เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ธุดงค์

ดัชนี ธุดงค์

'''ธุดงค์''' หมายถึงข้อถือวัตรปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส 13 ข้อ ของพุทธศาสนิกชน ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะแค่การถือกลดออกเดินจาริกไปยังป่าเขาเพื่อวิเวกของพระสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ หรือ การเดินธุดงค์ ซึ่งแตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก การถือธุดงค์ตามความหมายในพระไตรปิฎกสามารถเลือกสมาทานได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการเดินถือกรดบาตรไปที่ต่าง ๆ เช่น การถืออรัญญิกังคะ (อยู่ป่า) โสสานิกังคะ (อยู่ป่าช้า) เพราะธุดงค์เป็นแนวทางเอื้อให้ผู้ปฏิบัติได้มีความวิเวกปราศจากความวุ่นวายจากสังคม เพื่อมุ่งต่อการปฏิบัติธรรมทางจิตอย่างเข้มงวด การจาริกของพระสงฆ์ในประเทศไทย มักเข้าใจปะปนกับคำว่า ธุดงค์ ทั้งนี้เนื่องจากบางข้อของธุดงควัตร เช่น อรัญญิกังคะ หมายถึงการอยู่ในบริเวณป่า ทำให้พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์ข้อนี้จะต้องเดินทางไปหาที่วิเวกในบริเวณป่าและไม่อยู่ติดที่เป็นเวลานาน ธุดงค์ (ธุตงฺค, Dhutanga) เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๓.

สารบัญ

  1. 25 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญพระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโปพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ (ปาน อคฺคปญฺโญ)พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโตกองกอยการเข้าเงียบรพินทรนาถ ฐากุรวัดพระธรรมกายวัดพระแท่นศิลาอาสน์วัดหนองป่าพงวัดคุ้งตะเภาวัดไผ่ล้อม (จังหวัดแพร่)วิสุทธิมรรคศีลสมาทานสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)หมู่บ้านบ่อพระหลวงปู่สาม อกิญฺจโนห่มดองอิกกีว โซจุงจาริกครูบาศรีวิชัยตบะ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ.

ดู ธุดงค์และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ

ระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (นามเดิม: สมชาย แสงสิน) น.ธ.เอก, ปบ.ส., พธ.บ., พธ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - ปัจจุบัน) เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓, รองเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา พระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.

ดู ธุดงค์และพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ

พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)

ระสุพรหมยานเถร หรือ ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก เดิมชื่อ พรหมา พิมสาร เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม..

ดู ธุดงค์และพระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)

พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป

ระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี วัดอรัญญวิเวก สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิก.

ดู ธุดงค์และพระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป

พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ (ปาน อคฺคปญฺโญ)

ระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน อคฺคปญฺโญ) (พ.ศ. 2368 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2453) วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ.

ดู ธุดงค์และพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ (ปาน อคฺคปญฺโญ)

พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต (20 มกราคม พ.ศ. 2413 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี..

ดู ธุดงค์และพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต

กองกอย

กองกอย เป็นผีป่าชนิดหนึ่ง มีลักษณะรูปร่างไม่เป็นที่ปรากฎชัด แต่โดยมากจะอธิบายว่าเป็นผีที่มีขาข้างเดียว เคลื่อนที่โดยการกระโดดไปด้วยขาเดียว และส่งเสียงร้องว่า "กองกอย ๆ" อันเป็นที่มาของชื่อ แต่บ้างก็ว่ามีปากเป็นท่อเหมือนแมลงวัน หรือเชื่อว่ามีหน้าตาคล้ายลิงหรือค่าง บ้างเรียก ผีโป่ง หรือ ผีโป่งค่าง สันนิษฐานว่า ความเชื่อเรื่องผีโป่งหรือผีกองกอยคือ ค่างแก่หน้าตาน่าเกลียดที่ไม่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ มีความเชื่อของคนบางกลุ่มว่า ถ้าได้ดื่มเลือดค่างจะทำให้ร่างกายคงกระพันเป็นอมตะ หรือแม้แต่สัตว์ป่าชนิดอื่นที่มีลักษณะผิดแผกไปจากปกติ ก็ถูกเชื่อว่าเป็นผีกองกอย โดยคำว่า "กอย" ตามนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า "น.

ดู ธุดงค์และกองกอย

การเข้าเงียบ

ระเยซูมักปลีกตัวไปเข้าเงียบอยู่คนเดียวแบบนี้ การเข้าเงียบจะมีลักษณะแบบนี้คืออธิษฐานและอ่านพระคัมภีร์อยู่คนเดียว การเข้าเงียบ (retreat) เป็นการปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นการปลีกตัวไปอยู่คนเดียวเพื่อวิงวอนกับพระเป็นเจ้าและนักบุญและอ่านคัมภีร์ไบเบิล.

ดู ธุดงค์และการเข้าเงียบ

รพินทรนาถ ฐากุร

รพินทรนาถ ฐากุร (রবীন্দ্রনাথ ঠাকুর, Robindronath Ţhakur) (7 พฤษภาคม 2404 - 7 สิงหาคม 2484) มีสมัญญานามว่า "คุรุเทพ" เป็นนักปรัชญาพรหโมสมัช นักธรรมชาตินิยม และกวีภาษาเบงกาลี เขาเริ่มเขียนบทกวีครั้งแรกตั้งแต่อายุเพียง 8 ปี ครั้นอายุได้ 16 ปี ก็ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานกวีนิพนธ์ภายใต้นามปากกา ภาณุสิงโห และเริ่มเขียนเรื่องสั้นกับบทละครในปี..

ดู ธุดงค์และรพินทรนาถ ฐากุร

วัดพระธรรมกาย

วัดพระธรรมกาย เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพัน..

ดู ธุดงค์และวัดพระธรรมกาย

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ.

ดู ธุดงค์และวัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดหนองป่าพง

วัดหนองป่าพง (วัดป่าพง; Wat Nong Pah Pong) เป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสี มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี..

ดู ธุดงค์และวัดหนองป่าพง

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ดู ธุดงค์และวัดคุ้งตะเภา

วัดไผ่ล้อม (จังหวัดแพร่)

วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่เลขที่ 173 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 6.

ดู ธุดงค์และวัดไผ่ล้อม (จังหวัดแพร่)

วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และเปรียญธรรม ๙ ปร.

ดู ธุดงค์และวิสุทธิมรรค

ศีล

ีล (บาลี: สีล) คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน 5 ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้ ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้นเพื่อการฝึกตนในทางพระพุทธศาสนาด้ว.

ดู ธุดงค์และศีล

สมาทาน

มาทาน แปลว่า การถือเอา การรับเอา การถือปฏิบัติ สมาทาน หมายถึงการรับมาปฏิบัติ เช่น.

ดู ธุดงค์และสมาทาน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

มเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน.

ดู ธุดงค์และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

หมู่บ้านบ่อพระ

หมู่บ้านบ่อพระ หรือ บ้านบ่อพระ เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นชุมชนขนาดเล็กซึ่งพึ่งตั้งใหม่เมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากถิ่นอื่น ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมหลักคือ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1247) ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมี นายวิเชียร พ่วงขำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน.

ดู ธุดงค์และหมู่บ้านบ่อพระ

หลวงปู่สาม อกิญฺจโน

“หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว อ.เมือง.สุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม หลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน..

ดู ธุดงค์และหลวงปู่สาม อกิญฺจโน

ห่มดอง

ห่มดอง คือการห่มผ้าของพระสงฆ์แบบหนึ่งโดยห่มเฉวียงบ่าคือเปิดบ่าขวา ปิดบ่าซ้าย พาดสังฆาฏิ แล้วคาดอกด้วยผ้ารัดอก การห่มดองถือว่าเป็นการนุ่งห่มของพระธรรมยุตินิกาย แต่ปัจจุบันเป็นการห่มครองที่นิยมในกลุ่มพระฝ่ายมหานิกายมากกว่า ฝ่ายธรรมยุติไม่ใคร่นิยมแล้ว นิยมห่มในภาคเหนือของประเทศ (อาจจะเพราะครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวล้านนาห่มดอง)และวัดที่เป็นสำนักเรียนส่วนใหญ่จะกำหนดให้พระและสามเณรนุ่มห่มเพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกัน อาจเพราะเนื่องจากมีสามเณรเป็นจำนวนมาก ซึ่งการห่มดองไม่หลุดง่าย บางท้องที่ถือว่าเป็นการห่มของของสามเณร ไม่ใช่การห่มของพระก็มี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะกำหนดให้พระนิสิตนุ่มห่มเมื่อมามหาวิทยาลัย แม้แต่กลุ่มวัดพระธรรมกาย ก็ยึดถือเป็นการห่มที่กลุ่มสาขาต้องห่มเหมือนกัน และยังส่งเสริมให้พระสงฆ์ในประเทศห่มอีกด้วย รูปปั้นพระสีวลีปางเดินธุดงค์ส่วนมากจะนุ่มห่มดองเช่นกัน และมีพระธุดงค์บางกลุ่มนิยมห่ม เมื่อออกเดินธุดงค์โดยจะถือเป็นสัญญลักษณ์หรือธรรมเนียมของกลุ่ม เช่น วัดศีรีล้อม ถ้ำนิรภัย (สำนักท่องปาฏิโมกข์ อำเภอตากฟ้า นครสวรรค์).

ดู ธุดงค์และห่มดอง

อิกกีว โซจุง

อิกกีว โซจุน (พ.ศ. 1937 — พ.ศ. 2024) เป็นพระนิกายเซนชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคมุโระมะชิ และเป็นพระต้นแบบของอิกกีวซังในการ์ตูนเณรน้อยเจ้าปัญญ.

ดู ธุดงค์และอิกกีว โซจุง

จาริก

ริก เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎก หมายความถึงการเดินทางไปเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ศัพท์นี้ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในประเทศไทยโดยมีความหมายเดียวกับในพระไตรปิฎก เช่น จาริกธุดงค์, โครงการธรรมจาริก เป็นต้น ปัจจุบันการจาริกขยายความหมายไปถึงการเดินทางเพื่อไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสังเวชนียสถานด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คำว่าการ จาริกแสวงบุญ.

ดู ธุดงค์และจาริก

ครูบาศรีวิชัย

รูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี..

ดู ธุดงค์และครูบาศรีวิชัย

ตบะ

ตบะ แปลว่า ความเพียรอันเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส ตบะ ในที่ทั่วไปหมายถึงการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้กิเลสเบาบางหดเหี้ยนหมดไป ด้วยการทำพิธีกรรม หรือด้วยการทรมานกายแบบต่างๆ เช่นบูชาไฟ ยืนขาเดียว ทาตัวด้วยฝุ่น เป็นต้น เรียกว่าบำเพ็ญตบะ เรียกผู้บำเพ็ญตบะว่า ดาบส ซึ่งแปลว่า ผู้บำเพ็ญตบะคือเผาผลาญกิเลส ตบะ ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึงธรรมต่างๆ ที่มุ่งกำจัดเผาผลาญอกุศลวิตก (ความตรึกที่เป็นบาปอกุศล)เป็นหลัก เช่น ปธาน (ความเพียร) ขันติ (ความอดทน) ศีล (การรักษากายวาจา) อุโบสถกรรม (การรักษาอุโบสถศีล) การเล่าเรียนปริยัติ การถือธุดงค์ การบำเพ็ญสมณธรรม และเรียกการประพฤติปฏิบัติธรรมเหล่านี้ว่า บำเพ็ญตบะ เช่นกัน.

ดู ธุดงค์และตบะ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ธุตังคะ