เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทฤษฎีการเมือง

ดัชนี ทฤษฎีการเมือง

ทฤษฎีการเมือง (Political Theory) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ ทฤษฏีการเมืองเป็นสาขาวิชาที่เกิดมาพร้อมๆกับวิชารัฐศาสตร์ คือราว ทศวรรษที่ 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่วิธีวิทยา แบบวิทยาศาสตร์เข้ามีอิทธิพลอย่างสูงในวิชารัฐศาสตร์ อย่างไรก็ตามแม้ทฤษฎีการเมืองจะเป็นวิชาของการศึกษาการเมืองในยุควิทยาศาสตร์ ทว่าก็มีทฤษฎีการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ได้รับอิทธิพลมาจากนักปรัชญาการเมือง.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: ชนชั้นทางสังคมพหุนิยมการพัฒนาการเมืองรัฐศาสตร์วัฒนธรรมทางการเมืองสลาวอย ชิเชคสถาบันการเมืองสถานการณ์ฉุกเฉินอันโตนีโอ กรัมชีความคิดของสี จิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมกับลักษณะของจีนสำหรับสมัยใหม่ความเสมอภาคทางสังคมประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองปรัชญาการเมือง

ชนชั้นทางสังคม

นชั้นทางสังคม หรือเรียกเพียง ชนชั้น เป็นกลุ่มมโนทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเมืองซึ่งมีศูนย์กลางที่แบบจำลองการจัดชั้นภูมิทางสังคมซึ่งบุคคลถูกจัดอยู่ในกลุ่มหมวดหมู่สังคมลำดับชั้น ชนชั้นสามัญที่สุด คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ชนชั้นเป็นวัตถุสำคัญแห่งการวิเคราะห์สำหรับนักสังคมวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์สังคม อย่างไรก็ดี ไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่านิยามที่ดีที่สุดของคำว่า "ชนชั้น" คืออะไร และคำนี้มีหลายความหมายบริบท ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "ชนชั้นทางสังคม" โดยทั่วไปพ้องกับ "ชนชั้นทางสังคม-เศรษฐกิจ" ซึ่งนิยามว่าเป็น "บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจหรือการศึกษาเท่ากัน" เช่น ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นวิชาชีพอุบัติใหม่ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำว่า "ชนชั้น" เริ่มเป็นวิธีหลักในการจัดระเบียบสังคมเป็นการแบ่งลำดับชั้นแทนการจำแนกประเภทอย่างฐานันดร ยศและลำดับ ซึ่งสัมพันธ์กับการให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่ตกทอดมาลดลงโดยทั่วไป และให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นตัวชี้วัดฐานะในลำดับชั้นทางสังคม.

ดู ทฤษฎีการเมืองและชนชั้นทางสังคม

พหุนิยม

หุนิยม (Pluralism) เป็นหนึ่งในบรรดาคำหลายๆ คำที่ถูกหยิบยกไปใช้อย่างกว้างขวางในแทบจะทุกสาขา แต่โดยรวมแล้วจะมีนัยหมายถึงชุดของแนวคิดที่รับรู้ว่ามีความแตกต่างด้านแนวคิดอยู่ในสังคม และสนับสนุนในความแตกต่างหลากหลายทางแนวคิดเหล่านั้น รวมไปถึงต่อต้านการผูกขาดการตีความ หรือ การครอบงำโดยแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงแนวคิดเดียว เช่น พหุวัฒนธรรม (cultural pluralism) นั้นสนับสนุนแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และไม่ยอมรับการครอบงำด้วยอิทธิพลของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง หรือ พหุนิยมเชิงญาณวิทยา (epistemological pluralism) ที่มองว่าองค์ความรู้นั้นมีวิธีการอธิบาย และเข้าถึงตัวองค์ความรู้ได้หลากหลายวิธี โดยมิได้ถูกครอบงำด้วยวิธี และรูปแบบการอธิบายของสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งเพียงสำนักเดียว (Kurian, 2011: 1213).

ดู ทฤษฎีการเมืองและพหุนิยม

การพัฒนาการเมือง

การพัฒนาการเมือง (อังกฤษ: Political Development) เป็นคำที่เริ่มใช้กันในวงวิชาการรัฐศาสตร์เมื่อทศวรรษที่ 1960 โดยพัฒนามาจากการเรียนการสอนวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics) การพัฒนาการเมืองใช้เป็นมาตรฐานทางความเชื่อในทางการเมืองในเรื่องที่ว่า การเมืองในประเทศต่างๆต่างก็สามารถพัฒนาเข้าสู่สภาวะทางการเมืองที่ “ดีกว่า” แบบหนึ่ง การวัดการพัฒนาการทางการเมืองบางทีก็เรียกว่า “การทำการเมืองให้มีความทันสมัย (political modernization) ” การศึกษาวิชาการพัฒนาการเมืองมีมโนทัศน์หลักที่สำคัญคือสถาบันทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมือง.

ดู ทฤษฎีการเมืองและการพัฒนาการเมือง

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง, การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation).

ดู ทฤษฎีการเมืองและรัฐศาสตร์

วัฒนธรรมทางการเมือง

วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture) เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองกับสังคมการเมืองในเชิงจิตวิทยา โดยวัฒนธรรมทางการเมืองใดที่สังคมการเมืองต้องการก็มักถูกปลูกฝังให้เป็นความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯ ของสมาชิกในสังคมการเมืองนั้นๆ ดังนั้นวัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็นความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯ ที่ขึ้นตรงกับกระบวนการสร้างความคิด, อุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯจากสถาบันในทางการเมืองต่างๆที่แปรผันต่างกันไปตามแต่ละสังคมการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นมโนทัศน์ที่สำคัญในสาขาวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาในทางรัฐศาสตร.

ดู ทฤษฎีการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมือง

สลาวอย ชิเชค

ลาวอย ชิเชค (Slavoj Žižek) (เกิด 21 มีนาคม ค.ศ. 1949) เป็นนักปรัชญา นักวิพากษ์วัฒนธรรม และปัญญาชนมาร์กซิสต์ชาวสโลวีเนีย เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสประจำสถาบันสังคมวิทยาและปรัชญา มหาวิทยาลัยลูบลิยานา เป็นศาสตราภิชานด้านภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และเป็นผู้อำนวยการนานาชาติประจำสถาบันมนุษยศาสตร์แห่งเบิร์กเบค (Birkbeck Institute for the Humanities) มหาวิทยาลัยลอนดอน ชิเชคมีผลงานตีพิมพ์หลากหลายหัวข้อ อาทิ ทฤษฎีการเมือง จิตวิเคราะห์ ภาพยนตร์วิจารณ์ เทววิทยา ฯลฯ ชิเชคเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติภายหลังผลงานเล่มแรกเรื่อง The Sublime Object of Ideology (1989) ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ในหนังสือเล่มดังกล่าว ชิเชคได้อาศัยกรอบการตีความแบบวัตถุนิยม ซึ่งพัฒนาขึ้นจากปรัชญาของจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลและทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฌาคส์ ลากอง (Jacques Lacan) ในการทำความเข้าใจอุดมการณ์ในฐานะแฟนตาซีของจิตไร้สำนึกที่ทำหน้าที่ประกอบสร้างสภาพความเป็นจริงให้กับมนุษย์ นอกจากผลงานชิ้นดังกล่าว ชิเชคยังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์ระบบทุนนิยม เสรีนิยมใหม่ รวมถึงวิจารณ์การวิพากษ์วิจารณ์ของฝ่ายซ้ายที่มีต่อทุนนิยมเองมาอย่างต่อเนื่อง.

ดู ทฤษฎีการเมืองและสลาวอย ชิเชค

สถาบันการเมือง

ันการเมือง (Political Institution) คือ รูปแบบของการบริหารจัดการทางการเมืองที่ถูกจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มีความเป็นทางการ สถาบันการเมืองเป็นมโนทัศน์ (concept) หนึ่งที่มักถูกสอนในวิชาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ (Compartive Politcs) และวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาย่อยของวิชาสถาบัน กำเนิดของการใช้คำว่า “สถาบัน (institution)” ในทางรัฐศาสตร์นั้น เกิดจากการที่นักวิชาการ Damien Kingsbury.

ดู ทฤษฎีการเมืองและสถาบันการเมือง

สถานการณ์ฉุกเฉิน

นการณ์ฉุกเฉิน (state of emergency) คือ สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งรัฐ หรืออันอาจทำให้รัฐตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม ซึ่งฝ่ายบริหารรัฐมีอำนาจประกาศว่าพื้นที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นว่าโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ ซึ่งให้อำนาจพิเศษในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และมักเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ไม่เบ็ดเสร็จเท่ากฎอัยการศึกหรือกฎหมายที่ใช้ในสภาวะสงคราม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมักมีภายหลังจากการเกิดภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือการประกาศสงคราม ซึ่งอาจมีผลให้เจ้าหน้าที่บางฝ่ายต้องหยุดการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ลงชั่วคราว โดยอำนาจหน้าที่เช่นว่านั้นอาจรวมศูนย์ไปยังเจ้าหน้าที่อีกฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมสถานการณ์โดยไม่ชักช้า และอาจนำไปสู่การห้ามออกจากเคหสถาน (curfew) หรือการห้ามมั่วสุมชุมนุมกันเพื่อการใด ๆ ก็ดี ณ พื้นที่นั้นในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน.

ดู ทฤษฎีการเมืองและสถานการณ์ฉุกเฉิน

อันโตนีโอ กรัมชี

อันโตนีโอ กรัมชี (อังกฤษ, Antonio Gramsci) นักทฤษฎีการเมือง นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอิตาเลียนแนวมาร์กซิสม์และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ.

ดู ทฤษฎีการเมืองและอันโตนีโอ กรัมชี

ความคิดของสี จิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมกับลักษณะของจีนสำหรับสมัยใหม่

วามคิดของสี จิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมกับลักษณะของจีนสำหรับสมัยใหม่ (Xi Jinping Thought on Socialism with Chinese Characteristics for a New Era; 习近平新时代中国特色社会主义思想) เป็นทฤษฎีการเมืองของสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีการกล่าวถึงคำนี้ครั้งแรกอย่างเป็นทางการในสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 19 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 เมื่อสีเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมัชชาที่ 19 ยืนยันอุดมการณ์ดังกล่าวเป็นอุดมการณ์ชี้นำการเมืองและการทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตัวสีเองอธิบายความคิดดังกล่าวว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรอบกว้าง ๆ ซึ่งสร้างไว้รอบสังคมนิยมกับลักษณะจีน คำของเติ้งซึ่งวางประเทศจีนไว้ใน "สังคมนิยมขั้นปฐมภูมิ" ในเอกสารของพรรคอย่างเป็นทางการและคำแถลงของผู้ร่วมงานของสี ความคิดดังกล่าวกล่าวว่าเป็นการต่อลัทธิมากซ์–เลนิน, ความคิดของเหมา เจ๋อตง, ทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิง, "สามตัวแทน" (Three Represents), และทัศนะการพัฒนาวิทยาศาสตร์ (Scientific Development Perspective) ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุดอุดมการณ์ชี้นำซึ่งรวบรวม "ลัทธิมากซ์ซึ่งรับเข้าบริบทจีน" และข้อพิจารณาร่วมสมัย วันที่ 24 ตุลาคม ในสมัยปิดประชุม สมัชชาพรรคที่ 19 อนุมัติการรับความคิดของสี จิ้นผิงเข้าธรรมนูญแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน.

ดู ทฤษฎีการเมืองและความคิดของสี จิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมกับลักษณะของจีนสำหรับสมัยใหม่

ความเสมอภาคทางสังคม

วามเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน.

ดู ทฤษฎีการเมืองและความเสมอภาคทางสังคม

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) ระหว่างวิชาประวัติศาสตร์ และปรัชญาการเมือง.

ดู ทฤษฎีการเมืองและประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ดู ทฤษฎีการเมืองและปรัชญาการเมือง