ้น นิวไคลด์ดึกดำบรรพ์นี้เป็นสิ่งที่เหลือตกค้างมาจากบิกแบง นิวไคลด์อื่นๆในเอกภพ และจากซูเปอร์โนวา ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีระบบสุริยะ พวกมันประกอบไปด้วยนิวไคลด์ที่เสถียรแล้ว และมีอายุที่ยาวนานนับตั้งแต่เนบิวลาดาวฤกษ์ยุคแรก ผ่านการก่อตัวของดาวเคราะห์ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มีนิวไคลด์ที่เสถียรแล้ว 288 ตัวที่เป็นที่รู้จัก มีนิวไคลด์เสถียร 254 ตัว ซึ่งเป็นนิวไคลด์ดึกดำบรรพ์โดยแท้ และมีอีก 34 ตัวที่มีครึ่งชีวิตที่ยาวนานพอที่จะรอดมาจากการกำเนิดโลก นิวไลคด์ดึกดำบรรพ์ 34 ตัวนี้ แบ่งเป็นไอโซโทปของธาตุ 28 ธาตุ เป็นของแคดเมียม เทลลูเรียม นีโอดีเมียม และยูเรเนียม อย่างละ 2 ตัว (113Cd, 116Cd; 128Te, 130Te; 144Nd, 150Nd และ 235U, 238U) และซาแมเรียมมี 3 ตัว (146Sm 147Sm 148Sm).

ใหม่!!: บิกแบงและนิวไคลด์ดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม

แผนภูมิวงกลมแสดงสัดส่วนขององค์ประกอบมวลหรือพลังงานที่มีอยู่ในเอกภพ ซึ่งราว 95% เป็นสสารมืดและพลังงานมืด แลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม (Lambda-CDM) ย่อมาจาก Lambda-Cold Dark Matter หรือ แลมบ์ดา-สสารมืดเย็น มักถูกอ้างถึงในฐานะเป็น แบบจำลองมาตรฐาน ของการศึกษาจักรวาลวิทยาตามทฤษฎีบิกแบง เป็นความพยายามอธิบายถึงการมีอยู่และโครงสร้างของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ การกระจายตัวขององค์ประกอบแสง และการที่เอกภพขยายตัวออกด้วยอัตราเร่ง ซึ่งสังเกตได้จากแสงจากดาราจักรที่อยู่ห่างไกลหรือซูเปอร์โนวา เป็นแบบจำลองที่เรียบง่ายที่สุดที่เห็นพ้องกันว่าสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่สังเกตได้.

ใหม่!!: บิกแบงและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

แบริออน

แบริออน (Baryon) เป็นตระกูลหนึ่งของอนุภาคย่อยของอะตอมแบบผสมที่เกิดจากควาร์ก 3 ตัว (ซึ่งแตกต่างจาก มีซอน ซึ่งประกอบด้วยควาร์ก 1 ตัวและปฏิควาร์ก 1 ตัว) พวกแบริออนและมีซอนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอนุภาคที่เรียกว่า แฮดรอน ซึ่งเป็นตระกูลอนุภาคที่เกิดจากควาร์ก คำว่า แบริออน มาจากภาษากรีกโบราณว่า βαρύς (แบรีส) มีความหมายว่า "หนัก" เนื่องจากเมื่อครั้งที่ตั้งชื่อนี้นั้น พวกอนุภาคมูลฐานที่รู้จักกันแล้วส่วนใหญ่มีมวลน้อยกว่าพวกแบริออน เนื่องจากแบริออนประกอบด้วยควาร์ก มันจึงประสพกับอันตรกิริยาอย่างเข้ม ในขณะที่พวกเลปตอน ซึ่งไม่มีส่วนประกอบของควาร์ก ไม่ต้องประสพ พวกแบริออนที่คุ้นเคยมากที่สุดคือ โปรตอน และ นิวตรอน ซึ่งประกอบขึ้นเป็นมวลส่วนใหญ่ของสสารที่มองเห็นได้ในจักรวาล ขณะที่อิเล็กตรอน (ส่วนประกอบหลักอีกอย่างหนึ่งของอะตอม) เป็นเลปตอน แบริออนแต่ละตัวจะมีคู่ปฏิยานุภาคที่เรียกว่า ปฏิแบริออน ซึ่งควาร์กจะถูกแทนที่ด้วยคู่ตรงข้ามของมันคือ ปฏิควาร์ก ตัวอย่างเช่น โปรตอนประกอบด้วย 2 อัพควาร์ก และ 1 ดาวน์ควาร์ก คู่ปฏิยานุภาคของมันคือ ปฏิโปรตอน ประกอบด้วย 2 อัพปฏิควาร์ก และ 1 ดาวน์ปฏิควาร์ก จนถึงเร็ว ๆ นี้ ยังคิดกันว่ามีการทดลองบางอย่างที่สามารถแสดงถึงการมีอยู่ของ เพนตาควาร์ก หรือแบริออนประหลาดที่ประกอบด้วยควาร์ก 4 ตัวกับแอนติควาร์ก 1 ตัว ชุมชนนักฟิสิกส์อนุภาคทั้งหมดไม่เคยมองการมีอยู่ของอนุภาคในลักษณะนี้มาก่อนจนกระทั่ง..

ใหม่!!: บิกแบงและแบริออน · ดูเพิ่มเติม »

แบริโอเจเนซิส

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา แบริโอเจเนซิส (Baryogenesis) เป็นศัพท์สามัญที่ใช้เรียกกระบวนการทางกายภาพตามสมมุติฐาน อันเป็นการทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างแบริออนกับปฏิแบริออน ในช่วงเริ่มต้นของเอกภพ เป็นผลให้เกิดสสารต่างๆ อันเป็นส่วนประกอบของเอกภพในปัจจุบัน ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแบริโอเจเนซิส ต้องอาศัยสาขาวิชาย่อยทางฟิสิกส์มาช่วยมากมาย เช่น ทฤษฎีสนามควอนตัม และฟิสิกส์เชิงสถิติ เพื่ออธิบายถึงกลไกที่เป็นไปได้ ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแบริโอเจเนซิสแบบต่างๆ เป็นเรื่องรายละเอียดของปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคพื้นฐาน กระบวนการถัดจากแบริโอเจเนซิส ยังเป็นที่เข้าใจกันมากกว่า นั่นคือ บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่นิวเคลียสอะตอมของแสงเริ่มก่อตัวขึ้น.

ใหม่!!: บิกแบงและแบริโอเจเนซิส · ดูเพิ่มเติม »

แสงวาบรังสีแกมมา

วาดจากศิลปินแสดงชีวิตของดาวฤกษ์มวลมากซึ่งเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เปลี่ยนให้อนุภาคที่เบากว่ากลายเป็นอนุภาคมวลหนัก เมื่อการเกิดฟิวชั่นไม่อาจสร้างแรงดันเพียงพอจะต้านการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงอย่างรวดเร็วและกลายเป็นหลุมดำ ตามทฤษฎีแล้ว พลังงานจะถูกปลดปล่อยออกมาระหว่างการยุบตัวตามแนวแกนของการหมุน ทำให้เกิดแสงวาบรังสีแกมมา ''Credit: Nicolle Rager Fuller/NSF'' แสงวาบรังสีแกมมา (Gamma-ray burst: GRB) คือแสงสว่างของรังสีแกมมาที่เกี่ยวข้องกับการระเบิดอย่างรุนแรงของดาราจักรที่อยู่ไกลมากๆ นับเป็นปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สว่างที่สุดที่ปรากฏในเอกภพนับแต่เหตุการณ์บิกแบง ตามปกติเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ก็อาจมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันตั้งแต่ไม่กี่มิลลิวินาทีไปจนถึงหนึ่งชั่วโมง หลังจากการระเบิดครั้งแรก จะมีเหตุการณ์ "afterglow" อันยาวนานติดตามมาที่ช่วงความยาวคลื่นอื่นที่ยาวกว่า (เช่น รังสีเอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต แสงที่ตามองเห็น อินฟราเรด และคลื่นวิทยุ) แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบส่วนใหญ่คิดว่าเป็นลำแสงแคบๆ ประกอบด้วยรังสีที่หนาแน่นซึ่งปลดปล่อยออกมาระหว่างเกิดเหตุซูเปอร์โนวา เนื่องจากดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงมากและหมุนด้วยความเร็วสูงได้แตกสลายลงกลายเป็นหลุมดำ มีการแบ่งประเภทย่อยของแสงวาบรังสีแกมมาซึ่งเกิดจากกระบวนการอื่นที่แตกต่างกัน เช่นเกิดการรวมตัวกันของดาวนิวตรอนที่เป็นดาวคู่ แหล่งกำเนิดแสงวาบรังสีแกมมาส่วนใหญ่อยู่ห่างจากโลกไปไกลนับพันล้านปีแสง แสดงว่าการระเบิดนั้นจะต้องทำให้เกิดพลังงานสูงมาก (การระเบิดแบบปกติจะปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากเพียงไม่กี่วินาทีเท่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งออกไปตลอดช่วงอายุ 10,000 ล้านปี) และเกิดขึ้นน้อยมาก (เพียงไม่กี่ครั้งต่อดาราจักรต่อล้านปี) แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบทั้งหมดมาจากดาราจักรแห่งอื่นพ้นจากทางช้างเผือก แม้จะมีการพบปรากฏการณ์คล้ายๆ กัน คือ soft gamma repeater flares เกิดจาก Magnetar ภายในทางช้างเผือกนี้ มีการตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าเกิดแสงวาบรังสีแกมมาขึ้นในทางช้างเผือกแล้ว จะทำให้โลกดับสูญไปทั้งหมด การค้นพบแสงวาบรังสีแกมมาครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1967 โดยดาวเทียม Vela ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเทียมที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับการลักลอบทดลองอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากการค้นพบครั้งนั้น ได้มีแบบจำลองทางทฤษฎีหลายร้อยแบบเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาหลายปีเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้ เช่น เป็นการชนกันระหว่างดาวหางกับดาวนิวตรอน เป็นต้น ข้อมูลที่จะใช้ตรวจสอบแบบจำลองเหล่านี้มีน้อยมาก จนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: บิกแบงและแสงวาบรังสีแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

แสงแรก

แสงแรก (First Light) ในทางจักรวาลวิทยา หมายถึงการปลดปล่อยแสงเป็นครั้งแรกในอดีตหลายพันล้านปีมาแล้ว ณ เวลาที่เกิดบิกแบง สำหรับในทางดาราศาสตร์ แสงแรก ใช้เมื่อกล้องโทรทรรศน์ (โดยเฉพาะกล้องหรือเครื่องมือวัดใหม่) เปิดใช้เพื่อถ่ายภาพวัตถุทางดาราศาสตร์เป็นครั้งแรกหลังจากก่อสร้างเสร็จ ทั้งนี้ไม่ใช่การรับภาพเป็นครั้งแรกซึ่งอาจกระทำในระหว่างการทดสอบเพื่อปรับแต่งค่าต่างๆ ในเวลากลางวัน ภาพถ่ายแสงแรก อาจไม่เป็นที่น่าสนใจในทางดาราศาสตร์มากนักเพราะมักเป็นภาพคุณภาพต่ำเนื่องจากกล้องยังไม่ได้รับการปรับแต่งให้ทำงานที่ประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ดี ภาพถ่ายแสงแรกยังคงมีความสำคัญและน่าตื่นเต้นสำหรับผู้ออกแบบและผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์ รวมถึงในแวดวงนักดาราศาสตร์ด้ว.

ใหม่!!: บิกแบงและแสงแรก · ดูเพิ่มเติม »

แอนติโปรตอน

แอนติโปรตอน (antiproton) หรือชื่อที่รู้จักกันน้อยกว่าคือ เนกาตรอน (negatron) หรือ (อ่านว่า พีบาร์) เป็นปฏิยานุภาคของโปรตอน แอนติโปรตอนนั้นเสถียร แต่โดยทั่วไปมีอายุสั้น เพราะการชนกับโปรตอนจะทำให้อนุภาคทั้งสองประลัยในการระเบิดของพลังงาน พอล ดิแรกทำนายการมีอยู่ของแอนติโปรตอนซึ่งมีประจุไฟฟ้า -1 ตรงข้ามกับประจุไฟฟ้า +1 ของโปรตอน ในการบรรยายรางวัลโนเบลปี 1933 ดิแรกได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการตีพิมพ์สมการดิแรกของเขาซึ่งทำนายการมีผลเฉลยบวกและลบของสมการพลังงาน (E.

ใหม่!!: บิกแบงและแอนติโปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

แดซ็อง

ัง แด-ซ็อง (Kang Dae-sung; 강대성; 26 เมษายน พ.ศ. 2532 —) หรือมักเรียกกันว่า แดซ็อง (Daesung) หรือชื่อในการแสดงว่า ดี-ไลต์ (D-Lite) เป็นศิลปินชาวเกาหลีใต้ พิธีกรรายการวาไรอิตี นักแสดง และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะสมาชิกของกลุ่มศิลปิน “บิ๊กแบง Big Bang ” แดซ็องเกิดที่เมือง อีแทว็อน Itaewon และเข้าเรียนโรงเรียนมัธยม KyeongIn High School แต่ต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกับวงบิ๊กแบง, ในที่สุด เขาได้ผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2551 และเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย Kyunghee สาขา ดนตรีร่วมสมัย ในโซล ประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: บิกแบงและแดซ็อง · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต วูดโรว์ วิลสัน

รเบิร์ต วูดโรว์ วิลสัน (Robert Woodrow Wilson; เกิด 10 มกราคม ค.ศ. 1936) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับ อาร์โน อัลลัน เพนเซียส จากผลงานการค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล เมื่อปี..

ใหม่!!: บิกแบงและโรเบิร์ต วูดโรว์ วิลสัน · ดูเพิ่มเติม »

ไข่จักรวาล

ักรวาล เป็นแนวคิดปรัมปราที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่โดยวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และนำมาช่วยสร้างทฤษฎีมากมายในช่วง 2 ทศวรรษถัดมา แนวคิดนี้เกิดมาจากการค้นพบผลสังเกตการณ์ของเอ็ดวิน ฮับเบิลว่า เอกภพกำลังขยายตัว (ซึ่งเคยมีการทำนายมาก่อนหน้านี้แล้วจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์) พร้อมกับข้อสังเกตว่าเอกภพมีอายุเก่าแก่ไม่มีสิ้นสุด ปี..

ใหม่!!: บิกแบงและไข่จักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

เฟรด ฮอยล์

ซอร์ เฟรด ฮอยล์ (Sir Fred Hoyle; สมาชิกราชสมาคม FRS; 24 มิถุนายน ค.ศ. 1915 - 20 สิงหาคม ค.ศ. 2001) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้สนับสนุนทฤษฎีนิวคลีโอซินทีสิสของดาวฤกษ์ และมักร่วมในการถกเถียงต่างๆ เกี่ยวกับจักรวาลวิทยาและประเด็นทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฎี"บิกแบง" ซึ่งเป็นวลีที่เขาตั้งขึ้นเป็นการล้อเลียน นอกจากในฐานะนักดาราศาสตร์แล้ว ฮอยล์ยังเป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ด้วย และร่วมเขียนหนังสือหลายเล่มกับบุตรชาย คือ เจฟฟรีย์ ฮอยล์ เขาอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตทำงานให้กับสถาบันดาราศาสตร์แห่งเคมบริดจ์ และได้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้เป็นเวลาหลายปี ฮอยล์เสียชีวิตที่เมืองบอร์นมัธ ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: บิกแบงและเฟรด ฮอยล์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลากราฟิกจากบิกแบงถึงฮีทเดธ

นี่คือเส้นเวลาของจักรวาลจากบิกแบง (Big Bang) ถึงฮีทเดธ (Heat Death) แสดงยุคต่างๆของจักรวาล ฮีทเดธจะเกิดขึ้นในอีก 10103 ปี ถ้าโปรตอนสลายตัว ImageSize.

ใหม่!!: บิกแบงและเส้นเวลากราฟิกจากบิกแบงถึงฮีทเดธ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลากราฟิกของบิกแบง

แผนภาพเส้นเวลาของบิกแบง แสดงลำดับการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นตามทฤษฎีบิกแบง นับแต่จุดเริ่มต้นของเวลาไปจนถึงยุคมืด (Dark Ages) แผนภาพนี้แสดงในอันดับลอการิทึม ซึ่งแสดงในหน่วย 10 \cdot \log_ วินาที แทนที่ วินาที ตัวอย่างเช่น 1 ไมโครวินาที เท่ากับ 10 \cdot \log_ 0.000 001.

ใหม่!!: บิกแบงและเส้นเวลากราฟิกของบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลากราฟิกของจักรวาล

้นเวลาของจักรวาลของเราที่มีระยะเวลายาวนาน 20 พันล้านปีอันนี้ แสดงให้เห็นถึงการประมาณการของเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่การกำเนิดจักรวาลจนถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ถูกคาดการณ์ไว้ 0 บนสเกลคือเวลาปัจจุบันนี้ ช่องสเกลใหญ่คือ 1 พันล้านปี ช่องสเกลเล็กคือ 100 ล้านปี อดีตถูกบ่งบอกโดยใช้เครื่องหมายลบ ตัวอย่างเช่น หินที่เก่าแก่ที่สุดบนโลกเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 พันล้านปีที่แล้ว และถูกแสดงที่ -4e+09 years "บิกแบง" ดูเหมือนจะเกิดขึ้นเมื่อ 13.8 พันล้านปีที่แล้ว ImageSize.

ใหม่!!: บิกแบงและเส้นเวลากราฟิกของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: บิกแบงและเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ คือ เส้นเวลาที่บอกถึงประวัติศาสตร์ของธรรมชาติตั้งแต่การเกิดบิกแบงจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: บิกแบงและเส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพ

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ที่ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน เอกภพ หรือ จักรวาล โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นผลรวมของการดำรงอยู่ รวมทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร สิ่งที่บรรจุอยู่ในอวกาศระหว่างดาราจักร และสสารและพลังงานทั้งหมด การสังเกตเอกภพทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9,999 ล้านปีแสง นำไปสู่อนุมานขั้นแรกเริ่มของเอกภพ การสังเกตเหล่านี้แนะว่า เอกภพถูกควบคุมด้วยกฎทางฟิสิกส์และค่าคงที่เดียวกันตลอดขนาดและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ทฤษฎีบิกแบงเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยาทั่วไปซึ่งอธิบายพัฒนาการแรกเริ่มของเอกภพ ซึ่งในจักรวาลวิทยากายภาพเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 13,700 ล้านปีก่อน มีนักฟิสิกส์มากมายเชื่อสมมุติฐานเกี่ยวกับพหุภพ ซึ่งกล่าวไว้ว่าเอกภพอาจเป็นหนึ่งในภพจำนวนมากที่มีอยู่เช่นกัน ระยะทางไกลสุดที่เป็นไปได้ทางทฤษฎีแก่มนุษย์ที่จะมองเห็นอธิบายว่าเป็น เอกภพที่สังเกตได้ การสังเกตได้แสดงว่า เอกภพดูจะขยายตัวในอัตราเร่ง และมีหลายแบบจำลองเกิดขึ้นเพื่อพยากรณ์ชะตาสุดท้ายของเอกภพ แผนภาพตำแหน่งของโลกในสถามที่ต่างๆของเอก.

ใหม่!!: บิกแบงและเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพที่สังเกตได้

มุมกว้างของท้องฟ้าถ่ายด้วยเทคนิค near-infrared แสดงให้เห็นการกระจายตัวของกาแล็กซีต่างๆ นอกเหนือจากทางช้างเผือก มีจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.5 ล้านกาแล็กซี ตามทฤษฎีบิกแบง เอกภพที่สังเกตได้ (Observable Universe) คือขอบเขตห้วงอวกาศในกรอบทรงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ผู้สังเกตการณ์ ที่มีขนาดเล็กพอที่เราจะสังเกตวัตถุต่างๆ ภายในได้ เช่น ระยะเวลาที่นานพอสำหรับการแพร่สัญญาณจากวัตถุ ณ เวลาใดๆ หลังเหตุการณ์บิกแบง มีการเคลื่อนที่เท่าความเร็วแสง และเดินทางมาถึงผู้สังเกตการณ์ ณ เวลาปัจจุบัน ทุกๆ ตำแหน่งมีเอกภพที่สังเกตได้ของจุดนั้นๆ ซึ่งอาจพอดีหรือเหลื่อมกันกับเอกภพที่สังเกตได้จากโลก ในทางทฤษฎีเอกภพที่สังเกตได้อาจมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่าขนาดของเอกภพจริง.

ใหม่!!: บิกแบงและเอกภพที่สังเกตได้ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มเน็ตเอเชียมิวสิกอะวอดส์ 2015

อ็มเน็ตเอเชียมิวสิกอะวอดส์ 2015 เป็นงานประกาศผลรางวัลเอ็มเน็ตเอเชียมิวสิกอะวอดส์ครั้งที่ 17 จัดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม..

ใหม่!!: บิกแบงและเอ็มเน็ตเอเชียมิวสิกอะวอดส์ 2015 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์

อ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Asian Music Awards) หรือชื่อเรียกย่อว่า มามา (MAMA) เป็นงานประกาศผลรางวัลเพลงในประเทศเกาหลีใต้ จัดโดย CJ E&M Pictures ผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็มเน็ต (Mnet).

ใหม่!!: บิกแบงและเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซเว่น (นักร้องเกาหลี)

ซเว่น (Seven) หรือ ชเว ดง อุค เกิดเมื่อ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 เป็นนักร้องเพลงป็อปจากเกาหลีใต้ เจ้าของเพลงดัง Come back to me เซเว่น ได้เข้าสู่ค่ายเพลง YG Entertainment ตั้งแต่อายุ 15 ปี เขาได้ฝึกฝนการร้องการเต้นเป็นเวลา 4 ปีจนได้ออกอัลบั้มแรกในปี 2003 ประสบความสำเร็จทั่วเอเชีย เซเว่นได้ออกผลงานมาแล้ว 5 ชุด (เกาหลี 4,ญี่ปุ่น 1) ทางด้านบทบาทการแสดง เซเว่นรับบทเจ้าชายส้มหล่นในซีรียส์เกาหลีชื่อดัง “รักวุ่นวายของเจ้าชายส้มหล่น” ในปี 2006 เซเว่นคว้ารางวัลเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส สาขาศิลปินยอดนิยมจากประเทศเกาหลีไปได้ เซเว่นมีโอกาสได้ร่วมงานกับนักร้องอาร์แอนด์บีสาวลูกครึ่งอเมริกัน - เกาหลีชื่อดัง อาเมรี ในเวอร์ชันที่ร้องดูเอ็ตคู่กันนี้จะถูกนำไปรวมอยู่ในอัลบั้ม Because I Love It ฉบับรีแพ็คเกจที่ทำออกมาเป็นเอเชียน อิดิชั่น อัลบั้ม Se7olution อัลบั้มใหม่ชุดที่ 4 อัลบั้มชุดนี้ได้ร่วมงานกับ Lee Yong Hyun จากวง Big Mama มาแต่งเนื้อและทำนองให้ ในเพลง “Shin Hal Kae” (Down For You) นอกจากนี้เซเว่นยังแต่งเนื้อเพลง “Can You Feel Me” Featuring แร็พเปอร์รุ่นน้องจี-ดรากอนจากวงบิ๊กแบง และเพลง “Heo Rak Hae Jou” featuring แท ยัง จากวงบิ๊กแบง เซเว่นยังได้ชวนแร็ปเปอร์ชื่อดัง Teddy จากวง 1TYM มาช่วยแต่งเนื้อร้องและทำนองในเพลง “La La La” และเป็นโคโปรดิวเซอร์ให้อีกหลายเพลง เซเว่นยังคว้ารางวัล The most favorite male singer จากช่องดนตรี Mnet SUMMER BREAK 20's CHOICE ปี 2007.

ใหม่!!: บิกแบงและเซเว่น (นักร้องเกาหลี) · ดูเพิ่มเติม »

12 ธันวาคม

วันที่ 12 ธันวาคม เป็นวันที่ 346 ของปี (วันที่ 347 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 19 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: บิกแบงและ12 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

4 พฤศจิกายน

วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 308 ของปี (วันที่ 309 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 57 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: บิกแบงและ4 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Big Bangบิ๊กแบงทฤษฎีบิกแบง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »