โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นีลส์ เฮนริก อาเบล

ดัชนี นีลส์ เฮนริก อาเบล

นีลส์ เฮนริก อาเบล (Neils Henrik Abel) เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1802 เสียชีวิต 6 เมษายน ค.ศ. 1829 เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นบางท่านยกย่องอาเบลว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสแกนดิเนเวีย อย่างไรก็ตามอาเบลเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 26 ปี และเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตอาภัพที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการคณิตศาสตร์ เคียงคู่ไปกับ เอวารีสต์ กาลัว (เสียชีวิตเมื่ออายุ 20 ปี), รามานุจัน (เสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี) และ โซฟี่ แชร์แมง (เสียชีวิตโดยที่ไม่มีโอกาสได้ทราบว่าตนเองได้รับปริญญากิตติมศักดิ์) อาเบลและเพื่อนนักคณิตศาสตร์ร่วมสมัยคือ เกาส์และโคชี่ มีส่วนร่วมเป็นอย่างสูงในการพัฒนาคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจากคณิตศาสตร์สมัยเก่าตรงที่มีการพิสูจน์อย่างเคร่งครัดในทุกทฤษฎีบท.

8 ความสัมพันธ์: รางวัลอาเบลอาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์คาร์ล ฟรีดริช เกาส์คาร์ล ไวแยร์สตราสส์เส้นเวลาของคณิตศาสตร์เอวาริสต์ กาลัว1 − 2 + 3 − 4 + · · ·5 สิงหาคม

รางวัลอาเบล

รางวัลอาเบล รางวัลอาเบล (อังกฤษ: Abel Prize, นอร์เวย์: Abelprisen) เป็นรางวัลที่มอบโดยสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์ แก่นักคณิตศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นในแต่ละปี ชื่อรางวัลมาจากนักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ นีลส์ เฮนริก อาเบล (1802–1829) โดยจัดขึ้นในปี 2001 รางวัลอาเบลเป็นหนึ่งในรางวัลที่มักถูกขนานนามให้เป็น "รางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์" (อีกรางวัลคือ เหรียญฟิลด์ส) พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นที่หอประชุมที่มหาวิทยาลัยกฎหมายออสโล ซึ่งเดิมเคยเป็นสถานที่จัดพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ระหว่างปี 1947-1989 มูลค่าเงินรางวัลในปัจจุบันคือ 6 ล้านโครเนอร์นอร์เวย์ (ประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ).

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและรางวัลอาเบล · ดูเพิ่มเติม »

อาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์

อาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์ (Adrien-Marie Legendre) (18 กันยายน ค.ศ. 1752 – 10 มกราคม ค.ศ. 1833) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีความสำคัญในการให้ความรู้ทางสถิติศาสตร์ ทฤษฎีจำนวน พีชคณิตนามธรรม และคณิตวิเคราะห.

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและอาเดรียง-มารี เลอฌ็องดร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ฟรีดริช เกาส์

ันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (1777-1855) โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ (Johann Carl Friedrich Gauß) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2302 (ค.ศ. 1777) เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เป็นหนึ่งในตำนานนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (นักคณิตศาสตร์บางท่านกล่าวว่าสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของวงการคณิตศาสตร์มี อาร์คิมิดีส นิวตัน เกาส์ และออยเลอร์) ได้รับฉายาว่า "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" (Prince of Mathematics) เนื่องจากอุทิศผลงานในทุก ๆ ด้านของคณิตศาสตร์ในยุคสมัยของเขา นอกจากนี้เกาส์ยังมีผลงานสำคัญทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์อีกด้ว.

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและคาร์ล ฟรีดริช เกาส์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ไวแยร์สตราสส์

ร์ล ธีโอดอร์ วิลเฮล์ม ไวแยร์สตราสส์ (Karl Theodor Wilhelm Weierstraß หรือ Weierstrass) (31 ตุลาคม ค.ศ. 1815 - 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งมักถูกกล่าวถึงในฐานะว่าเป็น บิดาแห่งการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ยุคใหม่ นอกจากนี้ชื่อของไวแยร์สตราสส์ ยังได้รับเกียรติในการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ (Weierstrass crater) ไวแยร์สตราสส์ เกิดที่เมืองออสเทนเฟลด์ (Ostenfelde) รัฐบาวาเรีย ราชอาณาจักรปรัสเซี.

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและคาร์ล ไวแยร์สตราสส์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของคณิตศาสตร์

้นเวลาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (timeline of mathematics).

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและเส้นเวลาของคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอวาริสต์ กาลัว

อวาริสต์ กาลัว (Évariste Galois,, 25 ตุลาคม ค.ศ. 1811 – 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1832) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ขณะที่เป็นวัยรุ่น กาลัวสามารถหาเงื่อนไขจำเป็นและเงือนไขพอเพียงสำหรับการหาคำตอบของพหุนามอันดับใดๆ ผลงานของ กาลัวนับว่าเป็นรากฐานของ ทฤษฎีกาลัว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาหลักของวิชา พีชคณิตนามธรรม และเป็นสาขาหนึ่งใน Galois connection นอกจากนี้ กาลัวยังเป็นบุคคลแรกที่ใช้คำว่า กรุป (Group, groupe) ในฐานะของศัพท์เฉพาะทาง เพื่อที่จะอธิบายเรื่องกลุ่มในการเรียงสับเปลี่ยน นอกเหนือจากความสนในคณิตศาสตร์แล้ว กาลัวยังเป็นผู้ที่นิยมแนวคิดสาธารณรัฐอย่างสุดโต่ง กาลัวถูกยิงเสียชีวิตจากการดวลปืนในขณะที่มีอายุได้เพียง 20 ปี.

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและเอวาริสต์ กาลัว · ดูเพิ่มเติม »

1 − 2 + 3 − 4 + · · ·

กราฟแสดงผลรวมจำกัดพจน์ 15,000 ค่าแรกของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … ในทางคณิตศาสตร์ 1 − 2 + 3 − 4 + ··· เป็นอนุกรมอนันต์ที่แต่ละพจน์เป็นจำนวนเต็มบวกลำดับถัดจากพจน์ก่อนหน้า โดยใส่เครื่องหมายบวกและลบสลับกัน ผลรวม m พจน์แรกของอนุกรมนี้สามารถเขียนโดยใช้สัญลักษณ์ผลรวมได้ในรูป อนุกรมนี้เป็นอนุกรมลู่ออก เพราะลำดับของผลรวมจำกัดพจน์ (1, -1, 2, -2, …) ไม่ลู่เข้าหาลิมิตที่เป็นจำนวนจำกัดใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีปฏิทรรศน์จำนวนมากที่แสดงว่าอนุกรมนี้มีลิมิต ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้เขียนสมการซึ่งเขายอมรับว่าเป็นปฏิทรรศน์ต่อไปนี้ เป็นเวลานานกว่าจะมีคำอธิบายอย่างชัดเจนถึงสมการดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 แอร์เนสโต เชซะโร, เอมีล บอแรล และนักคณิตศาสตร์คนอื่น ๆ ได้ร่วมกันพัฒนาวิธีการนิยามผลรวมของอนุกรมลู่ออกทั่วไป วิธีเหล่านั้นจำนวนมากต่างได้นิยามค่า 1 − 2 + 3 − 4 + … ให้ "เท่ากับ" 1/4 ผลรวมเซซาโรเป็นหนึ่งในวิธีการที่ไม่สามารถนิยามค่าของ 1 − 2 + 3 − 4 + … ได้ อนุกรมนี้จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ต้องใช้วิธีการที่แรงกว่าเพื่อนิยามค่า เช่น ผลรวมอาเบล อนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมที่เกี่ยวข้องกับอนุกรมแกรนดี 1 − 1 + 1 − 1 + … ออยเลอร์ได้พิจารณาอนุกรมทั้งสองว่าเป็นกรณีเฉพาะของอนุกรม งานวิจัยของเขาได้ต่อยอดไปสู่การศึกษาเรื่องปัญหาบาเซิล ซึ่งนำไปสู่สมการเชิงฟังก์ชันที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์และฟังก์ชันซีตาของรีมันน.

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและ1 − 2 + 3 − 4 + · · · · ดูเพิ่มเติม »

5 สิงหาคม

วันที่ 5 สิงหาคม เป็นวันที่ 217 ของปี (วันที่ 218 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 148 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: นีลส์ เฮนริก อาเบลและ5 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »