โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทับหลัง

ดัชนี ทับหลัง

ทับหลัง คือ ลวดลายที่ทำประดับไว้บนหลังตู้ หรือ ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน นอกจากนี้ยังใช้เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับหลังประตู ทับหลัง คือ เนื้อเพลง ทับหลัง - คาราบาว เพลง: ทับหลัง ศิลปิน: คาราบาว หมวดหมู่:ศิลปะไทย.

10 ความสัมพันธ์: พระแม่คงคารายชื่ออัลบั้มเพลงที่ขับร้องโดยคาราบาวหน้าบันอาณาจักรอิศานปุระอำนาจ ลูกจันทร์ทับ (แก้ความกำกวม)ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ปราสาทโลเลยปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิเทียรี่ เมฆวัฒนา

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: ทับหลังและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่ออัลบั้มเพลงที่ขับร้องโดยคาราบาว

รายชื่ออัลบั้มเพลงของวงดนตรีคาราบาว โดยรวมทั้งอัลบั้มปกติ + อัลบั้มพิเศษ + อัลบั้มรวมเพลง และ อัลบั้มเดี่ยวของ ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) หัวหน้าวง.

ใหม่!!: ทับหลังและรายชื่ออัลบั้มเพลงที่ขับร้องโดยคาราบาว · ดูเพิ่มเติม »

หน้าบัน

การตกแต่งหน้าบันวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร หน้าบัน (Tympanum鼓室) คือบริเวณครึ่งวงกลมหรือเกือบสามเหลี่ยมเหนือประตูทางเข้าที่อยู่ระหว่างทับหลังและโค้ง (arch) ซึ่งจะมีรูปสลักตกแต่งหรือเครื่องตกแต่งอื่นๆ สถาปัตยกรรมเกือบทุกแบบจะมีองค์ประกอบนี้ ผู้คิดค้นการสร้างหน้าบันเป็นคือชาวอียิปต์โบราณประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาก็ปรากฏในสถาปัตยกรรมกรีก สถาปัตยกรรมของคริสต์ศาสนา และ สถาปัตยกรรมของศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: ทับหลังและหน้าบัน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ หรือ อาณาจักรเจนละ เป็นอาณาจักรโบราณ เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันคือภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และตอนล่างของประเทศลาว สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือพระเจ้าจิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอิศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1153 - พ.ศ. 1198 ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ในที่สุดก็ได้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า อิศานปุระ เมืองอิศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน มีกษัตริย์ปกครองอีก 2 พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็น เจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า ยโศธรปุระ หรือเมืองพระนคร บริเวณจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ) เป็นกลุ่มปราสาทโบราณมีอายุมากกว่า 1390 ปี มีปราสาทที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบันมากกว่า 170 ที่ โดยมีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักในบริเวณราชธานีอิศานปุระ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ และเนื่องจากมีปราสาทมากมายนับร้อยแห่ง จึงทำให้นักโบราณคดีชาวตะวันตกที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้จัดทำระบบบัญชีชื่อปราสาทต่างๆขึ้นและยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์มี ชื่อเป็นทางการ เป็นตัวอักษรและตัวเลข แทนชื่อที่ชาวบ้านเรียก โดยปราสาทต่าง ๆ ในกลุ่มเหนือ จะมีชื่อขึ้นต้นว่า N (North) ปราสาทกลุ่มกลางมีชื่อขึ้นต้นว่า C (Central) และปราสาทกลุ่มใต้ มีชื่อขึ้นต้นว่า S (South) แล้วตามด้วยตัวเลขที่แสดงถึงความสำคัญ หรือตามลำดับการเรียงตัวที่ตั้งของปราสาท เช่น N1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มเหนือ S1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มใต้ คือปราสาทเนียกปวน และ C1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มกลาง คือปราสาทตาว เป็นต้น.

ใหม่!!: ทับหลังและอาณาจักรอิศานปุระ · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจ ลูกจันทร์

หน้าปกอัลบั้ม ขอเดี่ยวด้วยคนนะ จ่าเอก อำนาจ ลูกจันทร์ หรือ เป้า คาราบาว (20 มีนาคม พ.ศ. 2492 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) เป็นอดีตมือกลองของวงคาราบาว โดยเป็นมือกลองคนแรกของวง และมีผลงานสำคัญร่วมกับวงคาราบาวหลายอัลบั้มเช่น ท.ทหารอดทน, เมดอินไทยแลนด์, อเมริโกย, ประชาธิปไตย, เวลคัมทูไทยแลนด์, ทับหลัง รวมถึงเคยเป็นหนึ่งในนักแสดงนำในภาพยนตร์เรื่องเสียงเพลงแห่งเสรีภาพในปี พ.ศ. 2528 เป้า คาราบาว จัดเป็นมือกลองของคาราบาวที่อยู่ในช่วงที่ทางวงประสบความสำเร็จสูงสุด โดยหลังจากที่แยกออกจากวงคาราบาว เป้าได้ออกผลงานเพลงร่วมกับเทียรี่ เมฆวัฒนาและธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ในอัลบั้มขอเดี่ยวด้วยคนนะ ในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งประสบความสำเร็จทางยอดขายอย่างมาก จากนั้นได้หันไปสอนดนตรีและทำธุรกิจส่วนตัว ก่อนจะกลับมาทัวร์คอนเสิร์ตและออกอัลบั้มร่วมกับคาราบาวอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 ในอัลบั้มหากหัวใจยังรักควาย รวมถึงเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตใหญ่ของวงหลายครั้ง โดยเป้า คาราบาว ถึงจะเป็นคนที่มีรูปร่างเล็ก มีส่วนสูงต่ำกว่า 160 เซนติเมตร แต่สามารถตีกลองได้อย่างหนักหน่วงในเพลงร็อก และสามารถตีกลองได้หลายรูปแบบทั้งแนวป๊อป, ฟิวชั่นแจ๊ส รวมถึงเพลงลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังเคยบันทึกเสียงกลองให้กับศิลปินต่างๆเป็นจำนวนมากนอกเหนือจากวงคาราบาว ในช่วงบั้นปลายชีวิต เป้า คาราบาว ประสบปัญหาทางการเงินและมีปัญหาสุขภาพ โดยถูกธนาคารกรุงเทพฟ้องคดีแพ่ง ก่อนจะถูกยึดบ้านและที่ดินเพื่อนำมาชำระหนี้ ในปี พ.ศ. 2544 ต่อมาเป้า คาราบาว เริ่มมีอาการล้มป่วยเกี่ยวกับระบบหัวใจและต้องผ่าตัดหมอนรองกระดูก ทำให้ไม่สามารถเดินได้อย่างปกติและไม่สามารถตีกลองอย่างหนักได้ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2552 เป้า คาราบาว ได้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เนื่องจากปัญหาหนี้สิน จากนั้นเป้า คาราบาว ได้ต่อสู้กับอาการของโรคหัวใจและหมอนรองกระดูกเรื่อยมา และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลกลางเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก.

ใหม่!!: ทับหลังและอำนาจ ลูกจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทับ (แก้ความกำกวม)

ทับ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ทับหลังและทับ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นทับหลังที่ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของไทย ที่เชื่อว่าถูกโจรกรรมไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2503 ในช่วงสงครามเวียดนาม และถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในที่สุดชาวไทยนำโดยรัฐบาล และ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ได้ทับหลังชิ้นนี้คืนมาทันวันพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งพอดี ในปี พ.ศ. 2531.

ใหม่!!: ทับหลังและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทโลเลย

ศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย ทับหลังหินทรายแกะสลัก ที่ปราสาทโลเลย ปราสาทโลเลย (ប្រាសាទលលៃ บฺราสาทลอเลย) เป็นปราสาทหินอยู่ทางเหนือสุดในปราสาทกลุ่มโลเลย ในอาณาจักรขอมของกัมพูชา สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1435 ในสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 เสร็จในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าอินทวรมัน นับเป็นปราสาทที่มีลักษณะเหมือนเกาะ อยู่ทางเหนือของใจกลางของบาราย ขนาดกว้าง 800 ม. ยาว 3,800 ม. ปัจจุบันบารายแห้งไม่มีน้ำแล้ว ตัวปราสาทตั้งอยู่กึ่งกลางแกนด้านยาว (ตะวันออก-ตะวันตก) ของบาราย เดิมสันนิษฐานว่าพระเจ้าอินทรวรมันตั้งใจจะสร้างบารายให้กว้างกว่านี้ แต่พระเจ้ายโสวรมันต้องการจะย้ายเมืองหลวงไปนครวัด จึงได้ยุติการขุดสระบารายลงเท่าที่เป็นอยู่ ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นหอ 4 หอ ที่ไม่สมมาตร คือจะให้สำคัญหอ 2 หอด้านตะวันออกกว่า หอด้านตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างทรุดโทรม ในขณะที่หอด้านตะวันออกเฉียงใต้ได้พังลงเมื่อปี พ.ศ. 2511 โครงสร้างหลักเป็นหินทราย ตกแต่งด้วยอิฐที่ยาด้วยปูน ซึ่งภายหลังแม้จะหลุดล่อนไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้าง ส่วนทับหลังแกะสลักหินทรายนั้นยังมีหลายชิ้นที่คงสภาพดีจนถึงทุกวันนี้ ลเลย หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:ปราสาทขอม หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: ทับหลังและปราสาทโลเลย · ดูเพิ่มเติม »

ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ

ระปรางค์กู่ เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ที่ ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีฐานสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง วางซ้อนกันจากฐานถึงยอด ภายในบรรจุพระพุทธรูปดินเผา เชื่อกันว่าเป็นอโรยาศาล (โรงพยาบาล) ในสมัยก่อน.

ใหม่!!: ทับหลังและปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

เทียรี่ เมฆวัฒนา

ทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักดนตรีชาวไทย สมาชิกวงคาราบาว มีชื่อจริงว่า เทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ประเทศลาว โดยมีพ่อเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนชื่อ เอนก เมฆวัฒนา แม่เป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ จากผู้จัดการออนไลน.

ใหม่!!: ทับหลังและเทียรี่ เมฆวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »