โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คำกริยาวิเศษณ์

ดัชนี คำกริยาวิเศษณ์

ำกริยาวิเศษณ์ เป็นคำชนิดหนึ่งมีใช้ในหลายภาษา ตัวอย่างที่เห็นชัดคือภาษาอังกฤษ คำกริยาวิเศษณ์หมายถึงคำที่ทำหน้าที่ขยายความคำกริยาหรือคำอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากคำนาม เช่นคำคุณศัพท์ (รวมทั้งจำนวน) อนุประโยค ประโยค และคำกริยาวิเศษณ์อื่น คำกริยาวิเศษณ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำวิเศษณ์ในภาษาไท.

12 ความสัมพันธ์: ภาษามราฐีวจีวิภาคคำคำกริยาคำวิเศษณ์นิเสธแรกรัตติกาลไวยากรณ์ภาษาทมิฬไทยเชื้อสายจีนเกรฟแอกเซนต์OKYes และ no

ภาษามราฐี

ษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และภาษามราฐี · ดูเพิ่มเติม »

วจีวิภาค

วจีวิภาค (ละติน: pars orationis, part of speech) ในทางไวยากรณ์ หมายถึงประเภทของคำในทางภาษาศาสตร์ ซึ่งโดยทั่วไปนิยามโดยลักษณะวากยสัมพันธ์หรือหน่วยคำของคำที่กล่าวถึง แทบทุกภาษามีคำชนิดนามและกริยา แต่นอกเหนือจากนี้ จะมีแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา ตัวอย่างเช่น ภาษาญี่ปุ่นมีคำคุณศัพท์สามชนิด ขณะที่ภาษาอังกฤษมีชนิดเดียว ภาษาจีน เกาหลีและญี่ปุ่นมีลักษณนาม ขณะที่ภาษาทางยุโรปไม่มี.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และวจีวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

คำ

ำ เป็นหน่วยของภาษาที่สื่อถึงความหมายซึ่งประกอบด้วยพยางค์หนึ่งพยางค์หรือมากกว่า ปกติแล้วในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำแสดงถึงความหมายและที่มาของคำนั้น โดยการนำคำหลายคำมาประกอบกันจะทำให้เกิดวลีหรือประโยคซึ่งใช้สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และคำ · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยา

ำกริยา คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา อันมีองค์ประกอบจากกาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก หรือรวมทั้งบุรุษ เพศ และพจน์ของสิ่งที่กล่าวถึงด้ว.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และคำกริยา · ดูเพิ่มเติม »

คำวิเศษณ์

ำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาไทย คำวิเศษณ์สามารถใช้ขยายได้ทั้งนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ ในขณะที่ในภาษาอังกฤษจะแยกคำวิเศษณ์ออกเป็นสองประเภทคือ คำคุณศัพท์ (adjective) ใช้ขยายได้เฉพาะคำนามและสรรพนามเท่านั้น และคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ใช้ขยายกริยา คุณศัพท์ และกริยาวิเศษณ์ด้วยกัน.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และคำวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิเสธ

นิเสธ มีความหมายพื้นฐานคือผลที่ได้จากการเปลี่ยนค่าความจริงของประโยค ไปเป็นตรงกันข้าม การทำให้เป็นนิเสธคือการดำเนินการสำคัญที่ใช้ในตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และไวยากรณ.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และนิเสธ · ดูเพิ่มเติม »

แรกรัตติกาล

แรกรัตติกาล (Twilight) เป็นนิยายความรักเกี่ยวกับแวมไพร์ ประพันธ์โดย สเตเฟนี เมเยอร์ แรกเดิมทีพิมพ์เป็นปกแข็ง ในปี 2005 เป็นนิยายเล่มแรกของซีรีส์ Twilight ที่มีเนื้อหาแนะนำ อิซซาเบลลา สวอน หญิงสาวอายุ 17 ปี ที่ย้ายที่อยู่จากฟินิกซ์ แอริโซน่า ไปฟอร์กส วอชิงตัน เธอตกหลุมรักแวมไพร์หนุ่ม เอ็ดเวิร์ด คัลเลน ภาคต่อของนิยายเรื่องนี้คือ นวจันทรา (New Moon), คราสสยุมพร (Eclipse) และ รุ่งอรุโณทัย (Breaking Dawn).

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และแรกรัตติกาล · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติคต่อ ประกอบด้วยรากศัพท์และหน่วยคำเติมเข้ามาตั้งแต่หนึ่งหน่วยหรือมากกว่า หน่วยคำเติมส่วนมากเป็นปัจจัย มีทั้งปัจจัยแปลงคำซึ่งเปลี่ยนรูปแบบของคำและความหมาย กับปัจจัยผันคำ ซึ่งเป็นการบ่งบอกจำนวน บุคคล รูปแบบของกริยา กาล เป็นต้น ไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัวสำหรับความยาวหรือจำนวนของปัจจัยที่เติมทำให้สามารถสร้างคำขนาดยาวที่มีปัจจัยมากมายที่อาจแทนได้ด้วยคำหลายคำหรือเป็นประโยคในภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และไวยากรณ์ภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยเชื้อสายจีน

วไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมิ่นหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และไทยเชื้อสายจีน · ดูเพิ่มเติม »

เกรฟแอกเซนต์

กรฟแอกเซนต์ (grave accent) เรียกย่อว่า เกรฟ (grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาอยู่เหนืออักษร (`) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินเพื่อใช้ในภาษาต่าง ๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษานอร์เวย์ ภาษาเวียดนาม ฯลฯ กำกับอักษรกรีกในภาษากรีก (ใช้จนถึง ค.ศ. 1982) หรือใช้กำกับอักษรอื่น ๆ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทั้งการเปลี่ยนระดับเสียง การแปรเสียง การเน้นเสียง หรือการแยกแยะคำ เป็นต้น คำว่า grave มาจากภาษาละติน gravis แปลว่า หนัก ในภาษาอังกฤษมีการอ่านว่า กราฟ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้แตกต่างจากคำว่า grave เกรฟ ที่แปลว่า ร้ายแรง หรือหลุมศพ ซึ่งเลียนแบบมาจากภาษาฝรั่งเศส accent grave อักซอง กราฟ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์มีแป้นเกรฟอยู่บริเวณมุมบนซ้ายของผัง บางภูมิภาคใช้ร่วมกับแป้นตาย (dead key) เพื่อประสมกับอักษร บางภูมิภาคใช้เพื่อสลับภาษาป้อนเข้า (คนไทยเรียก "ปุ่มตัวหนอน" ซึ่งเป็นปุ่มเดียวกับทิลเดอ) วงการโปรแกรมเมอร์เรียกเครื่องหมายนี้ว่า แบ็กโควต (back quote) หรือแบ็กทิก (backtick) ในยูนิโคดมีทั้งรูปแบบเดี่ยว (U+0060 `) และตัวผสาน (U+0300 ◌̀).

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และเกรฟแอกเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

OK

"OK" (หรือสะกดเป็น "okay", "ok", หรือ "O.K.") เป็นคำที่แสดงถึงการอนุมัติ การยอมรับ ความเห็นชอบ การตกลง และการเรียนรู้ "OK" ที่เป็นคำคุณศัพท์ สามารถใช้แสดงการยอมรับโดยไม่ต้องอนุมัติได้คำว่า "OK" ได้กลายเป็นคำยืมในภาษาต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง ในฐานะคำคุณศัพท์ "okay" หมายถึง "เพียงพอ", "ยอมรับได้" ("this is okay to send out"), หรือ "ธรรมดา" มักจะไม่ได้มีความหมายว่า "ดี" ("the food was okay") คำว่า "OK" ยังทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ในทำนองเดียวกันได้ด้วย ในฐานะคำอุทาน อาจแสดงถึงการยอมทำตาม ("Okay, I will do that") หรือข้อตกลง ("Okay, that's good") ในฐานะคำนามและคำกริยา จะหมายถึง "ตกลง หรือการตกลง" ("The boss okayed the purchase," และ "The boss gave his okay to the purchase.") ในฐานะคำเชื่อมความ อาจใช้ระดับน้ำเสียงที่เหมาะสมเพื่อแสดงความสงสัย หรือต้องการคำยืนยัน ("Okay?" or "Is that okay?")Yngve, Victor.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และOK · ดูเพิ่มเติม »

Yes และ no

ในภาษาอังกฤษยุคใหม่ Yes และ No เป็นคำที่ใช้แสดงการยืนยัน (affirmative) และปฏิเสธ (negative) ตามลำดับ เดิมที ภาษาอังกฤษใช้ระบบคำสี่คำหรือมากกว่ารวมถึงภาษาอังกฤษกลางตอนต้นด้วย แต่ในยุคใหม่ได้ลดลงเหลือระบบสองคำประกอบด้วยเพียงคำว่า "yes" และ "no" บางภาษา การตอบคำถามใช่-ไม่ใช่ (yes-no question) ไม่ได้ใช้คำตอบคำเดียวอย่างคำว่า yes หรือ no ภาษาเวลส์และภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในหลายภาษาที่ตอบคำถามดังกล่าวโดยใช้รูปยืนยันหรือปฏิเสธในกริยานั้น ๆ แทนที่จะใช้คำว่า "yes" และ "no" แม้ว่าทั้งสองภาษาจะมีคำที่หมายความใกล้เคียงกับ "yes" และ "no" ภาษาอื่น ๆ อาจมีทั้งระบบสองคำ สามคำ และสี่คำ ขึ้นกับว่าเจ้าของภาษาใช้คำที่หมายความว่า "yes" หรือ "no" ทั้งหมดกี่คำ บางภาษา เช่น ภาษาละติน ไม่มีระบบคำว่า yes-no คำว่า "yes" และ "no" นั้นมิอาจแบ่งเป็นชนิดของคำใด ๆ ได้ง่าย ๆ แม้ว่าบางครั้งจะถือว่าเป็นคำอุทาน แต่มันไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว และถือว่าไม่ใช่คำกริยาวิเศษณ์ด้วย ความแตกต่างระหว่างภาษา ความจริงที่ว่าคำสำหรับคำว่า "yes" และ "no" ของภาษาต่าง ๆ มีชนิดของคำและการนำไปใช้ไม่เหมือนกัน และบางภาษาไม่มีระบบนี้ ทำให้การแปลภาษาตามสำนวนเจ้าของภาษาทำได้ยาก หมวดหมู่:คำภาษาอังกฤษ.

ใหม่!!: คำกริยาวิเศษณ์และYes และ no · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Adverbกริยาวิเศษณ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »