โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซิลิกอนไดออกไซด์

ดัชนี ซิลิกอนไดออกไซด์

ทราย หนึ่งในอัญรูปของซิลิกา ซิลิกอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซิลิกาได้นำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่หลากหลาย อาทิ แก้ว, คริสตัล, เจล, แอโรเจล, ซิลิการมควัน และคอลลอยดอลซิลิกา ยิ่งไปกว่านั้น ซิลิกานาโนสปริงก็ผลิตขึ้นจากวิธีความดันไอ-ของเหลว-ของแข็ง ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ซิลิกาใช้เป็นวัสดุเบื้องต้นในการผลิตกระจก, แก้วน้ำและขวดแก้ว สายใยแก้วที่ใช้ในการโทรคมนาคมก็เป็นผลิตผลจากซิลิกาเช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นวัสถุดิบแรกเริ่มในผลิตภัณฑ์จำพวกเซรามิกเช่น เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องหิน, เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต.

38 ความสัมพันธ์: ฟองน้ำกระวานไทยกรดไฮโดรฟลูออริกกากน้ำตาลการแข็งตัวกลายเป็นหินมวลสารพอกรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์รายชื่อแร่วัฏจักรคาร์บอนวงศ์มะพอกหินทรายหินไซอัลหินเชิร์ตอัญมณีอุทยานแห่งชาติป่าหินผลิตภัณฑ์ประมงดวงจันทร์ของกาลิเลโอดาวอังคารดาวเคราะห์น้อยประเภท Sควอนตัมดอตตัวทำปฏิกิริยาซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินซิลิคอนนิเวศวิทยาแกลบแก้วแคลเซโดนีแตงกวาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรคนิ่วไตโลก (ดาวเคราะห์)โอปอลไดอะตอมเกาะซะกุระเศรษฐกิจอินเดียเถ้าลอยลิกไนต์ Fly ashเปลือกโลกICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ

ฟองน้ำ

ฟองน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเดียวในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน - porus หมายถึง รู และ ferre หมายถึง พยุงหรือค้ำเอาไว้) เป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัวซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว มีเซลล์เรียงกันเป็นสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ตัวอ่อนของฟองน้ำนั้นมีเซลล์ที่สามารถว่ายไดน้ำได้ เรียกระยะนี้ว่า แอมพิบลาสทูลา (Amphiblastula) โดยจะว่ายน้ำไปเกาะตามก้อนหิน เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะกลายเป็นฟองน้ำที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ฟองน้ำในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7,000 สายพันธุ์ มักพบในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทร (ลึกประมาณ 8,500 เมตร) ต้นกำเนิดของฟองน้ำอาจย้อนไปถึงยุคพรีคัมเบรียน (Precambrian) หรือประมาณ 4,500 ล้านปีที่แล้ว พิสูจน์โดยซากฟอสซิลของฟองน้ำ นอกจากนี้แล้ว ฟองน้ำยังถือว่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนสูงสุดในบรรดาอาณาจักรสัตว์ทั้งหมดอีกด้วย โดยมีอายุยืนได้ถึงหมื่นปี.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และฟองน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กระวานไทย

กระวานไทย หรือ กระวาน เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันท.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และกระวานไทย · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรฟลูออริก

กรดไฮโดรฟลูออริก เป็นสารละลายของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ในน้ำ แม้ว่าจะมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างแรงและยากแก่การใช้งาน กรดนี้เป็นเพียงกรดอ่อนเท่านั้น กรดไฮโดรฟลูออริกใช้เป็นแหล่งของฟลูออรีนในการสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ ทั้งยาและพอลิเมอร์ เช่น เทฟลอน คนทั่วไปรู้จักกรดไฮโดรฟลูออริกในฐานะกรดกัดแก้ว เพราะกรดชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับซิลิกอนไดออกไซด์ได้.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และกรดไฮโดรฟลูออริก · ดูเพิ่มเติม »

กากน้ำตาล

กากน้ำตาล (molasses "โมลาส") มีรากศัพท์มาจากคำว่า “melaço” ในภาษาโปรตุเกสmerriam-webster กากน้ำตาลเป็นของเหลวลักษณะเหนียวข้นสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยจากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ที่ใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส Thai Sugar Mill Group กากน้ำตาลมีระดับพลังงานระดับต่ำถึงปานกลางขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่มีอยู่ในกากน้ำตาล มีโพแทสเซียม และมีปริมาณน้ำในระดับสูง ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย กากน้ำตาลแบ่งได้หลายชน.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และกากน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

การแข็งตัวกลายเป็นหิน

การแข็งตัวกลายเป็นหินหรือการกลายเป็นหิน (Lithification) คือกระบวนการที่ตะกอนอัดแน่นภายใต้ความดัน, การขับของเหลวออกจากหินแล้วค่อย ๆ กลายเป็นหินแข็ง ปกติแล้วการกลายเป็นหินเป็นกระบวนลดความเป็นรูพรุนด้วยการการอัดแน่นและการประสานรวมถึงกระบวนการอื่น ๆ ที่นำตะกอนต่าง ๆ มารวมกันจนกลายเป็นหินตะกอน แม้ว่าคำว่าการกลายเป็นหิน (Petrifaction) ที่ใช้เป็นคำพ้องบ่อยครั้งมักใช้เป็นคำเฉพาะในการอธิบายการเปลี่ยนสารประกอบอินทรีย์โดยซิลิกอนไดออกไซด์ให้เกิดการก่อตัวเป็นซากดึกดำบรร.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และการแข็งตัวกลายเป็นหิน · ดูเพิ่มเติม »

มวลสารพอก

มวลสารพอก ตามชายหาด มวลสารพอก คือมวลวัตถุ หรือแร่ที่จับตัวกันแน่นและแข็ง เป็นรูปทรงกลม แต่ที่พบทั่วไปมักเป็นรูปกลมรี รูปกลมแบน หรือรูปร่างไม่แน่นอน เกิดจากการจับตัวกันของสารเหลว หรือการตกผลึกของสารละลายรอบๆจุด หรืออนุภาค เช่น ใบไม้ กระดูก เปลือกหอย หรือซากดึกดำบรรพ์ จนเกิดเป็นก้อนแข็งๆ ภายในรูหรือโพรงของชั้นหิน หรือภายในเศษชิ้นส่วนภูเขาไฟ โดยทั่วไปส่วนประกอบของซิลิกา (เชิร์ต) แคลไซต์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ไพไรต์ ยิปซัม มีขนาดตั้งแต่ เม็ดกรวดเล็กๆ ไปจนถึงรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ส่วนมากเกิดในช่วงที่หินมีการก่อตัวใหม่ (Diagenesis) แต่ที่เกิดทันทีหลังจากตกตะกอน (โดยเฉพาะในหินปูน และหินดินดาน) ก็มีมากเช่นกัน.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และมวลสารพอก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (อังกฤษ:inorganic compound) คือสารประกอบที่มีในโลกที่ไม่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแร่

้างล่างนี้เป็นการรวบรวมรายชื่อของแร่ โดยเรียงลำดับตามตัวอักษรในภาษาไท.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และรายชื่อแร่ · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรคาร์บอน

แผนภูมิของวัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรคาร์บอน เป็นวัฏจักรชีวธรณีเคมี ซึ่งคาร์บอนถูกแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งมีชีวิต, พื้นดิน, น้ำ และบรรยากาศของโลกคาร์บอนเป็นธาตุสำคัญธาตุหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบประมาณ 50%ของเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 แบบ ตามระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนเวียนให้ครบรอบคือ ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และวัฏจักรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์มะพอก

วงศ์มะพอก หรือ Chrysobalanaceae เป็นวงศ์ของไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ที่เป็นพืชมีดอกจำนวน 17 สกุลและประมาณ 460 สปีชีส์ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน พบทั่วไปในทวีปอเมริกา บางสปีชีส์มีซิลิกา ในส่วนของต้นที่แข็งแรง และชั้นมีโซฟิลล์ของใบมักมีสเคลอเรนไคม.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และวงศ์มะพอก · ดูเพิ่มเติม »

หินทราย

250px หินทราย (Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และหินทราย · ดูเพิ่มเติม »

หินไซอัล

หินไซอัล (อังกฤษ: sial) คือหินพวกแกรนิตของเปลือกโลก ประกอบด้วยซิลิกาและอะลูมินา ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหินแกรนิต หมวดหมู่:โครงสร้างของโลก หมวดหมู่:หิน มีความหนาประมาณ 35-70 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และหินไซอัล · ดูเพิ่มเติม »

หินเชิร์ต

หินเชิร์ต หินเชิร์ต (chert) หินตะกอนเนื้อแน่น แข็ง เกิดจากการตกผลึกใหม่ เนื่องจากน้ำพาสารละลายซิลิกาเข้าไปแล้วระเหยออก ทำให้เกิดผลึกซิลิกาแทนที่เนื้อหินเดิม หินเชิร์ตมักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เนื่องจากแพลงก์ตอนที่มีเปลือกเป็นซิลิกาตายลง เปลือกของแพลงตอนจะจมลงทับถมกัน หินเชิร์ตจึงปะปนอยู่ในหินปูน ในประเทศไทยส่วนใหญ่หาพบได้ยาก มีประโยชน์ไว้ทำเครื่องประดับ ทำเลน.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และหินเชิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

อัญมณี

อัญมณี และ หินสีแบบต่างๆ อัญมณี คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึ้นจาก สาร อินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่าง.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และอัญมณี · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติป่าหิน

right อุทยานแห่งชาติป่าหิน (Petrified Forest National Park) ตั้งอยู่ในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เดิมเป็นอนุสรสถานแห่งชาติป่าหินเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม..1906 มีอาณาเขต 378 ตารางกิโลเมตร ภายหลังรวมเอาอาณาเขตทะเลทรายเพนเท็ด(painted)จึงมีอาณาเขต 800 ตารางกิโลเมตร และได้กลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติป่าหินซึ่งเป็นป่าหินแห่งใหญ่ที่สุดในโลก ถูกค้นพบครั้งแรกโดยร้อยโทลอเรนโซ ซิตกรีฟส์ แห่งกองทัพบกสหรัฐฯ โดยบังเอิญ ในปี.ศ 1851 มีลักษณะเป็นเศษท่อนไม้ที่เนื้อไม้กลายเป็นหินควอตซ์จำนวนมาก ซึ่งดูมีลักษณะเหมือนต้นไม้จริงทุกประการ เพียงแต่กลายเป็นหินทั้งท่อน ซุงหินที่พบมีขนาดใหญ่และส่วนใหญ่อยู่ในสภาพแตกหัก พบมากบริเวณลองเลกส์(long Legs) นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติป่าหิน มีผู้เข้าเยือนแล้วกว่า 600,000 คน.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และอุทยานแห่งชาติป่าหิน · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์ประมง

ปลาหลังเขียวในน้ำมันบรรจุกระป๋อง หนึ่งในผลิตภัณฑ์ประมงประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products) หมายถึง.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และผลิตภัณฑ์ประมง · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

แกนิมีด คัลลิสโต ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) คือดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอีช่วงเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อยประเภท S

อีรอส ตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยประเภท S ดาวเคราะห์น้อยประเภท S เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกา (Silica) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ มีอยู่เป็นจำนวนประมาณ 17% ของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนมากรองจากดาวเคราะห์น้อยประเภท C หรือจำพวกคาร์บอน.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และดาวเคราะห์น้อยประเภท S · ดูเพิ่มเติม »

ควอนตัมดอต

Quantum Dots with emission maxima in a 10-nm step are being produced in a kg scale at PlasmaChem GmbH ควอนตัมดอต (quantum dot) เป็นวัสดุที่มีขนาดเล็กมากเพียงไม่กี่นาโนเมตร ประกอบขึ้นจากอนุภาคของสารกึ่งตัวนำ และเนื่องจากขนาดดังกล่าว วัสดุชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติทางแสงและอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างจากสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ ควอนตัมดอตสามารถเปล่งแสงที่มีความถี่เฉพาะหากได้รับกระแสไฟฟ้า หรือ มีแสงมาตกกระทบ นอกจากนั้นการเปลี่ยนขนาด รูปร่าง และชนิดของสสาร ยังสามารถเปลี่ยนความถี่ของแสงที่ออกมาได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถถูกนำไปประยุกตใช้ได้อย่างมากมาย ในภาษาของวิชาวัสดุศาสตร์ วัสดุซึ่งทำมาจากสารกึ่งตัวนำที่มีหน่วยเป็นนาโนเมตร จะจำกัดขอบเขตการกระจายของอิเล็กตรอนไว้อย่างเหนียวแน่น หรือ สร้างพื้นที่ที่อิเล็กตรอนไม่สามารถเข้าไปได้ (electron hole) ในบางครั้งควอนตัมดอตจะถูกเรียกว่า อะตอมเทียม ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เน้นให้เห็นว่า ควอนตัมดอตเป็นวัตถุเดี่ยวซึ่งมีอิเล็กตรอนที่มีสถานะจำกัดขอบเขต และไม่ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอะตอมหรือโมเลกุลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาวัสดุที่ มีโครงสร้างในระดับนาโนเมตรในทุกมิติ หรือ กล่าวอีกในหนึ่งคือ เทคโนโลยี ศูนย์ มิติ (Zero dimension nanotechnology) มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า ผลึกนาโน (nanocrystals) ประกอบขึ้นจากธาตุ หมู่ สอง-หก (II-VI), สาม-ห้า (III-V), และ สี่-หก (IV-VI) ใน ตารางธาตุของเพอริออดิก (periodic table) วัสดุเหล่านี้ได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิก เช่น วงจรในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น จุดเด่นของ ควอนตัมดอต คือ มีขนาดเล็กมาก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 2-10 นาโนเมตร หรือ 10-50 อะตอม นอกจากนั้นการนำไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการกระตุ้นภายนอก เช่น ความต่างศักย์ และ ฟรักซ์ ของ โฟตอน (photon flux) หรือ จำนวนโฟตอนต่อเวลาต่อพื้นที่ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น แคดเมียมซีลีไนด์ (CdSe) โดยปกติ โลหะแคดเมียมเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ ซีลีเนียมไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ แต่เมื่อนำโลหะสองชนิดมารวมกัน บวกกับการกระตุ้นจากภายนอก แคดเมียมซีลีไนด์ สามารถนำไฟฟ้าได้.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และควอนตัมดอต · ดูเพิ่มเติม »

ตัวทำปฏิกิริยา

กำมะถันเป็นตัวทำปฏิกิริยาชนิดหนึ่งสำหรับปฏิกิริยาเคมีหลายอย่าง ตัวทำปฏิกิริยา (reactant หรือ reagent) เป็นสสารที่มีอยู่ตอนเริ่มต้นในปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) ตัวทำปฏิกิริยาเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกันแล้วเกิดเป็น ผลิตภัณฑ์ ของปฏิกิริยาเคมีนั้น ๆ ใน สมการเคมี ตัวทำปฏิกิริยาจะถูกเขียนไว้ทางซ้ายมือของลูกศร เมื่อสารเคมีที่ซื้อมาหรือเตรียมเองซึ่งเรียกว่ารีเอเจนต์ เป็นสารเคมี ที่มีความบริสุทธิ์เพียงพอสำหรับการใช้ในการงาน เคมีวิเคราะห์ (chemical analysis) ปฏิกิริยาเคมีหรือการตรวจสอบทางกายภาพ มาตรฐาน ความบริสุทธิ์สำหรับรีเอเจนต์ถูกกำหนดโดยองค์กรที่มีชื่อว่า เอเอสทีเอ็ม นานาชาติ (ASTM International) ตัวอย่าง เช่น คุณภาพรีเอเจนต์ น้ำ โดยจะต้องมีสิ่งเจือปน (impurities) ในระดับต่ำมาก โซเดียม และ คลอไรด์ ไอออน ซิลิกา และ แบคทีเรีย และมีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้า (electrical resistivity) ที่สูง หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และตัวทำปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน

ม้กลายเป็นหิน (petrified wood) คือซากดึกดำบรรพ์ของพืชประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นจากท่อนไม้ถูกฝังกลบอยู่ใต้ผิวดินในสภาพที่ขาดออกซิเจนทำให้เนื้อไม้ไม่เน่าเปื่อย และถูกฝังแช่อยู่ในสารละลายซิลิก้าที่มีความเข้มข้นสูงเพียงพอ ในสภาพแวดล้อมที่ท่อนไม้และสารละลายซิลิกาได้สัมผัสกับออกซิเจนเป็นบางช่วงเวลาทำให้สารละลายซิลิกาตกตะกอนในรูปของซิลิกาเจล สะสมตัวแทนที่โมเลกุลของเนื้อไม้ (replacement) จนทำให้ท่อนไม้ที่เป็นเนื้อสารอินทรีย์เปลี่ยนไปเป็นเนื้อหินซิลิกาแต่ยังคงรักษาโครงสร้างเนื้อไม้ดั้งเดิมเอาไว้ ด้วยระยะเวลานับเป็นหมื่นเป็นแสนปีหรือมากกว่านี้ ไม้กลายเป็นหินจะค่อย ๆ สูญเสียน้ำทีละน้อยและค่อย ๆ พัฒนาเป็นโอปอลที่มีสีสันสวยงามได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมลทินซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ปะปนอยู่ในเนื้อของซิลิกาออกไซด์ ซึ่งแร่ธาตุต่าง ๆ ให้สีสันต่าง ๆ กันไป เช่น.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน · ดูเพิ่มเติม »

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และซิลิคอน · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แกลบ

แกลบ แกลบ (Rice Husk) คือ เปลือกแข็งของเมล็ดข้าวที่ได้จากการสีข้าว เป็นส่วนที่เหลือใช้จากการผลิตข้าวสาร เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงรี เม็ดยาวสีเหลืองอมน้ำตาล หรือเหลืองนวลแล้วแต่ภูมิประเทศที่มีการปลูกข้าว แกลบประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน และเถ้า และมีซิลิกาในเถ้ามาก แกลบไม่ละลายในน้ำ มีความคงตัวทางเคมี ทนทานต่อแรงกระทำ จึงเป็นตัวดูดซับที่ดีในการบำบัดน้ำเสียที่มีโลหะหนัก การกำจัดโลหะหนักด้วยแกลบมีรายงานว่าสามารถใช้ได้กับ แคดเมียม ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง โคบอลต์ นิกเกิลและเงิน โดยใช้ได้ทั้งในรูปที่ทำและไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้ทำปฏิกิริยากับแกลบเพื่อให้ดูดซับโลหะมากขึ้นคือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนตและอีพิคลอโรไฮดริน.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และแกลบ · ดูเพิ่มเติม »

แก้ว

ตัวหมากรุกที่ทำจากแก้ว แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture) แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper) แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica) เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้น จะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือ โซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโปตัสเซียม เช่น โปตัสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์;calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้ SiO2 70% Na2O 15% CaO 8% และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซโดนี

แคลเซโดนี (Chalcedony) เป็นแร่รัตนชาติซึ่งจัดอยู่ในประเภท ควอตซ์ มีลักษณะเป็นผลึกรวมซ่อนรูป (Cryptocrystalline) ของซิลิกา มีความวาวแบบแก้วและแบบยางสน มีหลากหลายสี แต่ที่พบมากที่สุดคือ สีขาว-เทา สีเทาน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลจนถึงดำ.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และแคลเซโดนี · ดูเพิ่มเติม »

แตงกวา

แตงกวา หรือ แตงร้านhttp://frynn.com/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2/ เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (วงศ์เดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 30-45 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และแตงกวา · ดูเพิ่มเติม »

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

รคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD, chronic obstructive lung disease, COLD, chronic obstructive airway disease, COAD) เป็นโรคปอดอุดกั้นที่มีลักษณะเฉพาะคือความบกพร่องอย่างเรื้อรังในการไหลผ่านของอากาศของระบบทางเดินหายใจ --> และมักจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป --> อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหนื่อย ไอ และ มีเสมหะ ผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรังส่วนใหญ่จะมี COPD ด้วย สาเหตุพบบ่อยที่สุดของ COPD คือการสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่มีบทบาทบ้างแต่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ได้แก่ มลพิษทางอากาศ และ พันธุกรรม เป็นต้น สาเหตุของมลพิษทางอากาศที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อากาศเสียจากการทำอาหารหรือควันไฟ การสัมผัสสิ่งระคายเคืองเหล่านี้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบขึ้นในเนื้อปอด ทำให้หลอดลมฝอยตีบลงและการแตกตัวของเนื้อเยื้อปอด เรียกว่า ถุงลมโป่งพอง อังกฤษ:emphysema การวินิจฉัยนั้นใช้พื้นฐานของความสามารถในการไหลผ่านของอากาศด้วยการตรวจวัดโดย การทดสอบการทำงานของปอด โดยมีความแตกต่างจากโรคหอบหืด คือ การลดลงของปริมาณอากาศที่ไหลผ่านด้วยการให้ยานั้นไม่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ COPD สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของสาเหตุของโรคที่ทราบ ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณการสูบบุหรี่และการปรับปรุงคุณภาพของอากาศทั้งภายในและภายนอก การรักษา COPD ได้แก่: การเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีน การฟื้นฟูสภาพ และการพ่นสูดยาขยายหลอดลมบ่อยๆ และการใช้ยาสเตียรอยด์ บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวหรือการปลูกถ่ายปอด ในกลุ่มผู้ที่มีการทรุดลงอย่างเฉียบพลันช่วงหนึ่ง การเพิ่มยาที่ใช้รักษาและการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งจำเป็น ในทั่วโลกมีผู้ที่ป่วยด้วย COPD จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากร ในปี..

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

โรคนิ่วไต

รคนิ่วไต (kidney stone disease, urolithiasis) เป็นก้อนวัสดุแข็งที่เกิดในทางเดินปัสสาวะ นิ่วไตปกติจะเกิดในไตแล้วออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะ โดยก้อนเล็ก ๆ อาจจะผ่านออกโดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าใหญ่เกินกว่า 5 มิลลิเมตร ก็อาจขวางท่อไตมีผลให้เจ็บอย่างรุนแรงที่หลังหรือท้องส่วนล่าง นิ่วยังอาจทำให้เลือดออกในปัสสาวะ ทำให้อาเจียน หรือทำให้เจ็บเมื่อถ่ายปัสสาวะ (dysuria) คนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดนิ่วอีกภายใน 10 ปี นิ่วโดยมากมีเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งระดับแคลเซียมสูงในปัสสาวะ (hypercalciuria) โรคอ้วน อาหารบางชนิด ยาบางชนิด การทานแคลเซียมเป็นอาหารเสริม ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกินในเลือด (hyperparathyroidism) โรคเกาต์ และดื่มน้ำไม่พอ นิ่วจะเกิดในไตเมื่อแร่ในปัสสาวะเข้มข้นมาก การวินิจฉัยปกติจะอาศัยอาการ การตรวจปัสสาวะ และภาพฉายรังสี โดยการตรวจเลือดอาจมีประโยชน์ นิ่วมักจะจัดกลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ คือ nephrolithiasis (ในไต) ureterolithiasis (ในท่อไต) cystolithiasis (ในกระเพาะปัสสาวะ) หรือโดยองค์ประกอบของนิ่ว เช่น แคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate), กรดยูริก, สตรูไวท์ (struvite), ซิสทีน (cystine) เป็นต้น คนไข้ที่มีนิ่วสามารถป้องกันโดยดื่มน้ำให้ผลิตปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน ถ้ายังไม่พอ อาจทานยาไทอะไซด์ (thiazide), ไซเตรต (citrate, กรดไซตริก) หรืออัลโลพิวรีนอล (allopurinol) คนไข้ควรเลี่ยงดื่มน้ำอัดลม (เช่น โคลา) ถ้านิ่วไม่มีอาการ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่เช่นนั้นแล้ว ยาแก้ปวดเป็นการรักษาเบื้องต้น โดยใช้ยาเช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) หรือโอปิออยด์ นิ่วที่ใหญ่เพิ่มขึ้นอาจขับออกได้โดยใช้ยา tamsulosin หรืออาจต้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การใช้คลื่นเสียงนอกกายสลายนิ่ว (extracorporeal shock wave lithotripsy), การส่องกล้องท่อไต (ureteroscopy), หรือการผ่าตัดนิ่วผ่านผิวหนัง (percutaneous nephrolithotomy) คนทั่วโลกประมาณ 1-15% จะมีนิ่วไตในช่วงหนึ่งของชีวิต ในปี 2558 มีคนไข้ 22.1 ล้านราย ทำให้เสียชีวิต 16,100 ราย เป็นโรคที่สามัญยิ่งขึ้นในโลกตะวันตกตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยทั่วไป ชายจะเป็นมากกว่าหญิง นิ่วไตเป็นโรคที่ปรากฏตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมีการกล่าวถึงการผ่าตัดเพื่อเอาออกเริ่มตั้งแต่ 600 ปีก่อน..

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และโรคนิ่วไต · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โอปอล

อปอล (Opal) เป็นอัญมณีในตระกูลควอตซ์ (Quartz) เช่นเดียวกับแอเมทิสต์ซึ่งเป็นอัญมณีประจำราศีกุมภ์ มีค่าความแข็งที่ 6 - 7 โมส์ (Moh) มีความวาวแบบแก้วและยางสน มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีขาว แดง เหลือง เขียว ม่วง ดำ แต่ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ โอปอลไฟ จากสีสันลวดลายอันงดงามที่พาดผ่านบนตัวโอปอลนี้ ทำให้นักประวัติศาสตร์ ไพลนี (Pliny) ชื่นชมไว้ว่า มันคือศูนย์รวมความงามของเหล่าอัญมณี เพราะประกอบด้วยเปลวไฟสีแดงจากทับทิม ประกายสีม่วงเหมือนแอเมทิสต์ และสีเขียวน้ำทะเลจากมรกต คำว่า Opal มาจากภาษาสันสกฤตว่า Upula แปลว่า หินมีค่า โอปอลเป็นที่รู้จักมาเป็นเวลานานหลายพันปีมาแล้ว โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก นักโบราณคดีชื่อ Louis Leaky ขุดพบเครื่องประดับโอปอลที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งมีอายุถึง 6,000 ปี ในถ้ำที่ประเทศเคนยา มงกุฎของกษัตริย์แห่งอาณาจักร Holy Roman ประดับด้วยโอปอลชื่อ Orphanus มงกุฎของกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสก็ประดับด้วยโอปอลเช่นกัน อัญมณีสีรุ้งนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนในสมัยก่อนมากมาย เช่น วิลเลียม เช็คสเปียร์ (William Shakespeare) เซอร์ วอลเตอร์ สก็อต (Sir Walter Scott) ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ใหม่ ๆ แก่โอปอล.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และโอปอล · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะตอม

ไดอะตอม เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว จัดอยู่ในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงสร้างของไดอะตอมประกอบด้วย ซิลิกา ห่อหุ้มไซโทพลาสซึม ซึ่งเป็นที่เก็บออร์แกเนลล์ทั้งหมด ไดอะตอมมีประมาณ 10,000 ชนิด แต่ละชนิดก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น เป็นทรงกลม คล้ายไข่ เรือ หรือจาน เป็นต้น ขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม ไดอะตอมสามารถแบ่งเซลล์ได้ 1,000,000,000 เซลล์ภายใน 1 เดือน ไดอะตอมมีประโยชน์หลายประการต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นอาหารของปลา หอย สัตว์น้ำต่างๆ มนุษย์นำไดอะตอมมาใช้ขัดโลหะ ใช้เป็นฉนวนของเตาไฟ เครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ ไดอะตอม มาจากคำว่า “Dia” ในภาษากรีก หมายถึง ข้าม พาด ขวาง และ “tome” หมายถึง ตัด เพราะว่า ไดอะตอมสามารถตัดหรือแบ่งตัวเองเป็นสองภาคได้ หมวดหมู่:ชีววิทยาทางทะเล หมวดหมู่:โครมาลวีโอลาตา.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และไดอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซะกุระ

กาะซะกุระ เป็นชื่อท้องที่ในจังหวัดคะโงะชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้นมีพลัง และเดิมเป็นเกาะ แต่เมื่อภูเขาไฟกลางเกาะปะทุขึ้นใน..

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และเกาะซะกุระ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจอินเดีย

รษฐกิจของอินเดีย มีขนาดเป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อวัดด้วยค่าจีดีพี และเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อเทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ หลังจากที่ได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งโดยนักสังคมนิยมเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เศรษฐกิจของประเทศหลังจากได้รับเอกราช อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยกิจกรรมตลาดเสรีซึ่งริเริ่มในปี..

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และเศรษฐกิจอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เถ้าลอยลิกไนต์ Fly ash

้าปลิวส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เถ้าปลิว หรือ เถ้าลอย (fly ash) เป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่านหินเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ถ่านหินที่บดละเอียดจะถูกเผาเพื่อให้พลังงานความร้อนแก่หม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เถ้าถ่านหินขนาดใหญ่จะตกลงยังก้นเตา จึงเรียกกันว่า เถ้าก้นเตาหรือเถ้าหนัก (bottom ash) ส่วนเถ้าถ่านหินขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (ไมโครเมตร) จนถึงประมาณ 200 ไมครอน จะถูกพัดออกมาตามอากาศร้อน จึงเรียกว่า เถ้าปลิว เถ้าปลิวจะถูกดักจับโดยที่ดักจับไฟฟ้าสถิต (electrostatic precipitator) เพื่อไม่ให้ลอยออกไปกับอากาศร้อน ซึ่งจะก่อให้เกิดมลภาวะในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เถ้าปลิวคือขี้เถ้าที่หลงเหลือจากกระบวนการเผาไหม้ของถ่านหินหรือลิกไนต์ มีขนาดเล็กและละเอียดมาก โดยจะปลิวปนไปกับก๊าซร้อนออกจากปล่องควันของโรงผลิตไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งถ้ามีปริมาณเถ้าปลิวมากในชั้นบรรยากาศ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะของอากาศได้ จึงได้มีการศึกษาวิจัยโดยการติดตั้งเครื่องดักจับฝุ่นไฟฟ้าสถิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกก๊าซร้อนและเถ้าปลิวออกจากกัน เพื่อนำเอาเถ้าปลิวกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำเอาเถ้าปลิวมาใช้เป็นส่วนผสมของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ ในกระบวนการผลิตคอนกรีต เป็นต้น.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และเถ้าลอยลิกไนต์ Fly ash · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และเปลือกโลก · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ซิลิกอนไดออกไซด์และICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Silicaสารละลายซิลิก้าซิลิกาซิลิคอน ไดออกไซด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »