โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชื่อพ้อง

ดัชนี ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

64 ความสัมพันธ์: กกสามเหลี่ยมใหญ่กกขนากกกคมบางกลมกระทิงวัวกล้วยกล้วยนากกล้ายกิตติพงษ์ จารุธาณินทร์กงลีเมอร์หนูวงศ์ต่างไก่ป่าวงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟันวงศ์แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสวงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอนว่านหางจระเข้สกุลพุนชัสสกุลลาบิโอบาร์บุสสกุลลาเบโอสกุลแพนเทอราสกุลโมกมันสกุลเสือไฟสกุลเฮมอิบากรัสสมเสร็จหญ้าหนวดแมวหญ้าขนตาวัวหมูป่าอินโดจีนอึ่งอ่างอีเห็นน้ำอินโดจีนขยุ้มตีนหมาตะพาบยักษ์แยงซีเกียงตะพาบฮหว่านเกี๊ยมตะพาบไบคอลโลไซต์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ปลาชะโดอินเดียปลากระดี่ช็อกโกแลตปลากระเบนจมูกวัวปลาการ์ตูนแดงปลากุแลปลามะไฟปลายาดปลาสร้อยน้ำเงินปลาหมอ (สกุล)ปลาหมอบัตเตอร์ปลาหมอแรมปลาอายุปลาจาดปลาดุกบอนปลาซาร์ดีนแปซิฟิกปลาซิวใบไผ่ยักษ์ปลานิล (สกุล)...ปลาไข่อองปลาเห็ดโคนนกกระเรียนไทยนกเค้าใหญ่นิวต์จระเข้แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิกเหี้ยเต่าบึงดำNepenthes anamensisNepenthes beccarianaNepenthes fuscaNepenthes rajahNepenthes surigaoensisPhascolarctos ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

กกสามเหลี่ยมใหญ่

กกสามเหลี่ยมใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Actinoscirpus grossus, coarse bullrush, greater club rush) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กก มีอายุยืนหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม เจริญเติบโตเป็นกอ มีลำต้นใต้ดินแตกไหลได้ พุ่มสูงตั้งแต่ 1-2 เมตร ใบของกกสามเหลี่ยมใหญ่ค่อนข้างแข็ง แผ่นใบแคบ มีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อชนิดโคริมบ์ ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก เกิดลักษณะเวียนรอบก้านดอกอย่างหนาแน่น เมื่อยังเป็นดอกอ่อนจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ดอกออกช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม แต่อาจถึงเดือนตุลาคมได้ ขยายพันธุ์โดยใช้ไหลหรือเมล็ด จากเว็บไซด์โครงการอนุรักษ์พันธู์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สืบค้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 กกสามเหลี่ยมใหญ่พบในบริเวณที่มีน้ำขัง อ่างเก็บน้ำ บ่อเลี้ยงปลา และตามคลองส่งน้ำ พบได้ตั้งแต่ประเทศตุรกี อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ภูฏาน จีน (มณฑลกวางตุ้งและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) ญี่ปุ่น กกสามเหลี่ยมใหญ่เป็นพืชท้องถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงออสเตรเลีย (นอร์เทิร์นเทร์ริทอรีและรัฐควีนส์แลนด์) รวมทั้งประเทศไทยซึ่งพบได้ทุกภาค จาก Weed Science Society of America (WSSA), สืบค้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 กกสามเหลี่ยมใหญ่สามารถนำมาทอเสื่อ จักสานเป็นฝาบ้าน ฝ้าเพดานหรือหลังคาบ้าน นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นตะกร้าและกระเป๋าได้.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกกสามเหลี่ยมใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

กกขนาก

กกขนาก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กก เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก มีอายุไม่เกินหนึ่งปี ขึ้นเป็นกอสูง 10-70 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยมมีผิวเกลี้ยง มีสันชัดเจน กาบใบเรียงซ้อนกันที่โคนกอ ใบของกกขนากมีรูปขอบขนานแคบ ปลายแหลมยาว 10-20 เซนติเมตร กว้าง 2-6 เซนติเมตร ไม่แยกเป็นก้านใบและแผ่นใบ ดอกออกเป็นช่อแน่นกลมคล้ายร่มที่ซ้อนกัน ออกดอกตลอดปี ช่อดอกย่อยจำนวนมากรวมกันเป็นกระจุก ก้านชูดอกสูง 30-40 เซนติเมตร บริเวณปลายก้านกาบช่อย่อยเป็นแผ่นเยื่อบางสีน้ำตาล รูปรี มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ผลของกกขนาดมีสีเหลืองแกมเขียว มีลักษณะเป็นผลแห้ง เมื่อแก่แล้วจะไม่แตก มีขนาดเล็กและเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ใช้เมล็ดในการแพร่พันธุ์ จากระบบสืบค้นฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 องค์ความรู้เรื่องข้าว จากเว็บไซต์สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 กกขนากพบได้ในเขตร้อนและเขตเส้นศูนย์สูตรของทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งมักขึ้นในนาข้าวและตามแหล่งน้ำทั่วไป โดยเฉพาะในดินชื้นแฉะในนาหว่านน้ำตม นาดำและนาหว่านข้าวแห้ง ชอบขึ้นในที่ชื้นแต่ไม่งอกใต้น้ำ องค์ความรู้เรื่องข้าว จากเว็บไซต์กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 กกขนากที่งอกออกมาใหม่ จะมีลักษณะเหมือนปลายมีดแหลมโผล่ขึ้นจากผิวดินและมีสีเขียวอ่อน งอกขึ้นแข่งต้นข้าวได้อย่างรุนแรง เพราะต้นจะสูงกว่าและมีอายุสั้น อาจทำให้ต้นข้าวล้มและผลผลิตลดลงได้ จากการทดลองพบว่า กกขนาก 100 ต้นต่อตารางเมตร จะทำให้ผลผลิตข้าวลดลง 49-84 % แต่ถ้ามีถึง 300 ต้นต่อตารางเมตร จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 57-90% นอกจากนี้ความเสียหายจะเพิ่มมากขึ้น หากดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง จากเว็บไซต์กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สืบค้นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกกขนาก · ดูเพิ่มเติม »

กกคมบางกลม

กกคมบางกลม หรือ หญ้าก้ามกุ้ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กก มีอายุขัยหลายปี ลักษณะลำต้นเป็นกอ ตั้งตรง สูง 15-50 เซนติเมตร ปลายลำมีขนคายมือ กาบใบโอบปิดลำรูปทรงกระบอกยาว 3-7 เซนติเมตร มีเหลี่ยมและสันชัดเจน ใบรูปหอกหรือรูปแถบ กว้าง 3-8 มิลลิเมตร ยาว 10-100 เซนติเมตร เนื้อหยาบ ผิวใบและขอบใบมีขนคายมือ ดอกของกกคมบางกลมออกเป็นช่อกระจุก มีช่อดอกย่อย 1-5 ช่อ กระจุกดอกย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาว 5-12 มิลลิเมตร มีสีเขียวเข้ม กาบช่อย่อยแผ่นเนื้อหยาบ รูปรี เรียงสลับบนแกนช่อย่อย ปลายเป็นหนามแหลมยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ส่วนผล มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี มีผิวเกลี้ยงเป็นคลื่น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จากระบบสืบค้นฐานข้อมูลพรรณไม้องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สืบค้นวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 กกคมบางกลมพบได้ในที่โล่งน้ำขังตื้นๆ ริมบึง หรือตามชายฝั่ง รวมถึงพบได้ในทุ่งนา พืชชนิดนี้กระจายพันธุ์ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อนในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนใต้ของประเทศจีนและญี่ปุ่น ไปจนถึงประเทศออสเตรเลี.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกกคมบางกลม · ดูเพิ่มเติม »

กระทิงวัว

กระทิงวัว (Khting vor) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เคยมีใครได้พบเห็นตัวจริง ๆ ขณะยังมีชีวิตอยู่ และแม้แต่ซากจะพบก็เพียงเขาที่ไร้หัวกะโหลกวางขายในตลาดขายของป่าตามชายแดนไทย-กัมพูชา, ไทย-ลาว, ลาว-กัมพูชา และเวียดนามเท่านั้น ซึ่งเขานั้นมีลักษณะบิดเป็นเกลียวยาวประมาณ 20 นิ้ว จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudonovibos โดยอาจจะเป็นชื่อพ้องรองของสกุล Bos หรือสกุลของวัวทั่วไป อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จัดให้เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับกระทิงและวัวป่า พ่อค้าสัตว์ป่าบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา รายงานให้ทราบว่ากระทิงวัวได้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้นานแล้ว แต่มีรายงานว่าเคยมีชาวลาวล่าสัตว์ชนิดนี้ได้ทางภาคใต้ของแขวงอัตตะปือในประเทศลาวเมื่อปี ค.ศ. 1964 อย่างไรก็ตาม สถานะของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ IUCN ได้จัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangerous).

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกระทิงวัว · ดูเพิ่มเติม »

กล้วย

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้ว.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

กล้วยนาก

กล้วยนาก (Red bananas) เป็นสายพันธุ์ของกล้วยที่เปลือกสีแดงคล้ำ ลูกเล็กกว่ากล้วยหอมเขียว เนื้อเมื่อสุกเป็นสีเหลืองครีมหรือสีเหลืองอมชมพู นิ่มและหวานกว่ากล้วยพันธุ์อื่นในกลุ่มคาเวนดิช แหล่งปลูกอยู่ในแอฟริกาตะวันออก เอเชีย อเมริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นที่นิยมในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกล้วยนาก · ดูเพิ่มเติม »

กล้าย

กล้าย หรือ กล้วยกล้าย (plantain) เป็นพืชโตชั่วฤดูในสกุลกล้วย ผลนิยมใช้ในการทำอาหาร ต่างจากกล้วยตรงความนุ่มและความหวาน มีความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์อย่างเป็นทางการระหว่างกล้วยและกล้าย แม้ว่าจะได้รับการจัดอยู่ในพันธุ์ปลูกในชนิดเดียวกัน กล้ายได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa acuminata, Musa balbisiana หรือลูกผสม Musa acuminata × balbisiana ขึ้นกับโครงสร้างทางพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์เดิม Musa paradisiaca ซึ่งไม่มีการใช้งานมานานแล้ว กล้ายส่วนมากเป็นลูกผสมพันธุ์ปลูกกลุ่ม AAB และ ABB สมาชิกในสกุลกล้วยเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ประกอบด้วย กลุ่มเกาะมลายู (ประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์) และประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกล้าย · ดูเพิ่มเติม »

กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์

กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ เป็นนักสำรวจ นักกฎหมาย และนักเลี้ยงปลาสวยงามที่มีชื่อเสียงชาวไทย เกิดที่อำเภอดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2501 จบการศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มเข้าสู่แวดวงปลาและสัตว์น้ำจากการเป็นผู้แนะนำให้บ่อตกปลาต่าง ๆ หาปลาชนิดใหม่ ๆ มาลงเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้ตก อาทิ ปลาตะพัด (Scleropages formosus), ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis) เป็นต้น และเขียนบทความลงนิตยสารตกปลาและเดินป่าฉบับต่างๆ จากนั้นได้ลงพื้นที่สำรวจปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทยอย่างจริง ๆ จัง ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยเริ่มจากใต้สะพานพระราม 6 นอกจากนี้แล้ว ยังลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศกับทางคณะ เป็นประจำ ราวปีละ 3-4 ครั้ง เช่น ลุ่มแม่น้ำสาละวิน และป่าพรุทางภาคใต้ เป็นต้น กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ ทำงานร่วมกับนักมีนวิทยาหลายคน และได้ค้นพบปลาชนิดใหม่ ๆ ของโลกหลายชนิดที่ได้ถูกตั้งชื่อชนิดเป็นนามสกุลของตัวเอง เช่น ปลากระเบนกิตติพงษ์ (Himantura kittipongi), ปลาค้อถ้ำจารุธาณินทร์ (Schistura jaruthanini) เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้ที่ส่งตัวอย่างต้นแบบแรก (Holotype) ของปลากระเบนราหูเจ้าพระยา (H. chaophraya) ปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกให้แก่ ดร.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

กง

กง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hanguana malayana) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์กง เป็นพืชจำพวกไม้ล้มลุก เมื่อโตเต็มที่อาจสูงถึง 2 เมตร มีไหลลอยน้ำได้ ใบเป็นรูปใบหอกเรียว ยาว 20-120 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบเรียงขนานกัน มีเส้นแขนงใบย่อยตัดขวางจำนวนมาก กาบใบยาวหุ้มลำต้น ก้านใบช่วงล่างยาวกว่าช่วงปลายต้น ช่อดอกแบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร จากสารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ดอกของกงจะออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกเล็ก ๆ บนช่อแยกแขนง มีกลีบรวม 6 กลีบ วงนอก 3 กลีบ ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร วงใน 3 วงยาวกว่าวงนอกเล็กน้อย มีสีเหลืองอมเขียวหรือสีขาว มีจุดสีแดงด้านใน เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนกลีบรวม ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันขนาดเล็กในดอกเพศเมีย เกสรเพศเมียติดทน ส่วนผล เมื่อสุกจะมีสีแดง รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ต้นกงมีการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่ประเทศศรีลังกา เวียดนาม และแถบคาบสมุทรมลายู ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ ขึ้นในน้ำตามลำห้วย ป่าพรุ ที่ชื้นแฉะ หรือขึ้นตามพื้นดินที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ขึ้นตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 เมตร.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและกง · ดูเพิ่มเติม »

ลีเมอร์หนู

ลีเมอร์หนู (Mouse lemur) เป็นไพรเมตขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในกลุ่มลีเมอร์ จัดอยู่ในสกุล Microcebus จัดเป็นลีเมอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด และถือเป็นไพรเมตที่มีขนาดเล็กที่สุดจำพวกหนึ่ง ลีเมอร์หนู มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากลีเมอร์ทั่วไป โดยจะเหมือนลิงลมหรือกาเลโกมากกว่า จากการศึกษาทางพันธุกรรม โดยศึกษาจากดีเอ็นเอพบว่า ลีเมอร์หนูเป็นลีเมอร์ที่มีความเก่าแก่ที่สุด โดยเชื่อว่าเป็นลีเมอร์ชนิดแรกที่เดินทางผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกามายังเกาะมาดากัสการ์เมื่อแรกกำเนิดเกาะเมื่อกว่า 80-60 ล้านปีก่อน โดยอาศัยเกาะมากับวัสดุหรือท่อนไม้ลอยน้ำมา ในรูปแบบของการจำศีล เพราะระยะทางห่างไกล เชื่อว่ามีลีเมอร์มาถึงเกาะมาดากัสการ์ครั้งแรกเพียง 12 ตัว และมีปริมาณตัวเมียเพียง 2 ตัวเท่านั้น ก่อนที่จะวิวัฒนาการให้มีความหลากหลายในเวลาต่อมา ซึ่งลีเมอร์หนูแทบจะไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างไปเลยจากเมื่อ 80 ล้านปีก่อน โดยมีขนาดลำตัวรวมทั้งส่วนหางยาวน้อยกว่า 27 เซนติเมตร (11 นิ้ว) ซึ่งสามารถเอามาวางไว้บนฝ่ามือมนุษย์ได้ มีใบหูและดวงตากลมโตขนาดใหญ่เหมือนกาเลโก เป็นลีเมอร์เพียงไม่กี่ชนิดที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลง, แมง รวมถึงส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอกไม้, ผลไม้ และรวมถึงน้ำต้อย และยางไม้ของต้นไม้ใหญ่ด้วย นับได้ว่าลีเมอร์หนูเป็นสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการผสมเกสรของพืช นอกจากนี้แล้ว ลีเมอร์หนูยังถือได้ว่าเป็นไพรเมตเพียงจำพวกเดียวที่มีการจำศีล โดยจะจำศีลตรงกับช่วงฤดูร้อนของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตก ซึ่งตรงกับช่วงกลางปีของทุกปี ก่อนจะถึงฤดูการจำศีล คือ ตอนปลายของฤดูฝน ลีเมอร์หนูจะเร่งกินอาหารเพื่อสะสมพลังงานไว้ในร่างกาย ตามขาและหาง ก่อนที่จะจำศีลในโพรงไม้นานถึง 3-4 เดือน ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ เคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อสงวนพลังงาน ระดับแมตาบอลิสซึมลดต่ำ อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำ ซึ่งเรียกว่า ทอร์พอร์ ก่อนที่จะตื่นขึ้นมาอีกครั้งในช่วงปลายปี ซึ่งตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายน และจะเร่งเพิ่มน้ำหนักเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสีย ก่อนที่ในเดือนธันวาคม ลีเมอร์หนูจะผสมพันธุ์และออกลูก ด้วยการส่งเสียงร้องในรูปแบบคลื่นเสียงความถี่สูงที่หูมนุษย์ไม่ได้ยิน แบบเดียวกับค้างคาว ในการเรียกหาคู่ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีเสียงที่แตกต่างกันออกไป ลีเมอร์หนูตัวเมียจะให้กำเนิดลูกในช่วงนี้ ลูกลีเมอร์หนูจะพึ่งพาแม่เป็นระยะเวลานาน 8 สัปดาห์ ก่อนที่จะเติบโตพอที่จะแยกตัวออกไป เดิมลีเมอร์ถูกจัดให้มีเพียงแค่ชนิดเดียวหรือ 2 ชนิด เพราะมีรูปลักษณ์แทบไม่ต่างกันในแต่ละชนิด เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ที่ทัศนวิสัยไม่อาจมองอะไรได้ชัด จึงไม่มีความจำเป็นในเรื่องความแตกต่างของรูปร่างภายนอก แต่ปัจจุบันจากการศึกษาในระดับดีเอ็นเอพบว่ามีมากถึง 19 ชนิด หรืออาจมากกว่า Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและลีเมอร์หนู · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ต่างไก่ป่า

วงศ์ต่างไก่ป่าหรือ Polygalaceae (ชื่อพ้อง Diclidantheraceae, Moutabeaceae, Xanthophyllaceae) เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Fabales มีสมาชิก 17 สกุลและ 900–1,000 สปีชีส์ สมาชิกมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในสกุล Polygala ในระบบ Cronquist วงศ์นี้อยู่ในอันดับต่างหากคืออันดับ Polygalaceae ส่วนในระบบ APG จัดให้อยู่ในอันดับ Fabales.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและวงศ์ต่างไก่ป่า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟัน

วงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟัน (Toothless characins; ชื่อวิทยาศาสตร์: Curimatidae) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodontidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกันมาก และเคยถูกจัดรวมเป็นวงศ์เดียวกันด้วย เว้นแต่ปลาในวงศ์นี้ไม่มีฟันกราม ถึงแม้ว่าจะมีแผงฟันขนาดเล็กในคอหอยก็ตาม โดยมีพฤติกรรมส่วนใหญ่คล้ายกับปลาในวงศ์ปลาอินซีเน็ต คือ ใช้ปากคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นท้องน้ำเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กหรือแมลงน้ำ มีขนาดใหญ่เต็มที่ได้ 45 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำหลัก ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ตอนใต้ของคอสตาริกาจนถึงตอนเหนือของอาร์เจนตินาและเปรูจรดชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีทั้งหมด 95 สกุล ซึ่งชื่อในภาษาถิ่นของปลาวงศ์นี้เป็นภาษาสเปนและโปรตุเกสว่า "Curimbatá" หรือ "Curimba" เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นเป็นปกต.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและวงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส

วงศ์แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส หรือ วงศ์แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส เป็นวงศ์ของสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง ในชั้นไฮโดรซัว ในวงศ์ Physaliidae และสกุล Physalia มีสันฐานคล้ายกับหมวกทหารเรือหรือเรือรบของโปรตุเกสในยุคล่าอาณานิคมที่เรียกว่า "Man-of-war" มีสีฟ้าหรือสีม่วง มีหนวดยาว โดยจะลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำทะเล ส่วนที่ลอยโผล่พ้นน้ำของจะไม่กลมเหมือนแมงกะพรุนจำพวกอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะเรียวรีและยาว ที่ขอบด้านบนสุดมีลักษณะเป็นสันย่น โดยส่วนหนวดที่เป็นเข็มพิษยาวที่สุดยาวได้ถึง 30 เมตร พบรายงานแล้วทั่วโลก 4 ชนิด แต่ทว่าบางข้อมูลได้จัดให้เป็นชื่อพ้องของกันและกัน แต่ทว่าในปัจจุบันได้จำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและวงศ์แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอน

วงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอน (Amazon river dolphin) เป็นวงศ์ของโลมาแม่น้ำวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Iniidae (/อิน-นิ-ดี้/) ในปัจจุบันนี้มีเพียงสกุลเดียว คือ Inia (/อิน-เนีย/) ซึ่งพบได้เฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ หลายสายในทวีปอเมริกาใต้เท่านั้น แต่ได้มีประชากรในวงศ์นี้อีกจำนวนหนึ่ง แต่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ซึ่งพบได้ในหลายพื้นที่ เช่น ฟลอริดา, ลิเบีย และอิตาลี (ดูในเนื้อหา) โดยวงศ์นี้ถูกตั้งขึ้นชื่อ จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1846 ในปี..

ใหม่!!: ชื่อพ้องและวงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและว่านหางจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลพุนชัส

ปลาตะเพียนหน้าแดง (''Sahyadria denisonii'') ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลนี้ แต่ปัจจุบันแยกอยู่ในสกุล ''Sahyadria''Raghavan, R., Philip, S., Ali, A. & Dahanukar, N. (2013): http://www.threatenedtaxa.org/ZooPrintJournal/2013/November/o367326xi134932-4938.pdf ''Sahyadria'', a new genus of barbs (Teleostei: Cyprinidae) from Western Ghats of India. ''Journal of Threatened Taxa, 5 (15): 4932-4938.'' สกุลพุนชัส (Barb) เป็นสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Puntius.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสกุลพุนชัส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลลาบิโอบาร์บุส

ลาบิโอบาร์บุส เป็นสกุลของปลาสร้อยจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โยฮัน กุนราด ฟัน ฮัสเซิลต์ ได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสกุลลาบิโอบาร์บุส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลลาเบโอ

กุลลาเบโอ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ลำตัวยาว แบนข้างมากในบางชนิด บางชนิดแบนข้างน้อย จะงอยปากยื่นยาว บางชนิดจะงอยปากทู่ บางชนิดจะงอยปากแหลม ส่วนใหญ่ปลายจะงอยปากจะปกคลุมด้วยรูเล็ก ๆ และตุ่มเม็ดสิวเล็ก ๆ ใต้จะงอยปากมีติ่งเนื้อยื่นออกมาทั้งสองข้างอยู่หเนือขากรรไกรบน ริมฝีปากบนและล่างหนา หนวดที่ปลายจะงอยปากมักยาวกว่าหนวดที่มุมปากบน แต่ไม่ยาวมากนัก ความยาวของหนวดเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลางตาแล้วมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องยาวกว่าส่วนหัว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบเรียบและไม่เป็นหนามแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 10-12 ก้าน มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่มีขนาดไม่ถึงหนึ่งฟุตจนถึงเกือบ ๆ หนึ่งเมตร มักหากินโดยแทะเล็มตะไคร่น้ำ, สาหร่าย หรืออินทรียสารต่าง ๆ บริเวณโขดหินหรือใต้ท้องน้ำ พบทั้งทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พบแล้วมากกว่า 100 ชนิด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและรับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยที่ปลาสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับสกุล Epalzeorhynchos มาก โดยที่หลายชนิด เช่น L. chrysophekadion ก็ใช้ชื่อสกุล Epalzeorhynchos เป็นชื่อพ้องด้ว.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสกุลลาเบโอ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลแพนเทอรา

กุลแพนเทอรา (Roaring cat) เป็นสกุลของวงศ์ Felidae (วงศ์แมว) ที่ประกอบไปด้วย เสือโคร่ง, สิงโต, เสือจากัวร์, และ เสือดาว สปีชีส์ของสกุลเป็นสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งของวงศ์ย่อย Pantherinae ใช้ชื่อสกุลว่า Panthera เสือในสกุลแพทเทอรา ทั้ง 4 ชนิดมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่ช่วยให้พวกมันสามารถคำรามได้ เริ่มแรกมีสมมุติฐานว่าเกิดจากการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่การศึกษาครั้งใหม่แสดงว่าความสามารถในการคำรามมาจากลักษณะสัณฐานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องเสียง เสือดาวหิมะ (Uncia uncia) บางครั้งถูกรวมอยู่ในสกุล Panthera แต่มันไม่สามารถคำรามได้ เพราะแม้ว่ามันมีขบวนการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่ขาดลักษณะพิเศษของกล่องเสียงไป.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสกุลแพนเทอรา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลโมกมัน

กุลโมกมัน หรือ Wrightia เป็นสกุลที่มีสมาชิก 23 สปีชีส์ อยู่ในวงศ์ Apocynaceae เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม ชื่อสกุลนี้ตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ วิลเลียม ไรท์ (William Wright) ในบางครั้ง จะเกิดความสับสนกันระหว่างพุดพิชญา (Wrightia antidysenterica) กับโมกหลวง (Holarrhena pubescens) ซึ่งมีชื่อพ้อง Holarrhena antidysenterica โดยพืชทั้งสองชนิดอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่คนละสกุล.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสกุลโมกมัน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเสือไฟ

กุลเสือไฟ (Golden cat) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อจำพวกเสือขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Catopuma ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ลักษณะโดยทั่วไปของเสือในสกุลนี้ คือ จะมีขนสีเดียวตลอดทั้งตัว คือ สีแดงหรือสีส้ม ในขณะที่ส่วนหัวจะมีลวดลายสีเข้มเป็นเอกลักษณ์ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จนถึงเกาะบอร์เนียว ปัจจุบันมีการแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด โดยทั้ง 2 ชนิดนี้ถูกแยกออกจากกันชัดเจนจากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรม โดยทั้ง 2 ชนิดนี้ถูกแยกออกจากกันเมื่อ 4.9-5.3 ล้านปีมาแล้ว โดยชนิดที่พบบนเกาะบอร์เนียววิวัฒนาการตัวเองแยกออกมาก่อน โดยมีญาติใกล้ชิดที่สุด คือ แมวลายหินอ่อน ซึ่งอยู่ในสกุล Pardofelis ซึ่งแยกออกมาต่างหากเมื่อ 9.4 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสกุลเสือไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเฮมอิบากรัส

กุลเฮมอิบากรัส เป็นสกุลของปลาหนังในวงศ์ปลากด (Bagridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hemibagrus (/เฮม-อิ-บา-กรัส/) นับว่าเป็นปลากดสกุลหนึ่งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เดิมทีสกุลนี้ผู้ตั้งชื่อ ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ชาวดัตช์ ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1862 โดยกำหนดให้ชนิด Bagrus nemurus เป็นต้นแบบของสกุล แต่ว่านักมีนวิทยารุ่นหลังหลายท่าน เช่น ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ เมื่อปี ค.ศ. 1989 ได้กล่าวว่าเป็นชื่อพ้องของสกุล Mystus ดังนั้นในข้อมูลเก่า ปลาหลายชนิดในสกุลนี้จะใช้ชื่อสกุลว่า Mystus แต่ในปัจจุบัน มัวรีซ คอทเทเลต เมื่อปี ค.ศ. 2001, เค. ปีเตอร์ อู๋ และ ฮ็อก ฮี อู๋ เมื่อปี ค.ศ. 1995 ได้ยืนยันว่า สกุลเฮมอิบากรัสนี้มีความแตกต่างจากสกุลมีสทัสพอสมควร คือ ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขอบเรียบ ไม่เป็นฟันเลื่อย และปลาในสกุลเฮมอิบากรัสนี้จะมีความยาวเต็มที่เกินกว่า 50 เซนติเมตรทั้งนั้น จึงได้เปลี่ยนมาใช้จนถึงปัจจุบัน ส่วนสกุล Bagrus หลุยส์ ออกุสติน กิลโยม บลอค นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อสกุลมิได้กำหนดให้ชนิดไหนเป็นต้นแบบของสกุล ต่อมา ไบลีย์ และ สจวร์ต ในปี ค.ศ. 1893 ได้กำหนดให้ Silurus bajad เป็นต้นแบบสกุล ปลาในสกุลเฮมอิบากรัส ถือว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากดคัง (H. wyckioides) ที่มีน้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 80 กิโลกรัม จึงนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ จากลุ่มแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร, ตอนใต้ของจีน, อินโดจีน ไปจนถึงเขตชีวภาพซุน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสกุลเฮมอิบากรัส · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จ

กีบเท้าของสมเสร็จมลายู (ขวา) เท้าหน้ามี 4 กีบ, (ซ้าย) เท้าหลังมี 3 กีบ) ปฏิกิริยาอ้าปากสูดกลิ่น สมเสร็จ (Tapir) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชขนาดใหญ่ เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง ลำตัวคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด อาศัยในป่าทึบในแถบอเมริกาใต้, อเมริกากลาง, และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ สมเสร็จอเมริกาใต้, สมเสร็จมลายู, สมเสร็จอเมริกากลาง และสมเสร็จภูเขา ทั้งสี่ชนิดถูกจัดสถานะเป็นใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สมเสร็จเป็นญาติใกล้ชิดกับสัตว์กีบคี่อื่น ได้แก่ ม้า และแร.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและสมเสร็จ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าหนวดแมว

หญ้าหนวดแมว (ชื่อพ้อง: O. grandiflorus Bold, O. stamineus Benth.) หรือ พยับเมฆ (กรุงเทพฯ), อีตู่ดง (เพชรบูรณ์), บางรัก (ประจวบคีรีขันธ์) อยู่ในวงศ์ Lamiaceae (Labiatae) ซึ่งเป็นพืชที่จัดอยู่ในพวกเดียวกับกะเพราและโหร.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและหญ้าหนวดแมว · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าขนตาวัว

หญ้าขนตาวัวชุมศรี ชัยอนันต.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและหญ้าขนตาวัว · ดูเพิ่มเติม »

หมูป่าอินโดจีน

หมูป่าอินโดจีน (Heude's pig, Indochinese warty pig, Vietnam warty pig) เป็นหมูป่าชนิดหนึ่ง จัดเป็นหมูป่าชนิดที่หาได้ยากมาก หมูป่าชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในโลกเมื่อมีเก็บซากกะโหลกเมื่อปี ค.ศ. 1890 ที่บริเวณแม่น้ำด่งนาย ของเวียดนาม และในปี ค.ศ. 1995 ได้มีการล่าหมูป่าอินโดจีนได้ที่บริเวณพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนาไก-น้ำเทิน ซึ่งอยู่ในภาคกลางของลาว ปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างหมูป่าอินโดจีนกับหมูป่าธรรมดา (S. scrofa) ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอ นอกจากการอธิบายจากรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้นที่หมูป่าอินโดจีนมีขนตามลำตัวยาวกว่ายิ่งโดยเฉพาะขนบริเวณปากและหน้า การกระจายพันธุ์เชื่อว่ามีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ตามป่าลึกของเทือกเขาอันนัมซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างลาวกับเวียดนาม และจากการศึกษาล่าสุดเป็นไปได้ว่า หมูป่าอินโดจีนอาจจะเป็นชื่อพ้องของหมูป่าที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกของลุ่มแม่น้ำโขง หรือภูมิภาคอินโดจีน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและหมูป่าอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งอ่าง

อึ่งอ่าง หรือ อึ่งยาง (accessdate) เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบในสกุล Kaloula ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) วงศ์ย่อย Microhylinae พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ลักษณะโดยทั่วไป มีผิวหนังมันลื่น มีสีนํ้าตาลลายขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน มักร้องเสียงดังเมื่อนํ้านองโดยเฉพาะหลังฝนตกที่มีอากาศเย็นชื้น เสียงร้องดังระงม.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและอึ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นน้ำอินโดจีน

อีเห็นน้ำอินโดจีน หรือ อีเห็นน้ำตังเกี๋ย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cynogale lowei เป็นสัตว์ที่มีข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากพบเห็นได้ยากและมีรายงานการพบเห็นตัวเพียงไม่กี่ครั้ง ข้อมูลเท่าที่มีบ่งให้รู้ว่ารูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับอีเห็นน้ำมลายู (C. bennettii) แต่ต่างกันตรงสีขน กล่าวคือ อีเห็นน้ำอินโดจีนมีขนสั้นหนา และมีสีขนที่อ่อนกว่าอีเห็นน้ำมลายู โดยจมูกใต้คอและหน้าอกมีสีขาว ส่วนข้อมูลอื่น ๆ เช่น ขนาดและน้ำหนักนั้นไม่มี มีผู้เก็บซากอีเห็นน้ำอินโดจีนได้ทางภาคเหนือของเวียดนาม และเคยมีรายงานพบเห็นที่ภาคใต้ของจีน และคาดว่าอาจมีอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย ของไทยด้วย มีรายงานการพบเห็นใกล้กับแหล่งน้ำ เช่น ทะเลสาบหรือแม่น้ำ ปัจจุบันสันนิษฐานว่า อีเห็นน้ำอินโดจีนได้สูญพันธุ์จากโลกไปนานแล้ว เพราะปัญหาการพัฒนาและขยายพื้นที่เกษตรกรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้อีเห็นน้ำอินโดจีนสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ปัจจุบัน เชื่อว่าอาจจะเป็นชนิดเดียวกันหรือชนิดย่อยของอีเห็นน้ำมลายูก็ได้.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและอีเห็นน้ำอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

ขยุ้มตีนหมา

้มตีนหมา (morningglory) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอายุนาน 1 ปี ขยุ้มตีนหมาจัดอยู่ในสกุล Ipomoea ซึ่งอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นอยู่ตามบริเวณรกร้างว่างเปล่า นาข้าว ริมถนน และตามดินทรายใกล้ทะเล พบได้ตั้งแต่ระดับความสูง 0–1,000 เมตร ขยุ้มตีนหมาเป็นพืชที่พบกระจายอยู่เกือบทั่วโลก โดยพบในแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและขยุ้มตีนหมา · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง หรือ ตะพาบเซี่ยงไฮ้ (จีน: 斑鳖, พินอิน: Bān Bīe; ตรึงเวียด: Rùa mai mềm Thượng Hải) ตะพาบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์มาก ๆ แล้วชนิดหนึ่งของโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rafetus swinhoei (มีชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่งเป็นชื่อพ้อง โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนามตั้งให้ว่า Rafetus leloii เพื่อเป็นเกียรติแด่จักรพรรดิเลเลย) พบในแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน และมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ยังพบได้ที่แม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนามด้วย เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่มาก และเป็นหนึ่งในเต่าน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนหัว ที่มีจมูกและปากคล้ายหมู ขนาดโตเต็มที่สามารถมีน้ำหนักมากถึง 136 กิโลกรัม ถึง 200 กิโลกรัม ยาวถึง 0.9144 เมตร และมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 100 ปี สถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์มาก ๆ แล้ว ในสถานที่เลี้ยงปัจจุบันมีเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว ปัจจุบันตะพาบน้ำแยงซีเกียงในทะเลสาบคืนดาบยังมีชีวิตอยู่ แต่น้ำในทะเลสาบกลับมีสภาพที่ย่ำแย่ ทั้งยังมีการปล่อยสิ่งปฏิกูลรวมไปถึงเต่าชนิดอื่นเข้าไปทำลายระบบนิเวศของทะเลสาบ ทำให้ตะพาบเกิดบาดแผลที่หัวและขาของมัน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและตะพาบยักษ์แยงซีเกียง · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม

ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม (Hoàn Kiếm turtle; Rùa Hồ Gươm, Cụ Rùa) ตะพาบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมหรือทะเลสาบคืนดาบ ใจกลางกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นชนิดที่แยกออกต่างหากหรือเป็นชื่อพ้องของตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (R. swinhoei) ที่จัดอยู่ในสกุลเดียวกันFarkas, B and Webb, R.G. 2003.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและตะพาบฮหว่านเกี๊ยม · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบไบคอลโลไซต์

ตะพาบไบคอลโลไซต์ (Bicallosite softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบในสกุล Rafetus (/รา-เฟ-ตุส/) เป็นตะพาบที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย เป็นตะพาบขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม มีความยาวกว่า 0.9144 เมตร และมีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ปัจจุบัน ได้ถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้น คือ ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม (Rafetus leloii, ชื่อพ้อง R. vietnamensis) มีตัวอย่างที่มีชีวิตที่รับรู้กันในปัจจุบันเพียงตัวเดียวเท่านั้น คือ ที่ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ในประเทศเวียดนาม โดยถือเป็นชื่อพ้องรองของ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและตะพาบไบคอลโลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Giant salamander) เป็นสกุลของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่จำพวกซาลาแมนเดอร์ ใช้ชื่อสกุลว่า Andrias ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae) มีลักษณะเฉพาะ คือ มีช่องเหงือก 1 คู่ ที่ปิด จัดเป็นซาลาแมนเดอร์และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึงเกือบ 2 เมตร พบเฉพาะลำธารหรือแหล่งน้ำที่ใสสะอาด มีออกซิเจนละลายในปริมาณที่สูง และมีอุณหภูมิหนาวเย็น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2 ประเทศเท่านั้น คือ จีน และญี่ปุ่น แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและซาลาแมนเดอร์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโดอินเดีย

ปลาชะโดอินเดีย (Malabar snakehead) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาชะโดอินเดีย มีลักษณะคล้ายกับปลาชะโด (C. micropeltes) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยถูกค้นพบครั้งแรกและอนุกรมวิธานโดย ฟรานซิส เดย์ นักมีนวิทยาชาวอังกฤษ เมื่อปี..

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาชะโดอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดี่ช็อกโกแลต

ปลากระดี่ช็อกโกแลต (Chocolate gourami) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphaerichthys osphromenoides ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างบางเฉียบ ส่วนหัวแหลมโดยเฉพาะบริเวณปลายปาก ตากลมโต สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มคล้ายสีของช็อกโกแลตจึงเป็นที่มาของชื่อ มีจุดวงกลมสีดำที่ใกล้โคนครีบหาง ในขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น คำว่า Sphaerichthys หมายถึงวงกลม และ osphromenoides หมายถึงเหมือน osphromenus อันที่เคยเป็นชื่อพ้อง มีจุดเด่นคือ มีลายพาดวงกลมสีขาว 3-4 วง พาดผ่านตลอดทั้งลำตัวทั้งสองข้าง ปลาตัวผู้จะมีสีแดงเข้มกว่าปลาตัวเมีย และมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายูของมาเลเซีย จนถึงเกาะบอร์เนียวและสุมาตรา ในอินโดนีเซีย เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ทว่าเลี้ยงได้ยากมาก ต้องอาศัยการดูแลอย่างดี เนื่องจากเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำค่อนข้างเย็น กล่าวคือ อุณหภูมิประมาณ 22-26 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำเป็นสภาพเป็นกรดเล็กน้อย คือประมาณ 6-6.5 pH มีพฤติกรรมเช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ คือ รักสงบ ชอบลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ บริเวณผิวน้ำ หรือแอบอยู่ตามพืชน้ำ การแพร่พันธุ์ตัวผู้จะเป็นฝ่ายสร้างหวอดในการวางไข่ และเป็นฝ่ายดูแลไข่จนกว่าจะเป็นตัว โดยไข่จะมีปริมาณ 18 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 10-14 วัน แต่เมื่อเป็นตัวแล้วปลาตัวผู้จะไม่ดูแลไข่ ซึ่งถ้าเป็นในที่เลี้ยงอาจจะกินลูกตัวเองได้ เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมากในยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นปลาที่มีราคาถูก แต่สำหรับในประเทศทางเอเชียถือเป็นปลาราคาแพง และหาได้ค่อนข้างยาก.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลากระดี่ช็อกโกแลต · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนจมูกวัว

ปลากระเบนจมูกวัว (Cownose rays) เป็นปลากระเบนในวงศ์ Rhinopteridae และสกุล Rhinoptera เป็นปลากระเบนที่มีครีบอยู่ข้างลำตัวแยกออกจากส่วนหัวชัดเจนเหมือนปลากระเบนนกหรือปลากระเบนปีศาจ โดยในบางข้อมูลจัดให้เป็นเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Myliobatidae หรือวงศ์ปลากระเบนนก โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Rhinopterinae ซึ่งปัจจุบันเป็นชื่อพ้องรอง.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลากระเบนจมูกวัว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนแดง

ปลาการ์ตูนแดง หรือ ปลาการ์ตูนแก้มหนาม (Maroon clownfish, Spine-cheeked clownfish) เป็นปลาน้ำเค็มขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas biaculeatus จัดอยู่ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) วงศ์ย่อยปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) จัดเป็นปลาการ์ตูนเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Premnas ซึ่งแตกต่างไปจากปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในสกุล Amphiprion สิ่งที่ทำให้ปลาการ์ตูนแดงมีความแตกต่างจากปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ คือ บริเวณแก้มหรือแผ่นปิดเหงือกมีหนามยื่นออกมาจากตรงกลาง อยู่เหนือริมฝีปากเล็กน้อยขึ้นไปจนถึงบริเวณใต้ดวงตา ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะลำตัวแบนกว้าง มีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่กว่าปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะปลาเพศเมียที่โดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้อยู่แล้ว และมีสีที่คล้ำกว่า ครีบอกมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีแดงก่ำ บริเวณแผ่นปิดเหงือก กึ่งกลางลำตัว และโคนหาง มีแถบสีขาวพาด สีของปลาการ์ตูนแดงค่อนข้างหลากหลาย ในปลาขนาดเล็กจะมีตั้งแต่สีแดงสดจนถึงแดงก่ำ และจะค่อย ๆ เข้มขึ้นจนปลาเจริญเติบโตเต็มที่ ขณะที่บางตัวในขนาดเล็กจะมีแต้มสีดำบริเวณตามครีบต่าง ๆ และจะจางหายไปเมื่อปลาโตขึ้น จัดเป็นปลาการ์ตูนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวเต็มที่ประมาณ 17 เซนติเมตร มีอุปนิสัยก้าวร้าวห่วงถิ่นค่อนข้างมาก พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิกจนถึงเกาะไต้หวัน เช่น เกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย และเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ ในออสเตรเลีย เป็นต้น โดยจะอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งปลาการ์ตูนแดงในเริ่มแรกที่มีการค้นพบและทำการอนุกรมวิธาน ถูกเข้าใจว่าเป็นปลาในวงศ์เดียวกับปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) โดยถูกจับได้ในปี ค.ศ. 1790 ที่อินดีสตะวันออก ซึ่งก็คือ ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน หลังจากนั้นเมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติมขึ้น ก็ถูกเปลี่ยนไปใช้สกุลใหม่และชื่อชนิดใหม่ไปมา จนกระทั่งมาใช้ชื่อสกุลอย่างในปัจจุบัน เมื่อปี ค.ศ. 1817 และชื่อเก่าก็กลายเป็นชื่อพ้องหรือยกเลิกใช้ไป นอกจากนี้แล้ว ปลาการ์ตูนแดงที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะสุมาตรา จะมีอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่มีลายสีเหลืองเจือด้วยสีฟ้าอ่อนแทนด้วยแถบสีขาว และแถบสีเหลืองนี้จะไม่จางหายไปเมื่อปลาที่พบในแหล่งอื่น ตรงกันข้าม เมื่อปลามีอายุมากขึ้นแถบดังกล่าวจะมีสีเข้มขึ้นด้วย ซึ่งปลาในลักษณะนี้ถูกเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาการ์ตูนทอง" ซึ่งในปี ค.ศ. 1904 ปลาการ์ตูนทองเคยถูกแยกออกเป็นชนิดใหม่ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas epigrammata ด้วย นอกจากนี้แล้วในธรรมชาติ ยังพบปลาการ์ตูนบางตัวที่คาดว่าเป็นลูกผสมระหว่างปลาการ์ตูนแดงกับปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Amphiprion frenatus) ด้วยในบริเวณทะเลฟิลิปปิน โดยมีสีสันเหมือนปลาการ์ตูนแดงทุกประการ แต่มีครีบต่าง ๆ สั้นกว่ารวมถึงหนามบริเวณแก้มด้วย อนึ่ง ปลาการ์ตูนแดงในตู้เลี้ยงจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากธรรมชาติ คือ ยอมรับดอกไม้ทะเลได้มากชนิดขึ้น เช่น Macrodactyla doreensis, Heteractis malu, H. magnifica, Crytodendrum adhaesivum แต่กระนั้นก็ขึ้นอยู่กับนิสัยปลาแต่ละตัวด้ว.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาการ์ตูนแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากุแล

ปลากุแล หรือ ปลาหลังเขียว เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กสกุล Sardinella (/ซาร์ดิแน็ลลา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาซาร์ดีนหรือปลาเฮร์ริงอีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะสัณฐานทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Herklotsichthys คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง แต่ทว่ามีรูปร่างที่ยาวกว่า นอกจากนี้แล้ว ปลากุแลยังเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการมาจากปลาในสกุล Harengula ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน โดยมีลักษณะแทบจะแยกกันไม่ออก โดยมีความต่างกันที่เกล็ดเท่านั้น จัดเป็นปลาผิวน้ำ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลูกปลาขนาดเล็กอาจอยู่รวมใกล้ชายฝั่งทะเล, ปากแม่น้ำ หรือลากูนได้ พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลเมดิเตอเรเนียน และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และในธรรมชาติยังเป็นปลาที่เป็นอาหารสำคัญของวาฬบาลีน เช่น วาฬบรูดาอีกด้วย เหมือนปลาในสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียง.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลากุแล · ดูเพิ่มเติม »

ปลามะไฟ

ปลามะไฟ (Stoliczkae's barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวทรงสี่เหลี่ยมป้อมเล็กน้อย หัวสั้น ตาและปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงิน เหนือครีบอกและโคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเหลือบบนลำตัว ครีบใสมีสีแดงแต้ม และมีแถบสีคล้ำเล็กน้อย เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมตัวเป็นฝูงในแหล่งน้ำลำธารที่ไหลเชี่ยวบนภูเขาในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำโขง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีนิสัยดุร้าย และมีอาณาเขตของตนเอง เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาตะเพียนจุด", นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเสือภูเขา" หรือ "ปลามุมหมาย" นอกจากนี้แล้วปลามะไฟยังมีความคล้ายคลึงกันมากกับปลาอีกชื่อหนึ่งในสกุลเดียวกัน คือ P. ticto (Tic-tac-toe barb, Two-spot barb) ซึ่งอาจจะเป็นชื่อพ้องกันก็ได้ และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์หรือ LC.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลามะไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ปลายาด

ปลายาด หรือ ปลาเวียน (Mahseers, Brook carps) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tor (/ทอร์/) มีลำตัวยาวและแบนข้างไม่มากนัก หัวค่อนข้างเล็ก มีหนวดที่ยาว 2 คู่ คู่แรกอยู่ที่ริมปากบน และคู่ที่สองอยู่ที่มุมปาก ปากโค้งเป็นรูปเกือกม้า ริมปากบนและล่างหนาเชื่อมติดต่อกัน ริมปากล่างมีร่องคั่นระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกรล่าง บางชนิดอาจมีกล้ามเนื้อแบ่งเป็นพู ๆ บนริมปากล่าง และบางชนิดไม่มีพูของกล้ามเนื้อดังกล่าว เกล็ดมีขนาดใหญ่ เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ เยื่อขอบกระดูกแก้มเชื่อมติดกับเอ็นคาง ฟันที่ลำคอรูปร่างเหมือนช้อน มี 3แถว โคนครีบหลังหุ้มด้วยเนื้อที่เป็นเกล็ด มีก้านครีบแขนง 8 หรือ 9 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบเรียบ ต้นแบบของสกุลนี้มาจาก Cyprinus tor ซึ่ง จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ได้ยกขึ้นเป็นชื่อสกุล โดยตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor hamiltonii ก่อนหน้าสกุล Labeobarbus ของเอ็ดดวร์ด รุพเพิล ซึ่งนักมีนวิทยาหลายท่านได้นำเอาสกุล Labeobarbus ไปตั้งชื่อปลาที่พบในแถบคาบสมุทรอินโดออสเตรเลีย แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้สกุลอื่น ปลาในกลุ่มนี้จึงมีชื่อพ้องด้วยกันหลากหลาย พบทั้งหมดประมาณ 20 ชนิด ในทวีปเอเชีย ตามแม่น้ำสายใหญ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลายาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยน้ำเงิน

ปลาสร้อยน้ำเงิน หรือ ปลาสร้อยปีกแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus caudimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างที่เพรียวยาว ท้องป่องออก เหนือครีบหลังหลังช่องปิดเหงือกมีแถบสีน้ำเงิน ครีบหลังค่อนข้างใหญ่ โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ครีบหางสีส้มเว้าเป็นแฉกและมีขอบสีเข้ม มีขนาดประมาณ 25–30 เซนติเมตร มีพฤติกรรมการหากินเช่นเดียวกับปลาในสกุลเดียวกัน หรือปลาในสกุล Henicorhynchus ซึ่งเป็นชื่อพ้องของกันและกัน พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทย และในลุ่มแม่น้ำโขง.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาสร้อยน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอ (สกุล)

ปลาหมอ (Climbing perch) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Anabas (/อะ-นา-เบส/) ลักษณะที่สำคัญของปลาในสกุลนี้คือ จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ด้านหน้าจุดเริ่มต้นของครีบอก และฐานของครีบหลังยาวกว่าฐานของครีบก้น มีฟันเป็นทรงกรวยลักษณะแหลมคม ไม่มีฟันที่เพดานปาก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และฟิลิปปินส์ พบเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาหมอ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอบัตเตอร์

ปลาหมอบัตเตอร์ (Zebra tilapia, Zebra cichlid) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างคล้ายปลานิล (Oreochromis niloticus) หรือปลาทิลอาเพียชนิดอื่น ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันในสกุล Tilapia มาก่อน ซึ่งปัจจุบันเป็นชื่อพ้องDunz, A. R. & Schliewen, U. K.; (2013): Molecular phylogeny and revised classification of the haplotilapiine cichlid fishes formerly referred to as “Tilapia”.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาหมอบัตเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอแรม

ปลาหมอแรม หรือ ปลาหมอไมโครจีโอฟากัส (Ram cichlid) เป็นปลาสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอแคระสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Mikrogeophagus หรือ Microgeophagus (ชื่อพ้อง-/ไม-โคร-จี-โอ-ฟา-กัส/) เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำอเมซอนและโอริโนโค ในทวีปอเมริกาใต้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะการเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนมีความหลากหลายไปจากดั้งเดิมในธรรมชาติ เช่น ปลาบอลลูน ที่มีลำตัวอ้วนกลมและสั้นเหมือนลูกบอล ปลาหางยาวที่ดูคล้ายปลาทอง หรือที่มีสีฟ้าแวววาวทั้งตัว มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาหมอแรม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอายุ

ปลาอายุ (アユ, 鮎, 年魚, 香魚) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Plecoglossus และวงศ์ Plecoglossidae.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาอายุ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจาด

ปลาจาด เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Poropuntius (/พอร์-โอ-พุน-ชัส/) ความเป็นมาของปลาในสกุลนี้เริ่มจากแม็กซ์ วีลเฮม คาร์ล เวบเบอร์ และลีฟาน เฟอดินานด์ เดอ โบฟอร์ต ได้ตั้งสกุล Lissocheilus (ปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว) ขึ้นในปี ค.ศ. 1916 เพื่อใช้กับปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอธิบายว่า ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 มะสึมิสึ โอชิมะ นักมีนวิทยาชาวญี่ปุ่น ได้พบว่าปลาบางส่วนของสกุล Lissocheilus มีริมฝีปากล่างแยกออกมาเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางเป็นแผ่นหนังใหญ่ ทำให้มีปัญหาในการจำแนกชนิด จึงได้ตั้งสกุล Acrossocheilus ขึ้น (ซึ่งปัจจุบันสกุลนี้ใช้ระบุปลาที่พบในประเทศเวียดนามและจีนตอนใต้ เป็นหลัก) โดยจำแนกปลาที่อยู่ในสกุล Lissocheilus เดิมที่มีลักษณะของริมฝีปากล่างตามที่กล่าวมาให้อยู่ในสกุลนี้ ต่อมา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ได้ตั้งสกุล Poropuntius นี้ขึ้น ในปี ค.ศ. 1931 โดยแยกออกจากสกุล Lissocheilus ซึ่งครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย ชื่อสกุล Lissocheilus ต้องถูกยกเลิก เพราะพบว่าตั้งซ้ำซ้อนกับสกุลของหอยที่เป็นซากฟอสซิลซึ่งมีผู้ตั้งไว้ในปี ค.ศ. 1882 ดังนั้น จึงต้องหันกลับไปพิจารณาระหว่างสกุล Poropuntius กับสกุล Acrossocheilus ก็พบว่าลักษณะทางอนุกรมวิธานของสกุล Poropuntius นั้นเด่นกว่าสกุล Acrossocheilus ในปี ค.ศ. 1996 วอลเตอร์ เรนโบธ เสนอให้ใช้สกุล Poropuntius กับปลาที่แมลคัม อาร์เธอร์ สมิธ อนุกรมวิธานไว้ในปี ค.ศ. 1945 คือ ปลาจาดบ้านถ้ำ (P. bantamensis) และปลาเขยา (P. deauratus) ที่เดิมเคยใช้ชื่อสกุล Acrossocheilus เปลี่ยนมาใช้ชื่อสกุลนี้ แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความสับสนอย่างมากในการใช้ชื่อสกุลของสกุลนี้ เรนโบธจึงเสนอขึ้นมาในปี ค.ศ. 1985 ให้ใช้สกุล Neolissocheilus ขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ใช้ในกลุ่มปลาพลวง อย่างไรก็ตาม สกุล Poropuntius นี้ มีความคล้ายคลึงกับสกุล Hypsibarbus ซึ่งเป็นสกุลที่เรนโบธตั้งขึ้นเองในปี..

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาจาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกบอน

ำหรับปลาดักชนิดอื่น ดูที่: ปลาดุกดัก สำหรับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาดัก ปลาดุกบอน หรือ ปลาดัก เป็นปลาหนังน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Olyra อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) เป็นปลาขนาดเล็กที่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตั้งแต่ภาคตะวันออกของอินเดีย, พม่า, ภาคตะวันตกของไทย ตลอดจนภูมิภาคอินโดจีน โดยในภูมิภาคเอเชีย ปลาดุกบอนจะรู้จักกันในฐานะของปลานักสู้เหมือนกับปลากัด และถูกเลี้ยงเพื่อกัดกันเอาเงินเดิมพัน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาดุกบอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาร์ดีนแปซิฟิก

ปลาซาร์ดีนแปซิฟิก หรือ ปลาซาร์ดีนอเมริกาใต้ (South American pilchard, Pacific sardine, California sardine, Chilean sardine, Japanese sardine, South African sardine, Monterrey sardine) เป็นปลาทะเลจำพวกปลาซาร์ดีนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sardinops sagax อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Sardinops และเป็นปลาที่มีชื่อพ้องจำนวนมาก มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาซาร์ดีนยุโรป (Sardina pilchardus) ซึ่งพบในภาคพื้นยุโรป แต่มีความยาวกว่า คือ ยาวได้ถึงเกือบ 40 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยทั่วไป คือ 20 เซนติเมตร ครีบหลังและครีบก้นไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบก้นมีกานครีบอ่อน 12-23 ก้าน มีกระดูกสันหลัง 48-53 ท่อน มีรูปร่างยาวทรงกระบอกและกลม ลำตัวมีสีฟ้าอมเขียวเหลือบขาว ลำตัวด้านข้างท่อนบนมีจุดสีคล้ำเป็นแถว มีแผ่นกระดูกปิดเหงือกที่แตกต่างไปจากปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการแยกชนิดได้ชัดเจน มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ในแถบอินโด-แปซิฟิก ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลฟิลิปปิน, ทะเลจีนใต้, ทะเลซูลู จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยปลาที่พบในนิวซีแลนด์จะมีขนาดความยาวของลำตัวใหญ่กว่าที่อื่น และมีไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาซาร์ดีนแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์ (Giant danio) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Devario (/เด-วา-ริ-โอ/) ปลาซิวในสกุลนี้ เคยถูกรวมเป็นสกุลเดียวกันกับปลาซิวสกุล Danio หรือ ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี มาก่อน แต่ปลาซิวที่อยู่ในสกุลปลาซิวใบไผ่ใหญ่นี้ จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า โดยจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 5-15 เซนติเมตร และมีลวดลายสีสันต่าง ๆ ในบริเวณข้างลำตัว โดยก็ถูกเรียกชื่อสามัญว่า "ปลาซิวใบไผ่" หรือ "ปลาซิวใบไผ่ใหญ่" พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจจะมีบางชนิดที่เป็นชื่อพ้องกันหน้า 28-29, Genus Devario - ปลาซิวใบไผ่ใหญ่ (Giant danio), "Mini Attlas" โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาซิวใบไผ่ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล (สกุล)

ปลานิล (Tilapia) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichilidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง ใช้ชื่อสกุลว่า Oreochromis (/ออ-เร-โอ-โคร-มิส/) โดยที่มาของสกุลนี้ อัลเบิร์ต กึนเธอร์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1889 โดยมีลักษณะทางอนุกรมวิธานของสกุลนี้โดยย่อ คือ มีลำตัวป้อมสั้นและแบนข้าง เกล็ดเป็นแบบบางเรียบ มีเส้นข้างลำตัวที่ไม่สมบูรณ์ 2 เส้น มีฟัน 2 หรือหลายแถวที่ขากรรไกรบนและล่าง รูปร่างของฟันแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลม จำนวน 14-17 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลมจำนวน 3 ก้าน คอดหางมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกัน มีกระดูกสันหลัง 29-32 ข้อ ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 จอร์จ อัลเบิร์ต บุนเลเยอร์ นักสัตววิทยาและนักอนุกรมวิธานชาวเบลเยี่ยมได้ตั้งสกุล Tilapia ขึ้น และได้รวมปลาหลายสกุลในวงศ์นี้เข้ามาอยู่ในสกุลนี้ รวมทั้งสกุลปลานิลนี้ด้วย ซึ่งทำให้ครั้งหนึ่งปลาที่อยู่ในสกุลนี้ใช้ได้ชื่อชื่อสกุลว่า Tilapia นำหน้าชื่อชนิดกัน และกลายเป็นชื่อพ้องในเวลาต่อมา ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 อีเทลเวนน์ เทรวาวาส นักมีนวิทยาชาวอังกฤษได้ศึกษาลักษณะของปลาในสกุล Tilapia เห็นว่าสกุลปลานิลที่กึนเธอร์ตั้งขึ้นมานั้น มีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่มีข้อจำกัดเฉพาะและเหมาะสมมากกว่า จึงได้ให้ใช้ชื่อสกุลนี้ตราบมาจนปัจจุบัน โดยปรากฏเป็นผลงานในหนังสือชื่อ Tilapia fishes of the genera Sarotherodon, Oreochromis and Danakilia โดยปัจจุบันพบปลาที่อยู่ในสกุลปลานิลนี้มากกว่า 30 ชนิด มีชนิดที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ปลานิล (Oreochromis miloticus), ปลาหมอเทศ (O. mossambicus), ปลาหมอเทศข้างลาย (O. aureus) เป็นต้น ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปแอฟริกาและในอีกหลายภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้ว.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลานิล (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไข่ออง

ปลาไข่ออง เป็นชื่อเรียกสกุลปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Osteobrama (/ออส-ที-โอ-บรา-ม่า/) มีรูปร่างโดยรวมดังนี้ มีลำตัวลึกแบนข้างมากเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านข้างคอด หางเรียว หัวค่อนข้างเล็กกลม ปากอยู่ปลายสุด เกล็ดมีขนาดเล็ก หลุดง่าย ครีบหลังยกสูงและสั้น ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและมีขอบเป็นจักฟันเลื่อย และอยู่เหนือฐานครีบท้อง ฐานครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีเงินหรืออาจมีสีเหลืองอ่อน ครีบใส บางชนิดมีหนวด บางชนิดไม่มีหนวด หากมีก็เป็นหนวดที่สั้นและหลุดง่ายมาก มีฟันในลำคอ 3 แถว ปลายของเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ฐานครีบหาง ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15–30 เซนติเมตร อาศัยเป็นฝูงในน้ำขุ่น พบในประเทศอินเดียและพม่า 6 ชนิด และลุ่มน้ำสาละวิน 2 ชนิด บริเวณชายแดนไทย–พม่า มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาไข่ออง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเห็ดโคน

ปลาเห็ดโคน หรือ ปลาซ่อนทราย หรือ ปลาบุรุด เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลกระดูกแข็งในสกุล Sillago (/ซิล-ลา-โก/) ในวงศ์ปลาเห็ดโคน (Sillaginidae) เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร มีส่วนหัวหลิม ลําตัวกลมยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย ลําตัวสีนํ้าตาลอ่อน หลังมีสีเข้มกว่าหรือสีเทา บางชนิดมีแต้มสีเข้มกว่าเรียงเป็นแถวอยู่ข้างลําตัวหรือพาดอยู่บนสันหลัง เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีพฤติกรรมไซ้ทรายหรือโคลนบริเวณแหล่งที่อยู่เพื่อหากินและหลบซ่อนตัว อันเป็นที่มาของชื่อ โดยพบบริเวณใกล้ชายฝั่ง ปากแม่น้ำ พงหญ้าทะเล หรือป่าชายเลน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและปลาเห็ดโคน · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนไทย

thumb thumb นกกระเรียนไทย หรือ นกกระเรียน (sarus crane) เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 เมตร สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตาย นกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น "เกาะ" รูปวงกลมจากกก อ้อ และพงหญ้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา คาดกันว่าประชากรมีเพียง 10 หรือน้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 2.5) ของจำนวนที่มีอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1850 ประเทศอินเดียคือแหล่งที่มั่นของนกชนิดนี้ ที่ซึ่งนกเป็นที่เคารพและอาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตรใกล้กับมนุษย์ นกกระเรียนนั้นสูญหายไปจากพื้นที่การกระจายพันธุ์ในหลาย ๆ พื้นที่ในอดีต.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและนกกระเรียนไทย · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าใหญ่

นกเค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา (''B. sumatranus'') ซึ่งเป็นนกเค้าใหญ่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าใหญ่ หรือ นกเค้าหงอน หรือ นกเค้าอินทรีโลกเก่า (Horned owls, Old World eagle-owls) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Bubo (/บู-โบ/) นกเค้าใหญ่ เป็นนกเค้าหรือนกฮูกขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากเหลือง ขนคิ้วยาวแลดูคล้ายมีหูหรือหงอนยาว มีขนปกคลุมขา นกเค้าในสกุลนี้ บางชนิดสามารถโฉบจับปลาจากผิวน้ำกินเป็นอาหารได้ ในชนิดและโตที่ใหญ่ที่สุด อาจมีความสูงเกิน 2 ฟุต และกางปีกได้กว้างถึง 6 ฟุต และยังสามารถบินข้ามช่องแคบอังกฤษได้ด้วย พบกระจายพันธุ์อยู่ทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ ในประเทศไทยพบประมาณ 3 ชน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและนกเค้าใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์จระเข้

นิวต์จระเข้ หรือ นิวต์ตะปุ่มตะป่ำ (Crocodile newts, Knobby newts) เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Tylototriton จัดเป็นนิวต์หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก ปัจจุบันพบทั้งหมด 14 ชนิด โดยเชื่อว่ายังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการค้นพบ และในบางชนิดก็อาจเป็นชนิดเดียวกัน พบกระจายพันธุ์ตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและพม่า ไปจนถึงพม่าสู่ภาคเหนือของไทย, ลาว, เวียดนาม และทางตอนใต้ของจีน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและนิวต์จระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก

แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก หรือ แมงกะพรุนบลูบอตเทิล (Blue Bottle, (Indo-Pacific) Portuguese Man-of-War) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกแมงกะพรุน ที่มิใช่แมงกะพรุนแท้ ๆ ชนิดหนึ่ง ที่พบในทะเล มีรูปร่างคล้ายกับแมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสหรือแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (P. physalis) ที่เป็นชนิดที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด ที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติก หากแต่แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก จะพบได้ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก และมีขนาดเล็กกว่ามาก (6 นิ้วเมื่อเทียบกับ 12 นิ้ว) แต่มีหนวดที่ยาวเหมือนกัน และมีปากมากกว่าหนึ่งปาก เป็นสัตว์ที่อยู่เป็นอาณานิคม และเป็นสัตว์ที่เกิดมาจากเอมบริโอของสัตว์ที่แตกต่างกันหลายชนิดมารวมกัน ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะเด่นและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ขณะกำลังลอยน้ำที่หาดแมกมาสเตอส์ มีการแพร่กระจายพันธุ์ที่กว้างขวางกว่า โดยพบอย่างมากที่ชายฝั่งออสเตรเลียรวมถึงน่านน้ำฮาวาย โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นไม่เป็นทางการว่า ili mane‘o หรือ palalia และอาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดที่พบที่ชายฝั่งประเทศไทย เช่น จังหวัดภูเก็ต ที่ชายฝั่งของออสเตรเลียมีผู้ที่ถูกแมงกะพรุนในสกุล Physalia ต่อยมากถึงปีละ 10,000 หรือ 30,000 ราย ส่วนใหญ่จะเกิดที่น่านน้ำฝั่งตะวันออก มีเพียง 500 รายเท่านั้นที่เกิดที่ฝั่งตะวันตกและทางใต้ แต่ไม่เหมือนกับแมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส เพราะไม่มีบันทึกของผู้เสียชีวิตที่เกิดจากการต่อยของแมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก แหล่งข้อมูลบางแหล่งจัดให้แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิกเป็นชนิดเดียวกันกับแมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส โดยถือเป็นชื่อพ้องซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและแมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกสอินโด-แปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

เหี้ย

หี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย (แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ดูในตาราง) โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

เต่าบึงดำ

ระวังสับสนกับ: เต่าบึงดำลายจุด เต่าบึงดำ (Black marsh turtle.) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Siebenrockiella ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เต่าในสกุลนี้ เดิมเคยถูกให้มีเพียงชนิดเดียว แต่ปัจจุบันได้จัดให้มี 2 ชนิด โดยมีเต่าป่าฟิลิปปิน ย้ายมาจากสกุล Heosemys โดยสกุลนี้ตั้งขึ้นมาครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ชื่อพ้องและเต่าบึงดำ · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes anamensis

Nepenthes anamensis (ภาษาละติน: Anam.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและNepenthes anamensis · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes beccariana

Nepenthes beccariana (ได้ชื่อตามโอโดอาร์โด เบคคารี (Odoardo Beccari), นักพฤกษศาสตร์) เป็นพืชเขตร้อนชื้นในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง มันถูกจัดจำแนกโดยจอห์น มิวร์เฮด แมกฟาร์แลน (John Muirhead Macfarlane) ในปี..

ใหม่!!: ชื่อพ้องและNepenthes beccariana · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes fusca

Nepenthes fusca (มาจากภาษาละติน: fuscus.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและNepenthes fusca · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes rajah

Nepenthes rajah (มาจากภาษามลายู: rajah.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและNepenthes rajah · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes surigaoensis

Nepenthes surigaoensis เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงทีมีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์ ได้ชื่อตามจังหวัดสุรีกาล์ว (Surigao) บนเกาะมินดาเนา สถานที่ตัวอย่างต้นแบบถูกเก็บได้ N. surigaoensis เป็นญาติใกล้ชิดกับ N. merrilliana และเป็นเวลานานมาแล้วที่ถูกพิจารณาเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้Danser, B.H. 1928.

ใหม่!!: ชื่อพ้องและNepenthes surigaoensis · ดูเพิ่มเติม »

Phascolarctos

Phascolarctos เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (Marsupialia) จำพวกพอสซัมสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Phascolarctos โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า phaskolos หมายถึง "ถุง" หรือ "กระเป๋า" และ arktos หมายถึง "หมี" โดยตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ชื่อพ้องและPhascolarctos · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »