โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธรรมบท

ดัชนี ธรรมบท

รรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนาซึ่งได้รับความนิยมอ่านทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุดSee, for instance, Buswell (2003): "rank among the best known Buddhist texts" (p. 11); and, "one of the most popular texts with Buddhist monks and laypersons" (p. 627).

7 ความสัมพันธ์: พระพุทธโฆสะพระราหุลพัดยศสมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)ธัมมปทัฏฐกถานวังคสัตถุศาสน์โคลงโลกนิติ

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: ธรรมบทและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระราหุล

ระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "'ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง" อย่างไรก็ดี ตามพระวินัยของนิกายสรวาสติวาทว่าพระนาม "ราหุล" มิได้มาจากรากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "บ่วง" แต่มาจากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "จันทรคราส" หรือที่ในภาษาไทยว่า "ราหู" อนึ่ง ในพระไตรปิฎกพระธรรมบท มีตอนหนึ่งว่า ความปิติปราโมทย์ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรึงชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข พระราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติจากพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมคธ ก็ทรงนิวัติกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดาและพระญาติประยูร และมีเหล่าสาวกติดตามเสด็จมาด้วย วันหนึ่งพระนางยโสธราทรงได้พระราหุล และมีรับสั่งให้พระกุมารราหุลไปทูลขอพระราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าวพระราหุลได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเสียพระทัยมาก เพราะทรงหวังให้พระราหุลเป็นรัชทายาทสืบราชสันติวงศ์ต่อไป พระองค์จึงเสด็จไปตัดพ้อต่อว่าพระพุทธเจ้า และทูลขอว่า ต่อไปถ้าจะบวชให้ใครอีก ขอให้มารดาบิดาของผู้จะบวชอนุญาตเสียก่อน พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นไปตามคำทูลขอ โดยมีข้อกำหนดว่า ผู้ที่จะเข้ามาบวช "จะต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้บังคับบัญชาเสียก่อน" สามเณรราหุลบรรพชาเมื่ออายุ 7 ปี พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังมากมายหลายเรื่อง เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังป่าอันธวัน แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี หลังจากได้ฟัง "จูฬราหโลวาทสูตร" จากพระพุทธองค์ ก็สำเร็จบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระราหุลเถระ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า "เอตทัคคะ"(ผู้เลิศกว่าคนอื่นในด้านใคร่การศึกษา) คือ ชอบการศึกษาหรือขยันหมั่นในการเล่าเรียน พระราหุลเถระนิพพานเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานระบุชัด ทราบเพียงว่า ท่านปรินิพพานก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และก่อนพระพุทธเจ้า โดยการทูลลาพระพุทธเจ้าไปนิพพานที่สวรรค์ชั้นดาวดึง.

ใหม่!!: ธรรมบทและพระราหุล · ดูเพิ่มเติม »

พัดยศ

กหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทยได้รับประเพณีมีพัดยศสำหรับพระสงฆ์มาจากลังกา โดยกษัตริย์แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์และพัดยศเพื่อให้พระสงฆ์สำหรับใช้แสดงถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) พัดยศพระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ พัดยศ คือพัดเกียรติยศอันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพัดคู่กับพัดรอง ซึ่งแบ่งตามศํกดิ์ ได้แก.

ใหม่!!: ธรรมบทและพัดยศ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)

มเด็จพระวันรัต นามเดิม จ่าย ฉายา ปุณฺณทตฺโต เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร และอดีตเจ้าคณะใหญ่หนใต้.

ใหม่!!: ธรรมบทและสมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมปทัฏฐกถา

ัมมปทัฏฐกถา (ธมฺมปทฏฐกถา) เป็นอรรถกถาของธรรมบท หรือประมวลคาถา 423 คาถา ซึ่งปรากฏในขุททกนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก กล่าวกันว่าพระพุทธโฆสะ พระอรรถกถาจารย์ชาวชมพูทวีป ซึ่งเดินทางไปแปลอรรถกถาในสิงหลทวีป (ศรีลังกา) ได้เรียบเรียงไว้จากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี ปัจจุบันธัมมปทัฏฐกถาใช้เป็นคัมภีร์ในการศึกษาพระปริยัติธรรมในประเทศไทย จึงเป็นคัมภีร์อรรถกถาที่ได้รับความนิยมศึกษามากที่สุดเล่มหนึ่ง.

ใหม่!!: ธรรมบทและธัมมปทัฏฐกถา · ดูเพิ่มเติม »

นวังคสัตถุศาสน์

นวังคสัตถุศาสน์ (อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ.

ใหม่!!: ธรรมบทและนวังคสัตถุศาสน์ · ดูเพิ่มเติม »

โคลงโลกนิติ

ลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ, ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน.

ใหม่!!: ธรรมบทและโคลงโลกนิติ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »