โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดีเอ็นเอ

ดัชนี ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

251 ความสัมพันธ์: AAcinetobacterบริเตนยุคก่อนประวัติศาสตร์ชะมดแปลงชาวบาหลีบิ๊กฟุตชูปากาบรัสชีววิทยาชีวสังเคราะห์โปรตีนชีวิตบทนำพันธุศาสตร์บทนำวิวัฒนาการช้างพุ่มไม้แอฟริกาช้างแมมมอธช้างแอฟริกาฟรานซิส คริกฟอสฟอรัสพ.ศ. 2412พ.ศ. 2459พ.ศ. 2496พ.ศ. 2540พ.ศ. 2553พอลิเมอร์พันธุศาสตร์พิวรีนกรดยูริกกรดอะมิโนกรดโฟลิกการกลายพันธุ์การรวมกันใหม่ของยีนการลดลงของโอโซนการสร้างเม็ดเลือดแดงการสืบเชื้อสายร่วมกันการหลุดหายการหาลำดับดีเอ็นเอการถอดรหัส (พันธุศาสตร์)การถ่ายแบบดีเอ็นเอการถ่ายโอนสัญญาณการทดลองเฮอร์ชีย์–เชสการทดสอบเอมส์การขาดวิตามินบี12การขาดโฟเลตการควบคุมการแสดงออกของยีนการตรวจเลือดการตายเฉพาะส่วนการซ่อมแซมดีเอ็นเอการปรับตัว (ชีววิทยา)การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอการเกาะกันทางโมเลกุล...การเจาะน้ำคร่ำการเข้ารหัสทางประสาทกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์กูปรีมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์กมาลาเรียมิว (โปเกมอน)มือพังโบเชมนุษย์กลายพันธุ์มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันยาปฏิชีวนะยีนรหัสพันธุกรรมรหัสพันธุกรรมเริ่มต้นรหัสเครื่องรัฐภูมิ โตคงทรัพย์รังสีอัลตราไวโอเลตรังสีแกมมารายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐานรายชื่อรางวัลสำหรับหลักฐานเรื่องเหนือธรรมชาติรายชื่อโมเลกุลชีวภาพรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์รีเวิร์สแทรนสคริปเทสร่างกายมนุษย์ลักษณะปรากฏลำดับสงวนลำดับดีเอ็นเอลิงคีปูนจีลิซาร์ด (ตัวละคร)ลีนา เมดีนาวัฏจักรไนโตรเจนวัคซีนวิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรันวิวัฒนาการวิวัฒนาการชาติพันธุ์วิวัฒนาการของมนุษย์วิวัฒนาการเบนออกวิทยาสัตว์ลึกลับวิตามินบี12วงศ์ย่อยเสือใหญ่วงศ์วานวิวัฒนาการวงศ์แพนด้าแดงวงศ์แร็กคูนวงศ์เพียงพอนวงศ์เอลิฟานติดีว่านหางจระเข้สกุลชิมแปนซีสมมติฐานโลกของ RNAสัตว์ปีกสารก่อกลายพันธุ์สิงโตบาร์บารีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนสิ่งมีชีวิตนอกโลกสูญหายในการปฏิบัติหน้าที่สตรอว์เบอร์รีสตาร์คราฟต์ส้มสเตรปโตมัยซินหมาป่าดิงโกหมาป่านิวกินีหอดูดาวอาเรซีโบอวัยวะเพศออกซินอะพอพโทซิสอัมเบรลลาคอร์ปอเรชันอัลเฟรด เฮอร์ชีย์อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันอันดับของขนาด (มวล)อันดับของขนาด (จำนวน)อันดับของขนาด (ความยาว)อันดับเหยี่ยวอาร์เอพีดีอาร์เอ็นเออาร์เอ็นเอพอลิเมอเรสอาณาจักรชั้นที่สองอาแล็กซ็องดร์ ก็อสต์อิมพาลาอีพีเจเนติกส์อีวานเกเลียนอีออน ฟลักซ์ สวยเพชฌฆาตอณูพันธุศาสตร์อนุมูลอิสระฮิสโตนจระเข้แม่น้ำไนล์จอตาจัดจ์ เดรดด์จามรีจูราสสิค เวิลด์จีโนมจีเอฟเอเจ-1จ็อนเบอเน แรมซีย์ธุลีปริศนาทาลัสซีเมียแบบบีตาที่มาของประชากรลาวข้อความอาเรซีโบข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมดีเอ็นเอพอลิเมอเรสคริสต์ศตวรรษที่ 21คริสต์สหัสวรรษที่ 2คริสเปอร์ควากกาความผันแปรได้ทางพันธุกรรมความตายความเชื่อหลักของอณูชีววิทยาความเอนเอียงของผู้ทดลองความเอนเอียงเพื่อยืนยันคอยวูล์ฟคัพภวิทยางูสวัดซาวลาปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับปลากัดป่ามหาชัยปลาฉลามอาบแดดปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซียปลาไซเชเดลิกานกกระจอกเทศโซมาลีนกกระเบื้องผานกกะรางหัวขวานนกกีวีนกดำน้ำน้อยดีนิวคลีโอพลาสซึมนิวคลีโอลัสนิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัสนิวคลีโอไทด์นิวเคลียสของเซลล์นีโอมัยซินน้ำอสุจิน้ำตาลแอ็กเซลแจซมิน เกรซ กรีมัลดีโบโนโบโฟโต 51โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลชีวภาพโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังโรคจอตามีสารสีโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)โรคไวรัสอีโบลาโรซาลินด์ แฟรงคลินโลมาครีบทู่โลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณโอพอสซัมโดโมะคุงโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิกโครโมโซมไบรโอโลยีไพรเมสไพรเมอร์ไมโทคอนเดรียไรบาวิรินไรโซเบียมไทลาซีนไซบีเรียนฮัสกีไซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานรไซโดโฟเวียร์ไนโตรจีนัสเบสเบนโซไพรีนเฟร์ริตเฟท เทสทารอสซ่าเพนกวินเพนกวินหางแปรงเพนกวินจักรพรรดิเกลียวคู่กรดนิวคลีอิกเภสัชพฤกษศาสตร์เมแทบอลิซึมเม็ดเลือดแดงเยติเริมบริเวณอวัยวะเพศเสือโคร่งมลายูเส้นเวลาของยุคใหม่เหี้ยเหตุเพลิงไหม้เรือนจำโกมายากวาเอชไอวีเอกโซนิวคลีเอสเอสเทอร์เอปเอ็มอาร์เอ็นเอเอเอฟแอลพีเจมส์ ดี. วัตสันเทสโทสเตอโรนเดวิด แอทเทนเบอเรอห์เครื่องหมายดีเอ็นเอเซลล์ (ชีววิทยา)Complementary DNADamerau–Levenshtein distanceGene flowLatimeriaMycoplasma laboratoriumNon-coding RNANuclease protection assayTemperature gradient gel electrophoresis1 E310 กรกฎาคม225 เมษายน488 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย ขยายดัชนี (201 มากกว่า) »

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและA · ดูเพิ่มเติม »

Acinetobacter

ื้อในกลุ่ม Acinetobacter spp. เป็นเชื่อแบคทีเรียแกรมลบ (gram-negative bacteria) ทรงแท่ง ที่มีความสำคัญมากขึ้นในฐานะที่เป็นเชื้อก่อโรคในโรงพยาบาลที่พบได้บ่อยขึ้น และมักเป็นเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายชนิด Acinetobacter spp.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและAcinetobacter · ดูเพิ่มเติม »

บริเตนยุคก่อนประวัติศาสตร์

อังกฤษก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric Britain) เป็นประวัติของการตั้งถิ่นฐานในบริเตนใหญ่ที่เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยก่อนประวัติศาสตร์และมาสิ้นสุดลงเมื่อชาวโรมันเข้ามารุกรานในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและบริเตนยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลง

มดแปลง (Asiatic linsang) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Prionodon (/ไพร-โอ-โน-ดอน/) ในวงศ์ย่อย Prionodontinae (หรือแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก คือ Prionodontidae) ชะมดแปลง เป็นชะมดจำพวกหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับชะมดส่วนใหญ่ทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียว มีหางยาว ความยาวลำตัวไม่เกิน 30 เซนติเมตร อาศัยและหากินส่วนใหญ่บนต้นไม้ ด้วยรูปร่างที่เพรียวยาวจึงทำให้ดูเผิน ๆ เหมือนงูไต่ตามต้นไม้มากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อุ้งตีนมีซองเก็บเล็บได้เหมือนสัตว์ตระกูลแมว มีสีขนตามลำตัวเป็นจุดหรือลายแถบคดเคี้ยวแตกต่างไปตามชนิด ส่วนหางเป็นปล้อง ๆ ไม่มีขนแผงคอหรือขนที่สันหลัง และมีลักษณะเด่นเฉพาะ คือ ไม่มีต่อมผลิตกลิ่น เหมือนชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า ชะมดแปลงหน้า 82-84, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและชะมดแปลง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวบาหลี

หลี (บาหลี: Anak Bali, Wong Bali, Krama Bali; Suku Bali) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรราว 4,200,000 คนหรือเป็นคิดเป็นร้อยละ 1.7 ของประชากรในอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเกาะบาหลีร้อยละ 89 ทั้งยังมีชาวบาหลีอาศัยอยู่บนเกาะลอมบอกจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญ และพบทางตะวันออกสุดของเกาะชว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและชาวบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

บิ๊กฟุต

กฟุตในภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวิดีโอ ในปี ค.ศ. 1967 รู้จักกันดีในชื่อของภาพยนตร์ของแพตเตอร์สัน–กิมลิน (Patterson–Gimlin film) บิ๊กฟุต (Bigfoot) หรือ แซสแควตช์ (Sasquatch) หรือชื่อที่แปลตรงตัวว่า "ไอ้ตีนโต" เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือเอป แต่มีขนดก พบในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในทวีปอเมริกาเหนือ โดยชื่อที่เรียกมีที่จากรอยเท้าที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์แต่ใหญ่โตกว่ามาก ส่วนใหญ่บรรยายว่ามีความสูงถึง 8 ฟุต หรือ 9 ฟุต น้ำหนักอาจถึง 800 ปอนด์ มีขนดกปกคลุมทั่วตัวสีเข้ม มีแขนยาว ไร้คอ และใบหน้าเหมือนมนุษย์ มีตาแหลมคม มีพละกำลังมหาศาลสามารถทุ่มก้อนหินขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอลไปไกลได้อย่างสบาย และมีสัตว์ลักษณะคล้ายเคียงกันที่พบในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น ที่เทือกเขาหิมาลัยในเนปาล เรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า "เยติ" (เนปาล: यती; Yeti) หรือ มนุษย์หิมะ ที่ออสเตรเลียเรียกว่า "ยาวี" (Yowie) เป็นต้น โดยบิ๊กฟุตยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ต่างกันไปตามแต่ละชนเผ่าของอินเดียนแดง ซึ่งเป็นกลุ่มปฐมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ เช่น "มายาเด็กเท็ก" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ขนดก" หรือ "มนุษย์กิ่งไม้", "หญิงตะกร้า" หรือ "ยายาริ" และคำว่า "แซสแควตช์" ตั้งขึ้นมาเมื่อปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและบิ๊กฟุต · ดูเพิ่มเติม »

ชูปากาบรัส

แบบร่างของชูปากาบรัสแบบหนึ่ง ชูปากาบรัส (chupacabras; แปลว่า "ตัวดูด แพะ") เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับที่เป็นที่เล่าลือชนิดหนึ่ง มีผู้ที่อ้างว่าพบเห็นครั้งแรกในปวยร์โตรีโกในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและชูปากาบรัส · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีวสังเคราะห์โปรตีน

tRNA โปรตีนที่สังเคราะห์ใหม่ (''สีดำ'') จะถูกปรับแต่งต่อไป เช่น การเชื่อมต่อกับโมเลกุลเอฟเฟคเตอร์ (''สีส้ม'') กลายเป็นโมเลกุลที่แอกตีฟเต็มที่ต่อไป การสังเคราะห์ (Protein biosynthesis (Synthesis)) เป็นกระบวนการสร้างโปรตีนที่เกิดขึ้นใน เซลล์ กระบวนการสร้างโปรตีนมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ ทรานสคริปชั่นและจบที่ ทรานสเลชั่น การสังเคราะห์โปรตีนโดยทั่วไปถึงแม้จะเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกันในระหว่าง โปรแคริโอต และ ยูแคริโอต.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและชีวสังเคราะห์โปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

บทนำพันธุศาสตร์

ันธุศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยพันธุกรรม (ยีน) และการทำงานของพันธุกรรม ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่นได้ เช่น เด็กมักมีหน้าตาเหมือนพ่อแม่ เนื่องจากได้รับพันธุกรรมมาจากพ่อแม่ วิชาพันธุศาสตร์จะพยายามค้นหาว่าลักษณะใดบ้างที่มีการถ่ายทอด และการถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจะถูกเรียกว่า "trait" ลักษณะบางอย่างแสดงออกเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ เช่น สีตา ความสูง น้ำหนัก ลักษณะบางอย่างมองเห็นไม่ได้หรือเห็นได้อย่างเช่นหมู่เลือดหรือความต้านทานโรค ลักษณะบางอย่างอาจเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์อย่างซับซ้อนระหว่างยีนและสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดมะเร็งหรือโรคหัวใจมีผลจากทั้งยีนและการปฏิบัติตัว เป็นต้น ยีนประกอบด้วยโมเลกุลขนาดยาวที่เรียกว่าดีเอ็นเอ ซึ่งมีการคัดลอกและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น โมเลกุลดีเอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยมาต่อกันเป็นสายยาว ลำดับของหน่วยย่อยนี้เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมเอาไว้ คล้ายกับที่ตัวอักษรแต่ละตัวมาเรียงกันและเก็บข้อมูลเอาไว้ในรูปของประโยค "ภาษา" ที่ดีเอ็นเอใช้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม รหัสนี้จะถูกถอดรหัสโดยกลไกทางพันธุกรรมเพื่อ "อ่าน" ข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในยีนในรูปของโคดอนที่แต่ละโคดอนประกอบด้วยรหัส 3 ตัว ข้อมูลเหล่านี้จะถูกทำไปใช้สร้างเป็นสิ่งมีชีวิต ข้อมูลในยีนยีนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ แต่ละตัว ยีนที่แตกต่างกันอาจให้ข้อมูลออกมาแตกต่างกันได้ โดยเรียกยีนหนึ่งๆ ในรูปแบบหนึ่งๆ ว่าอัลลีล ตัวอย่างเช่น อัลลีลหนึ่งของยีนที่ควบคุมสีผมสามารถสั่งให้ร่างกายสร้างเม็ดสีมากๆ ทำให้ผมมีสีดำ ในขณะที่อัลลีลอีกแบบหนึ่งของยีนเดียวกันอาจให้ข้อมูลที่แตกต่างออกไป ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสีได้ดีเท่า ผมจึงมีสีเทา เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงแบบสุ่มที่เกิดขึ้นในยีนเรียกว่าการกลายพันธุ์ และอาจทำให้เกิดอัลลีลใหม่ได้ การกลายพันธุ์อาจทำให้เกิดลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมา เช่นอัลลีลผมสีดำอาจกลายพันธุ์ทำให้เกิดเป็นอัลลีลผมสีเทาได้ การเกิดลักษณะใหม่ขึ้นได้เช่นนี้เป็นส่วนสำคัญในการเกิดวิวัฒนาการ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและบทนำพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแมมมอธ

้างแมมมอธ หรือ แมมมอธ (Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง) โดยคำว่า "แมมมอธ" นั้นมาจากคำว่า "Mammal" หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น ภาพเปรียบเทียบขนาดของมนุษย์กับแมมมอธแต่ละชนิด แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว ในปลายเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและช้างแมมมอธ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแอฟริกา

้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน ช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง") ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและช้างแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานซิส คริก

ฟรานซิส คริก ฟรานซิส คริก (Francis Harry Compton Crick OM FRS (8 มิถุนายน พ.ศ. 2459 – 28 กรกฎาคม 2547) นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษ นักฟิสิกส์และนักประสาทวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นผู้ร่วมค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของ “กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก” หรือ “ดีเอ็นเอ” เมื่อ พ.ศ. 2496 ฟรานซิส คริก กับ เจมส์ ดี. วัตสัน ผู้ร่วมค้นพบ ได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา หรือ การแพทย์ “สำหรับการค้นพบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลิอิกและความสำคัญของมันในการถ่ายทอดข้อมูลสำคัญในสิ่งมีชีวิต” งานของฟรานซิส คริกในช่วงหลังจนถึงปี พ.ศ. 2520 ที่หอทดลองอณูชีววิทยา “เอ็มอาร์ซี” หรือ “สภาวิจัยทางการแพทย์” (MRC-Medical Research Council) ไม่ได้รับการยอมรับเป็นทางการมากนัก ในช่วงท้ายในชีวิตงาน คริกได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมธีวิจัย “เจ ดับบลิว คีกเคเฟอร์” ที่ “สถาบันซอล์คชีววิทยาศึกษา” ที่เมืองลาโฮลา รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้ดำรงตำแหน่งนี้จนสิ้นชีวิตเมื่ออายุได้ 88 ปี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและฟรานซิส คริก · ดูเพิ่มเติม »

ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส (phosphorus) เป็นธาตุอโลหะ เลขอะตอม 15 สัญลักษณ์ P ฟอสฟอรัสอยู่ในกลุ่มไนโตรเจน มีวาเลนซ์ได้มาก ปรากฏในหลายอัลโลโทรป พบทั้งในหินฟอสเฟต และเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกเซลล์ (ในสารประกอบในดีเอ็นเอ) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาได้สูง จึงไม่ปรากฏในรูปอิสระในธรรมชาติ คำว่า ฟอสฟอรัส มาจากภาษากรีกแปลว่า 'ส่องแสง' และ 'นำพา' เพราะฟอสฟอรัสเรืองแสงอ่อน ๆ เมื่อมีออกซิเจน หรือมาจากภาษาละติน แปลว่า 'ดาวประกายพรึก' ค้นพบประมาณปี 1669 โดยนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมัน เฮนนิก แบรนด์ ในขณะที่ภาษาไทยในสมัยก่อน เรียก ฟอสฟอรัส ว่า 'ฝาสุภเรศ' ฟอสฟอรัสเป็นอโลหะอยู่ในหมู่ที่ VA หมู่เดียวกับธาตุไนโตรเจนในธรรมชาติไม่พบฟอสฟอรัสในรูปของธาตุอิสระ แต่จะพบในรูปของสารประกอบฟอสเฟตที่สำคัญได้แก่หินฟอสเฟต หรือแคลเซียมฟอสเฟต (Ca2(PO4)2) ฟลูออไรอะปาไทต์ (Ca5F (PO4)3) นอกจากนี้ยังพบฟอสฟอรัสในไข่แดง กระดูก ฟัน สมอง เส้นประสาทของคนและสัตว์ ฟอสฟอรัสสามารถเตรียมได้จากแคลเซียมฟอสเฟต โดยใช้แคลเซียมฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับคาร์บอนในรูปถ่านโค๊ก และซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) ในเตาไฟฟ้า ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยให้รากของพืชแข็งแรง และแผ่กระจายได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลำต้นแข็งแรงตามไปด้วย ปกติแล้วธาตุฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินมากพออยู่แล้ว เป็นธาตุที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินหรือละลายน้ำได้ยากซึ่งจะทำให้พืชดูดเอาไปใช้ได้ยากด้วย แม้แต่ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินโดยตรงก็ประมาณกันไว้ว่า 80-90 % ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดนั้นจะถูกดินยึดไว้โดยการทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ดังนั้น ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของ สารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปในดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืชปุ๋ย ฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสีย ความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็นใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่าง ๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดิน อย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น ฟอสฟอรัสช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง สร้างแป้งและน้ำตาล เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร ตลอดจนการติดเมล็ด สร้างระบบรากให้แข็งแรง ช่วยในการแตกกอ และช่วยให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ช่วยให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและโมลิบดีนัมได้ดีขึ้น ธาตุนี้มักพบในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ เนื่องจากจะถูกตรึงอยู่ในดิน ส่วนใหญ่พืชจะแสดงอาการขาดธาตุนี้บ่อยครั้ง แม้ว่าในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามถ้าขาดธาตุฟอสฟอรัสราก พืชจะไม่เจริญ มีรากฝอยน้อย ต้นเตี้ย ใบและต้นมีสีเข้มและบางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชแก่ช้ากว่าปกติ เช่น การผลิดอก ออกผลช้า มีการแตกกอน้อย การติดเมล็ดน้อย หรือบางครั้งไม่ติดเมล็.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและฟอสฟอรัส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2412

ทธศักราช 2412 ตรงกั.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพ.ศ. 2412 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2459

ทธศักราช 2459 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1916 เป็นปีอธิกสุรทินแรกของไทย ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพ.ศ. 2459 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2496

ทธศักราช 2496 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1953 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพ.ศ. 2496 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

พอลิเมอร์

อลิเมอร์ (polymer) ความหมายของพอลิเมอร์นั้นก็มาจากรากศัพท์กรีกสำคัญ 2 คำ คือ Poly (จำนวนมาก) และ Meros (ส่วน หรือ หน่วย) พอลิเมอร์เป็นสารโมเลกุลขนาดใหญ่ (Macromolecule) พอลิเมอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยซ้ำกัน (repeating unit) ของมอนอเมอร์ (Monomer) หลายๆหน่วยมาทำปฏิกิริยากัน มอนอเมอร์นี้จัดเป็นสารไมโครโมเลกุล (Micromolecule) ชนิดหนึ่ง พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทั้งหมด จัดเป็นโฮโมพอลิเมอร์ (Homopolymer) แต่ถ้ามีมอนอเมอร์ต่างกันตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป จัดเป็นโคพอลิเมอร์ (Copolymer) สารบางอย่างที่มีสมบัติอย่างพอลิเมอร์ เช่น สารพวกไขมันที่มีแต่ละหน่วยที่ไม่ซ้ำกันนั้นจะเป็นเพียงแค่สารแมคโครโมเลกุลเท่านั้น ไม่จเดยลิเมอร์ พอลิเมอร์มีทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ (Natural polymer) และพอลิเมอร์สังเคราะห์ (Synthetic polymer) ตัวอย่างของ โพลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส โปรตีน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ ส่วนพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก เส้นใย โฟม และกาว พอลิเมอร์ทั้งสองชนิดนี้เข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน เราต้องใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ และพอลิเมอร์แต่ละชนิดมีสมบัติต่างกัน จึงนำหน้าที่หรือนำไปใช้งานที่ต่างกันได้ พอลิเมอร์ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือพลาสติก ซึ่งเป็นคำที่ใช้อ้างถึงกลุ่มของวัสดุธรรมชาติและสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ที่มีคุณสมบัติและการใช้งานต่างกัน พอลิเมอร์ธรรมชาติเช่นชแล็กและอำพันที่ใช้มาเป็นเวลากว่าศตวรรษ พอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิกที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพ พอลิเมอร์ธรรมชาติอื่นๆ เช่นเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบหลักของกระดาษและไม้ พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บาเกไลต์, นีโอพรีน, ไนลอน, พีวีซี, พอลิสไตรีน, พอลิอคริโลไนไตรล์ และพีวีบี การศึกษาเกี่ยวกับพอลิเมอร์ได้แก่ เคมีพอลิเมอร์, ฟิสิกส์พอลิเมอร์และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ พอลิเมอร์สังเคราะห์ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิด พอลิเมอร์มีการใช้ในการยึดเกาะและการหล่อลื่นอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับการใช้เป็นโครงสร้างตั้งแต่ของเด็กเล่นจนถึงยานอวกาศ มีการใช้เป็นยาทางชีวภาพในฐานะเป็นตัวขนส่งยาในสิ่งมีชีวิต พอลิเมอร์เช่น พอลิ เมทิล เมทาคริเลต ที่ใช้ในกระบวนการโฟโตเรซิสในอุตสาหกรรมกึ่งตัวนำ และสารไดอิเล็กทริกโปแทสเซียมต่ำสำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ปัจจุบันยังมีการพัฒนาพอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้สำหรับอิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพอลิเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิวรีน

#Traube purine synthesis --> พิวรีน (purine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเฮเตอโรไซคลิกและอะโรมาติก ที่มีวงแหวนไพริมิดีน (pyrimidine) เชื่อมกับวงแหวนอิมิดาโซล และให้ชื่อของมันกับกลุ่มโมเลกุลที่เรียกว่า พิวรีน ซึ่งรวมพิวรีนที่มีการแทนที่โครงสร้างและเทาโทเมอร์ ต่าง ๆ ของพิวรีน เป็นสารประกอบเฮเตอโรไซคลิกแบบมีไนโตรเจนที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ และละลายน้ำได้ พิวรีนพบอย่างเข้มข้นในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อ โดยเฉพาะเครื่องในรวมทั้งตับไต โดยทั่วไปแล้ว พืชผักจะมีพิวรีนต่ำ ตัวอย่างของอาหารที่มีพิวรีนสูงรวมทั้ง ต่อมไทมัส ตับอ่อน ปลาแอนโชวี่ ปลาซาร์ดีน ตับ ไตของวัวควาย สมอง สารสกัดจากเนื้อ ปลาเฮร์ริง ปลาแมกเคอเรล หอยเชลล์ เนื้อสัตว์ที่ล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬา เบียร์ (โดยได้จากยีสต์) และน้ำเกรวี อาหารที่มีพิวรีนกลาง ๆ รวมทั้ง เนื้อวัวควาย เนื้อหมู ปลาและอาหารทะเล ผักแอสพารากัส ต้นกะหล่ำดอก ผักโขมจีน เห็ด ถั่วลันเตา ถั่วเล็นทิล ถั่ว ข้าวโอ๊ต รำข้าวสาลี และจมูกข้าวสาลี พิวรีนและไพริมิดีนเป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสไนโตรเจน (nitrogenous base) และก็เป็นกลุ่มสองกลุ่มของเบสนิวคลีโอไทด์ (nucleotide base/nucleobase) ด้วย deoxyribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ deoxyadenosine และ guanosine, ribonucleotide 2 อย่างใน 4 อย่าง คือ adenosine/adenosine monophosphate (AMP) และ guanosine/guanosine monophosphate (GMP) ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอตามลำดับ ก็เป็นพิวรีน เพื่อจะสร้างดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ เซลล์จำเป็นต้องใช้พิวรีนและไพรมิดีนเป็นจำนวนพอ ๆ กัน ทั้งพิวรีนและไพริมิดีนต่างก็เป็นสารยับยั้งและสารก่อฤทธิ์ต่อพวกตนเอง คือ เมื่อพิวรีนก่อตัวขึ้น มันจะยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้สร้างพิวรีนเพิ่ม พร้อมกับก่อฤทธิ์ของเอนไซม์ที่ใช้สร้างไพริมิดีน และไพริมิดีนก็ทั้งยับยั้งตนเองและออกฤทธิ์ให้สร้างพิวรีนในลักษณะเช่นเดียวกัน เพราะเหตุนี้ จึงมีสารทั้งสองอยู่ในเซลล์เกือบเท่า ๆ กันตลอดเวล.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและพิวรีน · ดูเพิ่มเติม »

กรดยูริก

กรดยูริก (Uric acid) เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic) ที่มีคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยมีสูตรเคมีเป็น C5H4N4O3 มันมีรูปแบบทั้งเป็นไอออนและเกลือที่เรียกว่าเกลือยูเรต (urate) และเกลือกรดยูเรต (acid urate) เช่น ammonium acid urate กรดยูริกเป็นผลของกระบวนการสลายทางเมแทบอลิซึมของนิวคลีโอไทด์คือพิวรีน (purine) และเป็นองค์ประกอบปกติของปัสสาวะ การมีกรดยูริกในเลือดสูงอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ และสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน และนิ่วในไตที่เกิดจาก ammonium acid urate.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและกรดยูริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

กรดโฟลิก

ฟเลต หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ กรดโฟลิก และ วิตามินบี9 (folate, folic acid, vitamin B9) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง มีปริมาณที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม และมักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) --> และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก กว่า 50 ประเทศเสริมกรดโฟลิกในอาหารเพื่อเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ ยังไม่ชัดเจนว่าการทานในขนาดสูงเป็นระยะเวลายาวนานมีปัญหาหรือไม่ แต่การใช้ขนาดสูงสามารถอำพรางการขาดวิตามินบี12ได้ --> โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต --> ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย --> อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน --> การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและกรดโฟลิก · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การรวมกันใหม่ของยีน

แบบจำลองของการรวมกันใหม่ของยีนในกระบวนการไมโอซิส เริ่มด้วยการแตกออก (break/gap) เป็นสองเส้น ตามด้วยการจับคู่กับโครโมโซมคู่เหมือน และ strand invasion เพื่อเริ่มกระบวนการซ่อมแซมแบบรวมกันใหม่ การซ่อมแซมช่องแตกอาจทำให้ได้ส่วนข้าง ๆ แบบข้าม (crossover, CO) หรือไม่ข้าม (non-crossover, NCO) การรวมกันใหม่แบบข้าม เชื่อว่าเกิดตามแบบจำลอง Double Holliday Junction (DHJ) ที่แสดงในรูปด้านขวา ส่วนการรวมกันใหม่แบบไม่ข้าม เชื่อว่าเกิดโดยหลักตามแบบจำลอง Synthesis Dependent Strand Annealing (SDSA) ที่แสดงในรูปด้านซ้าย โดยการรวมกันใหม่โดยมากดูเหมือนจะเป็นแบบ SDSA การรวมกันใหม่ของยีน (Genetic recombination) เป็นการสร้างลูกด้วยลักษณะสืบสายพันธุ์แบบผสมที่ต่างจากที่พบในพ่อแม่และโดยมากจะเกิดตามธรรมชาติ ในยูแคริโอต การรวมกันใหม่ของยีนในระยะไมโอซิสอาจทำให้เกิดยีนใหม่ ๆ ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูกได้ ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของยูแคริโอต การรวมกันใหม่ของยีนจะอาศัยการจับคู่ของโครโมโซมคู่เหมือน (homologous chromosome) ซึ่งอาจตามด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลยีนระหว่างโครโมโซมที่ว่า การโอนข้อมูลอาจไม่ใช่การให้ส่วนโครโมโซมจริง ๆ (คือ ส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมอาจลอกจากโครโมโซมหนึ่งไปยังอีกโครโมโซมหนึ่ง โดยไม่มีการบริจาคโครโมโซม) (ดูวิถี SDSA ในรูป) หรือเป็นการแตกแล้วต่อคืนสายดีเอ็นเอเป็นการสร้างโมเลกุลใหม่ (ดูวิถี DHJ ในรูป) การรวมกันใหม่ของยีนก็อาจเกิดในระยะไมโทซิสของยูแคริโอตด้วย ซึ่งปกติจะเกี่ยวกับกับโครโมโซมพี่น้อง (sister chromosome) ที่เกิดขึ้นหลังการถ่ายแบบโครโมโซม ในกรณีนี้ อัลลีลแบบผสมจะไม่เกิดเพราะโครโมโซมพี่น้องปกติจะเหมือนกัน ทั้งในไมโอซิสและไมโทซิส การรวมกันใหม่ของยีนจะเกิดระหว่างโมเลกุลดีเอ็นเอที่คล้าย ๆ กันคือเป็น homolog แต่ในไมโอซิส โครโมโซมคู่เหมือนที่ไม่ใช่พี่น้อง (non-sister homologous) จะจับคู่กัน ดังนั้น การรวมกันใหม่ของยีนก็จะเกิดระหว่างโครโมโซมคู่เหมือนที่ไม่ใช่พี่น้องกันด้วย ทั้งในไมโอซิสและไมโทซิส การรวมกันใหม่ของยีนระหว่างโครโมโซมคู่ดูเหมือนจะเป็นกลไกการซ่อมดีเอ็นเอที่สามัญ การรวมกันใหม่ของยีนและการซ่อมดีเอ็นเอด้วยการรวมกันใหม่ ก็เกิดด้วยในแบคทีเรียและอาร์เคีย ซึ่งสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ การรวมกันใหม่ของยีนยังสามารถทำขึ้นในห้องปฏิบัติการ (in vitro) เพื่อสร้างดีเอ็นเอลูกผสม (recombinant DNA) ที่ใช้ในกิจต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาวัคซีน การรวมกันใหม่แบบ V(D)J ในสัตว์ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวได้ เป็นการรวมกันใหม่ของยีนเฉพาะที่ซึ่งช่วยเซลล์ภูมิต้านทานให้เกิดอย่างหลากหลายและรวดเร็ว เพื่อรู้จักและปรับตัวให้เข้ากับจุลชีพก่อโรคใหม.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการรวมกันใหม่ของยีน · ดูเพิ่มเติม »

การลดลงของโอโซน

องหลุมพร่องโอโซนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 บริเวณขั้วโลกใต้ การลดลงของโอโซน (ozone depletion) คือปรากฏการณ์การลดลงของชั้นโอโซนบนชั้นบรรยากาศระดับชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยทำการศึกษาการลดลงของชั้นโอโซนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการลดลงของโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างเม็ดเลือดแดง

isbn.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการสร้างเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

การสืบเชื้อสายร่วมกัน

ในสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ การสืบเชื้อสายร่วมกัน หรือ การสืบสกุลร่วมกัน (Common descent) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้สุด (most recent common ancestor, MRCA) อย่างไร มีหลักฐานว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน และในปี 2559 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ระบุยีน 355 ตัวจากบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีบรรพบุรุษร่วมกันในช่วงการเกิดสปีชีส์ ที่สปีชีส์ต่าง ๆ จะกำเนิดจากกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกัน โดยกลุ่มที่มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้กันกว่า ก็จะเป็นญาติใกล้ชิดกันมากกว่า และสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดก็ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันที่เรียกว่า บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA) ซึ่งมีชีวิตประมาณ 3,900 ล้านปีก่อน (โดยโลกเกิดเมื่อ 4,450 ล้านปี ± 1% ก่อน) หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก 2 ชิ้นก็คือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการสืบเชื้อสายร่วมกัน · ดูเพิ่มเติม »

การหลุดหาย

ในสาขาวิชาพันธุศาสตร์ การหลุดหาย เป็นการกลายพันธุ์อย่างหนึ่งที่มีส่วนหนึ่งของโครโมโซมหรือดีเอ็นเอหายไป การหลุดหายทำให้เกิดการสูญเสียสารพันธุกรรมไป อาจมีนิวคลีโอไทด์หลุดหายไปจำนวนเท่าใดก็ได้ ตั้งแต่หนึ่งลำดับเบสไปจนถึงโครโมโซมทั้งอัน การหลุดหายอาจเป็นสาเหตุของโรคทางพันธุกรรมได้หลายชน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการหลุดหาย · ดูเพิ่มเติม »

การหาลำดับดีเอ็นเอ

การหาลำดับ DNA คือกระบวนการที่ทำขึ้นเพื่อหาลำดับของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุล DNA อย่างแม่นยำ ได้แก่ A(adenine) G(guanine) C(cytosine) และ T(thymine) ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิกที่ทำให้การหาลำดับ DNA ทำได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางชีววิทยาและการแพทย์อย่างรวดเร็วก้าวกระโดด หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการหาลำดับดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การถอดรหัส (พันธุศาสตร์)

การถอดรหัส หรือ การสร้างอาร์เอ็นเอ (Transcription หรือ RNA synthesis) คือ กระบวนการการสร้างอาร์เอ็นเอจากดีเอ็นเอ ซึ่งทั้งอาร์เอ็นเอและดีเอ็นเอต่างเป็นกรดนิวคลิอิกซึ่งใช้ลำดับคู่เบสของนิวคลีโอไทด์เป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกันซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้หากมีเอนไซม์ที่เหมาะสม ในช่วงการถอดรหัสนั้น ลำดับดีเอ็นเอจะถูกอ่านโดยเอนไซม์ RNA polymerase ซึ่งจะสร้างคู่เติมเต็มซึ่งเป็นสายอาร์เอ็นเอที่ขนานสวนกัน เทียบกันกับการสร้างดีเอ็นเอแล้ว การถอดรหัสจะทำให้ได้ผลเป็นอาร์เอ็นเอคู่เติมเต็มที่มีเบสยูราซิล (Uracil, U) แทนที่ตำแหน่งของเบสไทมีน (Thymine, T) ที่เคยมีในสายดีเอ็นเอคู่นั้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการถอดรหัส (พันธุศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายแบบดีเอ็นเอ

กลียวคู่ของดีเอ็นเอคลายตัวและเป็นแม่แบบขแงสายใหม่ การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพื่อจำลองดีเอ็นเอของตนเอง กระบวนการนี้เริ่มจากดีเอ็นเอสายเดี่ยวสร้างดีเอ็นเออีกสายที่เป็นคู่สมของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่ กระบวนการเป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการเพื่อป้องกันการกลายพัน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการถ่ายแบบดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายโอนสัญญาณ

วิถีการถ่ายโอนสัญญาณหลัก ๆ (แบบทำให้ง่าย) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเซลล์ การถ่ายโอนสัญญาณ หรือ การแปรสัญญาณ (signal transduction) เป็นกระบวนการทางเคมีหรือทางกายภาพโดยเป็นลำดับการทำงาน/ลำดับเหตุการณ์ในระดับโมเลกุล ที่โมเลกุลส่งสัญญาณ (ปกติฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท) จะเริ่มการทำงาน/ก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับ ซึ่งในที่สุดมีผลให้เซลล์ตอบสนองหรือเปลี่ยนการทำงาน โปรตีนที่ตรวจจับสิ่งเร้าโดยทั่วไปจะเรียกว่า หน่วยรับ (receptor) แม้ในบางที่ก็จะใช้คำว่า sensor ด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการจับของลิแกนด์กับหน่วยรับ (คือการพบสัญญาณ) จะก่อลำดับการส่งสัญญาณ (signaling cascade) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ทางเคมีชีวภาพตามวิถีการส่งสัญญาณ (signaling pathway) เมื่อวิถีการส่งสัญญาณมากกว่าหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกันและกัน นี่ก็จะกลายเป็นเครือข่าย เป็นการประสานการตอบสนองของเซลล์ บ่อยครั้งโดยเป็นการส่งสัญญาณแบบร่วมกัน ในระดับโมเลกุล การตอบสนองเช่นนี้รวม.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการถ่ายโอนสัญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส

การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส การทดลองเฮอร์ชีย์–เชส (Hershey–Chase experiment) เป็นชุดของการทดลองที่ทำขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการทดลองเฮอร์ชีย์–เชส · ดูเพิ่มเติม »

การทดสอบเอมส์

การทดสอบเอมส์ (Ames test) เป็นวิธีการทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ซึ่งถูกค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการทดสอบเอมส์ · ดูเพิ่มเติม »

การขาดวิตามินบี12

การขาดวิตามินบี12 หรือ ภาวะขาดวิตามินบี12 (Vitamin B12 deficiency, hypocobalaminemia) หมายถึงการมีระดับวิตามินบี12 ในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่างรวมทั้งปัญหาทางความคิด ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ความหงุดหงิด โรคจิต (psychosis) --> ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) รีเฟล็กซ์เปลี่ยน กล้ามเนื้อทำงานไม่ดี ลิ้นอักเสบ (glossitis) ได้รสชาติลดลง (hypogeusia) เม็ดเลือดแดงน้อย (เลือดจาง) การทำงานของหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) และความเป็นหมัน ในเด็กเล็ก ๆ อาการอาจรวมการไม่โต พัฒนาการที่ล่าช้า และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (movement disorder) ถ้าไม่รักษา ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกลายเป็นปัญหาถาวร เหตุสามัญรวมทั้งการดูดซึมวิตามินได้ไม่ดีจากกระเพาะหรือลำไส้ การทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ และความต้องการที่เพิ่มขึ้น --> การดูดซึมได้ไม่ดีอาจมีเหตุจากโรคโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) การผ่าตัดเอากระเพาะออก ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง พยาธิในลำไส้ ยาบางชนิด และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ --> ส่วนการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พออาจเกิดกับผู้ที่ทานอาหารเจแบบวีแกน หรือได้สารอาหารไม่เพียงพอ --> ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดในคนไข้เอชไอวี/เอดส์ และในบุคคลที่สลายเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยปกติจะอาศัยระดับวิตามินบี12 ในเลือดที่ต่ำกว่า 120-180 picomol/L (หรือ 170-250 pg/mL) ในผู้ใหญ่ --> การมีระดับกรด methylmalonic ที่สูงขึ้น คือ เกิน 0.4 micromol/L อาจจะเป็นตัวบ่งความขาดวิตามินได้ด้วย --> การมีภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic anemia (ที่เม็ดเลือดใหญ่เกินปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้) เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่จำเป็น สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำให้หญิงทานเจที่มีครรภ์ทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยให้วิตามินเสริมไม่ทางปากก็ทางการฉีด ไม่ต้องกังวลว่าจะมีวิตามินบี12 เกินในบุคคลที่มีสุขภาพดี คนไข้บางรายอาจจะดีขึ้นเองถ้ารักษาโรคที่เป็นเหตุ ในบางกรณีอาจจะต้องทานวิตามินชั่วชีวิตเพราะโรคที่เป็นเหตุไม่สามารถรักษาได้ การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญ ประมาณว่า 6% ของคนที่อายุต่ำกว่า 60 และ 20% ของคนที่อายุมากกว่า 60 จะมีปัญหานี้ --> โดยอัตราอาจสูงถึง 80% ในบางเขตของทวีปแอฟริกาและเอเชี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการขาดวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

การขาดโฟเลต

การขาดโฟเลต (Folate deficiency) ก็คือเมื่อร่างกายมีระดับกรดโฟลิกที่ต่ำ โฟเลตซึ่งรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า วิตามินบี9 มีบทบาทในการสังเคราะห์ adenosine, guanine, และ thymidine ซึ่งเป็นส่วนของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ อาการขาดโฟเลตบ่อยครั้งเห็นยาก ภาวะเลือดจางเหตุขาดโฟเลต (folate deficiency anemia) เป็นอาการที่พบในภายหลัง มีอาการเป็นเม็ดเลือดแดงที่โตผิดปกติ (megaloblast) เพราะไม่มีกรดโฟลิกพอในร่างก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการขาดโฟเลต · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมการแสดงออกของยีน

แผนภาพแสดงระยะที่สามารถมีการควบคุมการแสดงออกของกระบวนการสร้างโปรตีนจากดีเอ็นเอได้ การควบคุมการแสดงออกของยีน คือ กระบวนการใด ๆ ที่เซลล์หรือไวรัสใช้ในการควบคุมแนวทางที่ข้อมูลจากยีนถูกสร้างเป็นผลผลิตของยีน ทั้งนี้แม้ผลผลิตของยีนที่ทำหน้าที่อาจจะเป็นอาร์เอ็นเอหรือโปรตีนได้ทั้งคู่ แต่กระบวนการควบคุมการแสดงออกของยีนส่วนใหญ่จะควบคุมยีนที่ถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีน ทุกขั้นตอนของการแสดงออกของยีนสามารถถูกควบคุมได้ ตั้งแต่การถอดรหัสจากดีเอ็นเอเป็นอาร์เอ็นเอ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงโปรตีนภายหลังการแปลรหัสเสร็จเรียบร้อยแล้ว การควบคุมการแสดงออกของยีนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับไวรัส โปรคารีโอต และยูคารีโอต เนื่องจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยเป็นการทำให้โปรตีนหนึ่งๆ สามารถแสดงออกได้เมื่อมีความจำเป็น ถือกันว่าระบบควบคุมการแสดงออกของยีนที่ค้นพบเป็นครั้งแรกคือการค้นพบ lac operaon โดย Jacques Monod ใน..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการควบคุมการแสดงออกของยีน · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจเลือด

การเจาะหลอดเลือดดำ การตรวจเลือด คือ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากเลือดซึ่งปกติแล้วได้จากการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขนหรือปลายนิ้ว การตรวจเลือดใช้สำหรับตรวจสอบสถาวะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น โรค แร่ธาตุ การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการทดสอบสารเสพติด ถึงแม้เราจะใช้คำว่า "การตรวจเลือด" แต่การตรวจเลือดโดยทั่วไป (ยกเว้นทางโลหิตวิทยา) เราจะตรวจจากพลาสมาหรือซีรัมแทนของเซลล์เม็ดเลือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการตรวจเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การตายเฉพาะส่วน

การตายของเนื้อเยื่อหลังจากเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง การตายเฉพาะส่วน (มาจากภาษา Nekros ตาย) เป็นการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตามมาอย่างมาก ได้แก่การบวมของเซลล์, การย่อยสลายโครมาติน, และการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ในระยะต่อมาจะเกิดการย่อยสลายดีเอ็นเอ, การเกิดช่องว่าง (vacuolation) ของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum), การสลายของออร์แกเนลล์, และเกิดการสลายเซลล์ หลังจากเยื่อหุ้มเซลล์แตกสลายจะมีการปล่อยองค์ประกอบภายในเซลล์ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ กระบวนการดังกล่าวแยกออกจากการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย (Postmortem change) และจากการคงสภาพเนื้อเยื่อโดยฟอร์มาลินมานะ ทวีวิศิษฎ์ (บรรณาธิการ), พยาธิวิทยาพื้นฐาน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการตายเฉพาะส่วน · ดูเพิ่มเติม »

การซ่อมแซมดีเอ็นเอ

DNA damage resulting in multiple broken chromosomes การซ่อมแซมดีเอ็นเอ (DNA repair) คือชุดของกระบวนการที่เซลล์ตรวจพบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอที่ประกอบกันเป็นจีโนมของเซลล์นั้น ในเซลล์มนุษย์กระบวนการเผาผลาญตามปกติและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวีหรือรังสีอื่นทำให้ดีเอ็นเอเสียหายและก่อให้เกิดรอยโรคระดับโมเลกุลได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านตำแหน่งต่อเซลล์ต่อวันLodish H, Berk A, Matsudaira P, Kaiser CA, Krieger M, Scott MP, Zipursky SL, Darnell J. (2004).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการซ่อมแซมดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว (adaptation, adaptive trait) มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการปรับตัว (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

การแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอ

This gene duplication has created a copy-number variation. The chromosome now has two copies of this section of DNA, rather than one. การแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอ (Copy number variation - CNV) เป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างของจำนวนชุด (copy number) ในจีโนมสองอันหรือมากกว่า ส่วนที่ซ้ำกันนี้อาจมีขนาดได้ตั้งแต่หนึ่งร้อยคู่เบสจนถึงหลายล้านคู่เบส CNV อาจได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นหรือเกิดขึ้นใหม่ (de novo) ก็ได้ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการแปรผันของจำนวนชุดดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การเกาะกันทางโมเลกุล

การเกาะกันทางโมเลกุล (Molecular Binding) เป็นปฏิสัมพันธ์แบบดึงดูดระหว่างโมเลกุล 2 โมเลกุล และเป็นผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างของโมเลกุลเสถียรและระยะห่างของทั้งสองโมเลกุลสั้นลง การเกาะกันทางโมเลกุลจะก่อให้เกิด โมเลกุลาร์คอมเพล็กซ์ (molecular complex).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการเกาะกันทางโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

การเจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยก่อนการคลอดสำหรับความผิดปกติของโครโมโซม การติดเชื้อในทารก และความผิดปกติอื่นๆ ทำโดยเจาะดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณน้อยจากถุงน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆ ทารกในครรภ์ ในน้ำคร่ำนี้จะมีเนื้อเยื่อของทารกอยู่ สามารถสกัดเซลล์ออกมาตรวจ DNA หาความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ ไม่มีข้อบ่งชี้ของการเจาะน้ำคร่ำเพื่อการตรวจวินิจฉัยยืนยันความเป็นบุตร.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการเจาะน้ำคร่ำ · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสทางประสาท

การยิงศักยะงานเป็นขบวนหรือเป็นลำดับ ๆ ของเซลล์ประสาท การเข้ารหัสทางประสาท (Neural coding) เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ หรือของกลุ่มเซลล์ประสาท และความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในกลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีว่า การทำงานของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองจะเป็นตัวแทนข้อมูลทางประสาทสัมผัสและข้อมูลอื่น ๆ นักวิชาการจึงเชื่อว่า เซลล์ประสาทสามารถเข้ารหัสข้อมูลเป็นทั้งแบบดิจิตัลและแบบแอนะล็อก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและการเข้ารหัสทางประสาท · ดูเพิ่มเติม »

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

แสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิท.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

กูปรี

กูปรี หรือ โคไพร (គោព្រៃ ถอดรูปได้ โคไพร แต่อ่านว่า โกเปร็ย หรือ กูปรี แปลว่า วัวป่า) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและกูปรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University หรือ CASE หรือ CWRU หรือ CASE WESTERN) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เน้นทางด้านการวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 จากการรวมกันของสองสถาบันการศึกษาอันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีเคส (Case Institute of Technology) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 โดยนาย ลีโอนาร์ท เคส จูเนียร์ (Leonard Case Jr) กับ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Western Reserve University) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2369 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษาประมาณ 10,000 คน แบ่งเป็น นักศึกษาปริญญาบัณฑิต 4,386 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,640 คน และอาจารย์ประจำ 3,055 คน และเจ้าหน้าที่ 3,402 คน สำหรับปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยประจำปีคือ 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับเงินบริจาคประจำปีคือ 138.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัยเป็นอย่างมาก โดยตามรายงานประจำปี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ (B-cell chronic lymphocytic leukemia, B-CLL) หรือรู้จักในชื่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก (chronic lymphoid leukemia, CLL) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทที่พบมากที่สุด CLL มีผลกระทบต่อลิมโฟไซต์บีเซลล์ บีเซลล์ถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูก เติบโตในต่อมน้ำเหลือง และโดยปกติจะสู้รับการติดเชื้อโดยสร้างแอนติบอดี เมื่อเป็นโรค ดีเอ็นเอของบีเซลล์จะได้รับความเสียหาย จนไม่สามารถสร้างแอนติบอดีได้ นอกเหนือจากนั้น บีเซลล์จะเติบโตนอกเหนือการควบคุมและจะสะสมอยู่ในไขกระดูกและเลือด ซึ่งจะไปเบียดเสียดเซลล์เลือดสุภาพดี CLL เป็นระยะหนึ่งของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟไซต์เล็ก (SLL) ซึงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบีเซลล์ปรเะภทหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลือง CLL และ SLL ถูกมองว่าเป็นโรคเบื้องหลังอย่างเดียวกัน เพียงแต่ปรากฏแตกต่างกัน CLL เป็นโรคที่เกิดในผู้ใหญ่ แต่ในกรณีหายาก ก็เกิดในวัยรุ่นและเด็กสืบสายโลหิตได้เช่นกัน ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งเพิ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค CLL มีอายุเกิน 50 ปี และส่วนใหญ่เป็นชาย คนส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยโดยไม่มีอาการแสดง โดยผลการตรวจเลือดเป็นประจำซึ่งให้ค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวสูง แต่ เมื่อโรคพัฒนาขึ้น CLL จะส่งผลให้ต่อมน้ำเหลือง ไตและตับบวม และทำให้เกิดโลหิตจางและการติดเชื้อตามมา CLL ช่วงแรกจะไม่ถูกรักษา และ CLL ระยะท้ายจะถูกรักษาด้วยเคมีบำบัดและแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody) การวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้จำแนก CLL ออกเป็นสองประเภทหลัก โดยมีการอยู่รอดแตกต่างกัน CLL ที่ให้ผลเป็นบวกสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ย 5 ปี ส่วนชนิดที่ให้ผลเป็นลบสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ยมากกว่า 25 ปี ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจไม่ได้เข้ารับการรักษาเลยตลอดชีวิต.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก

นเรนเบิร์ก (ขวา) และเจ. ไฮน์ริช แมทเทในปี ค.ศ. 1961 มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก (Marshall Warren Nirenberg; 10 เมษายน ค.ศ. 1927 – 15 มกราคม ค.ศ. 2010) เป็นนักชีวเคมีและนักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน เกิดที่นครนิวยอร์ก เป็นบุตรของแฮร์รี เอ็ดเวิร์ด ไนเรนเบิร์กและมิเนอร์วา บายคอฟสกี ในวัยเด็กไนเรนเบิร์กป่วยเป็นโรคไข้รูมาติก ครอบครัวจึงย้ายไปอยู่ที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ไนเรนเบิร์กสนใจวิชาชีววิทยาตั้งแต่ยังเด็ก เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และปริญญาโทด้านสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ก่อนจะเรียนต่อปริญญาเอกด้านชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ไนเรนเบิร์กเริ่มทำงานที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) รัฐแมรีแลนด์ และเริ่มศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีน ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มาลาเรีย

มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P. falciparum เพราะ P. vivax, P. ovale และ P. malariae โดยทั่วไปก่อให้เกิดมาลาเรียแบบที่รุนแรงน้อยกว่า สปีชีส์รับจากสัตว์ P. knowlesi พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวินิจฉัยมาลาเรียตรงแบบทำโดยการตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน มีการพัฒนาวิธีซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของปรสิต แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไปเนื่องจากราคาแพงและซับซ้อน ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีน แต่กำลังพัฒนา การรักษาโรคมาลาเรียที่แนะนำ คือ การใช้ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดร่วมกันซึ่งรวมอาร์ตีมิซินิน ยาชนิดที่สองอาจเป็นเมโฟลควิน ลูมีแฟนทรีนหรือซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีน อาจใช้ควินินร่วมกับด็อกซีไซคลินได้หากไม่มีอาร์ติมิซินิน แนะนำว่าในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไป ให้ยืนยันโรคมาลาเรียหากเป็นไปได้ก่อนเริ่มการรักษาเนื่องจากความกังวลว่ามีการดื้อยาเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการดื้อยาในปรสิตต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิด เช่น P. falciparum ซึ่งดื้อต่อคลอโรควินได้แพร่ไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดมากที่สุด และการดื้อยาอาร์ทีมิซินินเป็นปัญหาในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้แพร่หลายในเขตร้อนและอบอุ่นซึ่งอยู่เป็นแถบกว้างรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮารา ทวีปเอเชียและละตินอเมริกาบริเวณกว้าง โรคมาลาเรียมักสัมพันธ์กับความยากจนและยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทวีปแอฟริกา มีการประเมินว่ามีการสูญเสีย 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเนื่องจากค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เสียความสามารถการทำงาน และผลเสียต่อการท่องเที่ยว องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีผู้ป่วย 198 ล้านคน ใน..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมาลาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

มิว (โปเกมอน)

มิว เป็นสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสมมุติสายพันธุ์หนึ่งจากแฟรนไชส์สื่อโปเกมอนของนินเท็นโด และเกมฟรีก สร้างโดยซะโตะชิ ทะจิริ มิวเป็นโปเกมอนในตำนาน รูปแบบพลังจิต สีชมพู ตัวเล็ก ร่างคล้ายแมว ชิเงะกิ โมะริโมะโตะ โปรแกรมเมอร์ของเกมฟรีกและเป็นผู้สร้างได้ใส่มิวไว้ในเกม''โปเกมอนภาคเรด''และ''กรีน'' ให้เป็นตัวละครลับ ด้วยเหตุนี้ การปรากฏตัวของมิวจึงกลายเป็นทั้งข่าวลือและตำนาน ส่งผลให้แฟรนไชส์โปเกมอนประสบความสำเร็จ มิวเป็นโปเกมอนที่ผู้เล่นไม่สามารถครอบครองได้ด้วยวิธีปกติทั่วไป นอกจากได้รับจากการแจกจำหน่ายในเหตุการณ์พิเศษต่าง ๆ มิวปรากฏในภาพยนตร์เรื่องแรกคือ โปเกมอน มูฟวี ตอน ความแค้นของมิวทู เป็นตัวละครหลักร่วมกับมิวทู ภาพยนตร์เปิดเผยว่าฟอสซิลเส้นขนของมิวปรากฏในป่าแห่งหนึ่งในประเทศกายอานา ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชุดหนึ่งถูกนำไปสร้างมิวทู โคลนของมิวที่ถูกปรับแต่งทางพันธุกรรม ต่อมามิวปรากฏในภาพยนตร์ โปเกมอน มูฟวี ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง เป็นตัวละครหลักร่วมกับลูคาริโอ เนื้อเรื่องภูมิหลังเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ลึกลับของมิวและต้นเหตุของความทรงพลัง ภาพยนตร์ โปเกมอน มูฟวี ตอน สุดยอดโปเกมอนโคลนนิง ปรากฏมิวเป็นสิ่งลวงตาเป็นตัวละครหลักที่คอยช่วยเหลือซาโตชิและเพื่อน ๆ ต่อสู้กับมิราจมาสเตอร์ (Mirage Master).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมิว (โปเกมอน) · ดูเพิ่มเติม »

มือพังโบเช

มือพังโบเช (Pangboche Hand) โครงกระดูกมือลึกลับที่เชื่อกันว่าเป็นกระดูกมือของเยติ หรือมนุษย์หิมะ สัตว์ประหลาดที่มีรูปร่างใหญ่โตเหมือนมนุษย์ แต่มีขนดกปกคลุมทั้งตัว ยกเว้นใบหน้า ที่มีผู้พบเห็นจำนวนมากและอยู่ในความเชื่อของชาวพื้นเมืองที่เทือกเขาหิมาลัย กระดูกชิ้นดังกล่าวถูกเก็บอยู่ในวัดทางพุทธศาสนาแบบทิเบตแห่งหนึ่ง ที่พังโบเช ในหมู่บ้านคุมจุง ทางภาคกลางตอนเหนือของเนปาล พร้อมกับสิ่งที่เชื่อกันว่าเป็นหนังหัวของเยติ (ปัจจุบัน หนังหัวชิ้นดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า เป็นหนังหัวของสัตว์กีบจำพวกแอนทิโลปหรือแพะภูเขา) เป็นที่รู้จักจากการที่มหาเศรษฐีและนักผจญภัยกลางแจ้งชาวอเมริกัน ทอม สลิก ได้ออกเดินทางไปเนปาลพร้อมด้วยคณะสำรวจเพื่อตามหาเยติเมื่อปลายยุคทศวรรษที่ 1950 ปีเตอร์ เบิร์น หนึ่งในคณะสำรวจเล่าว่า ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมือพังโบเช · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์กลายพันธุ์

สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ หรือ มิวแทนท์ (mutant) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักพันธุศาสตร์ เรียกว่า"อสูรกาย" ("monster") คือสิ่งมีชีวิตที่มีความเฉพาะเจาะจงของลักษณะทางพันธุกรรม มีอวัยวะพิเศษ หรือมียีนส์ที่แปลกไป โดยพัฒนาหรือส่งผลจากการวิวัฒนาการ หรือการกลายพันธุ์ซึ่งเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ เชิงโครงสร้างภายในดีเอ็นเอของยีนส์ หรือสายพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดบุคลิกลักษณะใหม่ ๆ หรือไม่เคยพบเห็นในรุ่นพ่อแม่ ในเชิงชีวภาพหรือลักษณะเฉพาะตัว บุคลิกใหม่ ๆ ที่กลายพันธุ์มาอาจจะยังเป็นปกติหรือไม่ปกติก็ได้ อาจจะไม่ส่งผลเชิงบวกหรือส่งผลในแง่ดี แต่มักจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมเสียมากกว่า โดยมากการกลายพันธุ์ของยีนส์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นขั้นตอนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบหนึ่ง ในมนุษย์จะเรียกว่ามนุษย์กลายพันธุ์ มีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์หลายคนเชื่อว่า การกลายพันธุ์ของมนุษย์ เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา สาเหตุของการกลายพันธุ์มีอยู่หลากหลายปัจจัย โดยมาก จะสรุปเอาว่า เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นพื้นฐานหลัก ประกอบกับที่มนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี ทั้งทางการแพทย์ เคมี ชีวภาพ ซึ่งส่งผมข้างเคียงต่อพันธุกรรมมนุษย์ การผลิตยา และให้ยาในปัจจุบัน ที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย การใช้ยาบำรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารเสริม อันส่งผลต่อระบบเซลล์ ตลอดรายละเอียดด้านพันธุศาสตร์ของมนุษย์ อันส่งผลสู่รุ่นต่อไปในการสืบพันธุ์มนุษย์ การกลายพันธุ์ที่พบบ่อยมากที่สุดคือ มนุษย์เริ่มมีการตั้งครรภ์บุตรจำนวนได้มากกว่า 1-2 สองคน หรือที่เรียกว่า "แฝด" ปัจจุบัน ค้นพบว่า มนุษย์สามารถตั้งครรภ์ และให้กำเนิดบุตร ได้มากถึง 8 ชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นการแบ่งแยกเซลล์ ในการสืบพันธุ์ หลังการปฏิสนธิของอสุจิ และรังไข่ ซึ่งโดยมาจะแยกเซลล์ไม่มากถึง 9 เซลล์เช่นนี้ ต่อมาเป็นการกลายพันทางด้านจิต เชื่อว่า มนุษย์ทั้งเพศชายและหญิงในปัจจุบัน พบความเบี่ยงเบนทางเพศสูงกว่าในอดีตอย่างมาก ซึ่งถือเป็นการกลายพันธุ์ด้านของเหลวภายในร่างกาย หรือฮอโมนที่กำหนดการรับรู้ต่างๆ ของมนุษย์ การเติบโตของสมองซีกซ้ายและขวา ซึ่งมีส่วนในการตระหนักรับรู้เพศของบุคคล ก็รับผลกระทบด้านการกลายพันธุ์เช่นกัน ในกลุ่มจำนวนน้อย แต่เป็นกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์สูงสุด และยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ยังคงมีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์จำนวนหนึ่ง พยายามค้นหาทฤษฎี และหลักฐานมายืนยันความเชื่อ ที่ว่า การกลายพันธุ์ยังส่งผลถึงยีนส์ (จิโนม) มนุษย์ ให้มีความสามารถ (Ability) ที่สูงขึ้นกว่าในวิวัฒนาการในอดีต โดยส่งผลต่อประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การสัมผัส การรับรส การได้กลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน ซึ่งมีการเพิ่มความสามารถมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า "สัมผัสที่หก" โดยแยกออกได้หลายกลุ่ม โดยจะแยกตามสิ่งที่พบได้มากที่สุดดังนี้ - การมองเห็นที่ดีกว่าคนทั่วไป เช่น มองเห็นของบางอย่างที่อยู่ไกลมากๆได้ มองเห็นรังสีต่างๆได้ - การได้ยินในสิ่งที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถได้ยินได้ เช่น คลื่นวิทยุ สัญญาณต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งส่งผลต่อจิตใจ ทำให้ต้องมีการบำบัดต่อไป - การสัมผัส หรือประสาทสัมผัสรวดเร็วสูงกว่าคนปกติ เช่น ความว่องไวต่อสิ่งเร้าที่จะเข้ามาถึงตัวไวกว่าผู้อื่น - พละกำลัง ณ ที่นี้หมายถึง มีกำลังวังชาสูงกว่าคนปกติ พบมากในกลุ่มอาชญากร และผู้ชาย เพราะการกลายพันธุ์นี้ ส่งผลต่อความก้าวร้าวด้วย - ความสามารถที่ถูกจัดอยู่ในความเชื่องมงาย ความสามารถนี้ เป็นที่ยอมรับน้อยที่สุด อาทิเช่น เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า (มิใช่เดจาวู) ทั้งนี้ การกลายพันธุ์ของมนุษย์ ยังถูกนำไปสร้างเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์เรื่องสั้น และเรื่องยาว อาทิ X-Men, Heroes เป็นต้น ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์จำนวนไม่มาก มีความเชื่อเรื่องนี้ และพยายามหาหลักฐานมายืนยันอีกด้วย นักพันธุศาสตร์กลุ่มหนึ่ง เคยอ้างว่าพบเด็กชายวัย 13 ปี ที่สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ด้วยจิต ต่อมาเขาฆ่าตัวตายในวัน 17 เนื่องจากไม่สามารถควบคุมพลังที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเขาได้ และเกิดความกลัวอย่างสุดขีด หรือจะเป็นเด็กสาววัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ได้ยินเสียงความถี่ของคลื่นวิทยุ และสัญญาณโทรศัพท์ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันเธอสูญเสียการได้ยินไปแล้ว อีกราย เป็นเด็กชายทารก ที่ทางกลุ่มตั้งชื่อการกลายพันธุ์ประเภทนี้ว่า Regeneration หรือ Heal ซึ่งเป็นกลุ่มมนุษย์กลายพันธุ์ที่มีเซลล์ที่แข็งแรง ทำให้พวกเขารักษาตัวเองได้เร็วกว่าบุคคลทั่วไป เช่น หากพวกเขาได้รับบาดเจ็บจากมีดบาด คนปกติอาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ กว่าแผลของพวกเขาจะหายเป็นปกติ แต่มนุษย์กลายพันธุ์กลุ่มนี้อาจหายได้ภายในเวลาไม่ถึง 3 วัน และไม่ทิ้งรอยแผลเป็น หรือผมยาวเร็วกว่าคนทั่วไป หรือไม่ว่าจะเป็นการที่มีอายุยืนยาว หรือไม่ค่อยมีโรคภัยเท่าผู้อื่น หรือสามารถอยู่รอดได้ ในที่ที่มีโรคระบาดโดยตนเองมีภูมิคุ้มกันที่เหลือเชื่อ เป็นต้น แต่ถึงอย่างไร ก็ยังไม่มีการให้ความสนใจ ในการกลายพันธุ์แบบเหนือธรรมชาติเช่นนี้นัก จึงยังคงไม่มีการศึกษาหรือเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง กระนั้น การกลายพันธุ์แบบเหนือธรรมชาติ ก็ยังคงไม่มีให้พบเห็นมากนัก จะพบเห็นได้มาก ก็แต่การกลายพันธุ์ทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น นิ้วเกิน หรืออวัยวะส่วนอื่นเกิน, บุคคลระบุเพศไม่ได้ (ไม่มีอวัยวะเพศ), มนุษย์เผือก, ผู้หญิงขนดก, ชาย-หญิงที่ร่างกายปกคลุมไปด้วยขน (Ware wolf),ตาสองสี, ผิวทนต่อความร้อน หรือไฟ, มีภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด, เด็กหน้าแก่ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่กล่าวมานั้นจริงหรือไม่จริง หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:ชีววิทยาวิวัฒนาการ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมนุษย์กลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยา คำว่า มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน หรือ มนุษย์ปัจจุบัน (anatomically modern human, ตัวย่อ AMH) หรือ โฮโมเซเปียนส์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern Homo sapiens, ตัวย่อ AMHS) หมายถึงสมาชิกของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่มีรูปพรรณสัณฐานภายในพิสัยลักษณะปรากฏของมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์ปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณ (archaic humans) ยุคหินกลาง (แอฟริกา) ประมาณ 300,000 ปีก่อน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและยีน · ดูเพิ่มเติม »

รหัสพันธุกรรม

ลำดับของกรดอะมิโนบน mRNAแต่ละรหัสมีนิวคลีโอไทด์ 3 ตัว และกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว รหัสพันธุกรรม (genetic code) เป็นชุดของการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ และถูกทรานสเลชันเป็นโปรตีน หรือลำดับกรดอะมิโน ในเซลล์ที่มีชีวิต รหัสแต่ละรหัสประกอบไปด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์สามตัว ซึ่งกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว แม้จะมีรหัสพันธุกรรมที่เป็นสากล แต่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันไปได้บ้าง เช่น รหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียของคน ต่างจากรหัสพันธุกรรมที่รู้จักกันทั่วไป ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดอาจไม่จำเป็นต้องเก็บในรหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีลำดับควบคุม (regulatory sequences) ส่วนที่รวมเข้าด้วยกัน (intergenic segments) และโครงสร้างโครโมโซม ที่มีผลต่อฟีโนไทป์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรหัสที่กำหนดกรดอะมิโน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรหัสพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รหัสพันธุกรรมเริ่มต้น

รหัสพันธุกรรมเริ่มต้น (start codon หรือ 101 508 151 initiation codon) คือลำดับเบส ATG ในดีเอ็นเอและ AUG ใน N/A ที่กำหนดกรดอะมิโนเมไทโอนีน (Met) ในยูคาริโอตและเมไทโอนีนที่เปลี่ยนรูปไป (unlock) ในโปรคาริโอต หลักการที่เรียกว่า ธรรมชาติ หลักเกณฑ์กลางสำหรับชีววิทยาโมเลกุล (Central dogma of molecular biology) ซึ่งอธิบายกลไกของการทรานสเลชัน จาก เอนไซม์ ไปเป็นโปรตีน ลำดับเบสที่เฉพาะของดีเอ็นเอทำหน้าที่เป็นแม่แบบเพื่อสังเคราะห์ N/A ด้วยกระบวนการที่เรียกว่าทรานสคริบชัน ในนิวเคลียส N/A นี้จะถูกส่งออกมายังไซโทพลาสซึม และทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสังเคราะห์โปรตีนที่เรียกทรานสเลชัน นิวคลีโอไทด์สามเบสจะเป็นรหัสพันธุกรรมที่กำหนดกรดอะมิโนหนึ่งตัว ซึ่งจะนำเข้ามาโดย N/A ลำดับเบสสามตัวแรกของบริเวณที่เป็นรหัส N/A ที่จะถูกถ่ายถอดมาเป็นโปรตีนนี้จะเรียกว่ารหัสพันธุกรรมเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นลำดับแรกที่ทางด้าน pasta ' UTR โดยทั่วไปเป็น AUA (หรือ ATG ในดีเอ็นเอ:xy/yx/xx/yy/xyx/yxy/xxx(f.ft.fts)/yyy(s.ss.sss).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรหัสพันธุกรรมเริ่มต้น · ดูเพิ่มเติม »

รหัสเครื่อง

อภาพแสดงรหัสเครื่องในคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว W65C816S แสดงการทำย้อนกลับเป็นรหัสแอสเซมบลี พร้อมด้วยเรจิสเตอร์ของหน่วยประมวลผล และข้อมูลเทออกจากหน่วยความจำ รหัสเครื่อง หรือ ภาษาเครื่อง คือกลุ่มของคำสั่งเครื่องที่กระทำการโดยตรงโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเครื่องแต่ละคำสั่งจะปฏิบัติงานเฉพาะกิจงานเดียวเท่านั้น เช่นการบรรจุ (load) การกระโดด (jump) หรือการดำเนินการผ่านหน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU) บนหน่วยของข้อมูลในหน่วยความจำหรือเรจิสเตอร์ ทุก ๆ โปรแกรมที่กระทำการโดยหน่วยประมวลผลกลางสร้างขึ้นจากอนุกรมของคำสั่งเครื่องเช่นว่านั้น รหัสเครื่องเชิงตัวเลข (ซึ่งไม่ใช่รหัสแอสเซมบลี) อาจพิจารณาได้ว่าเป็นตัวแทนระดับต่ำสุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้คอมไพล์และ/หรือเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี หรือเป็นภาษาโปรแกรมแบบดั้งเดิมและขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถึงแม้ว่าเราจะสามารถเขียนโปรแกรมด้วยรหัสเครื่องเชิงตัวเลขโดยตรงก็ได้ แต่การจัดการบิตต่าง ๆ เป็นเอกเทศ และการคำนวณตำแหน่งที่อยู่กับค่าคงตัวเชิงตัวเลขด้วยมือ จะทำให้น่าเบื่อหน่ายและมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาด ดังนั้นการเขียนรหัสเครื่องจึงไม่ค่อยกระทำกันในทุกวันนี้ เว้นแต่ในสถานการณ์ที่ต้องการทำให้เหมาะสมอย่างที่สุดหรือแก้จุดบกพร่อง ปัจจุบันนี้โปรแกรมเกือบทั้งหมดในทางปฏิบัติเขียนขึ้นด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาระดับสูงกว่า แล้วแปลเป็นรหัสเครื่องที่กระทำการได้โดยคอมไพเลอร์และ/หรือแอสเซมเบลอร์ กับลิงเกอร์ อย่างไรก็ดี โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาที่แปลด้วยอินเทอร์พรีเตอร์จะไม่ถูกแปลเป็นรหัสเครื่อง ถึงแม้ว่าอินเทอร์พรีเตอร์ (ซึ่งอาจเห็นเป็นชื่อ ตัวกระทำการ หรือ ตัวประมวลผล) โดยทั่วไปประกอบขึ้นจากรหัสเครื่องที่กระทำการได้โดยตรง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรหัสเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐภูมิ โตคงทรัพย์

รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ชื่อเล่น: ฟิล์ม เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527) ที่จังหวัดสระบุรี เป็น ประธานบริษัท เพย์ออล กรุ๊ป นักร้องและนักแสดงชาวไทย ผลงานสร้างชื่อจาก โฆษณาฮอนด้า คู่กับ พัชราภา ไชยเชื้อ และมีผลงานเพลงอัลบั้มเดี่ยวกับค่ายอาร์เอ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

รังสีแกมมา

รังสีแกมมา (Gamma radiation หรือ Gamma ray) มีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรกรีกว่า γ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่ารังสีเอกซ์ (X-ray) โดยมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 10-13 ถึง 10-17 หรือคลื่นที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 10-13 นั่นเอง รังสีแกมมามีความถี่สูงมาก ดังนั้นมันจึงประกอบด้วยโฟตอนพลังงานสูงหลายตัว รังสีแกมมาเป็นการแผ่รังสีแบบ ionization มันจึงมีอันตรายต่อชีวภาพ รังสีแกมมาถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงที่สุดในบรรดาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่เหลือทั้งหมด การสลายให้รังสีแกมมาเป็นการสลายของนิวเคลียสของอะตอมในขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะจากสถานะพลังงานสูงไปเป็นสถานะที่ต่ำกว่า แต่ก็อาจเกิดจากกระบวนการอื่น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรังสีแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน

รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน (List of standard amino acids).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรางวัลสำหรับหลักฐานเรื่องเหนือธรรมชาติ

ทความนี้เป็น "รายชื่อรางวัลให้กับทุก ๆ คนที่สามารถให้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสามารถเหนือธรรมชาติ".

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรายชื่อรางวัลสำหรับหลักฐานเรื่องเหนือธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโมเลกุลชีวภาพ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรายชื่อโมเลกุลชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

รีเวิร์สแทรนสคริปเทส

ในชีววิทยาโมเลกุลและชีวเคมีนั้น รีเวิร์สแทรนสคริปเทส (reverse transcriptase) เป็นเอนไซม์ DNA polymerase ที่ถอดรหัส single-stranded RNA ให้เป็น double-stranded DNA นอกจากนั้นยังช่วยสร้าง double helix DNA หลังจากที่ RNA ถูก reverse transcribed ให้เป็น single stranded cDNA แล้วด้วย transcription ปกติคือการสร้าง RNA จากแม่แบบ DNA ซึ่ง reverse transcription ก็คือการทำย้อนกลับ (reverse) กระบวนการนี้ reverse transcriptase ถูกค้นพบโดย Howard Temin แห่งมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison และโดย David Baltimore แห่ง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในปี ค.ศ. 1970 โดยไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1975 ร่วมกับ Renato Dulbecco สำหรับการค้นพบ เอนไซม์ reverse transcriptase ที่ได้รับการศึกษามาพอสมควรแล้วได้แก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและรีเวิร์สแทรนสคริปเทส · ดูเพิ่มเติม »

ร่างกายมนุษย์

ร่างกายมนุษย์ เป็นโครงสร้างทั้งหมดของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งรวมกันเป็นระบบอวัยวะ สิ่งเหล่านี้คงภาวะธำรงดุลและความอยู่รอดของร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยศีรษะ, คอ, ลำตัว (ซึ่งรวมถึงอกและท้อง), แขนและมือ, ขา และเท้า การศึกษาร่างกายมนุษย์เชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา มิญชวิทยา และคัพภวิทยา ร่างกายมีความแตกต่างทางกายวิภาคแบบต่าง ๆ สรีรวิทยามุ่งไปที่ระบบและอวัยวะของมนุษย์และการทำงานของอวัยวะ หลายระบบและกลไกมีปฏิกิริยาต่อกันเพื่อคงภาวะธำรงดุล โดยมีระดับที่ปลอดภัยของสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลและออกซิเจนในเลือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะปรากฏ

ตาสีเทาแท้ ในสิ่งมีชีวิต ลักษณะปรากฏ หรือ ฟีโนไทป์ หรือ ลักษณะสืบสายพันธุ์ (phenotypic trait, trait) เป็นรูปแบบฟิโนไทป์หนึ่งโดยเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ ซึ่งกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น สีตาเป็นลักษณะหนึ่ง (character) ของสิ่งมีชีวิต ในขณะที่ตาสีดำ สีฟ้า สีน้ำตาล เป็นต้น จะเป็น "ลักษณะปรากฏ/ลักษณะสืบสายพันธุ์" (trait) กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นลักษณะปรากฏทางกายหรือทางพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีโนไทป์และสิ่งแวดล้อมในช่วงพัฒนาการ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและลักษณะปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับสงวน

accessdate.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและลำดับสงวน · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับดีเอ็นเอ

้อมูลพิมพ์จากอิเล็กโทรฟีโรแกรม (Electropherogram) จากเครื่องลำดับดีเอ็นเออัตโนมัติ แสดงส่วนของลำดับดีเอ็นเอ ลำดับดีเอ็นเอ หรือ ลำดับพันธุกรรม (DNA sequence or genetic sequence) เป็นชุดของอักษรที่แทนโครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure) ของโมเลกุลหรือสายดีเอ็นเอซึ่งมีความสามารถที่จะขนส่งข้อมูลทางพันธุกรรม อักษรที่ใช้ในลำดับดีเอ็นเอได้แก่ A, C, G, และ T ซึ่งแทนหน่วยย่อยนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ของสายดีเอ็นเอได้แก่เบสอะดีนีน (adenine), ไซโตซีน (cytosine), กัวนีน (guanine) และ ไทมีน (thymine) ตามลำดับซึ่งต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนท์กับแกนหลักฟอสเฟต (phospho-backbone) โดยทั่วไปแล้วลำดับจะถูกพิมพ์ชิดกับอักษรตัวต่อไปโดยไม่มีช่องวรรคจากด้าน 5' ไป 3' จากซ้ายไปขวา เช่นในลำดับ AAAGTCTGAC ชุดของนิวคลีโอไทด์ที่มีลำดับเบสมากกว่า 4 ตัวจะเรียกว่า ลำดับดีเอ็นเอ การทำงานทางชีวภาพของลำดับดีเอ็นเอจะขึ้นกับข้อมูลที่อยู่ในลำดับดีเอ็นเอ ลำดับนี้อาจ sense (มีนัย) หรือ anti-sense (ไม่มีนัย) หรืออาจเป็นส่วนที่ถอดรหัสพันธุกรรม (coding) หรือไม่ถอดเป็นรหัสพันธุกรรม (noncoding) ลำดับดีเอ็นเอนั้นอาจบรรจุข้อมูล ดีเอ็นเอขยะ (junk DNA) ลำดับดีเอ็นเออาจถอดมาได้จากวัตถุดิบทางชีวภาพผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ในบางครั้ง อาจมีอักษรอื่นๆ นอกเหนือจาก A, T, C, และ G ปรากฏในลำดับดีเอ็นเอ ซึ่งแสดงถึงความกำกวม (ambiguity) ในโมเลกุลดีเอ็นเอตัวอย่างทั้งหมดอาจมีนิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 ชนิดที่อยู่ในตำแหน่งนั้น ระบบการเรียกชื่อสารเคมีของ IUPACได้กำหนดกฎมาเป็นดังนี้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและลำดับดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคีปูนจี

ลิงคีปูนจี หรือ ลิงมังกาเบย์ที่ราบสูง (Kipunji, Highland mangabey) เป็นลิงชนิดหนึ่งจำพวกลิงโลกเก่าที่พบในทวีปแอฟริกา จัดเป็นลิงชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและลิงคีปูนจี · ดูเพิ่มเติม »

ลิซาร์ด (ตัวละคร)

อะลิซาร์ด (The Lizard) หรือชื่อจริง ด็อกเตอร์ เคอร์ติส "เคิร์ท" คอนเนอรส์ (Dr.) เป็นตัวละครตัวร้ายที่มีพลังพิเศษในหนังสือการ์ตูนชุดของสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์ มีบทบาทหลักเป็นศัตรูของสไปเดอร์แมน ปรากฏตัวครั้งแรกใน The Amazing Spider-Man #6 (พฤศจิกายน 1963) สร้างสรรค์โดยสแตน ลี และ Steve Ditko.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและลิซาร์ด (ตัวละคร) · ดูเพิ่มเติม »

ลีนา เมดีนา

ลีนา เมดีนา ในค.ศ. 1939 ลีนา เมดีนา (Lina Medina) เป็นเด็กผู้หญิงชาวเปรู ที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้ที่ให้กำเนิดบุตรในขณะที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ที่มีหลักฐานยืนยันการเกิดของตัวแม่ และตัวบุตร เธอคลอดบุตรในขณะอายุ 5 ปี 7 เดือน 21 วันเท่านั้น ลีนา เมดีนา เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1933 (พ.ศ. 2476) ที่ประเทศเปรู ต่อมา ในขณะที่เธออายุ 5 ปี บิดาและมารดาของเธอได้นำลีนามาตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลเพราะมีร่างกายที่บวมผิดปกติ พ่อแม่คิดว่าเธออาจเป็นเนื้องอก แต่เมื่อตรวจแล้ว แพทย์วินิจฉัยว่าเธอไม่ได้เป็นเนื้องอก แต่กำลังตั้งครรภ์ 7 เดือน เธอถูกส่งไปยังโรงพยาบาลในกรุงลิมา เมืองหลวงของเปรู เพื่อตรวจสอบโดยละเอียดอีกครั้ง และผลการตรวจร่างกายโดยละเอียดก็ยังยืนยันว่าเธอตั้งครรภ์ 1 เดือนครึ่งต่อมา เธอก็คลอดบุตรชายในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) โดยการผ่าตัดคลอด และได้เด็กผู้ชายที่มีน้ำหนัก 2.7 กิโลกรัม ใช้ชื่อว่า เคราร์โด (Gerardo) ต่อมาได้มีการตรวจสอบประวัติทางกายของลีนา พบว่า เธอเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกในขณะอายุเพียง 8 เดือน และเริ่มมีหน้าอกในขณะอายุ 4 ปี และกระดูกเชิงกรานพัฒนาจนเต็มที่เหมือนผู้ใหญ่ขณะอายุ 5 ปี ลีนาและเคราร์โดถูกบิดามารดาทำให้คิดว่าเป็นพี่น้องกัน และทั้งคู่เติบโตขึ้นมาอย่างมีสุขภาพแข็งแรง ก่อนที่พ่อแม่จะบอกความจริงแก่ทั้งคู่ในอีก 10 ปีต่อมา สำหรับพ่อของเคราร์โด ลีนาไม่เคยออกมาเปิดเผยว่าเป็นใคร มีข้อสันนิษฐานว่าเธออาจรู้แต่ไม่อยากบอกแก่สาธารณะ หรือเธออาจจะไม่รู้ก็ได้ เพราะสมัยนั้นไม่มีเทคโนโลยีการตรวจดีเอ็นเอ แต่บิดาของเมดินาคือผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่ง เขาถูกจับกุมในข้อหาข่มขืน แต่ต่อมาก็ถูกปล่อยตัวเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ ลีนา เมื่อโตขึ้น ได้เข้าทำงานในคลินิกของดร.โลซาดา (Dr. Lozada) นายแพทย์ผู้ทำคลอดให้เธอ ดร.โลซาดา ได้ช่วยส่งเสียให้เคราร์โดเรียนจนจบชั้นมัธยม ต่อมา เธอได้แต่งงานกับราอุล คูราโด (Raúl Jurado) และมีลูกด้วยกันอีกคนหนึ่งใน ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) แต่เธอไม่ได้เปิดเผยชื่อบุตรคนที่สอง สำหรับเคราร์โดได้มีชีวิตอย่างแข็งแรง แต่ได้เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันใน ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) หลังจากที่ลีนาทราบความจริงของเคราร์โด เธอก็ไม่เปิดเผยตัวแก่สาธารณชนอีกเลย มีรูปของเธอที่เปิดเผยสู่สาธารณชนเพียง 2 รูป คือรูปที่ท่านเห็นอยู่นี้ กับอีกรูปที่ถ่ายขณะเคราร์โดอายุ 11 เดือน ซึ่งก็ถ่ายไว้นานกว่า 70 ปีแล้ว และถึงแม้ใน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) สำนักข่าวรอยเตอร์สจะติดต่อไปหาเธอเพื่อขอสัมภาษณ์เธอ แต่เธอก็ปฏิเสธ ปัจจุบันเธอยังมีชีวิตอยู่ และใช้ชีวิตอยู่ในสลัมในกรุงลิม.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและลีนา เมดีนา · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรไนโตรเจน

วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen Cycle) คือ วัฏจักรทางชีวธรณีเคมี ซึ่งอธิบายถึงการแปลงสภาพของไนโตรเจนและสารประกอบที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในธรรมชาต.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวัฏจักรไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน

วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน (விளையனூர் இராமச்சந்திரன் วิลยนูรฺ สุพฺรหฺมณฺยมฺ รามจนฺทรน Vilayanur Subramanian Ramachandran; เกิด พ.ศ. 2494) เป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักกันในสาขาพฤติกรรมประสาทวิทยา (behavioral neurology) และ จิตฟิสิกส์ (psychophysics) ดร.รามจันทรันปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของศูนย์สมองและการรับรู้ (Center for Brain and Cognition) และศาสตราจารย์ในคณะจิตวิทยา และคณะประสาทวิทยาศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.รามจันทรันมีชื่อเสียงในการทดลอง ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเช่นการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) แต่ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีที่ง่าย ๆ ดร.รามจันทรันก็ได้สร้างความคิดใหม่ ๆ มากมายเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ริชาร์ด ดอว์กินส์ (ผู้เป็นนักชีววิทยาวิวัฒนาการที่มีชื่อเสียง) ได้เรียก ดร.รามจันทรันว่า "นายมาร์โก โปโล ของประสาทวิทยาศาสตร์" และเอริค แกนเดิล (ผู้เป็นแพทย์ประสาทจิตเวชผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000) ได้เรียกเขาว่า "นายพอล์ โบรคา ในยุคปัจจุบัน" นิตยสาร Newsweek (ข่าวสัปดาห์) ยก ดร.รามจันทรันให้เป็นสมาชิกสโมสรแห่งศตวรรษ (The Century Club) เป็นบุคคลเด่นที่สุดคนหนึ่งใน 100 คนที่ควรจะติดตามในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

ในชีววิทยา วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetics จากคำกรีก φυλή, φῦλον - phylon, phylon.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการเบนออก

ร์วินเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนและมีชื่อเสียงในกระบวนการวิวัฒนาการเบนออก ที่สปีชีส์บรรพบุรุษแผ่ปรับตัวกลายเป็นสปีชีส์ลูกหลานต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ทั้งเหมือนกันและไม่เหมือนกัน วิวัฒนาการเบนออก (divergent evolution) เป็นการสะสมความแตกต่างระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ แต่ก็สามารถใช้กับรูปแบบทางชีววิทยาระดับโมเลกุล เช่น หมายถึงโปรตีนอนุพันธ์ต่าง ๆ ของยีนที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous genes) สองยีนหรือมากกว่านั้น ดังนั้น ทั้งยีนแบบ orthologous (คือยีนกำเนิดเดียวกันที่สืบมาจากการเกิดสปีชีส์) และแบบ paralogous (คือยีนกำเนิดเดียวกันที่มาจากการเพิ่มขึ้นของยีน) สามารถมีความต่างที่จัดว่ามาจากวิวัฒนาการเบนออก เพราะเหตุหลังนี่ วิวัฒนาการเบนออกจึงสามารถเกิดระหว่างสองยีนในสปีชีส์เดียวกัน ความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่วิวัฒนาการเบนออกจากกันมาจากการมีกำเนิดเดียวกัน ดังนั้น จึงจัดว่ามีต้นกำเนิดเดียวกัน (homologous) เปรียบเทียบกับ วิวัฒนาการเบนเข้าที่เกิดเมื่อสิ่งมีชีวิตปรับตัวอย่างเป็นอิสระจากกันและกันแล้วเกิดโครงสร้างคล้ายกันแต่มีกำเนิดต่างกัน (analogous) เช่น ปีกของนกและของแมลง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวิวัฒนาการเบนออก · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาสัตว์ลึกลับ

วิทยาสัตว์ลึกลับ หรือ วิทยาสัตว์ประหลาด (Cryptozoology; มาจากภาษากรีก κρυπτός, (kryptos), "ซ่อนเร้น" รวมกับคำว่า สัตววิทยา อันหมายถึง "การศึกษาสัตว์ที่ซ่อนเร้น") เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ หรือสัตว์ประหลาด อาทิ บิ๊กฟุต, ชูปาคาบรา ศาสตร์แขนงนี้ได้ถูกบัญญัติขึ้นโดย แบร์นาร์ด อูเวลมงส์ นักชีววิทยาชาวเบลเยียม จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิทยาสัตว์ลึกลับ" วิทยาสัตว์ลึกลับ ได้มีผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้อย่างจริงจัง มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ อาทิ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, รอย แมคคัล และลอเรน โคลแมน ชาวอเมริกัน เป็นต้น จนมีการก่อตั้งขึ้นเป็น สมาคมวิทยาสัตว์ลึกลับนานาชาติ (International society of Cryptozoology, ตัวย่อ: ISC) ขึ้นในปี ค.ศ. 1982 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยทุกปีสมาคมจัดการประชุมใหญ่เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความรู้และยังมีการจัดส่งคณะออกสำรวจค้นหาสัตว์ลึกลับจากทั่วโลกเป็นประจำ เช่น การทดสอบดีเอ็นเอของเยติ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ได้มีการวิจารณ์ว่า วิทยาสัตว์ลึกลับเป็นศาสตร์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และไม่ยอมรับให้เป็นแขนงหนึ่งของสัตววิทยา โดยถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ด้วยหลายอย่างมิได้ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้กลับมีความเชื่อมั่น ด้วยมีการค้นพบสัตว์หลายชนิดที่โลกไม่รู้จักหรือคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วหลายอย่าง เช่น ปลาซีลาแคนท์ ที่แอฟริกา, ซาวลา ที่เวียดนาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวิทยาสัตว์ลึกลับ · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินบี12

วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเสือใหญ่

วงศ์ย่อยเสือใหญ่ หรือ วงศ์ย่อยเสือ (Panther, Big cat) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pantherinae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ คือ เป็นเสือขนาดใหญ่ ที่อุ้งตีนมีซองหุ้มเล็บได้ทั้งหมด ในลำคอมีกระดูกกล่องเสียงชิ้นกลางดัดแปลง มีลักษณะเป็นแถบเส้นเอ็นสั่นไหวได้ดี จึงสามารถใช้ส่งเสียงร้องดัง ๆ ได้ ที่เรียกว่า คำราม จากการศึกษาพบว่า วงศ์ย่อยนี้แยกออกมาจากวงศ์ย่อย Felinae เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอพบว่า เสือดาวหิมะ เป็นรากฐานของเสือในวงศ์ย่อยนี้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีจีโนมที่แตกต่างกันของเสือและแมวในวงศ์นี้ โดยเสือที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 7 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา และพบเพียงชนิดเดียวในทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวงศ์ย่อยเสือใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วานวิวัฒนาการ

ในทางชีววิทยา วงศ์วานวิวัฒนาการ (Phylogenetics) (Greek: φυλή, φῦλον - phylé, phylon.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวงศ์วานวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แพนด้าแดง

วงศ์แพนด้าแดง เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailuridae (/ไอ-เลอ-ริ-ดี/) ซึ่งมีเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ คือ แพนด้าแดง ที่พบกระจายพันธุ์ในป่าตามแนวเทือกเขาหิมาลัยของเอเชียตะวันออกจนถึงเอเชียใต้ เดิมทีนักวิทยาศาสตร์ คือ จอร์จส์ คูเวียร์ ได้จัดให้แพนด้าแดงอยู่ในวงศ์เดียวกันกับแรคคูน คือ Procyonidae ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวงศ์แพนด้าแดง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แร็กคูน

วงศ์แร็กคูน (Procyonid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyonidae (/โพร-ไซ-โอ-นิ-เด/) ลักษณะโดยร่วมของสัตว์ในวงศ์นี้คือ มีลำตัวสั้น มีหางยาว มีลวดลายตามลำตัวหรือใบหน้าหรือไม่มีในบางชนิด หากินได้ทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ มักออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่กินพืชหรือละอองเกสรดอกไม้หรือน้ำผึ้งเป็นอาหารหลัก มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่พบได้ในโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ แร็กคูน, คิงคาจู, โคอาที, โอลิงโก เป็นต้น เดิมสัตว์ในวงศ์นี้เคยครอบคลุมถึงแพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงที่พบในทวีปเอเชียด้วย ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันและมีพฤติกรรมการหากินใกล้เคียงกัน แต่ทว่าเมื่อมีการศึกษาลงไปถึงระดับโมเลกุลของสารพันธุกรรม ได้แก่ การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ และการทดสอบเปรียบเทียบตำแหน่งของเบสในสิ่งมีชีวิตเพื่อจำแนกเป็นสายวิวัฒนาการ ทำให้ทราบว่าแพนด้าแดงมีสารพันธุกรรมที่มีความแตกต่างจากแร็กคูน และมีสายวิวัฒนาการแยกออกมาจากสายวิวัฒนาการของแร็กคูนมาเป็นเวลานานกว่า 30-40 ล้านปีแล้ว จึงได้จำแนกแพนด้าแดงออกมาจากวงศ์ Procyonidae และจัดอยู่ในวงศ์เฉพาะของตนเองคือ วงศ์ Ailuridae และในส่วนของแพนด้ายักษ์ก็ถือว่าก้ำกึ่งอยู่ระหว่างแร็กคูน, หมี และแพนด้าแดง แต่เมื่อศึกษาถึงคาริโอไทป์พบว่าแพนด้ายักษ์มีลักษณะคล้ายคลึงกับหมีมากกว่า จึงจัดให้แพนด้านั้นเป็นหมี หรืออยู่ในวงศ์ต่างหาก คือ Ailuropodidae.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวงศ์แร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์พังพอน วงศ์เพียงพอน หรือ วงศ์วีเซล (weasel family, mustelid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelidae (มาจากภาษาละตินคำว่า Mustela หมายถึง "เพียงพอน") ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีหัวกลม ใบหูสั้นกลม ขาสั้นเตี้ย ลำตัวเพรียวยาว หางยาว มีขนที่อ่อนนุ่มและหนาทั้งตัวและหาง อุ้งเล็บตีนแหลมคม ในปากมีฟันที่แหลมคม มีฟันตัดเหมาะสมสำหรับการกินเนื้อ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว และกินอาหารได้หลากหลายไม่เลือกทั้งพืชและสัตว์ หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพียงพอน จะล่ากระต่ายกินเป็นอาหาร ทั้งที่เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยทำการล่าเป็นฝูงและมุดเข้าไปลากดึงเอาถึงในโพรงจากลำตัวที่เพรียวยาว ลักษณะเด่นคือประการ คือ ส่วนมากยกเว้นนากทะเล จะมีต่อมกลิ่นใกล้กับรูทวาร ซึ่งผลิตสารเคมีที่เป็นของเหลวเหมือนน้ำมันสีเหลือง มีกลิ่นฉุนสำหรับใช้ประกาศอาณาเขตและใช้เป็นการประกาศทางเพศ และเมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะยังไม่ฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเป็นตัวอ่อนและพัฒนาต่อมาจนกระทั่งคลอดออกมาในฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิอากาศพอเหมาะแก่ลูกอ่อนที่เกิดขึ้นมา ซึ่งตัวแม่จะออกลูกและเลี้ยงดูลูกไว้ในโพรงดินหรือโพรงไม้ ลูกอ่อนจะยังไม่ลืมตา และมีขนบาง ๆ ปกคลุมตัวเท่านั้น จนกระทั่งอายุได้ราว 2-3 เดือน จึงจะเริ่มหย่านม และออกมาใช้ชีวิตเองตามลำพังเมื่ออายุได้ราว 1 ปี พบกระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้งในป่าทึบ, ที่ราบสูง, พื้นที่ชุ่มน้ำ, ชายฝั่งทะเล ตลอดจนชุมชนเมืองของมนุษย์ จนกระทั่งหลายชนิดเป็นสัตว์รังควานสร้างความเสียหายให้แก่มนุษ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวงศ์เพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เอลิฟานติดี

วงศ์เอลิฟานติดี (อังกฤษ: Elephant) เป็นวงศ์ตามการอนุกรมวิธาน ได้แก่สัตว์จำพวกช้าง คือ ช้างและแมมมอธ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elephantidae เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีงวงและงา สกุลและชนิดส่วนใหญ่ในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียงสองสกุลเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ Loxodonta (ช้างแอฟริกา) และ Elephas (ช้างเอเชีย) เท่านั้น และเหลือเพียง 3 ชนิดเท่านั้น วงศ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและวงศ์เอลิฟานติดี · ดูเพิ่มเติม »

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและว่านหางจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลชิมแปนซี

กุลชิมแปนซี (Chimpanzee, Bonobo, Chimp) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ในอันดับวานร เป็นลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อสกุลว่า่ Pan มีถิ่นที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลางระดับเส้นศูนย์สูตร ตัวผู้จะหนักราว 110 ปอนด์ มีส่วนสูงเฉลี่ย 5 ฟุต ส่วนตัวเมียหนักราว 88 ปอนด์และสูงเฉลี่ย 4 ฟุต สามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี แต่ชอบที่จะหากินและอาศัยอยู่้บนพื้นดินมากกว่า ขนตามลำตัวสั้นสีน้ำตาลดำหรือเทาเข้ม แต่ที่มือและเท้าไม่มีขน รวมทั้งบริเวณใบหน้าและใบหู มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีดั้งจมูก ขากรรไกรค่อนข้างยื่นออกมา มีฟันกรามที่พัฒนาใช้การได้ดี มีปริมาตรสมองราว 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีโครโมโซมจำนวน 24 คู่ และมีดีเอ็นเอร่วมกับมนุษย์ถึงร้อยละ 99.4 เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่ได้แยกวิวัฒนาการออกจากกันเมื่อราว 5-6 ล้านปีก่อน มีพฤติกรรมกินพืชเป็นอาหารหลัก โดยปกติเป็นสัตว์ที่รักสงบ แต่ก็มีบางครั้งที่ตัวผู้จะมีพฤติกรรมดุร้าย มักยกพวกเข้าโจมตีกัน และยังมีพฤติกรรมล่าลิงชนิดอื่น ได้แก่ ลิงโลกเก่ากินเป็นอาหารอีกด้วย เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง ออกลูกครั้งละเพียง 1 ตัว อายุขัยโดยเฉลี่ย 40 ปี เป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด มีการแสดงออกทางอารมณ์คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด รวมทั้งกล้ามเนื้อและสรีระ ทั้งนี้เพราะระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์และชิมแปนซีนั้นคล้ายกันมาก แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันต่อหน่วยน้ำหนักแล้ว ชิมแปนซีมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ 2-3 เท่า โดยมีการศึกษาพบว่า ชิมแปนซีมีความทรงจำดีัเสียยิ่งกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก และจดจำคำศัพท์ของมนุษย์ได้ถึง 125 คำ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสกุลชิมแปนซี · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐานโลกของ RNA

รงสร้างของ RNA และเบส (ซ้าย)เทียบกับดีเอ็นเอ (ขวา) สมมติฐานโลกของ RNA (RNA world hypothesis) เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับโลกที่สิ่งมีชีวิตมีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม ซึ่งต่างจากโลกปัจจุบันที่สิ่งมีชีวิตมีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอนี้สามารถเก็บรักษาข้อมูลได้คล้ายดีเอ็นเอ และสามารถเร่งปฏิกิริยาได้เหมือนเอนไซม์ ทำให้อาร์เอ็นเอสามารถดำเนินการต่างๆในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หรือชีวิตก่อนเซลล์ได้ สมมติฐานนี้แสดงจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตว่าเริ่มจากการเร่งปฏิกิริยาและเก็บข้อมูลด้วยอาร์เอ็นเอซึ่งเป็นวิวัฒนาการขั้นแรกของชีวิต จากสมมติฐานนี้ เซลล์ได้วิวัฒนาการมาใช้ดีเอ็นเอและโปรตีนในปัจจุบัน ดีเอ็นเอที่มีความคงตัวมากกว่าทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม ในขณะที่โปรตีนซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการเร่งปฏิกิริยาเพราะมีความหลากหลายของกรดอะมิโนทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกิริยาแทน สมมติฐานนี้เสนอว่า อาร์เอ็นเอในเซลล์ปัจจุบัน เช่น rRNA (RNA ในไรโบโซมที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีน) เป็นส่วนที่เหลืออยู่ของโลกของ RNA.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสมมติฐานโลกของ RNA · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สารก่อกลายพันธุ์

ัญลักษณ์สากลสำหรับสารก่อกลายพันธุ์, สารก่อมะเร็งและสารพิษต่อระบบสืบพันธุ์ สารก่อกลายพันธุ์ (mutagen) คือสารที่สามารถเปลี่ยนสารพันธุกรรม โดยเฉพาะดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตและเพิ่มความถี่ของการกลายพันธุ์จนเกินระดับปกติ การกลายพันธุ์หลายแบบก่อให้เกิดโรคมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์จึงมักถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม สารก่อกลายพันธุ์บางชนิด เช่น โซเดียมอะไซด์ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การกลายพันธุ์ที่ไม่ได้เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์เรียกว่า "การกลายพันธุ์แบบเกิดเอง" (spontaneous mutations) ซึ่งเกิดได้จากความผิดพลาดของกระบวนการไฮโดรไลซิส การถ่ายแบบดีเอ็นเอและการรวมกลุ่มใหม่ของยีน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสารก่อกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตบาร์บารี

งโตบาร์บารี หรือ สิงโตแอตลาส หรือ สิงโตนูเบียน (Barbary lion; Atlas lion; Nubian lion) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo leo เป็นสิงโตชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว สิงโตบาร์บารีเป็นสิงโตที่มีขนาดใหญ่ มีจุดเด่นคือ ตัวผู้มีแผงขนคอที่มีสีดำมากกว่าสิงโตสายพันธุ์อื่น ๆ และมีน้ำหนักตัวมากที่สุดในบรรดาสิงโตด้วยกัน โดยเพศผู้มีน้ำหนักตัว 200- 295 กิโลกรัม เพศเมียมีน้ำหนักตัว 120- 180 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวว่าการคาดคะเนน้ำหนักดูเกินความจริงไปมาก เดิมสิงโตชนิดย่อยนี้พบแพร่กระจายตามแนวเทือกเขาแอตลาสในแอฟริกาเหนือ ไปจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางในทวีปเอเชีย ได้มีการจับสิงโตชนิดนี้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ในการต่อสู้ในยุคโรมัน สิงโตบาร์บารีในธรรมชาติตัวสุดท้ายถูกล่าเมื่อปี ค.ศ. 1922 ในบริเวณเทือกเขาแอตลาส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีการเลี้ยงสิงโตสายพันธุ์นี้อยู่โรงแรม หรือคณะละครสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป ในช่วงยุคกลางมีการเลี้ยงสิงโตบาร์บารี่ในบริเวณหอคอยลอนดอน ในปี ค.ศ. 1835 ได้มีการย้ายสิงโตออกจากหอคอยลอนดอนไปยังสวนสัตว์ลอนดอน โดยสิงโตบาร์บารี่ตัวที่มีชื่อเสียงที่สุด ชื่อ สุลต่าน ซึ่งอาศัยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนในปี ค.ศ. 1896 ปัจจุบัน สิงโตกลุ่มที่คาดว่าน่าจะสืบเชื้อสายมาจากสิงโตบาร์บารี่มากที่สุดคือกลุ่มของสิงโตที่สวนสัตว์ในโมร็อคโค แอฟริกาเหนือ ซึ่งระบุว่าได้มาจากเทือกเขาแอตลาส และมีการทำประวัติไว้ทุกตัว ตลอดระยะเวลาหลายปี แต่จากผลตรวจดีเอ็นเอ โดย ดร.โนะบุยุกิ ยะมะกุชิ แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งนำตัวอย่างซากของสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่จากหลายพิพิธภัณฑ์มาตรวจสอบ เทียบกับสิงโตที่คาดว่าจะเป็นสิงโตบาร์บารี่ ในสวนสัตว์หลายแห่งในทวีปยุโรป รวมทั้งสิงโตในสวนสัตว์โมรอคโคบางตัว พบว่าไม่ได้มีสิงโตตัวใดเป็น สิงโตบาร์บารี่ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ศึกษาถึงกลุ่มประชากรของสิงโตที่มีที่มาจากหอคอยลอนดอนในสวนสัตว์ลอนดอน ในปี ค.ศ. 2008 มีการศึกษาพบว่าสิงโตในโมร็อคโค มี mitochondrial haplotypes (H5 และ H6) เหมือนกับสิงโตในแอฟริกากลาง และยังพบว่า mitochondrial haplotypes (H7 และ H8) พบได้ในสิงโตอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าสิงโตเริ่มแพร่กระจายจากแอฟริกาตะวันออกสู่พื้นที่อื่น ๆ และเข้าสู่ทวีปเอเชียในภายหลัง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสิงโตบาร์บารี · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน

งมีชีวิตที่เรียกว่าคน เขียนโดย วินทร์ เลียววาริณ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่สะท้อนสัญชาตญาณของความเป็นคนออกมาได้ดี ทั้งในแง่ของความต้องการทางกายภาพ ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์พื้นฐานของคน ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมของคนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสิ่งที่หล่อหลอมสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ขึ้นมา เช่น องค์ประกอบของธาตุ มวลสสาร พันธุกรรมและดีเอ็นเอ และส่วนหนึ่งมาจากการขัดเกลาทางสังคม เช่น จารีตประเพณี ความเชื่อและศาสนา สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน เป็นการผสมผสานบทความ 17 บทความ และเรื่องสั้น 17 เรื่อง ผู้เขียนใช้บทความอธิบายความคิด ประเด็นทางปรัชญา และเป็นตัวนำเรื่องสั้นแต่ละเรื่องให้ผู้อ่านไปถึงจุดหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ บทความและเรื่องสั้นจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นคู่ๆ ถือเป็นกลวิธีการสร้างสรรค์เรื่องสั้นที่น่าสนใ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสิ่งมีชีวิตนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

สูญหายในการปฏิบัติหน้าที่

ูญหายในการปฏิบัติหน้าที่ (Missing in Action; MIA) คือสถานะที่ถูกตั้งให้บุคลากรทางทหารที่ถูกรายงานว่าสูญหายในระหว่างปฏิบัติการ พวกเขาอาจจะถูกสังหารหรือได้รับบาดเจ็บในการรบ หรืออาจจะถูกจับเป็นเชลยศึก หรืออาจจะหนีทัพก็เป็นได้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสูญหายในการปฏิบัติหน้าที่ · ดูเพิ่มเติม »

สตรอว์เบอร์รี

ตรอว์เบอร์รี (strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้ มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสตรอว์เบอร์รี · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์คราฟต์

ตาร์คราฟต์ เป็นวิดีโอเกมประเภทวางแผนเรียลไทม์และบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์การทหาร พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541 ต่อมา เกมขยายเป็นแฟรนไชส์ และเป็นเกมแรกของซีรีส์''สตาร์คราฟต์'' รุ่นแมคโอเอสออกในเดือนมีนาคม 2542 และรุ่นดัดแปลงนินเทนโด 64 ซึ่งพัฒนาร่วมกับแมสมีเดีย ออกในวันที่ 13 มิถุนายน 2543 การพัฒนาเกมนี้เริ่มขึ้นไม่นานหลังวอร์คราฟต์ 2: ไทด์สออฟดาร์กเนส ออกในปี 2538 สตาร์คราฟต์เปิดตัวในงานอี3 ปี 2539 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบน้อยกว่าวอร์คราฟต์ 2 ฉะนั้น โครงการจึงถูกพลิกโฉมทั้งหมดแล้วแสดงต่อสาธารณะในต้นปี 2540 ซึ่งได้รับการตอบรับดีกว่ามาก เกมมีฉากท้องเรื่องในเส้นเวลาสมมติระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 25 ของโลก โดยมุ่งไปยังสามสปีชีส์ที่แก่งแย่งชิงความเป็นใหญ่ในส่วนห่างไกลของดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเรียก ภาคคอปรูลู (Koprulu Sector) สามสปีชีส์นั้นได้แก่ เทอร์แรน (Terran) มนุษย์ซึ่งถูกเนรเทศจากโลก และมีทักษะการปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์, เซิร์ก (Zerg) เผ่าพันธุ์คล้ายแมลงต่างดาวที่แสวงความสมบูรณ์ของพันธุกรรม และหมกมุ่นกับการกลืนกินเผ่าพันธุ์อื่น และโพรทอส (Protoss) เผ่าพันธุ์คล้ายมนุษย์ซึ่งมีเทคโนโลยีล้ำหน้าและความสามารถพลังจิต โดยพยายามรักษาอารยธรรมของพวกตนและวิถีชีวิตปรัชญาเคร่งครัดจากพวกเซิร์ก นักหนังสือพิมพ์ของอุตสาหกรรรมวิดีโอเกมจำนวนมากยกย่อง สตาร์คราฟต์ ว่าเป็นเกมที่ดีที่สุด และสำคัญที่สุดตลอดกาลเกมหนึ่ง และว่าได้ยกระดับการพัฒนาเกมวางแผนเรียลไทม์ สตาร์คราฟต์เป็นเกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขายดีที่สุดเกมหนึ่ง โดยจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 สามารถขายได้ 11 ล้านแผ่นทั่วโลก เกมยังได้รับการยกย่องจากการบุกเบิกการใช้กลุ่มแยกมีเอกลักษณ์ในการเล่นวางแผนเรียลไทม์ และเรื่องที่เร้าความสนใจ รูปแบบหลายผู้เล่นของสตาร์คราฟต์ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งผู้เล่นและทีมร่วมการแข่งขันอาชีพ ได้รับการสนับสนุน และแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สตาร์คราฟต์มีการดัดแปลงและขยายแนวเรื่องผ่านชุดนวนิยาย ภาคเสริม (expansion pack) สตาร์คราฟต์: บรูดวอร์ และตัวเสริม (add-on) ที่ได้รับอนุญาตอีกสองตัว อีก 12 ปีให้หลัง ภาคต่อ สตาร์คราฟต์ 2: วิงส์ออฟลิเบอร์ตี ออกในเดือนกรกฎาคม 2553.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสตาร์คราฟต์ · ดูเพิ่มเติม »

ส้ม

'ส้ม' เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม วิตามินเอ และ วิตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ 4 ชนิด ด้วยกัน คือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและส้ม · ดูเพิ่มเติม »

สเตรปโตมัยซิน

ตรปโตมัยซิน (Streptomycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด รวมถึง วัณโรค, การติดเชื้อ ''Mycobacterium avium'' complex, เยื่อบุหัวใจอักเสบ, บรูเซลโลสิส, การติดเชื้อแบคทีเรียสกุลเบอโคเดอเรีย, กาฬโรค, ไข้กระต่าย, และไข้หนูกัด กรณีวัณโรคระยะแสดงอาการนั้นมักจะใช้สเตรปโตมัยซินร่วมกับไอโซไนอะซิด, ไรแฟมพิซิน, และไพราซินาไมด์ ยานี้สามารถบริหารยาได้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำและการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สเตรปโตมัยซินจัดเป็นยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งออกฤทธิ์ที่หน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียนั้นๆไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวนได้ ส่งผลให้แบคทีเรียเซลล์นั้นๆตายไปในที่สุด อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากการได้รับการรักษาด้วยสเตรปโตมัยซิน ได้แก่ อาการรู้สึกหมุน, อาเจียน, อาการชาบริเวณผิว, ไข้, และมีผื่นคัน การใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกหูหนวกแต่กำเนิดได้ แต่การใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นพบว่าค่อนข้างมีความปลอดภัย ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้สเตรปโตมัยซินในผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย เนื่องจากอาจทำให้อาการของโรคแย่ลงได้ สเตรปโตมัยซินถูกค้นพบใน..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและสเตรปโตมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่าดิงโก

หมาป่าดิงโก (อังกฤษ: Dingo) สุนัขป่าชนิดหนึ่ง พบได้เฉพาะที่ออสเตรเลียเท่านั้น หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขป่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายสุนัขบ้านมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของหมาป่าดิงโก สืบเชื้อสายมาจากสุนัขบ้านจากเอเชียอาคเนย์ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) โดยเข้ามาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อราว 3,000-4,000 ปีก่อน หมาป่าดิงโกจัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์สุนัข (Canidae) ที่พบในออสเตรเลีย แผนที่แสดงความเป็นไปได้ในการอพยพของหมาป่าดิงโก หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขป่าขนสั้น หางเป็นพวง สีขนมีหลากหลายมาก ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ในบางตัวอาจมีสีเทาหรือแดง แม้กระทั่งขาวล้วนหรือดำล้วนก็มี มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีนิสัยดุร้ายและปราดเปรียวมาก แม้พื้นที่ ๆ อาศัยอยู่จะเป็นทะเลทรายหรือที่ราบกว้างใหญ่ แต่หมาป่าดิงโกก็สามารถป่ายปีนก้อนหินหรือหน้าผาได้อย่างคล่องแคล่ว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ สูงประมาณ 52-60 เซนติเมตร ความยาวลำตัวตั้งแต่ปลายจมูกจรดหาง 117-124 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 13-24 กิโลกรัม หมาป่าดิงโกจัดเป็นสัตว์อันตรายชนิดหนึ่งในออสเตรเลีย โดยจะโจมตีใส่สัตว์เลี้ยงของมนุษย์เช่น แกะ หรือ ม้า ได้ แม้กระทั่งโจมตีใส่มนุษย์และทำร้ายจนถึงแก่ความตายได้ด้วย หมาป่าดิงโกเป็นสุนัขที่ไม่เชื่อง ดังนั้น จึงตกเป็นสัตว์ที่ถูกล่าในศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน หมาป่าดิงโก มีสถานะที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ ในทางตอนใต้และตะวันออกของออสเตรเลีย มีการแบ่งเขตเป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์หมาป่าดิงโก เพื่อไม่ให้หมาป่าดิงโกเข้ามาปะปนกับมนุษย์หรือสัตว์ชนิดอื่น โดยกั้นเป็นรั้วยาวกว่าครึ่งของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งจัดเป็นแนวรั้วที่ยาวที่สุดในโลก ในปี ค.ศ. 2010 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ได้เปิดเผยผลการวิจัยว่า จากการศึกษาดีเอ็นเอพบว่า หมาป่าดิงโกและสุนัขป่านิวกินี (C. l. hallstromi) ซึ่งเป็นสุนัขป่าพื้นเมืองของเกาะนิวกินี นั้นเป็นสายพันธุ์สุนัขป่าที่ใกล้เคียงกับสุนัขบ้านมากที่สุด และถือเป็นสายพันธุ์สุนัขแท้ ๆ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันนี้สุนัขทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ก็ใกล้สูญพันธุ์อย่างเต็มที่แล้ว โดยเฉพาะหมาป่าดิงโกที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะการผสมข้ามสายพันธุ์ เพราะกว่า 80 เปอร์เซนต์ ของหมาป่าดิงโกที่อาศัยแถบชายฝั่งทางตะวันออกของออสเตรเลียเป็นพันธุ์ผสมที่ผสมกับสุนัขสายพันธุ์อื่น ในปัจจุบันหมาป่าดิงโกสายพันธุ์แท้หลงเหลือเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ เกาะเฟรเซอร์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและหมาป่าดิงโก · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่านิวกินี

หมาป่านิวกินี (อังกฤษ: New Guinea singing dog, New Guinea highland dog; ชื่อย่อ: NGSD) หมาป่าชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับสุนัขบ้านมากที่สุด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis lupus hallstromi ในวงศ์สุนัข (Canidae) มีรูปร่างของกะโหลกศีรษะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีส่วนสูง 13-16.5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 17-30 ปอนด์ มีขนสั้นและหนาแน่น มีขนสีน้ำตาลแดง ส่วนท้อง คอ หน้าอก และหางมีสีขาว มีฟันที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ โดยเฉพาะฟันกรามบน จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ พบว่าหมาป่านิวกินีอาศัยอยู่บนเกาะนิวกินีมาตั้งแต่ยุคหินแล้ว โดยอยู่ร่วมกับชนพื้นเมืองเช่นเดียวกับสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วโลก โดนมีอุปนิสัยฉลาด และเป็นมิตรกับมนุษย์ หมาป่านิวกินี มีจุดเด่นอีกประการคือ เสียงหอนที่แหลมสูงและหอนได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่น จึงเป็นที่มาของชื่อในภาษาอังกฤษว่า "Singing Dog" (สุนัขร้องเพลง) เป็นที่รู้จักครั้งแรกของชาวโลก ในทศวรรษที่ 50 เนื่องจากชาวตะวันตกที่เดินทางไปศึกษาสัตว์ป่าที่เซาเทิร์นไฮแลนส์ บนเกาะนิวกินี และได้รับรายงานจากการที่หมาป่านิวกินีไปฆ่าเป็ดไก่ของชาวบ้าน และได้รับการอนุกรมวิธาน โดยทีแรกให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis hallstromi แต่ได้มีการเปลี่ยนในภายหลัง โดยจัดให้เป็นชนิดย่อยว่า hallstromi ขณะที่ชื่อสกุลและชนิดใช้ว่า Canis lupus เช่นเดียวกับหมาป่าชนิดที่พบในยุโรป หมาป่านิวกินี ถูกส่งไปสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958 ที่สวนสัตว์ซานดิเอโก เป็นเพศเมีย ต่อมาสมาคมสุนัขสหราชอาณาจักร (United Kennel Club) ได้รับรองสายพันธุ์หมาป่านิวกินีนี้ลงในทะเบียนของสมาคม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1996 โดยหมาป่านิวกินีในที่เลี้ยงพบว่ามีอุปนิสัยฉลาด รักอิสระ มีนิสัยอ่อนโยน แต่ยังคงมีสัญชาตญาณสัตว์ป่าสูง สามารถป่ายปีนและขุดดินเก่ง สามารถหลบหนีจากกรงได้อย่างชาญฉลาด มีพฤติกรรมงับเหยื่อหรืออาหารอย่างแน่น ไม่ยอมปล่อยจนกว่าจะปลอดภัย การฝึกต้องอาศัยความละเอียดและอดทน หมาที่คุ้นเคยกับมนุษย์แล้วจะเป็นมิตรด้วย แต่จะพุ่งใส่หมาหรือสุนัขตัวอื่นที่ดุร้ายแม้ตัวจะใหญ่กว่า หรือคนแปลกหน้า และจะต่อสู้อย่างดุเดือด สำหรับสถานะ หมาป่านิวกินีในธรรมชาตินับว่าหายากมาก ซึ่งทางสมาคมสุนัขสหราชอาณาจักรได้ให้เงินทุนสำหรับการอนุรักษ์สายพันธุ์ ในปี ค.ศ. 2010 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ได้เปิดเผยผลการวิจัยว่า จากการศึกษาดีเอ็นเอพบว่า หมาป่านิวกินีและดิงโก (C. l. dingo) ซึ่งพบเฉพาะในออสเตรเลียนั้นเป็นสายพันธุ์หมาป่าที่ใกล้เคียงกับสุนัขบ้านมากที่สุด และถือเป็นสายพันธุ์สุนัขแท้ ๆ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันนี้หมาป่าทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ก็ใกล้สูญพันธุ์อย่างเต็มที่แล้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและหมาป่านิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

หอดูดาวอาเรซีโบ

ทางอากาศของหอดูดาวอาเรซีโบ หอดูดาวอาเรซีโบ (Observatorio de Arecibo; Arecibo Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองอาเรซีโบทางตอนเหนือของปวยร์โตรีโก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ร่วมกับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation, NSF) ของสหรัฐอเมริกา ภายใต้หน่วยงานที่ชื่อว่า "ศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แห่งชาติ" (National Astronomy and Ionosphere Center, NAIC) กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่นี่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ยาว 305 เมตร เป็นกล้องโทรทรรศน์เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมา โครงการก่อสร้างเริ่มต้นนำเสนอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 โดยศาสตราจารย์ วิลเลียมส์ อี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและหอดูดาวอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิน

ออกซิน (Auxin) เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้มีการแบ่งเซลล์และยืดตัวของเซลล์ การขนส่งออกซินภายในพืชเป็นการขนส่งอย่างมีทิศทาง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและออกซิน · ดูเพิ่มเติม »

อะพอพโทซิส

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

อัมเบรลลาคอร์ปอเรชัน

The Umbrella Corporation อัมเบรลลาคอร์ปอเรชัน (Umbrella Corporation) เป็นบริษัท ในเกม และภาพยนตร์ Resident Evil ตามชื่อ ภาษาอังกฤษ (หรือ"Biohazard"" ใน ภาษาญี่ปุ่น)ไม่ใช่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแต่ประการใด โดยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเมือง Raccoon Cityซึ่งเป็นเมืองสมมุติ โดยเป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่าง สหรัฐ กับ แคนนาดา โดยตามเนื้อเรื่องนั้นปัจจุบันเมืองนี้ได้ถูกลบออกจากแผนที่โลกไปแล้ว (Umbrella Corporation)เป็นบริษัทถูกก่อตั้งเพื่อผลิตเวชภัณฑ์ยา และได้ทำการทดลองด้านการทหารเพือเป็นอาวุธ เชื้อโรคในการโจมตีเพื่อควบโลกโดยการร่วมมือกัน ระหว่าง สหรัฐ และ พันธมิตร ได้มีการวิจัยไวรัสอันตรายเพื่อนำไปเพิ่มความสามารถทางกายจนเกิดการทดลองกับสัตว์ที่กระหายเลือดทำให้ได้รับ ผลดังกล่าวจนเป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษ แต่ด้วยความต้องการที่กระหายได้มีการขัดแย้งจนไวรัสนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของไวรัสจนสามารถเปลี่ยนศพและมนุษย์เป็นปีศาจได้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอัมเบรลลาคอร์ปอเรชัน · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด เฮอร์ชีย์

อัลเฟรด เดย์ เฮอร์ชีย์ (Alfred Day Hershey; 4 ธันวาคม ค.ศ. 1908 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1997) เป็นนักวิทยาแบคทีเรียและนักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นผู้พิสูจน์ว่าดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ร่วมกับซัลวาดอร์ ลูเรียและมักซ์ เดลบรึคในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอัลเฟรด เฮอร์ชีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน (History of Anglo-Saxon England) (ค.ศ. 410 - ค.ศ. 1066) อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันเป็นประวัติศาตร์ของต้นยุคกลางของอังกฤษkjhccgkoohhhhggjgfที่เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยโรมันบริเตนจนมาถีงการก่อตั้งราชอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และมาสิ้นสุดลงเมื่อชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นสมัยที่รู้จักกันทางโบราณคดีว่าบริเตนสมัยหลังโรมัน (Sub-Roman Britain) หรือที่รู้จักกันตามความนิยมว่า "ยุคมืด" (Dark Ages) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการก่อตั้งอาณาจักรที่ใหญ่ขึ้นที่เรียกกันรวม ๆ กันว่า "เจ็ดอาณาจักร" ในช่วงนี้อังกฤษแบ่งเขตการปกครองระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซันและบริเตน การรุกรานของไวกิงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลายประการในบริเตน ผู้รุกรานชาวเดนมาร์กโจมตีที่ตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ ไปทั่วบริเตน แต่การตั้งถิ่นฐานของชาวเดนมาร์กต่อมาจำกัดอยู่แต่เพียงในบริเวณทางด้านตะวันออกของเกาะอังกฤษ ขณะที่ผู้รุกรานจากนอร์เวย์ที่เข้ามาทางไอร์แลนด์โจมตีทางฝั่งตะวันตกของทั้งอังกฤษและเวลส์ แต่ในที่สุดแองโกล-แซกซันก็มีอำนาจในการปกครองไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษสลับกับเดนมาร์กในบางช่วงในบางครั้ง ทางด้านความสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็ความสำคัญมาจนกระทั่งปลายสมัยแองโกล-แซกซัน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (มวล)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอันดับของขนาด (มวล) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (จำนวน)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอันดับของขนาด (จำนวน) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความยาว)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอันดับของขนาด (ความยาว) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอันดับเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอพีดี

การทดลองเทคนิคอาร์เอพีดี อาร์เอพีดี (random amplification of polymorphic DNA, ย่อได้ว่า RAPD อาจอ่านได้ว่า "เรปิด" (rapid)) เป็นวิธีตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ แบบหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับลำดับเบสของดีเอ็นเอเป้าหมาย เนื่องจากไพรเมอร์ที่ใช้ไม่จำเพาะเจาะจงกับดีเอ็นเอบริเวณใด (arbitrary primer) วิธีการนี้มีการเรียกชื่อแบบอื่นได้อีก เช่น arbitrarily primed PCR (AP-PCR), DNA amplification fingerprinting (DAF) หรือ multiple arbitrary amplicon profiling (MAAP) ซึ่งแต่ละวิธีที่เรียกนี้มีข้อแตกต่างกันบ้าง คือ ขนาดของไพรเมอร์ที่ใช้ แต่หลักการไม่แตกต่างกัน คือ ใช้ไพรเมอร์ที่มีขนาดสั้นเพียงชนิดเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบสุ่ม มีนักวิจัยบางกลุ่มใช้ไพรเมอร์ 2 ชนิดพร้อมกัน ซึ่งก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน แต่ที่นิยมคือ ใช้ไพรเมอร์เพียงชนิดเดียวและใช้วิธีแบบที่เรียกว่าอาร์เอพีดี คิดค้นขึ้นโดย วิลเลียมส์ และคณะในปี ค.ศ. 1990 โดยใช้ไพรเมอร์ขนาด 10 นิวคลีโอไทด์เพียงชนิดเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ แล้วแยกขนาดของดีเอ็นเอที่ได้โดยการทำอิเล็กโทรโฟรีซิสในเจลอะกาโรส และย้อมแถวดีเอ็นเอด้วยเอธิเดียมโบรไมด์ DAF ใช้ครั้งแรกโดยคณะของ Caetano-Anolles ในปี ค.ศ. 1991 โดยใช้ไพรเมอร์ขนาดสั้นเพียง 5-8 นิวคลีโอไทด์ และใช้โปรแกรมการเพิ่มปริมาณโดยใช้อุณหภูมิ 2 ระดับเท่านั้น แทนที่จะใช้ 3 ระดับแบบที่ใช้กับ PCR ทั่วไป แล้วแยกชิ้นดีเอ็นเอที่ได้โดยทำอิเล็กโทรโฟรีซิในเจลพอลิอะครีลาไมด์ และย้อมด้วยซิลเวอร์ไนเตรท AP-PCR ทำโดย Welsh และ McClelland ในปี ค.ศ. 1990 โดยใช้ไพรเมอร์ขนาด 20 หรือ มากกว่า 20 นิวคลีโอไทด์ ใช้โปรแกรมการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ 2 โปรแกรม คือ ใช้อุณหภูมิสำหรับ annealing ต่ำในรอบแรกแล้วจึงเพิ่มให้สูงขึ้นอีก 30-40 รอบ ในการทำ PCR ช่วงหลังใส่นิวคลีโอไทด์ที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตรังสีลงไป แล้วจึงแยกขนาดดีเอ็นเอด้วยเจลพอลิอะคลีลาไมด์ตรวจสอบผลโดยทำออโตเรดิโอกราฟ ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยุ่งยากที.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอาร์เอพีดี · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอ

กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สารชีวโมเลกุลหลัก ร่วมกับลิพิด คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่สำคัญแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด อาร์เอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ สายยาว เช่นเดียวกับดีเอ็นเอ นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยนิวคลีโอเบส น้ำตาลไรโบสและหมู่ฟอสเฟต ลำดับนิวคลีโอไทด์ทำให้อาร์เอ็นเอเข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรมได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อาร์เอ็นเอนำรหัส (mRNA) นำข้อมูลพันธุกรรมที่ชี้นำการสังเคราะห์โปรตีน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสหลายชนิดใช้อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมแทนดีเอ็นเอ โมเลกุลอาร์เอ็นเอบางอย่างมีบทบาทสำคัญในเซลล์โดยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ควบคุมการแสดงออกของยีนหรือรับรู้และสื่อสารการตอบสนองต่อสัญญาณของเซลล์ ขบวนการหนึ่ง คือ การสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นหน้าที่สากลซึ่งโมเลกุลอาร์เอ็นเอสื่อสารชี้นำการสร้างโปรตีนบนไรโบโซม ขบวนการนี้ใช้โมเลกุลอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (tRNA) เพื่อขนส่งกรดอะมิโนไปยังไรโบโซม ที่ซึ่งอาร์เอ็นเอไรโบโซม (rRNA) เชื่อมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรตีน เรียกขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีนจากสายอาร์เอ็นเอนี้ว่า การแปลรหัส โครงสร้างทางเคมีของอาร์เอ็นเอคล้ายคลึงกับของดีเอ็นเอเป็นอย่างมาก แต่มีข้อแตกต่างอยู่สองประการ (1) อาร์เอ็นเอมีน้ำตาลไรโบส ขณะที่ดีเอ็นเอมีน้ำตาลดีออกซีไรโบส (ขาดออกซิเจนหนึ่งอะตอม) ซึ่งแตกต่างเล็กน้อย และ (2) อาร์เอ็นเอมีนิวคลีโอเบสยูราซิล ขณะที่ดีเอ็นเอมีไทมีน โมเลกุลอาร์เอ็นเอส่วนมากเป็นสายเดี่ยว และสามารถเกิดโครงสร้างสามมิติที่ซับซ้อนมากได้ ต่างจากดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส

อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNA polymerase) หรือใช้ตัวย่อว่า RNAP เป็นเอนไซม์ที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ RNA จากสาย DNA แม่แบบ ในกระบวนการถอดรหัส (transcription).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรชั้นที่สอง

อาณาจักรชั้นที่สอง (The Secondary Realms) เป็นอาณาเขตรอบนอกบ้านบ้าน ในวรรณกรรมชุด อาณาจักรแห่งกาลเวลา ประกอบด้วยเทหวัตถุต่างๆ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ กาแล็กซี่ รวมทั้ง โลก ซึ่งบรรดาผู้รู้ตายรู้จักกันในนามของ จักรวาล.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอาณาจักรชั้นที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อาแล็กซ็องดร์ ก็อสต์

อาแล็กซ็องดร์ เอริก สเตฟาน ก็อสต์ (Alexandre Éric Stéphane Coste, เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2546 -) พระโอรสนอกสมรสในเจ้าชายอัลแบร์แห่งโมนาโก ที่เกิดกับนางนีกอล ก็อสต์ สตรีผิวสีอดีตแอร์โฮสเตสชาวโตโก สัญชาติฝรั่ง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอาแล็กซ็องดร์ ก็อสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อิมพาลา

อิมพาลา (Impala) เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาใหญ่เป็นเกลียว ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Aepycerotinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวัวหรือแพะ, แกะ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้และสกุลนี้ คำว่า "อิมพาลา" มาจากภาษาซูลู ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอิมพาลา · ดูเพิ่มเติม »

อีพีเจเนติกส์

อีพีเจเนติกส์ (epigenetics) หรือพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม คือองค์ความรู้ทางชีววิทยาโดยเฉพาะพันธุศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่นการเติมหมู่เมธิลบนดีเอ็นเอหรือการถอนหมู่อะเซทิลออกจากฮิสโตน เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้นๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้นๆ การควบคุมการแสดงออกในลักษณะนี้อาจสามารถคงอยู่ได้หลังการแบ่งเซลล์ และอาจคงอยู่ข้ามไปสู่สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกและรุ่นต่อๆ ไปได้ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยมีปัจจัยที่นอกเหนือจากพันธุกรรมที่ทำให้ยีนแต่ละยีนแสดงออก ("ประพฤติตัว") เปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรเป็น ตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการอีพิเจเนติกส์ในเซลล์สิ่งมีชีวิตยูคาริโอตคือกระบวนการการเปลี่ยนชนิดของเซลล์ (cellular differentiation) ซึ่งระหว่างขั้นตอนมอร์โฟเจเนซิสนั้นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดโททิโพเทนท์จะแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสายพันธุ์เซลล์พลูริโพเทนท์หลายๆ สายพันธุ์ ของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งก็จะแบ่งตัวและพัฒนาต่อไปกลายเป็นเซลล์ที่มีการกำหนดหน้าที่ชัดเจน กล่าวคือ เซลล์ไข่ซึ่งปฏิสนธิแล้ว (ไซโกต) เพียงเซลล์เดียว ได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์หลายต่อหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เยื่อบุผิว เซลล์ผนังหลอดเลือด ฯลฯ ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอีพีเจเนติกส์ · ดูเพิ่มเติม »

อีวานเกเลียน

อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Neon Genesis Evangelion หรืออาจเรียกย่อๆ ว่า อีวานเกเลียน, อีวา, NGE เป็นการ์ตูนอะนิเมะชุดสำหรับฉายทางสถานีโทรทัศน์ สร้างโดยสตูดิโอไกแน็กซ์ (Gainax) เขียนบทและกำกับโดย ฮิเดอากิ อันโนะ และร่วมผลิตโดยทีวีโตเกียว และ Nihon Ad Systems เริ่มฉายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 เป็นการ์ตูนอะนิเมะที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านความนิยม ด้านการค้า นอกจากนี้ ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการอะนิเมะ และสังคมญี่ปุ่นในสมัยนั้น และก่อให้เกิดแฟรนไชส์สินค้าและสื่ออีวานเกเลียนขึ้นมากมาย นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลอะนิเมะใหญ่หลายรางวัล จนได้รับการยอมรับในหลายๆ แห่งว่า เป็นหนึ่งในการ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล (one of the greatest anime of all time) และถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เยี่ยมยอดที่สุดและเป็นเรื่องต้นฉบับที่ทำให้การ์ตูนทั้งหมดหลังจากนั้นเป็นยุคใหม่มากกว่าขึ้นอย่างมาก เช่น กันดั้ม เป็นต้น อีวานเกเลียน ได้หยิบสัญลักษณ์ทางศาสนาของหลักจูเดโอ-คริสเตียน จากพระธรรมปฐมกาล (Book of Genesis) ในคัมภีร์ของศาสนายิว และศาสนาคริสต์ และเรื่องเล่าทางศาสนาต่างๆ มาเป็นแนวดำเนินเรื่อง ในตอนท้ายๆ ได้เน้นไปที่การวิเคราะห์จิตของตัวละครเมื่อสมัยเด็ก (psychoanalysis) ว่าทำไมตัวละครหลักของเรื่องจึงมีนิสัยและการกระทำเช่นนั้น ซึ่งได้แสดงว่าตัวละครนั้นๆ มีปัญหาทางด้านอารมณ์มาแต่เด็ก จนเกิดอาการป่วยทางจิตในที่สุด การเดินเรื่องจะวนเวียนอยู่กับการตั้งคำถามและการตอบซ้ำไปซ้ำมา จนทำให้ตัวละครสับสนว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้นจริงหรือ ผู้กำกับฮิเดอากิ เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก่อนที่จะเริ่มสร้างเรื่องนี้ เขาได้นำประสบการณ์ตรงของตัวเองในการที่จะเอาชนะโรคซึมเศร้า มาเป็นแนวความคิดของตัวละคร.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอีวานเกเลียน · ดูเพิ่มเติม »

อีออน ฟลักซ์ สวยเพชฌฆาต

อีออน ฟลักซ์ สวยเพชฌฆาต (Æon Flux) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนว ผจญภัย แอคชั่นเชิงวิทยาศาสตร์ ออกฉายในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการดัดแปลงมาจากการ์ตูนแอนิเมชั่นทางโทรทัศน์เรื่อง อีออน ฟลักซ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกสร้างให้มีชีวิตชีวาโดย ปีเตอร์ ชาน ที่ร่วมรับบทเป็นนักแสดงตัวรองในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ส่วนนักแสดงนำก็คือ ชาร์ลิส โตรน เป็นตัวละครเอกของเรื่อง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอีออน ฟลักซ์ สวยเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

อณูพันธุศาสตร์

อณูพันธุศาสตร์ (อังกฤษ: molecular genetics) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ว่าด้วยเรื่องพันธุกรรมระดับโมเลกุล หรือ ดีเอ็นเอ และ ยีน ซึ่งนำมาสามเข้าใจในเรื่องพันธุศาสตร์ อีกทั้งเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับวิชาชีวเคมี และนำไปประยุกต์ใช้ในแบบของวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์ หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอณูพันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (radical หรือมักใช้ว่า free radical) คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือการจัดเรียงเป็นเชลล์เปิด (open shell) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง อนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้ อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) โปรตีน หน่วยพันธุกรรม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิสโตน

รงสร้างของฮิสโตนที่เป็นแกนของนิวคลีโอโซม โปรตีนฮิสโตนเป็นโปรตีนที่มีประจุบวกสูงพันอยู่กับดีเอ็นเอของยูคาริโอตเป็นโครงสร้างที่เรียกว่านิวคลีโอโซม และเป็นโครงสร้างหลักของโครมาติน เกี่ยวข้องกับการม้ววนตัวของดีเอ็นเอและการแสดงออกของยีน ทำให้โครงสร้างของจีโนมมีขนาดเล็กลงเมื่อม้วนตัวจนแน่นเป็นโครโมโซมในการแบ่งเซลล์ระยะไมโทซ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและฮิสโตน · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้แม่น้ำไนล์

ระเข้แม่น้ำไนล์ (Nile crocodile) เป็นจระเข้ชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดใหญ่ จระเข้แม่น้ำไนล์ เป็นจระเข้ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองมาจากจระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) ตัวผู้มีความยาวเฉลี่ย 3-5 เมตร แต่ตัวที่ยิ่งมีอายุมากจะยาวได้มากกว่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวได้ตั้งแต่ 2.4-4 เมตร น้ำหนักตั้งแต่ 225-500 กิโลกรัม แต่ตัวผู้ที่ใหญ่อาจหนักได้ถึง 750 กิโลกรัม มีรายงานพบตัวที่ยาวที่สุดในแทนซาเนียมีความยาว 6.47 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,090 กิโลกรัมWood, The Guinness Book of Animal Facts and Feats.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจระเข้แม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

จัดจ์ เดรดด์

ัดจ์ โจเซฟ เดรดด์ (Judge Joseph Dredd) หรือ จัดจ์ เดรดด์ เป็นตัวละครสมมุติจากหนังสือการ์ตูนไซไฟรายสัปดาห์ของอังกฤษชื่อ 2000 AD ที่ตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจัดจ์ เดรดด์ · ดูเพิ่มเติม »

จามรี

มรี (Yak, Grunting ox; як; 犛牛; พินอิน: Máoniú; มองโกล: Сарлаг; ฮินดี: याक) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์วัวและควาย (Bovidae).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจามรี · ดูเพิ่มเติม »

จูราสสิค เวิลด์

ูราสสิค เวิลด์ (Jurassic World)  เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ผจญภัย กำกับโดยโคลิน เทรวอร์โรว์ ออกฉายในกลางปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจูราสสิค เวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

จีโนม

วิชาพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยายุคใหม่กำหนดใช้คำว่า จีโนม (genome) หมายถึง ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ โดยอาจอยู่ในรูปของดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ (ในกรณีของไวรัสหลายชนิด) ก็ได้ โดยนับรวมทั้งส่วนที่เป็นยีนและส่วนที่ไม่มีการถอดรหัสด้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจีโนม · ดูเพิ่มเติม »

จีเอฟเอเจ-1

ีเอฟเอเจ-1 (GFAJ ย่อมาจาก "Give Felisa a Job") เป็นสายพันธุ์ของแบคทีเรียทรงแท่งในวงศ์ Halomonadaceae แบคทีเรียเอ็กซ์ทรีมโมไฟล์ชนิดนี้อาศัยแยกตัวออกจากทะเลสาบมอนอ อันเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัดและมีสภาพด่าง ทางตะวันออกของรัฐแคลิฟอร์เนีย นักวิทยาศาสตร์โดยทีมวิจัย นำโดยนักชีววิทยาดาราศาสตร์ของนาซา เฟลิซา วอล์ฟ-ไซมอน ในวารสารไซแอนซ์ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจีเอฟเอเจ-1 · ดูเพิ่มเติม »

จ็อนเบอเน แรมซีย์

็อนเบอเน แพทริเชีย แรมซีย์ (JonBenét Patricia Ramsey; 6 สิงหาคม 1990 – 25 ธันวาคม 1996) เป็นชาวอเมริกันผู้เข้าประกวดนางงามเด็ก ซึ่งถูกฆ่าที่บ้านในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ในปี 1996 เมื่ออายุได้หกปี โดยเจ้าพนักงานตำรวจพบศพของเธอที่ชั้นใต้ดินของบ้านแปดชั่วโมงหลังบิดามารดาร้องทุกข์ว่า เธอหายไป ชันสูตรพลิกศพพบว่า ถูกตีศีรษะและรัดคอจนตาย แม้คณะลูกขุนใหญ่ไต่สวนหลายครั้งแล้ว คดียังมิได้รับการคลี่คลาย และเป็นที่สนใจของสาธารณชนและสื่อมวลชนจนบัดนี้ เมื่อแรก เจ้าพนักงานรัฐโคโลราโดสงสัยว่า บิดา มารดา หรือพี่ชายของจ็อนเบอเนฆ่าเธอ แต่คนเหล่านี้พ้นข้อสงสัยบางส่วนไปในปี 2003 เมื่อดีเอ็นเอที่ได้จากเสื้อผ้าของผู้ตายพิสูจน์ว่า พวกเขาไม่เกี่ยวข้องhttp://www.9news.com/pdfs/ramseyDA.pdf และพ้นข้อสงสัยโดยสิ้นเชิงในเดือนกรกฎาคม 2008 ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ ปีถัดมา อัยการแขวงส่งสำนวนคดีคืนให้กรมตำรวจเมืองโบลเดอร์ไปสอบสวนใหม่ และกระบวนการยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน รายงานของสื่อมวลชนมักว่าด้วยบทบาทของจ็อนเบอเนในการประกวดนางงามเด็ก ความมั่งคั่งของบิดามารดาเธอ และพยานหลักฐานอันผิดประหลาดในสำนวน ทั้งยังตั้งคำถามเรื่องการทำคดีของเจ้าพนักงานตำรวจโดยรวมด้วย เป็นเหตุให้ครอบครัวของจ็อนเบอเน และมิตรสหายของครอบครัวนี้ กับสื่อมวลชนหลายราย ฟ้องร้องกันฐานหมิ่นประมาทอยู่หลายคดี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและจ็อนเบอเน แรมซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ธุลีปริศนา

ลีปริศนา เป็นนิยายแฟนตาซีไตรภาค ประพันธ์โดย ฟิลิป พูลแมน ประกอบด้วยมหันตภัยขั้วโลกเหนือ (ค.ศ. 1995) มีดนิรมิต (ค.ศ. 1997) และสู่เส้นทางมรณะ (ค.ศ. 2000) โดยได้รับการแปลกว่า 40 ภาษา และจัดจำหน่ายหนังสือได้กว่า 15 ล้านเล่ม ผลงานทั้งสามได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สู่เส้นทางมรณะ ซึ่งได้รับรางวัลหนังสือวิทเบรดประจำปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและธุลีปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

ทาลัสซีเมียแบบบีตา

ทาลัสซีเมียแบบบีตา (Beta thalassemias, β thalassemias) เป็นกลุ่มโรคเลือดที่สืบทอดทางพันธุกรรม เป็นรูปแบบของทาลัสซีเมียที่มีเหตุจากการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของเฮโมโกลบิน (HBB) ที่ผิดปกติ คือลดลงหรือไม่มีเลย ซึ่งอาจมีผลต่าง ๆ เริ่มต้นจากภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง จนถึงบุคคลที่ไม่มีอาการเลย ความชุกของโรคทั่วโลกต่อปีอยู่ที่ 1 ใน 100,000 เป็นโรคที่มีเหตุจากการกลายพันธุ์ของยีน HBB บนโครโมโซมคู่ที่ 11 โดยสืบทางกรรมพันธุ์แบบผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive) ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับลักษณะการกลายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปแล้วความไม่สมดุลของห่วงลูกโซ่แอลฟาและบีตาจะทำให้เกิดการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) และการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่มีกรรมพันธุ์แบบลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จะไม่มีอาการ ไม่ต้องรักษา และจะมีการคาดหมายคงชีพที่อายุปกติ ผู้ที่มีโรคเต็มตัว (major) จะมีภาวะเลือดจางแบบเม็ดเลือดแดงสลาย ไม่โต และมีความผิดปกติทางกระดูกในวัยทารก เด็กที่มีโรคเต็มตัวจะต้องถ่ายเลือดตลอดชีวิต ผู้ที่มีโรคเต็มตัวมักจะเสียชีวิตเกี่ยวกับปัญหาทางหัวใจเนื่องจากภาวะเหล็กเกินโดยอายุ 30 ปี ผู้ที่มีโรคระดับปานกลาง (intermedia) มีอาการรุนแรงน้อยกว่าแต่อาจจะต้องถ่ายเลือดเป็นครั้งคราว บุคคลที่มีโรคควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนมีบุตร/ก่อนแต่งงาน ความขัดข้องในการถอดรหัสยีน HBB มีผลเป็นการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่บีตาของโปรตีนโกลบินที่ลดลง ซึ่งมีผลเป็นการผลิตเฮโมโกลบินแบบ A (HbA) ที่ลดลง เมื่อเม็ดเลือดแดงมีโกลบินเอน้อยลง ก็ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia) ดังนั้น ภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็กจะเป็นผลโดยที่สุดของการขาด HBB เพราะเหตุนี้ คนไข้อาจจำเป็นต้องได้การถ่ายเลือดเพื่อทดแทนการไม่ผลิตห่วงลูกโซ่บีตา แต่การถ่ายเลือดซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่ภาวะเหล็กเกิน (iron overload) ซึ่งมีผลเป็นภาวะเหล็กเป็นพิษ (iron toxicity) และภาวะเหล็กเป็นพิษสามารถมีผลหลายอย่าง รวมทั้ง myocardial siderosis (ภาวะสะสมเหล็กในหัวใจ) และหัวใจวายซึ่งอาจทำให้ถึงชีวิต.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและทาลัสซีเมียแบบบีตา · ดูเพิ่มเติม »

ที่มาของประชากรลาว

ที่มาของประชากรลาว (Peopling of Laos) หมายถึงการที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในลาวเกิดขึ้นเป็นชุมชนในประเทศลาวปัจจุบัน โดยเชื่อว่าประชากรลาวในปัจจุบันมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มประชากรที่มีดีเอ็นเอในโครโมโซมวายแบบฮาโลกรุป O ซึ่งมีความใกล้เคียงกับชนกลุ่มน้อยในจีนเมื่อ 35,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งต่อมากลุ่มชนดังกล่าวได้แพร่กระจาย จนบางส่วนเข้ามาอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศลาวในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและที่มาของประชากรลาว · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความอาเรซีโบ

้อความอาเรซีโบจัดเรียงเป็น 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ มีการเน้นสี แสดงให้เห็นข้อความแต่ละส่วน ข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) เป็นข้อความคลื่นวิทยุที่ส่งไปในอวกาศ เล็งไปที่กระจุกดาวดาวเอ็ม 13 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 25,000 ปีแสง เนื่องในพิธีฉลองการปรับปรุงหอดูดาวอาเรซีโบเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สัญญาณวิทยุที่ส่งขึ้นไปนี้ มีความยาว 1,679 บิต (เลขฐานสองจำนวน 1,679 ตัว) เป็นเวลา 169 วินาที ข้อความที่ส่งขึ้นไปมีความยาว 1,679 บิต เนื่องจากเป็นตัวเลข semiprime สามารถแยกตัวประกอบได้เป็นจำนวนเฉพาะสองจำนวนคือ 23 กับ 73 ซึ่งสามารถจัดเรียงเป็นภาพได้เพียงสองแบบคือ ขนาด 23 แถว คูณ 73 คอลัมน์ หรือ 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ (ดังรูป) ข้อความอาเรซีโบออกแบบโดย ดร. แฟรงก์ เดรก แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ร่วมกับคาร์ล เซแกน สามารถแบ่งได้เป็น 7 ส่วน (ในภาพมีการเพิ่มสีเพื่อให้แยกแยะได้สะดวก) คือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและข้อความอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอพอลิเมอเรส

วามสามารถในการตรวจสอบของดีเอ็นเอพอลิเมอเรส ดีเอ็นเอพอลิเมอเรส (DNA polymerase) เป็นเอนไซม์ที่ทำงานระหว่างการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ในการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอโดยจำเป็นต้องใช้แม่แบบ (Template) โดยดีเอ็นเอพอลิเมอเรสจะเติมเบสตัวใหม่ที่เป็นเบสคู่สมของแม่แบบเสมอ และไพรเมอร์ (Primer) ซึ่งเป็นลำดับนิวคลีโอไทด์สายสั้นๆ ที่เข้าคู่กับแม่แบบได้ และสามารถเติมนิวคลีโอไทด์ตัวใหม่เข้าที่ปลาย 3′ ได้ คุณสมบัติที่สำคัญของดีเอ็นเอพอลิเมอเรส คือ 5′-3′ พอลิเมอเรส (สร้างสายโพลีนิวคลีโอไทป์ใหม่จาก 5′ ไป 3′) และ 3′-5′ เอกโซนิวคลีเอส (ตัดสายโพลีนิวคลีโอไทป์จาก 3′ ไป 5′) ซึ่งคุณสมบัตินี้เป็นคุณสมบัติที่ใช้ตรวจสอบความผิดพลาดของการจำลองตัวเองของดีเอ็นเอได้ มีหลายชน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและดีเอ็นเอพอลิเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 21

ริสต์ศตวรรษที่ 21 คือคริสต์ศตวรรษแรกของคริสต์สหัสวรรษที่ 3 และเป็นคริสต์ศตวรรษปัจจุบัน เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและคริสต์ศตวรรษที่ 21 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 2

ริสต์สหัสวรรษที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม..1001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..2000 ตามปฏิทินเกรกอเรียนUnited States Naval Observatory, (Washington, DC, June 14, 2011).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและคริสต์สหัสวรรษที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

คริสเปอร์

ริสเปอร์/แคสไนน์ (CRISPR/Cas9) doi.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและคริสเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ควากกา

ม้าลายควากกา (Quagga) เป็นชนิดย่อยของม้าลายธรรมดา (E. quagga) ชนิดหนึ่ง ม้าลายควากกา เป็นม้าลายที่มีลวดลายหรือลักษณะที่จำแนกได้เด่นชัดที่สุดในบรรดาม้าลายทั้งหมด เพราะมีลายเฉพาะบริเวณส่วนหัวไล่ลงมาถึงต้นคอเท่านั้น จากนั้นจะจางลงจนเกือบขาวที่บริเวณขา และขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอมแดง ในอดีตม้าลายควากกา อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้ากึ่งแห้งแล้งร่วมกับสัตว์อื่น ๆ ในแอฟริกาใต้ เมื่อชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาตั้งรกรากในแอฟริกาใต้ ชาวบัวร์ได้ล่าสัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ม้าลายควากกามีขนสวยงาม และอ่อนนุ่มกว่าม้าลายชนิดอื่น ๆ จึงกลายเป็นเป้าหมายของนักล่า ม้าลายควากกาถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก เพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร และใช้หนังเพื่อทำกระเป๋า ม้าลายควากกาตัวสุดท้ายในป่า ถูกยิงตายในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและควากกา · ดูเพิ่มเติม »

ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม

การเปลี่ยนแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม (Genetic variability, จากคำว่า vary + liable - เปลี่ยนได้) เป็นสมรรถภาพของระบบชีวภาพไม่ว่าจะที่ระดับสิ่งมีชีวิตหรือที่กลุ่มประชากร ในการเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มูลฐานของความผันแปรได้ทางพันธุกรรมก็คือความแตกต่างทางพันธุกรรมของระบบชีวภาพในระดับต่าง ๆ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรมอาจนิยามได้ด้วยว่า เป็นค่าความโน้มเอียงที่จีโนไทป์แต่ละชนิด ๆ ในกลุ่มประชากรจะแตกต่างกัน โดยต่างจากความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ซึ่งเป็นจำนวนความแตกต่างที่พบในกลุ่มประชากร ความผันแปรได้ของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จึงหมายถึงค่าความโน้มเอียงที่ลักษณะจะต่าง ๆ กันเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและต่อปัจจัยทางพันธุกรรมอื่น ๆ ความผันแปรได้ของยีนในกลุ่มประชากรสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เพราะถ้าไม่สามารถผันแปรได้ กลุ่มสิ่งมีชีวิตก็จะมีปัญหาปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และดังนั้น จะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ความผันแปรได้เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการวิวัฒนาการ เพราะมีผลต่อการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อความกดดันทางสิ่งแวดล้อม และดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงสามารถรอดชีวิตได้ต่าง ๆ กันในกลุ่มประชากรหนึ่ง ๆ เนื่องจากธรรมชาติจะคัดเลือกความต่างซึ่งเหมาะสมที่สุด ความผันแปรได้ยังเป็นมูลฐานของความเสี่ยงต่อโรคและความไวพิษ/ยาที่ต่าง ๆ กันในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเพิ่มความสนใจในเรื่องการแพทย์แบบปรับเฉพาะบุคคล (personalized medicine) โดยเนื่องกับโครงการจีโนมมนุษย์ และความพยายามเพื่อสร้างแผนที่กำหนดขอบเขตความแตกต่างทางพันธุกรรมของมนุษย์ เช่น ในโครงการ International Hapmap homologous recombination เป็นเหตุเกิดความผันแปรได้ทางพันธุกรรมที่สำคัญ polyploidy จะเพิ่มความผันแปรได้ทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์เปลี่ยนแพรเซี่ยงไฮ้ให้มีดอกสีต่างกัน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและความผันแปรได้ทางพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา

วามเชื่อหลักของอณูชีววิทยา หรือ หลักเกณฑ์กลางสำหรับชีววิทยาโมเลกุล (central dogma of molecular biology) นั้นมีการพูดถึงครั้งแรกโดย ฟรานซิส คริก ใน ค.ศ. 1958Crick, F.H.C. (1958): Symp.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและความเชื่อหลักของอณูชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงของผู้ทดลอง

ในวิทยาศาสตร์เชิงทดลอง ความเอนเอียงของผู้ทดลอง (experimenter's bias) เป็นความเอนเอียงที่เป็นอัตวิสัยที่เกิดขึ้นโดยโน้มน้าวไปทางค่าผลที่คาดหวังโดยผู้ทำการทดลอง ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงที่เกิดขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลโดยไม่รู้ตัวต่อผู้ร่วมการทดลองหรือสัตว์ทดลอง เช่นในกรณีของม้าคเลเวอร์แฮน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและความเอนเอียงของผู้ทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

วามเอนเอียงเพื่อยืนยัน (ความคิดฝ่ายตน)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ bias ว่า "ความลำเอียง, -เอนเอียง" หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation bias, confirmatory bias, myside bias) เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง ความลำเอียงนี้มีอยู่ในระดับสูงในประเด็นที่ให้เกิดอารมณ์หรือเกี่ยวกับความเชื่อที่ฝังมั่น นอกจากนั้นแล้ว คนมักตีความหมายข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนว่าสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง มีการใช้การสืบหา การตีความหมาย และการทรงจำข้อมูลประกอบด้วยความลำเอียงเช่นนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและความเอนเอียงเพื่อยืนยัน · ดูเพิ่มเติม »

คอยวูล์ฟ

อยวูล์ฟ (coywolf) เป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมระหว่างไคโยตี (Canis latrans) และหมาป่า (Canis lupus) หรือหมาป่าแดง (Canis lupus rufus) หมาป่าและไคโยตีสามารถให้กำเนิดลูกผสมที่สามารถสืบพันธุ์ได้ ถึงเกิดคำถามที่ว่าหมาป่าทั้ง 2 ชนิดควรแยกออกจากกันเป็นคนละชนิดหรือไม่ มีการทดลองผสมข้ามชนิดในประเทศเยอรมนี ระหว่างพุดเดิลและไคโยตี และหมาป่า, หมาใน ผลที่ได้คือลูกผสมไคโยตีมีโอกาสเป็นหมันสูงขึ้น มีปัญหาการส่งผ่านพันธุ์กรรมทำให้เป็นโรคภัยไข้เจ็บทางพันธุ์กรรมสูงขึ้นหลังจาก 3 รุ่นที่ผสมกันระหว่างลูกผสม ไม่เหมือนกับลูกผสมหมาป่า จึงสามารถสรุปได้ว่าสุนัขบ้านและหมาป่าเป็นสปีชีส์เดียวกันและไคโยตีเป็นชนิดที่แยกออกมา คอยวูล์ฟมีขนาดอยู่ระหว่างกลางของพ่อและแม่ มีขนาดใหญ่กว่าไคโยตีแต่เล็กกว่าหมาป่า จากการศึกษาพบว่าจาก 100 ตัวอย่างของไคโยตีในรัฐเมน มี 22 ตัวที่มีบรรพบุรุษเป็นหมาป่าถึงครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าเล็กน้อย และมี 1 ตัวที่เหมือนหมาป่าถึง 89 % มีทฤษฎีที่เสนอว่าไคโยตีตะวันออกที่มีขนาดใหญ่ในประเทศแคนนาดาเป็นลูกผสมของไคโยตีตะวันตกที่มีขนาดตัวเล็กกว่ากับหมาป่าที่พบและจับคู่กันในทศวรรษที่ผ่านเมื่อไคโยตีตะวันตกอพยพไปสู่นิวอิงแลนด์ นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าหมาป่าแดงเป็นลูกผสมระหว่างไคโยตีและหมาป่ามากกว่าที่จะเป็นชนิด หลักฐานที่สำคัญคือจากการทดสอบพันธุกรรมแสดงว่าหมาป่าแดงมีรูปแบบของยีนต่างจากหมาป่าและไคโยตีเพียง 5 % การคำนวณระยะห่างทางพันธุกรรมแสดงว่าหมาป่าแดงอยู่ระหว่างกลางของไคโยตีและหมาป่า และมันคล้ายกับลูกผสมหมาป่าและไคโยตีในตอนใต้ของรัฐควิเบกและรัฐมินนิโซตา การวิเคราะห์ไมโทคอนเดรีย DNA แสดงว่าประชากรของหมาป่าแดงมีลักษณะเด่นของไคโยตีในต้นกำเนิด นักวิจัยในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแคนนาดากล่าวว่าคอยวูล์ฟกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ คอยวูล์ฟมีลักษณะการล่าเหมือนหมาป่าคือล่าเป็นฝูงมีความก้าวร้าวสามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างกวางได้ และมีลักษณะของไคโยตีคือไม่กลัวคน และดูเหมือนว่าจะฉลาดกว่าไคโยตี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและคอยวูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

คัพภวิทยา

ตัวอ่อนระยะมอรูลา (Morula), ระยะ 8 เซลล์ '''1''' - มอรูลา (morula), '''2''' - บลาสตูลา (blastula) เอ็มบริโอมนุษย์ อายุครรภ์ 6 สัปดาห์หลังประจำเดือนครั้งสุดท้าย คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination) คัพภวิทยาหมายถึงการเจริญของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ไซโกต) และมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ หลังจากระยะแยก (cleavage) เซลล์ที่กำลังแบ่งตัว หรือมอรูลา (morula) จะกลายมาเป็นลูกบอลกลวง หรือบลาสตูลา (blastula) ซึ่งมีการเจริญของรูหรือช่องที่ปลายด้านหนึ่ง ในสัตว์ บลาสตูลาจะมีการเจริญแบ่งได้ออกเป็น 2 ทาง ทำให้สามารถแบ่งสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือหากมีการเจริญของรูในบลาสตูลา (บลาสโตพอร์ (blastopore)) กลายเป็นปากของสัตว์ จะเรียกว่าพวกโพรโตสโตม (protostome) แต่หากรูนั้นเจริญเป็นทวารหนัก จะเรียกว่าพวกดิวเทอโรสโตม (deuterostome) สัตว์พวกโพรโตสโตมได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง หนอน และพวกหอยกับปลาหมึก ในขณะที่พวกดิวเทอโรสโตมได้แก่สัตว์ที่วิวัฒนาการสูงเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) บลาสตูลาจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า แกสตรูลา (gastrula) '''1''' - บลาสตูลา (blastula), '''2''' - แกสตรูลา (gastrula) และบลาสโตพอร์ (blastopore); '''สีส้ม'''แทนเอ็กโทเดิร์ม, '''สีแดง'''แทนเอนโดเดิร์ม แกสตรูลาและบลาสโตพอร์จะเจริญไปเป็นชั้นต่างๆ 3 ชั้น (germ layers) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกายทั้งหม.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและคัพภวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

งูสวัด

รคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) เป็นคนละโรคกับ โรคเริม คนที่เป็นโรคงูสวัดจะต้องเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอลงจึงกลายเป็นโรคงูสวัด มักจะเป็นผื่นตามแนว dermatome (แนวเส้นประสาทของผิวหนัง) และมักจะปวดมาก โรคนี้ไม่ติดต่อระหว่างคนสู่คน แต่การได้รับไวรัสที่พบในตุ่มสามารถก่อโรคสุกใสในผู้ที่ไม่เคยเป็นได้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและงูสวัด · ดูเพิ่มเติม »

ซาวลา

ซาวลา หรือ วัวหวูกว่าง (sao la; Vu Quang ox; ลาว: ເສົາຫຼາ, ເສົາຫລາ) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1992 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudoryx nghetinhensis มีรูปร่างคล้ายแพะผสมกับเลียงผา จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวัว (Bovidae) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudoryx โดยที่ชื่อนี้ (รวมถึงชื่อวิทยาศาสตร์ทั้งหมด) มาจากภาษากรีกแปลว่า "ออริกซ์ปลอมแห่งเหงะติ๋ง" เนื่องจากมีเขาที่ดูคล้ายออริกซ์ แอนทิโลปเขาตรงที่พบในทวีปแอฟริกา โดย "ซาวลา" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาเวียดนาม มาจากภาษาไต แปลว่า "เขาบิดเกลียว" อีกทั้งยังแฝงความหมายว่า "ล้ำค่าดุจเดือนและดาว" และยังได้สมญาว่าเป็น "ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย".

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและซาวลา · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส

ั้นตอนการทำ PCR ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (Polymerase chain reaction; ตัวย่อ: PCR) เป็นกระบวนการสังเคราะห์ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในหลอดทดลอง ซึ่งกระบวนการนี้เลียนแบบกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งมีชีวิต ผู้คิดค้นเทคนิคพีซีอาร์ คือ Kary Mullis พีซีอาร์ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ

ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (Reverse transcription polymerase chain reaction; ตัวย่อ: RT-PCR) เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสอีกแบบหนึ่ง เป็นเทคนิคทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมักจะใช้ในอณูชีววิทยา เพื่อใช้ในการสร้างสำเนาลำดับดีเอ็นเอขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเรียกว่า "amplification" อย่างไรก็ตาม ใน RT-PCR สายอาร์เอ็นเอจะถูกรีเวิร์สแทรนสคริปเทสไปสู่ Complementary DNA (cDNA) โดยใช้เอนไซม์รีเวิร์สแทรนสคริปเทส และผลของ cDNA จะถูกขยายขึ้นโดยการใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบเรียลไทม์ ระวังสับสนระหว่างปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับกับปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบเรียลไทม์ (Q-PCR/qRT-PCR) ซึ่งบางครั้งอาจถูกย่ออย่างผิด ๆ เป็น RT-PCR หมวดหมู่:อณูชีววิทยา.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดป่ามหาชัย

ปลากัดป่ามหาชัย หรือ ปลากัดมหาชัย (Mahachai betta) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลากัดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและปลากัดป่ามหาชัย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามอาบแดด

ปลาฉลามอาบแดด หรือ ปลาฉลามยักษ์น้ำอุ่น (basking shark) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cetorhinidae และสกุล Cetorhinus ปลาฉลามอาบแดดจัดอยู่ในอันดับ Lamniformes เช่นเดียวกับปลาฉลามขาว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองมาจากปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามอาบแดดมีความยาวได้ถึง 10 เมตร เท่ากับรถโดยสารสองชั้นคันหนึ่ง (ขนาดโดยเฉลี่ย 8 เมตร) มีน้ำหนักมากถึงได้ 7 ตัน เท่ากับช้างสองเชือก มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวสีเทาออกน้ำตาล มีปลายจมูกเป็นรูปกรวย มีปากขนาดใหญ่ มีซี่กรองเหงือกสีแดงมีลักษณะเป็นซี่คล้ายหวีหรือแปรงที่พัฒนามาเป็นอย่างดีสำหรับกรองอาหาร มีริ้วเหงือกภายนอกตั้งแต่ส่วนบนหัวถึงด้านล่างหัว ซึ่งปลาฉลามอาบแดดจะใช้ซี่กรองเหงือกนี้ในการหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย กรองกินแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ ผ่านซี่กรองนี้เป็นอาหารเหมือนปลาฉลามวาฬ และปลาฉลามเมกาเมาท์ จัดเป็นปลาฉลามที่มีสมองขนาดเล็ก แต่ก็มีประสาทสัมผัสโดยเฉพาะประสาทการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยมเหมือนปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ปลาฉลามอาบแดด เป็นปลาฉลามขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรเขตน้ำอุ่นทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ เกาะอังกฤษ นับเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในเกาะอังกฤษ ปลาฉลามอาบแดดบางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ เพื่อกินแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณผิวน้ำ ตามสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่แพลงก์ตอนสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี คือ มีแสงแดด มีอุณหภูมิอบอุ่นที่เหมาะสม ปลาฉลามอาบแดดจะอ้าปากได้กว้าง จนกระทั่งเห็นซี่กรองภายในปากชัดเจน ไล่กินแพลงก์ตอนสัตว์ตามผิวน้ำ แต่โดยปกติจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะมีพฤติกรรมย้ายถิ่นฐานไปตามแพลงก์ตอนตามฤดูกาล ซึ่งเชื่อว่าจะว่ายตามแพลงก์ตอนไปตามกลิ่น จากการศึกษาพบว่าสามารถเดินทางได้ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 7 วันThe Basking Shark, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและปลาฉลามอาบแดด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย

ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย (raja laut; /รา-จา-ลี-เจา/; แปลว่า: "เจ้าแห่งทะเล") เป็นหนึ่งในสองชนิดของปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ลำตัวมีสีน้ำตาล.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไซเชเดลิกา

ปลาไซเชเดลิกา (Psychedelica frogfish, Ambon frogfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Histiophryne psychedelica (/ฮิส-ทิ-โอฟ-ไรน์-ไซ-เช-เด-ลิ-กา/) อยู่ในวงศ์ปลากบ (Antennariidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีลายรอบตัวเหมือนม้าลายสีน้ำตาลไหม้ และสีลูกพีช ซึ่งพาดยาวจากดวงตาสีน้ำเงินไปปลายหาง มีขนาดประมาณกำปั้น ร่างกายปกคลุมด้วยผิวหนังย่น ๆ เป็นวุ้นหนา ๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากปะการังที่แหลมคม มีใบหน้าแบนและดวงตามองตรงหน้าได้ อีกทั้งยังมีปากที่อ้าได้กว้าง ที่มีครีบทั้ง 2 ข้างของลำตัว ที่ใช้คืบคลานไปกับพื้นทะเล หรือกระแทกหรือกระเด้งเหมือนลูกบอลไปกับพื้นทะเล จะกางครีบออกแล้วพ่นน้ำออกจากเหงือก เพื่อส่งตัวเองให้พุ่งไปข้างหน้า ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แปลกประหลาด พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังบริเวณเกาะอัมบนของอินโดนีเซีย จัดเป็นปลาชนิดใหม่ที่เพิ่งมีการค้นพบและถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 2009 ถูกจำแนกชนิดออกจากปลาชนิดอื่นในสกุล Histiophryne ด้วยความแตกต่างทางดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและปลาไซเชเดลิกา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจอกเทศโซมาลี

นกกระจอกเทศโซมาลี (Somali ostrich) เป็นชนิดย่อยของนกกระจอกเทศ (S. camelus) ที่พบได้ทั่วไปในทวีปแอฟริกา นกกระจอกเทศโซมาลีมีลักษณะและรูปร่างเหมือนนกกระจอกเทศธรรมดาทั่วไป แต่จะพบได้เฉพาะในเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู ในประเทศเคนยา เท่านั้น ลักษณะของนกกระจอกเทศโซมาลีที่แตกต่างจากนกกระจอกเทศธรรมดา คือ จะมีคอและขาท่อนบนเป็นสีเทาน้ำเงิน ซึ่งแตกต่างจากนกกระจอกเทศธรรมดาที่มีขอและขาท่อนบนสีชมพู แต่ลักษณะขน และสีของขนทั้งตัวผู้และตัวเมียของทั้งนกกระจอกเทศโซมาลีและนกระจอกเทศธรรมดาจะเหมือนกัน ซึ่งเป็นความแตกต่างกันที่ดีเอ็นเอ คาดว่านกกระจอกเทศโซมาลีมีการพัฒนาสายพันธุ์ตัวเองแยกจากนกกระจอกเทศธรรมดาราว 3.6 ถึง 4.1 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนกกระจอกเทศโซมาลี · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเบื้องผา

นกกระเบื้องผานกป่าสัปดาห์ละตัว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนกกระเบื้องผา · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนกกะรางหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

นกกีวี

นกกีวี (Kiwi) เป็นนกจำพวกหนึ่งที่บินไม่ได้ มีลักษณะที่แปลกไปจากนกอื่น ๆ ด้วยมีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นนกออกหากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในธรรมชาติอยู่ในนิวซีแลนด์เท่านั้น นกกีวีจัดอยู่ในสกุล Apteryx ในวงศ์ Apterygidae.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนกกีวี · ดูเพิ่มเติม »

นกดำน้ำน้อยดี

นกดำน้ำน้อยดี (Good little diver) เป็นนกประเภทเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Eudyptula เป็นเพนกวินที่พบกระจายพันธุ์ได้ในออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ทัสมาเนีย และหมู่เกาะแชทัม เป็นเพนกวินขนาดเล็กที่สุด ในบางข้อมูลจัดให้มีเพียงแค่ชนิดเดียว แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามีชนิดที่แยกจากกัน แต่บางคนอาจจะเชื่อว่าเป็นเพียงชนิดย่อย บางคนเชื่อว่าเป็นเพียงความแตกต่างกันทางมอร์พ จากการวิเคราะห์ไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ แสดงให้เห็นว่ามีแน่นอน 2 ชนิดที่เกี่ยวข้องกันBanks, Jonathan C.; Mitchell, Anthony D.; Waas, Joseph R. & Paterson, Adrian M. (2002): An unexpected pattern of molecular divergence within the blue penguin (Eudyptula minor) complex.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนกดำน้ำน้อยดี · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอพลาสซึม

นิวคลีโอพลาสซึม (Nucleoplasm) คือ ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในเยื่อหุ้มนิวเคลียส ซึ่งประกอบด้วยสารโปรตีนดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งมีการแยกเป็นอิสระและรวมกันตามกิจกรรมของเซลล์ ในสภาวะปกติที่เซลล์ยังไม่ทำการแบ่งตัว สารประกอบเหล่านี้จะจัดเรียงตัวให้เห็นเป็น 2 ส่วน คือ นิวคลีโอลัส (Nucleolus) และเส้นใยโครมาติน (Chromatin).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนิวคลีโอพลาสซึม · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอลัส

นิวเคลียสและ'''นิวคลีโอลัส''' นิวคลีโอลัส (Nucleolus) ทำหน้าที่สังเคราะห์ไรโบโซม เป็นบริเวณเฉพาะภายในนิวเคลียส เป็นที่อยู่ของยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์อาร์อาร์เอ็นเอ ไม่มีเยื่อหุ้มล้อมรอบ ประกอบด้วยสารประเภท RNA และสารอื่นที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซม ค้นพบโดย "ฟอนตานา" (Fontana) เมี่อปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนิวคลีโอลัส · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส

นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นกลุ่มของไวรัสชนิดแรกที่พบทำให้เกิดโรคกับแมลงโดยเฉพาะกับสัตว์ในไฟลั่ม Arthropoda ไม่มีผลต่อระบบสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังหรือพืช นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการนำไวรัสชนิดนี้มาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาสารพิษตกค้างและช่วยลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพของตัวเกษตรกรผู้ใช้รวมถึงผู้บริโภคด้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอไทด์

รงสร้างของนิวคลีโอไทด์ที่พบบ่อย นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอไซด์ (neucleoside) กับหมู่ฟอสเฟต โดยนิวคลีโอไซด์ประกอบด้วยไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base; เรียกสั้นๆว่าเบส) กับน้ำตาลเพนโทส (มีคาร์บอน 5 โมเลกุล) ทั้งนี้เบสแบ่งตามโครงสร้างได้เป็นสองกลุ่มคือ ไพริมิดีน (โครงสร้างมี 1 วง) ได้แก่ ไซโตซีน (C) ไทมีน (T) และยูราซิล (U) และเบสไพรีน (โครงสร้างมี 2 วง) ได้แก่ อะดีนีน (A) กวานีน (G) ในการรวมตัวเป็นนิวคลีโอไทด์ เบสจะต่อกับคาร์บอนตัวที่ 1 ของน้ำตาลเพนโทส และฟอสเฟตต่อกับน้ำตาลตัวที่ 5 ของเพนโทส น้ำตาลเพนโทสที่พบในนิวคลีโอไทด์มีสองชนิดคือน้ำตาลไรโบสกับน้ำตาลดีออกซีไร.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนิวคลีโอไทด์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสของเซลล์

เซลล์spider man ย้อมดีเอ็นเอด้วยสีย้อม Blue Hoechst เซลล์ตรงกลางและเซลล์ทางขวาอยู่ในระยะอินเตอร์เฟสจึงทำให้สามารถย้อมสีเห็นนิวเคลียสได้ทั้งหมด ในขณะที่เซลล์ทางซ้ายอยู่ระหว่างการแบ่งนิวเคลียส (ไมโทซิส) ทำให้สามารถมองเห็นโครโมโซมที่กำลังแยกคู่จากกัน นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลไจแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในทางชีววิทยาของเซลล์ นิวเคลียส (nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนิวเคลียสของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

นีโอมัยซิน

นีโอมัยซิน (Neomycin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีจำหน่ายในท้องตลาดในหลายรูปแบบเภสัชภัณฑ์ เช่น ครีม, ขี้ผึ้ง, และยาหยอดยา นีโอมัยซินถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและนีโอมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

แอ็กเซล

แอ็กเซล (Axl; アクセル Akuseru) เป็นตัวละครในเกมชุดร็อคแมน X เป็นตัวละครความลับอีกคนหนึ่งซึ่งไม่ทราบว่าใครสร้าง แต่ความสามารถเป็นเลิศคือการหลบ, การยิงอย่างแม่นยำ, การกอบปี้ DNA ของศัตรูได้ ความลับสุดยอดที่ยังสรุปไม่ได้ คงต้องรอข้อมูลจากแคปคอมเท่านั้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและแอ็กเซล · ดูเพิ่มเติม »

แจซมิน เกรซ กรีมัลดี

แจซมิน เกรซ กรีมัลดี (Jazmin Grace Grimaldi, เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2535 -) พระธิดานอกสมรสองค์ใหญ่ในเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก กับนางตามารา จีน โรโตโล ชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี และได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งต่อกัน ซึ่งเวลาที่กรีมัลดีเกิดนั้นเป็นปีเดียวกันที่มารดาของเธอได้หย่าขาดจากนายเดวิด ชูมักเกอร์ สามีตามกฎหม.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและแจซมิน เกรซ กรีมัลดี · ดูเพิ่มเติม »

โบโนโบ

นโบ หรือ ชิมแปนซีแคระ (Bonobo, Dwarf chimpanzee, Pygmy chimpanzee).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโบโนโบ · ดูเพิ่มเติม »

โฟโต 51

ฟโต 51 โฟโต 51 (photo 51) เป็นชื่อที่ตั้งให้แก่ภาพถ่ายการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอ ถ่ายโดยเรย์มอนด์ กอสลิง นักศึกษาปริญญาเอกภายใต้การดูแลของโรซาลินด์ แฟรงคลิน เมื่อปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโฟโต 51 · ดูเพิ่มเติม »

โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

ีเอเอชที่พบทั่วไปตามเข็มนาฬิกาจากบนลงล่าง: เบนอีอะซีฟีแนนไทรลีน, ไพรีน และ ไดเบนเอเอชแอนทราซีน pages.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุลชีวภาพ

รงสร้างสามมิติของไมโอโกลบิน แสดงเกลียวแอลฟาที่เน้นสี โปรตีนนี้เป็นตัวแรกที่โครงสร้างได้รับการอธิบายโดยผลิกศาสตร์รังสีเอ็กซ์ (X-ray crystallography) โดย Max Perutz และ John Kendrew ใน ค.ศ. 1958 เป็นผลงานที่ทำให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี โมเลกุลชีวภาพ หรือ ชีวโมเลกุล (biomolecule) หมายถึง โมเลกุลใด ๆ ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้น รวมทั้ง มหโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน พอลิแซคคาไรด์ ลิพิด และกรดนิวคลีอิก และโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น เมทาบอไลต์ (metabolite) จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าทีและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโมเลกุลชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง

รคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (spinocerebellar ataxia; spinocerebellar degeneration) เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหนทางเยียวยา ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวทางกายภาพไปโดยช้าจนกระทั่งหมดสิ้น โรคนี้มีหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดอาการแสดง อายุของผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค และลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ Kumar V, Abbas AK, Fausto N. Robbins and Cotran Pathologic Basis of Disease. 7th ed.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

โรคจอตามีสารสี

Retinitis pigmentosaหรือว่า โรคอาร์พี (ตัวย่อ RP) เป็นโรคจอตาเสื่อมที่สามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ที่เป็นเหตุแห่งความเสียหายต่อการเห็นอย่างรุนแรงบ่อยครั้งถึงขั้นตาบอด แต่ว่าการเสื่อมของ RP มีความต่าง ๆ กัน บางคนแสดงอาการตั้งแต่เป็นทารก บางคนอาจจะไม่เห็นอาการอะไรจนกระทั่งเลยวัยกลางคนไป โดยทั่วไป ยิ่งปรากฏอาการสายเท่าไร ความเสื่อมก็ยิ่งเป็นไปเร็วเท่านั้น บุคคลผู้ไม่มีอาร์พีสามารถเห็นได้ 90 องศาโดยรอบ (จากตรงกลางของลานสายตา) แต่บางคนที่มีอาร์พีเห็นได้น้อยกว่า 90 องศา โดยเป็นประเภทหนึ่งของโรคจอตาเสื่อม (retinopathy) อาร์พีเกิดจากความผิดปกติของเซลล์รับแสง (คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย) หรือของเซลล์ retinal pigment epithelium (ในชั้น pigmented layer) ในเรตินาที่มีผลเป็นเป็นการสูญเสียการเห็นไปตามลำดับ ผู้ที่มีโรคนี้อาจประสบความผิดปกติในการปรับตัวจากที่สว่างไปที่มืด หรือจากที่มืดไปที่สว่าง เป็นอาการที่ใชเรียกว่า ตาบอดแสง (nyctalopia หรือ night blindness) ซึ่งเป็นผลจากความเสื่อมลานสายตาส่วนรอบ ๆ แต่บางครั้ง จะมีการสูญเสียการเห็นในส่วนตรงกลางก่อน ทำให้บุคคลนั้นต้องแลดูวัตถุต่าง ๆ ทางข้างตา ผลของการมีอาร์พีเห็นได้ง่ายถ้าเปรียบเทียบกับทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ คือ แสงจากพิกเซลที่สร้างภาพบนจอเหมือนกับเซลล์รับแสงเป็นล้าน ๆ ตัวในเรตินา ยิ่งมีพิกเซลน้อยลงเท่าไร ภาพที่เห็นก็ชัดน้อยลงเท่านั้น มีเซลล์รับแสงจำนวนน้อยกว่า 10% ที่สามารถรับภาพสี โดยเป็นแสงมีความเข้มสูงเหมือนกับที่มีในช่วงกลางวัน เซลล์เหล่านี้อยู่ตรงกลางของเรตินาที่มีรูปเป็นวงกลม เซลล์รับแสงกว่า 90% ที่เหลือรับแสงมีความเข้มต่ำ เป็นภาพขาวดำ ซึ่งใช้ในที่สลัวและในตอนกลางคืน เป็นเซลล์ซึ่งอยู่รอบ ๆ เรตินา RP ทำลายเซลล์รับแสงจากนอกเข้ามาส่วนตรงกลาง หรือจากส่วนตรงกลางออกไปด้านนอก หรือทำลายเป็นย่อม ๆ ที่ทำให้เซลล์ส่วนตรงนั้นมีประสิทธิภาพในการตรวจจับแสงได้น้อยลง ความเสื่อมจากโรคนี้จะมีการลุกลาม และยังไม่มีวิธีรักษ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโรคจอตามีสารสี · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

url.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) · ดูเพิ่มเติม »

โรคไวรัสอีโบลา

รคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา ตรงแบบเริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลงตามมา เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก บุคคลรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารน้ำในร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคทางน้ำอสุจิได้เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกก่อน เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างสารน้ำร่างกายจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะ ความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูงระหว่าง 50% ถึง 90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ การระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก พ.ศ. 2557 ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ โดยระบาดในประเทศกินี เซียร์ราลีโอนและไลบีเรีย จนถึงเดือนกรกฎาคม 2557 มีผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 1,320 คน แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโรคไวรัสอีโบลา · ดูเพิ่มเติม »

โรซาลินด์ แฟรงคลิน

รซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 — 16 เมษายน พ.ศ. 2501) เป็นนักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ ตลอดจนศึกษาโครงสร้างของ อาร์เอ็นเอ และไวรัส แม้ในตอนแรกเธอจะทำงานวิจัยด้านถ่านหินและการศึกษาด้วยรังสีเอกซ์ แต่เทคนิคที่เธอใช้ก็ได้นำมาศึกษาโครงสร้างของสารชีวโมเลกุลจนทำให้เพื่อนร่วมงานของเธอได้รับรางวัลโนเบล อย่างไรก็ตาม ด้วยการทำงานในสถานที่ที่มีรังสีเอกซ์อยู่มาก ทำให้เธอต้องถึงแก่กรรมก่อนวัยอันควร ผลงานที่รู้จักกันดีของโรซาลินด์ แฟรงคลิน คือ โฟโต 51 หรือภาพถ่ายจากการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้นำข้อมูลของเธอไปใช้ในการตั้งสมมติฐานว่าด้วยโครงสร้างของดีเอ็นเอบทความของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ Watson JD, Crick FHC (1953).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโรซาลินด์ แฟรงคลิน · ดูเพิ่มเติม »

โลมาครีบทู่

ลมาครีบทู่ (Snubfin Dolphin) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล จำพวกโลมา ใช้ชื่อสกุลว่า Orcaella จัดอยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) จากการศึกษาด้านดีเอ็นเอและวิเคราะห์โมเลกุลพบว่า โลมาครีบทู่มีสายสัมพันธ์และเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับวาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา ซึ่งจัดว่าเป็นโลมาชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งทั้ง 2 สกุลนี้ อาจจัดได้ว่าอยู่ในวงศ์ย่อย Orcininae.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโลมาครีบทู่ · ดูเพิ่มเติม »

โลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ

ลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ (quantitative trait) หมายถึงฟีโนไทป์บางชนิดที่มีระดับแสดงออกแตกต่างกันไปหลายระดับ เช่น ส่วนสูง สีผิว ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยผลของการมียีนควบคุมลักษณะหลายยีนและสิ่งแวดล้อม และโลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ (quantitative trait locus, QTL) เป็นชุดของดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยลำดับของยีนหรือชุดของการเชื่อมโยงของยีนหลายตัวซึ่งทำให้เกิดลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณดังกล่าว การสร้างแผนที่แสดงตำแหน่งของยีนบนจีโนมซึ่งทำให้เกิดลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณลักษณะหนึ่งๆ ทำได้โดยใช้ป้ายชื่อโมเลกุลเช่น AFLP หรือ SNP ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่า ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกเริ่มในการระบุและถอดรหัสลำดับของยีนจริงๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของลักษณะถ่ายทอดนั้นๆ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:สถิติพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโลคัสลักษณะถ่ายทอดเชิงปริมาณ · ดูเพิ่มเติม »

โอพอสซัม

อพอสซัม (opossum) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า พอสซัม (possum) มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์คือ อันดับโอพอสซัม (Didelphimorphia; อ่านว่า ไดเดลฟิมอร์เฟีย) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายหนู แต่มีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ ในซีกโลกตะวันตก อันดับนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วย 109 สปีชีส์หรือมากกว่าใน 19 สกุล โอพอสซัมเป็นหนึ่งในสัตว์ทดลองทางการแพทย์ที่มักใช้ศึกษาหาสาเหตุการเกิดโรคในคน เช่น โรคมะเร็ง ความผิดปกติของระบบประสาท ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสดีเอ็นเอของโอพอสซัมได้ทั้งหมด ถือเป็นครั้งแรกของการถอดรหัสพันธุกรรมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่นเดียวกับจิงโจ้และโคอาล่าได้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโอพอสซัม · ดูเพิ่มเติม »

โดโมะคุง

มะคุง เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ (มาสคอต) ช่อง BS ซึ่งเป็นช่องเคเบิลทีวีของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (NHK) ของญี่ปุ่น ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในค.ศ. 1999 จากนั้น ได้กลายเป็นแอนิเมชันในรูปแบบสตอปโมชัน (Stop motion) ความยาวตอนละประมาณ 30 วินาที 32 ตอน สำหรับคั่นรายการต่างๆ ของสถานี เพื่อบ่งบอกความเป็นช่อง BS ของสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค โดโมะคุงเป็นสัตว์ประหลาด รูปร่างคล้ายก้อนขนมปังสีน้ำตาล อ้าปากกว้าง โชว์ซี่ฟันดูน่ากลัว แต่ขัดกับอุปนิสัยเหมือนขี้เล่น ช่างสงสัย ใสซื่อเหมือนเด็กอนุบาลโดยสิ้นเชิง โดโมะคุงจะคอยประชาสัมพันธ์ช่องผ่านเรื่องราวชีวิตประจำวัน ให้ผู้ชมค่อยๆคุ้นเคยและศึกษาตัวตนของเจ้าโดโมะทีละนิดทีละหน่อย โดโมะคุงยังดังข้ามโลกไปถึงฝั่งอเมริกา โดย ช่องเคเบิลทีวี นิกเคลโลเดียน (Nickelodeon) ของสหรัฐอเมริกา ได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปปรับปรุงเป็นภาษาอังกฤษ และฉายในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอีกหลายที่ประเทศที่มีช่องนิกเคลโลเดียน อีกด้วย โดยชื่อตัวละครบางตัว จะเปลี่ยนไปจากต้นฉบับ ดังเช่นแอนิเมชันอีกหลายเรื่องที่สหรัฐอเมริกาเคยซื้อไปฉาย ปัจจุบัน โดโมะคุงยังคงทำหน้าที่มาสคอตของช่อง BS และฉายคั่นรายการเช่นเคย นอกจากนี้ โดโมะคุงยังโด่งดังไปทั่วโลก สร้างรายได้มากมายผ่านสินค้าน่ารักๆต่างๆ ที่เราสามารถเห็นบ้างแล้วในประเทศไทย อีกทั้งยังก่อกระแสทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลกด้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโดโมะคุง · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก

"โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก" เป็นบทความซึ่งตีพิมพ์โดย เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก ในวารสารวิทยาศาสตร์ "เนเจอร์" ฉบับที่ 171 หน้า 737-738 วันที่ 25 เมษายน..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไบรโอโลยี

ลิเวอร์เวิร์ตสกุล ''Marchantia'' ไบรโอโลยี (bryology; มาจากคำในภาษากรีก bryon แปลว่า มอสส์หรือลิเวอร์เวิร์ตและ logos แปลว่า การศึกษา) เป็นหนึ่งในสาขาของวิชาพฤกษศาสตร์ โดยเป็นการศึกษาพืชไม่มีท่อลำเลียงหรือไบรโอไฟต์ อันได้แก่มอสส์ ฮอร์นเวิร์ตและลิเวอร์เวิร์ต สาขานี้มักเกี่ยวข้องกับวิทยาไลเคน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดมีลักษณะและวิถีชีวิตเฉพาะนิเวศคล้ายคลึงกัน แต่ไบรโอไฟต์และไลเคนไม่ได้อยู่ในอาณาจักรเดียวกัน การศึกษาไบรโอไฟต์เริ่มในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยโยฮันน์ ยาคอบ ดิลเลเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ตีพิมพ์ผลงานการสืบพันธุ์ของเฟิร์นและมอสส์ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไบรโอโลยี · ดูเพิ่มเติม »

ไพรเมส

ีเอ็นเอไพรเมส (DNA-Primase) เป็นเอนไซม์ที่ใช้ในก่ารจำลองดีเอ็นเอและเป็นชนิดหนึ่งของดีเอ็นเอพอลิเมอเรส ไพรเมสทำการเร่งปฏิกิริยาของการสังเคราะห์เส้นอาร์เอ็นเอหรือดีเอ็นเอสั้น ๆ เรียกว่าไพรเมอร์ ประกอบคู่กับดีเอ็นเอสายเดี่ยว ซึ่งไพรเมสเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการจำลองดีเอ็นเอเพราะไม่มีดีเอ็นเอพอลิเมอเรสอื่นใดที่สามารถเริ่มกระบวนการทางเคมีได้หากไม่มีดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอไพรเมอร์ หลังจากการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่แล้ว สายอาร์เอ็นเอที่สร้างโดยไพรเมสจะถูกเอนไซม์ เอ็กโซนิวคลีส ลบออกจาก 5' ไป 3' และจะแทนที่ด้วยดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไพรเมส · ดูเพิ่มเติม »

ไพรเมอร์

ีเอ็นเอไพรเมส (บน) เป็นเอนไซม์สำคัญในการสร้างไพรเมอร์ ไพรเมอร์ (primer) เป็นสายสั้น ๆ ของอาร์เอ็นเอหรือดีเอ็นเอ (ปกติมีจำนวน 18 ถึง 22 เบส) ที่ทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจำลองดีเอ็นเอเนื่องจากดีเอ็นเอพอลิเมอเรส (เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยากระบวนการนี้) สามารถเพิ่มนิวคลีโอไทด์เบสใหม่บนสายดีเอ็นเอที่มีอยู่แล้วได้เท่านั้น ซึ่งการใช้ไพรเมอร์นี้จะใช้ในการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่ ทั้งสายแบบต่อเนื่อง (leading strand) และสายแบบไม่ต่อเนื่อง (lagging strand) ไพรเมอร์ส่วนใหญ่แล้วสร้างโดยดีเอ็นเอไพรเมสในรูปของอาร์เอ็นเอไพรเมอร์ หรือในรูปของดีเอ็นเอไพรเมอร์ในสัตว์บางชน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไพรเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทคอนเดรีย

รงสร้างของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAhttp://www.mitochondrial.net/ มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ DNA ภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้นมหัศจรรย์ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไมโทคอนเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไรบาวิริน

รบาวิริน (อังกฤษ:Ribavirin) เป็นยาต้านไวรัส ที่มีผลต่อไวรัสชนิด DNA และ RNA ไรบาวิรินเป็นยาแอนตี้เมตทาโบไลต์ของนิวคลิโอไซด์ (nucleoside) ที่ฤทธิ์แทรกแซงการสำเนารหัสพันธุกรรมของไวรัส ยาตัวนี้มีชื่อทางการค้าดังนี้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไรบาวิริน · ดูเพิ่มเติม »

ไรโซเบียม

รโซเบียม (Rhizobium) เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่อยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดวงชีวิต แหล่งพลังงานของไรโซเบียมได้แก่ มอลโตส ซูโครส กลูโคสและแมนนิทอลแต่ไม่สามารถใช้เซลลูโลส แป้งและเพกตินเป็นแหล่งพลังงานได้ สมศักดิ์ วังใน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไรโซเบียม · ดูเพิ่มเติม »

ไทลาซีน

ทลาซีน (Thylacine;; มาจากภาษากรีก แปลว่า "มีหัวเหมือนสุนัขและมีกระเป๋าหน้าท้อง") หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ เสือแทสเมเนีย หรือ หมาป่าแทสมาเนีย (Tasmanian tiger, Tasmanian wolf) เนื่องจากมีลายทางที่หลังคล้ายเสือ และลักษณะคล้ายหมาป่าหรือสุนัข มีฟันแหลมคม และสามารถยืนด้วยสองขาหลังได้เหมือนจิงโจ้ ในอดีตไทลาซีนเคยเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องประเภทกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นฐานอยู่ในออสเตรเลีย รัฐแทสเมเนีย และนิวกินี ไทลาซีนสูญพันธุ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีบันทึกไว้ว่า ไทลาซีนตัวสุดท้ายที่สวนสัตว์โฮบาร์ต ชื่อ "เบนจามิน" ได้ตายลงเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1936 เนื่องจากถูกละเลย ขาดการดูแลรักษา และถูกประกาศสถานะสูญพันธุ์โดย IUCN ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไทลาซีน · ดูเพิ่มเติม »

ไซบีเรียนฮัสกี

ซบีเรียนฮัสกี (Siberian Husky; Сибирский хаски, Sibirskiy Haski) เป็นสุนัขขนาดกลาง ขนฟูแน่น จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขใช้งาน มีต้นกำเนิดทางตะวันออกของไซบีเรีย เพาะพันธุ์มาจากสุนัขในวงศ์สปิตซ์ มีลักษณะขน 2 ชั้นฟูแน่น, หางรูปเคียว, หูเป็นรูปสามเหลี่ยมตั้งชัน และลายที่เป็นลักษณะเฉพาะ ไซบีเรียนฮัสกีเป็นสุนัขที่แข็งแรง คล่องแคล่ว เต็มไปด้วยพลัง และยืดหยุ่น เป็นคุณสมบัติที่สืบทอดจากบรรพบุรุษที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่หนาวเย็นอย่างรุนแรงของไซบีเรีย และจากการเพาะพันธุ์ของชาวชุกชี (Chukchi) ที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย สุนัขถูกนำเข้ามาในอะแลสกา ระหว่างช่วงตื่นทองที่เมืองโนม (Nome) และแพร่เข้าสู่สหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาในฐานะสุนัขลากเลื่อน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นสุนัขเลี้ยงตามบ้านในภายหลังอย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไซบีเรียนฮัสกี · ดูเพิ่มเติม »

ไซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานร

ซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานร หรือ ไซอิ๋ว ตอนกำเนิดราชาวานร (อังกฤษ: The Monkey King) เป็นภาพยนตร์จีนที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไซอิ๋ว 3D ตอน กำเนิดราชาวานร · ดูเพิ่มเติม »

ไซโดโฟเวียร์

ไซโดโฟเวียร์ (Cidofovir) พัฒนาขึ้นโดย ไกลีด ไซเอนซ์ (Gilead Sciences) และทำตลาดเองในสหรัฐอเมริกา ใช้ชื่อการค้าว่า วิสไทด์ (Vistide) และนอกสหรัฐอเมริกาทำตลาดโดยไฟเซอร์ไพเซอร์ ไฟเวอร์ (Pfizer)) เป็นยาฉีด ต้านไวรัส ที่ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (cytomegalovirus-CMV) ที่ทำให้เกิด ม่านตาอักเสบ (retinitis) ในคนไข้ที่เป็นเอดส์ โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในการขยายพันธุของไวรัส ซีเอ็มวี (CMV) มีรายงานเป็นสถิติยืนยันชัดเจนว่า ไซโดโฟเวียร์มีประสิทธิภาพในการชลอการลุกรามของไวรัส ซีเอ็มวี (CMV) ที่ทำให้ม่านตาอักเสบ ทั้งในคนไข้ที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีอื่นและคนไข้ที่วินิจฉัยแล้วแต่ยังได้รักษา การให้ยาก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องเพียงให้ 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง หมวดหมู่:เอมีน หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส หมวดหมู่:แอลกอฮอล์.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไซโดโฟเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรจีนัสเบส

นโตรจีนัสเบส (Nitrogenous base) ที่เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิกเป็นเบสอินทรีย์ที่เป็น Heterocyclic aromatic ring สร้างขึ้นจากอะตอมของคาร์บอนและไนโตรเจน ไนโตรจีนัสเบสมี 2 ประเภท คือ พิวรีน ได้แก่ อะดีนีน (A), กวานีน (G) และไพริมีดีน ได้แก่ ไซโตซีน (C), ไทมีน (T) ซึ่งพบเฉพาะในดีเอ็นเอ และยูราซิล (U) ซึ่งพบเฉพาะในอาร์เอ็นเอ เบสเหล่านี้ทำให้กรดนิวคลีอิกมีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลตได้ที่ความยาวคลื่น 260-280 นาโนเมตร.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและไนโตรจีนัสเบส · ดูเพิ่มเติม »

เบนโซไพรีน

รงสร้างทางเคมีของเบนโซไพรีน เบนโซไพรีน เป็นสารอินทรีย์ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น C20H12 เป็นไฮโดรคาร์บอนไม่มีสี มีวง 5 วง โดยเป็นโครงสร้างของไพรีนที่เพิ่มหมู่ฟีนิลลีน (phenylene) มีไอโซเมอร์ 2 ชนิดคือ benzo''a''pyrene และbenzo''e''pyrene สารเคมีที่ใกล้เคียง ได้แก่ cyclopentapyrenes dibenzopyrenes indenopyrenes และ naphthopyrenes PAHs 5 วงที่ใกล้เคียงกันได้แก่ picene, benzofluoranthenes, และperylene.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเบนโซไพรีน · ดูเพิ่มเติม »

เฟร์ริต

ฟอเรท (ferret) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จำพวกวีเซล นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง เฟอเรทเป็นชนิดย่อยของโพลแคตยุโรป (M. putorius) ที่เป็นวีเซลหรือเพียงพอนที่พบได้ในทวีปยุโรป จากการตรวจสอบทางดีเอ็นเอพบว่าเฟอเรทนั้นถูกมนุษย์เลี้ยงกันมาถึง 2,500 ปีแล้ว โดยในประวัติศาสตร์ จะมีเฟอเรทปรากฏตามที่ต่าง ๆ อาทิ ปรากฏในภาพวาดของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 แห่งจักรวรรดิอังกฤษ และยังเป็นสัตว์ที่ใช้ในการวางสายเคเบิลในการถ่ายทอดพระราชพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาลส์ กับเลดี้ไดอานา ในปี ค.ศ. 1981 ด้วยPets 101: Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556 เฟอเรทมีความยาวประมาณ 20 นิ้ว (51 เซนติเมตร) และความยาวหาง 5 นิ้ว (13 เซนติเมตร) น้ำหนักประมาณ 1.5–4 ปอนด์ (0.7–2 กิโลกรัม) อายุขัยโดยเฉลี่ย 7-10 ปี ตัวผู้นั้นจะมีความยาวมากกว่าตัวเมีย อาหารที่เฟอเรทกินนั้นคือเนื้อสัตว์เท่านั้น ไม่ใช่ผลไม้ หากเฟอเรทกินผลไม้อาจจะทำให้เฟอเรทเสียชีวิตจากการที่อาหารไม่ย่อย หรือกระทั่งเป็นเบาหวานได้ ในสหรัฐอเมริกา เฟอเรทถูกนำเข้ามาในฐานะของสัตว์ที่ฝึกไว้สำหรับล่ากระต่าย ซึ่งเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเฟอเรทหรือวีเซลอยู่แล้ว ที่ล่าสัตว์ขนาดเล็กตามโพรงดิน เช่น หนู, กระต่าย เป็นอาหาร โดยการมุดเข้าไปลากออกมาถึงในโพรง เฟอร์เร็ตนับเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจำนวนชิ้นกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลก โดยมีกระดูกที่ต้นคอถึง 7 ชิ้น และสะโพก 6 ชิ้น นั่นจึงทำให้เฟอร์เร็ตสามารถที่จะมุดหรือลอดไปตามโพรงหรือรูเรี้ยวต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น คล่องแคล่ว เฟอเรทเป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงไว้ในบ้านได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือ กลิ่นตัวที่เหม็น โดยเฉพาะเมื่อตกใจจะปล่อยกลิ่นออกมาตามสัญชาตญาณธรรมชาติ หลังจากผสมผ่านไป 2 สัปดาห์ ท้องตัวเมียจะใหญ่ขึ้น เห็นราวนมชัดขึ้น มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 42วัน มีลูกปีละ 1-2 ครั้ง โดยสามารถคลอดลูกได้ถึง 2-12ตัวต่อครั้ง ใช้เวลาเลี้ยงลูกให้นมลูกนานราว 6สัปดาห์ จากนั้นลูกเฟอร์เร็ตจะเริ่มกินอาหาร กินเนื้อได้เอง ซึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์เฟอเรทได้แล้ว แทนการนำเข้ามาจากต่างประเท.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเฟร์ริต · ดูเพิ่มเติม »

เฟท เทสทารอสซ่า

ฟท เทสทารอสซ่า เป็นตัวละครจากเรื่อง สาวน้อยจอมเวทย์ นาโนฮะ เป็นผู้ใช้ เวทมนตร์ ระบบมิดชิลด้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเฟท เทสทารอสซ่า · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวิน

นกวิน (Penguin) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Spheniscidae อันดับ Sphenisciformes.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเพนกวิน · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินหางแปรง

นกวินหางแปรง หรือ เพนกวินขาก้น (Brush tailed penguin, Bottom-legged) เป็นสกุลของนกบินไม่ได้ จำพวกเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pygoscelis เพนกวินหางแปรง จากการศึกษาดีเอ็นเอและไมโตคอนเดรียพบว่า การได้แยกสายวิวัฒนาการมาจากเพนกวินสกุลอื่น ๆ เป็นเวลานานกว่า 38 ล้านปีมาแล้ว หลังจาก 2 ล้านปีของการกำเนิดบรรพบุรุษของเพนกวินสกุล Aptenodytes ในทางกลับกัน เพนกวินอะเดลี่ได้มีวิวัฒนาการของตัวเองจากชนิดอื่น ๆ ในสกุลราว 19 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเพนกวินหางแปรง · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินจักรพรรดิ

นกวินจักรพรรดิ (Emperor Penguin) เป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสปีชีส์ต่างๆ ที่มีถิ่นฐานอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนและขนาดใกล้เคียงกัน สูงราว และหนักระหว่าง 22–37 กิโลกรัม (48–82 ปอนด์) ขนด้านหลังสีดำตัดกันกับขนด้านหน้าตรงบริเวณท้องที่มีสีขาว อกตอนบนสีเหลืองอ่อนและค่อยๆ ไล่ลงมาจนเป็นสีขาว และบริเวณหูเป็นสีเหลืองจัด เพนกวินจักรพรรดิก็เป็นเช่นเดียวกันกับเพนกวินชนิดอื่นที่เป็นนกที่บินไม่ได้ แต่มีรูปร่างที่เพรียวและปีกที่ลู่ตามตัวแต่แข็งแบนเหมือนครีบที่เหมาะกับการเป็นสัตว์น้ำมากกว่าที่จะเป็นนก อาหารที่บริโภคส่วนใหญ่เป็นปลา และรวมทั้งสัตว์ประเภทกุ้ง-กั้ง-ปู (crustacean) เช่น ตัวเคย และ สัตว์ประเภทเซฟาโลพอดเช่นปลาหมึก เมื่อดำน้ำหาอาหารเพนกวินจักรพรรดิสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 18 นาที และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 535 เมตรเนื่องจากลักษณะหลายอย่างที่ช่วยในการอยู่ใต้น้ำได้นานเช่นโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีระดับออกซิเจนต่ำ โครงกระดูกที่แน่นที่ช่วยต้านความกดดันสูง (barotrauma) และความสามารถในการลดการเผาผลาญของร่างกาย (กระบวนการสร้างและสลาย) และการปิดการทำงานอวัยวะที่ไม่จำเป็นได้ เพนกวินจักรพรรดิมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากการเดินทางราว 50 ถึง 120 กิโลเมตรจากฝั่งทะเลไปยังบริเวณที่ทำการผสมพันธุ์ทุกปีเพื่อที่จะไปหาคู่ ผสมพันธุ์ กกและฟักไข่ และเลี้ยงลูกนกที่เกิดใหม่ และเป็นเพนกวินชนิดเดียวที่ผสมพันธุ์ระหว่างฤดูหนาวแบบอาร์กติก แหล่งผสมพันธุ์อาจจะเป็นบริเวณกว้างใหญ่ที่มีเพนกวินอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นพันๆตัว ตัวเมียจะออกไข่ฟองเดียวทิ้งไว้ให้ตัวผู้ยืนกกระหว่างขาเป็นเวลาสองเดือนขณะที่ตัวเองเดินกลับไปทะเลเพื่อไปหาอาหารให้ตัวเองและนำกลับมาให้ลูกที่เกิดใหม่ เมื่อกลับมาทั้งพ่อและแม่ก็จะสลับกันเลี้ยงลูก อายุเฉลี่ยของเพนกวินจักรพรรดิราว 20 ปีและบางตัวอาจจะถึง 50 ปีก็ได้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเพนกวินจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เกลียวคู่กรดนิวคลีอิก

ริเวณของโมเลกุลกรดนิวคลีอิกที่เข้าคู่กันจะถูกเชื่อมเข้าด้วยกันและสร้างโครงสร้างเกลียวคู่ซึ่งยึดเข้าด้วยกันโดยคู่เบส ในชีววิทยาโมเลกุล คำว่า เกลียวคู่ หมายถึงโครงสร้างซึ่งเกิดขึ้นจากโมเลกุลกรดนิวคลีอิกสองเส้น อย่างเช่น ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ โครงสร้างเกลียวคู่ของกรดนิวคลีอิกเป็นผลมาจากโครงสร้างทุติยภูมิ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดโครงสร้างตติยภูมิของมัน คำดังกล่าวได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางภายหลังการตีพิมพ์บทความ เกลียวคู่: การบรรยายส่วนบุคคลการค้นพบโครงสร้างของดีเอ็นเอ (The Double Helix: A Personal Account of the Discovery of the Structure of DNA) โดยเจมส์ วัตสัน เกลียวคู่ดีเอ็นเอเป็นพอลิเมอร์ที่หมุนกันเป็นวงของกรดนิวคลีอิก ซึ่งเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยนิวคลีโอไทด์ ในบี-ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นโครงสร้างดีเอ็นเอที่พบได้มากที่สุด เกลียวคู่จะเวียนไปทางขวามือโดยมีนิวคลีโอไทด์ 10-15 นิวคลีโอไทด์ต่อรอบ โครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอประกอบด้วยร่องใหญ่และร่องเล็กอย่างละหนึ่งที่ ซึ่งร่องใหญ่จะมีความกว้างมากกว่าร่องเล็ก ความแตกต่างของความกว้างของร่องใหญ่และร่องเล็กนั้นเป็นผลมาจากโปรตีนจำนวนมากซึ่งเชื่อมกับดีเอ็นเอทำให้ร่องใหญ่กว้างขึ้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเกลียวคู่กรดนิวคลีอิก · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชพฤกษศาสตร์

ัชพฤกษศาสตร์ (อังกฤษ:Pharmaceutical botany) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ สัณฐานวิทยาของพืช และ สารประกอบทุติยภูมิ ซึ่งเป็นวิชาที่มีความสำคัญสำหรับนำไปจัดประเภทหรือแยกพืชสมุนไพรที่เราต้องการได้ การดูลักษณ์ที่สำคัญของพืช ในแต่ละวงศ์ เพื่อ ที่จะได้เห็นถึงเอกลักษณ์สำคัญของพืชวงศ์นั้นๆ บางลักษณ์จะต้องทำการผ่าหรือ ใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัดเจน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเภสัชพฤกษศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เยติ

รคดี เยติ หรือ มนุษย์หิมะ (เนปาลี: हिममानव himamānav, คำแปล "มนุษย์หิมะ") เป็นชื่อที่ใช้เรียกสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่ง ในความเชื่อของชาวเชอร์ปา ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล, ภูฏาน, ธิเบต, จีน จนถึงบางพื้นที่ในมองโกเลียและรัสเซีย โดยเชื่อว่าเยติ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่สูงตั้งแต่ 5–8 ฟุต น้ำหนักประมาณ 600 ปอนด์ ที่คล้ายมนุษย์ผสมกับลิงไม่มีหางคล้าย กอริลลา มีขนยาวสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำหรือสีเทาหรือเทาเข้มปกคลุมทั้งลำตัว ยกเว้นใบหน้าที่มีสีคล้ำ มีเสียงร้องที่น่าสะพรึงกลัว โดยปรกติแล้ว เยติเป็นสัตว์ที่มีนิสัยสงบเสงี่ยม แต่อาจดุร้ายโจมตีใส่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง เช่น จามรี ได้ในบางครั้ง เยติ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเชอร์ปามาอย่างช้านาน โดยถูกกล่าวถึงในนิทานและเพลงพื้นบ้าน และเรื่องเล่าขานต่อกันมาถึงผู้ที่เคยพบมัน นอกจากนี้แล้วยังปรากฏในศิลปะของพุทธศาสนานิกายมหายานแบบธิเบต โดยปรากฏเป็นภาพในพรมธิเบตที่แขวนไว้ที่ฝาผนังเหมือนจิตรกรรมฝาผนังในวัดลามะอายุกว่า 400 ปี เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตประหลาดอย่างหนึ่งที่ขนดกอยู่ด้านมุมภาพและในมือถือกะโหลกมนุษย์อยู่ และปัจจุบันนี้ ก็มีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหนังหัวของเยติถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดลามะแห่งหนึ่งในคุมจุง ซึ่งนับว่าเยติเป็นสัตว์ที่ถูกกล่าวอ้างถึงยาวนานกว่าสัตว์ประหลาดที่มีลักษณะคล้ายกันชนิดอื่นที่พบในอีกซีกโลก เช่น บิ๊กฟุต หรือ ซาสควาทช์ ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยาวี ในทวีปออสเตรเลีย หรืออัลมาส์ ในเอเชียกลาง หากแต่หลักฐานเกี่ยวกับเยติเมื่อเทียบกับบิ๊กฟุตแล้วพบน้อยกว่ามาก แต่มีหลายกรณีที่บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์ที่ดุร้าย ก้าวร้าวกว่ามาก นอกจากคำว่าเยติแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ ที่เรียกเยติ เช่น เธลม่า (Thelma), แปลว่า "ชายตัวเล็ก" เชื่อว่ามีนิสัยรักสงบ ชอบสะสมกิ่งไม้และชอบร้องเพลงขณะที่เดินไป, ดซูท์เทห์ (Dzuteh) เป็นเยติขนาดใหญ่ มีขนหยาบกร้านรุงรัง มีนิสัยดุร้ายชอบโจมตีใส่มนุษย์, มิห์เทห์ (Mith-teh) มีนิสัยคล้ายดซูท์เทห์ คือ ดุร้าย มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ, เมียกา (Mirka) แปลว่า "คนป่า" เชื่อว่าหากมันพบเห็นสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ มันจะทำร้ายจนถึงแก่ความตาย, คัง แอดมี (Kang Admi) แปลว่า "มนุษย์หิมะ" และ โจบราน (JoBran) แปลว่า "ตัวกินคน" ขณะที่ในภูฏานเรียกว่า มิกอย (Migoi) หรือ นากอย (Nagoi) ส่วนชื่อ มนุษย์หิมะ นั้น ปรากฎขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1921 เมื่อนักสำรวจชาวตะวันตกซึ่งเป็นผู้ที่ถ่ายภาพรอยเท้าของเยติไว้ได้เป็นภาพแรก เจอกับปัญหาการแปลภาษาเชอร์ปา ซึ่งมาจากคำว่า "ดซูท์เทห์" ที่แปลได้ว่า "มนุษย์ตัวเหม็นแห่งหิมะ" ซึ่งเขาได้เขียนลงในบันทึกในฐานที่พักว่า "มนุษย์ตัวเหม็นน่ารังเกียจแห่งหิมะ" ที่ภูฏาน ชาวพื้นเมืองต่างเชื่อว่าเยติมีจริง หลายคนเคยได้พบเจอตัวหรือได้ยินเสียงของเยติ โดยกล่าวว่าเยติเป็นสัตว์ดุร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ได้ มีรูปร่างสูงใหญ่ มีพละกำลังมาก มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วร่างรวมถึงมีใบหน้าคล้ายลิง มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคม เสียงร้องของเยติเป็นเสียงสูง เยติอาศัยอยู่ตามถ้ำหรือในป่าลึก ออกหากินในช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่น ทำรังด้วยการใช้กิ่งไม้ขัดสานกันเหมือนเตียงนอน และเชื่อว่าหากผู้ใดต้องการพบเห็นตัวเยติต้องทำร่างกายให้สกปรก หากเนื้อตัวสะอาดก็จะไม่ได้พบเยติ มีรายงานการพบเห็นเยติเป็นจำนวนมากทางตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสากเต็ง ในเขตตราชิกัง เรเน เดอ มีล์วีลล์ นักปีนเขาชาวฝรั่งเศสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 เรื่องราวของเยติที่โจมตีใส่มนุษย์นั้น ได้ถูกทำเป็นรายงานส่งไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งปากคำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบันทึกโดยอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ทำงานในเนปาล โดยผู้ถูกทำร้ายเป็น เด็กหญิงชาวเชอร์ปาคนหนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเยติ · ดูเพิ่มเติม »

เริมบริเวณอวัยวะเพศ

เริมบริเวณอวัยวะเพศ (Genital herpes) เป็นเชื้อโรคที่มีอนุภาคเล็กๆ ภายในเซล อาศัยอยู่ใน DNA ของนิวเคลียสของเซล DNA หรือ สารทางพันธุกรรมนี้ จะล้อมรอบด้วยโปรตีนหรือไลโปโปรตีน เปลือกหุ้มที่ปกป้องกรดนิวคลีอิคนี้ ในอีกทางหนึ่ง กลับทำให้เชื้อไวรัสเริมเพิ่มความสามารถในการกำจัดเซลอื่นๆ ไวรัสเริมที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นกลไกทางพันธุกรรมอิสระที่เข้าไปควบคุมกลไกของเซล ทำให้เกิดการสังเคราะห์ไวรัสโปรตีน และ ไวรัสกรดนิวคลีอิค ไวรัสเริมที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศไม่ใช่สิ่งที่มีชีวิต มันเพียงแต่สามารถเพิ่มปริมาณของตัวมันซ้ำๆ ในเซลแม่ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเมื่อเกิดการติดเชื้อ จะสร้างไวรัสกรดนิวคลีอิค และสุดท้าย มันจะสังเคราะห์โปรตีนที่ห่อหุ้ม ไวรัสเริมชนิดนี้ จะทำซ้ำตัวเองภายในเซล ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลแม่ และส่งต่อไปยังเซลอื่นๆ รวมถึงในระบบร่างกาย ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลแม่ มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า เมื่อบำบัดไวรัสเริมโดยใช้น้ำมันหอมระเหย ที่ได้รับการรับรอง ที่ปริมาณและความเข้มข้นหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย นิวคลีโอฟิลิก (ซิทรัล) จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการกำจัดเชื้อโรคทิ่เกิดกับไวรัสที่ อยู่บริเวณเปลือกหุ้ม เช่น ไวรัสเริม ความสามารถในการทำให้ไวรัสเริม มีคุณสมบัติเป็นกลางนี้ยังพบใน สารเทอร์ฟีน อัลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยเหมือนกัน หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเริมบริเวณอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งมลายู

ือโคร่งมลายู หรือ เสือโคร่งมาเลเซีย (Harimau Malaya) เสือโคร่งสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris jacksoni ในวงศ์ Felidae เป็นเสือโคร่งสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากเสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) เมื่อปี ค.ศ. 2004 อันเนื่องจากดีเอ็นเอที่ต่างกันKhan, M.K.M. (1986).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเสือโคร่งมลายู · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของยุคใหม่

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเส้นเวลาของยุคใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เหี้ย

หี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย (แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ดูในตาราง) โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

เหตุเพลิงไหม้เรือนจำโกมายากวา

หตุเพลิงไหม้เรือนจำโกมายากวา เป็นเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 14 และ 15 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเหตุเพลิงไหม้เรือนจำโกมายากวา · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เอกโซนิวคลีเอส

อกโซนิวคลีเอส (exonuclease) คือเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายพันธะ 3′-5′ ฟอสโฟไดเอสเทอร์ เฉพาะที่ปลายสายพอลินิวคลีโอไทด์ ซึ่งแตกต่างจาก เอนโดนิวคลีเอสซึ่งจะทำหน้าที่สลายพันธะ 3′-5′ ฟอสโฟไดเอสเทอร์ ตำแหน่งใดก็ได้ในสายพอลินิวคลีโอไทด์ กลไกในการสลายพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์จะใช้ปฏิกิริยาไฮโดรไลซ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเอกโซนิวคลีเอส · ดูเพิ่มเติม »

เอสเทอร์

อสเทอร์กรดคาร์บอกซิลิก R และ R' แสดงถึงหมู่แอลคิลหรือแอริล เอสเทอร์กรดฟอสฟอริก เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo, X.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเอสเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอป

อป หรือ ลิงไม่มีหาง (Ape) เป็นไพรเมตที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Hominoidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 วงศ์ เอป คือ ลิงที่ไม่มีหาง มีแขนที่ยาวกว่าลิงในวงศ์อื่น ๆ มีนิ้วที่ใช้ในการหยิบจับและใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับมนุษย์มากกว่าสัตว์ในอันดับลิงใด ๆ สามารถเดินตัวตรงได้ สันนิษฐานว่าเอปนั้นวิวัฒนาการมาจากลิงโลกเก่า เอปในปัจจุบันมีเพียง 4 จำพวกเท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา และเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ชิมแปนซี, กอริลลา, อุรังอุตัง และชะนี จากการศึกษาสารพันธุกรรมพบว่า กอริลล่าและชิมแปนซีมีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับมนุษย์มากกว่าเอปที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งได้แก่ ชะนีและอุรังอุตัง ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 48 อัน ในขณะที่มนุษย์มี 46 อัน โดยเฉพาะชิมแปนซีนั้น มีหมู่โลหิตแบ่งได้เป็น A, B, O เช่นเดียวกับมนุษย์ และจากหลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลพบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์มีความคล้ายกันกับชิมแปนซีถึงร้อยละ 98.4 นอกจากนี้แล้วจากหลักฐานดังกล่าวยังทำให้สันนิษฐานได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7.5-4 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งลิงไม่มีหางจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าสัตว์จำพวกใด ๆ ในโลก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเอป · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มอาร์เอ็นเอ

วงชีวิตของ '''mRNA''' ในยูคาริโอต เอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger ribonucleic acid; mRNA เป็นโมเลกุลของอาร์เอ็นเอที่บรรจุรหัสหรือพิมพ์เขียวของโปรตีน mRNA สร้างโดยการทรานสคริปชันจากแม่แบบที่เป็นดีเอ็นเอ จากนั้นจะนำข้อมูลทางพันธุกรรมมาสู่การสังเคราะห์โปรตีนโดยไรโบโซม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนข้อมูลจากลำดับนิวคลีโอไทด์ไปสู่ลำดับกรดอะมิโน ข้อมูลทางพันธุกรรมใน mRNA จะอยู่ในรูปลำดับเบสของนิวคลีโอไทด์ที่เรียงเป็นรหัสพันธุกรรม ซึ่งหนึ่งรหัสประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สามเบส ซึ่งรหัสพันธุกรรมแต่ละตัวจะกำหนดกรดอะมิโนหนึ่งชนิดยกเว้นรหัสพันธุกรรมหยุด ซึ่งจะทำให้การสังเคราะห์โปรตีนสิ้นสุดลง กระบวนการนี้ต้องทำงานร่วมกับอาร์เอ็นเออีกสองชนิดคือ tRNA ที่จดจำรหัสพันธุกรรมและนำกรดอะมิโนเข้ามาต่อกัน กับ rRNAที่เป็นองค์ประกอบหลักของไรโบโซม โครงสร้างของ mRNA ที่สมบูรณ์ในยูคาริโอต ประกอบด้วย 5' cap, 5' UTR, coding region, 3' UTR, and poly(A) tail.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเอ็มอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอฟแอลพี

ั้นตอนการทำ AFLP เอเอฟแอลพี (Amplified Fragment Length Polymorphism; ตัวย่อ: AFLP) เป็นเทคนิคของเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) แบบหนึ่ง พื้นฐานของ AFLP คือการตรวจสอบชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ โดยการเพิ่มปริมาณด้วยปฏิกิริยา PCR (Polymerase chain reaction) ดังนั้นจึงรวมเอาความน่าเชื่อถือของเทคนิค RFLP (Restriction fragment length polymorphism) และประสิทธิภาพของ PCR เข้าด้วยกัน เทคนิค AFLP พัฒนาขึ้นโดย Zabeau และ Vos นักวิจัยของบริษัท Keygene N.V. ประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้จดสิทธิบัตรในปี..1993 การเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอที่มาจากการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ ทำได้โดยการเชื่อมต่อ adapter เข้าที่ปลายของชิ้นดีเอ็นเอต่อจากตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ โดย adapterเป็นดีเอ็นเอสายคู่ชิ้นสั้นๆ ที่มีปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเหนี่ยว เหมือนกับปลายโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะที่เลือกใช้ ดังนั้น จึงสามารถเชื่อมต่อกับชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดไว้โดยใช้ปลายเหนี่ยว (sticky end ligation) และจะทำหน้าที่เป็นตำแหน่งที่จับของไพรเมอร์ในการทำ PCR ต่อไป ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ ชิ้นดีเอ็นเอที่ได้จากการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะก็จะสามารถเพิ่มปริมาณได้โดยใช้ไพรเมอร์ที่มีลำดับเบสตรงกับส่วนของ adapter รวมกับส่วนของเบสที่ตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ อย่างไรก็ตาม จำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่สามารถเพิ่มปริมาณได้ในคราวเดียวกันมีมาก และไม่สามารถจะแยกจากกันหรือตรวจสอบโดยวิธีทั่วๆไป เช่น การทำอิเล็คโทรโฟรีซิส ดังนั้นการสังเคราะห์ไพรเมอร์ในการทำ AFLP จึงเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือกเข้าที่ปลาย 3’ ต่อจากเบสที่ตำแหน่งตัดจำเพาะของเอนไซม์ เพื่อให้เลือกจับกับชิ้นดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสส่วนที่อยู่ต่อจากบริเวณตัดจำเพาะสอดคล้องกับเบสที่เพิ่มเข้าไปที่ปลาย 3’ ของไพรเมอร์นั้นเท่านั้น ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอเพียงบางส่วนและสามารถกำหนดจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่ต้องการเพิ่มปริมาณได้โดยจำนวนเบสที่เพิ่มเข้าไปนั่นเอง ถ้าดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตหรือจีโนมที่ศึกษามีส่วนประกอบของเบสทั้ง 4 ชนิด (G,A,C,T) ในสัดส่วนเท่ากัน การเพิ่มเบสเข้าที่ปลาย 3’ ของไพเมอร์เพื่อคัดเลือก 1 เบสจะช่วยลดจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่จะเพิ่มปริมาณเหลือเพียง 1 ใน 4 ของทั้งหมด ถ้าเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือก 2 เบส จำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่ตรวจสอบได้ก็จะลดลงเหลือ (1/4)^2 หรือ 1 ใน 16 ของชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดได้ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น จึงสามารถควบคุมให้เกิดการเพิ่มปริมาณชิ้นดีเอ็นเอในจำนวนที่เหมาะสมได้ โดยจำนวนเบสที่เพิ่มเข้าไปแต่ละเบสจะลดปริมาณชิ้นดีเอ็นเอลงเหลือ (1/4)^n ของทั้งหมด (n คือ จำนวนเบสสำหรับคัดเลือกที่เพิ่มขึ้น) ในทางปฏิบัติ ต้องการให้มีจำนวนชิ้นดีเอ็นเอในช่วง 50-100 แถบ ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีอิเล็กโทรโฟรีซิสใน denaturing polyacrylamide gel ในสิ่งมีชีวิตที่มีจีโนมขนาดเล็กจะใช้ไพรเมอร์ที่มีการเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือกจำนวนน้อย เพราะจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่ได้จากการตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะมีจำนวนน้อย ในขณะที่การตรวจสอบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตที่มีจีโนมขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อนมาก ต้องใช้ไพรเมอร์ที่มีการเพิ่มเบสเพื่อคัดเลือกจำนวนมากขึ้น เพื่อปรับจำนวนชิ้นดีเอ็นเอที่จะเพิ่มปริมาณให้มีจำนวนพอเหมาะ แบบของแถบดีเอ็นเอที่เกิดขึ้นจากการทำ PCR โดยใช้ไพรเมอร์คู่หนึ่งๆ เรียกว่า ลายพิมพ์ AFLP (AFLP fingerprint) ดังนั้นเทคนิค AFLP จึงเป็นวิธีตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอวิธีหนึ่ง แถบดีเอ็นเอในลายพิมพ์ของแต่ละตัวอย่างบ่งบอกถึงความแตกต่างของชิ้นดีเอ็นเอที่ตัดได้ด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ จึงสามารถใช้เป็นเครื่องหมาย เรียกว่า เครื่องหมาย AFLP (AFLP marker) ใช้ศึกษาความหลายหลากของสิ่งมีชีวิตได้เช่นเดียวกับเครื่องหมายดีเอ็นเอแบบอื่น (สุรินทร์, 2552).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเอเอฟแอลพี · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ ดี. วัตสัน

มส์ ดี. วัตสัน เจมส์ ดิวอี วัตสัน (James Dewey Watson; 6 เมษายน พ.ศ. 2471) นักอณูชีววิทยาชาวอเมริกัน ได้รับการยอบรับว่าเป็นผู้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของดีเอ็นเอร่วมกับฟรานซิส คริกและมอริส วิลคินส์ โดยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ มีผลงานการตีพิมพ์คือบทความ โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเจมส์ ดี. วัตสัน · ดูเพิ่มเติม »

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเทสโทสเตอโรน · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด แอทเทนเบอเรอห์

ซอร์เดวิด เฟรเดอริค แอทเทนเบอเรอห์ (David Attenborough หรือ David Frederick Attenborough, OM, CH, CVO, CBE, FRS, FZS; เกิด: 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 - ปัจจุบัน) พิธีกรรายการโทรทัศน์และนักนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง แอทเทนเบอเรอห์เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทางด้านธรรมชาติวิทยามาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี งานสำคัญคือการเขียนและการเสนอโปรแกรมชุด ““Life”” เก้าตอนร่วมกับแผนกธรรมชาติวิทยาของบีบีซี ซึ่งเป็นรายการสารคดีทางโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลการสำรวจสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แอทเทนเบอเรอห์ มีความสนใจในชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และวิวัฒนาการ จึงได้สร้างภาพยตร์สารคดีของตัวเองขึ้นมาและได้ออกเผยแพร่หนึ่งชุด ซึ่งสารคดีชุดนั้นยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่ในเวลาอีกหนึ่งปีต่อมากลายเป็นผู้ค้นพบรหัสทางพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในวงการวิทยาศาสตร์ แอทเทนเบอเรอห์ จบการศึกษาด้านธรรมชาติวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หลังจากจบการศึกษาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นทหารเรือ ในกองทัพเรือ โดยประจำการที่ตอนเหนือของแคว้นเวลส์เป็นเวลานาน 2 ปี จากนั้นจึงเข้าทำงานที่สำนักพิมพ์หนังสือเด็ก จากนั้นในปี..

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเดวิด แอทเทนเบอเรอห์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมายดีเอ็นเอ

รื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA Marker) หมายถึง ลำดับเบสช่วงหนึ่งของดีเอ็นเอที่ใช้เป็นเครื่องหมายบ่งชี้ความเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิต โดยอาจมีตำแหน่งบนโครโมโซม ในนิวเคลียส (nuclear DNA) หรือใน ออร์แกเนลล์ (mitochondria DNA หรือ chloroplast DNA) และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ พืชแต่ละชนิดแต่ละสายพันธุ์ มีการจัดเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอที่เป็นเอกลักษณ์ ความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึม การใช้ดีเอ็นเอเป็นเครื่องหมายในการบ่งบอกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิต สามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบลักษณะของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า(polymorphisms) ของลำดับเบสในโมเลกุลของดีเอ็นเอนี่เอง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกัน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลได้ “ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ” (DNA Fingerprinting) ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้น หมายถึง แบบแผนดีเอ็นเอที่จำเพาะของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ นั่นเอง สามารถนำมาตรวจสอบความแตกต่างหรือโพลีมอร์ฟิซึมของสิ่งมีชีวิตหรือสายพันธุ์พืชที่ต้องการตรวจสอบได้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเครื่องหมายดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

Complementary DNA

microarray ในพันธุศาสตร์ complementary DNA หรือ cDNA คือ ดีเอ็นเอที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยใช้เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) เป็นต้นแบบโดยอาศัยเอนไซม์ reverse transcriptase และ DNA polymerase cDNA มักใช้สำหรับ clone ยีนของยูคาริโอตเข้าไปในโปรคาริโอต เมื่อนักวิทยาศาสตร์ต้องการให้มีการแสดงออกของโปรตีนที่ปกติจะไม่มีการแสดงในเซลล์นั้น พวกเขาสามารถนำ cDNA เข้าไปยังเซลล์ตัวรับ (recipient cell) ซึ่งจะทำให้เซลล์สามารถให้ (code) โปรตีนชนิดนั้นได้ นอกจากนี้ cDNA ยังสามารถสร้างขึ้นโดย retrovirus เช่น HIV-1, HIV-2, Simian Immunodeficiency Virus ซึ่งสามารถเข้าไปแทรกตัว (integrate) เข้าไปยัง host เพื่อสร้าง provirus อีกด้ว.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและComplementary DNA · ดูเพิ่มเติม »

Damerau–Levenshtein distance

ในทฤษฎีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ Damerau–Levenshtein distance (ตั้งตามชื่อผู้คิดค้น Frederick J. Damerau และ Vladimir I. Levenshtein) คือระยะทางระหว่างสองสายอักขระ ซึ่งสามารถหาได้จากจำนวนการกระทำที่น้อยที่ในการแปลงสายอักขระหนึ่งมาเป็นอีกสายอักขนะหนึ่ง โดยการกระทำที่สามารถทำกับสายอักขระได้มีสี่แบบ ดังนี้.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและDamerau–Levenshtein distance · ดูเพิ่มเติม »

Gene flow

ในสาขาพันธุศาสตร์ประชากร gene flow (การไหลของยีน, การโอนยีน) หรือ gene migration เป็นการโอนความแตกต่างของยีน (genetic variation) ของประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าอัตราการโอนยีนสูงพอ กลุ่มประชากรทั้งสองก็จะพิจารณาว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ที่เหมือนกัน และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นกลุ่มเดียวกัน มีการแสดงแล้วว่า ต้องมี "ผู้อพยพหนึ่งหน่วยต่อหนึ่งรุ่น" เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มประชากรเบนออกจากกันทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) กระบวนการนี้เป็นกลไกสำคัญเพื่อโอนความหลากหลายของยีนในระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ หน่วยที่ "อพยพ" เข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรอาจเปลี่ยน ความถี่อัลลีล (allele frequency, สัดส่วนของสมาชิกกลุ่มประชากรที่มีรูปแบบหนึ่งเฉพาะของยีน) ซึ่งก็จะเปลี่ยนการแจกแจงความหลากหลายของยีนระหว่างกลุ่มประชากร "การอพยพ" อาจเพิ่มรูปแบบยีนใหม่ ๆ ให้กับสปีชีส์หรือประชากรกลุ่ม ๆ หนึ่ง อัตราการโอนที่สูงสามารถลดความแตกต่างของยีนระหว่างสองกลุ่มและเพิ่มภาวะเอกพันธุ์ เพราะเหตุนี้ การโอนยีนจึงเชื่อว่าจำกัด การเกิดสปีชีสใหม่ (speciation) เพราะรวมยีนของกลุ่มต่าง ๆ และดังนั้น จึงป้องกันพัฒนาการความแตกต่างที่อาจนำไปสู่การเกิดสปีชีสใหม่ '''gene flow''' ก็คือการโอนอัลลีลจากประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งผ่าน "การอพยพ" ของสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย มีปัจจัยต่าง ๆ ต่ออัตราการโอนยีนข้ามกลุ่มประชากร อัตราคาดว่าจะต่ำในสปีชีส์ที่กระจายแพร่พันธุ์หรือเคลื่อนที่ไปได้ในระดับต่ำ ที่อยู่ในที่อยู่ซึ่งแบ่งออกจากกัน ที่มีกลุ่มประชากรต่าง ๆ อยู่ห่างกัน และมีกลุ่มประชากรเล็ก การเคลื่อนที่ได้มีบทบาทสำคัญต่ออัตราการโอนยีน เพราะสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้มีโอกาสอพยพไปที่อื่นสูงกว่า แม้สัตว์มักจะเคลื่อนที่ได้มากกว่าพืช แต่พาหะที่เป็นสัตว์หรือลมก็อาจจะขนละอองเรณูและเมล็ดพืชไปได้ไกล ๆ เหมือนกัน เมื่อระยะแพร่กระจายพันธุ์ลดลง การโอนยีนก็จะถูกขัดขวาง การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding) วัดโดย สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding coefficient ตัวย่อ F) ก็จะเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประชากรบนเกาะจำนวนมากมีอัตราการโอนยีนที่ต่ำ เพราะอยู่ในภูมิภาคแยกต่างหากและมีขนาดประชากรเล็ก ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือ จิงโจ้สกุล Petrogale lateralis (Black-footed Rock-wallaby) ที่มีกลุ่มซึ่งผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์บนเกาะต่าง ๆ แยกต่างหาก ๆ นอกชายฝั่งของออสเตรเลีย นี่เนื่องจากไปมาหาสู่กันไม่ได้ การโอนยีนจึงเป็นไปไม่ได้ และทำให้ต้องผสมพันธุ์กันในสายพัน.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและGene flow · ดูเพิ่มเติม »

Latimeria

Latimeria เป็นสกุลเดียวของปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน มี 2 ชนิด พบที่บริเวณขอบด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย และ อินโดนีเซี.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและLatimeria · ดูเพิ่มเติม »

Mycoplasma laboratorium

มโคพลาสมา แลบราโทเรียม (Mycoplasma laboratorium) เป็นสปีชีส์ที่เกิดจากการสังเคราะห์แบคทีเรียบางส่วน ซึ่งนำมาจากจีโนมของ ไมโคพลาสมา เจนิทาเลียม ความพยายามในชีววิทยาสังเคราะห์นี้ดำเนินการภายในสถาบัน เจ. เครก เวนเทอร์ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 20 คน นำโดยแฮมิลตัน สมิธ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล รวมทั้งนักวิจัยดีเอ็นเอ เครก เวนเทอร์ และนักจุลชีววิทยา ไคลด์ เอ. ฮัตช์สัน ทีมเริ่มต้นจากแบคทีเรียปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น เอ็ม.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและMycoplasma laboratorium · ดูเพิ่มเติม »

Non-coding RNA

non-coding RNA (ncRNA) หรือ RNA ที่ไม่มีการแปลรหัส เป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุล RNA ที่จะไม่ถูกแปลเป็นโปรตีน DNA ที่เป็นต้นแบบของ RNA ชนิดนี้ มักถูกเรียกว่า "ยีน RNA" ซึ่ง non-coding RNA นี้ มีหลายชนิด ชนิดที่พบมากที่สุดและอาจถือได้ว่าสำคัญที่สุดคือ tranfer RNA (tRNA) และ ribosomal RNA (rRNA) นอกจากนี้ยังรวมถึง RNA ขนาดเล็กอื่นๆ อีกมาก เช่น microRNA, siRNA, piRNA, snoRNA, snRNA, exRNAs, scaRNAs และ ncRNA ขนาดยาว อื่นๆ เช่น Xist และ HOTAIR.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและNon-coding RNA · ดูเพิ่มเติม »

Nuclease protection assay

Nuclease protection assay เป็นเทคนิคทางห้องปฏิบัติการทางชีวเคมีและพันธุศาสตร์สำหรับบ่งชี้อาร์เอ็นเอที่จำเพาะในอาร์เอ็นเอที่สกัดออกมาจากเซลล์ เทคนิคนี้สามารถบ่งชี้อาร์เอ็นเอที่รู้ลำดับเบสถึงแม้จะมีระดับความเข้มข้นที่ต่ำ โดยอาร์เอ็นเอจะถูกรวมกับ antisense RNA probes หรือ DNA probes ที่สามารถจับ (complementary) กับลำดับเบสที่ต้องการซึ่งจะอยู่ในรูปของอาร์เอ็นเอสายคู่ (double-stranded RNA) หรือ การจับกันของดีเอ็นเอ-อาร์เอ็นเอ (DNA-RNA hybrid) หลังจากนั้น จะนำไปใส่ ribonuclease ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะตัดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single-stranded RNA) เท่านั้น เมื่อปฏิกิริยาสมบูรณ์อาร์เอ็นเอสายเดี่ยวจะถูกตัดเป็น oligomer สายสั้น ๆ แต่อาร์เอ็นเอสายคู่ซึ่งมีลำดับเบสที่เราสนใจจะไม่ถูกตัดไป.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและNuclease protection assay · ดูเพิ่มเติม »

Temperature gradient gel electrophoresis

กาทีฟของ ethidium bromide-stained DGGE gel Temperature Gradient Gel Electrophoresis (TGGE) และ Denaturing Gradient Gel Electrophoresis (DGGE) เป็นรูปแบบของ electrophoresis ที่ใช้อุณหภูมิหรือสารเคมีต่างระดับกันในการทำลายสภาพธรรมชาติของตัวอย่างที่เคลื่อนที่ผ่านเจลชนิด acrylamide TGGE และ DGGE สามารถใช้กับกรดนิวคลีอิก เช่น DNA และ RNAและโปรตีน TGGE ใช้หลักการที่อุณหภมิเปลี่ยนโครงสร้างของกรดนิวคลีอิกในการแยกออกจากกัน DGGE เป็นเทคนิคแบบดั้งเดิมก่อนจะปรับมาเป็น TGGE.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและTemperature gradient gel electrophoresis · ดูเพิ่มเติม »

1 E3

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อค่าตั้งแต่ 1,000 ถึง 10,000 (103 และ 104) ---- ค่าที่น้อยกว่า 1000 ----.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและ1 E3 · ดูเพิ่มเติม »

10 กรกฎาคม

วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นวันที่ 191 ของปี (วันที่ 192 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 174 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและ10 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

2

2 (สอง) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 1 (หนึ่ง) และอยู่ก่อนหน้า 3 (สาม).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและ2 · ดูเพิ่มเติม »

25 เมษายน

วันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่ 115 ของปี (วันที่ 116 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 250 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและ25 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

4

4 (สี่) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 3 (สาม) และอยู่ก่อนหน้า 5 (ห้า).

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและ4 · ดูเพิ่มเติม »

88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย

88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ เป็นผลการวิจัยของคณะวิจัย โครงการวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และกรมวิชาการ โดยคณะวิจัยของโครงการได้ทำการคัดเลือกหนังสือซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม เนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่เป็นภาษาไทย เขียนโดยชาวไทย ตั้งแต่ ยุคสุโขทัย ถึง พ.ศ. 2536 มากกว่า 500 เล่ม แล้วแถลงข่าวประกาศยกย่องเมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2544 ในจำนวนหนังสือ 88 เล่มนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: ดีเอ็นเอและ88 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

DNADeoxyribonucleic acidกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »