โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวศุกร์

ดัชนี ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

119 ความสัมพันธ์: บันไดระยะห่างของจักรวาลชื่อวันของสัปดาห์พ.ศ. 2509พ.ศ. 2512พ.ศ. 2513พ.ศ. 2518พ.ศ. 2533พ.ศ. 2549พ.ศ. 2550พ.ศ. 2551พระศุกร์พระทีปังกรพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพื้นดินกฎของทิทิอุส-โบเดอกลีเซอ 581 ซีการระดมชนหนักครั้งหลังการเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์กาลิเลโอ กาลิเลอีกุสตาฟ โฮลส์ภูเขาไฟรูปโล่มัทมอนส์มาริเนอร์ 10มิยูกิ ฮาโตยามะระบบสุริยะรายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏราศีพฤษภราศีตุลลักษณะแอลบีโดลิเนียลูซิเฟอร์วรรธนะ กัมทรทิพย์วีนัสศุกร์สะเก็ดดาวสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์สิ่งมีชีวิตนอกโลกสีประจำวันในประเทศไทยสีในวัฒนธรรมจีนหอนางอุสาหน่วยดาราศาสตร์อะมะสึมิกะโบะชิอันดับของขนาด (พื้นที่)อันดับของขนาด (มวล)อันดับของขนาด (จำนวน)อิปไซลอนแอนดรอมิดา ซีอุปราคาจอห์น เบวิสจักรราศี...ทิโมคาริสข้อความอาเรซีโบดวงอาทิตย์ดาราศาสตร์ดาราศาสตร์ในปี ค.ศ. 2016ดาว (โหราศาสตร์)ดาวบริวารดาวพฤหัสบดีดาวฤกษ์ดาวล้อมเดือนดาวศุกร์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดาวอังคารดาวเคราะห์ดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์นอกระบบคริสต์สหัสวรรษที่ 10คริสต์สหัสวรรษที่ 3คริสต์สหัสวรรษที่ 5คริสต์สหัสวรรษที่ 6คริสต์สหัสวรรษที่ 7คริสต์สหัสวรรษที่ 8คริสต์สหัสวรรษที่ 9ความส่องสว่างปรากฏความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกความเอียงของวงโคจรความเอียงของแกนคาร์ล เซแกนตรัสรู้ซีรีสปฏิทินสุริยคติปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนปรากฏการณ์เรือนกระจกนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสน้ำหนักน้ำเหลวนอกโลกแก๊สเรือนกระจกแอมัลเธีย (ดาวบริวาร)แอนาเล็มมาแถบดาวเคราะห์น้อยโขนโครงการอวกาศโซเวียตไอโนะ มินาโกะไททัน (เทพปกรณัม)เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันเมสเซนเจอร์ (ยานอวกาศ)เรือรบอวกาศยามาโตะเวเนรา 3เวเนรา 9เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะเส้นเวลาของอนาคตไกลเออาเรนดิลเจ เอส แอล โกลบอล มีเดียเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์V1 มีนาคม1 E+14 m²1 E+22 m²1 E7 m10 สิงหาคม16 พฤษภาคม17 สิงหาคม22 ตุลาคม24 ตุลาคม45 มีนาคม78 มิถุนายน ขยายดัชนี (69 มากกว่า) »

บันไดระยะห่างของจักรวาล

แผนภูมิบันไดระยะห่างของจักรวาล บันไดระยะห่างของจักรวาล (Cosmic distance ladder หรือ Extragalactic Distance Scale) เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการบรรยายระยะห่างของวัตถุท้องฟ้า การวัดระยะทางโดยตรงที่แท้จริงของเทหวัตถุหนึ่งๆ จะทำได้ก็ต่อเมื่อวัตถุนั้นอยู่ "ใกล้" กับโลกพอที่จะทำได้เท่านั้น (คือระยะไม่เกินหนึ่งพันพาร์เซก) ดังนั้นเทคนิคในการอธิบายถึงระยะห่างของวัตถุที่อยู่ไกลกว่านั้นจึงต้องใช้วิธีการหลากหลายโดยอาศัยความสัมพันธ์กับวัตถุใกล้เคียง กระบวนการต่างๆ เหล่านั้นจะอิงอยู่กับ เทียนมาตรฐาน ซึ่งหมายถึงวัตถุดาราศาสตร์ที่ทราบค่าความส่องสว่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และบันไดระยะห่างของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อวันของสัปดาห์

วันในสัปดาห์ ถูกตั้งชื่อตามวัตถุบนท้องฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ และ ดาวเสาร์ ซึ่งเป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสนใจในเรื่องของฟากฟ้าแล้ว วันเสาร์และวันอาทิตย์ถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันแห่งการพักผ่อนหรือนันทนาการในประเทศตะวันตก ส่วนวันศุกร์และวันเสาร์ เป็นวันแห่งการพักผ่อนในประเทศมุสลิมบางประเทศ ในอิสราเอล ถือว่าวันเสาร์และวันศุกร์หรือวันอาทิตย์เป็นวันพักผ่อนของสัปดาห์ตามโอกาส แต่ในบางประเทศ เช่น อิหร่าน มีวันหยุดของสัปดาห์เพียงแค่หนึ่งวัน คือ วันศุกร์เท่านั้น และสัปดาห์ใหม่จะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ ประเทศมุสลิมอื่น ๆ มักจะมีวันหยุดเป็นวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์ตามวิชาโหราศาสตร์ ในศาสนายูดาย และใน Ecclesiastical Latin รวมไปถึงในสหรัฐอเมริกา และในบางประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ รวมไปถึง ประเทศไทย ด้วย ส่วนประเทศจำนวนมากในยุโรป อเมริกาใต้ และบางส่วนของเอเชีย ถือว่าวันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างนานาชาติมาตรฐานสำหรับการใช้วันและเวลา ISO 8601 ซึ่งกำหนดให้วันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ และวันอาทิตย์เป็นวันสุดท้ายของสัปดาห.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และชื่อวันของสัปดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2512

ทธศักราช 2512 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1969 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2512 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2518

ทธศักราช 2518 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1975 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2518 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

พระศุกร์

ระศุกร์ (เทวนาครี: शुक्र ศุกฺร) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระศุกร์ถูกสร้างขึ้นมาจากคาวี (วัว) ๒๑ ตัว (บางตำรากล่าวว่าสร้างจากเทพยาธร-ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีฟ้าอ่อน แล้วเสกได้เป็นพระศุกร์ มีสีวรกายฟ้า ทรงคาวีเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ และแสดงถึงเศษวรรคที่ ๒ (ส ห ฬ อ) พระศุกร์จัดเป็นครูของพวกยักษ์ ซึ่งตรงข้ามกับพระพฤหัสบดีที่เป็นครูของเทพ พระศุกร์ เป็นบุตรของพระฤๅษีภฤคุ กับ นางชยาติ และเป็นสาวกเอกของพระศิวะ วิมานอยู่ทางศิวโลก ด้านทิศเหนือ พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๖ (เลขหกไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือปางรำพึง ในมหาภารตะ พระศุกร์เป็นศัตรูกับท้าวยยาติ ลูกเขยของพระศุกร์ คือท้าวยยาตินั้น เห็นพระศุกร์ เป็นเพียงแค่ฤๅษีคนหนึ่ง จึงได้พูดจาสบประมาท ดูถูกพระศุกร์ และแล้ว ฤๅษีนารทมุนี ได้นำความไปฟ้องพระศุกร์ พระศุกร์โกรธมากจึงสาปท้าวยยาติให้กลายเป็นคนหลังค่อม และลูกหลานต้องฆ่ากันตายและต้องมีตระกูลหนึ่งต้องสูญพันธุ์ไม่มีผู้สืบสกุล จนทำให้เกิด มหาสงครามทุ่งกุรุเกษตร ๑๘ วัน ก็คือปาณฑพ และ เการพ และตระกูลที่สูญพันธุ์ไร้ผู้สืบสกุลก็คือสกุลเการพ ในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระศุกร์เทียบได้กับอะโฟร์ไดตีของเทพปกรณัมกรีก และวีนัสของเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพระศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระทีปังกรพุทธเจ้า

ระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัปที่แล้ว.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพระทีปังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พื้นดิน

แผนที่แสดงเนื้อที่ของพื้นดินบนโลก โดยใช้เฉดสีเขียวและเหลือง พื้นดิน หรือ แผ่นดิน (Land หรือ dry land) คือ พื้นผิวที่เป็นของแข็งบนโลกซึ่งไม่ได้ครอบคลุมถึงพื้นน้ำ พื้นดินเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ตลอดประวัติศาสตร์ซึ่งมีคุณูปการต่อการเกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ สิ่งมีชีวิตบนพื้นดินบางชนิด เช่น พืชบกและสัตว์บก ได้พัฒนาจากสายพันธ์ดั้งเดิมซึ่งเคยอาศัยอยู่ในน้ำมาก่อน พื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณที่พื้นดินติดกับพื้นน้ำจะถูกเรียกว่าพื้นที่ชายฝั่ง การแบ่งแยกระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำเป็นแนวคิดพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งแตกต่างออกไปตามเขตอำนาจในแต่ละท้องที่หรือปัจจัยอื่น ๆ เขตแดนทางทะเลเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งแยกโดยใช้หลักทางการเมือง มีเขตแดนทางธรรมชาติหลายอย่างซึ่งช่วยในการกำหนดพื้นน้ำและพื้นดินได้อย่างชัดเจน ธรณีสัณฐานที่เป็นหินแข็งจะแบ่งแยกได้ง่ายกว่าเขตแดนที่เป็นบึงหรือแอ่งน้ำเมื่อไม่มีตำแหน่งที่ชัดเจนของบริเวณที่เป็นจุดสิ้นสุดของพื้นดินและจุดเริ่มต้นของพื้นน้ำ การแบ่งแยกอาจแตกต่างกันไปตามกระแสน้ำและสภาพอาก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และพื้นดิน · ดูเพิ่มเติม »

กฎของทิทิอุส-โบเดอ

กฎของทิทิอุส-โบเดอ (Titius–Bode law) หรือบางแห่งเรียกว่า กฎของโบเดอ คือสมมุติฐานเกี่ยวกับวงโคจรของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ กันกับดวงอาทิตย์ ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะเอกซ์โพเนนเชียลตามลำดับของดาวเคราะห์ ถูกเสนอขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และกฎของทิทิอุส-โบเดอ · ดูเพิ่มเติม »

กลีเซอ 581 ซี

กลีเซอ 581 ซี (Gliese 581 c) หรือ Gl 581 c เป็นดาวเคราะห์นอกระบบโคจรรอบดาวแคระแดง กลีเซอ 581 ในกลุ่มดาวคันชั่ง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20.5 ปีแสง ชื่อกลีเซอ 581 เป็นชื่อดาวฤกษ์ในบัญชีดาวของ วิลเฮล์ม กลีเซอ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และกลีเซอ 581 ซี · ดูเพิ่มเติม »

การระดมชนหนักครั้งหลัง

การระดมชนหนักครั้งหลัง (Late Heavy Bombardment, ย่อ: LHB) หรือวินาศภัยดวงจันทร์ (lunar cataclysm) เป็นเหตุการณ์ซึ่งคาดว่าเกิดเมื่อประมาณ 4.1 ถึง 3.8 พันล้านปีก่อน ตรงกับบรมยุคเฮเดียนและมหายุคอีโออาร์เคียนบนโลก มีทฤษฎีว่าในช่วงนี้ดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากผิดปกติพุ่งชนดาวเคราะห์คล้ายโลกยุคต้นในระบบสุริยะชั้นใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร การระดมชนหนักครั้งหลักเกิดหลังโลกและดาวเคราะห์หินอื่นก่อรูปขึ้นและรวบรวม (accrete) มวลส่วนใหญ่ของดาวนั้น ๆ แล้ว แต่ยังถือเป็นช่วงต้นในประวัติศาสตร์ของโลก หลักฐานของการระดมชนหนักครั้งหลังมาจากตัวอย่างดวงจันทร์ที่นักบินอวกาศโครงการอะพอลโลนำกลับมาด้วย การหาอายุด้วยไอโซโทปของหินดวงจันทร์บ่งว่า เศษหลอมละลายจากการพุ่งชน (impact melt) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มีหลายสมมติฐานพยายามอธิบายการเพิ่มขึ้นเฉียบพลันของสิ่งพุ่งชน (ทั้งดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง) ในระบบสุริยะชั้นใน แต่ยังไม่มีมติ แบบจำลองไนซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่าดาวเคราะห์ยักษ์กำลังมีการย้ายวงโคจร และระหว่างนั้นเองก็ทำให้วัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อย และ/หรือ แถบไคเปอร์กระจัดกระจายเป็นวงโคจรเยื้องศูนย์กลาง และเข้าสู่วิถีของดาวเคราะห์คล้ายโลก นักวิจัยบางส่วนแย้งว่าข้อมูลตัวอย่างดวงจันทร์ไม่จำเป็นว่าเหตุการณ์พุ่งชนจะต้องเกิดในช่วง 3.9 พันล้านปีก่อน และการกระจุกของเศษหลอมละลายจากการพุ่งชนที่มีอายุใกล้เคียงช่วงนี้เป็นผลจากการสุ่มตัวอย่างวัสดุที่เก็บมาจากแอ่งพุ่งชนขนาดใหญ่แห่งเดียว พวกเขายังสังเกตว่าอัตราการเกิดแอ่งพุ่งชนอาจแตกต่างกันได้มากระหว่างระบบสุริยะชั้นนอกและใน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และการระดมชนหนักครั้งหลัง · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์

วงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จับภาพได้ขณะทำการปรับแต่งกล้องถ่ายภาพอัลตราไวโอเลตของยานอวกาศ STEREO ภาพของดวงจันทร์ดูเล็กกว่าที่เห็นบนโลกมาก เพราะระยะห่างระหว่างยานกับดวงจันทร์ไกลกว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์มาก การเคลื่อนผ่าน หรือ การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์ มีความหมายในทางดาราศาสตร์อยู่ 3 แบบ คือ.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และการเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟ โฮลส์

องโฮลส์ ถ่ายโดย Herbert Lambert กุสตาฟ โฮลส์ (21 กันยายน ค.ศ. 187425 พฤษภาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักดนตรีชาวอังกฤษ โดยโอสต์โด่งดังจากเพลงตับ เดอะ พลาเนตส์ โอสต์เรียนใน Royal College of Music ในกรุงลอนดอน โดยเขาได้แรงจูงใจจาก Grieg, Wagner Richard Strauss และ Ralph Vaughan Williams ชื่อเต็มของโฮลส์คือ Gustavus Theodor von Holst แต่เขาได้ตัด "von" จากชื่อของเขาเพื่อตอบสนองการต่อต้านเยอรมันในอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และทำให้เป็นทางการในพินัยกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1918.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และกุสตาฟ โฮลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟรูปโล่

ูเขาไฟรูปโล่ เป็นภูเขาไฟชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยลาวาแข็งตัวเป็นหลัก ไม่มีเถ้าที่พ่นจากปากปล่องภูเขาไฟประกอบด้วยหรือหากมีก็ไม่มาก ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้มีความสูงไม่มากนักแลดูเหมือนโล่นักรบเมื่อมองจากด้านบน ภูเขาไฟรูปโล่พบได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟเวซูวีโย ภูเขาไฟเมานาเคอา นอกจากนี้ยังพบได้บนดาวเคราะห์หิน หรือดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเก็บแมกมาไว้ภายใน เช่นดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ไอโอ ภูเขาไฟรูปโล่ต่างจาก ภูเขาไฟเชิงประกอบตรงที่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีเถ้าถ่านทับถมสลับกับลาวาเย็นตัว ทำให้่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีความสูงมากกว่าภูเขาไฟรูปโล.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และภูเขาไฟรูปโล่ · ดูเพิ่มเติม »

มัทมอนส์

มัทมอนส์ (Maat Mons) เป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดบนดาวศุกร์ และเป็นภูเขาที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ของดาว รองจากแมกซ์เวลมอนทีส ตั้งอยู่ที่พิกัด ของดาวศุกร์ ภูเขาไฟลูกนี้มีความสูง 8 กิโลเมตรเหนือระดับเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของดาวศุกร์ ชื่อของภูเขาไฟมีที่มาจากเทพีแห่งความจริงและความเที่ยงตรงของอียิปต์นามว่า มัท (Maat).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และมัทมอนส์ · ดูเพิ่มเติม »

มาริเนอร์ 10

ยานมาริเนอร์ 10 ยานอวกาศมาริเนอร์ 10 เป็นยานอวกาศลำเดียวที่ไปสำรวจดาวพุธ และเป็นยานอวกาศลำแรกที่สำรวจดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง ระหว่างทางไปดาวพุธได้ถ่ายภาพเมฆบนดาวศุกร์ หลังจากนั้น ก็ไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้สามารถผ่านใกล้ดาวพุธ 3 ครั้ง ใน ค.ศ. 1974 และ 1975 และบันทึกภาพแล้วส่งกลับมายังโลกได้ 2,700 ภาพ ครอบคลุมพื้นผิว 1 ใน 3 ของดาวพุธ นอกจากนี้ ยังได้ตรวจวัดสนามแม่เหล็ก และอุณหภูมิพื้นผิวของดาวพุธ มาริเนอร์ 10 10 หมวดหมู่:ภารกิจสู่ดาวพุธ หมวดหมู่:ภารกิจอวกาศในปี พ.ศ. 2516 หมวดหมู่:ภารกิจสู่ดาวศุกร์ หมวดหมู่:ดาวเทียมโคจรรอบดวงอาทิตย์ de:Mariner#Mariner 10.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และมาริเนอร์ 10 · ดูเพิ่มเติม »

มิยูกิ ฮาโตยามะ

มิยูกิ ฮาโตยามะ (28 มิถุนายน พ.ศ. 2486) เป็นภริยาของยูกิโอะ ฮาโตยามะ อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น เธอเคยเป็นนักแสดง, มัณฑนากร และนักเขียนตำราอาหาร หลังการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของยูกิโอะผู้เป็นสามี เขาได้กล่าวชมเชยถึงเธอผู้มีส่วนร่วมกับความสำเร็จในอาชีพของเขา และชื่นชมความกระตือรือร้นของเธอ ทั้งยังกล่าวถึงมิยูกิว่าเธอต้องใช้บทบาทที่โดดเด่นของเธอให้เป็นประโยชน์ในฐานะภริยานายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในช่วงที่สามีกำลังบริหารประเท.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และมิยูกิ ฮาโตยามะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบ

ลก ดาวพฤหัสบดี ดาวซิริอุส ดาวอัลดิบาแรน ดาวบีเทลจุส ตารางข้างล่างนี้ คือรายการของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักกันโดยเรียงตามรัศมี หน่วยวัดที่ใช้คือจำนวนเท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ (ประมาณ 695,500 กิโลเมตรหรือ 432,450 ไมล์) ลำดับรายการที่แน่นอนนั้นยังไม่สมบูรณ์ และยังไม่สามารถระบุได้อย่างครบถ้วน เนื่องจาก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และรายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ

วฤกษ์สว่างที่สุด จัดว่าเป็นดาวฤกษ์สว่างเนื่องจากมีความส่องสว่างมาก และ/หรือ มันอยู่ใกล้โลกมาก รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อดาวฤกษ์เดี่ยว 91 ดวงที่สว่างที่สุดเมื่อมองจากโลก ภายใต้การสังเกตคลื่นที่ตามองเห็น (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50) หากนับความสว่างที่ต่ำลงกว่านี้จะได้รายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก แผนภาพท้องฟ้าโดยมากจัดทำโดยนับรวมดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏถึง +11 ในคลื่นที่ตามองเห็น การสำรวจอย่างต่อเนื่องทำให้เราบันทึกรายชื่อดาวฤกษ์ที่มีความสว่างน้อยลงได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ วัตถุท้องฟ้าที่มิใช่ดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของเราที่มีความสว่างสูงสุด คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50 ได้แก่ ดวงจันทร์ (ความสว่าง -12.9) ดาวศุกร์ (ความสว่าง -4.6) ดาวพฤหัสบดี (ความสว่าง -2.9) ดาวอังคาร (ความสว่าง -2.9) ดาวพุธ (ความสว่าง -1.9) และดาวเสาร์ (ความสว่าง -0.2).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีพฤษภ

ราศีพฤษภ (Taurus จากtaurus แปลว่า "วัวตัวผู้") เป็นราศีที่ 2 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมษกับราศีเมถุน มีสัญลักษณ์เป็นวัว ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีพฤษภนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 เมษายน ถึง 21 พฤษภาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 15 มิถุนายน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และราศีพฤษภ · ดูเพิ่มเติม »

ราศีตุล

ราศีตุล หรือ ราศีดุล (Libra จากlībra แปลว่า "คันชั่ง, ตราชู") เป็นราศีที่ 7 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกันย์กับราศีพิจิก มีสัญลักษณ์เป็นคันชั่งหรือตราชู ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีตุลนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 24 กันยายน ถึง 23 ตุลาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 ตุลาคม ถึง 15 พฤศจิกายน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และราศีตุล · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะแอลบีโด

ลักษณะแอลบีโด หมายถึง พื้นที่ขนาดใหญ่บนพื้นผิวของดาวเคราะห์ (หรือวัตถุในระบบสุริยะอื่นๆ) ซึ่งมีความสว่างหรือความมืดตัดกับบริเวณรอบข้างอย่างชัดเจน ตามประวัติศาสตร์ ลักษณะแอลบีโดเป็นลักษณะแรกของดาวอังคารและดาวพุธที่ถูกค้นพบและตั้งชื่อ แผนที่ฉบับแรกๆ (เช่น แผนที่ของจิโอวานนี่ สเคียปาเรลลี และยูจีน แอนโตเนียดี) ก็แสดงเพียงแค่ลักษณะแอลบีโดเท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนายานสำรวจอวกาศขึ้น ลักษณะพื้นผิวอื่นๆเช่น หลุมอุกกาบาต จึงถูกค้นพบ ลักษณะนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า เรจิโอ บนที่อื่นๆนอกเหนือไปจากบนดาวอังคารและดาวพุธ เราไม่สามารถมองเห็นลักษณะแอลบีโดที่โดดเด่นผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ได้บนวัตถุที่ถูกปกคลุมไปด้วยชั้นบรรยากาศที่หนามาก เช่น บนดาวศุกร์หรือดวงจันทร์ไททัน เนื่องจากพื้นผิวจะถูกกลุ่มเมฆและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศต่างๆบดบังอยู่ตลอดเวลา ลักษณะแอลบีโดที่ถูกค้นพบเป็นลักษณะแรกบนดาวเคราะห์ดวงอื่นคือ ซีร์ทิส เมเจอร์ บนดาวอังคารเมื่อศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และลักษณะแอลบีโด · ดูเพิ่มเติม »

ลิเนีย

ดวงจันทร์ยูโรปา ลิเนีย (Linea) (ภาษาละตินแปลว่า 'เส้น') เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางธรณีวิทยาดาวเคราะห์ (Planetary geology) หมายถึงลวดลายทางยาวใดๆบนพื้นผิวของดาวเคราะห์หรือดาวบริวาร ลิเนียมีอยู่เป็นจำนวนมากบน ดาวศุกร์ และ ดวงจันทร์ยูโรปา.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และลิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ลูซิเฟอร์

หนังสือเอเสเคียล คำว่า "ลูซิเฟอร์" หมายถึงทูตสวรรค์ที่ถูกพระเจ้าขับไล่ ลูซิเฟอร์ (Lucifer) เป็นคำ ๆ หนึ่งจากการถอดเสียงคำภาษาฮีบรู הֵילֵל ในหนังสืออิสยาห์ บทที่ 14 ข้อที่ 12 คำนี้สามารถถอดเสียงออกมาได้ว่า เฮเลล คำนี้ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ส่องแสง": "shining one, morning star, Lucifer; of the king of Babylon and Satan (fig.)" ส่วนคำว่าลูซิเฟอร์นั้นมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกต ซึ่งถอดเสียง הֵילֵל ว่า ลูซีแฟร์ หมายถึง "ดาวประกายพรึก" หรือ "ผู้ส่องแสง" คริสตชนโบราณยุคหลัง มักจะใช้คำในภาษาละตินว่า ลูซิเฟอร์ ในฐานะปีศาจก่อนตกจากสวรรค์ เพื่อแทนตัวตนของปีศาจ/ซาตาน ทำให้ลูซิเฟอร์ในภาพลักษณ์ปีศาจถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวิหารและวรรณกรรมนิยมต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งแต่ก่อนคำว่าลูซิเฟอร์ในภาษาละตินนี้ไม่เคยถูกนำมาใช้อย่างเจาะจงในทางชั่วร้ายแบบนี้มาก่อน และความคิดนี้ก็แพร่หลายไปในคนทั่วไป โดยเฉพาะชาวคริสต์ ตัวตนของลูซิเฟอร์ในฐานะทูตสวรรค์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกตีความขึ้นมา หากจะอ้างจากพระคัมภีร์แล้วตัวตนของทูตสวรรค์ลูซิเฟอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ลูซิเฟอร์ที่เรารู้จักกันในฐานะปีศาจเป็นการตีความคำว่า הֵילֵל ของคริสตชน ซึ่งถูกนำไปเขียนในบทประพันธ์มากมายในฐานะปี.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และลูซิเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วรรธนะ กัมทรทิพย์

วรรธนะ กัมทรทิพย์ หรือ กิ๊ฟต์ วรรธนะ (ชื่อเล่น กิ๊ฟต์)การศึกษาขั้นต้นเริ่มที่โรงเรียนวรรธนะวิทย์,,พณิชยการสีลม จบการศึกษาที่คณะนิเทศศาสตร์ เอกโฆษณามหาวิทยาลัยกรุงเทพ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการชักนำของพจน์ อานนท์ เมื่อปี.ศ2536 โดยงานชิ้นแรกคือการถ่ายแบบและตามมาด้วยงานถ่ายโฆษณา ปัจจุบันทำงานเป็นนักแสดงอิสระและพิธีกรอยู่ที่บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ชีวิตส่วนตัว เคยคบหาดูใจกับ ออย - สิริพรรณ หลิมวิจิตร มายาวนานถึง 5 ปี จนเลิกรากันไปในที่สุด หลังจากนั้น เข้าพิธีสมรสกับ ตาล - ผกาพันธุ์ เสถียร์กาล พนักงานบริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เมื่อปี..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และวรรธนะ กัมทรทิพย์ · ดูเพิ่มเติม »

วีนัส

วีนัส (Venus) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และวีนัส · ดูเพิ่มเติม »

ศุกร์

กร์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

สะเก็ดดาว

ก็ดดาว (meteoroid) คือ เศษวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น เมื่อสะเก็ดดาวเคลื่อนที่เข้าสู่บรรยากาศของโลก (หรือของดาวเคราะห์อื่น) ทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างมองเห็นเป็นดาวตก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าแสงสว่างนี้เกิดจากความเสียดทานระหว่างสะเก็ดดาวกับบรรยากาศ แต่ในความเป็นจริง กระบวนการหลักของการเกิดดาวตก คือ การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ของอนุภาคในบรรยากาศ หากสะเก็ดดาวมีขนาดใหญ่ วัตถุที่ตกลงถึงพื้นดิน เรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) สะเก็ดดาวที่ลุกไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศของโลกเรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ (meteor) ดาวตกที่สว่างมาก ๆ คือสว่างกว่าดาวศุกร์ อาจเรียกว่าลูกไฟ (fireball) สะเก็ดดาวจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในฝนดาวตก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และสะเก็ดดาว · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์

ัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนเทหวัตถุต่างๆ โครงสร้าง รวมถึงปรากฏการณ์ในทางดาราศาสตร์ รายการสัญลักษณ์ที่แสดงไว้ในที่นี้เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในหมู่นักวิชาการและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น สัญลักษณ์บางตัวเหมือนกันกับสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์ตะวันตก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และสิ่งมีชีวิตนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

สีประจำวันในประเทศไทย

ีประจำวัน เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากตำนานฮินดู และเป็นกฎเกณฑ์ของตำราโหราศาสตร์ที่ได้กำหนดสีประจำแต่ละวัน สีแต่ละสีได้กำหนดมาจากสีของเทพที่ปกป้องวันนั้น ๆ หรือ เทวดานพเคราะห.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และสีประจำวันในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สีในวัฒนธรรมจีน

Red paper lanterns for sale in เซี่ยงไฮ้, 2012. The color red symbolizes luck and is believed to ward away evil. สีในวัฒนธรรมจีน หมายถึง สีต่าง ๆ ที่มีความหมายทั้งในทางที่ดี (auspicious; 吉利) และไม่ดี (inauspicious; 不利) ตัวอักษรภาษาจีนของคำว่า สี คือ 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (yánsè) ในสมัยจีนโบราณมักใช้ตัวอักษร 色 (sè) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายโดยตรงถึงสีบนใบหน้า (color in the face) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (emotion) เพราะคำว่า 'เหยียน' หมายถึงพื้นที่ระหว่างคิ้ว 'เซอะ' หมายถึงลมปราณ ปราชญ์จีนโบราณกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ที่ใจ พลังงาน หรือ 'ชี่' จะไปแสดงออกที่หว่างคิ้ว กลายเป็นอารมณ์หรือสีหน้า เริ่มมีการใช้คำว่า หยานเซอะ (yánsè) ในความหมายของสีทุกสีในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง อีกทั้งมีสำนวนจีนที่กล่าวว่า “wǔ (ห้า) yán liù (หก) sè” ใช้ในการอธิบายถึงความหลากหลายของสี จึงเป็นการใช้คำว่า 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (สี) ในความหมายทั่วไป.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และสีในวัฒนธรรมจีน · ดูเพิ่มเติม »

หอนางอุสา

หอนางอุสา หอนางอุสา (Ho Nang U-sa) ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มีลักษณะเป็นโขดหินคล้ายรูปดอกเห็ดหรือหอคอยขนาดเล็กตัวหอนางอุสาตั้งอยู่บนลานหินกว้าง ลักษณะประกอบด้วยหินขนาดใหญ่สองก้อนเรียงซ้อนทับกันในแนวดิ่งหินก้อนบนกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร และมีความสูง 10 เมตรจากพื้นลานหินคาดว่าสภาพเห็นตั้งนี้เกิดจากธรรมชาติ แต่ภายหลังถูกดัดแปลงเพื่อเป็นที่พักของมนุษย์ในสมัยก่อน โดยแบ่งออกเป็นห้องมีลักษณะก่อหินเป็นรูปหน้าต่าง จากการสำรวจพบว่ามีใบเสมาหินเรียงอยู่โดยรอบจึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นเขตพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน นอกจากนี้บริเวณยังพบกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่บริเวณนี้ประมาณ 2,000-3,000 ปีก่อนประวัติศาตร์ บริเวณใกล้เคียงยังมีโขดหินที่มีลักษณะเรียงซ้อนกันหลากหลายแบบ และยังพบลักษณะของหลุมคล้ายลักษณะครกหินอยู่ รวมทั้งภาพเขียนสีผนังถ้ำหรือแง่งหินอีกด้วย ทั้งนี้ มีนิทานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับหอนางอุสาคือเรื่อง อุสา-บารส เล่าถึงเมื่อตอนนางอุสาเกิดมาจากดอกบัวฤษีจันทาได้นำนางอุสามาเลี้ยงเอาไว้ ต่อมาท้าวกงพานกษัตริย์เมืองพานซึ่งเป็นลูกศิษย์ของฤษีจันทาได้ขอรับนางอุสาไปเลี้ยงโดยให้มีฐานะเป็นธิดา ครั้นย่างเข้าวัยสาวธิดาของท้าวองค์นี้ก็มีศิริโฉมงดงามเป็นที่ต้องตาต้องใจของเจ้าชายจากหลายเมือง แต่ทางท้าวกงพานก็มิได้ทรงยกนางให้ใครและเพราะหวงธิดาองค์นี้มากจึงได้สร้างหอสูง (เป็นที่มาของหอนางอุสา)ให้อยู่แต่เพียงองค์เดียว อยู่มาวันหนึ่งนางไปอาบน้ำและได้ร้อยมาลัยรูปหงส์อธิษฐานเสี่ยงทายคู่ครองแล้วปล่อยลงน้ำ มาลัยนี้ได้ลอยไปถึงเมืองปะโคเวียงงัวและท้าวบารสซึ่งเป็นเจ้าชายเมืองปะโคเวียงงัวนี้ได้เก็บมาลัยของนางอุสาเอาไว้ จากนั้นจึงออกตามหาผู้เป็นเจ้าของมาลัยจนทราบว่าเป็นของนางอุสา ทั้งสองได้เกิดความรักกันจนลึงขั้นลักลอบได้เสีย เมื่อข่าวทราบถึงท้าวกงพานท้าวเธอก็พิโรธมากแต่ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเกรงกลัวเจ้าเมืองปะโคเวียงงัวบิดาของท้าวบารส จึงได้ออกอุบายแข่งกันสร้างวัดหากผู้ใดแพ้ต้องถูกตัดเศียร กำลังคนของท้าวบารสน้อยกว่าท้าวกงพานแต่ได้พี่เลี้ยงของนางอุสาช่วยออกอุบายให้เอาโคมไฟไปหลอกคนของท้าวกงพานว่าดาวประกายพรึกขึ้นแล้ว คนของท้างกงพานจึงหยุดสร้างวัดแต่ฝั่งของท้าวบารสก็ฉวยโอกาสนี้สร้างวัดจนเสร็จ เมื่อถึงเวลาตัดสินท้าวกงพานพ่ายแพ้จึงถูกตัดเศียร นางอุสาจึงต้องติดตามท้าวบารสไปยังเมืองปะโคเวียงงัวและพบว่าท้าวบารสมีชายาอยู่แล้ว ต่อมาโหรได้ทำนายว่าท้าวบารสต้องแก้กรรมด้วยการเดินป่าองค์เดียวหนึ่งปีจึงจะพ้นเคราะห์กรรม ระหว่างนั้นนางอุสาโดนกลั่นแกล้งจากชายาของท้าวบารสจนทนไม่ไหวต้องหนีออกจากเมืองปะโคเวียงงัวแล้วกลับเพืองพานที่ตนเคยอาศัยอยู่แล้วจึงตรอมใจตาย และเมื่อครบหนึ่งปีท้าวบารสจึงกลับเข้าเมืองแต่ไม่พบชายาจึงออกตามจนถึงเมืองพานและพบว่านางอุสาตรอมใจตายไปแล้วท้าวบารสจึงตรอมใจตายตาม นอกจากนี้ในบริเวณท้องถิ่นตามที่เชื่อกันว่าเป็นเมืองพานในนิทานท้องถิ่นเรื่องอุสา-บารส ยังมีการตั้งชื่อถ้ำและสถานที่ตามนิทานนี้เช่น ตำบลเมืองพาน, วัดพ่อตา-วัดลูกเขยที่ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นต้น และยังมีประเพณีแห่นางอุสาในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเป็นประเพณีประจำปีด้ว.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และหอนางอุสา · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: ดาวศุกร์และหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อะมะสึมิกะโบะชิ

อะมะสึมิกะโบะชิ (天津甕星 Amatsu-Mikaboshi) หรือ อะเมะ โนะ คะงะเซะโอะ (天香香背男 Ame-no-kagaseo) เป็นเทพเจ้าในตำนานของญี่ปุ่น โดยเป็นเทพแห่งดวงดาวและความชั่วร้.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และอะมะสึมิกะโบะชิ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (พื้นที่)

หมวดหมู่:พื้นที่ หมวดหมู่:อันดับของขนาด (พื้นที่).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และอันดับของขนาด (พื้นที่) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (มวล)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และอันดับของขนาด (มวล) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (จำนวน)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และอันดับของขนาด (จำนวน) · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี

อิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี หรือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอซี (Upsilon Andromedae c, υ Andromedae c, υ and c; Upsilon Andromedae ac, υ Andromedae Ac หรือ υ and Ac) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวอิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีความร้อนสูงมาก และมีความหนาแน่นถึง 13.98 เท่าของดาวพฤหัสบดี ถ้าสมมุติว่าอิปไซลอนแอนดรอมิดา ซีนั้นอยู่ในระบบสุริยะของเรา มันจะโคจรระหว่างโลกกับดาวศุกร์ นักดาราศาสตร์ก็ได้ตั้งข้อเสนอว่ามีดาวเคราะห์วงนอกอีกดวง (ซึ่งอาจหลุดวงโคจรไปแล้ว) ดันให้อิปไซลอนแอนดรอมิดา ดีเข้าไปโคจรดาวเอกของมันในระยะทางที่ใกล้กว่า ดังนั้นอิปไซลอนแอนดรอมิดา ดีจึงค่อยๆ ทำให้วงโคจรของอิปไซลอนแอนดรอมิดา ซีเยื้องมากขึ้น แต่ถ้าเป็นเช่นนี้ ดาวเคราะห์ที่หายไปก็จะต้องถูกผลักดันให้หลุดวงโคจรไป นักดาราศาสตร์จึงไม่ค่อยแน่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และอิปไซลอนแอนดรอมิดา ซี · ดูเพิ่มเติม »

อุปราคา

right อุปราคา คือ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าหนึ่ง เช่น ดาวเคราะห์หรือดาวบริวารมาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสง (เช่น ดวงอาทิตย์) กับอีกวัตถุหนึ่ง.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และอุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เบวิส

อห์น เบวิส (31 ตุลาคม ค.ศ. 1693 หรือ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1695 โอลด์ซารัม วิลท์เชอร์ — 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1771) เป็นแพทย์และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบเนบิวลาปูในปี..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และจอห์น เบวิส · ดูเพิ่มเติม »

จักรราศี

รื่องหมายจักรราศีของโหราศาสตร์สากลราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะจากแม่พิมพ์ไม้ ภาพสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในจอร์เจียเป็นรูปจักรราศีที่มีพระเยซูอยู่ตรงกลาง เครื่องหมายจักรราศีที่ใช้ในโหราศาสตร์สากลในปัจจุบัน จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

ทิโมคาริส

ทิโมคาริสแห่งอเล็กซานเดรีย (Τιμόχαρις หรือ Τιμοχάρης) (ประมาณ 320-260 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักดาราศาสตร์และนักปรัชญาชาวกรีก มีหลักฐานว่าเกิดในอเล็กซานเดรีย เขาเป็นบุคคลในยุคเดียวกับยูคลิด ประวัติเท่าที่ทราบเกี่ยวกับของทิโมคาริสมาจาการอ้างถึงโดยปโตเลมีในอัลมาเกส ซึ่งระบุว่า ทิโมคาริสทำงานในอเล็กซานเดรียระหว่าง 290-280 ปีก่อนคริสตกาล ปโตเลมีได้บันทึกเดคลิเนชันของดาวฤกษ์ 18 ดวงซึ่งได้รับการบันทึกโดยทิโมคาริสหรืออริสทิลลัสเมื่อราว 290 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่าง 295-272 ปีก่อนคริสตกาล ทิโมคาริสได้บันทึกการบังของดวงจันทร์ 4 ครั้ง และเส้นทางโคจรของดาวศุกร์ผ่านดาวฤกษ์ สิ่งเหล่านี้ได้รับการบึนทึกโดยใช้ทั้งปฏิทินอียิปต์และเอเธนส์ เส้นทางโคจรของดาวซึ่งได้รับการบันทึกของดาวศุกร์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 272 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อดาวศุกร์เข้ามาใกล้ 15 อาร์คนาที ของดาวฤกษ์ อีตา เวอร์จินิส การสังเกตโดยทิโมคาริสถือว่าเป็นการบันทึกของกรีกที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งสามารถระบุเวลาที่เจาะจงได้ ผลงานของเขาเกิดขึ้นเพียงหลังจากการบึนทึกครีษมายันเมื่อ 432 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งได้รับการบันทึกโดยอุกเตมอนและเมตอน ทิโมคาริสทำงานร่วมกับอริสทิลลัสในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ซึ่งมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นที่หอสมุดอเล็กซานเดรีย ทั้งสองเป็นบุคคลในยุคเดียวกับอริสตาร์คัสแห่งซามอส แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างทิโมคาริสและอริสตาร์ตคัส แอ่งบนดวงจันทร์ ทิโมคาริส ตั้งชื่อตาม.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และทิโมคาริส · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความอาเรซีโบ

้อความอาเรซีโบจัดเรียงเป็น 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ มีการเน้นสี แสดงให้เห็นข้อความแต่ละส่วน ข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) เป็นข้อความคลื่นวิทยุที่ส่งไปในอวกาศ เล็งไปที่กระจุกดาวดาวเอ็ม 13 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 25,000 ปีแสง เนื่องในพิธีฉลองการปรับปรุงหอดูดาวอาเรซีโบเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สัญญาณวิทยุที่ส่งขึ้นไปนี้ มีความยาว 1,679 บิต (เลขฐานสองจำนวน 1,679 ตัว) เป็นเวลา 169 วินาที ข้อความที่ส่งขึ้นไปมีความยาว 1,679 บิต เนื่องจากเป็นตัวเลข semiprime สามารถแยกตัวประกอบได้เป็นจำนวนเฉพาะสองจำนวนคือ 23 กับ 73 ซึ่งสามารถจัดเรียงเป็นภาพได้เพียงสองแบบคือ ขนาด 23 แถว คูณ 73 คอลัมน์ หรือ 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ (ดังรูป) ข้อความอาเรซีโบออกแบบโดย ดร. แฟรงก์ เดรก แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ร่วมกับคาร์ล เซแกน สามารถแบ่งได้เป็น 7 ส่วน (ในภาพมีการเพิ่มสีเพื่อให้แยกแยะได้สะดวก) คือ.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และข้อความอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์ในปี ค.ศ. 2016

ราศาสตร์ในปี..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาราศาสตร์ในปี ค.ศ. 2016 · ดูเพิ่มเติม »

ดาว (โหราศาสตร์)

ดาว หรือ ดวงดาว หรือ พระเคราะห์ ในทางโหราศาสตร์ หมายถึงตำแหน่งของดาวฤกษ์ อาทิตย์ และดาวเคราะห์ จันทร์ พุธ ศุกร์ พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พูลโต เป็นต้น รวมถึงตำแหน่งสมมุติบนท้องฟ้าบางตำแหน่งที่ใช้ในการพยากรณ์ เช่น ราหู เกตุ ยม ในโหราศาสตร์ไทย เป็นต้น หมวดหมู่:โหราศาสตร์ en:Classical planet.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาว (โหราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวล้อมเดือน

ดาวล้อมเดือน (conjunction) เป็นคำที่ใช้ในดาราศาสตร์ทรงกลมและโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เทห์ฟากฟ้าปรากฏขึ้นใกล้กับเทห์ฟากฟ้าอีกดวงหนึ่ง เมื่อมองจากสถานที่บางแห่ง (ซึ่งโดยปกติแล้วจะยึดโลกเป็นหลัก) สัญลักษณ์ของดาวล้อมเดือนในทางดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ คือ ☌ (ในยูนิโค้ด x260c) และที่เขียนด้วยมือ: 20px ปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือนของดาวพุธและดาวศุกร์ ซึ่งเรียงเป็นแนวเหนือดวงจันทร์ หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวล้อมเดือน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

วศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ พ.ศ. 2547ภาพดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เช้าวันที่ 6 มิถุนายน 2012 ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าคล้ายกับสุริยุปราคาที่เกิดจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ต่างกันตรงที่ดาวศุกร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ (แม้ว่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า) เราจึงมองเห็นดาวศุกร์มีขนาดเล็กมาก ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยอาศัยการเกิดแพรัลแลกซ์ เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ได้คำนวณและสังเกตเห็นการเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดังกล่าวเมื่อเวลาตั้งแต่ 15.15 น. จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2182 ดวงศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งต่อไปมีให้เห็นได้ทั่วประเทศไทยในตอนเช้าวันที่ 6 มิถุนายน 2555.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวเคราะห์คล้ายโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 10

ริสต์สหัสวรรษที่ 10 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..9001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..10000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 10 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 3

ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย คริสต์สหัสวรรษที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 5

ริสต์สหัสวรรษที่ 5 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มขึ้นในวันที่ 4 มกราคม..4001 และสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม..5000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 5 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 6

ริสต์สหัสวรรษที่ 6 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..5001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..6000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 6 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 7

ริสต์สหัสวรรษที่ 7 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..6001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..7000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 7 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 8

ริสต์สหัสวรรษที่ 8 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..7001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..8000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 8 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 9

ริสต์สหัสวรรษที่ 9 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..8001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..9000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 9 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคริสต์สหัสวรรษที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของแกน

วามเอียงของแกนโลก แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแกนหมุน กับระนาบโคจร ความเอียงของแกน (axial tilt) คือองศาการเอียงของแกนหมุนของดาวเคราะห์เทียบกับระนาบการโคจรของมัน บางครั้งก็เรียกว่า axial inclination หรือ obliquity สามารถระบุได้เป็นหน่วยองศาระหว่างแกนของดาวเคราะห์กับเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของดาวเคราะห์และตั้งฉากกับระนาบโคจร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และความเอียงของแกน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล เซแกน

ร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่าง ๆ เซแกนได้ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการบนโลกอย่างไร สนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอื่นเป็นพิเศษ เซแกนเป็นคนริเริ่มความคิดที่จะติดตั้งแผ่นป้ายบนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 ที่เป็นเหมือนจดหมายจากโลก ยานไพโอเนียร์ 10 ผ่านเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ. 1973 ก่อนที่จะออกไปยังขอบนอกของระบบสุริยะแล้วออกสู่อวกาศ แผ่นป้ายแบบเดียวกันติดไปกับยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 11 ในปีต่อมา นอกจากงานด้านดาราศาสตร์แล้ว เซแกนยังมีชื่อเสียงจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Contact ซึ่งเกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก นิยายเรื่องนี้ ภายหลังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน (ชื่อภาษาไทยคือ "คอนแทค อุบัติการณ์สัมผัสห้วงจักรวาล") นำแสดงโดย โจดี้ ฟอสเตอร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และคาร์ล เซแกน · ดูเพิ่มเติม »

ตรัสรู้

ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในหลักอริยสัจ 4.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ซีรีส

ซีรีส หรือ เซเรส (Ceres) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และซีรีส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยคติ

รัญ 209 Dido ปฏิทินสุริยคติ (อังกฤษ: solar calendar) คือ ปฏิทินที่สอดคล้องกับฤดูกาลและเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์ ความยาวนานของปีโดยเฉลี่ยมีค่าใกล้เคียงกับปีฤดูกาล ปฏิทินสุริยคติ ได้แก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และปฏิทินสุริยคติ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน

ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ประเทศไทย ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หรือ ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายใบหน้าคนกำลังยิ้ม โดยดาวคู่ดังกล่าว ได้แก่ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี เมื่อมองจากโลก จะอยู่ห่างกัน 2 องศา ในระยะท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ด้านล่างระหว่างดาวทั้งสองดวง และห่างกัน 2 องศา ซึ่งสามารถสังเกตได้ในประเทศไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H. Schneider, in Geosphere-biosphere Interactions and Climate, Lennart O. Bengtsson and Claus U. Hammer, eds., Cambridge University Press, 2001, ISBN 0-521-78238-4, pp.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และปรากฏการณ์เรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus Torinensis, Mikołaj Kopernik มีกอไว กอแปร์ญิก; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ มิใช่โลกLinton (2004, pp.) อย่างไรก็ดี โคเปอร์นิคัสมิใช่ผู้แรกที่เสนอระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในบางรูปแบบ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวกรีกคนหนึ่ง ชื่อ อริสตาซูสแห่งซามอส ได้เสนอแนวคิดดังกล่าวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลแล้ว กระนั้น มีหลักฐานน้อยมากว่าเขาเคยพัฒนาความคิดของเขาไกลเกินแบบร่างง่าย ๆ เท่านั้น (Dreyer, 1953,. การตีพิมพ์หนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) ของโคเปอร์นิคัส ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นาน ถูกพิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติโคเปอร์นิคัสและมีส่วนสำคัญต่อความรุ่งเรืองของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามมา ทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอธิบายกลไกของระบบสุริยะในเชิงคณิตศาสตร์ มิใช่ด้วยคำของอริสโตเติล โคเปอร์นิคัสเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักนิติศาสตร์ที่สำเร็จดุษฎีบัณฑิตในวิกฎหมาย นักฟิสิกส์ ผู้รู้สี่ภาษา นักวิชาการคลาสสิก นักแปล ศิลปิน สงฆ์คาทอลิก ผู้ว่าราชการ นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเหลวนอกโลก

กระแสน้ำพุร้อนใน Palikir Crater (ภายใน Newton crater) ของดาวอังคาร ในขณะที่มีหลักฐานที่สนใจ แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นข้อมูลของน้ำจากดาวข้างนอก,จนถึงขณะนี้ได้มีการยืนยันโดยตรง น้ำเหลวนอกโลก (Extraterrestrial liquid water) คือน้ำในสภาพของเหลวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินอกโลก เป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตตามที่เรารู้จักและเป็นที่คาดเดาอย่างสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ด้วยน้ำในมหาสมุทรที่ปกคลุม 71% ของพื้นผิว, โลกยังเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่รู้จักกันดีว่ามีแหล่งน้ำที่เป็นของเหลวบนพื้นผิวของมัน และน้ำที่เป็นของเหลวเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธุ์บนโลก การปรากฏตัวของน้ำบนผิวโลกเป็นผลมาจากความดันบรรยากาศ และวงโคจรที่เสถียรในเขตอาศัยได้ของดวงอาทิตย์ แม้ว่าต้นกำเนิดของน้ำบนโลกยังไม่ทราบแน่ชัด วิธีการหลักที่ใช้ในการยืนยัน คือ การดูดซึมของสเปกโทรโฟโตเมตรี (Absorption spectroscopy) และทางธรณีเคมี (Geochemistry) เทคนิคเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสำหรับบรรยากาศไอน้ำ และน้ำแข็ง อย่างไรก็ตามการใช้วิธีการปัจจุบันของ สเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์ (Astronomical spectroscopy) ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะตรวจจับน้ำเหลวบนดาวเคราะห์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของน้ำใต้ดิน เนื่องจากนี้นักดาราศาสตร์ชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ได้ใช้ทฤษฎีเขตอาศัยได้, ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง และทฤษฎีน้ำขึ้นน้ำลง, รูปแบบของความแตกต่างของดาวเคราะห์ และเรดิโอมิตรี (Radiometry) เพื่อตรวจสอบศักยภาพของน้ำเหลว น้ำที่สังเกตได้จากภูเขาไฟสามารถให้หลักฐานทางอ้อมที่น่าสนใจมากขึ้น, เป็นคุณสมบัติของแม่น้ำและการปรากฏตัวของสารป้องกันการแข็งตัว เช่น เกลือหรือแอมโมเนีย การใช้วิธีการดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์หลายคนอนุมานว่าน้ำของเหลวเคยปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้ของ ดาวอังคาร และดาวศุกร์ ที่คิดว่าน้ำเป็นของเหลวใต้พื้นผิวของดาวเคราะห์บางดวง, คล้ายกับน้ำบาดาลของโลก,ไอน้ำถือเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีของเหลวอยู่ในน้ำ แม้ว่าไอน้ำในชั้นบรรยากาศอาจพบได้ในหลายแห่งที่น้ำของเหลวไม่ได้.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และน้ำเหลวนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

แอมัลเธีย (ดาวบริวาร)

แอมัลเธีย (Amalthea, Αμάλθεια) บ้างเรียก เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี มีระยะทางห่างจากดาวแม่เป็นอันดับที่ 3 ค้นพบเมื่อวันที่ 9 กันยายน..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และแอมัลเธีย (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

แอนาเล็มมา

แอนาเล็มมาที่ได้จากการถ่ายรูป โดยมองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนทรงกลมฟ้า ในทางดาราศาสตร์ แอนาเล็มมา (analemma; IPA: /ˌænəˈlɛmə/ ภาษาละตินใช้เรียกฐานของนาฬิกาแดด) หมายถึงเส้นโค้งที่แสดงถึงตำแหน่งเชิงมุมของเทหวัตถุบนทรงกลมฟ้า (ปกติหมายถึงดวงอาทิตย์) โดยมองจากเทหวัตถุอีกที่หนึ่ง (ปกติหมายถึงโลก) ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่าวันโดยเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 24 ชั่วโมง แอนาเล็มมาสามารถติดตามได้โดยการทำเครื่องหมายตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ที่มองจากสถานที่หนึ่งๆ บนโลกในเวลาเดิมทุก 24 ชั่วโมงตลอดทั้งปี ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะปรากฏเป็นเส้นโค้งคล้ายเลขแปด มีตัวแปรสามอย่างที่ส่งผลถึงรูปร่างของแอนาเล็มมาได้แก่ ความเอียงของแกน (axial tilt) ความเบี้ยวของวงโคจร (orbital eccentricity) และมุมระหว่าง apse line กับเส้นตรงของอายัน สำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์และไม่มีความเอียงของแกนดาว ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งเดิมในเวลาเดิมทุกวัน รูปร่างแอนาเล็มมาจะเป็นแค่เพียงจุดจุดเดียว สำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรและความเอียงของแกนเท่ากับโลก จะมองเห็นเป็นเลขแปดที่วงวนด้านเหนือกับวงวนด้านใต้จะมีขนาดเท่ากัน และสำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรเหมือนโลกแต่ไม่มีความเอียงของแกน แอนาเล็มมาจะเป็นรูปเส้นตรงขนานไปกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และแอนาเล็มมา · ดูเพิ่มเติม »

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และแถบดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และโขน · ดูเพิ่มเติม »

โครงการอวกาศโซเวียต

รวดอาร์-7 โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และโครงการอวกาศโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ไอโนะ มินาโกะ

อโนะ มินาโกะ หรือ เซเลอร์วีนัส ไอโนะ มินาโกะ (Aino Minako) เป็นตัวละครจาก เซเลอร์มูน และ รหัสลับ เซเลอร์วี นักพากย์ญี่ปุ่น: Ito Shizuka นักพากย์ไทย: ศันสนีย์ วัฒนานุกูล (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.), รัชนี อารีย์รักษ์วานิช (TIGA), ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ (ไรท์บียอนด์).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และไอโนะ มินาโกะ · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน (เทพปกรณัม)

ทพไททัน เป็นเทพสิบสององค์ที่เรืองอำนาจในช่วงยุคทอง (Golden Age) และถูกล้มล้างอำนาจไปโดยเทพโอลิมปัส (Olympian).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และไททัน (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

ฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan), ฟือร์เนา ดือ มากัลไยช์ (Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 5 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

เมสเซนเจอร์ (ยานอวกาศ)

นเมสเซนเจอร์ (MESSENGER ย่อจาก MErcury Surface, Space ENvironment, GEochemistry and Ranging probe) เป็นยานอวกาศขององค์การนาซา ส่งขึ้นจากพื้นโลกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มีเป้าหมายเพื่อสำรวจพื้นผิวของดาวพุธ เป็นโครงการแรกในรอบ 30 ปีที่มีการส่งยานไปสำรวจดาวพุธ ยานเพียงลำเดียวก่อนหน้านี้คือ ยานมาริเนอร์ 10 ซึ่งสิ้นสุดภารกิจไปตั้งแต่เดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเมสเซนเจอร์ (ยานอวกาศ) · ดูเพิ่มเติม »

เรือรบอวกาศยามาโตะ

รือรบอวกาศยามาโตะ หรือ ในชื่อที่ใช้เมื่อครั้งที่เคยออกอากาศในเมืองไทยครั้งแรกโดยไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. คือ "สตาร์เบลเซอร์ ตลุยอวกาศ" คืออะนิเมะแนววิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ซึ่งชื่อของเรี่องนั้นเป็นชื่อของยานอวกาศ อะนิเมะเรื่องนี้มีอีกชื่อในภาษาอังกฤษคือ Space Cruiser Yamato (สเปซ ครุยเซอร์ ยามาโตะ) หรือStar Blazers (สตาร์ เบลเซอส์) สำหรับภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งออกอากาศในอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย สำหรับภาคภาษาอิตาลีก็ใช้ชื่อ สตาร์ เบลเซอ.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเรือรบอวกาศยามาโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เวเนรา 3

วเนรา 3 (Венера-3) เป็นยานอวกาศที่ถูกสร้างและปล่อยขึ้นสู่อวกาศโดยสหภาพโซเวียต เพื่อไปสำรวจพื้นผิวของดาวศุกร์ โดยถูกปล่อยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 จาก Baikonur คาซัคสถาน ภารกิจของยานอวกาศนี้เพื่อลงจอดบนพื้นผิวของดาวศุกร์ โดยลำตัวมีระบบวิทยุสื่อสาร เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แหล่งพลังงานไฟฟ้าและมีตราแผ่นดินของสหภาพโซเวียต ยานอวกาศดังกล่าวลงสู่ดาวศุกร์ด้วยการชนกระแทก เมื่อวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเวเนรา 3 · ดูเพิ่มเติม »

เวเนรา 9

วนโคจรของเวเนรา 9 เวเนรา 9 (Venera 9, Венера-9) เป็นเที่ยวบินอวกาศไร้คนบังคับของสหภาพโซเวียตไปยังดาวศุกร์ มันประกอบด้วยส่วนโคจรและส่วนลงจอด ปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเวเนรา 9 · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ

นี่คือ เส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ เรียงตามวันปล่อยยานอวก.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเส้นเวลาการสำรวจระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ

้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ ดังรายการต่อไปนี้ แสดงขั้นตอนการค้นพบเทหวัตถุใหม่เรียงตามลำดับในประวัติศาสตร์;ความหมายของสี สัญลักษณ์สีในตารางแสดงความหมายถึงดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมัน ดังต่อไปนี้;ดาวเคราะห์;ดาวเคราะห์แคระ หรือดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แคร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เออาเรนดิล

ออาเรนดิลจอมนาวิก (Eärendil the Mariner) เป็นตัวละครหลักตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ขับนาวาของดวงดาวแห่งรุ่งอรุณ ตำนานของเขาแสดงอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน และมีการกล่าวขวัญถึงเขาในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ด้ว.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเออาเรนดิล · ดูเพิ่มเติม »

เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย

ริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด (J S L Global Media Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เดิมชื่อว่า บริษัท เจ เอส แอล จำกัด ปัจจุบัน มีนาง รติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักงานอยู่ที่ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์

รไมอาห์ ฮอร์รอกส์กำลังสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ เมื่อปี พ.ศ. 2182 เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ (Jeremiah Horrocks - ประมาณ พ.ศ. 2161 - 3 มกราคม, พ.ศ. 2184), บางครั้งก็เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Jeremiah Horrox, นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษคนแรกที่ได้สังเกตการณ์การเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ · ดูเพิ่มเติม »

V

V (ตัวใหญ่:V ตัวเล็ก:v) เป็นอักษรละติน ตัวที่ 22.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และV · ดูเพิ่มเติม »

1 มีนาคม

วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันที่ 60 ของปี (วันที่ 61 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 305 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ1 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

1 E+14 m²

1 E+14 m² เป็นอันดับของขนาดของสิ่งที่มีพื้นที่ระหว่าง 100 ล้าน ถึง 1,000 ล้านตารางกิโลเมตร ---- พื้นที่ขนาดน้อยกว่า 100 ล้านตารางกิโลเมตร ---- มหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 169.2 ล้าน ตร.กม. (เรียงจากซ้ายไปขวา)'''ดาวพุธ''''''ดาวศุกร์''' มีพื้นที่ 460 ล้าน ตร.กม.'''โลก''' มีพื้นที่ 510 ล้าน ตร.กม.'''ดาวอังคาร''' มีพื้นที่ 144.8 ล้าน ตร.กม.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ1 E+14 m² · ดูเพิ่มเติม »

1 E+22 m²

1 E+22 m² เป็นอันดับของขนาดของสิ่งที่มีพื้นที่ระหว่าง 10,000,000,000 ถึง 100,000,000,000 ล้านตารางกิโลเมตร ---- พื้นที่ขนาดน้อยกว่า 1 หมึ่นล้านล้านตารางกิโลเมตร ---- พื้นผิวภายในวงโคจรของดาวพุธมีพื้นที่ 11,000,000,000 ล้าน ตร.กม.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ1 E+22 m² · ดูเพิ่มเติม »

1 E7 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 10 Mm (10,000 กม.) ถึง 100 Mm (100,000 กม.) (106 และ 107 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 107 เมตร ----.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ1 E7 m · ดูเพิ่มเติม »

10 สิงหาคม

วันที่ 10 สิงหาคม เป็นวันที่ 222 ของปี (วันที่ 223 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 143 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ10 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

16 พฤษภาคม

วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันที่ 136 ของปี (วันที่ 137 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 229 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ16 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 สิงหาคม

วันที่ 17 สิงหาคม เป็นวันที่ 229 ของปี (วันที่ 230 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 136 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ17 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 ตุลาคม

วันที่ 22 ตุลาคม เป็นวันที่ 295 ของปี (วันที่ 296 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 70 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ22 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

24 ตุลาคม

วันที่ 24 ตุลาคม เป็นวันที่ 297 ของปี (วันที่ 298 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 68 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ24 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

4

4 (สี่) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 3 (สาม) และอยู่ก่อนหน้า 5 (ห้า).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ4 · ดูเพิ่มเติม »

5 มีนาคม

วันที่ 5 มีนาคม เป็นวันที่ 64 ของปี (วันที่ 65 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 301 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ5 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

7

7 (เจ็ด) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 6 (หก) และอยู่ก่อนหน้า 8 (แปด).

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ7 · ดูเพิ่มเติม »

8 มิถุนายน

วันที่ 8 มิถุนายน เป็นวันที่ 159 ของปี (วันที่ 160 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 206 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดาวศุกร์และ8 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดาวศุกรดาวพระศุกรดาวประกายพรึกดาวประจำเมือง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »