เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คัมภีร์อธิกธรรม

ดัชนี คัมภีร์อธิกธรรม

ัมภีร์อธิกธรรม หรือ คัมภีร์สารบบที่สอง (Deuterocanonical books) เป็นคำที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อหมายถึงหนังสือจำนวนหนึ่งที่สภาแจมเนียไม่ยอมรับเข้าในสารบบคัมภีร์ฮีบรู แต่คริสตจักรทั้งสองยังคงยอมรับให้รวมอยู่ในสารบบพันธสัญญาเดิม การเรียกว่า "สารบบที่สอง" เพื่อให้ต่างจากคัมภีร์สารบบที่หนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้คัมภีร์สารบบที่สอง จึงถือเป็นคัมภีร์ในสารบบคัมภีร์ไบเบิลของนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ ต่างจากนิกายโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมรับหนังสือชุดดังกล่าว และถือว่าเป็นคัมภีร์นอกสารบบ คริสตจักรโรมันคาทอลิก ถือว่าคัมภีร์พันธสัญญาเดิม สารบบที่สอง มี 9 เล่ม ได้แก.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: อัครทูตสวรรค์ราฟาเอลผู้เผยพระวจนะน้อยผู้เผยพระวจนะใหญ่คัมภีร์ฮีบรูคัมภีร์นอกสารบบคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์นิกายในศาสนาคริสต์แอสโมเดียส

อัครทูตสวรรค์ราฟาเอล

ราฟาเอล หรืออิสรอฟีล (רָפָאֵל, Rāfāʾēl, "พระเจ้าเป็นผู้ทรงรักษา" "พระเจ้าทรงรักษา" "พระเจ้าได้โปรดรักษา", اسرافيل‎, Isrāfīl) เป็นอัครทูตสวรรค์ตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าเป็นผู้ทำหน้าที่รักษาโร.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและอัครทูตสวรรค์ราฟาเอล

ผู้เผยพระวจนะน้อย

ผู้เผยพระวจนะน้อย (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ประกาศกน้อย (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (minor prophet) คือหมวดหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม คำว่า "น้อย" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความสำคัญของผู้เผยพระวจนะ แต่หมายถึงขนาดของหนังสือซึ่งมีความยาวน้อยกว่าหนังสือในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ (major prophet) หนังสือในหมวดผู้เผยพระวจนะน้อยได้แก.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและผู้เผยพระวจนะน้อย

ผู้เผยพระวจนะใหญ่

ผู้เผยพระวจนะใหญ่ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ประกาศกใหญ่ (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (major prophet) คือหมวดหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม คำว่า "ใหญ่" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความสำคัญของผู้เผยพระวจนะ แต่หมายถึงขนาดของหนังสือซึ่งมีความยาวมากกว่าหนังสือในหมวดผู้เผยพระวจนะน้อย (minor prophet) หนังสือในหมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่ได้แก.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและผู้เผยพระวจนะใหญ่

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ฮีบรู

คัมภีร์นอกสารบบ

ัมภีร์นอกสารบบ (Apocrypha; ἀπόκρυφα สิ่งที่ซ่อนเร้น, ยากที่จะเข้าใจ, หลอกลวง, จากแหล่งข้อมูลที่ไม่อาจยืนยันได้) ในทางศาสนาคริสต์ หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับประวัติชีวิตของพระเยซู แต่ไม่ได้บรรจุในสารบบคัมภีร์ไบเบิล และไม่ได้รับการยอมรับจากคริสตจักรส่วนใหญ่ คัมภีร์ดังกล่าวมักเขียนไม่สอดคล้องกับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์กระแสหลัก โดยทั่วไปแล้วจะเป็นคำที่ใช้กับวรรณกรรมทางศาสนาคริสต์ที่ถือว่ามีประโยชน์แต่อาจจะไม่มีคุณสมบัติที่เรียกว่าการดลใจจากพระเจ้า ฉะนั้นการที่จะกล่าวว่าพระวรสารชาวฮีบรูหรืองานเขียนเชิงอไญยนิยมเป็นงาน “คัมภีร์นอกสารบบ” จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวรรณกรรมเหล่านี้จะไม่จัดอยู่ในกลุ่มคัมภีร์นอกสารบบโดยคริสตชนนิกายออร์ทอดอกซ์ งานวรรณกรรมที่ไม่ใช่พระวรสารคืองานวรรณกรรมที่ความเที่ยงแท้ของเนื้อหาเป็นที่น่ากังขาหรือการเขียนที่เป็นยังคงเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อของลัทธิหรือแนวต่างๆ ในการระบุว่าวรรณกรรมฉบับใดเป็นของแท้แล้ว ก็จะสรุปได้ว่างานเขียนหลายฉบับก็จะถือว่าเป็น “คัมภีร์นอกสารบบ” นิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้คัมภีร์พันธสัญญาเดิมตามสารบบเซปตัวจินต์ จึงยอมรับ "คัมภีร์อธิกธรรม" เป็นคัมภีร์สารบบที่สองในพันธสัญญาเดิมด้วย แต่นิกายโปรเตสแตนต์ใช้สารบบคัมภีร์ตามสภาแจมเนียซึ่งไม่ยอมรับคัมภีร์ชุดดังกล่าว จึงถือว่าคัมภีร์อธิกธรรมเป็นคัมภีร์นอกสาร.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์นอกสารบบ

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและคัมภีร์ไบเบิล

ฉบับพระเจ้าเจมส์

ฉบับพระเจ้าเจมส์ (King James Version: KJV) หรือ ไบเบิลพระเจ้าเจมส์ (King James Bible: KJB) หรือ ฉบับอนุมัติ (Authorized Version: AV) เป็นฉบับแปลภาษาอังกฤษของคัมภีร์ไบเบิลในคริสต์ศาสนา จัดทำขึ้นสำหรับคริสตจักรอังกฤษ เริ่มดำเนินการใน..

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและฉบับพระเจ้าเจมส์

นิกายในศาสนาคริสต์

นิกายในศาสนาคริสต์ (Christian denominations) คือการแบ่งสาขาของศาสนาคริสต์ตามแนวปรัชญาและหลักการปฏิบัติ ในแต่ละนิกาย (denomination) ก็แบ่งย่อยเป็นคริสตจักร (church) รายการข้างล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและนิกายในศาสนาคริสต์

แอสโมเดียส

แอสโมเดียส (Asmodeus) หรือ แอสโมไดออส (Ασμοδαίος) หรือ แอชมีดาย (אַשְמְדּאָי) คือราชาแห่งเหล่ามาร"Asmodeus" in The New Encyclopædia Britannica.

ดู คัมภีร์อธิกธรรมและแอสโมเดียส

หรือที่รู้จักกันในชื่อ คัมภีร์สารบบที่สอง