โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ธงชาติอินเดีย

ดัชนี ธงชาติอินเดีย

(ดูทั้งสีแถบทั้งสีธรรมจักร) ธงชาติสาธารณรัฐอินเดีย หรือ ติรังคา (तिरंगा) คำนี้เป็นคำเดียวกับคำว่า "ไตรรงค์" ซึ่งเป็นชื่ออีกอย่างของธงชาติไทย แปลว่า "สามสี" เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบ 3 สี ตามแนวนอน ได้แก่ สีแสด สีขาว สีเขียว เรียงลำดับจากบนลงล่าง กลางแถบสีขาวมีรูปธรรมจักรของพระเจ้าอโศกมหาราชสีน้ำเงิน ภายในแบ่งกำเป็น 24 ซี่ วงธรรมจักรนั้นกว้างเป็น 3 ใน 4 ของความกว้างแถบสีขาว.

8 ความสัมพันธ์: รายชื่อธงในประเทศอินเดียศุภะ สุขะ ไจนะธงชาติประเทศในทวีปเอเชียธงรัฐชัมมูและกัศมีร์ธงไตรรงค์ (แก้ความกำกวม)ตราแผ่นดินของอินเดียเสาอโศกเส้นเวลาของธงประจำชาติ

รายชื่อธงในประเทศอินเดีย

งในหน้านี้ เป็นธงต่างๆ ที่มีการใช้และเคยใช้ในสาธารณรัฐอินเดี.

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและรายชื่อธงในประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ศุภะ สุขะ ไจนะ

"ศุภะ สุขะ ไจนะ" เป็นชื่อเพลงชาติ (قومی ترانہ) ของรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งอินเดียอิสระ (Arzi Hukumat-e-Azad Hind เรียกโดยย่อ Azad Hind) เพลงนี้มีพื้นฐานมาจากบทกวี ชนะ คณะ มนะ ซึ่งเป็นบทกวีภาษาเบงกาลีดัดแปลงเป็นภาษาสันสกฤต ผลงานของรพินทรนาถ ฐากูร หลังจากย้ายการเคลื่อนไหวจากเยอรมนีมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี ค.ศ. 1943 สุภาษ จันทระ โพส โดยความช่วยเหลือของมุมตัซ ฮุสเซ็น (Mumtaz Hussain) นักเขียนประจำสถานีวิทยุอินเดียอิสระ และพันเอกอะบิด ฮะซัน ซัฟฟรานี (Abid Hassan Saffrani) แห่งกองทัพแห่งชาติอินเดีย เขาได้เขียนเพลงชนะ คณะ มนะ ของฐากูรขึ้นใหม่เป็นภาษาฮินดูสตานี ในชื่อ "ศุภะ สุขะ ไจนะ" เพื่อใช้เป็นเพลงชาติ เนตาชี (ฉายาของสุภาษ จันทระ โพส) ให้ความสำคัญกับบทเพลงไว้ในฐานะที่มาของพลังในในการเตรียมใจสู้จนถึงที่สุด เขาได้ลงมายังสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพแห่งชาติอินเดีย ณ อาคารคาเธย์บิลดิ้ง ในประเทศสิงคโปร์ และให้ร้อยเอกราม สิงห์ ฐากูร (Ram Singh Thakur) ประพันธ์ทำนองสำหรับใช้กับเพลงที่ได้แปลมาจากผลงานต้นฉบับภาษาเบงกาลีของรพินทรนาถ ฐากูร โดยขอให้เขาแต่งเป็นทำนองมาร์ชซึ่งไม่ทำให้คนฟังแล้วหลับ แต่ปลุกคนที่หลับอยู่ให้ตื่นขึ้นมาแทน ต่อมาอินเดียได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ในวันถัดมา ชวาหระลาล เนห์รู ได้ชักธงติรังคะขึ้นเหนื้อเชิงเทินป้อมแดงเมืองเดลลี และกล่าวคำปราศรัยต่อประชาชาติ ในโอกาสนี้ ร้อยเอกราม สิงห์ ฐากูร ได้รับเชิญให้เล่นทำนอง "เพลงชาติ" (Qaumi Tarana) ของกองทัพแห่งชาติอินเดียพร้อมกับวงออร์เคสตร้าของเขาเป็นกรณีพิเศษ.

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและศุภะ สุขะ ไจนะ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติประเทศในทวีปเอเชีย

นี่คือธงชาติประเทศและดินแดนของทวีปเอเชี.

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและธงชาติประเทศในทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงรัฐชัมมูและกัศมีร์

งรัฐชัมมูและกัศมีร์ ธงรัฐชัมมูและกัศมีร์ เป็นธงที่มีพื้นฐานมาจากธงของการประชุมแห่งชาติชัมมูและกัศมีร์ เป็นธงพื้นสีแดง ประดับด้วยรูปคันไถ ด้านคันธงมีแถบแนวตั้ง 3 แถบ โดยคันไถแทนการเกษตรกรรม ส่วนแถบ 3 แถบแทนภูมิภาคทั้งสามของรัฐ คือ ชัมมู กัศมีร์ และลาดัค รัฐชัมมูและกัศมีร์เป็นรัฐเดียวของอินเดียที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ธงของรัฐร่วมกับธงชาติอินเดี.

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและธงรัฐชัมมูและกัศมีร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงไตรรงค์ (แก้ความกำกวม)

งไตรรงค์ อาจหมายถึงธงใดๆ ที่มีสีประกอบในธง 3 สี.

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและธงไตรรงค์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของอินเดีย

ตราแผ่นดินของอินเดีย เริ่มใช้เมื่อวันที่ 26 มกราคม..

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและตราแผ่นดินของอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เสาอโศก

อโศก (Pillars of Ashoka; अशोक स्तंभ อโศก สฺตํภ) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน ไฟล์:Asokanpillar1.jpg|หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวสาลี ไฟล์:AshokaLions.jpg|หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่สารนาถ ไฟล์:Emblem of India.svg|รูปเสาอโศกซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดี.

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและเสาอโศก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของธงประจำชาติ

้านล่างนี้เป็นรายการภาพธงชาติ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นไป.

ใหม่!!: ธงชาติอินเดียและเส้นเวลาของธงประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »