โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คาราเมล

ดัชนี คาราเมล

แท่งคาราเมล คาราเมล (caramel) หรือ น้ำตาลที่ผ่านความร้อนจนได้อุณหภูมิที่เหมาะสม เดิมทีคือสิ่งที่เกิดจากการเปลี่ยนสถานะและรสชาติของน้ำตาลโดยใช้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 160-170 องศาเซลเซียส) ช่วงก่อนถึงจุดความร้อนดังกล่าวนั้นน้ำตาลจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว และจะเริ่มเปลี่ยนสีเข้มขึ้นพร้อมทั้งมีรสชาติที่ซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอุณหภูมิ แต่การทำคาราเมลจากน้ำตาลโดยตรงมีอัตราเสี่ยงต่อการไหม้สูง จึงนิยมใช้น้ำเป็นตัวทำละลายในตอนเริ่มต้น(น้ำเชื่อม) และผ่านความร้อนจนน้ำหรือความชื้นระเหยออกไปมากพอที่น้ำตาลจะเริ่มกระบวนการเปลี่ยนสถานะ น้ำเชื่อมที่ผ่านความร้อนถึงอุณหภูมิต่างกันจะมีความข้นเหนียวและความเปราะต่างกันไปจนถึงขั้นสุดท้ายตามตาราง คาราเมลยังถูกใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้รสชาติและกลิ่นในของหวานชนิดอื่นๆ เช่น ขนมปัง, ไอศกรีม, เค้ก, มูส หรือใช้เป็นเครื่องเคียงหรือซอสราดตกแต่งหน้า ภายหลังจีงมีการใช้คำว่า "คาราเมล" แทนขนมจำพวกลูกกวาดบางชนิด หรือซอสราดที่เกิดจากการผสมส่วนน้ำตาลที่เปลี่ยนสถานะแล้วกับวัตถุดิบอื่นๆ เช่นครีม นม เนย ฝักวานิลลา เป็นต้น เพื่อให้ได้ลักษณะผิวสัมผัสและรสชาติความหอมตามที่ต้องการ นอกจากนี้เมื่อคาราเมลเย็นตัวจะมีลักษณะแข็ง จึงนิยมทำของประดับจาน หรือเคลือบขนม ผลไม้ หรือถั่วด้วย สีคาราเมล หมายถึง สีน้ำตาลแก.

16 ความสัมพันธ์: บัตเตอร์สกอตช์บู๊นจ๋าพรอฟีทรอลกะละแมภัทรศยา ยงรัตนมงคลรายชื่อสปีชีส์ในสกุลทุเรียนสโตรปวาเฟิลทอฟฟีทุเรียนครอก็องบุชคอร์ (อาหาร)ปันนาค็อตตานมปั่นน้ำตาลแครมบรูว์เลเอแกลร์

บัตเตอร์สกอตช์

ัตเตอร์สกอตช์ (butterscotch) เป็นขนมหวานที่มีส่วนผสมหลักคือน้ำตาลแดงและเนย บางครั้งอาจผสมน้ำเชื่อมข้าวโพด, ครีม, วานิลลาและเกลือ สูตรแรก ๆ ที่พบในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ใช้กากน้ำตาลแทนน้ำตาล บัตเตอร์สกอตช์คล้ายกับทอฟฟี แต่ต่างกันที่ระดับความเดือดของน้ำตาล โดยบัตเตอร์สกอตช์จะเป็นระดับ soft crack ส่วนทอฟฟีจะเป็นระดับ hard crack บัตเตอร์สกอตช์ใช้เป็นส่วนผสมในลูกกวาดและพุดดิง ใส่ในคุกกี้แบบเดียวกับช็อกโกแลตชิป หรือแต่งรสชาติของเหล้าหวาน ซอสบัตเตอร์สกอตช์ใช้เป็นซอสของหวาน โดยเตรียมได้จากการเคี่ยวน้ำตาลแดงที่อุณหภูมิ 116 °C กับเนยและครีม.

ใหม่!!: คาราเมลและบัตเตอร์สกอตช์ · ดูเพิ่มเติม »

บู๊นจ๋า

ู๊นจ๋า (bún chả) เป็นขนมจีนชนิดหนึ่งในเวียดนาม โดยเป็นการรับประทานขนมจีนกับหมูย่าง ซึ่งมีทั้งหมูสับเป็นก้อนย่างหรือหมูสามชั้นย่าง โดยจะผสมคาราเมลลงไปทำให้หมูย่างมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และกินคู่กับซอสรสเค็มหวานที่ใส่มะละกอดองและแคร์รอตดอง กินกับผักหลายชนิด ได้แก่ ผักกาดหอม ผักชี ผักบุ้งสายหรือผักบุ้งจักเป็นฝอย ถั่วงอก อาหารนี้เป็นของชาวเวียดนามภาคเหนือ มีชื่อเสียงมากที่ฮานอยที่เรียกว่า "บู๊นจ๋าห่าโหน่ย" อาหารที่มีลักษณะใกล้เคียงกันนี้ในเวียดนามภาคใต้เรียก "บู๊นถิตเนื้อง" (bún thịt nướng).

ใหม่!!: คาราเมลและบู๊นจ๋า · ดูเพิ่มเติม »

พรอฟีทรอล

230px พรอฟีทรอล (profiterole), ชูอาลาแครม (choux à la crème) หรือ ครีมพัฟ (cream puff) เป็นขนมฝรั่งเศสชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งชูหรือแป้งพายนิ่ม บีบให้เป็นก้อนกลมแล้วนำไปอบ เติมไส้ที่มีรสหวาน เช่น วิปครีม คัสตาร์ด หรือไอศกรีม (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) เป็นต้น อาจตกแต่งตัวขนมด้วยกานัช (ซอสช็อกโกแลต) น้ำตาลเคี่ยว หรือโรยน้ำตาลไอซิงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการทำพรอฟีทรอลที่มีรสกลมกล่อมด้วย โดยใส่ไส้เนื้อสัตว์บด ไส้กรอก เนยแข็ง และอื่น ๆ ในอดีตนิยมใช้พรอฟีทรอลประเภทหลังนี้ในการตกแต่งซุป ชื่อเรียกที่หลากหลายของพรอฟีทรอลอาจเกี่ยวข้องกับชนิดไส้หรือซอสที่แตกต่างกันไปในแต่ละตำรั.

ใหม่!!: คาราเมลและพรอฟีทรอล · ดูเพิ่มเติม »

กะละแม

กะละแม เป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาลเส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: คาราเมลและกะละแม · ดูเพิ่มเติม »

ภัทรศยา ยงรัตนมงคล

ัทรศยา ยงรัตนมงคล (ชื่อเล่น:มิ้นท์) เป็นนักแสดงและนางแบบหญิงชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2536 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก Harrow International School และจบปริญญาตรีสาขา Fashion Marketing จาก Raffles International College (วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์).

ใหม่!!: คาราเมลและภัทรศยา ยงรัตนมงคล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสปีชีส์ในสกุลทุเรียน

ท่าที่ทราบในปัจจุบันมีพืชในสกุลทุเรียนอยู่ 30 ชนิด มีอยู่ 9 ชนิดที่ผลสามารถรับประทานได้ แต่อาจยังมีบางชนิดที่ยังไม่ค้นพบและจัดจำแนก และมีผลที่สามารถรับประทานได้.

ใหม่!!: คาราเมลและรายชื่อสปีชีส์ในสกุลทุเรียน · ดูเพิ่มเติม »

สโตรปวาเฟิล

ตรปวาเฟิล (stroopwafel, แปลตรงตัวว่า ขนมรังผึ้งน้ำเชื่อม) เป็นขนมชนิดหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ ทำจากแผ่นแป้งกลมบางประกบกัน ตรงกลางสอดไส้น้ำเชื่อมข้นหนืดเหมือนน้ำตาลเคี่ยว.

ใหม่!!: คาราเมลและสโตรปวาเฟิล · ดูเพิ่มเติม »

ทอฟฟี

ทอฟฟี (toffee) หรือ ลูกกวาด เกิดจากการเดือดของกากน้ำตาลหรือน้ำตาล ควบคู่ไปกับเนย และในบางครั้งอาจมีแป้งด้วย โดยจะต้องมีอุณหภูมิความร้อนประมาณ 150-160 องศาเซลเซียส (302-310 องศาฟาเรนไฮต์) ในการเตรียมอาหารบางครั้งทอฟฟีถูกจัดไว้ควบคู่กับมะพร้าวหรือลูกเก.

ใหม่!!: คาราเมลและทอฟฟี · ดูเพิ่มเติม »

ทุเรียน

ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้วันดี กฤษณพันธ์, สมุนไพรน่ารู้, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3..

ใหม่!!: คาราเมลและทุเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ครอก็องบุช

รอก็องบุช (croquembouche, croque-en-bouche) เป็นของหวานฝรั่งเศสชนิดหนึ่ง ได้จากการนำพรอฟีทรอลแต่ละลูกมาจัดเรียงซ้อนกันเป็นทรงกรวย จากนั้นพันรอบ ๆ ด้วยน้ำตาลเคี่ยวที่ทำเป็นเส้นบาง ๆ อาจตกแต่งด้วยของหวานอื่น เช่น ช็อกโกแลต อาลมอนด์เคลือบน้ำตาล ดอกไม้ที่กินได้ เป็นต้น บางครั้งก็ใช้มาการงแทนพรอฟีทรอล หรือราดด้วยกานัช (ซอสช็อกโกแลต) ในฝรั่งเศสและอิตาลีมักเสิร์ฟของหวานชนิดนี้ในพิธีแต่งงาน พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน และพิธีรับศีลมหาสนิทครั้งแรก.

ใหม่!!: คาราเมลและครอก็องบุช · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ (อาหาร)

อร์ (ខ ឬសម្លខ) หรือ คอโตะ (kho tộ) เป็นอาหารกัมพูชาและอาหารเวียดนามประเภทต้มเค็ม เพิ่มการปรุงรสด้วยน้ำตาลที่เคี่ยวให้ข้นเป็นคาราเมล อาหารนี้เป็นอาหารที่พบมากในเวียดนามตอนใต้และกัมพูชา การใส่คาราเมลลงในอาหารนี้ได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส นิยมต้มกับปลาหลายชนิด เช่น ปลาทับทิม ปลาหมอ ปลาช่อน หรือจะเป็นปลาทะเลเช่นปลาอินทรีก็ได้ การปรุงจะนำปลาหั่นเป็นชิ้นหมักกับน้ำปลา น้ำตาล กระเทียม นำไปต้มกับหมูสามชั้นที่รองก้นหม้อ ใส่ขิง ใส่น้ำพอท่วมปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลไหม้ พริกไท.

ใหม่!!: คาราเมลและคอร์ (อาหาร) · ดูเพิ่มเติม »

ปันนาค็อตตา

ปันนาค็อตตา (panna cotta) เป็นของหวานอิตาลีชนิดหนึ่ง ทำจากครีมผสมน้ำตาล ทำให้ข้นด้วยเจลาติน แล้วนำไปหล่อแม่พิมพ์ อาจแต่งกลิ่นและรสส่วนผสมครีมด้วยรัม, กาแฟ, วานิลลา หรือสารแต่งกลิ่นรสอื่น ๆ ก็ได้ ขนมชนิดนี้มีหน้าตาเหมือนแครมการาแมล (พุดดิงน้ำตาลเคี่ยว) แต่มีรสชาติค่อนไปทางนมมากกว่า และมีเนื้อสัมผัสคล้ายวุ้นมากกว่าคล้ายแครมการาแมล.

ใหม่!!: คาราเมลและปันนาค็อตตา · ดูเพิ่มเติม »

นมปั่น

นมปั่น (milkshake) จัดเป็นเครื่องดื่มที่หวาน และเย็น โดยทั่วไปทำจากนม, ไอศกรีม หรือนมเย็น และปรุงรส หรือเพิ่มความหวาน เช่น บัตเตอร์สกอตช์, ซอสคาราเมล, ซอสช็อกโกแลต หรือน้ำเชื่อมผลไม้.

ใหม่!!: คาราเมลและนมปั่น · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: คาราเมลและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

แครมบรูว์เล

แครมบรูว์เล (crème brûlée, แปลตามตัวอักษรว่า "ครีมที่ถูกเผาไหม้") เป็นของหวานชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคัสตาร์ดด้านล่าง (มักเป็นรสวานิลลา) ด้านบนเป็นชั้นคาราเมลแข็งซึ่งได้จากการเผาไหม้ของน้ำตาล เสิร์ฟที่อุณหภูมิห้อง.

ใหม่!!: คาราเมลและแครมบรูว์เล · ดูเพิ่มเติม »

เอแกลร์

อแกลร์แบบฉบับ เอแกลร์ (éclair) เป็นขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งชู ใส่ไส้ และทาด้านบนด้วยครีม ตัวแป้ง (ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ทำพรอฟีทรอล) จะถูกบีบให้มีทรงยาวและอบจนกระทั่งผิวกรอบและข้างในเป็นโพรง เมื่อขนมเย็นแล้วจึงสอดไส้คัสตาร์ดซึ่งปกติจะแต่งกลิ่นรสวานิลลา กาแฟ หรือช็อกโกแลตMontagné, Prosper, Larousse gastronomique: the new American edition of the world's greatest culinary encyclopedia, Jenifer Harvey Lang, ed., New York: Crown Publishers, 1988, p. 401 ISBN 978-0-517-57032-6 หรือสอดไส้วิปครีมหรือครีมชีบุสต์ ไส้แบบอื่น ๆ ได้แก่ คัสตาร์ดรสพิสตาชีโอและรัม ไส้รสผลไม้ หรือเกาลัดบด จากนั้นทาด้านบนของขนมด้วยครีมรสต่าง ๆ หรือคลุมด้วยฟงด็อง (น้ำตาลปั้น) แต่บางครั้งก็อาจทาน้ำตาลเคี่ยวแทน ในกรณีหลังนี้เอแกลร์จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า บาตงเดอฌากอบ (bâton de Jacob).

ใหม่!!: คาราเมลและเอแกลร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »