โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดวงอาทิตย์

ดัชนี ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

440 ความสัมพันธ์: บันไดระยะห่างของจักรวาลบั้งไฟพญานาคชั้นโอโซนชานชื่อวันของสัปดาห์ชีวมณฑลชีวอุตุนิยมวิทยาบทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปบ่ายบ่างฟองลูป Iฟองท้องถิ่นฟิสิกส์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์พ.ศ. 1844พ.ศ. 2522พ.ศ. 2605พระอภิเนาว์นิเวศน์พระอัคนีพระอาทิตย์พระอโมฆสิทธิพุทธะพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าพระผู้สร้างพระโสภิตพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีพลังงานฟิวชั่นพลังงานจากการแผ่รังสีพลังงานความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์พายุสุริยะพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008พิธีย่ำพระสุริย์ศรีพุธเพชฌฆาตกฎของทิทิอุส-โบเดอกระจุกดาวทรงกลมกระแสน้ำมหาสมุทรกลศาสตร์ควอนตัมกลางวันกลางคืนกลุ่มท้องถิ่นกลุ่มดาวคนคู่กลีเซอ 317 บีกลีเซอ 581 ซีกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์การชนกับนิบิรุการชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับทางช้างเผือกการก่อตัวของดาวฤกษ์การลวงเรื่องดวงจันทร์ครั้งใหญ่การลดลงของโอโซน...การวัดการสำรวจอวกาศการหมุนการจัดประเภทดาวฤกษ์การใช้ปากกับอวัยวะเพศชายของตัวเองการเดินเรือดาราศาสตร์การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)กาลานุกรมกาลิเลโอ กาลิเลอีกาเลวาลากำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะกีโยม เลอ ฌ็องตีฝนดาวตกฝนดาวตกสิงโตภูมิอากาศไทยภูเขาไฟเมานาโลอามลาอิกะฮ์มหาวิทยาลัยรังสิตมหานวดารามหานวดาราประเภท 1เอมังกรจีนมาริเนอร์ 10มาตรฐานหยุดนิ่งท้องถิ่นมิถุนายนย่านความถี่ 10 เมตรรหัสวินาศโลกระบบพิกัดทรงกลมฟ้าระบบพิกัดดาราจักรระบบสุริยะระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางระบบดาวเคราะห์ระบบโลกเป็นศูนย์กลางระวี ภาวิไลรัศมีดวงอาทิตย์รายชื่อธงในประเทศอิหร่านรายชื่อธงในประเทศอินเดียรายชื่อธงในประเทศคาซัคสถานรายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏรายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยราศีสิงห์ฤดูกาลฤดูหนาวจากภูเขาไฟฤดูใบไม้ผลิลมลมสุริยะลมดาวฤกษ์ลูกปัดเบลีลีโตวอยเอจเจอร์ 1วัตถุพ้นดาวเนปจูนวันวิวัฒนาการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์วิษุวัตวิทยาดาวเคราะห์วี 838 ยูนิคอร์นวงกลมละติจูดวงกลมอาร์กติกวงโคจรวงโคโรนาสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์สายใยอาหารสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสิ่งมีชีวิตนอกโลกสุพรหมัณยัน จันทรเศขรสุริยวิถีสุริยุปราคาสุริยุปราคา 1 กันยายน พ.ศ. 2559สุริยุปราคา 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561สุริยุปราคา 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555สุริยุปราคา 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2580สุริยุปราคา 13 กันยายน พ.ศ. 2558สุริยุปราคา 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2574สุริยุปราคา 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563สุริยุปราคา 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561สุริยุปราคา 15 มกราคม พ.ศ. 2553สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562สุริยุปราคา 2 กันยายน พ.ศ. 2578สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2577สุริยุปราคา 20 เมษายน พ.ศ. 2566สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2571สุริยุปราคา 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557สุริยุปราคา 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2573สุริยุปราคา 30 มีนาคม พ.ศ. 2576สุริยุปราคา 30 เมษายน พ.ศ. 2565สุริยุปราคา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564สุริยุปราคา 6 มกราคม พ.ศ. 2562สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559สุริยุปราคาบางส่วน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561สุริยุปราคาบนดวงจันทร์สุริยุปราคาบนดาวอังคารสีขาวสีประจำวันในประเทศไทยสีแดงสปิคูลสนธยาหมีขาวหลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์หลุมดำหลุมดำมวลยวดยิ่งหน่วยที่ยอมรับให้ใช้แก่ระบบเอสไอหน่วยดาราศาสตร์ห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอนออโรรา (ดาราศาสตร์)อะพอลโลอันดับกบอันดับของขนาด (พื้นที่)อันดับของขนาด (มวล)อันดับของขนาด (อุณหภูมิ)อันดับของขนาด (จำนวน)อันดับของขนาด (ความยาว)อันดับของขนาด (ความหนาแน่น)อันดับของขนาด (ความเร็ว)อันดับด้วงอาร์เธอร์ แมคโดนัลด์อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์อาทิตย์อาณาจักรแห่งกาลเวลาอิคะเริสอิปไซลอนแอนดรอมิดาอุปมาเทียมอุปราคาอีกาสามขาองศาโรเมอร์อนาคตของโลกฮาร์โลว์ แชปลีย์ฮิปปาร์คอสฮีเลียมผานกู่จลนศาสตร์ดาวฤกษ์จักรราศีจักรวรรดิอินคาจักรวาล (อัลบั้ม)จักรวาลวิทยาจัง เหิงจันทรุปราคาจันทร์ดับจันทร์เพ็ญจุดมืดดวงอาทิตย์จุดปลายระยะทางวงโคจรธงชาติบังกลาเทศธงชาติบิอาฟราธงชาติฟิลิปปินส์ธงชาติกินีธงชาติมาลาวีธงชาติมาซิโดเนียธงชาติรวันดาธงชาติอาร์เจนตินาธงชาติอิรักธงชาติจอร์เจียธงชาติทิเบตธงชาติคาซัคสถานธงชาติคิริบาสธงชาติคีร์กีซสถานธงชาตินามิเบียธงชาติแกมเบียธงชาติแอนติกาและบาร์บูดาธงชาติแคเมอรูนธงชาติเซนต์คิตส์และเนวิสธงชาติเซเชลส์ทรอปิกออฟแคนเซอร์ทรงกลมฟ้าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปทิศตะวันออกทิศตะวันตกที่ตั้งของโลกในเอกภพทีโค บราท้องฟ้าข้อความอาเรซีโบดวงอาทิตย์เที่ยงคืนดวงจันทร์ดวงจันทร์ของกาลิเลโอดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลตดัชนีสีดับเบิลยูเอเอสพี-104บีดับเบิลยูเอเอสพี-12บีดาราศาสตร์ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ดาราศาสตร์อินฟราเรดดาราศาสตร์นิวตริโนดาราจักรดาราจักรแอนดรอมิดาดาว (โหราศาสตร์)ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีดาวบีเทลจุสดาวพฤหัสบดีดาวพฤหัสบดีร้อนดาวพลูโตดาวพุธดาวมาคีมาคีดาวยักษ์ดาวยักษ์ใหญ่เหลืองดาวยูเรนัสดาวฤกษ์ดาวฤกษ์ก่อนเกิดดาววูล์ฟ-ราเยท์ดาวศุกร์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดาวหางดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9ดาวหางโฮมส์ดาวหางเวสต์ดาวหางเฮล-บอปป์ดาวอังคารดาวอาร์136เอ1ดาวซิริอุสดาวนักขัตฤกษ์ดาวแคระดาวแคระขาวดาวแคระแดงดาวแคระเหลืองดาวแปรแสงดาวไฮเปอร์ไจแอนท์ดาวเบอร์นาร์ดดาวเวกาดาวเสาร์ดาวเหนือดาวเฮาเมอาดาวเทียมดาวเคราะห์ดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์นอกระบบดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์น้อยตระกูลฮังการีดาวเนปจูนดิอะเมซิ่งเรซ 20ดิถีคริสต์สหัสวรรษที่ 10คริสต์สหัสวรรษที่ 3คริสต์สหัสวรรษที่ 7คริสต์สหัสวรรษที่ 9ความยาวความร้อนความสว่างดวงอาทิตย์ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ความส่องสว่างของอุปราคาความส่องสว่างปรากฏความโน้มถ่วงความเอียงของวงโคจรความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)คาบดาราคติตราแผ่นดินของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีตราแผ่นดินของอุซเบกิสถานตราแผ่นดินของคาซัคสถานตราแผ่นดินของคีร์กีซสถานตราแผ่นดินของติมอร์-เลสเตตราแผ่นดินของแอลจีเรียฉางเอ๋อซันเอาท์เทจซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ปฏิทินสุริยคติปฏิทินสุริยคติไทยปฏิทินจูเลียนปฏิทินคงที่สากลปฏิทินปักขคณนาประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ประวัติศาสตร์โลกประเทศญี่ปุ่นปรากฏการณ์โลกร้อนปรากฏการณ์เรือนกระจกปลาแฟนซีคาร์ปปางรำพึงปีนกกระเต็นนอร์แมน ล็อกเยอร์นาฬิกาดาราศาสตร์นาฬิกาดาราศาสตร์ปรากนาฬิกาแดดนาทีแสงนิยามดาวเคราะห์ของไอเอยูนิวฮอไรซันส์นิวทริโนนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัสนิเวศวิทยาน้ำหนักน้ำขึ้นลงน้ำเหลวนอกโลกแบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์แบงท์ เอ็ดเลียนแพนอเมริกันเกมส์ 2007แกมมา (อุปราคา)แรงไทดัลแสงแสงวาบรังสีแกมมาแสงอาทิตย์แอมัลเธีย (ดาวบริวาร)แอนาเล็มมาแอแนกแซเกอเริสแถบดาวเคราะห์น้อยแถบไคเปอร์แขนนายพรานแซรอสโรเบิร์ต จูเลียส ทรัมเพลอร์โลก (ดาวเคราะห์)โลกธาตุโหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์โหลโฮ้วอี้โขนโครโมสเฟียร์โซล (แก้ความกำกวม)โซลาร์แม็กซิมัมโซล่าไททัน (เทพปกรณัม)ไทเทเนียมไนโตรเจนออกไซด์เชอร์ล็อก โฮมส์เมฆออร์ตเวลาเวลามาตรฐานกรีนิชเสาแสงเส้นฟรอนโฮเฟอร์เส้นศูนย์สูตรเส้นขนานที่ 10 องศาเหนือเส้นขนานที่ 15 องศาเหนือเส้นขนานที่ 20 องศาเหนือเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือเส้นขนานที่ 30 องศาเหนือเส้นขนานที่ 35 องศาเหนือเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือเส้นขนานที่ 41 องศาเหนือเส้นขนานที่ 45 องศาใต้เส้นขนานที่ 50 องศาใต้เส้นขนานที่ 50 องศาเหนือเส้นขนานที่ 55 องศาใต้เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือเส้นขนานที่ 60 องศาเหนือเส้นขนานที่ 65 องศาเหนือเส้นขนานที่ 70 องศาเหนือเส้นเวลากราฟิกจากบิกแบงถึงฮีทเดธเส้นเวลากราฟิกของยุคแห่งดวงดาวเส้นเวลากราฟิกของจักรวาลเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะเส้นเวลาของอนาคตไกลเส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติเอชดี 147018 บีเอชดี 147018 ซีเอชดี 147513 บีเอชดี 169830เอชดี 69830เอาเตอร์ก็อดเอนรีโก แฟร์มีเอเชียนเกมส์ 2014เฮลิโอสเฟียร์เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์เทศกาลตังโจ่ยเขตร้อนเขตแผ่รังสีเขตเวลาเดือนเครื่องวัดแดดเครื่องฉายดาวเคลเบรอสเคปเลอร์-10เคปเลอร์-11เคปเลอร์-22บีเคปเลอร์-69ซีเต่าตนุเปลวสุริยะเปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2เนบิวลาปูเนบิวลาเอสกิโมBD+20°2457Inductively coupled plasmaMOA-2007-BLG-192Lb1 E+18 m²1 E9 m10 ไฮเจีย15162173 รีวงู2061 จอมจักรวาล21 มิถุนายน253 มาทิลเด3 มกราคม30 สิงหาคม47 หมีใหญ่50000 ควาอัวร์51 ม้าบิน55 ปู55 ปู อี61 หญิงสาว ซี77 กุมภาพันธ์90377 เซดนา ขยายดัชนี (390 มากกว่า) »

บันไดระยะห่างของจักรวาล

แผนภูมิบันไดระยะห่างของจักรวาล บันไดระยะห่างของจักรวาล (Cosmic distance ladder หรือ Extragalactic Distance Scale) เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการบรรยายระยะห่างของวัตถุท้องฟ้า การวัดระยะทางโดยตรงที่แท้จริงของเทหวัตถุหนึ่งๆ จะทำได้ก็ต่อเมื่อวัตถุนั้นอยู่ "ใกล้" กับโลกพอที่จะทำได้เท่านั้น (คือระยะไม่เกินหนึ่งพันพาร์เซก) ดังนั้นเทคนิคในการอธิบายถึงระยะห่างของวัตถุที่อยู่ไกลกว่านั้นจึงต้องใช้วิธีการหลากหลายโดยอาศัยความสัมพันธ์กับวัตถุใกล้เคียง กระบวนการต่างๆ เหล่านั้นจะอิงอยู่กับ เทียนมาตรฐาน ซึ่งหมายถึงวัตถุดาราศาสตร์ที่ทราบค่าความส่องสว่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และบันไดระยะห่างของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

บั้งไฟพญานาค

กล่าวกันว่าบั้งไฟพญานาคเป็นดวงไฟที่พุ่งขึ้นกลางลำน้ำโขง (ภาพจำลอง) ภาพถ่ายกระสุนส่องวิถีเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาที ในคืนวันออกพรรษาปี 2555 ที่บ้านตาลชุม อำเภอรัตนวาปี บั้งไฟพญานาค หรือก่อนปี 2529 เรียก บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ที่กล่าวกันว่าเห็นที่แม่น้ำโขง ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาทุกปี ในปี 2555 ผู้จัดการออนไลน์ ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5–30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือนเลเซอร์ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร ช่างภาพอีกคนว่า บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก ในปี 2558 มีผู้คาดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้มีเงินสะพัดกว่า 150 ล้านบาท นอกจาก "บั้งไฟพญานาค" แล้ว ยังมีปรากฏารณ์ลูกไฟโดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในบริเวณอื่นของโลก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และบั้งไฟพญานาค · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นโอโซน

ั้นโอโซน (ozone layer, ozone shield) เป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศโลกที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยประกอบด้วยโอโซน (O3) ในปริมาณมากกว่าชั้นบรรยากาศอื่น แม้จะยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับแก๊สชนิดอื่นในชั้นสตราโทสเฟียร์ ชั้นโอโซนมีโอโซน 10 ส่วนในล้านส่วน ขณะที่ปริมาณเฉลี่ยของโอโซนในชั้นบรรยากาศโลกโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 0.3 ส่วนในล้านส่วน ชั้นโอโซนพบได้ ชั้นโอโซนดูดซับ 97 ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ของรังสียูวีความถี่กลางของดวงอาทิตย์ (ความยาวคลื่นตั้งแต่ประมาณ 200 นาโนเมตร จนถึง 315 นาโนเมตร) ที่อาจสร้างความเสียหายแก่สิ่งมีชีวิตบนผิวโลก ชั้นโอโซนในช่วงล่างของชั้นสตราโทสเฟียร์ โดยอยู่อยู่ห่างจากผิวโลก ประมาณ 20 ถึง 30 กิโลเมตร และความหนาของชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูและภูมิศาสตร์ ชั้นโอโซนจะช่วยป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ส่องมาถึงโลกของเรา ดวงอาทิตย์ทำให้ชีวิตบนโลกดำรงอยู่ได้ ความอบอุ่นและพลังงานของดวงอาทิตย์ ส่งผลต่อดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง แต่ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตด้วย ชั้นโอโซนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์ ดังนั้นเมื่อใดที่โอโซนบางลงเราก็ได้รับการปกป้องน้อยลงด้วย เราเรียกรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ว่า อัลตราไวโอเลต อัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากมีปริมาณน้อยรังสีอัลตราไวโอเลตจะปลอดภัยและมีประโยชน์ โดยช่วยให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินอี แต่รังสีอัลตราไวโอเลตที่มากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังของเราอักเสบเนื่องจากแพ้แดด ปริมาณของรังสีอัลตราไวโอเลตจำนวนมาก อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบรุนแรง เกิดโรคผิวหนังและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา รังสีอัลตราไวโอเลตยัง ลดความสามารถของร่างกายมนุษย์ ในการต่อสู้กับโรคต่าง ๆ นอกจากนี้รังสีอัลตราไวโอเลตปริมาณมาก ยังทำลายพืชในไร่และต้นพืชเล็ก ๆ ในทะเลซึ่งเป็นอาหารของปลา หากต้องไปอยู่ท่ามกลางแสงแดด ควรทาครีมป้องกันผิว ครีมทาผิวเหล่านี้จะมีตัวเลขบอกปริมาณการปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และชั้นโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

ชาน

น (Shan) หรือ แมลงแห่งแชกไก เป็นหนึ่งในมนุษย์ต่างดาวในเรื่องชุดตำนานคธูลู ชานปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น "แมลงแห่งแชกไก" (พ.ศ. 2507) ของนักประพันธ์ชาวอังกฤษ แรมซีย์ แคมเบลซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือข้อมูลทั่วไปของเอช. พี. เลิฟคราฟท.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และชาน · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อวันของสัปดาห์

วันในสัปดาห์ ถูกตั้งชื่อตามวัตถุบนท้องฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ และ ดาวเสาร์ ซึ่งเป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสนใจในเรื่องของฟากฟ้าแล้ว วันเสาร์และวันอาทิตย์ถูกเรียกกันโดยทั่วไปว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันแห่งการพักผ่อนหรือนันทนาการในประเทศตะวันตก ส่วนวันศุกร์และวันเสาร์ เป็นวันแห่งการพักผ่อนในประเทศมุสลิมบางประเทศ ในอิสราเอล ถือว่าวันเสาร์และวันศุกร์หรือวันอาทิตย์เป็นวันพักผ่อนของสัปดาห์ตามโอกาส แต่ในบางประเทศ เช่น อิหร่าน มีวันหยุดของสัปดาห์เพียงแค่หนึ่งวัน คือ วันศุกร์เท่านั้น และสัปดาห์ใหม่จะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ ประเทศมุสลิมอื่น ๆ มักจะมีวันหยุดเป็นวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์ตามวิชาโหราศาสตร์ ในศาสนายูดาย และใน Ecclesiastical Latin รวมไปถึงในสหรัฐอเมริกา และในบางประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ รวมไปถึง ประเทศไทย ด้วย ส่วนประเทศจำนวนมากในยุโรป อเมริกาใต้ และบางส่วนของเอเชีย ถือว่าวันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างนานาชาติมาตรฐานสำหรับการใช้วันและเวลา ISO 8601 ซึ่งกำหนดให้วันจันทร์เป็นวันแรกของสัปดาห์ และวันอาทิตย์เป็นวันสุดท้ายของสัปดาห.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และชื่อวันของสัปดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวมณฑล

ีวมณฑล (Biosphere.) จากβίος "ชีวิต" และ σφαῖρα (sphaira) หรือทรงกลม เป็นผลรวมทั่วโลกของระบบนิเวศทั้งหมด นอกจากนี้ยังสามารถที่เรียกว่าโซนของสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งเป็นระบบปิด (นอกเหนือจากรังสีจากดวงอาทิตย์ รังสีจักรวาล และความร้อนจากชั้นหินร้อนภายในของโลก) และระบบที่ปรับสมดุลตัวเองได้ ภายใต้นิยามที่กว้างที่สุดในทางชีวกายภาพของดาวเคราะห์ (biophysiological) ชีวมณฑล คือ ระบบนิเวศในระดับดาวเคราะห์ที่ควบรวมเอาสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และความสัมพันธ์ทั้งระหว่างกันเอง กับทั้งปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆของธรณีภาค ปฐพีภาค อุทกภาค และชั้นบรรยากาศ มาไว้ด้วยกัน มีการสันนิษฐานว่าชีวมณฑลมีการวิวัฒนาการ มาตั้งแต่ต้นกำเนิดของชีวิตบนโลก ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (biopoiesis) หรือ กระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งมีชีวิต (biogenesis) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นอย่างน้อยเมื่อ 3.5 พันล้านปีก่อน หมวดหมู่:สมุทรศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบชีวภาพ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และชีวมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

ชีวอุตุนิยมวิทยา

ีวอุตุนิยมวิทยา (Biometeorology) เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวมณฑลและบรรยากาศของโลก ในมาตราส่วนของเวลาตามฤดูกาลหรือสั้นกว่านั้น (โดยมีความขัดแย้งกับชีวภูมิอากาศวิทยา).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และชีวอุตุนิยมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

บทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

แคสซีนี (จินตนาการของศิลปิน): คลื่นวิทยุถูกส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกชะลอโดยปริภูมิ-เวลาที่บิดงอ (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์พัฒนาระหว่าง..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และบทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

บ่าย

Türkenschanzpark ในเวียนนาระหว่างเวลาบ่ายอ่อน ๆ ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ในนครนิวยอร์กระหว่างเวลาบ่ายแก่ ๆ บ่าย เป็นเวลาของวัน อยู่ระหว่างเที่ยงวันและเวลาเย็น บ่ายเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวลงจากจุดจอมฟ้าบนท้องฟ้ามาจนถึงจุดใด ๆ ก่อนถึงปลายทางที่ขอบฟ้าในทิศตะวันตก ในชีวิตของมนุษย์ เวลาบ่ายคือช่วงเวลาครึ่งหลังของการทำงานและเวลาเรียน เวลาบ่ายยังมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความปลอดภัย และผลิตภาพทางเศรษฐกิจด้วย โดยทั่วไป ในช่วงบ่ายอ่อน ๆ หลังจากคนส่วนใหญ่กินอาหารกลางวันกัน พวกเขาจะมีสมรรถนะในการทำงานลดลง ความตื่นตัวลดลง และความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และบ่าย · ดูเพิ่มเติม »

บ่าง

ง หรือ พุงจง หรือ พะจง ในภาษาใต้ หรือ ปักขพิฬาร เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่ พบได้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeopterus variegatus นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Galeopterus.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ฟองลูป I

นตนาการที่แสดงถึงฟองท้องถิ่น (ขาว) เมฆโมเลกุลใกล้เคียง (สีม่วงแดง) และฟองลูป I (สีน้ำเงินอมเขียว) ฟองลูป I (Loop I Bubble) เป็นโพรงในสสารระหว่างดาว จากมุมมองของดวงอาทิตย์ ฟองนี้มีตำแหน่งอยู่ในระหว่างใจกลางทางช้างเผือก มีหลุมที่เห็นได้ชัดเจนอยู่สองโพรงที่เชื่อมต่อกับฟองท้องถิ่นและฟองลูป I อยู่ ฟองลูป I เกิดขึ้นจากลมดาวฤกษ์และซุเปอร์โนวาในกลุ่มเคลื่อนที่แมงป่อง-คนครึ่งม้า ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 500 ปีแสง ข้างในฟองลูป I มีดาวแอนทาเรส (แอลฟาแมงป่อง) ฟองลูป I อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 100 พาร์เซ็กหรือประมาณ 330 ปีแสง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฟองลูป I · ดูเพิ่มเติม »

ฟองท้องถิ่น

วมูร์ซิม ดวงอาทิตย์ และ ดาวแอนทาเรส) ฟองท้องถิ่น (Local Bubble) คือห้วงอวกาศที่ค่อนข้างโปร่งรูปร่างคล้ายนาฬิกาทรายอยู่ในสสารระหว่างดาว กินเนื้อที่กว้างประมาณ 300 ปีแสง และมีความหนาแน่นของไฮโดรเจนไม่มีสี 0.05 อะตอม/ซม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฟองท้องถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (อังกฤษ: Astrophysics) เป็นแขนงวิชาทางดาราศาสตร์ ว่าด้วยสมบัติทางกายภาพของวัตถุในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาราจักร และเอกภพทั้งหลายทั้งมวล จะเน้นศึกษาแขนงวิชาที่กว่ามาข้างต้น มากกว่าศึกษาตำแหน่งหรือการเคลื่อนที่ของวัถตุต่าง ๆ ในอวกาศ วิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์จะศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์, ดาวฤกษ์ต่าง ๆ, กาแล็กซีต่าง ๆ, ดาวเคราะห์นอกระบบ, มวลสารระหว่างดาว, รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล สาขาวิชานี้จะตรวจสอบและศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า และปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเข้มแสง, ความหนาแน่น, อุณหภูมิ และสารประกอบเคมี เนื่องจากวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นั้นครอบคลุมเนื้อหาและแขนงวิชาต่าง ๆ ในบริเวณกว้าง จึงสามารถรวมอีกหลายแขนงวิชาเข้ามาในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นี้ได้ด้วย อาทิ กลศาสตร์, การศึกษาแรงแม่เหล็กไฟฟ้า, กลศาสตร์สถิติ, อุณหพลศาสตร์, กลศาสตร์ควอนตัม, ทฤษฎีสัมพันธภาพ, ฟิสิกส์นิวเคลียร์, ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1844

ทธศักราช 1844 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพ.ศ. 1844 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2522

ทธศักราช 2522 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1979 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพ.ศ. 2522 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2605

ทธศักราช 2605 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2062 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพ.ศ. 2605 · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิเนาว์นิเวศน์

ระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพ ณ พระอภิเนาว์นิเวศน์ พระอภิเนาว์นิเวศน์ เป็นพระราชมนเทียร (เรือนหลวง) ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง โดยทรงเลือกบริเวณที่เรียกว่า "สวนขวา" เป็นที่จัดสร้างพระราชมนเทียรขึ้นใหม่ สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมของชาติตะวันตก ทั้งนี้เพื่อจะใช้เป็นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมื่อและเป็นที่แสดงเครื่องบรรณาการที่ประเทศแถบยุโรปส่งมาถวาย และเป็นพระเกียรติยศของพระองค์อีกประการหนึ่ง พระราชมนเทียรแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใช้เป็นที่ประทับ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของพระองค์ ประกอบด้วย พระที่นั่ง 8 องค์ และหอ 3 หอ รวมทั้งหมด 11 หลัง แต่การตั้งนามพระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ นั้น ได้รวมเอานามพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาทและพระที่นั่งไชยชุมพลเข้ามาเป็นหมู่พระที่นั่งเดียวกันด้วย เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้ประทับ ณ หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ประกอบกับพระราชมนเทียรแห่งนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ประกอบอิฐ ปูนเป็นหลัก เมื่อเวลาผ่านไปจึงผุกร่อนจนต้องรื้อลงเกือบทั้งหมดและปรับพื้นที่เป็นสวนดังเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นามของพระที่นั่งภายในพระอภิเนาว์นิเวศน์บางองค์ก็นำไปใช้เป็นนามพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ในภายหลัง เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระราชวังดุสิต, พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระอภิเนาว์นิเวศน์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัคนี

ระอัคนี หรือ พระอัคคี หรือ พระเพลิง (สันสกฤต: อคฺนิ, อัคนิ अग्नि) เป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพแห่งไฟ และเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) พระอัคนีมี ๓ พระรูปทรงได้แก่ อัคนี วิทยุต (สายฟ้า) และดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

พระอาทิตย์

ระอาทิตย์ (เทวนาครี: सूर्य สูรฺย) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย ในคติไทย พระอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีแดง แล้วเสก ได้เป็นพระอาทิตย์ มีสีวรกายแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงถึงสระทั้งหมดในภาษาบาลี (อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) พระอาทิตย์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางก้าวร้าวรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ หรือมีพระอาทิตย์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ ตามนิทานชาติเวร พระอาทิตย์เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร ในโหราศาสตร์ไทย พระอาทิตย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๑ (เลขหนึ่งไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัวนี้เอง จึงทำให้มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ก็คือ ปางถวายเนตร นอกจากราชสีห์แล้ว พระอาทิตย์ยังมีราชรถเทียมม้าขาว ๗ ตัวโดยมีสารถีชื่ออรุณ เป็นเทวพาหนะอีกอย่าง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอาทิตย์เทียบได้กับ ฟีบัส หรือ อพอลโล ตามเทพปกรณัมกรีกและเทพปกรณัมโรมัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอโมฆสิทธิพุทธะ

ระอโมฆสิทธิพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ พระนามหมายถึง ผู้มีความสำเร็จอันสมบูรณ์ ประทับทางทิศเหนือของพุทธมณฑล พระกายสีเขียว เป็นตัวแทนของพลังลมแห่งจิตวิญญาณ ที่จะผลักดันมนุษย์ไปสู่ความหลุดพ้น สัญญลักษณ์คือวัชระไขว้ โดยวัชระแนวนอนหมายถึงการมีอยู่และการกระทำทางโลก วัชระแนวตั้งหมายถึงพลังบวกแห่งจิตวิญญาณ โดยรวม วัชระไขว้หมายถึงพลังแห่งชีวิต ทรงครุฑเป็นพาหน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระอโมฆสิทธิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระโสภิตะพุทธเจ้าอันตรธานไป เป็นช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้าถึงอสงไขยหนึ่ง เรียกว่า ชัยยะอสงไขย ล่วงมาถึงวรกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ๓ พระองค์ พระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่า พระอโนมทัสสีพุทธเจ้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระผู้สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

พระโสภิตพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระเรวตะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโสภิตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระโสภิตพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานฟิวชั่น

ลังงานฟิวชั่น (Fusion power) คือพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ปฏิกิริยาชนิดนี้เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอมธาตุเบาหลอมตัวเข้าด้วยกัน และได้นิวเคลียสที่หนักกว่าเดิมและมีเสถียรภาพมากขึ้น มวลของธาตุเบาที่รวมกันจะหายไปเล็กน้อยซึ่งส่วนที่หายไปนั้นเองได้เปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานตามสมการ ''E''.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพลังงานฟิวชั่น · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานจากการแผ่รังสี

ตัวอย่างของพลังงานที่ถูกแผ่รังสีมาจากแหล่งพลังงานดวงอาทิตย์ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy) เป็นพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คำนวณได้จากผลรวมของฟลักซ์ (flux หรือ กำลัง) ที่แผ่ออกมาเมื่อเทียบกับเวลา มีหน่วยเป็น จูล พลังงานจะถูกส่งออกมาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งสู่สิ่งแวดล้อมโดยรอบ อาจมองเห็นหรืออาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพลังงานจากการแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานความร้อน

พลังงานความร้อน หรือ พลังงานอุณหภาพ (Thermal energy) เป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงาน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์ พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ พลังงานเปลวไฟ ฯลฯ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อนยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ "แคลอรี" โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "แคลอรีมิเตอร์" หมวดหมู่:พลังงาน หมวดหมู่:พลังงานความร้อน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพลังงานความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานแสงอาทิตย์

รงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์โดยใช้กระจกรวมแสงไปที่หอคอย พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานของแสงและพลังงานของความร้อนที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ พลังงานที่เกิดจากแสงและพลังงานที่เกิดจากความร้อน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพลังงานแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พายุสุริยะ

วิดีโอแสดงเปลวสุริยะที่มาจากผิวดวงอาทิตย์ เนื่องจากปรากฏการณ์พายุสุริยะ พายุสุริยะ (Solar storm) เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดจากการที่ผิวดวงอาทิตย์ระเบิดขึ้นมาที่เรียกว่า "การระเบิดลุกจ้า" ซึ่งทำให้อนุภาคประจุไฟฟ้าพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้จะรบกวนระบบการสื่อสารมีผลทำให้การสื่อสารระยะไกลเป็นอัมพาต ทำให้เครื่องบินไม่สามารถติดต่อกับหอบังคับการได้ โทรศัพท์มือถือใช้งานไม่ได้รวมไปถึงดาวเทียมเสียหาย การทำนายความรุนแรงของพายุสุริยะสามารถทำได้โดยตรวจสอบจุดมืดดวงอาทิตย์ เนื่องจากจุดดำเกิดจากความแปรปรวนของสนามแม่เหล็ก เมื่อมีจุดมืดมากขึ้นก็จะส่งผลให้อนุภาคกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพายุสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008

ราลิมปิกฤดูร้อน 2008 (XIII Paralympic Games) เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกครั้งที่ 13 ที่เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเจ้าภาพ เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึง 17 กันยายน พ.ศ. 2551 และ หู จิ่นเทา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2548 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศคำขวัญของโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 คือ "One World, One Dream" ซึ่งใช้คำขวัญนี้ในการแข่งขันพาราลิมปิกครั้งที่ 13 อีกด้วย การแข่งขันครั้งนี้มีนักกีฬาจากทุกทวีปเข้าร่วมการแข่งขันรวมแล้ว 3,985 คน จาก 148 ประเทศ ซึ่งจะเป็นการแข่งขันพาราลิมปิกที่มีนักกีฬาเข้าร่วมมากที.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 · ดูเพิ่มเติม »

พิธีย่ำพระสุริย์ศรี

ีย่ำพระสุริย์ศรี เป็นพิธีการของทหารเรือไทยพิธีหนึ่ง คล้ายกับการสวนสนามเพื่ออำลาชีวิตราชการของผู้บังคับบัญชาระดับสูง เช่น ผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการหน่วยนาวิกโยธิน เป็นต้น กระทำในเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำ มีความสวยงามจากดวงไฟที่ประดับและลำแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ก่อนที่จะลับขอบฟ้า พิธีย่ำพระสุริย์ศรี มีขึ้นครั้งแรกที่บริเวณที่บริเวณสนามหน้ากองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ในโอกาสที่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ฉลองพระเกียรติ เรือโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และได้จัดให้มีพิธีเช่นเดียวกันนี้ต่อเนื่องอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพิธีนี้นั้นจะเริ่มกระทำในเวลาที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าพอดี (ประมาณ 18.00 น.) ถือเป็นขนบธรรมเนียมของทหารหน่วยนาวิกโยธิน โดยมีการอัญเชิญธงราชนาวีลงจากยอดเสา โดยทั่วไปที่ถือเอาเวลาพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นหลัก จึงได้ชื่อว่า "พิธีย่ำพระสุริย์ศรี" ซึ่งเรียกตามชื่อ "เพลงพระสุริย์ศรี" ซึ่งเป็นเพลงที่เกิดจากภูมิปัญญาทหารเรือไทยที่พัฒนาจากจังหวะเพลงย่ำค่ำ มาเป็นเพลงบรรเลงรูปจบกระบวนของการแสดงดนตรีสยาม หรือเพลง ฟีนาเล่ และด้วยเหตุผลที่ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ เมื่อเชิญธงราชนาวีลงจากยอดเสา พลแตรเดี่ยวจะเป่าเพลง ย่ำค่ำ อันเป็นตำนานเก่าแก่สืบมาช้านาน จึงน่าอนุโลมใช้คำ ย่ำพระสุริย์ศรี กับพิธีการเช่นนี้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษนัก แต่มีความหมายในภาษาไทยว่า การจบ สิ้นสุด หรือยุติลงอย่างสง่างาม ซึ่งสอดรับกับพิธีการของการอำลาชีวิตราชการอย่างกลมกลืน ดังนั้น พิธีย่ำพระสุริย์ศรี จึงมีความเป็นมาด้วยประการเช่นนี้ โดยพิธีการนี้ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มิได้ลอกเลียนแบบมาจากหน่วยทหารสวนสนามของนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใดเพียงแต่อาศัยเค้าโครงมาสอดแทรกการแสดงทางทหารประกอบวงโยธวาทิต ซึ่งทั้งสิ้นจะกระทำอยู่ท่ามกลางความสว่างจากดวงไฟที่จัดไว้อย่างเหมาะสม โดยมีลำแสงของพระอาทิตย์ที่ทาบทาท้องฟ้ายามเย็นย่ำเป็นฉากหลังที่สวยงามตามธรรมชาติ และปิดท้ายด้วยการจุดพลุดอกไม้ไฟอันงดงามตระการตา หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จะจัดพิธีเช่นนี้ขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ หรือเทิดเกียรติ หรือเทิดเกียรติบุคคลสำคัญของกองทัพเรือเท่านั้น พิธีดังกล่าว จะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่ลำแสงสุดท้ายของพระอาทิตย์จะค่อย ๆ เลือนลับไปกับความมืด และเหมาะสมสำหรับการต่อด้วยงานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นพิธีการ ที่สามารถจัดขึ้นในเวลาถัดไปในสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน จนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2554) พิธีย่ำพระสุริย์ศรีมีมาแล้วทั้งสิ้น 18 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายมีขึ้นในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 เนื่องในโอกาสที่ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือจะเกษียณอายุราชการ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพิธีย่ำพระสุริย์ศรี · ดูเพิ่มเติม »

พุธเพชฌฆาต

ต เป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของหนังสือชุดอาณาจักรแห่งกาลเวลา เขียนโดย การ์ธ นิกซ์ นักเขียนชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว โดยสำนักพิมพ์แจ่มใส หนังสือในชุดเดียวกัน คือ จันทร์มหันตภัย อังคารอหังการ พฤหัสเจ้าศาสตรา ศุกร์รัตติกาล และเสาร์มนตร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และพุธเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

กฎของทิทิอุส-โบเดอ

กฎของทิทิอุส-โบเดอ (Titius–Bode law) หรือบางแห่งเรียกว่า กฎของโบเดอ คือสมมุติฐานเกี่ยวกับวงโคจรของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ กันกับดวงอาทิตย์ ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะเอกซ์โพเนนเชียลตามลำดับของดาวเคราะห์ ถูกเสนอขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกฎของทิทิอุส-โบเดอ · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวทรงกลม

เมสสิเยร์ 80 กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวแมงป่อง อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเรา 28,000 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์นับแสนดวง กระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม โคจรไปรอบๆ แกนกลางดาราจักร ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง บางครั้งเรียกชื่อโดยย่อเพียงว่า globular กระจุกดาวทรงกลมมักพบอยู่ในกลดดาราจักร มีดวงดาวรวมตัวกันอยู่มากและมักมีอายุเก่าแก่กว่าส่วนที่เหลือของดาราจักร หรือกระจุกดาวเปิดซึ่งมักพบในจานดาราจักร ในดาราจักรทางช้างเผือกมีกระจุกดาวทรงกลมอยู่ราว 158 แห่ง และคาดว่ายังมีกระจุกดาวที่ยังค้นไม่พบอีกราว 10-20 แห่งAshman, Keith M.; Zepf, Stephen E. (1992).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกระจุกดาวทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

กระแสน้ำมหาสมุทร

กระแสน้ำมหาสุมทร กระแสน้ำมหาสุมทร (Ocean current) เป็นกระแสน้ำที่ไหลต่อเนื่องในมหาสมุทรซึ่งเกิดจากหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร ตามระบบเวลาและฤดูกาลที่แน่นอน เช่น คลื่น ลม แรงโคริโอลิส อุณหภูมิ ความแตกต่างของความเค็ม และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกระแสน้ำมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

กลศาสตร์ควอนตัม

'''ฟังชันคลื่น''' (Wavefunction) ของอิเล็กตรอนในอะตอมของไฮโดรเจนที่ทรงพลังงานกำหนดแน่ (ที่เพิ่มลงล่าง ''n''.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกลศาสตร์ควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

กลางวัน

วลา 13:00 UTC ของวันที่ 2 เมษายน กลางวันคือพื้นที่สว่างในภาพ กลางวัน (Daytime) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์ได้ฉายลงบนพื้นผิวโลก หรือเท่ากับช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก เมื่อโลกหมุนไปตำแหน่งของกลางวันก็จะเปลี่ยนไป ความยาวนานของกลางวันขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนโลกและความเอียงของแกนโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนด้านที่แสงอาทิตย์ไม่ได้ฉายลงบนโลกเรียกว่ากลางคืน ทำนองเดียวกับดาวเคราะห์อื่นๆ กลางวันคือช่วงเวลาที่พื้นผิวของดาวเคราะห์นั้นได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตนเอง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกลางวัน · ดูเพิ่มเติม »

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มท้องถิ่น

ราจักรแคระ Sextans A หนึ่งในดาราจักรสมาชิกของกลุ่มท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนโดรเมดาและทางช้างเผือก ซึ่งปรากฏเป็นแถบดาวสีเหลืองในภาพ Sextans A คือภาพดาวสีน้ำเงินอ่อนที่เห็นได้ชัดเจน กลุ่มท้องถิ่น (Local Group) เป็นกลุ่มของดาราจักรซึ่งมีดาราจักรทางช้างเผือกของเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบด้วยดาราจักรมากกว่า 35 แห่ง มีจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ระหว่างทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนโดรเมดา กลุ่มท้องถิ่นกินเนื้อที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ล้านปีแสง และมีรูปร่างเหมือนดัมเบลล์ ประมาณการว่ากลุ่มท้องถิ่นมีมวลรวมประมาณ (1.29 ± 0.14) เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และเป็นสมาชิกหนึ่งอยู่ใน กลุ่มกระจุกดาราจักรหญิงสาว (หรือเรียกว่าเป็น กลุ่มกระจุกดาราจักรท้องถิ่น) ด้วย สมาชิกที่มีมวลมากที่สุดสองแห่งในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก และ ดาราจักรแอนโดรเมดา ดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานทั้งสองแห่งนี้มีดาราจักรบริวารโคจรอยู่โดยรอบเป็นระบบดาราจักร ดังนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกลุ่มท้องถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนคู่

กลุ่มดาวคนคู่ หรือ กลุ่มดาวมิถุน/เมถุน (♊) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาววัวทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวปูทางทิศตะวันออก ทางทิศเหนือ คือ กลุ่มดาวสารถีและกลุ่มดาวแมวป่าที่แทบจะมองไม่เห็น ทางทิศใต้ คือ กลุ่มดาวยูนิคอร์นและกลุ่มดาวหมาเล็ก โครงการเจมินีขององค์การนาซา ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวนี้ จุดเด่นของกลุ่มดาวคนคู่ คือ ดาวฤกษ์สองดวงอยู่ใกล้กัน ดาวที่อยู่สูงกว่าเรียกว่าดาวคัสตอร์ (α Gem) ดวงล่างเรียกว่าดาวพอลลักซ์ (β Gem).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกลุ่มดาวคนคู่ · ดูเพิ่มเติม »

กลีเซอ 317 บี

กลีเซอ 317 บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ ที่อยู่ห่างออกไปจากโลกประมาณ 50 ปีแสง โดยอยู่ในกลุ่มดาวเข็มทิศ เป็นดาวที่ประกาศไว้ในปี ค.ศ. 2007 เป็นดาวที่โคจรอยู่ในวงโคจรของดาวแคระแดง คือ กลีเซอ 317 เป็นวงโคจรดาวแก๊สยักษ์มีประมาณ 95% ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกลีเซอ 317 บี · ดูเพิ่มเติม »

กลีเซอ 581 ซี

กลีเซอ 581 ซี (Gliese 581 c) หรือ Gl 581 c เป็นดาวเคราะห์นอกระบบโคจรรอบดาวแคระแดง กลีเซอ 581 ในกลุ่มดาวคันชั่ง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20.5 ปีแสง ชื่อกลีเซอ 581 เป็นชื่อดาวฤกษ์ในบัญชีดาวของ วิลเฮล์ม กลีเซอ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกลีเซอ 581 ซี · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) หรือเดิมชื่อ Space Infrared Telescope Facility (SIRTF) เป็นกล้องสังเกตการณ์อวกาศอินฟราเรด เป็นกล้องอันดับที่สี่และสุดท้ายของโครงการหอดูดาวเอกของนาซา ตั้งชื่อตาม ดร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การชนกับนิบิรุ

การชนกับนิบิรุ เป็นแนวคิดที่เสนอว่าอาจมีการชนกันครั้งหายนะระหว่างโลกกับวัตถุดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ (ซึ่งอาจชนหรือพลาดไปอย่างเฉียดฉิว) ซึ่งมีคนบางกลุ่มเชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผู้ที่เชื่อว่าเหตุการณ์สิ้นโลกดังกล่าวจะเกิดขึ้นนั้นมักเรียกวัตถุนี้ว่า ดาวเคราะห์เอกซ์ หรือนิบิรุ แนวคิดที่ว่าวัตถุที่มีขนาดเท่าดาวเคราะห์อาจชนกับโลกหรือเคลื่อนที่ผ่านโลกไปในอนาคตอันใกล้นี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวโดยระบุว่าเป็นการสรุปผลโดยปราศจากข้อเท็จจริง แนวคิดดังกล่าวได้รับการเสนอครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการชนกับนิบิรุ · ดูเพิ่มเติม »

การชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับทางช้างเผือก

แนวคิดของนาซา ในการชนกันของดาราจักรโดยใช้ภาพคอมพิวเตอร์สร้างขึ้น การชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับดาราจักรทางช้างเผือก (Andromeda–Milky Way collision) เป็นการชนกันของดาราจักร ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในประมาณ 4 พันล้านปี ระหว่าง 2 ดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มท้องถิ่น คือ ดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งประกอบด้วยระบบสุริยะและโลก กับดาราจักรแอนดรอมิดาMuir, Hazel.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการชนกันของดาราจักรแอนดรอมิดากับทางช้างเผือก · ดูเพิ่มเติม »

การก่อตัวของดาวฤกษ์

กกล้องฮับเบิล ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ''เสาหลักแห่งการสร้าง'' อันเป็นบริเวณที่เป็นแหล่งก่อตัวดาวฤกษ์ภายในเนบิวลานกอินทรี การก่อตัวของดาวฤกษ์ คือกระบวนการที่ส่วนหนาแน่นมากๆ ในเมฆโมเลกุลเกิดการยุบตัวลงกลายเป็นลูกกลมพลาสมาเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นดาวฤกษ์ ในฐานะสาขาหนึ่งในการศึกษาดาราศาสตร์ การก่อตัวของดาวฤกษ์ยังรวมไปถึงการศึกษาสสารระหว่างดาวและเมฆโมเลกุลยักษ์ ในฐานที่เป็นสื่อกลางในกระบวนการก่อตัวของดาว และการศึกษาวัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยและการก่อตัวของดาวเคราะห์ด้วย ทฤษฎีการก่อตัวของดาวฤกษ์นอกจากศึกษาเกี่ยวกับการกำเนิดดาวฤกษ์เดี่ยวแล้ว ยังรวมไปถึงการศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับดาวคู่และฟังก์ชันมวลตั้งต้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการก่อตัวของดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

การลวงเรื่องดวงจันทร์ครั้งใหญ่

ประกอบข่าว ในบทความที่ 4 จากทั้งหมด 6 บทความ ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กซัน ประจำวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1835 ข่าวลวงเรื่องดวงจันทร์ (Great Moon Hoax) หมายถึงบทความจำนวนหกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิวยอร์กซัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการลวงเรื่องดวงจันทร์ครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การลดลงของโอโซน

องหลุมพร่องโอโซนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 บริเวณขั้วโลกใต้ การลดลงของโอโซน (ozone depletion) คือปรากฏการณ์การลดลงของชั้นโอโซนบนชั้นบรรยากาศระดับชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยทำการศึกษาการลดลงของชั้นโอโซนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการลดลงของโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

การวัด

หน่วยวัดบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับร่างกายมนุษย์ ในทางวิทยาศาสตร์ การวัด คือกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งขนาดของปริมาณอันหนึ่ง เช่นความยาวหรือมวล และเกี่ยวข้องกับ หมวดหมู่:มาตรวิทยา โครงวิทย์.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการวัด · ดูเพิ่มเติม »

การสำรวจอวกาศ

การสำรวจอวกาศ คือการใช้วิทยาการด้านดาราศาสตร์และอวกาศเพื่อสำรวจและศึกษาห้วงอวกาศภายนอก การศึกษาอวกาศในทางกายภาพสามารถทำได้ทั้งโดยยานอวกาศที่ควบคุมโดยมนุษย์หรือโดยหุ่นยนต์ การเฝ้าสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า หรือที่เรียกว่าวิชาดาราศาสตร์ ได้กระทำกันมานานดังปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ ทว่าการใช้จรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาดใหญ่ที่เริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้การสำรวจอวกาศในทางกายภาพมีความเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ความก้าวหน้าในการสำรวจอวกาศเป็นผลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำยุครวมถึงการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความอยู่รอดในอนาคตของมนุษย์ชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ในทางทหารหรือทางกลยุทธ์ที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในบางครั้งจึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงประโยชน์ของการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายและความปลอดภัย ครั้งหนึ่งการสำรวจอวกาศเป็นประเด็นการแข่งขันที่สำคัญระหว่างขั้วอำนาจ เช่นในระหว่างสงครามเย็น การสำรวจอวกาศยุคใหม่ช่วงแรกเป็นการแข่งขันกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การส่งยานที่สร้างด้วยมนุษย์ออกไปโคจรรอบโลกได้เป็นครั้งแรกในดาวเทียมสปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียต เมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 และการพิชิตดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของยานอพอลโล 11 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 โดยมากโครงการสำรวจอวกาศของโซเวียตจะสามารถบรรลุเป้าหมายเป็นครั้งแรกได้ก่อน ภายใต้การนำของ Sergey Korolyov และ Kerim Kerimov เช่นการส่งนักบินอวกาศออกไปนอกโลกได้เป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการสำรวจอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

การหมุน

ทรงกลมหมุนรอบแกน การหมุน (Rotation) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุรอบตัวเองในทิศทางเป็นวงกลม วัตถุสองมิติจะหมุนรอบจุด วัตถุสามมิติจะหมุนรอบแกน ถ้าจุดศูนย์กลางการหมุนอยู่ภายนอกวัตถุ จะเรียกว่าการโคจร เช่น การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:กลศาสตร์ดั้งเดิม หมวดหมู่:เรขาคณิตแบบยุคลิด หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง หมวดหมู่:การหมุน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการหมุน · ดูเพิ่มเติม »

การจัดประเภทดาวฤกษ์

ในวิชาดาราศาสตร์ การจัดประเภทของดาวฤกษ์ คือระบบการจัดกลุ่มดาวฤกษ์โดยพิจารณาจากอุณหภูมิพื้นผิวของดาวและคุณลักษณะทางสเปกตรัมที่เกี่ยวข้อง และอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ติดตามมาก็ได้ อุณหภูมิของดาวฤกษ์หาได้จาก กฎการแทนที่ของเวียน แต่วิธีการนี้ทำได้ค่อนข้างยากสำหรับดาวที่อยู่ห่างไกลออกไปมากๆ สเปกโตรสโกปีของดาวทำให้เราสามารถจัดประเภทดาวได้จากแถบการดูดกลืนแสง ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้เฉพาะในช่วงอุณหภูมิเฉพาะเจาะจงช่วงหนึ่ง การจัดประเภทของดาวฤกษ์แบบดั้งเดิมมีการจัดระดับตั้งแต่ A ถึง Q ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดรหัสสเปกตรัมในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการจัดประเภทดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

การใช้ปากกับอวัยวะเพศชายของตัวเอง

ผู้ชายขณะกำลังใช้ปากกับอวัยวะเพศตนเอง การใช้ปากกับอวัยวะเพศชายของตัวเอง (Autofellatio) คือการปลุกเร้าตัวเองด้วยการใช้ปากหรือลิ้นสัมผัสกับอวัยวะเพศของตัวเองในฝ่ายชาย ด้วยวิธีการต่าง ๆ จึงถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง มีผู้ชายจำนวนไม่มากที่สามารถทำแบบนี้ได้Savage, Dan.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการใช้ปากกับอวัยวะเพศชายของตัวเอง · ดูเพิ่มเติม »

การเดินเรือดาราศาสตร์

การใช้เครื่องวัดมุมของนักเดินเรือ เพื่อวัดความสูงของดวงอาทิตย์เทียบกับขอบฟ้า การเดินเรือดาราศาสตร์ (Celestial navigation; บ้างเรียกว่า Astronavigation) เป็นเทคนิคการกำหนดตำแหน่งและทิศทางสำหรับกะลาสี ซึ่งใช้ในการเดินทางข้ามมหาสมุทรซึ่งไม่มีจุดสังเกตอื่น การเดินเรือดาราศาสตร์อาศัยการตรวจวัดมุม (มุมมองจากสายตา) ระหว่างเส้นขอบฟ้ากับวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นสากล วัตถุอ้างอิงที่นิยมมากที่สุดคือ ดวงอาทิตย์ นักเดินเรือที่มีความชำนาญอาจใช้ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ หรือดาวนำทาง 57 ดวงสำหรับเป็นจุดสังเกตเพื่อกำหนดทิศทางและตำแหน่งได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการเดินเรือดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์

วงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จับภาพได้ขณะทำการปรับแต่งกล้องถ่ายภาพอัลตราไวโอเลตของยานอวกาศ STEREO ภาพของดวงจันทร์ดูเล็กกว่าที่เห็นบนโลกมาก เพราะระยะห่างระหว่างยานกับดวงจันทร์ไกลกว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์มาก การเคลื่อนผ่าน หรือ การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์ มีความหมายในทางดาราศาสตร์อยู่ 3 แบบ คือ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)

การเคลื่อนที่ในฟิสิกส์ หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ถูกอธิบายด้วย การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เวลา และอัตราเร็ว การเคลื่อนที่ของวัตถุจะถูกสังเกตได้โดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง ทำการวัดการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบกับกรอบอ้างอิงนั้น ถ้าตำแหน่งของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุนั้นอยู่นิ่งหรือตำแหน่งคงที่ (ระบบมีพลวัตแบบเวลายง) การเคลื่อนที่ของวัตถุจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เว้นเสียแต่มีแรงมากระทำ โมเมนตัมคือปริมาณที่ใช้ในการวัดการเคลื่อนที่ของวัตถุ โมเมนตัมของวัตถุเกี่ยวข้องกับมวลและความเร็วของวัตถุ และโมเมนตัมทั้งหมดของวัตถุทั้งหมดในระบบโดดเดี่ยว (อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก) ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาตามที่อธิบายไว้ในกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม เนื่องจากไม่มีกรอบอ้างอิงที่แน่นอนดังนั้นจึงไม่สามารถระบุการเคลื่อนที่แบบสัมบูรณ์ได้ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ใช้ได้กับวัตถุ อนุภาค การแผ่รังสี อนุภาคของรังสี อวกาศ ความโค้ง และปริภูมิ-เวลาได้ อนึ่งยังสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของรูปร่างและขอบเขต ดังนั้นการเคลื่อนที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการกำหนดค่าของระบบทางกายภาพ ตัวอย่างเช่นเราสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของคลื่นหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคควอนตัมซึ่งการกำหนดค่านี้ประกอบด้วยความน่าจะเป็นในการครอบครองตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น ภาพนี้เป็นรถไฟใต้ดินออกจากสถานีด้วยความเร็ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

กาลานุกรม

กาลานุกรม (almanac, almanack หรือ almanach) เป็นสิ่งพิมพ์รายปีซึ่งรวมสารสนเทศอย่างพยากรณ์อากาศ วันที่เพาะปลูกของเกษตรกร ตารางน้ำขึ้นลง และข้อมูลตารางอื่นที่มักจัดเรียงตามปฏิทิน พบเทห์วัตถุและสถิติต่าง ๆ ได้ในกาลานุกรม เช่น เวลาขึ้นและตกของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ วันที่เกิดอุปราคา เวลาน้ำขึ้นลงสุด และเทศกาลศาสนา หมวดหมู่:งานอ้างอิง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกาลานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กาเลวาลา

กาเลวาลา (Kalevala, Kalewala) เป็นบทกวีมหากาพย์ ซึ่งนักปรัชญาชาวฟินแลนด์ เอเลียส เลินน์รูต เรียบเรียงขึ้นจากลำนำพื้นบ้านในภาษาฟินแลนด์และภาษาคาเรเลียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 บทกวีนี้ได้รับยกย่องให้เป็นมหากาพย์แห่งประเทศฟินแลนด์ และเป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์ฟินแลนด์ มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นจิตวิญญาณของพลเมือง ทำให้ฟินแลนด์สามารถแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียได้สำเร็จในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกาเลวาลา · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ

วาดโดยศิลปิน แสดงจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดในจินตนาการ กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะดำเนินมาตั้งแต่ประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน โดยเริ่มจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ มวลส่วนมากในการแตกสลายครั้งนั้นได้กระจุกรวมกันอยู่บริเวณศูนย์กลาง และกลายมาเป็นดวงอาทิตย์ มวลส่วนที่เหลือวนเวียนโดยรอบมีรูปร่างแบนลง กลายเป็นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ในระบบสุริยะ แบบจำลองดังกล่าวมานี้ถือเป็นแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เรียกชื่อว่า สมมติฐานเนบิวลา มีการพัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเอมมานูเอล สวีเดนบอร์ก อิมมานูเอล คานท์ และปีแยร์-ซีมง ลาปลัส การวิวัฒนาการในลำดับถัดมาเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ นับแต่ยุคเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศในคริสต์ทศวรรษ 1950 และการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในคริสต์ทศวรรษ 1990 แบบจำลองนี้ได้ถูกท้าทายและผ่านการปรับแต่งมาอีกหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ๆ ระบบสุริยะได้เริ่มวิวัฒนาการอย่างมากนับตั้งแต่มันเริ่มกำเนิดขึ้น ดาวบริวารหลายดวงกำเนิดขึ้นจากจานของแก๊สและฝุ่นรอบๆดาวเคราะห์แม่ของมัน ขณะที่มีดาวบริวารบางดวงที่เกิดในบริเวณอื่น แล้วถูกดึงดูดให้กลายเป็นดาวบริวารในภายหลัง นอกจากนั้น เช่น ดวงจันทร์ ซึ่งอาจจะกำเนิดหลังจากการปะทะครั้งใหญ่ การปะทะระหว่างวัตถุสองวัตถุ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเคยเป็นหัวใจสำคัญของการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ ตำแหน่งของดาวเคราะห์มักจะเลื่อนจากตำแหน่งเดิม เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วง การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นมากขณะในช่วงต้นของการวิวัฒนาการ ในช่วงประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะเย็นลง และผิวนอกจะขยายตัวออกไปหลายเท่าจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (กลายเป็นดาวยักษ์แดง) หลังจากนั้นดาวยักษ์แดงก็จะสลายผิวนอกกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และเหลือแกนกลางไว้ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็น ดาวแคระขาว ในอนาคตอันไกลโพ้น ความโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์จะลดลง ดาวเคราะห์บางดวงอาจจะถูกทำลาย บางส่วนอาจจะหลุดออกไปสู่อวกาศระหว่างดวงดาว ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงประมาณหมื่นล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวฤกษ์ที่ไม่มีวัตถุใดโคจรรอบๆเล.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

กีโยม เลอ ฌ็องตี

กีโยม โฌแซ็ฟ อียาแซ็งต์ ฌ็อง-บาติสต์ เลอ ฌ็องตี เดอ ลา กาแลซีแยร์ (Guillaume Joseph Hyacinthe Jean-Baptiste Le Gentil de la Galaisière, 12 กันยายน พ.ศ. 2268 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2335) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เกิดในเมืองกูต็องส์ ตอนแรกเขาสนใจเรื่องศาสนา ต่อมาก็เบนเข็มทิศไปสนใจเรื่องดาราศาสตร์แทน เขาพยายามจะคำนวณระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยใช้หลักการไตรแองกูเลชันวัดเส้นทางโคจรดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์ เลอ ฌ็องตี เดินทางจากฝรั่งเศสหนึ่งปีล่วงหน้าเพื่อสังเกตการโคจรที่อินเดีย แต่เหตุสุดวิสัยทำให้เขายังคงอยู่ในทะเลในวันที่เกิดการโคจรพาดผ่านซึ่งถือเป็นเรื่องเลวร้ายเพราะเครื่องมือที่ใช้วัดต้องอยู่กับที่ แต่ทะเลไม่เป็นเช่นนั้น เขายังไม่เสียใจ ยังคงเดินหน้าไปอินเดียเพื่อรอการพาดผ่านอีกครั้ง ในปี 1769 ซึ่งมีเวลาเตรียมตัวอีก 8 ปี เขาตรวจสอบเครื่องมือทั้งหมดจนพบว่าสมบูรณ์ จนในวันที่ 4 มิถุนายน 1769 อากาศแจ่มใส แต่พอดาวศุกร์เริ่มเคลื่อนเข้ามา เมฆกลับมาบังทำให้เขามองไม่เห็นอะไรเลย ด้วยความผิดหวังอย่างมาก เลอ ฌ็องตีจึงเก็บของเตรียมกลับบ้าน แต่เขากลับติดเชื้อที่ลำไส้ใหญ่ ต้องพักอีกเกือบปี ในที่สุดก็ขึ้นเรือ เรือเกือบล่มเพราะพายุ ในที่สุดก็กลับถึงบ้านหลังจากหายไป 11 ปีโดยไม่ได้อะไรเลย ญาติของเขาประกาศว่าเขาเป็นบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว แล้วก็เอาทรัพย์สินของเขาไป ต่อมาเลอ ฌ็องตี ก็ตายอย่างสงบในปี 1792 นับเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่อุทิศตัวเพื่อวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2268 หมวดหมู่:นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และกีโยม เลอ ฌ็องตี · ดูเพิ่มเติม »

ฝนดาวตก

ฝนดาวตก คือดาวตกหลายดวงที่เหมือนกันออกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้าช่วงเวลาเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้าบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง แต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า "ธารสะเก็ดดาว" หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกัน โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกันของแต่ละปี ทำให้เกิดฝนดาวตก การที่สะเก็ดดาวในธารเดียวกัน เคลื่อนที่ขนานกันและมีอัตราเร็วเท่ากัน ดาวตกที่เราเห็นจึงดูเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันในท้องฟ้า ซึ่งเป็นผลจากทัศนมิติ (perspective) เปรียบเหมือนกับที่เราเห็นรางรถไฟไปบรรจบกันที่ขอบฟ้า เมื่อยืนดูจากกลางราง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฝนดาวตก · ดูเพิ่มเติม »

ฝนดาวตกสิงโต

วาดพายุฝนดาวตกสิงโตครั้งใหญ่ ค.ศ. 1833 วาดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1889 เพื่อบรรจุในหนังสือ ''Bible Readings for the Home Circle'' อ้างอิงจากผู้ประสบเหตุพายุฝนดาวตกคนแรก โจเซฟ ฮาร์วีย์ วากอนเนอร์ ระหว่างทางที่เขาเดินทางจากฟลอริดาไปนิวออร์ลีนส์ ฝนดาวตกสิงโต หรือ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonids) เป็นฝนดาวตกหนาแน่น เกิดจากเศษดาวหาง เทมเพล-ทัตเติล ได้ชื่อว่าฝนดาวตกสิงโตเนื่องจากตำแหน่งของรัศมีของฝนดาวตกอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวสิงโต กระแสของฝนดาวตกจะเริ่มต้นจากบริเวณนี้บนท้องฟ้า สามารถมองเห็นฝนดาวตกนี้ได้ด้วยตาเปล่าในราวเดือนพฤศจิกายนทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่โลกโคจรผ่านกระแสอนุภาคของฝนดาวตกที่เป็นเศษซากเหลืออยู่ของในเส้นทางโคจรของดาวหาง กระแสอนุภาคนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็ก เรียกว่า สะเก็ดดาว ที่แตกตัวออกมาจากดาวหางเมื่อแก๊สแข็งของดาวหางเกิดระเหยขึ้นเนื่องจากความร้อนของดวงอาทิตย์ขณะที่ดาวหางโคจรเข้ามาถึงบริเวณวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ฝนดาวตกสิงโตมีชื่อเสียงมากเนื่องจากเป็นฝนดาวตกที่ค่อนข้างสว่าง สะเก็ดดาวที่หลงเหลืออยู่จากซากดาวหางยังคงล่องลอยอยู่ในแนววงโคจรใกล้เคียงกับวงโคจรเดิมของดาวหาง แต่ถูกรบกวนจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะดาวพฤหัสบดี (อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมใน) และกลายไปเป็นกระแสอนุภาค หางสะเก็ดดาวแต่เดิมจะไม่หนาแน่นและเป็นเพียงฉากหลังของฝนดาวตก (เกิดเพียงไม่กี่ดวงต่อนาที) วันที่เกิดฝนดาวตกคือประมาณวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยอาจเปลี่ยนไปบ้างในแต่ละปี ในทางกลับกันหางสะเก็ดดาวชุดใหม่จะหนาแน่นมากและทำให้เกิดพายุฝนดาวตกเมื่อโลกเคลื่อนผ่านบริเวณเหล่านั้น สามารถนับได้สูงถึงมากกว่า 1000 ดวงต่อชั่วโมง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฝนดาวตกสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศไทย

ประเทศไทยจากทางอากาศ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน:(Aw) ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา(Am) ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน(Af) ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ ภูมิอากาศ ของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ในขณะที่ภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส อากาศจะร้อนที่สุดช่วงกลางเดือนเมษายน หลังจากนั้น ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนและฤดูหนาวตามลำดับ พื้นที่ทั้งประเทศได้รับปริมาณฝนอย่างเพียงพอ ยกเว้นบางพื้นที่เท่านั้น แต่ระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และภูมิอากาศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟเมานาโลอา

ูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในฮาวาย สหรัฐอเมริกา จัดเป็นภูเขาไฟมีพลัง เกิดการระเบิดทุกๆ 3 ปีครึ่ง การระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2527 เมานาโลอาเป็นภาษาฮาวาย แปลว่า Long Mountain เป็นภูเขาไฟที่มีปริมาตรประมาณ 18,000 คิวบิกไมล์ (75,000 km³) เมื่อประกอบกับภูเขาไฟอีก 4 ลูกคือคีเลาเวอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไลรวมเป็นเกาะฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอามีเนื่อที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอาจะระเบิดทุก ๆ 3 ปีครึ่ง ยอดเขาเมานาโลอามีความสูงวัดจากระดับน้ำทะเล 4,170 เมตร เป็นอันดับสองของเกาะฮาวายรองจากยอดเขาเมานาเคอาซึ่งสูงกว่าประมาณ 120 ฟุต (37 เมตร) แต่เมื่อวัดความสูงจากฐานส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในโลกคือจะสูงกว่า 9 กิโลมตรและสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และภูเขาไฟเมานาโลอา · ดูเพิ่มเติม »

มลาอิกะฮ์

มลาอิกะฮ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 68 (ملائكة) เป็นคำพหูพจน์ของ มะลัก (ملك) มีความหมายเดียวกับทูตสวรรค์ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ มีหน้าที่ถวายงานรับใช้แก่อัลลอฮ์บรรจง บินกาซัน. อิสลามสำหรับผู้เริ่มสนใจอิสลาม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม, 2546, หน้า 23-24.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมลาอิกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรังสิต

มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University; ชื่อย่อ: มรส. - RSU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 20 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ยังถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุด ลำดับที่ 1 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 เปิดสอนหลากหลายหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนศิลปินดาราศึกษาอยู่เป็นจำนวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมหาวิทยาลัยรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดารา

ำลองจากศิลปินแสดงให้เห็นมหานวดารา SN 2006gy ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทราจับภาพได้ อยู่ห่างจากโลก 240 ล้านปีแสง มหานวดารา นิพนธ์ ทรายเพชร, อารี สวัสดี และ บุญรักษา สุนทรธรรม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมหานวดารา · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดาราประเภท 1เอ

accessdate.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมหานวดาราประเภท 1เอ · ดูเพิ่มเติม »

มังกรจีน

วาดมังกรจีนโบราณ มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน: เล้ง; ไทยถิ่นเหนือ: ลวง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ, คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่งจะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมังกรจีน · ดูเพิ่มเติม »

มาริเนอร์ 10

ยานมาริเนอร์ 10 ยานอวกาศมาริเนอร์ 10 เป็นยานอวกาศลำเดียวที่ไปสำรวจดาวพุธ และเป็นยานอวกาศลำแรกที่สำรวจดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง ระหว่างทางไปดาวพุธได้ถ่ายภาพเมฆบนดาวศุกร์ หลังจากนั้น ก็ไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้สามารถผ่านใกล้ดาวพุธ 3 ครั้ง ใน ค.ศ. 1974 และ 1975 และบันทึกภาพแล้วส่งกลับมายังโลกได้ 2,700 ภาพ ครอบคลุมพื้นผิว 1 ใน 3 ของดาวพุธ นอกจากนี้ ยังได้ตรวจวัดสนามแม่เหล็ก และอุณหภูมิพื้นผิวของดาวพุธ มาริเนอร์ 10 10 หมวดหมู่:ภารกิจสู่ดาวพุธ หมวดหมู่:ภารกิจอวกาศในปี พ.ศ. 2516 หมวดหมู่:ภารกิจสู่ดาวศุกร์ หมวดหมู่:ดาวเทียมโคจรรอบดวงอาทิตย์ de:Mariner#Mariner 10.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมาริเนอร์ 10 · ดูเพิ่มเติม »

มาตรฐานหยุดนิ่งท้องถิ่น

มาตรฐานหยุดนิ่งท้องถิ่น (Local standard of rest, LSR) ในทางดาราศาสตร์คือพิกัดอ้างอิงที่ยึดตามการเคลื่อนที่เฉลี่ยของมวลสารภายในดาราจักรบริเวณรอบๆดวงอาทิตย์ แต่เส้นทางการเคลื่อนที่ของมวลสารเหล่านี้ไม่ได้เป็นวงกลมพอดี ดวงอาทิตย์เคลื่อนไปตามวงโคจรที่เรียกว่าวงดวงอาทิตย์ (ความเยื้องศูนย์กลาง e.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมาตรฐานหยุดนิ่งท้องถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

มิถุนายน

มิถุนายน เป็นเดือนที่ 6 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมิถุนายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมถุน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกรกฎ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาววัวและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ชื่อในภาษาอังกฤษ "June" มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า จูโน (Juno) ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และมิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

ย่านความถี่ 10 เมตร

นความถี่ 10 เมตร ย่านความถี่นี้ส่วนหนึ่งของวิทยุคลื่นสั้น (Shortwave Radio) (คำว่า 10 เมตร เป็นความยาวคลื่นโดยประมาณของความถี่ 28.000 MHz ถึง 29.700 MHz) ถูกจัดสรรให้กับนักวิทยุสมัครเล่น (สำหรับประเทศไทย อนุญาตให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง สามารถใช้งานได้) โดยมีความถี่ตั้งแต่ 28.000 MHz ถึง 29.700 MHz.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และย่านความถี่ 10 เมตร · ดูเพิ่มเติม »

รหัสวินาศโลก

รหัสวินาศโลก (Knowing) เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์-หายนะ ออกฉายในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552 นำแสดงโดยนิโคลัส เคจ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับจอห์น(นิโคลัส เคจ)ที่ค้นพบรหัสลับตัวเลขซึ่งเขียนทำนายวันที่ ปี และตำแหน่งที่จะเกิดหายนะครั้งใหญ่ขึ้นในรอบ50ปี อาทิ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งคำนายทั้งหมดถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด จอห์นพบว่าเหลือเหตุการณ์หายนะอีกสามเหตุการณ์ ซึ่งเขาต้องหยุดยั้งไม่ให้มันเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันโลกก็กำลังเผชิญกับความร้อนจากดวงอาทิตย์จอห์นพบว่าดวงอาทิตย์จะปล่อยพลังงานมหาศาลซึ่งจะเกิดเปลวไฟเผาโลกทั้งใบและจะไม่มีสิ่งมีชีวิตรอดพ้นจากเหตุการณ์นี้ไปได้ แต่ในคำนายซึ่งยังเขียนไม่จบกลับมีตัวเลขที่บ่งบอกสถานที่ที่จะทำให้เขารอดพ้นจากเหตุการณ์นี้ไปได้เขาจึงต้องพยายามค้นหาตัวเลขที่ยังเขียนไม่จบและหยุดยั้งไม่ให้หายนะทั้งสามเกิดขึ้นให้จงได้ ภาพยนตร์ใช้ทุนสร้างไป 50ล้านดอลลาร์สหรัฐและทำรายได้ทั่วโลกไปกว่า 183ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีฉากหายนะที่น่าจดจำทั้งสามฉาก คือ ฉากเครื่องบินตก ฉากรถไฟใต้ดินตกราง และฉากเปลวไฟจากดวงอาทิตย์เผาโลก ภาพยนตร์ได้รับคำวิจารณ์ทั้งในแง่บวกและล.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรหัสวินาศโลก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า

ในทางดาราศาสตร์ ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า (Celestial coordinate system) คือระบบสำหรับใช้ในตำแหน่งที่ระบุของวัตถุบนท้องฟ้า เช่น ดาวเทียม,ดาวเคราะห์,ดาวฤกษ์,ดาราจักร และอื่น ๆ ระบบพิกัดสามารถระบุได้อยู่ในตำแหน่งปริภูมิสามมิติ หรือเป็นเพียงแค่ทิศทางของวัตถุบนทรงกลมฟ้า ถ้าระยะห่างไม่เป็นที่รู้จักหรือไม่ได้สำคัญ ระบบพิกัดถูกนำมาใช้ทั้งในระบบพิกัดทรงกลม หรือระบบพิกัดคาร์ทีเซียน ระบบพิกัดทรงกลมที่คาดการณ์เกี่ยวกับทรงกลมฟ้า มีความคล้ายคลึงกับพิกัดภูมิศาสตร์ นำมาใช้บนพื้นผิวของโลก สิ่งเหล่านี้แตกต่างในการเลือกใช้ของเครื่องบินขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกจากทรงกลมฟ้าเป็นสองเท่ากับ ทรงกลมไปตามวงกลมใหญ่ ระบบพิกัดมุมฉาก อยู่ในหน่วยที่เหมาะสมเป็นแค่เทียบเท่ากับระบบคาร์ทีเซียนของพิกัดทรงกลม แบบเดียวกับพื้นฐานเครื่องบิน (x,y) และทิศทางหลัก (x-axis) แต่ละระบบพิกัดเป็นชื่อสำหรับการเลือกของเครื่องบินพื้นฐาน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และระบบพิกัดทรงกลมฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัดดาราจักร

ระบบพิกัดดาราจักร เป็นระบบพิกัดท้องฟ้าซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ดวงอาทิตย์และวางแกนตามแนวศูนย์กลางปรากฏของดาราจักรทางช้างเผือก โดยที่ "เส้นศูนย์สูตร" อยู่ที่ระนาบของดาราจักร และมีค่าละติจูด ลองจิจูด ในลักษณะใกล้เคียงกับระบบพิกัดภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และระบบพิกัดดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง

ระบบสุริยะซึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง หรือ (เอกภพ)มีสุริยะเป็นแกน เป็นทฤษฎีที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Heliocentrism มีที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า ήλιος Helios.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบดาวเคราะห์

วาดโดยศิลปินแสดงภาพของระบบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรา เปรียบเทียบกับระบบดาวเคราะห์ของ 55 Cancri ระบบดาวเคราะห์ (Planetary system) คือระบบที่ประกอบด้วยวัตถุหลายชนิดที่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ โคจรไปรอบๆ ดาวฤกษ์ เช่น ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์น้อย สะเก็ดดาว ดาวหาง และ ฝุ่นคอสมิก ดวงอาทิตย์กับระบบดาวเคราะห์ของมันซึ่งมีโลกเป็นดาวสมาชิกอยู่ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ระบบสุร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และระบบดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบโลกเป็นศูนย์กลาง

'''Figure of the heavenly bodies''' — ภาพแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลขอโตเลมีโดย Bartolomeu Velho ใน ค.ศ. 1568 (Bibliotèque National, Paris) ในทางดาราศาสตร์ แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล หรือ (เอกภพ)มีโลกเป็นแกน (Geocentric Model) คือแนวคิดเก่าแก่ที่ว่าเอกภพทั้งมวลโคจรไปรอบโลกของเราที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของจักรวาล เป็นแนวคิดที่มีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยของกรีกโบราณ โดยมีนักปราชญ์ในยุคนั้นทั้งทอเลมีและอริสโตเติลให้การสนับสนุน นักปรัชญากรีกโบราณล้วนแต่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ล้วนแต่เคลื่อนที่เป็นวงกลมไปรอบๆ โลก มีแนวคิดคล้ายๆ กันนี้ปรากฏในประเทศจีนเช่นกัน ความคิดและความเชื่อในแนวนี้ได้โยงไปถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้าซึ่งมีมาอย่างนานและความคิดแนวนี้ได้คร่าชีวิตนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาไปอย่างมากม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และระบบโลกเป็นศูนย์กลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระวี ภาวิไล

ตราจารย์กิตติคุณ ระวี ภาวิไล (17 ตุลาคม พ.ศ. 2468 — 17 มีนาคม พ.ศ. 2560) เป็นราชบัณฑิต อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของไทย นับเป็นบุคคลที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของไทย และมีส่วนให้สังคมไทย โดยเฉพาะเยาวชนให้ความสนใจการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์มากขึ้น สำหรับบุคคลทั่วไป อาจเริ่มรู้จักท่านดีในช่วงการมาเยือนของดาวหางฮัลเลย์ เมื่อต้นปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และระวี ภาวิไล · ดูเพิ่มเติม »

รัศมีดวงอาทิตย์

รัศมีดวงอาทิตย์ เป็นหน่วยวัดระยะทางซึ่งถูกใช้เพื่อแสดงถึงขนาดของดาวฤกษ์ในทางดาราศาสตร์ โดยมีค่าเท่ากับรัศมีในปัจจุบันของดวงอาทิตย์: รัศมีดวงอาทิตย์มีค่าประมาณ 695,500 กิโลเมตร (432,450 ไมล์) หรือประมาณ 110 เท่าของรัศมีโลก หรือราว 10 เท่าของรัศมีโดยเฉลี่ยของดาวพฤหัสบดี ค่าดังกล่าวเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดาว ซึ่งมีผลต่อความรีแป้น 10 ส่วนในล้านส่วน ดูเพิ่มที่ 1 จิกะเมตร สำหรับระยะห่างที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรัศมีดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอิหร่าน

ตารางข้างล่างนี้แสดงภาพธงต่างๆที่ใช้ในประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรายชื่อธงในประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอินเดีย

งในหน้านี้ เป็นธงต่างๆ ที่มีการใช้และเคยใช้ในสาธารณรัฐอินเดี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรายชื่อธงในประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศคาซัคสถาน

ตารางข้างล่างนี้แสดงภาพธงต่างๆที่ใช้ในประเทศคาซัคสถาน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรายชื่อธงในประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบ

ลก ดาวพฤหัสบดี ดาวซิริอุส ดาวอัลดิบาแรน ดาวบีเทลจุส ตารางข้างล่างนี้ คือรายการของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักกันโดยเรียงตามรัศมี หน่วยวัดที่ใช้คือจำนวนเท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ (ประมาณ 695,500 กิโลเมตรหรือ 432,450 ไมล์) ลำดับรายการที่แน่นอนนั้นยังไม่สมบูรณ์ และยังไม่สามารถระบุได้อย่างครบถ้วน เนื่องจาก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรายชื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ทราบ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ

วฤกษ์สว่างที่สุด จัดว่าเป็นดาวฤกษ์สว่างเนื่องจากมีความส่องสว่างมาก และ/หรือ มันอยู่ใกล้โลกมาก รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อดาวฤกษ์เดี่ยว 91 ดวงที่สว่างที่สุดเมื่อมองจากโลก ภายใต้การสังเกตคลื่นที่ตามองเห็น (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50) หากนับความสว่างที่ต่ำลงกว่านี้จะได้รายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก แผนภาพท้องฟ้าโดยมากจัดทำโดยนับรวมดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏถึง +11 ในคลื่นที่ตามองเห็น การสำรวจอย่างต่อเนื่องทำให้เราบันทึกรายชื่อดาวฤกษ์ที่มีความสว่างน้อยลงได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ วัตถุท้องฟ้าที่มิใช่ดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของเราที่มีความสว่างสูงสุด คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50 ได้แก่ ดวงจันทร์ (ความสว่าง -12.9) ดาวศุกร์ (ความสว่าง -4.6) ดาวพฤหัสบดี (ความสว่าง -2.9) ดาวอังคาร (ความสว่าง -2.9) ดาวพุธ (ความสว่าง -1.9) และดาวเสาร์ (ความสว่าง -0.2).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ

การจับเวลาพัลซาร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ราศีสิงห์

ราศีสิงห์ (Leo จากleō แปลว่า "สิงโตตัวผู้") เป็นราศีที่ 5 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีกรกฎกับราศีกันย์ มีสัญลักษณ์เป็นสิงโต ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีสิงห์นั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 22 สิงหาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม ถึง 15 กันยายน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และราศีสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ฤดูกาล (Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฤดูกาล · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ

ูหนาวจากภูเขาไฟ คือการที่โลกมีอุณหภูมิลดลงจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดเถ้าภูเขาไฟ, กรดซัลฟิวริกและน้ำจำนวนมากในชั้นบรรยากาศจนทำให้บดบังแสงจากดวงอาทิตย์และมีการเพิ่มอัลบีโด (ค่าการสะท้องแสง) ของโลกมากขึ้น ความหนาวเย็นของปรากฏการณ์นี้จะกินเวลานานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนก๊าซกำมะถันที่เปลี่ยนรูปเป็นอนุภาคชื่อว่าละอองลอยของกรดซัลฟิวริกซึ่งจะรวมตัวกันที่ชั้นสตราโทสเฟียร์Robock, Alan (2000).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฤดูหนาวจากภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ผลิ

ีสันแสนสวยงามในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) หรือที่เรียกกันว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) มีชื่อไทยว่า วสันตฤดู เป็นฤดูในเขตอบอุ่นและเขตหนาว มีสภาพอากาศปลอดโปร่ง โดยทั่วไป ฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 21 มีนาคม ถึง 20 มิถุนายน ของทุกปี ในขณะที่ในซีกโลกใต้ จะมีระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฤดูใบไม้ผลิ · ดูเพิ่มเติม »

ลม

ต้นไม้ที่กำลังถูกลมพัด ลม เป็นการไหลเวียนของแก๊สในขนาดใหญ่ บนโลก ลมประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของอากาศขนาดใหญ่ ส่วนในอวกาศ ลมสุริยะเป็นการเคลื่อนที่ของแก๊สหรืออนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ผ่านอวกาศ ขณะที่ลมดาวเคราะห์เป็นการปล่อยแก๊ส (outgassing) ของธาตุเคมีเบาจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สู่อวกาศ โดยทั่วไป การจำแนกประเภทของลมใช้ขนาดเชิงพื้นที่, ความเร็ว, ประเภทของแรงที่เป็นสาเหตุ, ภูมิภาคที่เกิด และผลกระทบ ลมที่แรงที่สุดเท่าที่สังเกตพบบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเกิดขึ้นบนดาวเนปจูนและดาวเสาร์ ในทางอุตุนิยมวิทยา ลมมักถูกเรียกชื่อตามพลัง และทิศทางซึ่งลมพัดมาจาก ลมความเร็วสูงที่พัดมาสั้น ๆ เรียก ลมกระโชก (gust) ลมแรงที่มีระยะการเกิดปานกลาง (ประมาณหนึ่งนาที) เรียก ลมพายุฝน (squall) ส่วนลมที่มีระยะการเกิดนานนั้นมีหลายชื่อตามความแรงเฉลี่ย เช่น ลม (breeze), เกล, พายุ, เฮอร์ริเคนและไต้ฝุ่น ลมเกิดขึ้นได้หลายขนาด ตั้งแต่พายุฝนฟ้าคะนองที่ไหลเวียนนานหลายสิบนาที ไปถึงลมท้องถิ่นที่เกิดจากการให้ความร้อนจากผิวดิน และเกิดนานไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึงลมทั่วโลกที่เกิดจากความแตกต่างในการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ระหว่างเขตภูมิอากาศบนโลก สองสาเหตุหลักของวงรอบอากาศขนาดใหญ่เกิดจากการให้ความร้อนที่ต่างกันระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับขั้วโลก และการหมุนของดาวเคราะห์ (ปรากฏการณ์คอริออลิส) ในเขตร้อน วงรอบความร้อนต่ำเหนือภูมิประเทศและที่ราบสูงสามารถก่อให้เกิดวงรอบมรสุมได้ ในพื้นที่ชายฝั่ง วัฏจักรลมบก/ลมทะเลสามารถกำหนดลมท้องถิ่นได้ ในพื้นที่ซึ่งมีภูมิประเทศขึ้น ๆ ลง ๆ ลมภูเขาและหุบเขาสามารถมีอิทธิพลเหนือลมท้องถิ่นได้ ในอารยธรรมมนุษย์ ลมจุดประกายเทพปกรณัม ส่งอิทธิพลต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ขยายพิสัยการขนส่งและการสงคราม และเป็นแหล่งพลังงานแก่งานเชิงกล ไฟฟ้าและสันทนาการ ลมเป็นพลังงานแก่การเดินทางโดยแล่นเรือข้ามมหาสมุทรของโลก บอลลูนลมร้อนใช้ลมเพื่อเดินทางระยะสั้น ๆ และการบินที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใช้ลมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดการบริโภคเชื้อเพลิง พื้นที่ลมเฉือนเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์สภาพบรรยากาศหลายปรากฏการณ์ ซึ่งสามารถนำไปสู่สถานการณ์อันตรายแก่อากาศยานได้ เมื่อลมพัดแรง ต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายได้ Yed vav.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และลม · ดูเพิ่มเติม »

ลมสุริยะ

ลมสุริยะ (solar wind) คือ กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งมีพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-100 eV กระแสอนุภาคเหล่านี้มีอุณหภูมิและความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลา กระแสอนุภาคจะหลุดออกพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีพลังงานจลน์และอุณหภูมิโคโรนาที่สูงมาก ลมสุริยะทำให้เกิดเฮลิโอสเฟียร์ คือฟองอากาศขนาดใหญ่ในมวลสารระหว่างดาวที่ครอบคลุมระบบสุริยะเอาไว้ ลมสุริยะยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ พายุแม่เหล็กโลก (geomagnetic storm) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว, ออโรรา (หรือปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้) และหางพลาสมาของดาวหางที่จะชี้ออกไปจากดวงอาทิตย์เสมอ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และลมสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ลมดาวฤกษ์

ลมดาวฤกษ์ (Stellar wind) คือการไหลของแก๊สทั้งแบบธรรมดาและแบบมีประจุออกจากชั้นบรรยากาศรอบนอกของดาวฤกษ์ ซึ่งถูกขับออกมาโดยคุณลักษณะของขั้วแม่เหล็กที่ไหลออกจากดาวฤกษ์อายุน้อยซึ่งยังไม่ค่อยถูกชน อย่างไรก็ดี การไหลออกของลมดาวฤกษ์ไม่ได้เป็นไปในลักษณะสมมาตรของทรงกลม และดาวฤกษ์ต่างประเภทกันก็จะให้ลมดาวฤกษ์ออกมาที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดาวฤกษ์ที่อยู่ในช่วงท้ายของแถบลำดับหลักซึ่งใกล้จะสิ้นอายุขัยมักปล่อยลมดาวฤกษ์ที่มีมวลมากแต่ค่อนข้างช้า (\dot > 10^ มวลดวงอาทิตย์ต่อปี และ v.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และลมดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกปัดเบลี

ลูกปัดเบลี (Baily's beads) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ดวงจันทร์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์เกือบหมด หรือระหว่างที่กำลังบังกันสนิท จะเกิดแสงสว่างบริเวณขอบของดวงจันทร์ คล้ายสร้อยลูกปัด ซึ่งได้ชื่อจากฟรานซิส เบลี นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ว่าเกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ที่ยังลอดผ่านช่องเขาที่อยู่ตามบริเวณขอบของดวงจันทร์ ปรากฏการณ์ลูกปัดเบลี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และลูกปัดเบลี · ดูเพิ่มเติม »

ลีโต

ทพีลีโต Λητώ; Lētṓ เป็นธิดาแห่งเทพไททัน เซอัส (Coeus) และฟีบี (Phoebe) ในเทพปกรณัมกรีก เทพซูสได้นางเป็นชายาอีกองค์ เมื่อเทพีเฮรารู้เข้าจึงกริ้วมาก จึงไล่ลีโตไปจากโอลิมปัส และยังสาปแช่งว่า ใครก็ตามที่ให้ที่พักแก่นาง ขอให้ประสบความอดอยาก จนถึงแก่ความตาย แล้วยังให้งูยักษ์ไพธอน ไล่ทำร้ายนางอีกด้วย แต่เนื่องด้วยว่า เทพีลีโตเป็นเทพี จึงไม่ตาย แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับบาดเจ็บ เทพซุสที่เฝ้ามองอยู่เกิดความสงสารมาก จึงให้เทพโพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล ช่วยเหลือ โพไซดอนพานางไปยังเกาะดีลอส ซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของโพไซดอน นางประทับอยู่ที่เกาะนี้จนให้กำเนิดบุตรฝาแฝด คือ เทพอพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์ และเทพีฝาแฝดผู้พี่ เทพีอาร์เทมิส เทพีแห่งดวงจันทร์ ซึ่งต่อมาเทพอพอลโล ได้กำจัดงูไพธอนจนถึงแก่ความตาย จนมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และลีโต · ดูเพิ่มเติม »

วอยเอจเจอร์ 1

วอยเอจเจอร์ 1 วอยเอเจอร์ 1 (Voyager 1) เป็นยานสำรวจอวกาศที่นาซาปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวอยเอจเจอร์ 1 · ดูเพิ่มเติม »

วัตถุพ้นดาวเนปจูน

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object; TNO) คือวัตถุในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะที่ไกลกว่าวงโคจรเฉลี่ยของดาวเนปจูน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แถบไคเปอร์ แถบจานกระจาย และเมฆออร์ต วัตถุพ้นดาวเนปจูนชิ้นแรกที่มีการค้นพบ คือ ดาวพลูโต เมื่อปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวัตถุพ้นดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวัน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของดาวฤกษ์

้นเวลาแสดงอายุของดวงอาทิตย์ วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เป็นกระบวนการที่ดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในตามลำดับไปในช่วงอายุของมัน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามขนาดของมวลของดาวฤกษ์นั้นๆ อายุของดาวฤกษ์มีตั้งแต่ไม่กี่ล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลมากๆ) ไปจนถึงหลายล้านล้านปี (สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย) ซึ่งอาจจะมากกว่าอายุของเอกภพเสียอีก การศึกษาวิวัฒนาการของดาวฤกษ์มิได้ทำเพียงการเฝ้าสังเกตดาวดวงหนึ่งดวงใด ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้ามากจนยากจะตรวจจับได้แม้เวลาจะผ่านไปหลายศตวรรษ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำความเข้าใจกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์โดยการสังเกตการณ์ดาวจำนวนมาก โดยที่แต่ละดวงอยู่ที่ช่วงอายุแตกต่างกัน แล้วทำการจำลองโครงสร้างของดาวออกมาโดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ช่ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิษุวัต

ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ) วิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้นกลางวันจะเท่ากับกลางคืน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวิษุวัต · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาดาวเคราะห์

วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ (Planetary science; หรือ planetology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ใกล้เคียงกับดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์ ระบบดาวเคราะห์ และระบบสุริยะ เป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์แบบย้อนกลับ (diverse sciences) และอาจนับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกก็ได้ แนวทางในการศึกษาวิจัยจะค่อนไปในทางที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ การสำรวจอวกาศ (โดยเฉพาะภารกิจที่ใช้ยานสำรวจอัตโนมัติหรือหุ่นสำรวจ) โดยมีการทำการทดสอบวัตถุท้องฟ้าเช่น หิน หรือดาวตกที่เก็บมาได้ ธรณีดาราศาสตร์ถือเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งที่สำคัญและเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์อย่างมาก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวิทยาดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

วี 838 ยูนิคอร์น

วี 838 ยูนิคอร์น (V838 Monocerotis) เป็นดาวแปรแสงสีแดงในบริเวณกลุ่มดาวยูนิคอร์น อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราประมาณ 20,000 ปีแสง ดาวนี้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเมื่อแรกเชื่อว่าเป็นการระเบิดแบบโนวาปกติ แต่ไม่นานนักดาราศาสตร์ก็พบว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง สาเหตุของการระเบิดครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มีหลายทฤษฎีออกมาพยายามชี้แจง รวมถึงทฤษฎีหนึ่งคือการระเบิดที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหลังจากดาวฤกษ์สิ้นอายุขัยและเกิดรวมเข้ากับดาวคู่หรือดาวเคราะห์อื่น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวี 838 ยูนิคอร์น · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมละติจูด

วงกลมละติจูด (Circle of Latitude) หรือ เส้นขนาน (Parallel) เป็นเส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน วงกลมละติจูดวัดจากการหมุนรอบตัวของโลก โดยจะตั้งฉากกับแกนหมุนเสมอ และมีวงกลมละติจูดพิเศษ 4 เส้นที่นำมาจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงกลมละติจูดที่สำคัญมี 5 เส้นคือ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวงกลมละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมอาร์กติก

แผนที่ของอาร์กติก แสดงให้เห็นวงกลมอาร์กติก (เส้นประสีน้ำเงิน) เส้นสีแดงคือเส้นที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณภายในเส้นนั้นมีอุณหภูมิมีค่าเท่ากัน วงกลมอาร์กติก (Arctic Circle) คือวงกลมละติจูดที่อยู่เหนือที่สุด ในบรรดา 5 วงกลมละติจูดหลักบนแผนที่โลก พื้นในในบริเวณนี้เรียกว่าอาร์กติก ด้านเหนือสุดของวงกลม มีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือของฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทำให้สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางคืน และมีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางวัน ปรากฏการณ์เกิดขึ้นที่ขั้วโลกใต้เช่นกัน ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติก ไม่ใช่ตำแหน่งที่คงที่ จนถึงวันที่ ตำแหน่งอยู่ที่ เหนือเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับการเอียงของแกนโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ตลอด 40,000 ปีที่ผ่านมานี้ เป็นผลมาจากแรงกระทำจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำให้ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกไม่คงที่ ผลที่ตามมาคือ ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกขณะนี้ขยับขึ้นไปทางเหนือ ปีละ 15 เมตร หมวดหมู่:เส้นละติจูด.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวงกลมอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

วงโคจร

นีอวกาศนานาชาติ (The International Space Station) กำลังโคจรอยู่เหนือโลก ดาวเทียมโคจรรอบโลกจะมีความเร็วแนวเส้นสัมผัสและความเร่งสู่ภายใน เทหวัตถุสองอย่างที่มีความแตกต่างกันของมวลโคจร แบบ barycenter ที่พบได้บ่อย ๆ ขนาดสัมพัทธ์และประเภทของวงโคจรมีลักษณะที่คล้ายกับระบบดาวพลูโต-แครัน (Pluto–Charon system) ในฟิสิกส์, วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

วงโคโรนา

วงโคโรนา ก่อให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานของโคโรนาชั้นล่างกับเขตเปลี่ยนผ่านของดวงอาทิตย์ ภาพวงที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนและสวยงามนี้เป็นผลลัพธ์โดยตรงจากการบิดเบี้ยวของฟลักซ์แม่เหล็กของดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นภายในตัวดวงอาทิตย์ จำนวนการเกิดวงโคโรนามีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับวัฏจักรสุริยะ ด้วยเหตุนี้จึงมักพบวงโคโรนาพร้อมกับจุดมืดดวงอาทิตย์ที่พื้นด้านล่าง ฟลักซ์แม่เหล็กขาขึ้นพุ่งผลักผ่านโฟโตสเฟียร์ และปล่อยพลาสมาที่เย็นกว่าลงไปเบื้องล่าง ความแตกต่างระหว่างโฟโตสเฟียร์กับส่วนที่อยู่ภายในดวงอาทิตย์นั่นเองที่ทำให้เกิดจุดมืดดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และวงโคโรนา · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์

ัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนเทหวัตถุต่างๆ โครงสร้าง รวมถึงปรากฏการณ์ในทางดาราศาสตร์ รายการสัญลักษณ์ที่แสดงไว้ในที่นี้เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในหมู่นักวิชาการและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น สัญลักษณ์บางตัวเหมือนกันกับสัญลักษณ์ทางโหราศาสตร์ตะวันตก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สายใยอาหาร

สายใยอาหารน้ำจืดและบนบก สายใยอาหาร หรือวัฏจักรอาหาร บรรยายความสัมพันธ์แบบการกินกันในชุมชนนิเวศวิทยา นักนิเวศวิทยาสามารถรวบรวมรูปแบบชีวิตทุกชนิดอย่างกว้างขวางเป็นหนึ่งในสองหมวดหมู่ที่เรียกว่า ระดับหรือลำดับขั้นการกินอาหาร ได้แก่) ออโตทรอพ และ 2) เฮเทโรทรอพ ในการบำรุงเลี้ยงร่างกาย การเจริญเติบโต การพัฒนา และเพื่อสืบพันธุ์ของพวกออโตทรอพผลิตอินทรีย์สารจากอนินทรีย์สาร รวมถึงทั้งแร่ธาตุและแก๊ส เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งมาจากดวงอาทิตย์เป็นหลักและส่วนใหญ่โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง แม้ปริมาณน้อยมากมาจากปล่องไฮโดรเทอร์มอลและน้ำพุร้อน มีการไล่ระหว่างระดับการกินอาหารตั้งแต่ออโตทรอพสมบูรณ์ซึ่งมีแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเพียงแหล่งเดียว ไปจนถึงมิกโซทรอพ (เช่น พืชกินสัตว์) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตออโตทรอพที่ได้รับอินทรีย์สารบางส่วนจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากบรรยากาศ และเฮเทโรทรอพสมบูรณ์ซึ่งได้รับอินทรีย์สารโดยการกินออโตทรอพและเฮเทโรทรอพอื่น สายใยอาหารเป็นการแสดงหลากหลายวิธีการกินอย่างง่าย ซึ่งเชื่อมโยงระบบนิเวศเข้าด้วยกันเป็นระบบการแลกเปลี่ยนรวม มีความสัมพันธ์การกินกันหลายประเภทซึ่งสามารถแบ่งได้อย่างหยาบ ๆ เป็นการกินพืช กินสัตว์ กินซาก และภาวะปรสิต อินทรีย์สารบางอย่างที่กินโดยเฮเทโรทรอพ เช่น น้ำตาล ให้พลังงาน ออโตทรอพและเฮเทโรทรอพมีทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นไปจนถึงหนักหลายตัน จากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินไปจนถึงต้นไม้ยักษ์ และจากไวรัสไปจนถึงวาฬสีน้ำเงิน ชาลส์ เอลตันบุกเบิกแนวคิดของสายใยอาหาร ห่วงโซ่อาหาร และขนาดอาหารในหนังสือคลาสสิก "นิเวศวิทยาสัตว์" ใน ค.ศ. 1927 คำว่า "วัฏจักรอาหาร" ของเอลตันถูกแทนที่ด้วยคำว่า "สายใยอาหาร" ในหนังสือนิเวศวิทยาสมัยหลัง เอลตันแบ่งสปีชีส์ออกเป็นหมู่ทำหน้าที่ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับงานคลาสสิกและรากฐานสำคัญของเรย์มอนด์ ลินเดมัน ใน ค.ศ. 1942 ว่าด้วยไดนามิกส์ระดับการกิน ลินเดมันเน้นบทบาทสำคัญของสิ่งมีชีวิตผู้ย่อยสลายในระบบการจำแนกระดับการกิน ความคิดของสายใยอาหารนั้นมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในงานเขียนของชาร์ลส์ ดาร์วิน และระบบคำศัพท์ของเขา ตลอดจนในการอ้างถึงพฤติกรรมการย่อยสลายของไส้เดือนดิน เขาพูดเกี่ยวกับ "การเคลื่อนไหวอย่างดำเนินไปของอนุภาคโลก" แม้ก่อนหน้านั้น ใน ค.ศ. 1768 จอห์น บรุคเนอร์ อธิบายธรรมชาติว่าเป็น "สายในชีวิตสืบเนื่องกันหนึ่งเดียว" สายใยอาหารเป็นตัวแทนระบบนิเวศจริงที่จำกัด เพราะจำเป็นต้องจัดรวบรวมสปีชีส์ทั้งหลายเข้าเป็นสปีชีส์ตามลำดับการกิน ซึ่งเป็นหมู่ทำหน้าที่ของสปีชีส์ซึ่งมีผู้ล่าและเหยื่ออย่างเดียวกันในสายใยอาหาร นักนิเวศวิทยาใช้การทำให้เข้าใจง่ายนี้ในแบบจำลองเชิงปริมาณ หรือเชิงคณิตศาสตร์ ของไดมานิกส์ระดับการกิน ด้วยการใช้แบบจำลองเหล่านี้ นักนิเวศวิทยาสามารถวัดและทดสอบรูปแบบทั่วไปในโครงสร้างของเครือข่ายสายใยอาหารแท้จริงได้ นักนิเวศวิทยาได้ระบุคุณสมบัติไม่สุ่มในโครงสร้างภูมิลักษณ์ของสายใยอาหาร ตัวอย่างที่ตีพิมพ์ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์อภิมานมีคุณภาพกับการละเลยหลากหลาย อย่างไรก็ดี จำนวนการศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสายใยชุมชนนั้นกำลังปรากฏขึ้น และการกระทำทางคณิตศาสตร์ต่อสายใยอาหารโดยใช้ทฤษฎีเครือข่ายมีรูปแบบพิสูจน์ได้ร่วมกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กฎสเกลลิง ทำนายความสัมพันธ์ระหว่างทอพอโลยีของความเชื่อมโยงผู้ล่า-เหยื่อในสายใยอาหารและความอุดมของสปีชีส์ หมวดหมู่:นิเวศวิทยา.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสายใยอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสิ่งมีชีวิตนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

สุพรหมัณยัน จันทรเศขร

รหมัณยัน จันทรเศขร หรือ “จันทรา” (Subrahmanyan Chandrasekhar) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1983 พร้อมกับวิลเลียม อัลเฟรด ฟาวเลอร์ จากผลงานร่วมกันว่าด้วยโครงสร้างเชิงทฤษฎีและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ สุพรหมัณยัน จันทรเศขรเป็นหลานของจันทรเศขร เวงกฎะ รามัน (นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ค.ศ. 1930) จันทรเศขรผู้นี้นอกจากมีความสามารถอย่างหาตัวจับยากในด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีความรู้อันลุ่มลึกและกว้างขวางในด้านศิลปะและวรรณคดีด้วย ในด้านวิทยาศาสตร์นั้นเขามีความสามารถอันผสมผสานระหว่างความเข้าใจพื้นฐานด้านแนวคิดทางฟิสิกส์ และความสามารถด้านคณิตศาสตร์เชิงปรากฏการณ์ด้ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุพรหมัณยัน จันทรเศขร · ดูเพิ่มเติม »

สุริยวิถี

ริยวิถี (Ecliptic) คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5° เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ในระยะเวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมฟ้า สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัตและจุดศารทวิษุวัต เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก) จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน หากดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยวิถี · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา

ริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2542 สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 1 กันยายน พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ริยุปราคาบางส่วนจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 สิงหาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันที่ 13–15 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2580

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2580 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ริยุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นในวันที่ 13 กันยายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 13 กันยายน พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2574

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2574 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ริยุปราคาบางส่วนจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 15 มกราคม พ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411

ริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ริยุปราคาเต็มดวง จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 2 กันยายน พ.ศ. 2578

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 2 กันยายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 2 กันยายน พ.ศ. 2578 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2577

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2577 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 20 เมษายน พ.ศ. 2566

ริยุปราคาผสมจะเกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 20 เมษายน พ.ศ. 2566 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในวันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2571

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2571 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ริยุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นในวันที่ 23 ตุลาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2573

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2573 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 30 มีนาคม พ.ศ. 2576

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 30 มีนาคม พ.ศ. 2576 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 30 เมษายน พ.ศ. 2565

ริยุปราคาบางส่วนจะเกิดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 30 เมษายน พ.ศ. 2565 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 6 มกราคม พ.ศ. 2562

ริยุปราคาบางส่วนจะเกิดขึ้นในวันที่ 6 มกราคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 6 มกราคม พ.ศ. 2562 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567

ริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดในวันที่ 8 เมษายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

กิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 9 มีนาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคาบางส่วน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ริยุปราคาบางส่วนจะเกิดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคาบางส่วน 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคาบนดวงจันทร์

ในทางดาราศาสตร์ สุริยุปราคาบนดวงจันทร์ เกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์แม่ (โลก) ผ่านหน้าดวงอาทิตย์และบดบังแสง โดยเมื่อสังเกตจากโลกจะเห็นเป็นจันทรุปร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคาบนดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สุริยุปราคาบนดาวอังคาร

วงจันทร์บริวารของดาวอังคาร คือ โฟบอสและดีมอส มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ ทำให้ขนาดของสุริยคราสบนดาวเคราะห์ลดลง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสุริยุปราคาบนดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีประจำวันในประเทศไทย

ีประจำวัน เป็นวัฒนธรรมความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากตำนานฮินดู และเป็นกฎเกณฑ์ของตำราโหราศาสตร์ที่ได้กำหนดสีประจำแต่ละวัน สีแต่ละสีได้กำหนดมาจากสีของเทพที่ปกป้องวันนั้น ๆ หรือ เทวดานพเคราะห.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสีประจำวันในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สปิคูล

ปิคูล (Spicule) ในการศึกษาด้านฟิสิกส์สุริยะ หมายถึง ลำพลังงานในชั้นโครโมสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 500 กิโลเมตร เคลื่อนที่ขึ้นสูงสู่ชั้นโฟโตสเฟียร์ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตร/วินาที ผู้ค้นพบคือคุณพ่อแองเจโล เซคชี แห่งหอดูดาววาติกัน กรุงโรม เมื่อปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสปิคูล · ดูเพิ่มเติม »

สนธยา

มสนธยา สนธยา หรือ โพล้เพล้(Twilight) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือหลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ที่ยังกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศชั้นบน ได้ส่องมายังชั้นบรรยากาศชั้นล่างและพื้นผิวโลก ทำให้ขณะนั้นเห็นท้องฟ้าบริเวณใกล้กับขอบฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม หรือแดง ซึ่งแสงลักษณะนี้ในภาษาไทยเรียกว่า ผีตากผ้าอ้อม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และสนธยา · ดูเพิ่มเติม »

หมีขาว

หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (polar bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และหมีขาว · ดูเพิ่มเติม »

หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์

ในยุคโบราณ มีการตั้งชื่อให้แก่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวที่สว่างพอจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียงไม่กี่ร้อยดวงเท่านั้น ตลอดช่วงหลายร้อยปีหลังมานี้ จำนวนของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เรารู้จักเพิ่มขึ้นอย่างมากจากไม่กี่ร้อยดวงกลายเป็นจำนวนนับพันล้านดวง และยังมีการค้นพบเพิ่มเติมตลอดเวลาทุกปี นักดาราศาสตร์จึงจำเป็นต้องกำหนดระบบการตั้งชื่อเพื่อบ่งชี้ถึงวัตถุทางดาราศาสตร์เหล่านี้ ในเวลาเดียวกันก็ให้ชื่อแก่วัตถุซึ่งน่าสนใจที่สุดโดยสัมพันธ์กับคุณลักษณะของวัตถุเหล่านั้น สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) คือหน่วยงานอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ว่าเป็นองค์กรทำหน้าที่กำหนดชื่อแก่วัตถุทางดาราศาสตร์ ซึ่งองค์กรได้สร้างระบบการกำหนดชื่อสำหรับวัตถุทางดาราศาสตร์ประเภทต่างๆ กันอยู่หลายร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และหลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำ

มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และหลุมดำ · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำมวลยวดยิ่ง

''ภาพบน'': ภาพร่างแสดงเหตุการณ์ที่หลุมดำมวลยวดยิ่งฉีกดาวฤกษ์ออกป็นเสี่ยง ''ภาพล่าง'': การคาดคะเนเหตุการณ์ที่หลุมดำมวลยวดยิ่งดูดกลืนดาวฤกษ์ในดาราจักร RXJ 1242-11 ''ด้านซ้าย'' คือภาพถ่ายรังสีเอกซ์ ''ด้านขวา'' คือภาพถ่ายในแสงที่ตามองเห็น หลุมดำมวลยวดยิ่ง (supermassive black hole: SMBH) คือหลุมดำที่มีมวลมากในระดับ ถึง เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรส่วนใหญ่รวมทั้งทางช้างเผือก (แต่ไม่ใช่ทุกดาราจักร) มักมีหลุมดำมวลยวดยิ่งอยู่ที่บริเวณศูนย์กลาง หลุมดำมวลยวดยิ่งมีคุณลักษณะสำคัญที่สามารถแบ่งแยกจากหลุมดำธรรมดาได้คือ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และหลุมดำมวลยวดยิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยที่ยอมรับให้ใช้แก่ระบบเอสไอ

มีหน่วยวัดบางหน่วยซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (ระบบเอสไอ) แต่ได้รับการยอมรับให้ใช้แก่ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นพหุคูณหรือพหุคูณย่อยของหน่วยเอสไอ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่า หรือสะดวกกว่าสำหรับวิทยาศาสตร์บาง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และหน่วยที่ยอมรับให้ใช้แก่ระบบเอสไอ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน

ห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน คือหนึ่งในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นชนิดหนึ่งในจำนวนสองรูปแบบ ซึ่งดาวฤกษ์ใช้ในการแปลงไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ปฏิกิริยาอีกชนิดหนึ่งคือวงจรซีเอ็นโอ (วงจรปฏิกิริยาคาร์บอน-ไนโตรเจน-ออกซิเจน) สำหรับห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอนนั้นจะเกิดในดาวฤกษ์ที่มีขนาดประมาณดวงอาทิตย์หรือเล็กกว่า โดยปกติ ฟิวชั่นของโปรตอน-โปรตอน เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิ (หรือพลังงานจลน์) ของโปรตอนนั้นสูงมากจนสามารถเอาชนะแรงไฟฟ้าสถิตร่วมหรือ แรงผลักเนื่องจากประจุไฟฟ้าบวก (Coulomb repulsion) อาร์เธอร์ สแตนลีย์ เอ็ดดิงตัน เป็นผู้เสนอทฤษฎีนี้เมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ว่า ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอนเป็นหลักการพื้นฐานซึ่งดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์อื่นๆ ใช้ในการเผาผลาญตนเอง ในยุคนั้นเชื่อกันว่าอุณหภูมิของดวงอาทิตย์ต่ำเกินไปที่จะฝ่ากำแพงคูลอมบ์ (Coulomb barrier) ได้ แต่หลังจากวิวัฒนาการด้านกลศาสตร์ควอนตัม จึงมีการค้นพบอุโมงค์ควอนตัมของฟังก์ชันคลื่นของโปรตอนซึ่งทำให้สามารถเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นได้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์กันไว้ตามหลักของฟิสิกส์ดั้งเดิม อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนักว่า ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน ดำเนินไปอย่างไร เนื่องจากผลผลิตจากปฏิกิริยาที่เห็นชัดที่สุด คือฮีเลียม-2 นั้นเป็นสสารที่ไม่เสถียรและจะแยกตัวออกกลายไปเป็นคู่โปรตอนตามเดิม ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

ออโรรา (ดาราศาสตร์)

แสงออโรราบนท้องฟ้า ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และออโรรา (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับกบ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (พื้นที่)

หมวดหมู่:พื้นที่ หมวดหมู่:อันดับของขนาด (พื้นที่).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับของขนาด (พื้นที่) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (มวล)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับของขนาด (มวล) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (อุณหภูมิ)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับของขนาด (อุณหภูมิ) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (จำนวน)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับของขนาด (จำนวน) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความยาว)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับของขนาด (ความยาว) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความหนาแน่น)

Skylab ได้วัดความหนาแน่นของดวงอาทิตย์หลายค่า (ค่าสูงสุด: 10−18 to 10−6กิโลกรัม⋅เซนติเมตร−3, มีค่าเทียบเท่ากับ 10−15 to 10−3 กิโลกรัม⋅เมตร−3) ณ อุณหภูมิที่แตกต่างกันบนพื้นผิวของมัน หมวดหมู่:ความหนาแน่น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับของขนาด (ความหนาแน่น) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับของขนาด (ความเร็ว)

หมวดหมู่:ปริมาณทางกายภาพ หมวดหมู่:อันดับของขน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับของขนาด (ความเร็ว) · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์

อาร์เธอร์ บรูซ แมคโดนัลด์ (Arthur Bruce McDonald) เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอาร์เธอร์ แมคโดนัลด์ · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์

ทลเลอร์–อูลาม (Teller–Ulam configuration)อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermonuclear weapon) หรือ ระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb)เรียกภาษาปากว่า เอชบอมบ์ เป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้พลังงานฟิวชั่นเป็นหลักซึ่งต้องใช้ความร้อนถึงร้อยล้านองศาจึงเป็นที่มาของชื่อเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันในขั้นตอนแรก เพื่อจุดระเบิด ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นในขั้นตอนที่สอง ผลลัพธ์ทำให้อำนาจระเบิดเพิ่มขึ้นมหาศาลเมื่อเทียบกับอาวุธฟิชชันแบบเก่าที่ใช้แค่ขั้นตอนเดียวอย่างระเบิดปรมาณู(atomic bomb) เนื่องจากการ ฟิวชั่น คือการใช้การรวมตัวของธาตุเบาไปเป็นธาตุที่หนักขึ้น ในที่นี้ระเบิดจะใช้ไฮโดรเจน(ดิวเทอเรียมหลอมรวมกับทริเทียม)เป็นปฏิกิริยาแบบเดียวกับที่เกิดในแกนกลางดวงอาทิตย์ซึ่งต้องใช้ความกดดันสูงมากกับอุณหภูมินับสิบล้านองศาเพื่อให้เกิดปฏิกิริยานี้แต่เนื่องจากบนโลกมีความหนาแน่นน้อยกว่าแกนดวงอาทิตย์มากจึงทำให้ต้องใช้อุณหภูมิมากกว่าแกนกลางของดวงอาทิตย์โดยใช้ถึงหลักร้อยล้านองศาเพื่อให้อะตอมไฮโดรเจนรวมตัวกัน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ระเบิดนิวเคลียร์แบบฟิชชัน(Atomic bomb)ในอาวุธนี้ก่อนเพื่อกระตุ้นให้อุณหภูมิถึงขั้นที่จะเกิดการฟิวชั่นได้ ซึ่งเกิดในอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่มีอาวุธชนิดนี้ โดยทำการทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ลูกแรกของโลกในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาทิตย์

อาทิตย์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแห่งกาลเวลา

อาณาจักรแห่งกาลเวลา (The Keys to the Kingdom) เป็นนวนิยายแฟนตาซีชุดหนึ่งของ การ์ธ นิกซ์ (Garth Nix) นักเขียนชาวออสเตรเลีย ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบของหนังสือปกอ่อน เรื่องราวในเรื่องเกิดขึ้นในบ้านและอาณาจักรชั้นที่สอง ซึ่งรวมไปถึงโลกของเราด้วย โดยมีตัวเอกดำเนินเรื่อง 3 ตัว คือ อาเธอร์ เพนฮาลิกอน, ซูซี่ ฟ้าเทอร์คอยซ์ และลีฟ เรื่องราวภายในเรื่องมีความเกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางศาสนาและเทวตำนานโบราณ รวมไปถึงเลข 7 อีกด้วย ในประเทศไทย ลิขสิทธิ์เป็นของสำนักพิมพ์แจ่มใส แปลเป็นภาษาไทยโดย แสงตะวัน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เอ็นเธอร์บุ๊คส์ อาณาจักรแห่งกาลเวลาเป็นวรรณกรรมเล่มเดียวของการ์ธ นิกซ์ ที่ถูกซื้อลิขสิทธิ์และได้รับการแปลเป็นภาษาไท.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอาณาจักรแห่งกาลเวลา · ดูเพิ่มเติม »

อิคะเริส

ภาพวาดโบราณ อิคะเริสถูกอพอลโลแผดแสงอาทิตย์จนปีกขี้ผึ้งละลาย อิคะเริส หรือ ไอคะเริส (Icarus, /ɪkərəs/ หรือ /aɪkərəs/; ภาษากรีก Ἴκαρος, ภาษาลาติน Íkaros) อิคะเริสเป็นบุตรชายของเดลาลัส (Daedalus) 2 พ่อลูกคู่นี้ถูกจองจำไว้ในหอคอยบนเกาะครีต สถานที่เดียวกับมิโนทอร์ โดยกษัตริย์ไมนอส ทั้งคู่มองจากหน้าต่างออกไปเห็นทะเลสีฟ้าครามและฝูงนกนางนวลที่บินอย่างอิสระเป็นเวลานานทุกวัน จึงโหยหาอิสรภาพและต้องการออกไปจากที่คุมขังนี้ วันหนึ่ง อิคะเริสสามารถฆ่านกนางนวลตัวหนึ่งได้ และนำมาให้เดลาลัสดู เดลาลัสจึงเกิดความคิดที่จะหนีได้ โดยการถอนขนปีกนกออกและเย็บขึ้นมาใหม่ด้วยขี้ผึ้ง แล้วติดเข้าที่แขนของตน จากนั้นจึงได้ลองกระพือปีกและพบว่า มันสามารถทำให้ร่างของตนบินได้ อิคะเริสจึงเรียกร้องให้เดลารัสบิดาตนสร้างปีกแบบนี้ขึ้นมาใหม่อีกคู่ เดลารัสได้ย้ำเตือนอิคะเริสว่า ปีกใหม่นี้ไม่สามารถบินได้สูง เมื่อสร้างเสร็จแล้ว อิคะเริสดีใจจนลืมตัว ใช้ปีกขี้ผึ้งคู่นี้บินสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ อพอลโล สุริยเทพซึ่งเฝ้ามองอยู่ เห็นมนุษย์อย่างอิคะเริสบินสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกือบถึงดวงอาทิตย์ อพอลโลพิโรธด้วยเห็นว่า เป็นการกระทำของมนุษย์ที่ท้าทายต่อเทพเจ้า จึงเร่งแสงของดวงอาทิตย์ให้ร้อนขึ้น ๆ จนกระทั่งปีกขี้ผึ้งของอิคะเริสละลาย และอิคะเริสก็ตกลงมาจมน้ำตาย หมวดหมู่:เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุจากการตก หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอิคะเริส · ดูเพิ่มเติม »

อิปไซลอนแอนดรอมิดา

อิปไซลอนแอนดรอมิดา (Upsilon Andromedae; υ Andromedae / υ And) คือดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 44 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ดาวฤกษ์เอกคือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา เอ เป็นดาวแคระเหลือง-ขาว ซึ่งมีอายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์รองในระบบคือ อิปไซลอนแอนดรอมิดา บี เป็นดาวแคระแดง อยู่ในวงโคจรที่กว้างกว่า ณ ตอนนี้ (พ.ศ. 2553) มีดาวเคราะห์นอกระบบ 4 ดวงที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์เอกของระบบนี้ ดาวเคราะห์ทั้งสี่มีลักษณะเป็นดาวเคราะห์คล้ายดาวพฤหัสบดี อิปไซลอนแอนดรอมิดาเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกในแถบลำดับหลักที่มีการค้นพบระบบดาวเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกหลายดวง และเป็นดวงแรกในหมู่ดาวฤกษ์ประเภทระบบดาวหลายดวงซึ่งมีสมาชิกในระบบดาวเคราะห์หลายดวง อิปไซลอนแอนดรอมิดาเป็นดาวฤกษ์ในลำดับที่ 21 ในจำนวน 100 เป้าหมายแรกของโครงการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก (Terrestrial Planet Finder ขององค์การนาซ่า ซึ่งต้องเลื่อนระยะเวลาโครงการออกไปเนื่องจากประสบปัญหาด้านการเงิน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอิปไซลอนแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

อุปมาเทียม

อุปมาเทียม (false analogy) เป็นเหตุผลวิบัติโดยอุปมาที่ผิดพล.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอุปมาเทียม · ดูเพิ่มเติม »

อุปราคา

right อุปราคา คือ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าหนึ่ง เช่น ดาวเคราะห์หรือดาวบริวารมาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสง (เช่น ดวงอาทิตย์) กับอีกวัตถุหนึ่ง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

อีกาสามขา

อีกาสามขา ในสัญลักษณ์ฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นในปัจจุบัน อีกาสามขา (Three-legged crow; 八咫烏; โรมะจิ: Yatagarasu; ฮันกึล: 삼족오; ฮันจา: 三足烏; 陽烏; พินอิน: yángwū) เป็นนกที่ปรากฏในปกรณัมของชนชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ทั้งญี่ปุ่น, จีน และเกาหลี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอีกาสามขา · ดูเพิ่มเติม »

องศาโรเมอร์

องศาโรเมอร์ (ย่อ:°Ré, °Re, °R) คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นโดย เรอเน่ อังตวน เฟโชต์ เดอ โรเมอร์ (René Antoine Ferchault de Réaumur) นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1731 โดยกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศาโรเมอร์ และจุดเดือดของน้ำอยู่ที่ 80 องศาโรเมอร์ ดังนั้นช่วงอุณหภูมิ 1 องศาโรเมอร์จะเท่ากับ 1.25 องศาเซลเซียสหรือเคลวิน เทอร์โมมิเตอร์ของโรเมอร์นั้นจะบรรจุแอลกอฮอล์เจือจางและมีหลักการคือกำหนดให้อุณหภูมิจุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศา และขยายตัวไปตามท่อเป็นทีละองศาซึ่งคือเศษหนึ่งส่วนพันของปริมาตรที่บรรจุไว้ในกระเปาะของหลอด ณ จุดศูนย์องศา เขาเสนอว่าคุณภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้นั้นจะต้องเริ่มเดือดที่ 80 องศาโรเมอร์ นั่นคือ เมื่อปริมาตรแอลกอฮอล์ได้ขยายตัวไป 8% โรเมอร์เลือกแอลกอฮอล์แทนที่จะใช้ปรอทเพราะขณะที่ขยายตัวจะเห็นได้ชัดเจนกว่า แต่ปัญหาที่พบคือ เทอร์โมมิเตอร์รุ่นดั้งเดิมของเขานั้นดูเทอะทะ และจุดเดือดที่ต่ำของแอลกอฮอล์ก็ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการใช้งานจริงเท่าใดนัก ผู้ผลิตอุปกรณ์มักจะหันไปเลือกใช้ของเหลวชนิดอื่น แล้วใช้อุณหภูมิ 80 องศาโรเมอร์เพื่อระบุจุดเดือดของน้ำแทน ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งาน ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และองศาโรเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนาคตของโลก

postscript.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และอนาคตของโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์โลว์ แชปลีย์

ร์โลว์ แชปลีย์ (Harlow Shapley; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 - 20 ตุลาคม ค.ศ. 1972) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลากับการส่องสว่างของดาวแปรแสงเซฟิอิด (ซึ่งค้นพบโดย เฮนเรียตตา สวาน ลีอาวิตต์) สำหรับใช้คำนวณระยะห่างของกระจุกดาวทรงกลม แชปลีย์เป็นคนแรกที่ทำการคำนวณว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีขนาดใหญ่กว่าที่เคยเชื่อกันมามาก และตำแหน่งของดวงอาทิตย์ของเราที่เชื่อกันว่าอยู่บริเวณศูนย์กลางของดาราจักร เป็นตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง แชปลีย์ได้เข้าร่วมในการโต้วาทีครั้งใหญ่กับ เฮเบอร์ ดี. เคอร์ติส ที่เรียกว่า "The Great Debate" ว่าด้วยลักษณะของเนบิวลากับดาราจักร และขนาดของเอกภพ การโต้วาทีจัดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1920 โดยแชปลีย์คัดค้านแนวคิดที่ว่าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักร ทั้งยังเสนอแนวคิดว่า กระจุกดาวทรงกลมกับเนบิวลาแบบกังหันที่แท้อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกนี้เอง ประเด็นหลังนี้เขาคิดผิด แต่ความเห็นของเขาในประเด็นแรกนั้นถูกต้อง ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 แชปลีย์ได้ช่วยเหลือทางรัฐบาลหาเงินทุนก่อตั้งองค์กรวิชาการทางวิทยาศาสตร์หลายแห่ง รวมถึง มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Science Foundation: NSF) และยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มบทบาทของ "S" (Science) ให้แก่องค์การยูเนสโก (UNESCO: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฮาร์โลว์ แชปลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปปาร์คอส

ปปาร์คอส ฮิปปาร์คอส (Hipparchus, Hipparch; Ἵππαρχος, Hipparkhos; 190-120 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักดาราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกในยุค Hellenistic ฮิปปาร์คอสเกิดที่ Nicaea (ปัจจุบันคือเมือง Iznik ประเทศตุรกี) และน่าจะเสียชีวิตที่บนเกาะ Rhodes เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานด้านดาราศาสตร์ในช่วงระหว่างปีที่ 147 ถึง 127 ก่อนคริสตกาล ได้รับยกย่องว่าเป็นนักสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ บ้างก็ว่าเป็นนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงยุคนั้น เขาเป็นคนแรกที่สร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อันสามารถระบุตัวเลขได้แม่นยำ จากแบบจำลองนี้จึงเป็นที่มาของการสังเกตและการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ช่วยในการสังเกตของชาวคัลเดีย (Chaldea) แห่งบาบิโลนตลอดเวลานับศตวรรษ ฮิปปาร์คอสได้พัฒนาวิชาตรีโกณมิติ สร้างตารางตรีโกณ และแก้ปัญหาตรีโกณมิติของทรงกลมได้หลายประการ จากทฤษฎีเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และตรีโกณมิติของเขา อาจจะนับได้ว่าเขาเป็นคนแรกที่ได้พัฒนากระบวนวิธีอันน่าเชื่อถือที่ใช้ในการทำนายสุริยคราส ผลงานอื่นๆ ที่น่าสนใจของเขายังรวมถึงการค้นพบทฤษฎีการหมุนควง การรวบรวมรายการดวงดาวฉบับแรกในโลกตะวันตก และอาจรวมถึงการคิดค้นเครื่องมือวัดทางดาราศาสตร์เก่าแก่ Astrolabe นับเป็นเวลายาวนานกว่า 3 ศตวรรษกว่าที่ผลงานการรวบรวมทางด้านดาราศาสตร์ของเคลาดิอุส ทอเลมีอุสจะก้าวหน้าขึ้นล้ำกว่างานของฮิปปาร์คอส แต่ก็ยังมีรายละเอียดหลายประการที่อ้างอิงกับงานของฮิปปาร์คอสอยู่มาก ดาวเทียมฮิปปาร์คอสที่ถูกส่งโดยองค์การอวกาศยุโรปถูกตั้งชื่อตาม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฮิปปาร์คอส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีเลียม

ีเลียม (Helium) เป็นธาตุเคมีที่มีสัญลักษณ์ว่า He และมีเลขอะตอมเท่ากับ 2 ฮีเลียมเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ เฉื่อย มีอะตอมเดี่ยวซึ่งถูกจัดให้อยู่ในหมู่แก๊สมีตระกูลบนตารางธาตุ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของฮีเลียม มีค่าต่ำสุดกว่าบรรดาธาตุทั้งหมดในตารางธาตุ และมันจะปรากฏในอยู่รูปของแก๊สเท่านั้น ยกเว้นในสภาวะที่เย็นยิ่งยว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฮีเลียม · ดูเพิ่มเติม »

ผานกู่

วาดผานกู่ ผานกู่ (Pangu;; หมายถึง "แผ่นโลกโบราณ") คือสิ่งมีชีวิตชนิดแรกสุดของโลก เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ตามความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน ลองพิจารณาดู ทฤษฎีสัมพันธภาพ บางส่วนช่างสอดคล้อง กำเนิดจักรวาลของจีนเมื่อหลายพันปีก่อน โลกเป็นเปลือกไข่ (โลกกลม) ในเปลือกไข่มีเทพเจ้าผานกู่ โลกกับฟ้าขยายด้วออกไปจากโลกอย่างช้าๆ (ฟ้า คือบรรยากาศโลก) ต่อมาเทพเจ้าผานกู่ ดึงฟ้าไม่ให้เคลื่อนจากโลก เป็นเวลา 1.8 หมื่นปี (แรงดึงดูดของโลก/แรงดึงดูดของเทพเจ้าผานกู่) เมื่อเทพเจ้าผานกู่ตายไป ส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำ ไขสันหลัง กลายเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนพเคราะห์ พืช ฯลฯ (ทางช้างเผือก) นั่นคือโลก และจักรวาล มีจุดกำเนิด เป็นทรงกลมคล้ายเปลือกไข่ (ตามกฎแห่งอี้จิ้ง สรรพสิ่งย่อมมีคู่ต่าง) ฟ้าเคลื่อนออก-เทพเจ้าผานกู่ดึงเข้า แข็ง(ดินสู่พื้น/น้ำลงต่ำกว่าพื้น)-อ่อน(บรรยากาศก้อนเมฆลอยสู่ฟ้า) ส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำ ไขสันหลัง กลายเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนพเคราะห์ พืช ฯลฯ (ทางช้างเผือก) โลกกับฟ้าขยายด้วออกไปจากโลกอย่างช้าๆ นั่นคือ ฟ้าและส่วนต่างๆของร่างกายของเทพเจ้าผานกู่ กำลังขยายตัว เป็นไปตามทฤษฎีสัมพันธภาพๆ อาจจะได้แรงบันดาลใจจากการมาเยือนจีน,ญี่ปุ่นของไอน์สไตน์ นี่คือข้อสันนิษฐาน ซึ่งอาจจริงหรือไม่จริงก็ได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และผานกู่ · ดูเพิ่มเติม »

จลนศาสตร์ดาวฤกษ์

ลนศาสตร์ดาวฤกษ์ (Steller kinematics) คือการศึกษาการเคลื่อนที่ของกลุ่มดาวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าการเคลื่อนที่นั้นเกิดขึ้นมาจากอะไร ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาพลศาสตร์ดาวฤกษ์ (stellar dynamics) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์เทียบกับดวงอาทิตย์นั้นให้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาจุดกำเนิดและอายุของดาวฤกษ์ รวมถึงโครงสร้างและวิวัฒนาการของดาราจักรโดยรอบ ในทางดาราศาสตร์ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ถือกำเนิดขึ้นในเมฆโมเลกุล ที่รู้จักในชื่อ แหล่งอนุบาลดาวฤกษ์ (stellar nurseries) ดาวฤกษ์ที่ก่อตัวในเมฆนี้เกิดเป็นกระจุกดาวเปิดที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์สมาชิกหลายพันดวง และจะกระจัดกระจายกันออกไปตามระยะเวลา ดาวฤกษ์ที่แยกตัวออกไปจากแกนกลางของกระจุกดาวจะเรียกชื่อรัหสว่าเป็นสมาชิกของ ชุมนุมดาว (stellar association) ถ้าส่วนที่เหลือของดาวเหล่านี้เคลื่อนที่ไปในดาราจักรด้วยความสัมพันธ์กัน ก็จะเรียกว่า กลุ่มเคลื่อนที่ (moving group).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจลนศาสตร์ดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรราศี

รื่องหมายจักรราศีของโหราศาสตร์สากลราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะจากแม่พิมพ์ไม้ ภาพสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในจอร์เจียเป็นรูปจักรราศีที่มีพระเยซูอยู่ตรงกลาง เครื่องหมายจักรราศีที่ใช้ในโหราศาสตร์สากลในปัจจุบัน จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอินคา

ักรวรรดิอินคา (Inca Empire; Imperio Incar) (ค.ศ. 1438-1533) เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส จักรวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ช่วงปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจักรวรรดิอินคา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาล (อัลบั้ม)

ักรวาล เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวของเทียรี่ เมฆวัฒนา นับเป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 8 ของเทียรี่ เผยแพร่และจัดจำหน่ายโดย วอร์เนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 อัลบั้มชุดนี้นับเป็นอัลบั้มที่แปลกแหวกแนวไปจากแนวเดิม ๆ ของเทียรี่ สมาชิกวงคาราบาว จากที่เคยทำเพลงในแนวเพื่อชีวิตผสมกับลูกทุ่ง มาเป็นแบบโปรเกรสซีฟร็อกที่เป็นเพลงบรรเลงทั้งหมด ซึ่งหาได้น้อยมากในศิลปินเพลงชาวไทย เทียรี่ได้เริ่มทำอัลบั้มชุดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 และทำเก็บเรื่อยมา โดยมิได้นำไปเสนอต่อสังกัดใด ซึ่งเพลงบางเพลง เช่น สหัสรังสี ที่หมายถึง ดวงอาทิตย์ ก็ใช้วิธีการเก็บตัวอยู่ในห้องคนเดียว เปิดไฟสีแดง เพื่อให้เข้าถึงความร้อนของดวงอาทิตย์, หมื่นไมล์ทะเล หมายถึง มหาสมุทร นั้นก็ได้ทำไว้ตั้งแต่อายุ 23 ปี อัลบั้มชุดนี้มีผู้นำไปเปรียบเทียบกับ คิทาโร คีตกวีชาวญี่ปุ่นระดับโลก ที่มีผลงานในแนวเดียวกัน และในเพลง อุกกาบาต มีชื่อเข้าชิงรางวัลสีสันอะวอร์ดส์สาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมอีกด้วย (แต่รางวัลนี้ตกเป็นของ Traffic ของธนภัทร มัธยมจันทร์).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจักรวาล (อัลบั้ม) · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จัง เหิง

ัง เหิง (Zhang Heng; ค.ศ. 78, มณฑลเหอหนาน - ค.ศ. 139, ลั่วหยาง) ปราชญ์ชาวจีน นักพรต สังฆราชศาสนาเต๋า ในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นบุคคลผู้มีความรู้ในหลายๆ ด้านสาขา ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์หรือวรรณคดี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจัง เหิง · ดูเพิ่มเติม »

จันทรุปราคา

ันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557 จันทรุปราคา (ชื่ออื่น เช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน; lunar eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node) จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับสุริยุปราคาซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจันทรุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์ดับ

จันทร์ดับ, เดือนดับ หรือ อมาวสี (New moon) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก ดวงจันทร์จึงหันด้านมืดเข้าหาโลก ทำให้ไม่เห็นดวงจันทร์ มักเกิดในวันแรม 14 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ (บางครั้งเกิดในข้างขึ้นอ่อน ๆ เพราะปฏิทินจันทรคติคลาดเคลื่อนจากดวงจันทร์จริงบนท้องฟ้า) หมวดหมู่:ดาราศาสตร์.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจันทร์ดับ · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์เพ็ญ

นอวกาศกาลิเลโลถ่ายภาพดวงจันทร์หลายภาพแล้วนำมาประกอบเป็นภาพเดียว เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยเดินทางไปเพื่อสำรวจระบบดาวพฤหัส ระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2540 สีในภาพถูกปรับแต่งเพราะกล้อง CCD นั้นไวต่อความยาวคลื่นใกล้อินฟราเรด ที่สายตาของมนุษย์มองไม่เห็น จันทร์เพ็ญ หรือ วันเพ็ญ (Full moon) คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามปฏิทินจันทรคติไทย นับเป็นวัน "ขึ้น 15 ค่ำ" (หรือ วัน 15 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติจีน) อันเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งด้านตรงข้ามของโลก เมื่อพิจารณาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ ในโอกาสนี้ดวงจันทร์ที่เห็นจากพื้นผิวของโลกจะดูสว่างเต็มดวง เพราะรับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ภาพดวงจันทร์ที่เราเห็นเต็มดวงนั้น เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจันทร์เพ็ญ · ดูเพิ่มเติม »

จุดมืดดวงอาทิตย์

มืดดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 แผนภาพจำนวนของจุดมืดในรอบ 400 ปี จุดมืดดวงอาทิตย์ หรือ จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ซึ่งได้ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีอุณหภูมิสูงถึง 3700-4000 เคลวิน เทียบกับบริเวณปกติโดยรอบที่มีอุณหภูมิประมาณ 5800 เคลวิน ถ้าเรานำจุดมืดออกมาจากดวงอาทิตย์มันจะสามารถเปล่งแสงสว่างได้มากกว่าแสงจากการเชื่อมเหล็ก เสียอีก จุดมืดยังเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์อีกมาก เช่น บ่วงโคโรนา (Coronal loop) และ การเชื่อมกันของสนามแม่เหล็ก (Magnetic reconnection) นอกจากนี้การระเบิดใหญ่บนดวงอาทิตย์ (Solar flare) และ การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) ก็ยังเกิดขึ้นในบริเวณสนามแม่เหล็กรอบๆ จุดมืดอีกด้ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจุดมืดดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

จุดปลายระยะทางวงโคจร

ปลายระยะทางวงโคจร ในทางดาราศาสตร์ จุดปลายระยะทางวงโคจร (apsis) หมายถึง จุดในวงโคจรของวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือไกลที่สุดจากจุดศูนย์กลางมวลที่มันโคจรรอบ จุดที่เคลื่อนเข้าไปใกล้จุดศูนย์กลางมวลมากที่สุด เรียกว่า จุดใกล้ที่สุด (periapsis หรือ pericentre) จุดที่เคลื่อนออกไปไกลที่สุดเรียกว่า จุดไกลที่สุด (apoapsis, apocentre หรือ apapsis) เส้นตรงที่ลากจากจุดใกล้ที่สุดไปยังจุดไกลที่สุด เรียกว่า line of apsides ซึ่งก็คือแกนเอกของวงรี หรือเส้นที่ยาวที่สุดภายในวงรีนั่นเอง นอกจากนี้มีคำศัพท์เฉพาะอื่นๆ ที่ใช้เรียกจุดใกล้ที่สุดหรือจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบเทหวัตถุบางชนิด จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบโลก เรียกว่า perigee และ apogee ตามลำดับ จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า perihelion และ aphelion ตามลำดั.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และจุดปลายระยะทางวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบังกลาเทศ

งชาติบังกลาเทศ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 3 ส่วน กว้าง 5 ส่วน ภายในธงมีรูปวงกลมสีแดงค่อนมาทางด้านคันธง 1%.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบิอาฟรา

23px ธงชาติบิอาฟรา สัดส่วนธง 1:2 สาธารณรัฐเบนิน สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติสาธารณรัฐบิอาฟรา ซึ่งเป็นสาธารณรัฐอายุสั้นที่แบ่งแยกดินแดนจากประเทศไนจีเรีย มีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2510 – พ.ศ. 2513 มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีตามแนวนอน 3 แถบ แถบบนสีแดง แถบกลางสีดำ แถบล่างสีเขียว แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่กลางแถบสีดำนั้นมีรูปดวงอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี 11 แบบ ซึ่งหมายถึงจังหวัดทั้งหมด 11 จังหวัดของประเทศ ลักษณะของธงนี้ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบธงชาติสาธารณรัฐเบนิน ซึ่งก็เป็นสาธารณรัฐอายุสั้นด้วยเช่นกัน อันประกอบด้วยดินแดนที่บิอาฟรายึดครองในเขตตะวันตกตอนกลาง (Biafran-occupied Mid-Western region) ธงนี้ออกแบบโดยอิงกับสีพันธมิตรแอฟริกา และเป็นผลงานของมาร์คัส การ์วีย์ (Marcus Garvey) แห่งสมาคมยกระดับชาวนิโกรสากลและสันนิบาตประชาคมแอฟริกา (Universal Negro Improvement Association and African Communities League) (Znaimerowski, p. 125).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติบิอาฟรา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติฟิลิปปินส์

งชาติฟิลิปปินส์ (Pambansang Watawat ng Pilipinas) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติกินี

23px ธงชาติกินี สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติกินี เริ่มใช้หลังประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ สักษณะเป็นธงสามสีอย่างธงชาติฝรั่งเศส กล่าวคือ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็น 3 แถบตามแนวตั้ง เรียงจากด้านคันธงไปยังปลายธงคือ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว แต่ละแถบกว้างเท่ากัน ถือได้ว่าธงนี้ได้รับอิทธิพลในการออกแบบจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเดิมโดยตรง สีในธงนี้เป็นสีพันธมิตรแอฟริกา โดยมีที่มาจากสีของขบวนการ Rassemblement Democratique Africaine ซึ่งเป็นขบวนการเรียกร้องเอกราชของกินี ส่วนเหตุที่เรียงแถบสีตามแนวตั้ง ก็เพื่อให้ต่างจากธงชาติกานาซึ่งประกาศใช้ธงสามสีเช่นนี้ก่อนในปี พ.ศ. 2500 โดยแถบสีธงในนั้นเรียงกันตามแนวนอน ส่วนธงที่คล้ายกับธงชาติกินีที่สุดคือธงชาติมาลี ซึ่งใช้สีธงและเรียงแถบสีธงในลักษณะเดียวกัน เว้นแต่ว่าลำดับแถบสีธงนั้นจะเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง สำหรับความหมายของสีธงนั้น สีแดงหมายถึงการเสียสละของประชาชน สีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์และความอุดมสมบูรณ์ของโลก และสีเขียวหมายถึงบรรดาพันธุ์พืชต่างๆ ในประเทศกินี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติกินี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมาลาวี

งชาติมาลาวี เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่ไนแอซาแลนด์ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติมาลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมาซิโดเนีย

20px ธงชาติมาซิโดเนีย สัดส่วนธง 1:2 ธงชาติสาธารณรัฐมาซิโดเนีย เป็นธงพื้นสีแดง กลางธงเป็นรูปพระอาทิตย์เปล่งรัศมีแปดทิศจดขอบธงชาติ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง สัญลักษณ์ในธงดังที่กล่าวมามีความหมายว่า "ดวงตะวันดวงใหม่แห่งเสรีภาพ" ดังปรากฏวลีนี้ในบทแรกของเพลงชาติมาซีโดเนียในปัจจุบัน ซึ่งมีชื่อว่า "Denes nad Makedonija" (แปลว่า "วันนี้ทั่วแผ่นดินมาซีโดเนีย") ดังนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติมาซิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติรวันดา

20px ธงชาติรวันดา สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติรวันดา พ.ศ. 2505 - 2544 ธงชาติราชอาณาจักรรวันดา พ.ศ. 2502 - 2505 ธงชาติรวันดา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งตามแนวนอนเป็น 3 แถบ แถบบนสุดพื้นสีฟ้ากว้าง 2 ใน 4 ส่วน ของความกว้างธงชาติ ที่มุมธงบนด้านปลายธงมีรูปดวงอาทิตย์เปล่งรัศมี 24 แฉก แถบกลางกว้าง 1 ใน 4 ส่วนของความกว้างธง มีพื้นสีเหลือง แถบล่างสุดพื้นสีเขียว มีความกว้างเท่ากับแถบกลาง อนึ่ง ระดับสีของสีเหลืองในแถบกลางและรูปดวงอาทิตย์นั้นต่างกันเล็กน้อย โดยสีเหลืองของดวงอาทิตย์นั้นจะเข้มกว่าสีในแถบกลาง ธงนี้ออกแบบโดยอัลฟอนซ์ คิริโมเบเนซีโอ (Alphonse Kirimobenecyo) และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ในธงชาตินี้ สีฟ้าหมายถึงความสุขและสันติภาพ สีเหลืองหมายถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สีเขียวหมายถึงความมุ่งหวังต่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ดวงอาทิตย์หมายถึงความรู้แจ้งในปัญญาของประชาชน ก่อนหน้านั้น ธงชาติรวันดามีลักษณะเป็นธงสามสีแถบแนวตั้งความกว้างเท่ากัน เรียงจากด้านคันธงเป็นแถบสีแดง สีเหลือง และสีเขียว เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2502 ต่อมาจึงเพิ่มอักษร "R" ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของชื่อประเทศลงกลางแถบสีเหลืองในปี พ.ศ. 2505 เพื่อแยกแยะธงนี้ให้ต่างจากธงชาติกินี ซึ่งใช้ธงสามสีอย่างเดียวกันให้ชัดเจน ส่วนสีในธงจัดเป็นสีพันธมิตรแอฟริกา ซึ่งมีที่มาจากธงชาติเอธิโอเปีย ความหมายของสีธงชาติคือ สีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชน สีเหลืองหมายถึงสันติภาพและความสงบ สีเขียวหมายถึงความหวังและความเชื่อมั่น ธงนี้ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นธงมาเป็นแบบปัจจุบัน เนื่องจากได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวรวันดา (Rwandan Genocide).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติรวันดา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอาร์เจนตินา

งชาติอาร์เจนตินา ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2355 ลักษณะเป็นธงสามแถบแนวนอน ประกอบด้วยแถบสีฟ้า-สีขาว-สีฟ้า ซึ่งแต่ละแถบล้วนกว้างเท่ากัน ส่วนรูปดวงอาทิตย์สีเหลืองกลางธง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ดวงอาทิตย์แห่งเดือนพฤษภาคม (Sol de Mayo) ได้เพิ่มเข้ามาภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2361 รูปธงที่กล่าวมานี้เป็นธงชาติสำหรับพิธีการ (Bandera Oficial de Ceremonia) หากธงนี้ไม่มีรูปดวงอาทิตย์ จะถือเป็นธงชาติสำหรับประดับตกแต่ง (Bandera de Ornato) แม้ธงทั้งสองอย่างนี้จะมีศักดิ์เป็นธงชาติเหมือนกัน แต่ธงชาติสำหรับประดับตกแต่งจะต้องชักไว้ต่ำกว่าธงชาติสำหรับพิธีการเสมอ ตามหลักวิชาธัชวิทยาแล้ว จัดให้ธงชาติอาร์เจนตินาสำหรับพิธีการเป็นธงพลเรือน ธงราชการ ธงกองทัพและธงราชนาวี ส่วนธงชาติสำหรับประดับตกแต่ง จัดเป็นธงพลเรือนและธงเรือพลเรือน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอิรัก

23x15px สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติอิรัก (อาหรับ: علم العراق) มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง จากความผันผวนทางการเมืองในประเทศ นับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศใน พ.ศ. 2464 เป็นต้นมา ธงชาติแบบที่เปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดนี้ ได้ดัดแปลงจากธงชาติอิรัก พ.ศ. 2457-2551 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีแดง-ขาว-ดำ แบ่งตามแนวนอน มีความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน กลางแถบสีขาวมีอักษรคูฟิก เขียนเป็นข้อความภาษาอาหรับว่า "อัลลอหุ อักบัร" แปลว่า พระอัลเลาะห์เจ้าทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเอารูปดาวห้าแฉกสีเขียว 3 ดวงออกจากธงเดิมไป ธงดังกล่าวนี้จะใช้เป็นธงชาติอิรักเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการรับรองแบบธงชาติใหม่ใน พ.ศ. 2552 ควรรู้ด้วยว่า ด้านคันธงของธงที่มีอักษรอาหรับจารึกอย่างธงนี้อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ทางด้านซ้ายของผู้สังเกตอย่างธงปกติทั่วไป.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติจอร์เจีย

งชาติจอร์เจีย (საქართველოს სახელმწიფო დროშა., sakartvelos sakhelmtsipo drosha) ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ธงที่มีชื่อเรียกว่า "ธงห้ากางเขน" หรือ "ธงห้ากากบาท" (The five-cross flag) ซึ่งได้นำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2547 หลังธงนี้ได้เลิกใช้มานานถึง 500 ปี ในอดีตธงนี้เป็นธงของอาณาจักรจอร์เจียโบราณในยุคกลางของทวีปยุโรป และเคยใช้เป็นสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองจอร์เจียที่มีชื่อว่า พรรคขบวนการเอกภาพแห่งชาติ หรือพรรค ENM (ย่อมาจาก Ertiani Natsionaluri Modzraoba).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติทิเบต

งชาติทิเบต สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติเขตปกครองตนเองทิเบต เริ่มปรากฏการใช้เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยทะไลลามะองค์ที่ 13 แห่งทิเบต ทรงออกแบบขึ้น โดยรวมเอาธงประจำกองทัพของชาวทิเบตในทุกเขตแขวงมาสร้างขึ้นเป็นธงเดียว ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ธงนี้ได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพชาวทิเบตทั้งหมดมาจนถึง พ.ศ. 2493 เนื่องจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนได้บุกเข้ายึดครองทิเบต และสถาปานาดินแดนแห่งนี้เป็นเขตปกครองตนเองพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนThe flag was not completely banned from 1951 to 1959 as exceptional case exists, see Melvyn C. Goldstein, Dawei Sherap, and William R. Siebenschuh,, University of California Press, 2004, pp174-175 ในปัจจุบัน ธงนี้ยังคงใช้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น ซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ส่วนในสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งรวมถึงเขตปกครองตนเองทิเบตในปัจจุบัน ถือว่าเป็นธงนอกกฎหมาย เพราะเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการเรียกร้องเอกราชของชาวทิเบต อย่างไรก็ตาม การแสดงธงชาติทิเบตในฮ่องกงนั้น รัฐบาลท้องถิ่นมองว่าเป็นการแสดงออกถึงเสรีภาพของชาวทิเบต เนื่องจากว่าเขตบริหารพิเศษฮ่องกงนั้นมีกฎหมายบางส่วนที่บทบัญญัติใช้ในเขตการปกครองของตนแยกจากกฎหมายหลักของสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติคาซัคสถาน

งชาติคาซัคสถาน (Қазақстан байрағы) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2535 หลังจากได้รับเอกราชจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน กลางธงมีรูปนกอินทรีบิน หันหน้าไปทางมุมธงด้านคันธง ภายใต้ดวงอาทิตย์สีทองมีรัศมี 32 แฉก ที่ด้านคันธงนั้นมีลวดลายอย่างลายหน้ากระดานตามแบบวัฒนธรรมคาซัคสถาน แบบสีธงอย่างมาตรฐานมีดังนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติคิริบาส

งชาติคิริบาส เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ครึ่งบนเป็นพื้นสีแดงมีรูปนกฟรีเกตใหญ่ (ภาษาอังกฤษ: Great Frigatebird อยู่ในสปีชีส์ Fregata minor, ภาษาคิริบาส: te eitei) บินอยู่เหนือดวงอาทิตย์มีรัศมี 17 แฉกโผล่พ้นน้ำ รูปดังกล่าวนี้เป็นสีทอง ครึ่งล่างของธงเป็นผืนน้ำ มีลักษณะเป็นแถบสีขาวสลับน้ำเงินสีละ 3 แถบ แถบสีดังกล่าวนี้หมายถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และหมู่เกาะ 3 หมู่เกาะในประเทศคิริบาส คือ หมู่เกาะกิลเบิร์ต (Gilbert Islands) หมู่เกาะฟีนิกซ์ (Phoenix Islands) และหมู่เกาะไลน์ (Line Islands) รัศมีทั้ง 17 แฉกแทนเกาะทั้ง 16 เกาะของหมู่เกาะกิลเบิร์ตและเกาะบานาบา (เกาะนี้เดิมเรียกว่าเกาะโอเชียน หรือ Ocean Island) ส่วนรูปนกฟรีเกตใหญ่หมายถึงอำนาจและอิสรภาพ ธงนี้มีลักษณะอย่างเดียวกับที่ปรากฏในตราแผ่นดินของคิริบาส ซึ่งออกแบบโดยเซอร์ อาเธอร์ กริมเบิล (Sir Arthur Grimble) ในปี พ.ศ. 2475 เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายของอาณานิคมหมู่เกาะกิลเบิรต์และเอลลิส (Gilbert and Ellice Islands) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งปัจจุบันนี้ได้แก่ประเทศคิริบาส และประเทศตูวาลู ตรานี้เริ่มใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2480 และใช้ประกอบเข้ากับธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร (ธงบูลเอนไซน์ - Blue Ensign) เพื่อใช้เป็นธงราชการสำหรับอาณานิคม ภายหลังในปี พ.ศ. 2522 ก่อนหน้าการประกาศเอกราชของคิริบาสเพียงเล็กน้อย ได้มีการประกวดแบบสำหรับธงชาติและตราของคิริบาสในฐานะรัฐเอกราช แบบตราแผ่นดินในสมัยอาณานิคมก็ได้รับเลือกให้ใช้เป็นตราแผ่นดินและธงชาติของคิริบาสใหม่ โดยมีการดัดแปลงลักษณะบางอย่างให้เป็นอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน ธงนี้ได้ชักขึ้นครั้งแรกที่กรุงทาวารา เมืองหลวงของประเทศ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2522.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติคิริบาส · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติคีร์กีซสถาน

งประจำตำแหน่งประธานาธิบดีคีร์กีซสถาน ธงชาติคีร์กีซสถาน (Кыргыз Республикасынын мамлекеттик туусу Государственный флаг Киргизской Республики) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2535 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นสีแดง หมายถึงสันติภาพ และความเปิดกว้างในสังคมคีร์กีซสถาน กลางธงที่รูปดวงอาทิตย์มีรัศมี 40 แฉกสีเหลือง หมายถึง ชนชาติต่างๆ ในประเทศนี้ทั้ง 40 ชนชาติ หรืออาจหมายถึงวีรบุรุษในมหากาพย์ของคีร์กีซสถาน เรื่อง มานาส (Manas) ทั้ง 40 คน ปลายโค้งของรัศมีดวงอาทิตย์นั้น เมื่อมองจากทางด้านหน้าธงจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา และเมื่อมองทางด้านหลังจะเป็นหมุนตามเข็มนาฬิกา ในรูปดวงอาทิตย์นั้น เป็นวงแหวนสีแดง 3 เส้น 2 วง ตัดกันที่ศูนย์กลางดวงอาทิตย์ หมายถึง ตุนดุก (tunduk, อักษรซีริลลิก: түндүк) หรือ ส่วนยอดของกระโจมตามแบบวัฒนธรรมคีร์กีซ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาตินามิเบีย

งชาตินามิเบีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในธงถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยแถบสีแดงขอบขาว ซึ่งพาดเป็นแนวทแยงมุมจากมุมธงด้านปลายธงมายังมุมบนด้านปลายธง ส่วนที่ถูกแบ่งนั้นเป็นสีน้ำเงินที่ด้านคันธงและเป็นสีเขียวที่ด้านปลายธง ที่มุมบนของพื้นสีน้ำเงินนั้นเป็นรูปดวงอาทิตย์สีเหลืองมีรัศมี 12 แฉก ธงนี้มีที่มาจากธงขององค์การประชาชนแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (South West African People's Organization - SWAPO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชของนามิเบีย และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2533 อันเป็นวันที่นามิเบียประกาศเอกราชจากแอฟริกาใต้ แต่ละสีในธงล้วนมีนัยความหมายต่างๆ กล่าวคือ สีแดงหมายถึงประชาชนชาวชาวนามิเบีย ซึ่งมีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวที่จะสร้างสังคมให้มีแต่ความเสมอภาคในอนาคต สีขาวหมายถึงสันติภาพและความสามัคคี สีเขียวหมายถึงพืชพรรณต่างๆ และการเกษตร สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นที่มาของแหล่งน้ำต่างๆ ในประเทศ ดวงอาทิตย์สีเหลืองหมายถึงชีวิตและพลังงาน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาตินามิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแกมเบีย

23px ธงชาติแกมเบีย สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติแกมเบีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในประกอบด้วยแถบสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว เรียงลำดับจากบนลงล่าง โดยที่แถบสีน้ำเงินนั้นมีแถบสีขาวขนาดเล็ก ขนาบที่ตอนบนและตอนล่างของแถบนั้น เริ่มใช้หลังประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ ออกแบบโดย ปา หลุยส์ โทมาซี แถบสีแดง หมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนา สีน้ำเงินหมายถึงแม่น้ำแกมเบียซึ่งไหลผ่านกลางประเทศ กั้นกลางระหว่างป่าไม้และทุ่งหญ้าสะวันนา สีเขียวหมายถึงผืนแผ่นดินและป่าไม้ สีขาวหมายถึงสันติภาพ จะเห็นได้ชัดว่า ธงชาติแกมเบียไม่มีสัญลักษณ์ในที่สื่อถึงความคิดทางการเมืองเล.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติแกมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแอนติกาและบาร์บูดา

งชาติแอนติกาและบาร์บูดา มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงมีสีแดง ภายในมีรูปสามเหลี่ยมหัวกลับแบ่งพื้นสีแดงออกเป็นสองส่วน ในรูปสามเหลี่ยมนั้นแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ตามแนวนอน ตอนล่างเป็นสีขาว ตอนกลางเป็นสีฟ้า ตอนบนสุดเป็นพื้นสีดำมีรัศมีดวงอาทิตย์สีเหลือง รัศมีดังกล่าวมี 9 แฉก ธงนี้เป็นเป็นแบบที่ชนะเลิศการประกวดธงชาติ ออกแบบโดย เรจินัลด์ ซามูเอลส์ (Reginald Samuels) อาชีพครู และได้รับรองให้เป็นธงชาติแอนติกาและบาร์บูดาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ในธงชาตินั้น รูปดวงอาทิตย์หมายถึงแสงแห่งวันใหม่ของประเทศแอนติกาและบาร์บูดา สีดำหมายถึงมรดกจากชาวแอฟริกาที่สืบทอดมายังประชาชนผู้เป็นลูกหลาน สีฟ้าหมายถึงความหวัง สีแดงหมายถึงพลังงาน นอกจากนี้ สีเหลือง สีฟ้า และสีขาว ที่เรียงลำดับต่อเนื่องกัน ยังหมายถึง ดวงอาทิตย์ ทะเล (ทะเลแคริบเบียน) และหาดทราย อันเป็นลักษณะของธรรมชาติในประเทศอย่างชัดเจน รูปสามเหลี่ยมหัวกลับนั้น มีลักษณะคล้ายอักษร "V" หมายถึงคำว่า "victory" ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ชัยชนะ สำหรับธงราชนาวีของหน่วยรักษาชายฝั่งของแอนติกาและบาร์บูดานั้น ใช้ธงพื้นขาวมีกางเขนสีแดงอยู่กลาง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีภาพธงชาติ เช่นเดียวกับธงราชนาวี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติแอนติกาและบาร์บูดา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแคเมอรูน

งชาติแคเมอรูน ที่ใช้ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นธงสามสีมีสามแถบแบ่งตามแนวตั้ง แต่ละแถบประกอบด้วยสีเขียว สีแดง และสีเหลือง เรียงลำดับจากด้านคันธงไปด้านปลายธง แต่ละแถบกว้างเท่ากัน กลางแถบสีเขียวนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่20 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 หลังประเทศแคเมรูนสามารถรวมชาติได้สำเร็จ ก่อนหน้านั้นธงชาติแคเมอรูนก็มีลักษณะที่คล้ายกับธงในปัจจุบัน แต่เริ่มแรกที่มีธงในปี พ.ศ. 2500 นั้นไม่มีรูปดาวในธงชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 จึงได้เพิ่มรูปดาว 2 ดวงลงในแถบสีเขียว ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้แบบปัจจุบัน แบบธงชาตินแคเมอรูนนี้ดัดแปลงมาจากธงชาติฝรั่งเศส ส่วนสีที่ใช้ในธงชาตินั้นจัดเป็นกลุ่มสีพันธมิตรแอฟริกา โดยแถบสีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนาในภาคเหนือของประเทศ สีเขียวหมายถึงป่าไม้ในแถบภาคใต้ของประเทศ แถบกลางสีแดงและดาวสีเหลืองกลางธงหมายถึงเอกภาพ ซึ่งดาวดวงนี้มักเรียกกันด้วยชื่อว่า ดาวแห่งเอกภาพ ("the star of unity") ไฟล์:Flag of Deutsch-Kamerun.svg|เยอรมันแคเมอรูน ไฟล์:British Cameroon Flag.svg|อาณานิคมแคเมอรูน (พ.ศ. 2465 - 2504) ไฟล์:Flag of Cameroon (1957).svg|..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติแคเมอรูน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซนต์คิตส์และเนวิส

งชาติเซนต์คิตส์และเนวิส เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในมีแถบสีดำขอบสีเหลือง ภายในมีดาวห้าแฉกสีขาว 2 ดวง พาดผ่านจากมุมบนด้านปลายธงมายังมุมล่างด้านคันธง แบ่งพื้นธงออกเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูป รูปหนึ่งอยู่ด้านคันธง มีพื้นสีเขียว ส่วนอีกรูปอยู่ด้านปลายธง พื้นสีแดง ธงนี้เป็นที่ชนะเลิศในการประกวดออกแบบธงชาติเมื่อ พ.ศ. 2526 เริ่มใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน สีที่ใช้ในธงนี้เป็นสีพันธมิตรแอฟริกา ในธงนี้ สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ สีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช สีดำหมายถึงประชาชนในประเทศสืบเชื้อสายจากชนในทวีปแอฟริกา สีเหลืองคือแสงของดวงอาทิตย์ และดาวสีขาว 2 ดวง เป็นตัวแทนของความหวังและอิสร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติเซนต์คิตส์และเนวิส · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซเชลส์

งชาติเซเชลส์ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นรัศมี 5 เส้นจากมุมธงล่างด้านคันธงไปยังด้านปลายธง เรียงเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีเขียว เป็นลำดับตามเข็มนาฬิกา เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ในธงนั้น สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรที่โอบล้อมหมู่เกาะเซเชลล์ สีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์อันเป็นที่มาของแสงสว่างและชีวิต สีแดงคือสีของประชาชน และความเด็ดเดี่ยวในการทำงานเพื่อชาติในอนาคตด้วยความรักและสามัคคี สีขาวได้แก่ความยุติธรรมทางสังคมและความปรองดองในชาติ สีเขียวหมายถึงผืนแผ่นดินและธรรมชาติ ลักษณะของแถบสีต่างๆ ที่เป็นเส้นเฉียง แสดงความหมายถึงพลวัตของประเทศเกิดใหม่ที่จะก้าวไปสู่อนาคต เดิมธงชาติเซเชลส์แบบแรกที่ประกาศใช้เมื่อได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2519 มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกากบาทสีขาว ช่องบนและช่องล่างที่ถูกแบ่งนั้นเป็นพื้นสีน้ำเงิน ส่วนช่องซ้ายและช่องขวาเป็นพื้นสีส้ม ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2520 เมื่อมีประธานาธิบดีเจมส์ แมนแชม ถูกโค่นอำนาจโดยฟรองซ์-อัลแบรต์ เรเน ผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ธงชาติจึงถูกเปลี่ยนเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนบนเป็นสีส้ม ตอนล่างสีเขียว ทั้งสองสีถูกแบ่งด้วยแนวเส้นคดสีขาว ซึ่งเป็นธงของพรรคเซเชลล์ พีเพิล ยูไนเต็ด และได้ใช้สืบมาจนถึงปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และธงชาติเซเชลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรอปิกออฟแคนเซอร์

แผนที่โลกแสดงทรอปิกออฟแคนเซอร์ ทรอปิกออฟแคนเซอร์ (Tropic of Cancer) หรือเรียก ทรอปิกเหนือ เป็นวงกลมละติจูดเหนือสุดบนโลกที่ดวงอาทิตย์ปรากฏหัวศีรษะโดยตรงเมื่อถึงจุดสูงสุด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปีละครั้ง คือ เวลาอายันเหนือ (Northern solstice) เมื่อซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ถึงขนาดมากที่สุด วันที่ เส้นนี้อยู่ที่ เหนือเส้นศูนย์สูตร ส่วนในซีกโลกใต้ เส้นที่กำหนดตำแหน่งใต้สุดที่ดวงอาทิตย์อาจปรากฏเหนือศีรษะโดยตรง คือ ทรอปิกออฟแคปริคอร์น สองทรอปิกนี้เป็นการวัดองศาใหญ่หรือวงกลมละติจูดใหญ่สองจากห้าอย่างซึ่งทำเครื่องหมายแผนที่โลก นอกเหนือจากวงกลมอาร์กติกและแอนตาร์กติกและเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งของวงกลมละติจูดเหล่านี้ (สัมพันธ์กับเส้นศูนย์สูตร) กำหนดโดยความเอียงของแกนหมุนโลกเทียบกับระนาบวงโคจรของโลก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และทรอปิกออฟแคนเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรงกลมฟ้า

ในทางดาราศาสตร์และการเดินเรือ ทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) คือ ทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก คนยุคโบราณเชื่อกันว่าดาวฤกษ์ทุกดวงในท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกด้วยระยะทางเท่าๆ กัน และเป็นแบบจำลองที่ถูกต้องของเอกภพ แต่ในความเป็นจริง วัตถุท้องฟ้าต่างๆ อยู่ห่างจากโลกมากจนไม่สามารถคะเนระยะห่างที่แท้จริงได้ด้วยตาเปล่า บอกได้เพียงทิศทางที่ปรากฏเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แบบจำลองทรงกลมฟ้าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับวิชาวัดตำแหน่งดาว เราสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางการปรากฏของวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ได้ด้วยระบบพิกัดฟ้า ทรงกลมฟ้าสามารถแบ่งออกเป็นซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้โดยมีเส้นศูนย์สูตรคั่นกลาง ขณะที่โลกหมุนรอบแกนหมุน วัตถุในทรงกลมฟ้าจะปรากฏเคลื่อนที่หมุนไปรอบขั้วฟ้าด้วยคาบ 24 ชั่วโมง เรียกว่าการเคลื่อนที่ประจำวัน ขณะที่โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ทรงกลมฟ้าจะหมุนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างก็ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก หมวดหมู่:ดาราศาสตร์ หมวดหมู่:ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และทรงกลมฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

การทดสอบสัมพัทธภาพทั่วไปความเที่ยงสูงโดยยานอวกาศแคสซินี สัญญาณวิทยุที่ส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกหน่วงโดยการบิดของปริภูมิ-เวลา (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ สัมพัทธภาพทั่วไปหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity หรือ general theory of relativity) เป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบเรขาคณิตซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จัดพิมพ์ใน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันออก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันออก (E) อยู่ทางขวา ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศใต้ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางซ้ายมือของแผนที่ดาว ทิศตะวันออกเป็นทิศที่โลกหมุนไป ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และทิศตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตก

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศตะวันตก (W) อยู่ทางซ้าย ทิศตะวันตก หรือ ทิศประจิม หรือ ทิศปัจฉิม เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออก ขวามือของทิศใต้ และซ้ายมือของทิศเหนือ โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ด้านขวาของแผนที่ดาว ดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตกพอดีในวันวิษุวัต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และทิศตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ที่ตั้งของโลกในเอกภพ

ที่ตั้งของโลกในเอกภพ (Earth's location in the Universe) นั้นตั้งแต่ที่มนุษย์ได้เริ่มมีการสร้างและสมมุติตำแหน่งที่ตั้งของโลกขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้วโดยเริ่มจากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องส่องทางไกลและซึ่งเริ่มมีความแพร่หลายมากในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในอดีตนานมาแล้วนั้นมนุษย์เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์, ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่หมุนรอบโลกและในศตวรรษที่ 17 ก็มีแนวคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นผลมาจากการสังเกตของนักดาราศาสตร์นามว่าวิลเลียม เฮอร์เชลและยังได้อธิบายต่ออีกว่าดวงอาทิตย์และระบบสุริยะอยู่ในกาแลคซีที่เป็นรูปแผ่นดิสก์ขนาดใหญ่ และในศตวรรษที่ 20 ได้มีการขอสังเกตจากการสำรวจดาราจักรชนิดก้นหอยจึงเผยให้เห็นว่ากาแลคซี่ทางช้างเผือกของเราเป็นหนึ่งในพันล้านกาแลคซีในจักรวาลที่กำลังขยายตัวจึงได้มีการจัดกลุ่มกระจุกดาราจักรขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 20 จากนั้นก็มีการกำหนดเอกภพที่สังเกตได้ซึ้งเกิดจากกลุ่มกระจุกดาราจักรและช่องว่างขนาดใหญ่ (Cosmic voids) รวมกันเป็นใยเอกภพ (Galaxy filament) ซึ่งกลุ่มกระจุกดาราจักร, ช่องว่างและใยเอกภพนั้นเป็นโครงสร้างใหญ่ ๆ ที่สามารถพบและสังเกตได้ในเอกภพ โครงสร้างเหล่ามีขนาดใหญ่มากอาจมีขนาดมากกว่า 1000 เมกะพาร์เซก และเอกภพนั้นจะรวมจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันซึ่งหมายความว่าทุกส่วนของเอกภพนั้นมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นขององค์ประกอบและโครงสร้างเดียวกัน และในปัจจุบันนี้มนุษย์ก็ยังไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดหรือขอบของเอกภพนั้นอยู่ที่ใดเนื่องจากโลกเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเอกภพจึงไม่สามารถหาตำแหน่งขอบของเอกภพได้จากโลก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และที่ตั้งของโลกในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

ทีโค บรา

ทีโค บรา (Tycho Brahe) เป็นนักดาราศาสตร์ผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ เป็นอาจารย์ของโยฮันเนส เคปเลอร์ ผู้ซึ่งสร้าง กฎของเคปเลอร์ และได้จดบันทึกข้อมูลสำคัญๆ ทางดาราศาสตร์เอาไว้มากมายเช่น ซุปเปอร์โนวา ตำแหน่งดาวเคราะห์เป็นต้น ซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งนั้นเองที่เป็นรากฐานสำคัญให้ โยฮันเนส เคปเลอร์ สร้าง กฎของเคปเลอร์ต่อไป.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และทีโค บรา · ดูเพิ่มเติม »

ท้องฟ้า

ท้องฟ้าและกลุ่มเมฆ ท้องฟ้าตอนพระอาทิตย์ตก ท้องฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศหรืออวกาศที่สามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวโลก นก แมลง เครื่องบิน และ ว่าว ถูกจัดว่าบินอยู่ในท้องฟ้า มีหลายเหตุผลที่ทำให้ท้องฟ้านั้นยากที่จะจำกัดความ ในเวลากลางวันท้องฟ้าปรากฏเป็นพื้นสีฟ้าเนื่องจากอากาศทำให้เกิดการกระเจิงของแสงอาทิตย์ ไม่ใช่เพราะว่ามีวัตถุสีฟ้าเหนือพื้นโลก เพราะเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะนิยามว่าท้องฟ้าคือสิ่งใด ท้องฟ้านั้นบางครั้งถูกจำกัดความว่าเป็นเขตของชั้นบรรยากาศโลกที่มีแก๊สแน่นหนา ในเวลากลางคืน ท้องฟ้านั้นปรากฏเป็นพื้นสีดำสนิท หรือบางครั้งเรียงรายไปด้วยดวงดาว แต่ถ้าเรากล่าวว่าทั้งหมดที่เราเห็นนั้นคือท้องฟ้า ก็จะกลายเป็นว่าท้องฟ้าคือจักรวาลซึ่งผิดจากความหมายแรกเมื่อเราเห็นตอนกลางวัน ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ต่อเมื่อไม่มีเมฆบดบัง ในเวลากลางคืน (และบางครั้งในเวลากลางวัน) เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และ ดวงดาว ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราสามารถเห็นได้ในท้องฟ้าคือเมฆ รุ้งกินน้ำ และ ออโรรา สายฟ้าและ หยาดน้ำฟ้านั้น สามารถเห็นได้ในระหว่างเวลาที่มีพายุ บ่อยครั้งเราสามารถมองเห็นหมอกควันในเวลากลางวันและรัศมีของแสงในเวลากลางคืนเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ในสายวิชาดาราศาสตร์ ท้องฟ้าถูกเรียกว่าทรงกลมฟ้า นั่นคือทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก ทรงกลมฟ้านั้นถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเรียกว่ากลุ่มดาว ดูท้องฟ้าของดาวเคราะห์อื่น สำหรับความหมายของท้องฟ้าในดาวเคราะห์ต่าง ๆ และดวงจันทร์ในระบบสุร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และท้องฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความอาเรซีโบ

้อความอาเรซีโบจัดเรียงเป็น 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ มีการเน้นสี แสดงให้เห็นข้อความแต่ละส่วน ข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) เป็นข้อความคลื่นวิทยุที่ส่งไปในอวกาศ เล็งไปที่กระจุกดาวดาวเอ็ม 13 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 25,000 ปีแสง เนื่องในพิธีฉลองการปรับปรุงหอดูดาวอาเรซีโบเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 สัญญาณวิทยุที่ส่งขึ้นไปนี้ มีความยาว 1,679 บิต (เลขฐานสองจำนวน 1,679 ตัว) เป็นเวลา 169 วินาที ข้อความที่ส่งขึ้นไปมีความยาว 1,679 บิต เนื่องจากเป็นตัวเลข semiprime สามารถแยกตัวประกอบได้เป็นจำนวนเฉพาะสองจำนวนคือ 23 กับ 73 ซึ่งสามารถจัดเรียงเป็นภาพได้เพียงสองแบบคือ ขนาด 23 แถว คูณ 73 คอลัมน์ หรือ 73 แถว คูณ 23 คอลัมน์ (ดังรูป) ข้อความอาเรซีโบออกแบบโดย ดร. แฟรงก์ เดรก แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ร่วมกับคาร์ล เซแกน สามารถแบ่งได้เป็น 7 ส่วน (ในภาพมีการเพิ่มสีเพื่อให้แยกแยะได้สะดวก) คือ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และข้อความอาเรซีโบ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน

วงอาทิตย์เที่ยงคืนที่ประเทศนอร์เวย์ ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในฤดูร้อนของทวีปยุโรปและบริเวณใกล้เคียง ทางตอนเหนือของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล และตอนใต้ของเส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ที่ดวงอาทิตย์ยังคงมองเห็นในเวลาเที่ยงคืน โดยมีโอกาสตามสภาพอากาศ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้สำหรับอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลและตอนใต้ของแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ดวงอาทิตย์เที่ยงคืนที่อาจเกิดขึ้นในจำนวนวันที่ไม่แน่นอน ไม่มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ถาวรทางตอนใต้ของขั้วโลกเหนือ ดังนั้นประเทศและดินแดนที่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์เที่ยงคืนได้จะจำกัดให้คนข้ามเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล เช่น แคนาดา (ยูคอน, นูนาวุต), สหรัฐอเมริกา (อะแลสกา), เดนมาร์ค (กรีนแลนด์), นอร์เวย์, สวีเดน, ฟินแลนด์, รัสเซีย, ไอซ์แลนด์ โดยดินแดนของ นอร์เวย์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิลเป็นจุดที่ดวงอาทิตย์ไม่ได้ตกดินเป็นเวลายาวนานที่สุด (73 วัน) ในช่วงฤดู​​ร้อนในสฟาลบาร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดวงอาทิตย์เที่ยงคืน · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

แกนิมีด คัลลิสโต ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) คือดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอีช่วงเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต

ัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet index) หรือ ดัชนียูวี (UV Index) เป็นการวัดมาตรฐานระดับสากลในเรื่องของการเผาของแดดโดยการแผ่รังสี ของรังสีอัลตราไวโอเลต ในพื้นที่หรือเวลานั้น ๆ หน่วยวัดได้รับการพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีสี

ในวิชาดาราศาสตร์ ดัชนีสี (color index) คือนิพจน์ตัวเลขอย่างง่ายที่อธิบายถึงสีของวัตถุ ซึ่งสำหรับกรณีของดาวฤกษ์แล้วจะมีความหมายถึงอุณหภูมิของมัน ในการวัดค่าดัชนี จะต้องสังเกตค่าระดับความสว่างของวัตถุอย่างต่อเนื่องผ่านตัวกรองสองชุดที่แตกต่างกัน เช่น U กับ B หรือ B กับ V โดยที่ U เป็นตัวกรองที่ไวต่อรังสีอัลตราไวโอเลต B ไวต่อแสงสีน้ำเงิน และ V ไวต่อแสงที่ตามองเห็น (สีเขียว-เหลือง) ระบบการอ่านค่าผ่านตัวกรองเหล่านี้เรียกว่า Photometric system ค่าความแตกต่างของระดับความสว่างที่วัดผ่านตัวกรองเหล่านี้ จะเรียกว่า ดัชนีสี U-B หรือ ดัชนีสี B-V ตามลำดับ ค่าดัชนีที่น้อยกว่าจะหมายถึงวัตถุนั้นเป็นสีน้ำเงินมากกว่า (คือร้อนกว่า) ตรงกันข้าม ถ้าดัชนีสีมีค่ามาก หมายถึงวัตถุเป็นสีแดงมาก (คือเย็นกว่า) ค่าดัชนีนี้เป็นสเกลความสว่างแบบลอกการิทึม วัตถุที่สว่างมากจะมีค่าแมกนิจูดน้อยกว่าวัตถุที่ซีดทึม (ยิ่งติดลบมากยิ่งสว่างมาก) ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์สีเหลืองของเรามีค่าดัชนี B-V เท่ากับ 0.656±0.005 ขณะที่ดาวไรเจลสีน้ำเงินมีค่าดัชนี B-V เท่ากับ -0.03 (เพราะระดับความสว่าง B เท่ากับ 0.09 และระดับความสว่าง V เท่ากับ 0.12 ดังนั้น B-V.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดัชนีสี · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูเอเอสพี-104บี

ับเบิลยูเอเอสพี-104บี (WASP-104b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบจำพวกดาวพฤหัสบดีร้อนที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-104 ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่ดำที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกพบใน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดับเบิลยูเอเอสพี-104บี · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูเอเอสพี-12บี

ับเบิลยูเอเอสพี-12บี (WASP-12b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-12 ค้นพบโดย SuperWASP การขนส่งการสำรวจดาวเคราะห์ การค้นพบที่มีการประกาศไว้เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2008 ดาวเคราะห์ที่ใช้เวลาเพียงไม่เกินต่อวันเพื่อโคจรรอบดาวฤกษ์นี้ในทางตรงกันข้ามกับ 365 วันโลกไปยังวงโคจรของดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดับเบิลยูเอเอสพี-12บี · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์

ราศาสตร์รังสีเอกซ์ (X-ray astronomy) คือการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นของรังสีเอกซ์ที่แผ่ออกมาจากวัตถุท้องฟ้าต่างๆ รังสีเอกซ์นี้สามารถถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไปได้ ดังนั้นในการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นนี้จึงต้องทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในอวกาศ ในปัจจุบันมีโครงการการศึกษาดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ในห้องวิจัยอวกาศและอุปกรณ์ตรวจจับรังสีเอกซ์ในดาวเทียมต่างๆ จำนวนมาก คาดการณ์ว่า รังสีเอกซ์จะเกิดจากแหล่งกำเนิดที่มีแก๊สร้อน อุณหภูมิระหว่าง 1-100 ล้านเคลวิน กล่าวโดยทั่วไปคือเกิดในวัตถุที่มีพลังงานในอะตอมและอิเล็กตรอนสูงมาก การค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในอวกาศครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 โดยบังเอิญ แหล่งกำเนิดนั้นคือ Scorpius X-1 ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์แห่งแรกที่พบในกลุ่มดาวแมงป่อง ใกล้กับบริเวณศูนย์กลางของทางช้างเผือก ผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ ริคคาร์โด จิอัคโคนิ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์อินฟราเรด

ราศาสตร์อินฟราเรด (Infrared astronomy) คือสาขาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันสามารถมองเห็นได้ในคลื่นอินฟราเรด การแผ่รังสีในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 400 นาโนเมตร (สีน้ำเงิน) ไปจนถึง 700 นาโนเมตร (สีแดง) คลื่นที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 700 นาโนเมตรแต่ต่ำกว่าคลื่นไมโครเวฟนี้ เป็นช่วงคลื่นที่เรียกว่า "อินฟราเรด" นักวิทยาศาสตร์จัดประเภทการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์อินฟราเรดว่าเป็นส่วนหนึ่งของดาราศาสตร์เชิงแสง เพราะการตรวจวัดและสังเกตการณ์อาศัยเครื่องมือกลุ่มเดียวกัน (คือกระจก เลนส์ และ solid state digital detectors).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์อินฟราเรด · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์นิวตริโน

ดาราศาสตร์นิวตริโน (Neutrino astronomy) เป็นสาขาการศึกษาดาราศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งเฝ้าสังเกตวัตถุท้องฟ้าด้วยอุปกรณ์ตรวจจับนิวตริโนที่ติดตั้งอยู่ในหอดูดาวพิเศษบางแห่ง ปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดาวฤกษ์และการระเบิดของซูเปอร์โนวาสามารถทำให้เกิดนิวตริโนขึ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งกล้องโทรทรรศน์นิวตริโนจะสามารถตรวจจับได้ ขณะที่กล้องโทรทรรศน์ทั่วไปจับภาพไม่ได้ ตัวอย่างกระบวนการเฝ้าสังเกตที่ดาราศาสตร์นิวตริโนสามารถจับภาพได้คือแกนกลางของดวงอาทิตย์ วิทยาการด้านดาราศาสตร์นิวตริโนยังถือว่าใหม่อยู่มาก แหล่งกำเนิดนิวตริโนในอวกาศเท่าที่พบและยืนยันแล้วในปัจจุบันมีเพียงดวงอาทิตย์และ ซูเปอร์โนวา SN1987A เท่านั้น หมวดหมู่:ดาราศาสตร์นิวตริโน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์นิวตริโน · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแอนดรอมิดา

ราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรแอนดรอมิดา (Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอมิดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอมิดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมิดา คือประมาณ 7.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรแอนดรอมิดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว ทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอมิดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาราจักรแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

ดาว (โหราศาสตร์)

ดาว หรือ ดวงดาว หรือ พระเคราะห์ ในทางโหราศาสตร์ หมายถึงตำแหน่งของดาวฤกษ์ อาทิตย์ และดาวเคราะห์ จันทร์ พุธ ศุกร์ พฤหัส เสาร์ ยูเรนัส เนปจูน พูลโต เป็นต้น รวมถึงตำแหน่งสมมุติบนท้องฟ้าบางตำแหน่งที่ใช้ในการพยากรณ์ เช่น ราหู เกตุ ยม ในโหราศาสตร์ไทย เป็นต้น หมวดหมู่:โหราศาสตร์ en:Classical planet.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาว (โหราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี

วพฤหัสบดีกับดาวบริวารบริวารที่ใหญ่ที่สุด 4 ดวง ดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวารเท่าที่ค้นพบและยืนยันแล้ว 67 ดวง ขณะนี้มันจึงเป็นดาวเคราะห์ที่มีบริวารมากที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารที่มีมวลมากที่สุด 4 ดวงหรือดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็นวัตถุในระบบสุริยะกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกหรือดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่สิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีดาวบริวารขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อคนรักหรือธิดาของเทพเจ้าจูปิเตอร์ของโรมัน (หรือเทพเจ้าซุสของกรีก) ดาวบริวาร 8 ดวงของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ กล่าวคือ มีวงโคจรเกือบเป็นวงกลมไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก ดาวบริวารของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีลักษณะเป็นทรงกลม ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนดาวบริวารอีก 4 ดวงมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดาวบริวารของกาลิเลโอ เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นซึ่งคอยเสริมความหนาแน่นให้กับวงแหวนของดาวพฤหัสบดี ดาวบริวารอื่น ๆ ที่เหลือเป็นบริวารขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลจากดาวพฤหัสบดีมากกว่า จัดเป็นดาวบริวารผิดปกติ คือ มีความเอียงและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง (วงโคจรไม่มีจุดศูนย์กลางจุดเดียวกันสม่ำเสมอ) บางดวงโคจรไปในทางเดียวกันและบางดวงโคจรสวนทางกับบริวารดวงอื่น ๆ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเคยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์มาก่อน แต่ถูกอำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับไว้ในภายหลัง มีดาวบริวารที่เพิ่งถูกค้นพบ 16 ดวงในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบีเทลจุส

วบีเทลจุส (Betelgeuse) เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง (Red supergiant star) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1000 เท่า ของดวงอาทิตย์ อยู่ไกลออกไป 640 ปีแสง จึงเป็นดาวฤกษ์ดวงแรกนอกระบบสุริยะ ที่เราสามารถวัดขนาดของมันได้สำเร็จ ในปี 1920 และยังเป็นดาวฤกษ์ดวงแรก ที่เราสามารถถ่ายภาพชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย สีของดวงดาวที่เปลี่ยนไป เกิดจากอุณหภูมิลดลงที่ชั้นนอกของดาว ในขณะที่ขยายขนาดออกไป ซึ่งบางครั้งจะไม่มีเสถียรภาพ อุณหภูมิ ขนาดและความสว่างจึงไม่คงที่ ดาวบีเทลจุสมีการเปลี่ยนแปลงความสว่าง จากสว่างที่สุด จางลง แล้วกลับมาสว่างที่สุดอีกครั้ง ทุกๆ 5.8 ปี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวบีเทลจุส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดีร้อน

วาดโดยศิลปินแสดงถึงดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดีร้อน ดาวพฤหัสบดีร้อน (Hot Jupiters; บ้างก็เรียก oven roasters, epistellar jovians, pegasids หรือ pegasean planets) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบจำพวกหนึ่งที่มีมวลใกล้เคียงหรือมากกว่ามวลดาวพฤหัสบดี (1.9 × 1027 กก.) แต่มีลักษณะอื่นที่ต่างไปจากดาวพฤหัสบดีในระบบสุริยะ เนื่องจากดาวพฤหัสบดีโคจรอยู่ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 5 หน่วยดาราศาสตร์ แต่ดาวเคราะห์นอกระบบที่เรียกดาวพฤหัสบดีร้อนนี้จะโคจรในระยะห่างจากดาวฤกษ์เพียง 0.05 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 1 ใน 8 ของระยะห่างที่ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงทำให้ดาวเคราะห์กลุ่มนี้มีอุณหภูมิพื้นผิวสูงมาก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวพฤหัสบดีร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพุธ

วพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารและไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้ ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวพุธ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมาคีมาคี

มาคีมาคี (Makemake;; ภาษาราปานุย: มาเกมาเก) มีชื่อเดิมว่า (136472) มาคีมาคี เป็นดาวเคราะห์แคระที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ (เท่าที่ค้นพบแล้วในขณะนี้) และเป็นหนึ่งในสองวัตถุที่ใหญ่ที่สุดของแถบไคเปอร์ (KBO) ซึ่งอยู่ในหมู่วัตถุชั้นเอกของแถบไคเปอร์ ดาวมาคีมาคีมีเส้นผ่านศูนย์กลางสามในสี่ของดาวพลูโต ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ซึ่งแปลกจากวัตถุขนาดใหญ่อื่น ๆ แถบไคเปอร์ด้วยกัน อุณหภูมิเฉลี่ยที่ต่ำมากของดาวดวงนี้ (ประมาณ 30 เคลวิน) แสดงให้เห็นว่าพื้นผิวของมันถูกปกคลุมด้วยมีเทน อีเทน และอาจจะมีไนโตรเจนแข็งด้วย จากเริ่มแรกที่มีชื่อว่า (และต่อมามีหมายเลขดาวเคราะห์น้อย 136472 กำกับ) ดาวมาคีมาคีถูกค้นพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) พร้อมทีมค้นหา ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้รวมมาคีมาคีไว้ในรายชื่อวัตถุที่มีสภาพเหมาะสมที่จะได้รับสถานะ "พลูตอยด์" (Plutoid) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกประเภทของดาวเคราะห์แคระที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป บริเวณเดียวกับดาวพลูโตและดาวอีริส ในที่สุดมาคีมาคีก็ได้รับการจัดให้เป็นพลูตอยด์อย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวมาคีมาคี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยักษ์

ESO'' ดาวยักษ์ (Giant star) คือดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งที่มีรัศมีและความส่องสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเท่ากันGiant star, entry in Astronomy Encyclopedia, ed.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยักษ์ใหญ่เหลือง

ลต้า สุนัขใหญ่ ดาวยักษ์ใหญ่เหลืองที่สว่าง (F8Ia) ดาวยักษ์ใหญ่เหลือง (Yellow supergiant) เป็นดาวยักษ์ใหญ่ของชนิดสเปกตรัม F หรือ G ดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลเริ่มต้นระหว่างประมาณ 10 และ 40 เท่าของดวงอาทิตย์ แม้จะมีบางดาวยักษ์ใหญ่เหลืองจะมีการสูญเสียมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้น ดาวฤกษ์มวลที่สูงขึ้นไม่ได้ขยายเกินดาวยักษ์ใหญ่น้ำเงิน ดาวยักษ์ใหญ่เหลือง ส่วนใหญ่จะระบายความร้อนและขยายตัวอย่างรวดเร็วไปสู่ดาวยักษ์ใหญ่แดงหลังจากแถบลำดับหลัก ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่พันปีในระยะที่และอื่น ๆ มีมากน้อยกว่าดาวยักษ์ใหญ่แดง ดาวยักษ์ใหญ่เหลืองมีการเผาไหม้ไฮโดรเจนในเปลือกหลังจากที่ไฮโดรเจนหมดในแกนกลางของพวกนั้น แกนฮีเลียมเผาไหม้ขึ้นได้อย่างราบรื่นในบางจุดในระหว่างการวิวัฒนาการเป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง แต่รูปแบบแตกต่างกันไปที่ว่านี้เกิดขึ้นในระยะดาวยักษ์ใหญ่เหลืองหรือตามดาวได้กลายเป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวยักษ์ใหญ่เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยูเรนัส

ซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล ภาพจากยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวยูเรนัส วงแหวน และดวงจันทร์บริวาร ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวยูเรนัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์ก่อนเกิด

วาดดาวฤกษ์ก่อนเกิด ในจินตนาการของศิลปิน ดาวฤกษ์ก่อนเกิด (Protostar) คือวัตถุขนาดใหญ่ที่ก่อตัวขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของแก๊สในเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ซึ่งอยู่ในสสารระหว่างดาว ช่วงการก่อตัวนี้เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการก่อตัวของดาวฤกษ์ สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลขนาดดวงอาทิตย์ ช่วงเวลาในการก่อตัวนี้ใช้เวลาประมาณ 100,000 ปี โดยค่อยๆ เพิ่มความหนาแน่นที่แกนกลางภายในเมฆโมเลกุล แล้วจึงก่อตัวเป็นดาวฤกษ์แบบ ที วัว จากนั้นจึงจะวิวัฒนาการไปสู่ดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ก่อนเกิด · ดูเพิ่มเติม »

ดาววูล์ฟ-ราเยท์

นบิวลา M1-67 รอบดาวโวล์ฟ-ราเย WR 124 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาวโวล์ฟ-ราเย (Wolf–Rayet stars หรือ ดาว WR) คือดาวฤกษ์มวลมาก (สูงกว่า 20 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ที่วิวัฒนาการแล้ว และสูญเสียมวลอย่างรวดเร็วโดยกลายเป็นลมดาวฤกษ์ที่แรงมาก ความเร็วสูงกว่า 2000 กม./วินาที ดวงอาทิตย์ของเราสูญเสียมวลโดยประมาณ 10−14 มวลดวงอาทิตย์ต่อปี ขณะที่ดาวโวล์ฟ-ราเย สูญเสียมวลโดยเฉลี่ย 10−5 มวลดวงอาทิตย์ต่อปี ดาวโวล์ฟ-ราเย มีความร้อนสูงมาก อุณหภูมิที่พื้นผิวอยู่ระหว่าง 25,000 K ถึง 50,000 K.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาววูล์ฟ-ราเยท์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

วศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ พ.ศ. 2547ภาพดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เช้าวันที่ 6 มิถุนายน 2012 ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าคล้ายกับสุริยุปราคาที่เกิดจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ต่างกันตรงที่ดาวศุกร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ (แม้ว่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า) เราจึงมองเห็นดาวศุกร์มีขนาดเล็กมาก ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยอาศัยการเกิดแพรัลแลกซ์ เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ได้คำนวณและสังเกตเห็นการเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดังกล่าวเมื่อเวลาตั้งแต่ 15.15 น. จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2182 ดวงศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งต่อไปมีให้เห็นได้ทั่วประเทศไทยในตอนเช้าวันที่ 6 มิถุนายน 2555.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9

วหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 (Shoemaker-Levy 9 หรือ SL9; ชื่ออย่างเป็นทางการ D/1993 F2) เป็นดาวหางที่พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้สามารถสังเกตการชนระหว่างวัตถุในระบบสุริยะได้โดยตรงเป็นครั้งแรก (ไม่นับการชนที่เกี่ยวกับโลก) เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการเผยแพร่ออกไปทางสื่อต่าง ๆ และนักดาราศาสตร์ทั่วโลกก็มีโอกาสติดตามสังเกตการชนครั้งนี้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงสภาพบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี รวมไปถึงบทบาทของดาวพฤหัสบดีที่คอยกวาดวัตถุในอวกาศที่อยู่ด้านในของระบบสุริยะ แคโรลิน ชูเมกเกอร์ ยูจีน ชูเมกเกอร์ และเดวิด เลวี เป็นนักดาราศาสตร์ที่ค้นพบดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 เมื่อคืนวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2536 โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเมาต์พาโลมาร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นดาวหางดวงแรกที่พบขณะโคจรรอบดาวเคราะห์ ไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์Bruton D.,, คำถาม 2.4 ชิ้นส่วนของดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 ประกอบด้วยดาวหางจำนวน 21 ชิ้น เคลื่อนที่ไล่ตามกันเหมือนขบวนรถไฟ มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 กิโลเมตร ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีได้ฉีกดาวหางแตกออกเป็นชิ้น ๆ ระหว่างการโคจรเข้าใกล้กันเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 จากนั้นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของดาวหางได้พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีตรงด้านซีกใต้โดยเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ถึง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ด้วยอัตราเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/วินาที เกิดการระเบิดเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 6 ล้านตัน หรือเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมา 100 ล้านลูก แรงระเบิดมีรัศมีกระจายไปถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้เกิดฝุ่นดาวหางปกคลุมสูงขึ้นมาเหนือเมฆในชั้นบรรยากาศโจเวียนถึง 3,000 กว่ากิโลเมตร เกิดรอยคล้ำบนชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี เห็นได้ชัดเจนต่อเนื่องกันนานเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหางโฮมส์

แสดงวงโครจรของดาวหางโฮมส์ ดาวหางโฮมส์ (17P/Holmes) เป็นดาวหางที่มีวงโคจรสั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะเวลาประมาณ 7 ปี ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวอังกฤษ ชื่อ เอ็ด วิน โฮมส์ ในปี ค.ศ. 1892 ดาวหางโฮมส์มีวงโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี ปัจจุบันดาวหางโฮมส์ปรากฏอยู่ในท้องฟ้าในกลุ่มดาวเปอร์ซีอุส (Perseus) ห่างจากดาวอัลฟาเปอร์ซิไอ (Alpha-Persei) ไปทางตะวันออกประมาณ 4 องศา และจะปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวเปอร์ซีอุสไปจนถึงประมาณต้นปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวหางโฮมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหางเวสต์

วหางเวสต์ ถ่ายเมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 ดาวหางเวสต์ (Comet West) หรือชื่ออย่างเป็นทางการตามระบบดาวหางคือ C/1975 V1, 1976 VI และ 1975n เป็นดาวหางที่โดดเด่นเป็นพิเศษ บางครั้งก็เป็นที่เรียกขานกันว่าเป็น "ดาวหางใหญ่" ด้วย ดาวหางเวสต์ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกจากภาพถ่ายโดย ริชาร์ด เอ็ม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวหางเวสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหางเฮล-บอปป์

วหางเฮล-บอปป์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 1997 ที่ประเทศโครเอเชีย ภาพนี้ได้รับเลือกเป็นภาพดีเด่นแห่งวิกิคอมมอนส์ ดาวหางเฮล-บอปป์ (Comet Hale-Bopp) หรือชื่ออย่างเป็นทางการตามระบบดาวหางว่า C/1995 O1 นับเป็นดาวหางที่มีการเฝ้าสังเกตการณ์มากที่สุดที่คริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นหนึ่งในบรรดาดาวหางที่สว่างที่สุดในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สถิติการมองเห็นด้วยตาเปล่าสามารถเฝ้าดูอยู่ได้เป็นเวลานานถึง 18 เดือน เป็นสองเท่าของสถิติเดิมคือดาวหางใหญ่แห่งปี 1811 ดาวหางเฮล-บอปป์ถูกค้นพบโดยนักสังเกตการณ์ดาวหางสองคนซึ่งอยู่กันคนละแห่ง ได้แก่ อลัน เฮล และ โทมัน บอปป์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวหางเฮล-บอปป์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอาร์136เอ1

วอาร์136เอ1 เป็นดาววูล์ฟ-ราเยท์ ที่มวลมากที่สุดเท่าที่ทราบ เป็นประมาณ 265 มวลดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเท่าที่ทราบเป็นประมาณ 8,700,000 เท่า ของความสว่างของดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวอาร์136เอ1 · ดูเพิ่มเติม »

ดาวซิริอุส

วซิริอุส (Sirius) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในภาษาไทยว่า ดาวโจร เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าระดับความสว่างอยู่ที่ -1.47 ซึ่งสว่างเกือบเป็นสองเท่าของดาวคาโนปุส ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสอง ชื่อ ซิริอุส มาจากภาษากรีกโบราณว่า "เซริออส" (Σείριος) มีชื่อตามระบบไบเยอร์ว่า อัลฟา คานิส เมเจอริส (α Canis Majoris หรือ α CMa) ความจริงดาวที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดาวดวงเดียวนั้นเป็นระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวสีขาวในลำดับหลัก (Main Sequence) ประเภท A1V ชื่อว่า ซิริอุส เอ (Sirius A) กับดาวแคระขาวสีจาง ๆ ในประเภท DA2 ชื่อว่า ซิริอุส บี (Sirius B) การที่ดาวซิริอุสเป็นดาวที่สว่างที่สุด นอกจากความสามารถในการส่องสว่างของมันเองแล้ว มันยังอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเรามาก คือห่างไปเพียง 2.6 พาร์เซก (ประมาณ 8.6 ปีแสง) ระบบดาวซิริอุสถือว่าเป็นระบบดาวเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ดาวซิริอุสเอมีมวลประมาณ 2 เท่าของดวงอาทิตย์ และมีค่าความสว่างสัมบูรณ์ เท่ากับ 1.42 หรือคิดเป็น 25 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์Liebert, J.; Young, P. A.; Arnett, D.; Holberg, J. B.; Williams, K. A. (2005).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวซิริอุส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวนักขัตฤกษ์

วนักขัตฤกษ์ หรือ ดาวนักษัตรฤกษ์ เรียกย่อว่าดาวฤกษ์ ในทางโหราศาสตร์ไทยและภารตะ หมายถึงกลุ่มดาวที่มีตำแหน่งคงตัว 27 กลุ่มที่เรียงตัวกันบนฟากฟ้า ในวิชาโหราศาสตร์ เมื่อจะให้ฤกษ์หรือพยากรณ์ชีวิตบุคคล ก็จะต้องดูว่าดวงจันทร์ ในขณะที่เกิดหรือทำการนั้น ทับดาวนักขัตฤกษ์ที่ดีหรือไม่ นอกจากนี้อาจดูให้ละเอียดลงไปถึงลัคนาด้วยว่าอยู่ในกลุ่มดาวใด ดาวฤกษ์ต่างจากดาวเคราะห์ตรงที่ดาวเคราะห์สามารถเคลื่อนที่ไปในจักรราศีได้ และสามารถบันดาลชะตาต่อบุคคลหรือสถานที่ได้ ซึ่งในทางโหราศาสตร์จัดว่าดวงอาทิตย์เป็นดาวเคราะห์ด้วย ฤกษ์แต่ละฤกษ์กินอาณาเขต 800 ลิปดา แบ่งออกเป็นส่วนย่อยได้สี่ส่วนเรียกว่าบาท มีขนาดเท่ากับนวางค์ของราศี คือ 200 ลิปดา ฤกษ์ใดที่บาททั้งสี่อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกฤกษ์นั้นว่าบูรณฤกษ์ หมายถึงฤกษ์ครบถ้วน หรือฤกษ์ดีงาม ฤกษ์ใดที่มีสามบาทอยู่ราศีหนึ่ง และอีกบาทหนึ่งอยู่อีกราศี เรียกว่า ฉินทฤกษ์ แปลว่าฤกษ์แตกหัก เป็นฤกษ์ร้ายแรงมาก ส่วนฤกษ์ใดที่มีสองบาทแบ่งครึ่งสองราศี เรียกว่า พินทุฤกษ์ หรือฤกษ์เปื้อนเปรอะ เป็นฤกษ์ที่มัวหมอง ในทางดาราศาสตร์ได้ยืมคำว่าดาวฤกษ์ ไปใช้เรียกดาวที่มีการผลิตพลังงานในตัวเองโดยปฏิกิริยาหลอมตัวนิวเคลียร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวนักขัตฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระ

ำว่า ดาวแคระ สามารถหมายถึงดาวฤกษ์หลายประเภท.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระขาว

ซิริอุส เอ และ บี ที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซิริอุส บี ที่เป็นดาวแคระขาวสามารถเห็นเป็นจุดจาง ๆ อยู่ทางด้านล่างซ้ายของดาว Sirius A ที่สว่างกว่ามาก ๆ ดาวแคระขาว (White dwarf) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวแคระเสื่อม (Degenerate dwarf) เป็นดาวขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยอิเล็กตรอนที่เป็นสสารเสื่อม เนื่องจากดาวแคระขาวที่มีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์จะมีปริมาตรใกล้เคียงกับโลก ทำให้มันมีความหนาแน่นสูงและมีกำลังส่องสว่างน้อยมาจากความร้อนที่สะสมไว้, Jennifer Johnson, lecture notes, Astronomy 162, Ohio State University.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวแคระขาว · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระแดง

วาดแสดงลักษณะของดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากที่สุดบนท้องฟ้า อธิบายตามไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ดาวแคระแดง (Red dwarf) คือดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กและมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างต่ำมาก เทียบกับบรรดาดาวฤกษ์บนแถบลำดับหลักทั้งหมด โดยมีค่าสเปกตรัมประมาณตอนปลายของประเภท K หรือ M ดาวฤกษ์ประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุดในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมด มีมวลน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ (หากต่ำถึง 0.075 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ จะเรียกว่า ดาวแคระน้ำตาล) และมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า 3,500 เคลวิน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวแคระแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแคระเหลือง

ดวงอาทิตย์ ตัวอย่างดาวฤกษ์ชนิด G V ดาวแคระเหลือง (Yellow dwarf) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ดาว G-V คือดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งมีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ G และความส่องสว่างในระดับ V ดาวแคระเหลืองมักมีขนาดเล็ก (ประมาณ 0.8 - 1.0 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) และมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,300-6,000 เคลวิน, G. M. H. J. Habets and J. R. W. Heintze, Astronomy and Astrophysics Supplement 46 (November 1981), pp.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวแคระเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวแปรแสง

วแปรแสง (Variable Star) คือดาวฤกษ์ ที่มีความสว่างเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แตกต่างจากดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในท้องฟ้าที่มีสภาพส่องสว่างเกือบคงที่ ดวงอาทิตย์ของเรา เป็นตัวอย่างที่ดีของดาวฤกษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความสว่างน้อยมาก (โดยปกติเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.1% ในวัฏจักรสุริยะ 11 ปี) ดาวแปรแสงมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงความสว่างจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ตัวอย่างดาวฤกษ์ดวงที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ดาวบีเทลจุส" ในกลุ่มดาวนายพราน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวแปรแสง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวไฮเปอร์ไจแอนท์

ปรียบเทียบขนาดระหว่างดวงอาทิตย์กับวีวาย สุนัขใหญ่ ดาวไฮเปอร์ไจแอนท์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน ไฮเปอร์ไจแอนท์ (Hypergiant; ระดับความส่องสว่าง 0) คือดาวฤกษ์ที่มีมวลและความส่องสว่างขนาดมหาศาล ซึ่งเป็นตัวแสดงว่ามีอัตราการสูญเสียมวลที่สูงมาก ดาวฤกษ์ชนิดไฮเปอร์ไจแอนท์มีระดับความสว่างสูงยิ่งยวด ถึงหลายล้านเท่าของความส่องสว่างดวงอาทิตย์ทีเดียว และมีอุณหภูมิสูงมากระหว่าง 3,500 K ถึง 35,000 K มวลของดาวไฮเปอร์ไจแอนท์มีมหาศาล ทำให้ช่วงอายุของดาวนี้สั้นมากเมื่อพิจารณาในเส้นเวลาทางดาราศาสตร์ คือเพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับอายุของดาวฤกษ์อื่น เช่น ดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งมีอายุราวหมื่นล้านปี ด้วยเหตุนี้ ดาวไฮเปอร์ไจแอนท์จึงมีอยู่น้อยมาก ที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้ก็มีเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวไฮเปอร์ไจแอนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเบอร์นาร์ด

วเบอร์นาร์ด (Barnard's Star) เป็นดาวแคระแดงมวลต่ำมาก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 6 ปีแสงในกลุ่มดาวคนแบกงู เอ็ดเวิร์ด อีเมอร์สัน เบอร์นาร์ด นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้ตรวจวัดการเคลื่อนที่เฉพาะของดาวนี้ได้ค่าเป็น 10.3 พิลิปดาต่อปี เป็นดาวที่มีการเคลื่อนที่เฉพาะเทียบกับดวงอาทิตย์มากที่สุดกว่าดาวฤกษ์ดวงใด นอกจากนี้ดาวเบอร์นาร์ดยังเป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวในกลุ่มดาวคนแบกงูที่อยู๋ใกล้ที่สุดภายในระยะ 1.8 พาร์เซ็กหรือ 6 ปีแสง และเป็นระบบดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นลำดับที่สอง และเป็นดาวฤกษ์เดี่ยวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นลำดับที่สี่ (สามอันดับแรกคือดาวฤกษ์ในระบบดาว อัลฟาคนยิงธนู) ดาวเบอร์นาร์ดมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 9 จึงจางแสงมากจนไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะสามารถมองเห็นได้สว่างชัดเจนขึ้นในคลื่นอินฟราเร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเบอร์นาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเวกา

วเวกา (Vega) หรือแอลฟาพิณ (Alpha Lyrae) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวพิณ ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับห้าในท้องฟ้าราตรี และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับสองในซีกฟ้าเหนือ รองจากดาวอาร์คตุรุส ดาวเวกาอยู่ค่อนข้างใกล้โลก ระยะห่างจากโลก 25 ปีแสง และดาวเวกา กับดาวอาร์คตุรุสและดาวซิริอุส เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในย่านดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวเวกาอย่างละเอียด ทำให้ได้ชื่อว่า "อาจเป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญที่สุดในท้องฟ้ารองจากดวงอาทิตย์" ดาวเวกาเคยเป็นดาวเหนือเมื่อราว 12,000 ปีก่อน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเวกา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเหนือ

ที่ถ่ายโดยเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นว่าดาวดวงอื่นดูคล้ายเคลื่อนที่วนรอบดาวเหนือ ดาวเหนือ หรือ ดาวโพลาริส (Polaris หรือ Cynosura) (α UMi / α หมีเล็ก / แอลฟาหมีเล็ก) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก และอยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ จึงปรากฏเหมือนอยู่นิ่งกับที่บนท้องฟ้า (แท้จริงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เพราะแกนหมุนของโลกมีการส่าย) การที่ดาวเหนืออยู่ในทิศทางที่เกือบจะเป็นทิศทางเดียวกับแกนหมุนของโลก ดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ จึงดูเหมือนเคลื่อนที่วนเป็นวงกลมรอบดาวเหนือ นักสำรวจอาศัยดาวเหนือในการเดินเรือ ปัจจุบันดาวเหนือไม่ได้อยู่ตรงกับขั้วฟ้าเหนือแต่ห่างจากขั้วฟ้าเหนือเล็กน้อย (ไม่เกิน 1&deg) จึงเคลื่อนที่เป็นวงกลมเล็ก ๆ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2° มีเพียงสองเวลาในวันหนึ่ง ๆ ที่ดาวเหนืออยู่ตรงกับทิศเหนือพอดี ส่วนในเวลาอื่นต้องอาศัยตารางคำนวณเพื่อหาทิศเหนือที่แม่นยำ แท้จริงแล้วดาวเหนือไม่ได้บอกทิศเหนือตลอดไป การที่แกนหมุนของโลกส่ายคล้ายลูกข่างด้วยคาบ 26,000 ปี ทำให้ดาวฤกษ์ดวงอื่นเคยเป็นดาวเหนือมาก่อน เช่น ดาวทูแบนในกลุ่มดาวมังกร ส่วนในอนาคต จะเป็นดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ ในอนาคตอันใกล้นี้ เรายังสามารถใช้ดาวเหนือบอกทิศเหนือได้ต่อไป โดยที่ดาวเหนือจะอยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือมากที่สุดในปี ค.ศ. 2100 ด้วยระยะห่างไม่เกินครึ่งองศา เราสามารถค้นหาดาวเหนือได้จากการลากเส้นตรงผ่านดาว 2 ดวงของกลุ่มดาวหมีใหญ่ ((β และ α หมีใหญ่) ไปหาดาวเหนือได้ เรียกดาว 2 ดวงนี้ว่าดาวชี้ (Pointers) หรือไม่ก็ลากเส้นผ่านแบ่งครึ่งผ่านกลางกลุ่มดาวแคสซิโอเปียที่มีรูปร่างเหมือนตัวอักษร W การเป็นที่รู้จักของดาวเหนือ ทำให้คนจำนวนมากคิดว่าดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า, แต่ในความเป็นจริง ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับที่ 47. ส่วนดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า (ยกเว้นดวงอาทิตย์) คือ ดาวซิริอัส ข้อมูลจากดาวเทียมฮิปปาร์คอส พบว่าดาวเหนืออยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 431 ปีแสง (132 พาร์เซก) เป็นดาวยักษ์ใหญ่หรือดาวยักษ์ที่มีดาวฤกษ์จาง ๆ 2 ดวงเป็นสหาย ดวงแรกมีชนิดสเปกตรัม F3 V อยู่บนแถบลำดับหลัก ห่างจากดาวแม่ประมาณ 2,000 หน่วยดาราศาสตร์ อีกดวงอยู่ใกล้กว่าด้วยกึ่งแกนเอกของวงโคจรเพียง 5 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ดาวแปรแสงดวงหนึ่ง ราวปี ค.ศ. 1900 ดาวเหนือมีความสว่างขึ้นลงประมาณ 8% (คิดเป็น 0.15 ความส่องสว่าง) ด้วยคาบ 3.97 วัน ปี ค.ศ. 2005 ความสว่างเปลี่ยนแปลงเพียง 2% นอกจากนี้ยังมีความสว่างมากกว่าปี ค.ศ. 1900 อยู่ประมาณ 15% รวมทั้งคาบก็เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 8 วินาทีต่อปี งานวิจัยเมื่อเร็วนี้ ๆ บ่งชี้ว่าในยุคที่ทอเลมียังมีชีวิตอยู่ ดาวเหนืออาจสว่างกว่านี้ 2.5 เท่า ซึ่งถ้าหากเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวเหนือ จะสูงเกินกว่าผลการพยากรณ์โดยอาศัย ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ในท้องฟ้าซีกใต้ ไม่มีดาวฤกษ์สว่างที่อยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้ ดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและอยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้มากที่สุด คือ ดาวซิกมาออกแทนต์ (บางครั้งเรียกว่า Polaris Australis) อย่างไรก็ตาม คนในซีกโลกใต้สามารถใช้กลุ่มดาวกางเขนใต้ในการคะเนตำแหน่งของทิศใต้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเฮาเมอา

มอา มีชื่อเดิมว่า 136108 เฮาเมอา เป็นดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งในแถบไคเปอร์ มีมวลขนาดหนึ่งในสามของดาวพลูโต ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2547 โดยไมเคิล อี. บราวน์ (Michael E. Brown) และทีมค้นหาจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) และหอดูดาวเมานาเคอาในสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ. 2548 โดยโคเซ ลุยส์ ออร์ติซ โมเรโน (José Luis Ortiz Moreno) และทีมค้นหาจากหอดูดาวเซียร์ราเนบาดาในประเทศสเปน (แต่การอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบของฝ่ายหลังถูกโต้แย้ง) ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551 สหภาพดาราศาสตร์นานาชาติได้จัดดาวดวงนี้ให้อยู่ในกลุ่มของดาวเคราะห์แคระ และตั้งชื่อตามเฮาเมอา เทพีแห่งการให้กำเนิดของชาวฮาวาย เฮาเมอามีลักษณะพิเศษต่างจากวัตถุพ้นดาวเนปจูนเท่าที่ค้นพบแล้วดวงอื่น ๆ เนื่องจากทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์กว้างมาก แม้ว่ายังจะไม่มีการสำรวจรูปร่างของมันโดยตรง แต่จากการคำนวณจากเส้นความสว่าง (light curve) ทำให้สันนิษฐานได้ว่าดาวเคราะห์แคระดวงนี้เป็นวัตถุทรงรี มีแกนหลักยาวเป็นสองเท่าของแกนรอง แต่กระนั้นก็เชื่อว่ามันมีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะดึงดูดตัวเองให้อยู่ในภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ได้ ดังนั้นดาวดวงนี้จึงมีลักษณะตรงตามคำจำกัดความของดาวเคราะห์แคระ สันนิษฐานว่าการทำมุมเช่นนี้ รวมทั้งลักษณะอื่น ๆ เช่น การหมุนรอบตัวเองเร็วผิดปกติ ความหนาแน่นสูง และอัตราส่วนสะท้อน (albedo) สูง (ซึ่งเชื่อว่าเป็นเพราะชั้นน้ำแข็งบนพื้นผิว) เป็นผลมาจากการชนกันครั้งใหญ่ซึ่งทำให้เฮาเมอากลายเป็นสมาชิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตระกูลวัตถุที่เกิดจากการชนกัน (collisional family) ของมันเองซึ่งรวมดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 2 ดวงของมันไว้ด้ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเฮาเมอา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียม

นีบนพื้นโลก ดาวเทียม (satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเป็นสิ่ง ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์คล้ายโลก · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อยตระกูลฮังการี

วเคราะห์น้อยตระกูลฮังการี (Hungaria asteroids) เป็นกลุ่มของดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ระยะห่างระหว่าง 1.78 และ 2.0 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่า 0.18) มีค่าความเอียงวงโคจร ระหว่าง 16 ถึง 34 องศา และมีคาบการโคจรประมาณ 2.5 ปี ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีการสั่นพ้องของวงโคจรกับดาวพฤหัสบดีที่ 9:2 และกับดาวอังคารที่ 3:2 ชื่อของตระกูลดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้ตั้งตามชื่อดาวเคราะห์น้อยสมาชิกดวงที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม คือ 434 ฮังกาเรีย ถือเป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อยที่หนาแน่นมากที่สุดในบริเวณด้านใน ในแถบวงโคจรต่ำกว่าช่องว่างเคิร์กวูด 4:1.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์น้อยตระกูลฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเนปจูน

วเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก: โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 20

อะเมซิ่ง เรซ 20 (The Amazing Race 20) เป็นฤดูกาลที่ 20 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ฤดูกาลนี้เริ่มออกอากาศในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 และจะออกอากาศตอนสุดท้ายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2555 ซึ่งจะเป็น 2 ชั่วโมงสุดท้ายติดต่อกันเนื่องจากได้เว้นว่างไป 1 สัปดาห์ที่ทางสถานีได้ถ่ายทอด คันทรี มิวสิก อาวอร์ด เช่นเดียวกับปีที่แล้ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดิอะเมซิ่งเรซ 20 · ดูเพิ่มเติม »

ดิถี

ี หรือ เฟส หรือ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ของดวงจันทร์ (lunar phase) ในทางดาราศาสตร์ เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดกับดวงจันทร์ นั่นคือ ดวงจันทร์จะมีส่วนสว่างที่สังเกตได้ที่ไม่เท่ากันในแต่ละคืน เกิดจากการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก โดยหันส่วนสว่างเข้าหาโลกต่างกัน ดิถีที่ต่างกันนี้เองมักใช้กำหนดวันสำคัญทางพุทธศาสนา และใช้เป็นหลักในการนับเวลา ในปฏิทินจันทรคติ ก่อนที่จะมานิยมใช้ปฏิทินสุริยคติ การคำนวณดิถีของดวงจันทร์ สามารถทำได้ทั้งแบบดาราศาสตร์สมัยใหม่และดาราศาสตร์แผนเก่า เช่น ใช้กระดานปักขคณนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือใช้ตำราสุริยยาตร์ ในการคำนวณ สำหรับในทางโหราศาสตร์ ดิถีคือวันทางจันทรคติ (lunar day) มีสองแบบคือ ดิถีเพียร และ ดิถีตลาด ดิถีเพียรจะเป็นดิถีที่คำนวณโดยอิงการโคจรของดวงจันทร์ในรอบเดือนจริง ๆ ไม่ใช่ขึ้นแรมในปฏิทินปกติ ในขณะที่ดิถีตลาด จะอนุโลมให้ดิถีนับแบบอิงวันสุริยคติเป็นวัน ๆ ไป เรียกเป็นข้างขึ้นข้างแรม ดิถีทั้งสองแบบล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันกับข้างขึ้นข้างแรมหรือดิถีในความหมายทางดาราศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว โดยเป็นส่วนประกอบของปฏิทินจันทรคติ ซึ่งนั่นคือข้างขึ้นข้างแรมที่สังเกตได้ยามค่ำคืนนั่นเอง สำหรับกล่องข้อความด้านขวานี้จะแสดงดิถีของดวงจันทร์ตามการคำนวณแบบดาราศาสตร์สมัยใหม่ โดยที่แสดงวันที่ไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นดิถีของวันใด มิให้เกิดความสับสน และแสดงร้อยละของส่วนสว่างบนดวงจันทร์ไว้ด้านล่าง ภาพการเกิดดิถีของดวงจันทร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และดิถี · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 10

ริสต์สหัสวรรษที่ 10 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..9001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..10000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 10 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และคริสต์สหัสวรรษที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 3

ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย คริสต์สหัสวรรษที่ 3 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และคริสต์สหัสวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 7

ริสต์สหัสวรรษที่ 7 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..6001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..7000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 7 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และคริสต์สหัสวรรษที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 9

ริสต์สหัสวรรษที่ 9 ตามปฏิทินเกรกอเรียน จะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 1 เดือนมกราคม..8001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..9000 นี่เป็นสหัสวรรษที่ 9 ของทั้งคริสต์ศักราชและสากลศักร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และคริสต์สหัสวรรษที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

ความยาว

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่ง แสดงความกว้าง ความยาว และความสูง ความยาว คือ ปริมาณของรูปหนึ่งมิติ หรือ มิติตามแนวยาวของวัตถุใด ๆ ความยาวของของสิ่งหนึ่งคือระยะทาง (หรือการกระจัด) จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด ซึ่งเป็นการขยายเชิงเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ความยาวอาจมีความหมายแยกออกจากความสูง ซึ่งเป็นการขยายตามแนวดิ่ง และความกว้าง ซึ่งเป็นระยะทางจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เช่นวัดจากมุมข้างซ้ายไปยังมุมข้างขวาผ่านวัตถุเป็นต้น ในทางวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรม คำว่า ความยาว นี้มีความหมายเหมือนกับ ระยะทาง และย่อด้วยอักษร l หรือ L (แอล) หรือสัญลักษณ์คล้ายแอล ความยาวเป็นการวัดในหนึ่งมิติ ในขณะที่พื้นที่เป็นการวัดในสองมิติ และปริมาตรเป็นการวัดในสามมิติ ในระบบการวัดส่วนใหญ่ หน่วยความยาวเป็นหน่วยวัดพื้นฐานสำหรับการนิยามหน่วยวัดอื่น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความยาว · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อน

ในทางฟิสิกส์ ความร้อน (ใช้สัญลักษณ์ว่า Q) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ในทางอุณหพลศาสตร์จะใช้ปริมาณ TdS ในการวัดปริมาณความร้อน ซึ่งมีความหมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ของวัตถุ (T) คูณกับอัตราการเพิ่มของเอนโทรปีในระบบเมื่อวัดที่พื้นผิวของวัตถุ ความร้อนสามารถไหลผ่านจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หากต้องการให้ความร้อนถ่ายเทไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิเท่ากันหรือสูงกว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปั๊มความร้อนเท่านั้น การสร้างแหล่งความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสามารถทำได้จากปฏิกิริยาเคมี (เช่นการเผาไหม้) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (เช่นฟิวชันในดวงอาทิตย์) การเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเตาไฟฟ้า) หรือการเคลื่อนที่ทางกล (เช่นการเสียดสี) โดยที่อุณหภูมิเป็นหน่วยวัดปริมาณของพลังงานภายในหรือเอนทาลปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนของวัตถุนั้นๆ ความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างวัตถุได้สามวิธีคือ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน นอกจากนี้มีกระบวนการถ่ายเทความร้อนอีกแบบหนึ่งคือ ความร้อนแฝง ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นก๊าซ เป็นต้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ความสว่างดวงอาทิตย์

วามสว่างดวงอาทิตย์ เป็นหน่วยวัดความสว่างหรือฟลักซ์การแผ่รังสี (พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาในรูปโปรตอน) เคยถูกใช้โดยนักดารศาสตร์เพื่อวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ค่าดังกล่าวมีค่าเท่ากับค่าความสว่างของดวงอาทิตย์ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.839 × 1026 วัตต์ หรือ 3.839 × 1033 เอิร์ก/วินาที ค่าดังกล่าวจะสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.939 × 1026 วัตต์ (เท่ากับ 4.382 × 109 กิโลกรัม/วินาที) ถ้ารังสีนิวตริโนดวงอาทิตย์ถูกคิดรวมเข้าไปด้วยเช่นเดียวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดวงอาทิตย์เป็นดาวแปรแสงอย่างอ่อน ดังนั้น ความสว่างของมันจึงมีความผันผวน ความผันแปรที่โดดเด่น คือ วัฏจักรสุริยะ (วัฏจักรจุดดับบนดวงอาทิตย์) ซึ่งทำให้เกิดความผันแปรตามเวลาราว ±0.1% ตัวแปรอื่น ๆ ตลอดช่วง 200-300 ปีที่ผ่านมามีการคาดการณ์ว่าส่งผลกระทบน้อยกว่านี้มาก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความสว่างดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์

ปัจจุบัน มีเพียงโลกเท่านั้นที่เป็นดาวเคราะห์ที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือการตรวจวัดศักยภาพของดาวเคราะห์หรือดาวบริวารของดาวเคราะห์ว่าสามารถรองรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ ชีวิตดังกล่าวนี้อาจมีวิวัฒนาการขึ้นบนดาวเคราะห์หรือดาวบริวารนั้นเอง หรืออพยพมาจากแหล่งอื่นก็ได้ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีความแน่ชัดใดๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ดังนั้นการศึกษาเรื่องความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์จึงใช้เงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของโลก และคุณลักษณะของดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้บนโลก การศึกษาวิจัยในสาขานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และเป็นสาขาเกิดใหม่ในทางชีวดาราศาสตร์ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับชีวิต คือ แหล่งกำเนิดพลังงาน ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์มีความหมายพื้นฐานถึงลักษณะขอบเขตทางฟิสิกส์ธรณีวิทยา เคมีธรณีวิทยา และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่พอเหมาะพอดีในการเอื้อหนุนต่อสิ่งมีชีวิต องค์การนาซ่าได้นิยามขอบเขตพื้นฐานของความสามารถอยู่อาศัยได้ ว่า "ต้องมีน้ำในสถานะของเหลว เงื่อนไขที่ช่วยให้เกิดโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อน และมีแหล่งพลังงานพอสำหรับสร้างเมแทบอลิซึม".

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างของอุปราคา

วามส่องสว่างของอุปราคา คือ เศษส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวคราส ทั้งสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ระหว่างอุปราคาบางส่วนและวงแหวน ค่าความส่องสว่างของอุปราคาจะอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 1.0 ขณะที่ระหว่างอุปราคาเต็มดวง ค่าความส่องสว่างจะอยู่ที่อย่างน้อยที่สุด 1.0 เสมอ โดยหลักการ ความส่องสว่างคือการคำนวณดังต่อไปนี้: วาดเส้นตรงระหว่างศูนย์กลางของตัวอุปราคาและตัวคราส (หรือ เงา) ตรวจดูว่าเศษส่วนของเส้นภายในตัวอุปราคาที่อยู่ในอุปราคามีขนาดใหญ่เท่าไร; นี่คือความส่องสว่างแบบเรขาคณิตของอุปราคา ถ้าตัวอุปราคาเป็นแบบเต็มดวง สามารถยืดเส้นนี้ออกไปในหนึ่งทิศทางให้ใกล้ขอบของตัวคราส (หรือ เงา) ที่สุดได้ และจะได้ความส่องสว่างแบบเรขาคณิตมากกว่า 1.0 ถ้านั้นไม่ใช่อุปราคา แต่เป็น สถานการณ์หวุดหวิด สามารถยืดเส้นไปทางใกล้ขอบของตัวคราส (หรือ เงา) ที่สุดได้ รวมถึงระยะทางนี้จะเป็นค่าลบ และจะได้ความส่องสว่างแบบเรขาคณิตเป็นลบ การวัดนี้ไม่ควรสับสนกับการคลุมเครือของอุปราคา สิ่งนี้คือเศษส่วนของตัวอุปราคาถูกบดบังโดยตัวคราส ในทางตรงกันข้ามความส่องสว่างของอุปราคา คือ อัตราของเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างแท้จริง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความส่องสว่างของอุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วง

หมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน) ความโน้มถ่วง (gravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์)

ในทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ความเป็นโลหะ (metallicity) ของวัตถุคือค่าสัดส่วนองค์ประกอบของสสารในวัตถุนั้นที่มีส่วนประกอบของธาตุทางเคมีชนิดอื่นมากกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียม ทั้งนี้ ดาวฤกษ์ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นได้ชัดในเอกภพมักประกอบด้วยไฮโดรเจนกับฮีเลียม นักดาราศาสตร์จึงนิยมเรียกส่วนที่เหลือ (ในที่ว่างดำมืด) ว่าเป็น "โลหะ" เพื่อความสะดวกในการบรรยายถึงส่วนที่เหลือทั้งหมด จากคำนิยามนี้ เนบิวลาซึ่งมีส่วนประกอบของคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน และนีออน อยู่อย่างล้นเหลือ จึงถูกเรียกว่าเป็น "วัตถุอุดมโลหะ" ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แม้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้เป็นโลหะจริงๆ ตามความหมายของเคมีดั้งเดิม จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องระมัดระวังไม่นำไปปะปนกับคำว่า "โลหะ" (metal หรือ metallic) โดยทั่วไป ความเป็นโลหะของวัตถุทางดาราศาสตร์อาจพิจารณาได้จากอายุของวัตถุนั้นๆ เมื่อแรกที่เอกภพก่อตัวขึ้นตามทฤษฎีบิกแบง มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผ่านช่วงนิวคลีโอซินทีสิสในยุคแรกเริ่มแล้ว จึงได้เกิดสัดส่วนฮีเลียมเพิ่มจำนวนมากขึ้น กับลิเทียมและเบริลเลียมอีกจำนวนเล็กน้อย แต่ยังไม่มีธาตุหนักเกิดขึ้น ดาวฤกษ์ที่อายุเก่าแก่จึงมักมีส่วนประกอบโลหะอยู่ค่อนข้างน้อย แต่ข้อเท็จจริงที่พบจากการเฝ้าสังเกตดาวฤกษ์จำนวนมากและพบส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ด้วย ยังเป็นปริศนาที่ไขไม่ออก คำอธิบายในปัจจุบันจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลการมีอยู่ของดาวฤกษ์ชนิด Population III เชื่อกันว่า ถ้าไม่มีโลหะ ก็มีแต่เพียงดาวฤกษ์ที่มีมวลมากอย่างมหาศาลเท่านั้นที่จะก่อตัวขึ้นมาได้ และในช่วงปลายอายุขัยของมันก็จะมีการสร้างธาตุ 26 ชนิดแรกไปจนถึงเหล็กในตารางธาตุ ผ่านกระบวนการนิวคลีโอซินทีสิส ในเมื่อดาวฤกษ์เหล่านี้มีมวลมหาศาล แบบจำลองในปัจจุบันจึงระบุถึงการสิ้นอายุขัยของมันในลักษณะซูเปอร์โนวา ซึ่งทำให้สสารภายในของดาวแตกกระจายและแผ่ออกไปในเอกภพ ทำให้เกิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นถัดมาที่มีส่วนประกอบของธาตุหนักอยู่ดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ตามทฤษฎีเท่าที่มีในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และความเป็นโลหะ (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

คาบดาราคติ

ในทางดาราศาสตร์ คาบดาราคติ (orbital period) คือระยะเวลาที่วัตถุหนึ่งใช้ในการโคจรรอบวัตถุอื่นที่ใช้ในทางดาราศาสตร์ ซึ่งคาบดาราคตินั้นมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักดาราศาสตร์ ที่จะต้องใช้คาบดาราคติในการคำนวณระยะเวลาของดาวดวงหนึ่งโคจรรอบดาวอีกดวงหนึ่ง คาบดาราคติยังแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และคาบดาราคติ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี

ตราแผ่นดินของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี ตราแผ่นดินของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี หรือตราแผ่นดินของอาณานิคมในมหาสมุทรอินเดียของบริเตน (Coat of arms of the British Indian Ocean Territory) เริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1990 ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้งเขตปกครองแห่งนี้ ลักษณะของตราประกอบด้วยโล่ซึ่งมีรูปธงชาติสหราชอาณาจักรอยู่ด้านบนสุด ตอนล่างเป็นพื้นสีน้ำเงิน มีต้นปาล์มและมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดอยู่ตรงกลางและมีรูปซีกหนึ่งของดวงอาทิตย์ปรากฏที่มุมซ้ายบนของพื้นสีน้ำเงิน เบื้องล่างสุดของภายในโล่เป็นลายคดคล้ายระลอกคลื่นสีขาว 3 เส้น หมายถึงมหาสมุทรอินเดีย สองข้างของโล่นั้นมีเต่าสองตัวประคองโล่ไว้ โดยด้ายซ้ายนั้นเป็นเต่ากระ (สีน้ำตาล) ด้านขวาเป็นเต่าตนุ (สีเขียว) อันเป็นสัตว์ประจำถิ่น เบื้องบนของโล่เป็นรูปมงกุฎสีเงินและหอคอยสีแดงชักธงประจำดินแดน รูปดังกล่าวทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นทรายซึ่งมีโขดหินและเปลือกหอยชนิดต่างๆ ที่เบื้องล่างของดวงตรามีแพรแถบบรรจุคำขวัญประจำดินแดนเป็นภาษาละตินว่า In tutela nostra Limuria ความหมายของคำขวัญคือ "ลีมูเรีย (Limuria) อยู่ในความครอบครองของเรา" คำว่า "ลีมูเรีย" ในที่นี้ หมายถึงทวีปที่สาบสูญซึ่งเชื่อกันว่าตั้งอยู่ในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และตราแผ่นดินของบริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของอุซเบกิสถาน

ตราแผ่นดินของอุซเบกิสถาน (ГОСУДАРСТВЕННЫЙ ГЕРБ РЕСПУБЛИКИ УЗБЕКИСТАН O'ZBEKISTON RESPUBLIKASI DAVLAT GERBI) ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม, พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และตราแผ่นดินของอุซเบกิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของคาซัคสถาน

ตราแผ่นดินของคาซัคสถาน (Қазақстан елтаңбасы. Герб Казахстана.) ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และตราแผ่นดินของคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของคีร์กีซสถาน

ตราแผ่นดินของคีร์กีซสถาน ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และตราแผ่นดินของคีร์กีซสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของติมอร์-เลสเต

ตราแผ่นดินของติมอร์-เลสเต เริ่มใช้เมื่อ 18 มกราคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และตราแผ่นดินของติมอร์-เลสเต · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของแอลจีเรีย

ตราแผ่นดินของแอลจีเรีย ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2519.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และตราแผ่นดินของแอลจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ฉางเอ๋อ

วาดฉางเอ๋อเหาะกลับไปยังดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ตามความเชื่อปรัมปราของจีน โดยที่นางประทับเฉพาะแต่บนดวงจันทร์เท่านั้น ฉางเอ๋อ เป็นคนรักของโฮวอี้ ซึ่งเป็นนักยิงธนูแห่งสวรรค์ ในยุคพระเจ้าเหยา ดวงอาทิตย์พร้อมกันส่องแสงอย่างสนุกสนานพร้อมกันถึง 10 ดวง ยังความเดือดร้อนแก่ผู้คนบนโลกมนุษย์อย่างมาก เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้โฮวอี้ไปจัดการ ด้วยความคะนองโฮวอี้จึงใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงด้วยกัน เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ จึงมีบัญชาให้เนรเทศโฮวอี้และฉางเอ๋อลงไปอยู่บนโลกมนุษย์ เฉกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป ทั้งคู่จึงตกลงกันที่จะไปใช้ชีวิตอยู่บนโลกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป แต่โฮวอี้ได้ใช้ฝีมือยิงธนูปราบปรามสัตว์ร้ายต่าง ๆ ราบคาบจนผู้คนยกย่องให้เป็นผู้นำ โฮวอี้ลำพองใจจนลืมตัว ฉางเอ๋อสังเกตเห็นการเปลี่ยนไปอันนี้ แต่มิอาจทัดทานได้ วันหนึ่ง โฮวอี้ได้น้ำอมฤตมาจากเจ้าแม่หว่างมู่ หากใครได้ดื่มกินแล้วจะมีชีวิตเป็นอมตะ เป็นหนุ่มสาวตลอดไป แต่โฮวอี้ได้ถูกเฟิงเมิ่ง ชายผู้แอบอิจฉาเขามาตลอดดักยิงตายที่หน้ากระโจมที่พัก ส่วนฉางเอ๋อเศร้าโศกเสียใจต่อการตายของโฮวอี้ และนางก็ได้ดื่มน้ำอมฤตนี้แต่เพียงผู้เดียว และเหาะกลับไปยังดวงจันทร์เหมือนเดิม แต่เพียงผู้เดียวด้วยความเศร้าสร้อย ซึ่งเรื่องราวของนางเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 (กันยายนตามปฏิทินสากล) แต่อย่างไรก็ดี เรื่องราวเกี่ยวกับนางก็มีแตกต่างกันออกไป เช่น ดั้งเดิมฉางเอ๋อมิใช่เทพธิดา แต่เป็นมนุษย์ธรรมดาบนโลก เป็นต้น ปัจจุบัน ได้มีการตั้งชื่อดาวเทียมของจีนตามชื่อของนาง คือ ฉางเอ๋อ 1 และฉางเอ๋อ 2.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และฉางเอ๋อ · ดูเพิ่มเติม »

ซันเอาท์เทจ

sun outage เป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อโลก ดาวเทียม และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทำให้จานสายอากาศของสถานีภาคพื้นดิน รับสัญญาณจากดวงอาทิตย์(ที่เป็นแหล่งกำเหนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีกำลังงานขนาดมหาศาล) ซึ่งจะผลิตสัญญาณทุกย่านความถี่ เกิดขึ้นเป็นสัญญาณรบกวน ปะปนเข้ามากับสัญญาณสื่อสารข้อมูล ที่สถานีภาคพื้นดินนั้นๆรับจากดาวเทียม ทำให้สถานีสื่อสารภาคพื้นดิน ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเหตุการณ์ sun outage จะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลานาน 5-10 วัน วันละประมาณ 15 นาที และการเกิดปรากฏการ sun outage นี้จะเกิดกับสถานีดาวเทียมที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ไม่พร้อมกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสถานีภาคพื้นดินบนพื้นโลก sun outage จะเกิดประมาณเดือนกันยายน และตุลาคมของทุกปี บางทีอาจเกิดเดือนอื่นๆก็ได้ ซึ่งสามารถทำการคำนวณเพื่อคาดการณ์วัน และเวลาที่จะเกิดล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ การคำนวณนี้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ เช่นดาวเทียม เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ จะทำให้เครื่องรับดาวเทียม ชิปไปชิปมา ไฟสัญญาณ ซิ้งค์ จะกะพริบๆ เสียงจะดังขาดๆหายๆ แล้วเสียงก็จะหายไป ปล่อยไว้ประมาณ 15 นาที เมื่อมุมของโลก เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงกับดวงอาทิตย์ ก็จะรับสัญญาณได้ตามปกติ หมวดหมู่:ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หมวดหมู่:การแพร่สัญญาณ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และซันเอาท์เทจ · ดูเพิ่มเติม »

ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์

การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Cardcaptor Sakura โดยมักเขียนในรูปอักษรย่อว่า CCS เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงที่มีพลังพิเศษ ผลงานของกลุ่มนักเขียน แคลมป์ การ์ตูนเรื่องนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ความยาวทั้งหมด 12 เล่มจบ และยังมีมังงะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" ทางด้านการ์ตูนอะนิเมะ (ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1998 - ค.ศ. 2000) มีพื้นเรื่องมาจากหนังสือการ์ตูนประกอบไปด้วยตอนทั้งหมด 70 ตอน ตอนละครึ่งชั่วโมง และกับอีก 2 ตอนพิเศษ แต่เมื่อปี 2017 ได้ทำอะนิเมะในรูปแบบ OVA ที่เป็นตอนจบตามมังงะ และหลังจากนี้ในปี 2018 ได้มีการทำอะนิเมะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" เรื่องราวของเรื่องเริ่มต้นจากความฝันที่จะบอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คล้ายกับเรื่อง เมจิกไนท์ เรย์เอิร์ธ ผลงานก่อนหน้าของกลุ่มแคลมป์ ถึงแม้เนื้อหาของ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังจัดอยู่ในการ์ตูนประเภทเดียวกัน ทางด้านตัวละครของเรื่องแล้ว การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จัดได้ว่าได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเภทของ ยาโออิ, โชโจะ, ยูริ,โลลิค่อน และ โมเอะ ตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่อง การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะไปปรากฏอยู่ในหนังสือการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่งของทีมแคลมป์ นั่นคือ สึบาสะ สงครามเทพข้ามมิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยคติ

รัญ 209 Dido ปฏิทินสุริยคติ (อังกฤษ: solar calendar) คือ ปฏิทินที่สอดคล้องกับฤดูกาลและเดคลิเนชันของดวงอาทิตย์ ความยาวนานของปีโดยเฉลี่ยมีค่าใกล้เคียงกับปีฤดูกาล ปฏิทินสุริยคติ ได้แก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปฏิทินสุริยคติ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยคติไทย

ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชคู่กัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปฏิทินสุริยคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปฏิทินจูเลียน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินคงที่สากล

ปฏิทินคงที่สากล (International Fixed Calendar) หรือชื่ออื่นว่า แผนคอตส์เวิร์ธ แผนอีสต์แมน ปฏิทินสิบสามเดือน หรือ ปฏิทินเดือนเท่า (Cotsworth plan; Eastman plan; 13 Month calendar; Equal Month calendar) คือข้อเสนอการปฏิรูปปฏิทินแบบสุริยคติ ออกแบบโดยโมเสส บี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปฏิทินคงที่สากล · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินปักขคณนา

กระดานปักขคณนา ใช้อักษรขอมบาลี (เหมือนอักษรเขมร) กำกับตัวเดินหมุด ปักขคณนา หรือ ปักษคณนา เป็นปฏิทินจันทรคติไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการคำนวณหาวันขึ้นแรมให้แม่นยำตรงตามการโคจรของดวงจันทร์เป็นสำคัญ โดยไม่ได้นับวันตามการขึ้นตกของดวงอาทิตย์ แต่ใช้วิธีการนับโดยการยึดหาวันเพ็ญ และ วันดับ แทน สำหรับการคำนวณวันที่จะใช้กระดานปักขคณนา ในการช่วยคำนวณ ซึ่งจะซับซ้อนกว่าการนับปกติ สำหรับระบบปฏิทินจันทรคติแบบปักขคณนานี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุติ เพื่อใช้ในการทำศาสนกิจต่อไป.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปฏิทินปักขคณนา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

''Table of Mechanicks'', 1728 ''Cyclopaedia''. ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ คือ การศึกษาการเติบโตของฟิสิกส์ไม่ได้นำมาเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุ คณิตศาสตร์ และ ปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ฟิสิกส์ถูกพิจารณาในแง่ของทั้งตัวเนื้อความรู้และการปฏิบัติที่สร้างและส่งผ่านความรู้ดังกล่าว การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี ค.ศ. 1600 เป็นขอบเขตง่าย ๆ ระหว่างแนวคิดโบราณกับฟิสิกส์คลาสสิก ในปี ค.ศ. 1900 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ยุคใหม่ ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ยังไม่มีอะไรแสดงถึงจุดสมบูรณ์ เพราะการค้นพบที่มากขึ้นนำมาซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นจากอายุของเอกภพ ไปถึงธรรมชาติของสุญญากาศ และธรรมชาติในที่สุดของสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ทฤษฎีบางส่วนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ฟิสิกส์ได้เสนอในปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามรายนามของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ของฟิสิกส์ ก็ยังคงมีมากอยู.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม (ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนา เช่นในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และประวัติศาสตร์โลก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H. Schneider, in Geosphere-biosphere Interactions and Climate, Lennart O. Bengtsson and Claus U. Hammer, eds., Cambridge University Press, 2001, ISBN 0-521-78238-4, pp.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปรากฏการณ์เรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแฟนซีคาร์ป

ปลาแฟนซีคาร์ป (Fancy carp, Mirror carp; 鯉, 錦鯉; โรมะจิ: Koi, Nishikigoi-ปลาไน, ปลาไนหลากสี) เป็นปลาคาร์ปหรือปลาไน ชนิดย่อย Cyprinus carpio haematopterus.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปลาแฟนซีคาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ปางรำพึง

ปางรำพึง พระประจำวันศุกร์ ปางรำพึง เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปางรำพึง · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และปี · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเต็น

นกกระเต็น หรือ นกกะเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง 41 เซนติเมตร) ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง 1/50 วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่ง ๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสาย ๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้ โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง 2-3 รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว นกกะเต็นแดง ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน สามารถจำแนกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง; บางข้อมูลยกให้เป็นวงศ์ย่อย) แบ่งออกได้เป็นชนิดทั้งหมด 85 ชนิด (บางข้อมูลจัดให้มี 93 ชนิด) พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคทั่วโลก พบในประเทศไทยราว 16 ชนิดFry, C. Hilary; Fry, Kathie and Harris, Alan (1992).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนกกระเต็น · ดูเพิ่มเติม »

นอร์แมน ล็อกเยอร์

ซอร์ โจเซฟ นอร์แมน ล็อกเยอร์ (Joseph Norman Lockyer; 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1920) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองรักบี้ หลังเรียนจบจากสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ล็อกเยอร์รับราชการที่สำนักการสงคราม และย้ายไปที่เมืองวิมเบิลดันหลังแต่งงานกับวินิเฟรด เจมส์ ล็อกเยอร์เป็นนักดาราศาสตร์สมัครเล่นที่สนใจในดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนอร์แมน ล็อกเยอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาดาราศาสตร์

นาฬิกาดาราศาสตร์ปราก นาฬิกาดาราศาสตร์ (อังกฤษ: Astronomical clock) เป็นนาฬิกาที่สามารถแสดงข้อมูลทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ หรือกลุ่มดาวจักรราศี หมวดหมู่:นาฬิกา หมวดหมู่:ดาราศาสตร์.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนาฬิกาดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาดาราศาสตร์ปราก

หอนาฬิกา นาฬิกาดาราศาสตร์ปราก นาฬิกาดาราศาสตร์ปราก (Pražský orloj, ปรัชสกีโอร์โลย) เป็นหอนาฬิกาดาราศาสตร์ ตั้งอยู่ที่กรุงปราก เมืองหลวงของประเทศเช็กเกีย ตั้งอยู่ทางกำแพงด้านใต้ของศาลาว่าการในจัตุรัสเมืองเก่า เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองที่ได้รับความนิยมมาก ส่วนประกอบหลักของหอนาฬิกาได้แก่ นาฬิกาดาราศาสตร์ ซึ่งจะแสดงวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ด้านล่างของนาฬิกาดาราศาสตร์จะมีหน้าปัดแสดงเดือนในปัจจุบัน และด้านบนสุดมีรูปปั้นสาวกของพระเยซู หมวดหมู่:ประเทศเช็กเกีย หมวดหมู่:หอนาฬิกาในประเทศเช็กเกีย หมวดหมู่:นาฬิกา.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนาฬิกาดาราศาสตร์ปราก · ดูเพิ่มเติม »

นาฬิกาแดด

นาฬิกาแดดบนพื้นในตากันร็อก นาฬิกาแดด คือ เครื่องมือใช้สำหรับวัดเวลาในตอนกลางวันจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปจะสร้างเป็นวัตถุอย่างหนึ่งเรียกว่าโนมอน (gnomon) ให้ตั้งอยู่บนฐาน เมื่อแสงแดดตกกระทบโนมอนจะทำให้เกิดเงาทอดลงไปบนฐาน แล้วอ่านค่าเวลาจากฐานนั้นซึ่งมีขีดบอกเวลากำกับอยู่ นาฬิกาแดดอาจสร้างขึ้นโดยยึดอยู่กับที่หรือสามารถเคลื่อนย้ายก็ได้ หมวดหมู่:นาฬิกา หมวดหมู่:เทคโนโลยีล้าสมัย.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนาฬิกาแดด · ดูเพิ่มเติม »

นาทีแสง

นาทีแสง (light-minute) เป็นหน่วยวัดระยะทาง โดยเทียบกับอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ มีค่าเท่ากับ 17,987,547,480 เมตร ตัวอย่างเช่น ระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ คือระยะทาง 1 หน่วยดาราศาสตร์ (1 A.U.) มีค่าความไกลเท่ากับ 8.317 นาทีแสง เป็นต้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนาทีแสง · ดูเพิ่มเติม »

นิยามดาวเคราะห์ของไอเอยู

แผนภาพออยเลอร์แสดงถึงประเภทของวัตถุในระบบสุริยะ คำนิยามของดาวเคราะห์นิยามขึ้นที่กรุงปรากในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนิยามดาวเคราะห์ของไอเอยู · ดูเพิ่มเติม »

นิวฮอไรซันส์

นิวฮอไรซันส์ (New Horizons; ท. ขอบฟ้าใหม่) เป็นยานสำรวจอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ซึ่งปล่อยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนิวฟรอนเทียส์ (New Frontiers) ของนาซา ยานสร้างโดย ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์และสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ โดยทีมซึ่งมีเอ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนิวฮอไรซันส์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวทริโน

นิวทริโน (Neutrino) เป็นอนุภาคมูลฐาน ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า และมีค่าสปิน (ฟิสิกส์)เท่ากับครึ่งจำนวนเต็ม นิวทริโน (ภาษาอิตาลีหมายถึง "สิ่งเป็นกลางตัวน้อย") ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรกรีกว่า \nu_^ (นิว) มวลของนิวทริโนมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาคย่อยอื่นๆ และเป็นอนุภาคเพียงชนิดเดียวที่รู้จักในขณะนี้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นสสารมืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสสารมืดร้อน นิวทริโนเป็นเลปตอน กลุ่มเดียวกับอิเล็กตรอน มิวออน และเทา (อนุภาค) แต่ไม่มีประจุไฟฟ้า แบ่งเป็น 3 ชนิด (หรือ flavour) ได้แก่ อิเล็กตรอนนิวทริโน (Ve) มิวออนนิวทริโน (Vμ) และเทานิวทริโน (VT) แต่ละเฟลเวอร์มีคู่ปฏิปักษ์ (ปฏิยานุภาค) ของมันเรียกว่า "ปฏินิวทริโน" ซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าและมีสปินเป็นครึ่งเช่นกัน นิวทริโนถูกสร้างขึ้นในวิธีที่อนุรักษ์ เลขเลปตอน นั่นคือ เมื่อมี อิเล็กตรอนนิวทริโน ถูกสร้างขึ้น หนึ่งตัว จะมี โพซิตรอน (ปฏิอิเล็กตรอน) หนึ่งตัวถูกสร้างขึ้นด้วย และเมื่อมี อิเล็กตรอนปฏินิวทริโนหนึ่งตัวถูกสร้างขึ้น ก็จะมีอิเล็กตรอนหนึ่งตัวถูกสร้างขึ้นเช่นกัน นิวทริโนไม่มีประจุไฟฟ้า จึงไม่ถูกกระทบโดยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะกระทำต่อทุกอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และเนื่องจากมันเป็นเลปตอน จึงไม่ถูกกระทบโดยอันตรกิริยาอย่างเข้มที่จะกระทำต่อทุกอนุภาคที่ประกอบเป็นนิวเคลียสของอะตอม นิวทริโนจึงถูกกระทบโดย อันตรกิริยาอย่างอ่อน และ แรงโน้มถ่วง เท่านั้น แรงอย่างอ่อนเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีระยะทำการสั้นมาก และแรงโน้มถ่วงก็อ่อนแออย่างสุดขั้วในระยะทางระดับอนุภาค ดังนั้นนิวทริโนโดยทั่วไปจึงสามารถเคลื่อนผ่านสสารทั่วไปได้โดยไม่ถูกขวางกั้นและไม่สามารถตรวจจับได้ นิวทริโนสามารถสร้างขึ้นได้ในหลายวิธี รวมทั้งในหลายชนิดที่แน่นอนของการสลายให้กัมมันตรังสี, ในปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่นพวกที่เกิดขึ้นในดวงอาทิตย์, ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, เมื่อรังสีคอสมิกชนกับอะตอมและในซูเปอร์โนวา ส่วนใหญ่ของนิวทริโนในบริเวณใกล้โลกเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ ในความเป็นจริง นิวทรืโนจากดวงอาทิตย์ประมาณ 65 พันล้านตัว ต่อวินาทีเคลื่อนที่ผ่านทุก ๆ ตารางเซนติเมตรที่ตั้งฉากกับทิศทางของดวงอาทิตย์ในภูมิภาคของโลก นิวทริโนมีการ แกว่ง (oscillate) ไปมาระหว่างฟเลเวอร์ที่แตกต่างกันเมื่อมีการเคลื่อนที่ นั่นคิอ อิเล็กตรอนนิวทริโนตัวหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในปฏิกิริยาการสลายให้อนุภาคบีตา อาจกลายเป็นมิวออนนิวทริโนหรือเทานิวทริโนหนึ่งตัวเมื่อมาถึงเครื่องตรวจจับ ซึ่งนิวทริโนแต่ละชนิดจะมีมวลไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่ามวลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กมาก จากการวัดทางจักรวาลวิทยา ได้มีการคำนวณว่าผลรวมของมวลนิวทริโนสามตัวน้อยกว่าหนึ่งในล้านส่วนของมวลอิเล็กตรอน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนิวทริโน · ดูเพิ่มเติม »

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus Torinensis, Mikołaj Kopernik มีกอไว กอแปร์ญิก; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ มิใช่โลกLinton (2004, pp.) อย่างไรก็ดี โคเปอร์นิคัสมิใช่ผู้แรกที่เสนอระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในบางรูปแบบ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวกรีกคนหนึ่ง ชื่อ อริสตาซูสแห่งซามอส ได้เสนอแนวคิดดังกล่าวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลแล้ว กระนั้น มีหลักฐานน้อยมากว่าเขาเคยพัฒนาความคิดของเขาไกลเกินแบบร่างง่าย ๆ เท่านั้น (Dreyer, 1953,. การตีพิมพ์หนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) ของโคเปอร์นิคัส ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นาน ถูกพิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติโคเปอร์นิคัสและมีส่วนสำคัญต่อความรุ่งเรืองของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามมา ทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอธิบายกลไกของระบบสุริยะในเชิงคณิตศาสตร์ มิใช่ด้วยคำของอริสโตเติล โคเปอร์นิคัสเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักนิติศาสตร์ที่สำเร็จดุษฎีบัณฑิตในวิกฎหมาย นักฟิสิกส์ ผู้รู้สี่ภาษา นักวิชาการคลาสสิก นักแปล ศิลปิน สงฆ์คาทอลิก ผู้ว่าราชการ นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำขึ้นลง

น้ำขึ้นน้ำลง (อังกฤษ: tide) เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง) น้ำขึ้นเกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด (Spring tide) เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุกๆ 2 อาทิตย์ คือ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อยหรือน้ำตาย (Neap tide)เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉากคือ วันขึ้น 7 ค่ำ และ แรม 7 ค่ำ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง (tidal current) ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตอนน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็กๆนั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง (flood tides) และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง (ebb tide) เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึงซึ่งอาจเป็นดินหรือทรายก็ได้ ว่า หาดโคลน (tidal flat หรือ mud flat) หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีวัชพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่รายชนิดนี้ว่า ลุ่มดินเค็ม (salt marsh) หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของหอยหลอดได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และน้ำขึ้นลง · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเหลวนอกโลก

กระแสน้ำพุร้อนใน Palikir Crater (ภายใน Newton crater) ของดาวอังคาร ในขณะที่มีหลักฐานที่สนใจ แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นข้อมูลของน้ำจากดาวข้างนอก,จนถึงขณะนี้ได้มีการยืนยันโดยตรง น้ำเหลวนอกโลก (Extraterrestrial liquid water) คือน้ำในสภาพของเหลวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินอกโลก เป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตตามที่เรารู้จักและเป็นที่คาดเดาอย่างสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ด้วยน้ำในมหาสมุทรที่ปกคลุม 71% ของพื้นผิว, โลกยังเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่รู้จักกันดีว่ามีแหล่งน้ำที่เป็นของเหลวบนพื้นผิวของมัน และน้ำที่เป็นของเหลวเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกเผ่าพันธุ์บนโลก การปรากฏตัวของน้ำบนผิวโลกเป็นผลมาจากความดันบรรยากาศ และวงโคจรที่เสถียรในเขตอาศัยได้ของดวงอาทิตย์ แม้ว่าต้นกำเนิดของน้ำบนโลกยังไม่ทราบแน่ชัด วิธีการหลักที่ใช้ในการยืนยัน คือ การดูดซึมของสเปกโทรโฟโตเมตรี (Absorption spectroscopy) และทางธรณีเคมี (Geochemistry) เทคนิคเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสำหรับบรรยากาศไอน้ำ และน้ำแข็ง อย่างไรก็ตามการใช้วิธีการปัจจุบันของ สเปกโทรสโกปีทางดาราศาสตร์ (Astronomical spectroscopy) ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะตรวจจับน้ำเหลวบนดาวเคราะห์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของน้ำใต้ดิน เนื่องจากนี้นักดาราศาสตร์ชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ได้ใช้ทฤษฎีเขตอาศัยได้, ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง และทฤษฎีน้ำขึ้นน้ำลง, รูปแบบของความแตกต่างของดาวเคราะห์ และเรดิโอมิตรี (Radiometry) เพื่อตรวจสอบศักยภาพของน้ำเหลว น้ำที่สังเกตได้จากภูเขาไฟสามารถให้หลักฐานทางอ้อมที่น่าสนใจมากขึ้น, เป็นคุณสมบัติของแม่น้ำและการปรากฏตัวของสารป้องกันการแข็งตัว เช่น เกลือหรือแอมโมเนีย การใช้วิธีการดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์หลายคนอนุมานว่าน้ำของเหลวเคยปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้ของ ดาวอังคาร และดาวศุกร์ ที่คิดว่าน้ำเป็นของเหลวใต้พื้นผิวของดาวเคราะห์บางดวง, คล้ายกับน้ำบาดาลของโลก,ไอน้ำถือเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีของเหลวอยู่ในน้ำ แม้ว่าไอน้ำในชั้นบรรยากาศอาจพบได้ในหลายแห่งที่น้ำของเหลวไม่ได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และน้ำเหลวนอกโลก · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์

แบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์ขนาดเล็กชิ้นหนึ่ง แสดงโลกกับดาวเคราะห์ชั้นใน An orrery made by Robert Brettell Bate, circa 1812. Now in Thinktank, Birmingham Science Museum. แบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์ (Orrery) คือเครื่องมือทางกลชนิดหนึ่งที่แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพัทธ์และการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์กับดวงจันทร์บริวารในระบบสุริยะ ภายใต้แบบจำลองดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล การขับเคลื่อนใช้กลไกนาฬิกา โดยมีลูกกลมที่ใช้แทนดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์อยู่ทีสุดปลายของแขนแต่ละแขน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแบบจำลองวงโคจรดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

แบงท์ เอ็ดเลียน

แบงท์ เอ็ดเลียน (ขวา) กับสมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน แบงท์ เอ็ดเลียน (Bengt Edlén; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1906 — 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993) เป็นทั้งศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดนผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านสเปกโทรสโกปี เขาได้เข้าร่วมในการแก้ ปริศนาโคโรนา ซึ่งเป็นเส้นเงาที่ไม่สามารถระบุได้ในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์ โดยเชื่อกันอย่างคร่าวๆว่าน่าจะมาจากธาตุไม่ปรากฏชื่อมาจนบัดนี้โดยเรียกว่าโคโรเนียม ในภายหลัง แบงท์ เอ็ดเลียน ได้แสดงให้เห็นว่าเส้นเหล่านั้นมาจากการแตกตัวของเหล็กที่แตกตัวเป็นไอออน (Fe-XIV) การค้นพบของเขาไม่ได้รับการยอมรับในทันที ตั้งแต่ไอออนไนซ์ได้รับการอ้างอิงว่าต้องมีอุณหภูมิที่ล้านองศา หลังจากนั้นอุณภูมิของโคโรนาดวงอาทิตย์ก็ได้รับการตรวจสอบ นอกจากนี้ เขายังมีผลงานสำคัญในการวิเคราะห์สเปกตรัมของดาววูล์ฟ-ราเยท์ แบงท์ เอ็ดเลียน ได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยลุนด์ใน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแบงท์ เอ็ดเลียน · ดูเพิ่มเติม »

แพนอเมริกันเกมส์ 2007

กีฬาแพนอเมริกันเกมส์ 2007 (Jogos Pan-Americanos de 2007) การแข่งขันนี้จัดขึ้นที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 13 – 29 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแพนอเมริกันเกมส์ 2007 · ดูเพิ่มเติม »

แกมมา (อุปราคา)

แกมมา (แทนความหมายด้วย γ) ของอุปราคา อธิบายว่าศูนย์กลางเงาของดวงจันทร์หรือโลกปะทะกับสิ่งอื่นเช่นไร ระยะห่าง เมื่อแกนของเงาทรงกรวยผ่านเข้าใกล้ศูนย์กลางโลกหรือดวงจันทร์มากที่สุด คือ สภาพขณะส่วนของรัศมีระนาบศูนย์สูตรของโลก สัญลักษณ์ของแกมมา หมายความว่า สำหรับสุริยุปราคา ถ้าแกนของเงาเคลื่อนผ่านทางเหนือหรือทางใต้ของจุดศูนย์กลางโลก ค่าทางบวกจะหมายถึงทางเหนือ สำหรับจันทรุปราคา มันหมายถึงแกนของเงาของโลกผ่านทางเหนือหรือทางใต้ของดวงจันทร์ ค่าทางบวกจะหมายถึงทางใต้ สำหรับสุริยุปราคา โลก ให้คำจำกัดความว่าครึ่งหนึ่งอันซึ่งมีการสัมผัสกับดวงอาทิตย์ (การเปลี่ยนแปลงนี้ร่วมกับฤดูกาล และไม่สัมพันธ์โดยตรงกับขั้วโลกหรือศูนย์สูตร ดังนั้น จุดศูนย์กลางของโลก คือ ดวงอาทิตย์อยู่ ณ กลางศรีษะโดยตรงไม่ว่าที่ไหนก็ตาม) แผนภาพที่อยู่ติดกันแสดงให้เห็นถึงแกมมาสุริยุปราคา: เส้นที่แดงแสดงถึงระยะห่างที่น้อยที่สุดจากจุดศูนย์กลางของโลก ในกรณีนี้โดยประมาณ 75% ของรัศมีของโลก เพราะว่าเงามืดผ่านทางเหนือจุดศูนย์กลางของโลก แกมมาในตัวอย่างนี้จึงเป็น +0.75 ค่าสัมบูรณ์ของแกมมาเราแบ่งตามการจำแนกความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของสุริยุปร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแกมมา (อุปราคา) · ดูเพิ่มเติม »

แรงไทดัล

นามแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ (หรือดวงอาทิตย์) ที่ไม่เท่ากันบนพื้นผิวของโลก เรียกว่าแรงไทดัล หรือแรงที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เป็นกลไกพื้นฐานที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงวันละ 2 ครั้ง ในภาพนี้ดวงจันทร์อาจอยู่ทางด้านซ้ายหรือด้านขวาของโลก แรงไทดัล (Tidal force) เป็นผลกระทบทุติยภูมิที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง แรงนี้เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของวัตถุหนึ่งที่กระทำต่ออีกวัตถุหนึ่งอย่างไม่สม่ำเสมอกันตลอดแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง ด้านที่อยู่ใกล้กับวัตถุที่สองมากกว่าจึงได้รับแรงดึงดูดที่มากกว่า ขณะที่ด้านตรงกันข้ามจะถูกแรงดึงดูดน้อยกว่า เมื่อวัตถุหนึ่ง (วัตถุ ก) ถูกกระทำโดยแรงโน้มถ่วงจากวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง (วัตถุ ข) สนามแรงโน้มถ่วงจะมีความแปรปรวนอย่างมีนัยสำคัญบนวัตถุ ก ระหว่างด้านที่วัตถุประจันหน้ากับวัตถุ ข กับอีกด้านหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป แผนภาพด้านข้างนี้แสดงให้เห็นแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นบนวัตถุทรงกลม ก อันเกิดจากแรงของวัตถุ ข ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงระหว่างวัตถุทั้งสอง หากแรงมีขนาดสูงมากอาจทำให้วัตถุมีรูปร่างบิดเบี้ยวไป หรือกรณีสุดโต่งคือวัตถุอาจฉีกขาดออกจากกันได้ ขีดจำกัดโรเช คือระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ที่ปรากฏการณ์ไทดัลสามารถทำให้วัตถุฉีกขาดออกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องจากความแตกต่างอย่างมากของสนามแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์จนสามารถเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุ แรงดึงชนิดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าสนามแรงโน้มถ่วงมีลักษณะสม่ำเสมอ เพราะสนามที่สม่ำเสมอนี้จะทำให้วัตถุทั้งชิ้นเคลื่อนที่ไปในทิศทางและในอัตราความเร็วเท่าๆ กัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแรงไทดัล · ดูเพิ่มเติม »

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแสง · ดูเพิ่มเติม »

แสงวาบรังสีแกมมา

วาดจากศิลปินแสดงชีวิตของดาวฤกษ์มวลมากซึ่งเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เปลี่ยนให้อนุภาคที่เบากว่ากลายเป็นอนุภาคมวลหนัก เมื่อการเกิดฟิวชั่นไม่อาจสร้างแรงดันเพียงพอจะต้านการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์จะยุบตัวลงอย่างรวดเร็วและกลายเป็นหลุมดำ ตามทฤษฎีแล้ว พลังงานจะถูกปลดปล่อยออกมาระหว่างการยุบตัวตามแนวแกนของการหมุน ทำให้เกิดแสงวาบรังสีแกมมา ''Credit: Nicolle Rager Fuller/NSF'' แสงวาบรังสีแกมมา (Gamma-ray burst: GRB) คือแสงสว่างของรังสีแกมมาที่เกี่ยวข้องกับการระเบิดอย่างรุนแรงของดาราจักรที่อยู่ไกลมากๆ นับเป็นปรากฏการณ์ทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สว่างที่สุดที่ปรากฏในเอกภพนับแต่เหตุการณ์บิกแบง ตามปกติเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ก็อาจมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันตั้งแต่ไม่กี่มิลลิวินาทีไปจนถึงหนึ่งชั่วโมง หลังจากการระเบิดครั้งแรก จะมีเหตุการณ์ "afterglow" อันยาวนานติดตามมาที่ช่วงความยาวคลื่นอื่นที่ยาวกว่า (เช่น รังสีเอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต แสงที่ตามองเห็น อินฟราเรด และคลื่นวิทยุ) แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบส่วนใหญ่คิดว่าเป็นลำแสงแคบๆ ประกอบด้วยรังสีที่หนาแน่นซึ่งปลดปล่อยออกมาระหว่างเกิดเหตุซูเปอร์โนวา เนื่องจากดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงมากและหมุนด้วยความเร็วสูงได้แตกสลายลงกลายเป็นหลุมดำ มีการแบ่งประเภทย่อยของแสงวาบรังสีแกมมาซึ่งเกิดจากกระบวนการอื่นที่แตกต่างกัน เช่นเกิดการรวมตัวกันของดาวนิวตรอนที่เป็นดาวคู่ แหล่งกำเนิดแสงวาบรังสีแกมมาส่วนใหญ่อยู่ห่างจากโลกไปไกลนับพันล้านปีแสง แสดงว่าการระเบิดนั้นจะต้องทำให้เกิดพลังงานสูงมาก (การระเบิดแบบปกติจะปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากเพียงไม่กี่วินาทีเท่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งออกไปตลอดช่วงอายุ 10,000 ล้านปี) และเกิดขึ้นน้อยมาก (เพียงไม่กี่ครั้งต่อดาราจักรต่อล้านปี) แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบทั้งหมดมาจากดาราจักรแห่งอื่นพ้นจากทางช้างเผือก แม้จะมีการพบปรากฏการณ์คล้ายๆ กัน คือ soft gamma repeater flares เกิดจาก Magnetar ภายในทางช้างเผือกนี้ มีการตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าเกิดแสงวาบรังสีแกมมาขึ้นในทางช้างเผือกแล้ว จะทำให้โลกดับสูญไปทั้งหมด การค้นพบแสงวาบรังสีแกมมาครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1967 โดยดาวเทียม Vela ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเทียมที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับการลักลอบทดลองอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากการค้นพบครั้งนั้น ได้มีแบบจำลองทางทฤษฎีหลายร้อยแบบเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาหลายปีเพื่อพยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้ เช่น เป็นการชนกันระหว่างดาวหางกับดาวนิวตรอน เป็นต้น ข้อมูลที่จะใช้ตรวจสอบแบบจำลองเหล่านี้มีน้อยมาก จนกระทั่งถึงปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแสงวาบรังสีแกมมา · ดูเพิ่มเติม »

แสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆ แสงอาทิตย์ เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงในช่วงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น และอัลตราไวโอเล็ต บนโลก แสงอาทิตย์ถูกกรองผ่านชั้นบรรยากาศโลก และเห็นชัดเป็นแสงกลางวันเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า แสงอาทิตย์มีสีขาว เกิดจากแสงทั้ง7สีมารวมกัน โดยแสงอาทิตย์จะมีความยาวคลื่นประมาณ 400-700nm แสงที่ความยาวคลื่นต่ำสุดคือสีม่วง สีน้ำเงิน จนมาถึงสีแดง ที่มีความยาวคลื่นประมาณ 700nm เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงไม่ถูกเมฆกั้น แสงอาทิตย์จะเป็นแสงจ้าและรังสีความร้อนประกอบกัน เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงถูกเมฆกั้นหรือสะท้อนออกไปโดยวัตถุอื่น จะเห็นไปแสงพร่ากระจาย (diffused light) แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงโลกราว 8.3 นาที โดยเฉลี่ย ต้องใช้พลังงานระหว่าง 10,000 ถึง 170,000 ปีจึงจะออกจากภายในดวงอาทิตย์ แล้วค่อยถูกเปล่งจากพื้นผิวเป็นแสงได้ แสงอาทิตย์โดยตรงมีประสิทธิภาพความส่องสว่างอยู่ที่ราว 93 ลูเมนต่อวัตต์ของฟลักซ์การแผ่รังสี แสงอาทิตย์สว่างให้ความสว่างประมาณ 100,000 ลักซ์หรือลูเมนต่อตารางเมตรที่พื้นผิวโลก องค์ประกอบของแสงอาทิตย์ที่ระดับพื้นต่อตารางเมตร เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดเหนือศีรษะ อยู่ที่ราว 527 วัตต์ของรังสีอินฟราเรด 445 วัตต์ของแสงที่ตามองเห็น และ 32 วัตต์ของรังสีอัลตราไวโอเล็ต บนชั้นบรรยากาศ แสงอาทิตย์เข้มกว่าประมาณ 30% โดยมีสัดส่วนอัลตราไวโอเล็ตสูงกว่าสามเท่า รังสีอัลตราไวโอเล็ตที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอัลตราไวโอเล็ตคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชัน (Nuclear fusion)  บนดวงอาทิตย์  เกิดจากการหลอมรวมตัวกันของอะตอม ของธาตุไฮโดรเจน กลายเป็นอะตอมของธาตุฮีเลียม ในการเกิดปฏิกิริยานี้ จะให้พลังงานมหาศาล และพลังงานรูปหนึ่งที่เกิดขึ้นนี้ แผ่รังสีในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มายังโลกของเรา ที่เราพอสังเกตเห็นได้ในรูปของความร้อน และแสง ที่เราเรียกว่า แสงแดด หรือแสงอาทิตย์  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์นี้มีความยาวคลื่นต่างๆ ตั้งแต่ความยาวคลื่นมากกว่า 1,000  ไมครอน  (Micron)  ต่อเนื่องกันจนถึงสั้นกว่า  0.2  ไมครอน  (200 นาโนเมตร)  ในบรรดาคลื่นแสงที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ทั้งหมด แสงสีเหลืองที่มีความยาวคลื่น  0.55  ไมครอน  (550 นาโนเมตร)  เป็นคลื่นแสงที่มี ปริมาตรความเข้มสูงสุด ดังแสดงด้วยเส้นกราฟสเปคตรัม  (Spectrum)  ของคลื่นแสง และแสงแดดเป็นคลื่นแสง ที่เหมาะสมที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างชีวมวล (Biomass) และมี่ส่วนทำให้พืชและสัตว์ดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมัลเธีย (ดาวบริวาร)

แอมัลเธีย (Amalthea, Αμάλθεια) บ้างเรียก เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี มีระยะทางห่างจากดาวแม่เป็นอันดับที่ 3 ค้นพบเมื่อวันที่ 9 กันยายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแอมัลเธีย (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

แอนาเล็มมา

แอนาเล็มมาที่ได้จากการถ่ายรูป โดยมองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนทรงกลมฟ้า ในทางดาราศาสตร์ แอนาเล็มมา (analemma; IPA: /ˌænəˈlɛmə/ ภาษาละตินใช้เรียกฐานของนาฬิกาแดด) หมายถึงเส้นโค้งที่แสดงถึงตำแหน่งเชิงมุมของเทหวัตถุบนทรงกลมฟ้า (ปกติหมายถึงดวงอาทิตย์) โดยมองจากเทหวัตถุอีกที่หนึ่ง (ปกติหมายถึงโลก) ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่าวันโดยเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 24 ชั่วโมง แอนาเล็มมาสามารถติดตามได้โดยการทำเครื่องหมายตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ที่มองจากสถานที่หนึ่งๆ บนโลกในเวลาเดิมทุก 24 ชั่วโมงตลอดทั้งปี ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะปรากฏเป็นเส้นโค้งคล้ายเลขแปด มีตัวแปรสามอย่างที่ส่งผลถึงรูปร่างของแอนาเล็มมาได้แก่ ความเอียงของแกน (axial tilt) ความเบี้ยวของวงโคจร (orbital eccentricity) และมุมระหว่าง apse line กับเส้นตรงของอายัน สำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์และไม่มีความเอียงของแกนดาว ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งเดิมในเวลาเดิมทุกวัน รูปร่างแอนาเล็มมาจะเป็นแค่เพียงจุดจุดเดียว สำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรและความเอียงของแกนเท่ากับโลก จะมองเห็นเป็นเลขแปดที่วงวนด้านเหนือกับวงวนด้านใต้จะมีขนาดเท่ากัน และสำหรับเทหวัตถุที่มีวงโคจรเหมือนโลกแต่ไม่มีความเอียงของแกน แอนาเล็มมาจะเป็นรูปเส้นตรงขนานไปกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแอนาเล็มมา · ดูเพิ่มเติม »

แอแนกแซเกอเริส

แอแนกแซเกอเริส (Ἀναξαγόρας, Anaxagoras, Anaxagoras) (ราวปี 500 - ราวปี 428 ปีก่อนคริสตกาล) แอแนกแซเกอเริสเป็นนักปรัชญาสมัยก่อนโสกราตีสชาวกรีกผู้ที่เกิดที่คลาโซเมแนในอานาโตเลีย แอแนกแซเกอเริสเป็นนักปรัชญาคนแรกที่นำหลักปรัชญาจากไอโอเนียมายังเอเธนส์ แอแนกแซเกอเริสพยายามให้คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอุปราคา, สะเก็ดดาว, รุ้งกินน้ำและดวงอาทิตย์ ที่แอแนกแซเกอเริสบรรยายว่าเป็นก้อนเพลิงที่มีขนาดใหญ่กว่าคาบสมุทรเพโลพอนนีส แอแนกแซเกอเริสถูกกล่าวหาว่ามีความคิดที่ขัดกับศาสนาทางการจนถูกบังคับให้หนีไปยังแลมพ์ซาคั.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแอแนกแซเกอเริส · ดูเพิ่มเติม »

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแถบดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

แถบไคเปอร์

กราฟิกแสดงแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต ภาพแสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ยานนิวฮอไรซันส์ ที่ใช้ในการสำรวจแถบไคเปอร์ และดาวพลูโต แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแถบไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แขนนายพราน

รงสร้างที่สังเกตของแขนชนิดก้นหอยของทางช้างเผือกhttp://planetquest.jpl.nasa.gov/system/interactable/7/index.html See the "Spiral Arms" part of this NASA animation for details แขนนายพราน (Orion Arm) เป็นแขนชนิดก้นหอยย่อยของดาราจักรทางช้างเผือก กว้าง 3,500 ปีแสง (1,100 พาร์เซก) และยาวประมาณ 10,000 ปีแสง (3,100 พาร์เซก) ระบบสุริยะและโลกอยู่ในแขนนายพราน นอกจากนี้ แขนนายพรานยังมีชื่อเรียกเต็มว่า แขนหงส์-นายพราน รวมไปถึง แขนท้องถิ่น, สะพานนายพราน, เดือยท้องถิ่น และเดือยนายพราน แขนนายพราน ตั้งชื่อตามชื่อกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวที่โดดเด่นที่สุดในฤดูหนาวทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูร้อนทางซีกโลกใต้) ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดและเทห์วัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มดาวนายพราน (ดาวบีเทลจุส ดาวไรเจล ดาวฤกษ์ในเข็มขัดนายพราน เนบิวลานายพราน) อยู่ในแขนนายพราน ดังที่แสดงในแผนที่อินเตอร์แอคทีฟด้านล่าง แขนท้องถิ่นตั้งอยู่ระหว่างแขนซาจิตทาเรียส-แครินา (เข้าใกล้ศูนย์กลางดาราจักร) และแขนเพอร์ซีอุส (เข้าใกล้เอกภพด้านนอก) แขนเพอร์ซีอุสเป็นหนึ่งในสองแขนหลักของดาราจักรทางช้างเผือก แต่ก่อน "เดือย" ระหว่างแขนเพอร์ซีอุสและแขนซาจิตทาเรียส-แครินา ที่ติดกันเคยคาดกันว่าเป็นโครงสร้างย่อย ปัจจุบันมีการนำเสนอหลักฐานในกลางปี 2556 ว่า เดือยดังกล่าวแท้จริงแล้วอาจเป็นแขนงของแขนเพอร์ซีอุส หรืออาจเป็นแขนอิสระส่วนหนึ่งก็ได้ ในแขนนายพราน ระบบสุริยะและโลกตั้งอยู่ใกล้กับขอบด้านในในฟองท้องถิ่น ราวครึ่งหนึ่งของความยาวแขนนายพราน คือ ราว 8,000 พาร์เซ็ก (26,000 ปีแสง) จากศูนย์กลางดาราจักร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแขนนายพราน · ดูเพิ่มเติม »

แซรอส

แซรอส (saros) คือวงรอบปรากฏของการเกิดคราสซึ่งมีช่วงเวลาประมาณ 18 ปี 11 วัน 8 ชั่วโมง (หรือประมาณ 6585⅓ วัน) สามารถใช้ในการทำนายการเกิดสุริยคราสและจันทรคราสได้ หลังจากเกิดคราสครบ 1 รอบ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์จะหวนกลับมาอยู่ในตำแหน่งทางเรขาคณิตเช่นเดิมอีก ลักษณะการเกิดคราสแบบเดิมจะเกิดขึ้นทางทิศตะวันตกของตำแหน่งที่เคยเกิดครั้งก่อน ประวัติการค้นพบแซรอสที่เก่าแก่ที่สุดคือการค้นพบของชาวแคลดีอา (นักดาราศาสตร์ชาวบาบิโลนโบราณ) ในช่วงหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล ต่อมามีการค้นพบโดยฮิปปาร์คัส ไพลนี และทอเลมี แต่ด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป คำว่า "saros" ได้รับการกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยเอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ในปี ค.ศ. 1691 โดยนำมาจากคำว่า Suda ในพจนานุกรมภาษาไบแซนไทน์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 แม้ในเวลาต่อมา ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และแซรอส · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต จูเลียส ทรัมเพลอร์

รเบิร์ต จูเลียส ทรัมเพลอร์ (Robert Julius Trumpler; 2 ตุลาคม ค.ศ. 1886 - 10 กันยายน ค.ศ. 1956) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน-สวิส เกิดที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมาได้ไปศึกษาต่อที่เยอรมันและได้รับปริญญาเอกในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโรเบิร์ต จูเลียส ทรัมเพลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โลกธาตุ

ลกธาตุ ในทางพระพุทธศาสนานั้น มีแสนโกฏิจักรวาลหรือ 1ล้านล้านจักรวาล คือ แบ่งเป็น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโลกธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

หราศาสตร์เป็นระบบความเชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่า ปรากฏการณ์ในท้องฟ้า (คือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์) สัมพันธ์กับเหตุการณ์และบุคลิกภาพในโลกมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ได้ปฏิเสธโหราศาสตร์เพราะว่า ไม่สามารถอธิบายความเป็นไปในจักรวาลได้จริง มีการทดสอบหลักวิชาโหราศาสตร์ตะวันตกตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว แต่ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่สนับสนุนเหตุหรือผลที่กล่าวไว้ในหลักโหราศาสตร์ต่าง ๆ เมื่อไรก็ตามที่โหราศาสตร์พยากรณ์เหตุการณ์ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ ข้อทำนายเหล่านั้นล้วนแต่ถูกพิสูจน์ว่าเท็จแล้วทั้งสิ้น งานทดสอบที่มีชื่อเสียงที่สุดทำโดยนักฟิสิกส์ ดร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โหล

โหล (dozen) เป็นการเรียกจำนวนที่เท่ากับ 12 ในจำนวนนับ โหลอาจถือเป็นการจัดกลุ่มจำนวนนับในยุคแรกๆ เนื่องจากว่าเป็นจำนวนของวงโคจรดวงจันทร์ (เดือน) ในหนึ่งวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ (ปี) หมวดหมู่:จำนวน หมวดหมู่:หน่วยปริมาณ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโหล · ดูเพิ่มเติม »

โฮ้วอี้

้วอี้ เป็นนักยิงธนูในเทพปกรณัมจีน ได้ชื่อว่าเป็นผู้ยิงธนูดับดวงอาทิตย์ โดยธนูเพียงดอกเดียวทำให้ดวงอาทิตย์ตกลงมาถึง 9 ดวง ในยุคราชวงศ์เซี่ย ตรงกับสมัยเหยาฮ่องเต้ โลกมนุษย์มีดวงอาทิตย์พร้อมกันถึง 10 ดวง ซึ่งดวงอาทิตย์ทั้ง 10 นี้พร้อมใจกันส่องแสงสว่างมาแก่โลกมนุษย์ด้วยความสนุก ทำให้มนุษย์ได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่ง โฮ้วอี้จึงได้รับบัญชาจากเง็กเซียนฮ่องเต้ให้ยิงธนูจัดการกับดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงสร้างความเดือนร้อนแก่โลกมนุษย์ จึงลงมาสู่โลกมนุษย์พร้อมกับฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ซึ่งเป็นคนรัก แต่โฮ้วอี้ลำพองใจยิงดวงอาทิตย์ดับไปถึง 9 ดวงจาก 10 ถือเป็นการกระทำเกินเหตุ เง็กเซียนฮ่องเต้จึงขับไล่โฮ้วอี้ลงจากสวรรค์ไปอยู่ยังโลกมนุษย์ ฉางเอ๋อก็ได้ตามโฮ้วอี้ลงไปด้วย เมื่อโฮ้วอี้มายังโลกมนุษย์แล้ว โฮ้วอี้ได้ใช้ฝีมือยิงธนูปราบปรามสัตว์ร้ายต่าง ๆ จนกระทั่งผู้คนยกให้เป็นผู้นำเผ่าหย่งฉิว (有窮國) และมีชายผู้หนึ่งชื่อ เฟิงเมิ่ง ขอรับใช้เป็นศิษย์ของโฮ้วอี้ ตลอดเวลาที่โฮ้วอี้อยู่บนโลกมนุษย์ โฮ้วอี้ลำพองใจยิ่งนักจนกระทั่งเฟิงเมิ่งเกิดอิจฉาที่โฮ้วอี้ได้รับความนิยมมากกว่า ขณะที่ฉางเอ๋อก็ได้สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนไปของโฮ้วอี้ แต่นางก็มิอาจทัดทานได้ วันหนึ่งเฟิงเมิ่งได้ใช้ธนูแอบยิงโฮ้วอี้ที่ต้นคอจนกระทั่งถึงแก่ความตาย ส่วนฉางเอ๋อก็แอบดื่มน้ำอมฤทธิ์ทำให้มีชีวิตเป็นอมตะ และกลับไปอยู่ยังดวงจันทร์เพียงลำพัง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโฮ้วอี้ · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโขน · ดูเพิ่มเติม »

โครโมสเฟียร์

กการสังเกตดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่ใส่ฟิลเตอร์ H-alpha ภาพถ่ายโดย Luc Viatour ระหว่างสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1999 โครโมสเฟียร์ (chromosphere; แปลตรงตัวว่า "ทรงกลมสี") คือชั้นบรรยากาศบางๆ รอบดวงอาทิตย์ที่อยู่สูงกว่าโฟโตสเฟียร์ มีขนาดความลึกประมาณ 2,000 กิโลเมตร โครโมสเฟียร์มีลักษณะโปร่งแสงยิ่งกว่าโฟโตสเฟียร์ สาเหตุที่เรียกชื่อเช่นนี้ก็เนื่องมาจากสีของมันซึ่งเป็นสีแดง อันเกิดจากสเปกตรัมที่เกิดขึ้นจากเส้นสเปกตรัม H-alpha ของไฮโดรเจน เราสามารถมองเห็นลักษณะของทรงกลมสีนี้โดยตรงได้ด้วยตาเปล่าในระหว่างการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง โดยจะมองเห็นโครโมสเฟียร์เป็นเหมือนแสงสีสว่างวาบที่ขอบของโฟโตสเฟียร์ที่หายลับไปอยู่หลังดวงจันทร์ ด้วยเหตุผลบางอย่างซึ่งยังไม่เป็นที่เข้าใจ อุณหภูมิของโครโมสเฟียร์กลับสูงกว่าโฟโตสเฟียร์ แม้โฟโตสเฟียร์จะอยู่ใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์มากกว่า มีอุณหภูมิอยู่ประมาณ 4,000-6,400 เคลวิน แต่โครโมสเฟียร์กลับมีอุณหภูมิสูงถึง 4,500 ไปจนถึงกว่า 20,000 เคลวิน ทฤษฎีหนึ่งเสนอเกี่ยวกับความผันผวนของ sonic ในบริเวณนี้ที่เกิดจาก magnetohydrodynamic waves อาจเป็นเหตุให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโครโมสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โซล (แก้ความกำกวม)

ซล อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโซล (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

โซลาร์แม็กซิมัม

มวัฏจักรสุริยะล่าสุด โซลาร์แม็กซิมัม (solar maximum) หรือ โซลาร์แม็กซ์ (solar max) เป็นช่วงเวลาที่มีปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์สูงที่สุดในวัฏจักรสุริยะ ระหว่างโซลาร์แม็กซิมัม จุดดับบนดวงอาทิตย์จะปรากฏ โซลาร์แม็กซิมัมเป็นช่วงเวลาที่เส้นสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์บิดเบี้ยวไปมากที่สุดเนื่องจากสนามแม่เหล็กบนเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์หมุนด้วยอัตราเร็วกว่าขั้วดวงอาทิตย์เล็กน้อย วัฏจักรสุริยะแต่ละวัฏจักรกินเวลาเฉลี่ย 11 ปี โดยผลที่ได้จากการสังเกตพบว่าอยู่ระหว่าง 9 ถึง 14 ปีในวัฏจักรสุริยะใ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโซลาร์แม็กซิมัม · ดูเพิ่มเติม »

โซล่า

ซล่า หรือ โซลา สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และโซล่า · ดูเพิ่มเติม »

ไททัน (เทพปกรณัม)

ทพไททัน เป็นเทพสิบสององค์ที่เรืองอำนาจในช่วงยุคทอง (Golden Age) และถูกล้มล้างอำนาจไปโดยเทพโอลิมปัส (Olympian).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และไททัน (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ไทเทเนียม

ทเทเนียม (Titanium) เป็นธาตุเคมี มีสัญลักษณ์เป็น Ti มีเลขอะตอมเท่ากับ 22 มีความหนาแน่นต่ำ แข็ง ทนการกัดกร่อน (น้ำทะเล, น้ำประสานทอง (aqua regia) และ คลอรีน) เป็นโลหะทรานซิชันสีเงิน ไทเทเนียมได้รับการค้นพบในคอร์นวอลล์ บริเตนใหญ่ โดย วิลเลียม เกรเกอร์ (William Gregor) ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และไทเทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจนออกไซด์

นโตรเจนออกไซด์ (NOx) หรือ กลุ่มก๊าซที่มี (Highly reactive gases) เป็นก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ยกเว้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับอนุภาคอื่น ๆ ในอากาศ จะเห็นคล้ายตดเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และไนโตรเจนออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์

อร์ล็อก โฮมส์ เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนและนายแพทย์ชาวสกอต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน หรือ หมอวอตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเชอร์ล็อก โฮมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เมฆออร์ต

กราฟิกของนาซ่า แสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพกราฟิกแสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางของเมฆออร์ตเปรียบเทียบกับขนาดของระบบสุริยะ เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 50,000 - 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ ไกลออกไปจากขอบระบบสุริยะรอบนอก ตำแหน่งของเมฆออร์ตอยู่ในระยะความห่าง 1 ใน 4 ของดาวแคระแดงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ในกลุ่มเมฆออร์ตนี้มีวัตถุพ้นดาวเนปจูน อย่างดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเมฆออร์ต · ดูเพิ่มเติม »

เวลา

ำหรับนวนิยายซีไรต์ดูที่ เวลา (นวนิยาย) นาฬิกาพก เครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเวลา เวลา ในมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของไอแซก นิวตัน อีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของอิมมานูเอล คานต์ และกอตฟรีด ไลบ์นิซ บางที มุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่ จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติ ความหมายของการดำเนินงาน หรือ(operational definition) ซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เวลา เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศิลปศาสตร์ แต่ละสาขาก็มีมุมมองต่าง ๆ กันไป เช่น ในวิชาเศรษฐศาสตร์ อาจมองว่า "เวลาเป็นเงินทอง" ("Time is money.") เป็นต้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเวลา · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานกรีนิช

วลามาตรฐานกรีนิช หรือ เวลามัชฌิมกรีนิช (Greenwich Mean Time) ชื่อย่อ จีเอ็มที (GMT) แต่เดิมเป็นคำใช้เรียกเวลาสุริยคติมัชฌิมที่หอดูดาวหลวงกรีนิช เมืองกรีนิช สหราชอาณาจักร ปัจจุบันคำนี้มักใช้เพื่อหมายถึงเวลาสากลเชิงพิกัด (ยูทีซี) ในฐานะเขตเวลา แม้ว่าหากถือโดยเคร่งครัดแล้ว ยูทีซีนั้นเป็นมาตรฐานเวลาที่วัดโดยนาฬิกาอะตอม ซึ่งจะเท่ากันเพียงโดยประมาณกับจีเอ็มทีในความหมายเดิม จีเอ็มทียังใช้หมายถึงเวลาสากล (ยูที) ซึ่งเป็นเวลาเชิงดาราศาสตร์ที่กำหนดขึ้นเพื่อทดแทนจีเอ็มทีโดยตรง เวลาเที่ยงวันของมาตรฐานกรีนิชนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกที่กรีนิชเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจากการโคจรของโลกเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์มีอัตราเร็วไม่สม่ำเสมอและแกนโลกที่เอียง เวลาเที่ยงวันกรีนิชอาจต่างจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ข้ามผ่านเส้นเมริเดียนแรกถึง 16 นาที จึงจำเป็นต้องสมมุติดวงอาทิตย์มัชฌิม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยจากการปรับการเคลื่อนที่ที่ไม่สม่ำเสมอของดวงอาทิตย์ดวงจริงขึ้นใช้คำนวณแทน ดวงอาทิตย์มัชฌิมนี้เองเป็นที่มาของคำว่า มัชฌิม ในคำว่าเวลามัชฌิมกรีนิช ก่อน ค.ศ. 1925 นักดาราศาสตร์ใช้จีเอ็มทีโดยนับเที่ยงวันเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ (เวลาศูนย์นาฬิกา) ในขณะที่ประชาชนทั่วไปนับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์ นักดาราศาสตร์ได้เปลี่ยนมานับเที่ยงคืนเป็นชั่วโมงที่ศูนย์เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไปตั้งแต..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเวลามาตรฐานกรีนิช · ดูเพิ่มเติม »

เสาแสง

แสงในเวลากลางคืน อ่าวเคมบริดจ์ นูนาวุต แคนาดา เสาแสง (Light pillar) เป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์ทางแสงซึ่งเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศที่มีรูปแบบเป็นเส้นตรงแนวตั้งซึ่งอาจจะแผ่ขึ้นไปข้างบนหรือแผ่ลงมาข้างล่างของแหล่งกำเนิดแสก็ได้ ปรากฏการณ์นี้เกิดจากการสะท้อนของแสงจากผลึกน้ำแข็งเล็กๆในชั้นบรรยากาศหรือก้อนเมฆ แหล่งกำเนิดแสงของปรากฏการณ์นี้มาจากดวงอาทิตย์ (โดยปกติจะเกิดเมื่ออยู่ใกล้หรือต่ำกว่าขอบฟ้า) ซึ่งหากเกิดจากดวงอาทิตย์จะเรียกปรากฏการนี้ว่าเสาแสงอาทิตย์ (sun pillar หรือ solar pillar) นอกจากดวงอาทิตย์แล้วยังสามารถเกิดจากดวงจันทร์หรือเสาไฟข้างถนนก็.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเสาแสง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นฟรอนโฮเฟอร์

ปกตรัมดวงอาทิตย์พร้อมกับเส้นเฟราน์โฮเฟอร์ ในทางฟิสิกส์และทัศนศาสตร์ เส้นเฟราน์โฮเฟอร์ (Fraunhofer lines) เป็นชุดของเส้นสเปกตรัมซึ่งตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน โยเซฟ ฟอน เฟราน์โฮเฟอร์ (1787-1826) เส้นดังกล่าวเดิมจะสังเกตเห็นเป็นแถบมืด (เส้นการดูดกลืน) ในคลื่นที่ตามองเห็นของดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นฟรอนโฮเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 10 องศาเหนือ

้นขนานที่ 10 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 10 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 12 ชั่วโมง 43 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 11 ชั่วโมง 33 นาที ในระหว่างเหมายัน ส่วนของเขตแดนระหว่างประเทศกินีและประเทศเซียร์ราลีโอนถูกกำหนดด้วยเส้นขนานนี้ ช่องแคบสิบองศาในมหาสมุทรอินเดียตั้งชื่อตามเส้นขนานนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 10 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 15 องศาเหนือ

้นขนานที่ 15 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 15 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา เอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกากลาง แคริเบียน และมหาสมุทรแอตแลนติก ในเหตุการณ์ความขัดแย้งชาด–ลิเบียระหว่างปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 15 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 20 องศาเหนือ

้นขนานที่ 20 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 20 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ แคริบเบียน และมหาสมุทรแอตแลนติก เส้นขนานเป็นตัวกำหนดเขตแดนระหว่างประเทศลิเบียและประเทศซูดาน และซูดานใช้กำหนดเขตแดนระหว่างรัฐเหนือและรัฐดาร์ฟูร์เหนือ ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 13 ชั่วโมง 21 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 10 ชั่วโมง 55 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 20 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 25 องศาเหนือ

้นขนานที่ 25 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 25 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ทวีปอเมริกาเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นชายแดนจุดเหนือสุดของมาลีซึ่งแบ่งกับมอริเตเนีย ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 13 ชั่วโมง 42 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 10 ชั่วโมง 35 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 30 องศาเหนือ

้นขนานที่ 30 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 30 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก โดยมีระยะทางเป็นหนึ่งในสามระหว่างเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกเหนือ เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก โดยเส้นนี้เป็นเส้นแบ่งเขตโดยประมาณทางด้านใต้ของละติจูดม้าในซีกโลกเหนือ หมายถึง พื้นที่แผ่นดินส่วนมากที่เส้นขนานที่ 30 องศาเหนือสัมผัส เป็นพื้นที่แห้งแล้งหรือมีภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง หากมีลมพัดจากแหล่งน้ำพื้นที่นั้นก็มีโอกาสเป็นพื้นที่กึ่งเขตร้อน ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 14 ชั่วโมง 5 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 10 ชั่วโมง 13 นาที ในระหว่างเหมายัน ที่ละติจูดนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 30 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 35 องศาเหนือ

้นขนานที่ 35 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 35 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ในสหรัฐอเมริกา เส้นขนานนี้กำหนดเป็นเส้นแบ่งเขตทางใต้ของรัฐเทนเนสซี, และเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐจอร์เจีย ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 14 ชั่วโมง 31 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 48 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 35 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ

้นขนานที่ 40 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 1 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 20 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 40 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 41 องศาเหนือ

้นขนานที่ 41 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 8 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 9 ชั่วโมง 13 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 41 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 45 องศาใต้

้นขนานที่ 45 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 45 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นขนานนี้เป็นจุดกึ่งกลางทางทฤษฎีระหว่างเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกใต้ จุดกึ่งกลางที่แท้จริงอยู่ที่ 16.2 กิโลเมตร (10.1 ไมล์) ทางใต้ของเส้นขนานเนื่องจากโลกไม่ได้เป็นทรงกลมที่สมบูรณ์ แต่ป่องที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรและแบนที่บริเวณขั้วโลก แตกต่างจากคู่เส้นขนานทางซีกโลกเหนือซึ่งเกือบทั้งหมดของเส้นขนานนี้ (ร้อยละ 97) ผ่านพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทร เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย ออสตราเลเชีย (ผ่านนิวซีแลนด์แต่พึ่งพ้นจากรัฐแทสเมเนีย) มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปอเมริกาใต้ ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 15 ชั่วโมง 37 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 8 ชั่วโมง 46 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 45 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 50 องศาใต้

้นขนานที่ 50 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 50 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปอเมริกาใต้ ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 16 ชั่วโมง 22 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 8 ชั่วโมง 4 นาที ในระหว่างเหมายัน ซึ่งดวงอาทิตย์ทำมุมกับขอบฟ้า 63.83 องศาในวันที่ 21 ธันวาคม และ 16.17 องศาในวันที่ 21 มิถุนายน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 50 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 50 องศาเหนือ

้นขนานที่ 50 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 50 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 16 ชั่วโมง 22 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 8 ชั่วโมง 4 นาที ในระหว่างเหมายัน โดยดวงอาทิตย์จะมีมุมเงยสูงสุดในครีษมายันที่ 63.5 องศา และเหมายันที่ 16.5 องศา ที่ละติจูดนี้ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลโดยเฉลี่ยระหว่าง..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 50 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 55 องศาใต้

้นขนานที่ 55 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 55 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปอเมริกาใต้ ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 17 ชั่วโมง 22 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 7 ชั่วโมง 10 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 55 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือ

้นขนานที่ 55 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 55 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 17 ชั่วโมง 22 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 7 ชั่วโมง 10 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 55 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 60 องศาเหนือ

้นขนานที่ 60 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 60 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปอเมริกาเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 18 ชั่วโมง 52 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 5 ชั่วโมง 52 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 60 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 65 องศาเหนือ

้นขนานที่ 65 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 65 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือ ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 22 ชั่วโมง 2 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 3 ชั่วโมง 35 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 65 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 70 องศาเหนือ

ในเกาะวิกตอเรีย, แคนาดา เส้นขนานที่ 70 องศาเหนือมีความหมายเป็นเส้นแบ่งเขตส่วนหนึ่ง ระหว่างนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ (สีเขียว) กับ นูนาวุต (สีขาว) เส้นขนานที่ 70 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 70 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลกในมหาสมุทรอาร์กติก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือ และยังลากผ่านบางส่วนของทะเลใต้ของมหาสมุทรอาร์กติกด้วย ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง 0 นาที ในระหว่างครีษมายัน และเห็นแต่แสงสนทยาทั่วไปในช่วงเหมายัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นขนานที่ 70 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลากราฟิกจากบิกแบงถึงฮีทเดธ

นี่คือเส้นเวลาของจักรวาลจากบิกแบง (Big Bang) ถึงฮีทเดธ (Heat Death) แสดงยุคต่างๆของจักรวาล ฮีทเดธจะเกิดขึ้นในอีก 10103 ปี ถ้าโปรตอนสลายตัว ImageSize.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นเวลากราฟิกจากบิกแบงถึงฮีทเดธ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลากราฟิกของยุคแห่งดวงดาว

นี่คือเส้นเวลาของยุคแห่งดวงดาว (Stelliferous Era) นอกจากนี้ยังแสดงบางส่วนของยุคแรกเริ่ม (primordial era) และยุคเสื่อม (degenerate era) ก่อนที่จะไปถึงฮีทเดธ (Heat Death) อีกด้วย สเกลที่ใช้คือ 10 \times \log_ \mathrm ตัวอย่างเช่น 1 ล้านปี คือ 10 \times \log_ 1000000.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นเวลากราฟิกของยุคแห่งดวงดาว · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลากราฟิกของจักรวาล

้นเวลาของจักรวาลของเราที่มีระยะเวลายาวนาน 20 พันล้านปีอันนี้ แสดงให้เห็นถึงการประมาณการของเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่การกำเนิดจักรวาลจนถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ถูกคาดการณ์ไว้ 0 บนสเกลคือเวลาปัจจุบันนี้ ช่องสเกลใหญ่คือ 1 พันล้านปี ช่องสเกลเล็กคือ 100 ล้านปี อดีตถูกบ่งบอกโดยใช้เครื่องหมายลบ ตัวอย่างเช่น หินที่เก่าแก่ที่สุดบนโลกเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 พันล้านปีที่แล้ว และถูกแสดงที่ -4e+09 years "บิกแบง" ดูเหมือนจะเกิดขึ้นเมื่อ 13.8 พันล้านปีที่แล้ว ImageSize.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นเวลากราฟิกของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ

้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะ ดังรายการต่อไปนี้ แสดงขั้นตอนการค้นพบเทหวัตถุใหม่เรียงตามลำดับในประวัติศาสตร์;ความหมายของสี สัญลักษณ์สีในตารางแสดงความหมายถึงดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมัน ดังต่อไปนี้;ดาวเคราะห์;ดาวเคราะห์แคระ หรือดาวที่น่าจะเป็นดาวเคราะห์แคร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นเวลาการค้นพบดาวเคราะห์และดาวบริวารในระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ

้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ คือ เส้นเวลาที่บอกถึงประวัติศาสตร์ของธรรมชาติตั้งแต่การเกิดบิกแบงจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเส้นเวลาของประวัติศาสตร์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 147018 บี

อชดี 147018 บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ และดาวแก๊สยักษ์ ซึ่งโคจรรอบแถบลำดับหลักประเภท G ดาวฤกษ์เอชดี 147018 ตั้งอยู่ที่ประมาณ 140 ปีแสง ห่างออกไปจากกลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลขั้นต่ำเกินกว่าสองเท่าของดาวพฤหัสบดี แต่ดาวเคราะห์ดวงนี้โคจรมากใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดีมากกว่าดวงอาทิตย์โดยมีปัจจัย 22 ขณะเดียวกันก็มีวงโคจรผิดปกติ ดาวเคราะห์สามารถได้ใกล้เคียงกับดาวเป็น 0.13 AU หรือได้รับเท่า 0.35 AU ไกลออกไปมีอีกเป็นดาวเคราะห์ซุเปอร์โจเวียนเอชดี 147018 ซี ซึ่งถูกค้นพบในวันเดียวกันว่าเป็นดาวเคราะห์นี้เมื่อ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2009.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอชดี 147018 บี · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 147018 ซี

อชดี 147018 ซี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ และดาวแก๊สยักษ์ ซึ่งโคจรรอบแถบลำดับหลักประเภท G ดาวฤกษ์เอชดี 147018 ตั้งอยู่ที่ประมาณ 140 ปีแสง ห่างออกไปจากกลุ่มดาวสามเหลี่ยมใต้ มันมีมวลอย่างน้อยหกและครึ่งเวลามากกว่าดาวพฤหัสบดีและวงโคจรสองเกือบสองเท่าระยะทางโลกและดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่แปดเท่าห่างไกลออกไปเกิน เอชดี 147018 บี ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบเมื่อ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2009 โดยวิธีรัศมีความเร็ว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอชดี 147018 ซี · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 147513 บี

อชดี 147513 บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ ตั้งอยู่ประมาณ 42 ปีแสง ห่างออกไปจากกลุ่มดาวแมงป่อง ดาวเคราะห์ดวงนี้มีอย่างน้อย 21% ที่มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี แต่ต่างกันตรงดาวพฤหัสบดีโคจรรอบดาวฤกษ์ใกล้ชิดมาก หมายถึงระยะทางห่างออกไปเพียงหนึ่งในสามมากกว่าระยะทางของโลกจากดวงอาทิตย์ วงโคจรยังผิดปกติที่เพเรียสตรอน ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้กับดาวมากกว่าโลกอยู่จากดวงอาทิตย์ ในขณะที่ในอพาสตรอน ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ไกลออกไปจากดาวอังคารมากกว่าดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอชดี 147513 บี · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 169830

อชดี 169830 (HD 169830) เป็นดาวแคระเหลือง-ขาว (สเปกตรัมประเภท F9V) ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ตั้งอยู่ห่างจากระบบสุริยะ 118.46 ปีแสง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอชดี 169830 · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 69830

อชดี 69830 (HD 69830) เป็นดาวแคระส้มที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 41 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวท้ายเรือ ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอชดี 69830 · ดูเพิ่มเติม »

เอาเตอร์ก็อด

อซาธอทที่อยู่ ณ ใจกลางของจักรวาล เอาเตอร์ก็อด หรือ อุตรเทพ เป็นศัพท์ซึ่งใช้เรียกเทพสมมุติในวรรณกรรมกลุ่มตำนานคธูลู ซึ่งมีที่มาจากบทประพันธ์ของเอช. พี. เลิฟคราฟท์ แต่เลิฟคราฟท์เองไม่ได้ใช้ศัพท์นี้ หากแต่ใช้ศัพท์ว่า เทพอื่น (Other Gods) แทน โดยรวมแล้ว เอาเตอร์ก็อดเป็นเทพที่มีอำนาจมากกว่าเกรทโอลด์วันและมีอิทธิพลในระดับจักรวาล แต่ความแตกต่างของเทพทั้งสองกลุ่มก็ค่อนข้างคลุมเครือ และบางครั้งผู้ศึกษางานประพันธ์กลุ่มตำนานคธูลูก็ไม่อาจแยกเทพทั้งสองกลุ่มออกจากกันได้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอาเตอร์ก็อด · ดูเพิ่มเติม »

เอนรีโก แฟร์มี

อนริโก แฟร์มี เอนริโก แฟร์มี (Enrico Fermi) (29 กันยายน พ.ศ. 2444 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวอิตาลีผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์ เป็นนักฟิสิกส์ที่เชี่ยวชาญทั้งการทดลองและทฤษฎี ซึ่งหาได้ยากยิ่งในวงการฟิสิกส์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอนรีโก แฟร์มี · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนเกมส์ 2014

อเชียนเกมส์ 2014 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 17 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ที่เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ เมืองอินช็อนสามารถเอาชนะคะแนนเสียงกรุงนิวเดลีของอินเดีย และได้รับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในครั้งนี้ เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ อินช็อนถือว่าเป็นเมืองที่สามของเกาหลีใต้ที่ได้จัดกีฬาเอเชียนเกมส์ นับตั้งแต่กรุงโซลเมื่อปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเอเชียนเกมส์ 2014 · ดูเพิ่มเติม »

เฮลิโอสเฟียร์

แผนภาพแสดงคุณลักษณะของเฮลิโอสเฟียร์ เฮลิโอสเฟียร์ (Heliosphere) มีลักษณะคล้ายฟองอากาศอยู่ในห้วงอวกาศ ที่พองตัวอยู่ในสสารระหว่างดาว ซึ่งเป็นผลจากลมสุริยะ ทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะเอาไว้จากรังสีคอสมิก แม้จะมีอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าส่วนหนึ่งจากสสารระหว่างดาวสามารถลอดเข้ามาภายในเฮลิโอสเฟียร์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วสสารส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในเฮลิโอสเฟียร์ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ในรัศมี 10,000 ล้านกิโลเมตรแรก ลมสุริยะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 1 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง จากนั้นจึงเริ่มชะลอและสลายไปในสสารระหว่างดาว ลมสุริยะจะชะลอความเร็วลงจนหยุดลงในที่สุดและรวมไปในมวลสารเหล่านั้น จุดที่ลมสุริยะชะลอความเร็วลงเรียกว่า กำแพงกระแทก (termination shock) จุดที่แรงดันของสสารระหว่างดาวกับลมสุริยะเข้าสู่สมดุลกันเรียกว่า เฮลิโอพอส (heliopause) จุดที่สสารระหว่างดาวเคลื่อนที่ในทางตรงกันข้าม คือชะลอตัวลงเมื่อปะทะเข้ากับเฮลิโอสเฟียร์ เรียกว่า โบว์ช็อค (bow shock).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเฮลิโอสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์

รไมอาห์ ฮอร์รอกส์กำลังสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ เมื่อปี พ.ศ. 2182 เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ (Jeremiah Horrocks - ประมาณ พ.ศ. 2161 - 3 มกราคม, พ.ศ. 2184), บางครั้งก็เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Jeremiah Horrox, นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษคนแรกที่ได้สังเกตการณ์การเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิต.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลตังโจ่ย

งหยวน เทศกาลตังโจ่ย หรือ เทศกาลฤดูหนาว (จีนกลาง: ตงจื้อ, Dōngzhì Festival, Winter Solstice Festival) ตังโจ่ย หรือ ตังจี๋ หรือ ตงเจี่ย (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ ตั่งเจะ (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) มีความหมายถึง วันเหมายัน คือ วันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุด หรือ วันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว (The Extreme of Winter) (โดยประมาณจะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ของทุกปี แต่ปีที่มีอธิกมาส จะตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม) ในยุคโบราณชาวจีนจะเรียกวัน ๆ นี้ว่า เฉี่ยงจี่ (สุดยาว) เป็นหลักการโคจรของพระอาทิตย์ ในแต่ละปี ภายหลังฤดูสารทชิวฮุง (เทศกาลกินเจ) ในเดือนตุลาคมแล้ว พระอาทิตย์เริ่มเคลื่อนลงสู่ทางทิศใต้ ถึงเส้นแวงที่ 23 องศา 26 ลิปดา 59 พิลิปดา ดังนั้น ทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ดินฟ้าภูมิอากาศย่อมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ในซีกโลกเหนือแสงแดดในเวลากลางวันนั้นสั้น แต่เวลากลางคืนกลับยาว แต่ที่ทางซีกโลกใต้นั้นกลับตรงกันข้าม วันตังโจ่ยกลับเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ทางซีกโลกใต้นานที่สุด ดังนั้น วันนี้ จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น่ำจี่ (สุดใต้) และเมื่อผ่านพ้นวันนี้ไปแล้ว พระอาทิตย์ก็จะเริ่มโคจรตามปกติสู่ทางด้านทิศเหนือ วันเวลายามกลางวันก็จะเริ่มต้นยาวขึ้นตามลำดับ วันตังโจ่ย จึงถือเป็นวันตายตัวของวันที่ 22 หรือวันที่ 21 ธันวาคม ตามปฏิทินทางสุริยคติสากล แต่สำหรับในปฏิทินจีน ได้ใช้หลักตามจันทรคติ ดังนั้น เมื่อถือตามหลักของปฏิทินจีน วันตังโจ่ย จึงไม่มีการตายตัวทุก ๆ ปี แต่จะตรงกับเดือน 11 ตามปฏิทินจีน (เดือนธันวาคม) ซึ่งเรียกว่า เกี๋ยวง๊วย ในยุคโบราณ ชาวจีนให้ความสำคัญกับเทศกาลตังโจ่ยไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะถือเสมือนเทศกาลสิ้นปี ผู้คนจะปิดร้านรวงและบ้านเรือน ทำบุญตามวัดหรือไหว้เจ้า เอกลักษณ์ที่สำคัญในเทศกาลนี้ คือ ผู้คนจะปั้นและกินขนมที่มีลักษณะคล้ายขนมบัวลอยของไทย (ออกเสียงสำเนียงแต้จิ๋วว่า อี๊) ซึ่งทำจากแป้งและต้มกับน้ำเชื่อม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย ในภูมิภาคแต่ละที่ของจีนจะกินขนมชนิดนี้และมีชื่อเรียกแตกต่างออกไป เช่น ทางเหนือจะกินเกี๊ยวน้ำ ทางใต้จะกินขนมชนิดนี้ที่มีลูกใหญ่และเรียกว่า "ถ่างหยวน" (Tangyuan, 湯圓) โดยมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานแล้วคนในครอบครัวจะรักผูกพันกันยิ่งขึ้น เพราะเมื่อถึงเทศกาลนี้แล้ว ญาติพี่น้องที่จากไปอยู่แต่ละที่ จะหวนคืนกลับบ้านมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นมงคลเพราะอายุเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งปี ดังนั้นเทศกาลนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ซึ่งประเพณีการรับประทานขนมบัวลอยนี้ก็ยังคงปฏิบัติมาจนถึงคงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเทศกาลตังโจ่ย · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เขตแผ่รังสี

วาดแสดงโครงสร้างของดวงอาทิตย์: 1. แกนกลาง 2. เขตแผ่รังสี 3. เขตพาความร้อน 4. โฟโตสเฟียร์ 5. โครโมสเฟียร์ 6. โคโรนา 7. จุดมืดดวงอาทิตย์ 8. Granules 9. Prominence เขตแผ่รังสี (Radiation zone) คือบริเวณใจกลางของเนื้อในดวงอาทิตย์ อยู่ระหว่างแกนกลางกับเขตพาความร้อน พลังงานภายในแกนกลางของดาวจะเดินทางออกมาจากแกนกลางโดยผ่านเขตแผ่รังสี โดยอยู่ในรูปของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เขตแผ่รังสีนี้มีความหนาแน่นมาก ระยะเวลาที่พลังงานจะผ่านออกมาอาจใช้เวลานับล้าน ๆ ปี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเขตแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

เขตเวลา

ตเวลา เขตเวลา คือ พื้นที่บนผิวโลกที่ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน โดยปกติหมายถึง เวลาท้องถิ่นประยุทธ์บอก เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น (สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหาโดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15° ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าแต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ ทุกๆ เขตเวลามีความสัมพันธ์กับเวลาพิกัดสากล จุดอ้างอิงของเขตเวลาคือเส้นเมริเดียนแรก (ลองจิจูด 0°) ซึ่งพาดผ่าน Royal Greenwich Observatory ในกรีนิช (กรีนิช) กรุงลอนดอนแห่งสหราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้จึงมักพบการใช้คำว่า เวลามาตรฐานกรีนิช เพื่อแสดงเวลาพื้นฐานซึ่งมีความสัมพันธ์กับเขตเวลาต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ใช้ UTC เป็นหน่วยเวลาอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมของกรีนิชที่ใช้การอ้างอิงเวลาตามหลักดาราศาสตร์ ทั้งนี้เวลา GMT (UTC) จะเป็นเวลาประจำกรีนิชเฉพาะในช่วง 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม ถึงเวลา 01:00 UTC ของวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม ส่วนในช่วงเวลาที่เหลือของปีเวลาของกรีนิชจะเป็น UTC+1 ซึ่งในประเทศอังกฤษจะเรียกเวลานี้ว่า (BST - British Summer Time) ตัวอย่างการแสดงเวลาท้องถิ่นโดยใช้เวลาพิกัดสากล ณ เวลา 11.00 UTC.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเขตเวลา · ดูเพิ่มเติม »

เดือน

ือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเดือน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องวัดแดด

250px เครื่องวัดแดด หรือ เซกซ์แทนต์ คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวัดมุมสัมพันธ์ระหว่างวัตถุสองสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาในการเดินเรือดาราศาสตร์ วัตถุประสงค์หลักคือการใช้วัดมุมระหว่างวัตถุบนท้องฟ้า (ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือ ดวงดาวต่าง ๆ) กับเส้นขอบฟ้า แล้วนำค่าความสูงที่ได้มาคำนวณหาละติจูด เพื่อบอกตำแหน่งของเรือในเวลาที่ทำการสังเกต มีการใช้ครั้งแรกในช่วงปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเครื่องวัดแดด · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องฉายดาว

รื่องฉายดาว Zeiss Universarium Mark IX เครื่องฉายดาว (planetarium projector หรือ star projector) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฉายภาพวัตถุท้องฟ้าภายในโดมท้องฟ้าจำลอง เครื่องฉายดาวแบบสมัยใหม่ถูกสร้างเป็นครั้งแรกในช่วงปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเครื่องฉายดาว · ดูเพิ่มเติม »

เคลเบรอส

ลเบรอส (เคโระจัง) เคลเบรอส หรือ เคโระจัง เป็นตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ พากย์เสียงโดยอายะ ฮิซาคาวะ (ร่างเคโระจัง) และมาซายะ โอโนซากะ (ร่างเคลเบรอส).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเคลเบรอส · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-10

ปเลอร์-10 (Kepler-10) หรือชื่อเดิม KOI-72 เป็นดาวฤกษ์ที่ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวมังกร อยู่ห่างจากโลกออกไปใน 173 พาร์เซก (564 ปีแสง) เป็นดาวฤกษ์เล็กน้อยกว่าเล็กน้อย และเย็นเล็กน้อยกว่าดวงอาทิตย์ มีอายุประมาณ 11,900,000,000 ปีหรือเกือบ 2.6 เท่าอายุของดวงอาทิตย์ เคปเลอร์-10 เป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวเคราะห์อย่างน้อย 2 ดวง คือ เคปเลอร์-10บี และเคปเลอร์-10ซี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเคปเลอร์-10 · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-11

ปเลอร์-11 เป็นดาวที่คล้ายแสงแดดมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อยกว่า อยู่ในกลุ่มดาวหงส์ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,005 ปีแสง มันตั้งอยู่ภายในเขตของวิสัยทัศน์ของยานอวกาศเคปเลอร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเคปเลอร์-11 · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-22บี

ปเลอร์-22บี ในความคิดของศิลปินนักวาดภาพ เคปเลอร์-22บี (Kepler-22b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ได้รับการยืนยันการค้นพบโดยของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ของนาซา ที่เป็นไปได้ว่าอาจมีเขตอาศัยได้ รวมทั้งมีการโคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีลักษณะเหมือนดวงอาทิตย์ มีระยะทางห่างจากโลกประมาณ 600 ปีแสง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเคปเลอร์-22บี · ดูเพิ่มเติม »

เคปเลอร์-69ซี

ปเลอร์-69ซี (ชื่อเดิม KOI-172.02, K00172.02) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบซูเปอร์เอิร์ธที่ได้รับการยืนยันไปประมาณ 70% มีขนาดใหญ่กว่าโลก โคจรรอบดาวฤกษ์ดาวแคระเหลือง เคปเลอร์-69 ตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 2,700 ปีแสง ในกลุ่มดาวหงส์ ค้นพบโดยยานอวกาศเคปเลอร์ ของนาซา การค้นพบครั้งแรกของดาวเคราะห์ที่ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2013 ได้ยืนยันประกาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2013 เคปเลอร์-69ซี เป็นเรื่องน่าทึ่ง เพราะช่วงเวลาของการค้นพบ ผู้เป็นหนึ่งในที่สุดดาวเคราะห์คล้ายโลก.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเคปเลอร์-69ซี · ดูเพิ่มเติม »

เต่าตนุ

ต่าตนุ (Green turtle) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelonia mydas อยู่ในวงศ์ Cheloniidae และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelonia เป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้ว่าอีกชื่อหนึ่งว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" อันเนื่องจากมีกระดองเหลือบสีเขียวนั่นเอง พบกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย โดยมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้างอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป เต่าตนุเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวก หญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป โตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4-7 ปี เชื่อว่าอายุยืนถึง 80 ปี ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทยและอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด เป็นเต่าที่มักพบในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ สำหรับในน่านน้ำไทย พบเต่าชนิดนี้ขึ้นวางไข่มากที่เกาะครามและเกาะกระในอ่าวไทย และทางฝั่งทะเลอันดามันพบวางไข่มากที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา บนชายหาดและเกาะหลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตและพังง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเต่าตนุ · ดูเพิ่มเติม »

เปลวสุริยะ

ต่อเนื่อง 2 ภาพของปรากฏการณ์เปลวสุริยะที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ โดยตัดแผ่นจานดวงอาทิตย์ออกไปจากภาพเพื่อให้เห็นเปลวได้ชัดเจนขึ้น เปลวสุริยะ (Solar flare) คือการระเบิดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาถึง 6 × 1025 จูล (ประมาณ 1 ใน 6 ของพลังงานที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ทุกวินาที) คำนี้สามารถใช้เรียกปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์อื่นๆ โดยจะเรียกว่า เปลวดาวฤกษ์ (stellar flare) เปลวสุริยะส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ทั้งหมด (โฟโตสเฟียร์, โครโมสเฟียร์, และโคโรนา) ทำให้พลาสมามีความร้อนถึงหลายสิบล้านเคลวิน และเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน และไอออนหนักจนเข้าใกล้ความเร็วแสง เกิดการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านข้ามสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทุกช่วงความยาวคลื่น นับตั้งแต่คลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีแกมมา เปลวสุริยะส่วนมากจะเกิดขึ้นในย่านแอ็กทีฟเช่น บริเวณจุดมืดดวงอาทิตย์ ซึ่งมีสนามแม่เหล็กกำลังแรง รังสีเอ็กซ์และการแผ่รังสีอุลตราไวโอเล็ตที่แผ่ออกมาโดยเปลวสุริยะสามารถส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของโลก และทำลายการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุช่วงยาว การปะทะของคลื่นโดยตรงที่ความยาวคลื่นขนาดเดซิเมตรอาจรบกวนการทำงานของเรดาร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำงานในช่วงความถี่ดังกล่าว.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเปลวสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2

ปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2  (อังกฤษ: Young Justice Bao 2) เป็นละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศในประเทศจีนช่วงปี ค.ศ. 2001 กล่าวถึงประวัติของเปาบุ้นจิ้นในช่วงวัยหนุ่มที่เพิ่งเข้ารับราชการกับฮ่องเต้ใหม่ๆ ออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง 3 แฟมิลี่ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560 ทุกวันจันทร์ -ศุกร์ เวลา 16:30 น. นำแสดงโดย ลู่ อี้, ซื่อ เสี่ยวหลง, จ้าว หยาง,ฉิน ลี่, หยาง หยง ต่อจากภาคแรก และมีภาคสามเป็นภาคจบ เรื่อง เปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 3 ภาพละครภาค 2 ภาษาไท.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเปาบุ้นจิ้นหนุ่ม พิทักษ์ธรรม ภาค 2 · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาปู

นบิวลาปู (บัญชีการตั้งชื่อ M1, NGC 1952 หรือ Taurus A) เป็นซากซูเปอร์โนวาและเนบิวลาลมพัลซาร์ในกลุ่มดาววัว เนบิวลานี้ได้รับการสังเกตโดยจอห์น เบวิส ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเนบิวลาปู · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาเอสกิโม

นบิวลาเอสกิโม (Eskimo Nebula) หรือรู้จักกันดีในชื่อ NGC 2392,เนบิวลาเคลาน์เฟช หรือ คาล์ดเวลล์ 39 เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์เปลือกหอยคู่สองขั้ว ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ วิลเลียม เฮอร์เชล ในปี 1787 การก่อตัวคล้ายกับศีรษะของบุคคลที่ล้อมรอบด้วยกระโปรงเสื้อคลุม ตั้งอยู่ท่ามกลางก๊าซที่ประกอบด้วยชั้นนอกของดาวคล้ายดวงอาทิตย์ เส้นใยชั้นในที่มองเห็นได้โดยกดลมแรงของอนุภาคจากดาวส่วนกลาง จานชั้นนอกมีความผิดปกติของเส้นใยระยะปีแสง NGC 2392 อยู่กว่า 2,870 ปีแสงห่างออกไป และสามารถมองเห็นด้วยกล้องโทรทรรน์ขนาดเล็ก ในกลุ่มดาวคนคู.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และเนบิวลาเอสกิโม · ดูเพิ่มเติม »

BD+20°2457

BD+20°2457 เป็นดาวดาวยักษ์สว่างประเภท-K ที 10 ตั้งอยู่ห่างระหว่าง 320 - 980 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ดาวฤกษ์ดวงนี้ขาดแคลนโลหะอย่างมากที่มีเพียง 10% ในขณะที่อุดมไปด้วยธาตุที่หนักกว่าไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นดวงอาทิตย์ของเร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และBD+20°2457 · ดูเพิ่มเติม »

Inductively coupled plasma

Inductively coupled plasma (ICP) คือพลาสมาชนิดหนึ่งที่ได้รับพลังงานจากกระแสไฟฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า อุณหภูมิของพลาสมาอาจมีค่าตั้งแต่ 6 000 K จนถึง 10 000 K ซึ่งเทียบเท่ากับอุณหภูมิพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ICP ที่ปลดปล่อยออกมาจึงมีความหนาแน่นอิเล็กตรอนสูงมาก ในระดับ 1015 cm−3 เราสามารถนำ ICP ไปประยุกต์ใช้ได้หลายแบบในงานที่ต้องใช้พลาสมาความหนาแน่นสูง.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และInductively coupled plasma · ดูเพิ่มเติม »

MOA-2007-BLG-192Lb

MOA-2007-BLG-192Lb บางครั้งจะเรียกสั้นๆว่า MOA-192 b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 3,000 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ดาวดวงนี้ค้นพบการโคจรรอบดาวแคระน้ำตาล หรือมวลต่ำ MOA-2007-BLG-192L โดยมีมวลประมาณ 3.3 เท่าของโลก และเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบที่เล็กที่สุดเท่าที่ทราบมา มันถูกพบเมื่อเกิดจากไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง เหตุการณ์ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ซึ่งได้รับการตรวจพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของหอสังเกตการณ์ไมโครเลนส์ในดาราศาสตร์ ในการสำรวจที่หอดูดาวมหาวิทยาลัยเมานต์จอห์น ในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นระบบดาวเคราะห์หลักที่มีขนาดเล็กเช่นกัน ที่ประมาณ 6% ของมวลดวงอาทิตย์ มันอาจจะเป็นขนาดเล็กเกินไปที่จะรักษาปฏิกิริยาฟิวชัน ทำให้ประกายรางเป็นดาวแคระน้ำตาล นอกจากนี้ระยะทางโดยประมาณที่คาดการณ์ระหว่าง MOA-2007-BLG-192Lb และหลักคือประมาณ 0.62 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งหมายความว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นอาจจะมีจำนวนมากของน้ำแข็งและก๊าซมากขึ้นเช่น ดาวเนปจูน (ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์) ในองค์ประกอบมากกว่าโลก (ดาวเคราะห์คล้ายโลก) ตามอ้างอิงจากนักดาราศาสตร์ เดวิด เบนเนตต์ ของมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม, Richard A. Kerr, ScienceNOW Daily News, June 2, 2008.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และMOA-2007-BLG-192Lb · ดูเพิ่มเติม »

1 E+18 m²

1 E+18 m² เป็นอันดับของขนาดของสิ่งที่มีพื้นที่ระหว่าง 1,000,000 ถึง 10,000,000 ล้านตารางกิโลเมตร ---- พื้นที่ขนาดน้อยกว่า 1 ล้านล้านตารางกิโลเมตร ---- ดวงอาทิตย์มีพื้นผิวทั้งหมด 6.1 ล้านล้านตารางกิโลเมตร ดาวซิริอุสมีพื้นผิวทั้งหมด 9.12 ล้านล้านตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ1 E+18 m² · ดูเพิ่มเติม »

1 E9 m

ำหรับการเปรียบเทียบอันดับของขนาด (อังกฤษ: orders of magnitude) หน้านี้เป็นเป็นรายชื่อความยาวตั้งแต่ 1 Gm (1,000,000 กม.) ถึง 10 Gm (10,000,000 กม.) (109 และ 1010 ม.) ---- ความยาวน้อยกว่า 109 เมตร ----.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ1 E9 m · ดูเพิ่มเติม »

10 ไฮเจีย

10 ไฮเจีย (‘Υγιεία; Hygiea) เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งในแถบดาวเคราะห์น้อย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวรีประมาณ 350 - 500 กิโลเมตร และมีมวลคิดเป็นประมาณ 2.9% ของมวลรวมทั้งหมดของดาวเคราะห์น้อยในแถบหลัก ถือเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่สี่ทั้งโดยปริมาตรและมวล รวมถึงเป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับกลุ่มดาวเคราะห์น้อยมืด (คือ ดาวเคราะห์น้อยประเภท C) ซึ่งมีส่วนประกอบคาร์บอนอยู่บนพื้นผิวค่อนข้างมาก แม้ไฮเจียจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ด้วยพื้นผิวที่ค่อนข้างมืดและยังอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก จึงปรากฏให้โลกเห็นเพียงริบหรี่ ดาวเคราะห์น้อยอื่นที่มีขนาดเล็กกว่าจึงถูกค้นพบก่อนที่ แอนนาเบล เดอ แกสปารีส จะค้นพบไฮเจียเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1849 ไฮเจียมีค่าความส่องสว่างปรากฏต่ำกว่าเวสต้าถึง 4 เท่า และต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 100 มม.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ10 ไฮเจีย · ดูเพิ่มเติม »

15

15 (สิบห้า) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 14 (สิบสี่) และอยู่ก่อนหน้า 16 (สิบหก).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ15 · ดูเพิ่มเติม »

162173 รีวงู

162173 รีวงู (Ryugu) หรือ ตามการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยชั่วคราว เป็นเทห์ฟ้าใกล้โลก (NEO) และเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีศักยภาพเป็นอันตรายต่อโลก (PHO) ดวงหนึ่งในกลุ่มอะพอลโล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร ถือเป็นเทหวัตถุสีเข้มที่จัดอยู่ในชนิดของสเปกตรัมประเภท Cg ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งประเภท G และ C ดาวเคราะห์น้อยรีวงูเป็นเป้าหมายของการสำรวจโดยยานสำรวจอวกาศ ฮายาบูสะ2 ซึ่งถูกปล่อยจากโลกเมื่อเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ162173 รีวงู · ดูเพิ่มเติม »

2061 จอมจักรวาล

2061 จอมจักรวาล 2061 จอมจักรวาล (2061: Odyssey Three) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ในชุด จอมจักรวาล ของ อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก กล่าวถึงระบบสุริยะจักรวาลย่อยที่เกิดขึ้นหลังจากดาวพฤหัสบดีได้ระเบิดขึ้นเป็นดวงอาทิตย์ ทำให้มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในดวงจันทร์ของมัน และกล่าวถึงการสำรวจดาวหางฮัลเลย์ 2061 จอมจักรวาล ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1987 หลังจากตีพิมพ์ ได้รับความสนใจนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์โดย ทอม แฮงค์ แต่โครงการนี้ไม่ได้มีการดำเนินการต่อ.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ2061 จอมจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

21 มิถุนายน

วันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ 172 ของปี (วันที่ 173 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 193 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ21 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

253 มาทิลเด

253 มาทิลเด (253 Mathilde) เป็นดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ค้นพบโดย โยฮันน์ พาลิซา ใน พ.ศ. 2428 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์จำนวนสี่ปี และโคจรรอบตัวเองด้วยอัตราที่ช้าผิดปกติ คือใช้เวลา 17.4 วัน ในการโคจรรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จัดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C ซึ่งพื้นผิวมีส่วนประกอบของคาร์บอนอยู่ปริมาณมาก ทำให้พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ทึบแสง โดยจะสะท้อนแสงเพียง 4% ของแสงที่ตกกระทบ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 เนียร์ชูเมกเกอร์ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ ระหว่างทางที่จะเดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยอีรอส และได้ถ่ายภาพของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลุมอุกกาบาตจำนวนมากบนพื้นผิว ปัจจุบัน 253 มาทิลเด เป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท C ดวงแรกที่มียานอวกาศไปสำรวจ และก่อนหน้าการเดินทางไปยัง 21 ลูเทเชีย ดาวเคราะห์น้อยมาทิลเดจะเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ253 มาทิลเด · ดูเพิ่มเติม »

3 มกราคม

วันที่ 3 มกราคม เป็นวันที่ 3 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 362 วันในปีนั้น (363 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ3 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

30 สิงหาคม

วันที่ 30 สิงหาคม เป็นวันที่ 242 ของปี (วันที่ 243 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 123 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ30 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

47 หมีใหญ่

47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris ย่อเป็น 47 UMa) หรือชื่อว่าชาละวัน เป็นดาวแคระเหลืองอยู่ห่างจากโลกประมาณ 46 ปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ในปี 2554 เชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบสามดวง (ชื่อ 47 หมีใหญ่ บี ซีและดี ซึ่งสองดวงแรกได้ชื่อว่าตะเภาทองและตะเภาแก้ว) โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ 47 หมีใหญ่ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับระบบสุริยะ จากข้อมูลของการวัดวิชาการวัดตำแหน่งดาวโดยดาวเทียมวัดตำแหน่งดาวฮิปพาร์คอส ดาวนี้มีพารัลแลกซ์ 71.11 มิลลิอาร์กวินาที สอดคล้องกับระยะทาง 45.913 ปีแสง ดาวนี้มีความส่องสว่างปรากฏ +5.03 ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีความส่องสว่างสัมบูรณ์ +4.29 หมายความว่า ความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 60% ดาวนี้เป็นแฝดดวงอาทิตย์ (solar analog) ด้วยชนิดสเปกตรัม G1V มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์แต่ร้อนกว่าประมาณ 5,882 K และเป็นโลหะมากกว่าเล็กน้อย คือ ประมาณ 110% ของความอุดมเหล็กของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ 47 หมีใหญ่อยู่บนลำดับหลัก โดยเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน โดยอาศัยกัมมันตภาพโครโมสเฟียร์ ดาวฤกษ์นี้อาจมีอายุประมาณ 6,000 ล้านปี แม้แบบจำลองวิวัฒนาการแนะว่าอายุอาจสูงถึงประมาณ 8,700 ล้านปี การศึกษาอื่นประมาณอายุดาวนี้ไว้ระหว่าง 4,400 ถึง 7,000 ล้านปี.

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ47 หมีใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

50000 ควาอัวร์

50000 ควาอัวร์ (50000 Quaoar) เป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนดวงหนึ่ง และมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นดาวเคราะห์แคระ โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในบริเวณแถบไคเปอร์ ค้นพบเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ50000 ควาอัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน

ว 51 ม้าบิน 51 ม้าบิน (51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ51 ม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

55 ปู

55 ปู หรือ โร1 ปู (55 Cancri) เป็นระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 41 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวปู ระบบดาวนี้ประกอบด้วยดาวแคระเหลือง 1 ดวง และดาวแคระแดงขนาดเล็กกว่าอีก 1 ดวง ทั้งสองดวง นี้อยู่ห่างกันมากกว่าระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์มากกว่า 1,000 เท่า นับถึง..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ55 ปู · ดูเพิ่มเติม »

55 ปู อี

55 ปู อี (55 Cancri e) หรือมีชื่อย่อว่า 55 Cnc e เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ 55 ปู เอ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลประมาณ 7.8 มวลโลกและเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เท่าของโลก จึงถูกจัดเป็นซูเปอร์เอิร์ธดวงแรกที่ถูกค้นพบรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก โดยที่ถูกค้นพบก่อน กลีเซอ 876 ดี ประมาณหนึ่งปี มันใช้เวลาเพียงไม่ถึง 18 ชั่วโมงเพื่อโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ของมัน และเป็นดาวเคราะห์วงในสุดในระบบดาวเคราะห์ของมัน 55 ปู อี ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ55 ปู อี · ดูเพิ่มเติม »

61 หญิงสาว ซี

61 หญิงสาว ซี (ชื่อย่อ 61 Vir c) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ วงโคจรที่ 5 ที่ส่องสว่างปรากฏG-type star คือ 61 หญิงสาวดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลขั้นต่ำเป็น 18.2 เท่าของโลก และเป็นหนึ่งในห้าวงโคจรดาวระยะทางไปขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ที่มีระยะทางแม่นยำถึง 0.2175 AU กับความผิดปกติ 0.14 ดาวเคราะห์ดวงนี้มักจะเป็นดาวแก๊สยักษ์เหมือนกับ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ดวงนี้ค้นพบเมื่อ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ61 หญิงสาว ซี · ดูเพิ่มเติม »

7

7 (เจ็ด) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 6 (หก) และอยู่ก่อนหน้า 8 (แปด).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ7 · ดูเพิ่มเติม »

7 กุมภาพันธ์

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 38 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 327 วันในปีนั้น (328 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ7 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

90377 เซดนา

วเคราะห์แคระเซดนา อยู่ในวงกลมสีเขียว ภาพจำลองดาวเคราะห์แคระเซดนาที่วาดขึ้นโดยศิลปิน 90377 เซดนา (Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะ ในปี..

ใหม่!!: ดวงอาทิตย์และ90377 เซดนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sun

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »