โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความเอนเอียงทางประชาน

ดัชนี ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก.

29 ความสัมพันธ์: Anchoringกระบวนการคิดเชิงเทิดทูนการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จการกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัยการยึดติดหน้าที่การอนุมานการทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)การครุ่นคิด (จิตวิทยา)การแปลการพินิจภายในผิดการแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใสรายชื่อความเอนเอียงทางประชานสมมติฐานโลกยุติธรรมอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่างจุดบอดต่อความเอนเอียงข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผลความไม่ลงรอยกันทางประชานความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกความเหนือกว่าเทียมปรากฏการณ์การวางกรอบปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไปแดเนียล คาฮ์นะมันโหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเหตุผลวิบัติของนักการพนันเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐานRepresentativeness heuristic

Anchoring

ในสาขาจิตวิทยา คำภาษาอังกฤษว่า Anchoring (แปลว่า การตั้งหลัก) หรือ focalism หมายถึงความเอนเอียงทางประชานของมนุษย์ ความมีแนวโน้มที่จะอิงข้อมูลแรกที่ได้มากเกินไป (โดยเป็น anchor คือเป็นหลัก) เมื่อทำการตัดสินใจ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราพิจารณาข้อมูลแรกที่ได้ในการประเมินค่าที่ไม่รู้ ซึ่งจะกลายเป็นหลักที่จะใช้ต่อ ๆ มา และเมื่อมีหลักตั้งขึ้นแล้ว การประเมินผลต่อ ๆ มาจะเป็นการปรับค่าใช้ข้อมูลที่เป็นหลักนั้น ดังนั้น จึงอาจเกิดความความเอนเอียงเพราะตีความข้อมูลต่อ ๆ มาเป็นค่าใกล้ ๆ หลักที่อาจจะไม่ได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่สมเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ราคาที่เสนอเริ่มแรกในการซื้อขายรถมือสองจะกลายเป็นหลักที่ใช้ในการต่อราคาที่มีต่อ ๆ มา ดังนั้น ราคาตกลงซื้อที่น้อยกว่าราคาเสนอเบื้องต้นอาจจะดูเหมือนดีกว่าถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้ว อาจจะเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าของรถจริง.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและAnchoring · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน

แอปเปิล กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน (Halo effect) หมายถึงกระบวนการคิดเชิงลำเอียง (Cognitive bias) ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญชานของบุคลิกภาพหนึ่งก่อตัวขึ้นจากอิทธิพลของอีกบุคลิกภาพเดิมบุคลิกภาพหนึ่งตามขั้นตอนของกระบวนการการตีความหมาย นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเอดเวิร์ด แอล. ธอร์นไดค์เป็นบุคคลแรกที่สนับสนุนทฤษฎี “กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน” ที่มาจากการค้นคว้าการวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) ในการวิจัยค้นคว้าทางจิตวิทยาที่ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและกระบวนการคิดเชิงเทิดทูน · ดูเพิ่มเติม »

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

สมมติฐานว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" จะพิสูจน์ว่าจริงได้อย่างไร? พิสูจน์ว่าเท็จได้หรือไม่? การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability, refutability) ของประพจน์ (บทความ, ข้อเสนอ) ของสมมติฐาน หรือของทฤษฎี ก็คือความเป็นไปได้โดยธรรมชาติที่จะพิสูจน์ว่ามันเป็นเท็จได้ ประพจน์เรียกว่า "พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้" ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำการสังเกตการณ์หรือให้เหตุผลที่คัดค้านลบล้างประพจน์นั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น เพราะปัญหาของการอุปนัย (วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม) ไม่ว่าจะมีจำนวนการสังเกตการณ์เท่าไร ก็จะไม่สามารถพิสูจน์การกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" แต่ว่า มันเป็นไปได้โดยตรรกะหรือโดยเหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าเท็จ เพียงโดยสังเกตเห็นหงส์ดำตัวเดียว ดังนั้น คำว่า "พิสูจน์ว่าเท็จได้" บางที่ใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า "ตรวจสอบได้" (testability) แต่ว่าก็มีบางประพจน์ เช่น "ฝนมันจะตกที่นี่อีกล้านปี" ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้โดยหลัก แต่ว่าทำไม่ได้โดยปฏิบัติ เรื่องการพิสูจน์ว่าเท็จได้กลายเป็นจุดสนใจเพราะคตินิยมทางญาณวิทยาที่เรียกว่า "falsificationism" (คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ) ของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ · ดูเพิ่มเติม »

การกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัย

การกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัย (Subjective validation, personal validation effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่บุคคลจะพิจารณาบทความหรือข้อมูลว่าถูกต้องถ้ามีความหมายหรือความสำคัญต่อตนเอง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ บุคคลผู้มีความเห็นที่ได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้จะเห็นเหตุการณ์สองอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (คือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ) ว่าเกี่ยวข้องกันเพราะว่าความเชื่อส่วนตัวว่าต้องเกี่ยวข้องกัน เป็นความเอนเอียงที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปรากฏการณ์ฟอเรอร์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการอ่านใจแบบเย็น (cold reading) เป็นสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นเหตุหลักของความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาต.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

การยึดติดหน้าที่

การยึดติดหน้าที่ (functional fixedness) เป็นความลำเอียงการรู้ (cognitive bias) อย่างหนึ่งซึ่งจำกัดบุคคลให้ใช้วัตถุเฉพาะในวิถีที่ใช้กันแต่เดิม มโนทัศน์การยึดติดหน้าที่กำเนิดในจิตวิทยาเกสทัลท์ ขบวนการในวิชาจิตวิทยาซึ่งเน้นการประมวลลัทธิองค์รวม คาร์ล ดุนค์เคอร์นิยามการยึดติดหน้าที่ว่าเป็น "สิ่งขัดขวางจิตต่อการใช้วัตถุในวิถีใหม่ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขปัญหา" ซึ่ง "สิ่งขัดขวาง" นี้จำกัดความสามารถของปัจเจกบุคคลในการใช้องค์ประกอบที่กำหนดให้เพื่อทำงานให้ลุล่วง เพราะไม่สามารถก้าวข้ามความมุ่งหมายดั้งเดิมขององค์ประกอบเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้หนึ่งต้องการที่ทับกระดาษ แต่เขามีเพียงค้อน เขาอาจไม่เห็นว่าค้อนสามารถใช้เป็นที่ทับกระดาษได้อย่างไร การยึดติดหน้าที่เป็นความไร้สามารถเห็นการใช้ค้อนเป็นอื่นนอกเหนือจากตอกตะปูนี้เอง คือ บุคคลไม่สามารถคิดใช้ค้อนในวิถีอื่นนอกจากหน้าที่ดั้งเดิมของมัน เมื่อทดสอบ เด็กวัย 5 ขวบไม่มีสัญญาณของการยึดติดหน้าที่ มีการแย้งว่าเป็นเพราะเมื่ออายุ 5 ขวบ ทุกเป้าหมายที่บรรลุด้วยวัตถุเทียบเท่ากับเป้าหมายอื่นทั้งหมด ทว่า เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เด็กได้รับแนวโน้มถือความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้เดิมของวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ หมวดหมู่:การแก้ปัญหา หมวดหมู่:ความลำเอียงความจำ หมวดหมู่:การรู้.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการยึดติดหน้าที่ · ดูเพิ่มเติม »

การอนุมาน

การอนุมาน (inference) เป็นการคาดคะเนตามหลักเหตุผล ที่แบ่งออกเป็นแบบหลัก ๆ 3 อย่างคือ.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการอนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)

การทดแทนคุณลักษณะ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ attribute ว่า "คุณลักษณะ" และของ substitution ว่า "การทดแทน (กลไกทางจิต)" (Attribute substitution) เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่เชื่อว่า เป็นเหตุของความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) และการแปลสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัสผิด (perceptual illusion) หลายอย่าง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องทำการประเมินคุณลักษณะเป้าหมาย (target attribute) ที่ต้องใช้การคำนวณที่ซับซ้อน แต่กลับใช้คุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งแทนที่ ซึ่งเรียกว่า คุณลักษณะฮิวริสติก (heuristic attribute) ที่สามารถคำนวนได้ง่ายกว่า (เช่น การประเมินความน่าจะเป็นว่าอยู่ในกลุ่ม โดยใช้ความคล้ายคลึงของบุคคลกับกลุ่ม แทนที่จะใช้อัตราพื้นฐานของความน่าจะเป็น) การแทนที่เช่นนี้เชื่อว่าเกิดขึ้นในระบบการประเมินแบบรู้เอง (intuitive) ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่ระบบที่ต้องอาศัยความคิดพิจารณาที่อยู่เหนือสำนึก ดังนั้น เมื่อเราทำความพยายามที่จะตอบปัญหาที่ยาก เราอาจจะกลับไปตอบปัญหาที่ต่างกันแต่เกี่ยวข้องกัน โดยที่ไม่รู้ว่ามีการแทนที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่รู้ถึงความเอนเอียงต่าง ๆ ของตน และทำไมความเอนเอียงยังดำรงอยู่ได้แม้เมื่อมีการบอกให้รู้แล้ว และอธิบายอีกด้วยว่า ทำไมการตัดสินใจของมนุษย์บ่อยครั้งจึงไม่มีลักษณะของการถอยกลับไปสู่ค่าเฉลี่ย (regression toward the mean) ทฤษฎีนี้รวมทฤษฎีต่างหลายอย่างที่อธิบายความผิดพลาดในการคิดหาเหตุผลโดยอธิบายว่า มนุษย์แก้ปัญหาบางอย่างโดยใช้ฮิวริสติกซึ่งเป็นทางลัดในการคิดหาเหตุผล ที่ในบางสถานการณ์ให้คำตอบที่ผิดพลาด ต่อมา ทฤษฎีที่เสนอในปี..

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การครุ่นคิด (จิตวิทยา)

การครุ่นคิด (Rumination) เป็นการใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา ทั้งความครุ่นคิดและความกลุ้มใจ (worry) สัมพันธ์กับความวิตกกังวล (anxiety) และอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ แต่ว่าก็ยังไม่มีวิธีการเดียวที่ตกลงใช้วัดระดับของมัน ตามทฤษฎี Response Styles Theory เสนอในปี 1998 (โดย Nolen-Hoeksema) ความครุ่นคิดนิยามว่าเป็น "การใส่ใจอย่างหมกมุ่นในอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับความทุกข์/ปัญหาของตน และในเหตุและผลที่อาจเป็นไปได้ของความทุกข์ แทนที่จะใส่ใจในวิธีแก้ปัญหา" และเพราะว่าทฤษฎีนี้ได้หลักฐานเชิงประสบการณ์สนับสนุน ดังนั้นจึงเป็นแบบจำลองของความครุ่นคิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ว่าก็ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เสนอนิยามอื่น ยกตัวอย่างเช่น ในทฤษฎี Goal Progress Theory ความครุ่นคิดไม่ใช่เป็นปฏิกิริยาต่อสภาวะของพื้นอารมณ์ แต่เป็น "การตอบสนองต่อความล้มเหลวที่จะก้าวหน้าอย่างน่าพอใจไปยังเป้าหมายอย่างหนึ่ง" บทความนี้แสดงแบบจำลองหลายอย่างของความครุ่นคิดและหมายจะแยก "ความครุ่นคิด" จากแนวคิด/โครงสร้างทางจิตวิทยาอื่น ๆ ที่อาจดูคล้ายกันหรือเหลื่อมกัน.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการครุ่นคิด (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การแปลการพินิจภายในผิด

วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่น้ำขึ้นไปมักจะใช้เพื่อแสดงอุปมาของจิตเหนือสำนึกและจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ส่วนที่โผล่ขึ้นเห็นได้ง่าย (จิตเหนือสำนึก) แต่ว่าเป็นส่วนที่มีรูปร่างขึ้นอยู่กับส่วนที่มองไม่เห็นที่ยิ่งใหญ่กว่า (จิตใต้สำนึก) การแปลการพินิจภายในผิด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" และของ introspection ว่า "การพินิจภายใน" (introspection illusion) เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ที่เราคิดอย่างผิด ๆ ว่า เรามีความเข้าใจโดยประจักษ์ โดยผ่านการพินิจภายใน (introspection) เกี่ยวกับเหตุเกิดของสภาวะจิตใจของเรา ในขณะที่ไม่เชื่อถือการพินิจภายในของผู้อื่น ในบางกรณี การแปลสิ่งเร้าผิดชนิดนี้ ทำให้เราอธิบายพฤติกรรมของตนเองอย่างมั่นใจแต่ผิดพลาด หรือทำให้พยากรณ์สภาวะหรือความรู้สึกทางจิตใจของตนในอนาคตที่ไม่ถูกต้อง มีการตรวจสอบการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ในการทดลองทางจิตวิทยา ซึ่งเสนอการแปลการพินิจภายในผิดว่าเป็นเหตุของความเอนเอียง เมื่อเราเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น มีการตีความผลงานทดลองเหล่านี้ว่า แทนที่จะให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นเหตุของสภาวะจิตใจของตน การพินิจภายในเป็นกระบวนการสร้าง (construction) และอนุมาน (inference) เหตุของสภาวะจิตใจ เหมือนกับที่เราอนุมานสภาพจิตใจของคนอื่นจากพฤติกรรม เมื่อเราถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า การพินิจภายในที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนที่ตรงกับความจริง ผลที่ได้อาจจะเป็นการปรากฏของการแแปลสิ่งเร้าผิดว่าเหนือกว่า (illusory superiority) ผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น เราแต่ละคนจะคิดว่าเรามีความคิดที่เอนเอียงน้อยกว่าผู้อื่น และมีความคิดที่เห็นตามผู้อื่นน้อยกว่าคนอื่น และแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะได้รับรายงานของการพินิจภายในของผู้อื่น ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังจะตัดสินว่า เป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่ถือเอาการพินิจภายในของตนว่า เชื่อถือได้ แม้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ จะให้ความเข้าใจความกระจ่างชัดเกี่ยวกับผลงานวิจัยทางจิตวิทยาบางอย่าง แต่หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจจะบอกได้ว่า การพินิจภายในนั้นเชื่อถือได้ขนาดไหนในสถานการณ์ปกติ การแก้ปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ด้วยการศึกษาเรื่องความเอนเอียง และเรื่องการเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการแปลการพินิจภายในผิด · ดูเพิ่มเติม »

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใส

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใส (illusion of transparency) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะประเมินว่า คนอื่นรู้ถึงความรู้สึกและลักษณะจิตใจของตนมากเกินไป การปรากฏอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความโน้มเอียงที่จะประเมินว่า ตนรู้ถึงความรู้สึกและลักษณะจิตใจของคนอื่นมากเกินไป ซึ่งบางครั้งเรียกในภาษาอังกฤษว่า observer's illusion of transparency (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใสของผู้สังเกตการณ์) ความเอนเอียงทางประชานชนิดนี้ คล้ายกับที่เรียกว่า illusion of asymmetric insight.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและการแปลสิ่งเร้าผิดว่าโปร่งใส · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive biase) เป็นความโน้มเอียงที่จะคิดในรูปแบบที่มีผลเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ จากความมีเหตุผลโดยทั่วไป หรือจากการประเมินการตัดสินใจที่ดี บ่อยครั้งเป็นประเด็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม แม้ว่าความเอนเอียงเหล่านี้จะมีอยู่จริง ๆ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำได้ แต่ก็มักจะมีข้อโต้เถียงว่า ควรจะจัดประเภทหรืออธิบายความเอนเอียงเหล่านี้ได้อย่างไร ความเอนเอียงบางอย่างเป็นกฎการประมวลข้อมูล หรือเป็นทางลัดการประมวลผลที่เรียกว่า ฮิวริสติก ที่สมองใช้เพื่อการประเมินและการตัดสินใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกว่า ความเอนเอียงทางประชาน ความเอนเอียงในการประเมินหรือการตัดสินใจ อาจจะเกิดจากแรงจูงใจ เช่นเมื่อความเชื่อเกิดบิดเบือนเพราะเหตุแห่งการคิดตามความปรารถนา (wishful thinking) ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะอธิบายได้โดยหลักทางประชาน (cognitive หรือที่เรียกว่า cold) หรือโดยหลักทางแรงจูงใจ (motivational หรือเรียกว่า hot) แต่เหตุทั้งสองสามารถเกิดร่วมกัน ยังมีข้อถกเถียงกันอีกด้วยว่า ความเอนเอียงเหล่านี้จัดเป็นความไม่สมเหตุผลโดยส่วนเดียว หรือว่า จริง ๆ มีผลเป็นทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เรามักจะถามคำถามที่ชี้คำตอบที่ต้องการ ที่ดูเหมือนจะเอนเอียงไปเพื่อยืนยันสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ แต่ว่า ปรากฏการณ์ที่บางครั้งเรียกว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เช่นนี้ สามารถมองได้ว่าเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ งานวิจัยในเรื่องความเอนเอียงเหล่านี้ มักจะทำในมนุษย์ แต่ผลที่พบในมนุษย์ บางครั้งก็พบในสัตว์อื่นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราให้ค่าของที่ได้ในปัจจุบันสูงกว่าที่จะได้ในอนาคต ก็พบด้วยในหนู นกพิราบ และลิง.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและรายชื่อความเอนเอียงทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐานโลกยุติธรรม

มมติฐานโลกยุติธรรม (just-world hypothesis, just-world fallacy) เป็นความเอนเอียงทางประชาน หรือเป็นการสมมุติว่า การกระทำของบุคคลหนึ่ง ๆ มีแนวโน้มที่จะนำผลที่ยุติธรรมโดยศีลธรรมและที่เหมาะสมมายังบุคคลนั้น ๆ คือในที่สุดกรรมดีก็จะได้ผลดี และกรรมชั่วก็จะได้ผลชั่ว กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นแนวโน้มที่จะอ้างหรือคาดหวังว่า ผลที่เห็นมีเหตุเนื่องกับพลังจักรวาลที่ปรับโลกให้สมดุลอย่างยุติธรรม ความเชื่อเช่นนี้ทั่วไปส่องถึงความเชื่อเรื่องความยุติธรรมจักรวาล ชะตากรรม ลิขิตของผู้เป็นเจ้า ความสมดุลทางจักรวาล ระเบียบจักรวาล และมีโอกาสสูงที่จะให้ผลเป็นเหตุผลวิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บุคคลให้เหตุผลความเคราะห์ร้ายของผู้อื่นว่า คน ๆ นั้น ๆ "สมควร" จะได้รับผลเช่นนั้น ในภาษาอังกฤษ สมมติฐานเช่นนี้พบได้ในภาพพจน์ต่าง ๆ ที่แสดงนัยรับประกันที่จะได้ผลร้ายคืน เช่น "You got what was coming to you" (คุณได้สิ่งที่ควรจะมาหาคุณ) "What goes around comes around" (อะไรเวียนไปก็ย่อมจะเวียนมา) "chickens come home to roost" (ไก่ย่อมกลับบ้านเพื่อมานอน) และ "You reap what you sow" (คุณเก็บเกี่ยวสิ่งที่คุณหว่าน) เป็นสมมติฐานที่ศึกษากันอย่างกว้างขวางโดยนักจิตวิทยาสังคม เริ่มต้นที่งานทรงอิทธิพลของ.ดร.เลอร์เนอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ตั้งแต่นั้น งานวิจัยก็ได้ดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ โดยตรวจสอบสมรรถภาพการพยากรณ์ของทฤษฎีนี้ในสถานการณ์ต่าง ๆ และในวัฒนธรรมต่าง ๆ ช่วยให้ความเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้นและขยายกว้างออกไป.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและสมมติฐานโลกยุติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง หรือ ความเอนเอียงโดยการคัดเลือก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ selection ว่า "การคัดเลือก, การเลือกสรร, และการเลือกหา" (Selection bias) คือความผิดพลาดทางสถิติ เนื่องมาจากวิธีการเลือกตัวอย่างหรือกลุ่มตัวอย่างในงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่โดยเฉพาะหมายถึงการคัดเลือกบุคคล กลุ่ม หรือข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยที่ไม่มีการสุ่ม (randomization) ที่สมควร และดังนั้นจึงทำให้ตัวอย่างที่ชัก ไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรที่ต้องการจะวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง · ดูเพิ่มเติม »

จุดบอดต่อความเอนเอียง

อดต่อความเอนเอียง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ blind spot ว่า "จุดบอด" (bias blind spot) เป็นความเอนเอียงทางประชาน ที่เรารู้จัก/รู้จำว่า การประเมินตัดสินใจของผู้อื่นมีผลมาจากความเอนเอียง แต่ไม่รู้จัก/รู้จำว่า การประเมินตัดสินใจของเราเองก็มีผลมาจากความเอนเอียงด้วย ชื่อนี้บัญญัต.ญ.ดร.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและจุดบอดต่อความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

วามปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล หรือ การคิดตามความปรารถนา (Wishful thinking) เป็นการตั้งความเชื่อและการตัดสินใจ ตามสิ่งที่เราชอบใจ แทนที่จะตามหลักฐาน เหตุผล หรือความเป็นจริง เป็นผลของการแก้ความขัดแย้งกันระหว่างความเชื่อและความต้องการ งานศึกษาต่าง ๆ แสดงผลเหมือน ๆ กันว่า เมื่อตัวแปรอื่น ๆ เท่ากัน เราจะพยากรณ์ผลที่ดีน่าชอบใจว่า มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าผลร้าย แต่ก็มีงานวิจัยในปี..

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล · ดูเพิ่มเติม »

ความไม่ลงรอยกันทางประชาน

ในสาขาจิตวิทยา ความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance) เป็นความตึงเครียดทางใจ (mental stress) หรือความไม่สบายใจประสบโดยบุคคลที่มีความเชื่อ แนวคิด หรือค่านิยม สองอย่างหรือมากกว่านั้น ที่ขัดแย้งกันในเวลาเดียวกัน หรือว่าได้ข้อมูลใหม่ที่ขัดแย้งกับความเชื่อ แนวคิด หรือค่านิยมที่มีอยู่ ทฤษฎีที่คิดค้น.ดร.ลีออน เฟสติงเกอร์ นี้ พุ่งความสนใจไปที่ความพยายามของมนุษย์ที่จะมีความกลมกลืนกันทางใจ ดังนั้น บุคคลที่ประสบกับความไม่กลมกลืนกัน คือ ความไม่ลงรอยกันทางประชาน มักจะรู้สึกไม่สบายใจ และเกิดแรงจูงใจที่จะลดระดับความไม่ลงรอยกัน และหลีกเลี่ยงทั้งสถานการณ์และข้อมูลที่จะเพิ่มความไม่ลงรอยกันนั้น.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและความไม่ลงรอยกันทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

ความเหนือกว่าเทียม

วามเหนือกว่าเทียม (Illusory superiority) เป็นความเอนเอียงทางประชาน ที่บุคคลประเมินคุณสมบัติหรือความสามารถของตนเทียบกับคนอื่นเกินจริง ซึ่งเห็นได้ชัดในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเชาวน์ปัญญา ความสามารถในการทำงานหรือการสอบ หรือการมีคุณลักษณะหรือลักษณะบุคลิกภาพที่น่าชอบใจ เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (positive illusion) ชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับตนเอง เป็นปรากฏการณ์ที่ศึกษากันในสาขาจิตวิทยาสังคม มีคำภาษาอังกฤษอื่น ๆ ที่หมายถึงคำนี้รวมทั้ง above average effect (ปรากฏการณ์เหนือกว่าโดยเฉลี่ย) superiority bias (ความเอนเอียงว่าเหนือกว่า) leniency error (ความผิดพลาดแบบปรานี) sense of relative superiority (ความรู้สึกว่าเหนือกว่าโดยเปรียบเทียบ) หรือภาษาอังกฤษผสมภาษาละตินว่า primus inter pares effect และ Lake Wobegon effect (ปรากฏการณ์ทะเลสาบโวบีกอน) ซึ่งเป็นทะเลสาบในเมืองนวนิยายที่ ๆ "หญิงทั้งหมดแข็งแรง ชายทุกคนรูปหล่อ และเด็กทั้งปวงเหนือกว่าเด็กธรรมดา" ส่วนคำว่า "illusory superiority" ได้ใช้เป็นครั้งแรกโดยนักจิตวิทยาคู่หนึ่งในปี 1991.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและความเหนือกว่าเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์การวางกรอบ

ปรากฏการณ์การวางกรอบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ framing ว่า "การวางกรอบภาพ" (framing effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่เรามีปฏิกิริยาต่อทางเลือกอย่างหนึ่งโดยต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการแสดงทางเลือกนั้นอย่างไร เช่นโดยเป็นการได้หรือการเสีย (ดูตัวอย่างในการหลีกเลี่ยงการเสีย) คือ เรามักจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการได้ และจะทำการเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการเสีย การได้และการเสียสามารถวางกรอบได้โดยใช้คำแสดงผลต่าง ๆ กัน (เช่น จะมีการเสียชีวิตหรือจะมีการช่วยชีวิต คนไข้จะได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการรักษา) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะคือ Prospect theory แสดงว.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและปรากฏการณ์การวางกรอบ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์

ปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ (Dunning–Kruger effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่บุคคลด้อยความสามารถเกิดความเหนือกว่าเทียม คือ การประเมินความสามารถของตนผิด ๆ สูงเกินจริง ดันนิงและครูเกอร์ว่า ความเอนเอียงนี้มีสาเหตุมาจากความไร้สามารถอภิประชาน (metacognitive incapacity) ในส่วนของผู้ด้อยความสามารถนั้น ที่จะรับรู้การขาดทักษะของพวกตนและประเมินสมรรถนะอย่างแม่นตรง การวิจัยดังกล่าวยังมีอนุนัยว่า บุคคลมากความสามารถอาจประเมินสมรรถนะโดยสัมพัทธ์ของตนต่ำกว่าจริง และอาจสันนิษฐานอย่างผิดพลาดว่างานพวกตนว่าง่ายสำหรับพวกตนจะง่ายสำหรับคนอื่นด้วย หมวดหมู่:ความเอนเอียงทางประชาน.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป

ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป (overconfidence effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานอันมีหลักฐานชัดเจน ที่ความเชื่อมั่นอันเป็นอัตวิสัยคือเป็นความรู้สึกส่วนตัว จะเกินกว่าความเป็นจริงที่เป็นปรวิสัยอย่างคงเส้นคงวา โดยเฉพาะเมื่อความรู้สึกเชื่อมั่นค่อนข้างสูง นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับเทียบความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย ให้ตรงกับความจริงได้ไม่ดี ในวรรณกรรมวิชาการต่าง ๆ ความเชื่อมั่นเกินจะมีนิยาม 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป · ดูเพิ่มเติม »

แดเนียล คาฮ์นะมัน

แดเนียล คาฮ์นะมัน (Daniel Kahneman, דניאל כהנמן เกิด 5 มีนาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักจิตวิทยาชาวอิสราเอล-อเมริกัน ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับงานทางจิตวิทยาเรื่องการประเมินหลักฐานและการตัดสินใจ (judgment and decision-making) และงานทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ซึ่งเขาได้รับรางวัลรางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและแดเนียล คาฮ์นะมัน · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

หราศาสตร์เป็นระบบความเชื่อต่าง ๆ ที่ถือว่า ปรากฏการณ์ในท้องฟ้า (คือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์) สัมพันธ์กับเหตุการณ์และบุคลิกภาพในโลกมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ได้ปฏิเสธโหราศาสตร์เพราะว่า ไม่สามารถอธิบายความเป็นไปในจักรวาลได้จริง มีการทดสอบหลักวิชาโหราศาสตร์ตะวันตกตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว แต่ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่สนับสนุนเหตุหรือผลที่กล่าวไว้ในหลักโหราศาสตร์ต่าง ๆ เมื่อไรก็ตามที่โหราศาสตร์พยากรณ์เหตุการณ์ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ ข้อทำนายเหล่านั้นล้วนแต่ถูกพิสูจน์ว่าเท็จแล้วทั้งสิ้น งานทดสอบที่มีชื่อเสียงที่สุดทำโดยนักฟิสิกส์ ดร.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและโหราศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

รษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) และสาขาที่เกี่ยวข้องกันคือ การเงินพฤติกรรม (behavioral finance) เป็นสาขาวิชาการที่ศึกษ.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติของนักการพนัน

หตุผลวิบัติของนักการพนัน (gambler's fallacy) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล (Monte Carlo fallacy) เป็นความเชื่อผิด ๆ ว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งน้อยลงในอนาคต หรือว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นน้อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดบ่อยขึ้นในอนาคต เพื่อที่จะให้เกิดการสมดุลกัน แต่ว่าถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์สุ่ม คือเป็นการลองตามลำดับที่เป็นอิสระทางสถิติ (statistical independent trial) ของกระบวนการสุ่ม แม้ว่าความเชื่อนี้จะดึงดูดใจ แต่ก็จะไม่เป็นความจริง เหตุผลวิบัตินี้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์จริง ๆ มากมาย แต่มักจะมีการกล่าวถึงในเรื่องของการเล่นการพนัน เพราะเป็นเหตุผลวิบัติที่คนเล่นการพนันมีโดยสามัญ ส่วนคำบัญญัติว่า "เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล" มีกำเนิดมาจากตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเหตุผลวิบัตินี้ ซึ่งเกิดขึ้นในบ่อนกาสิโนมอนตีคาร์โลในปี..

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและเหตุผลวิบัติของนักการพนัน · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน

หตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ base rate ว่า "อัตราพื้นฐาน" และของ fallacy ว่า "เหตุผลวิบัติ" (Base rate fallacy) หรือ การละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate neglect) หรือ ความเอนเอียงโดยอัตราพื้นฐาน (base rate bias) เป็นเหตุผลวิบัติรูปนัย (formal fallacy) ชนิดหนึ่ง ที่เมื่อมีการแสดงทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอัตราพื้นฐานที่อยู่ในประเด็นแต่ว่าเป็นข้อมูลแบบทั่ว ๆ ไป และทั้งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงแต่กับบางกรณีเท่านั้น เรามักจะไม่สนใจข้อมูลทั่วไปแต่จะสนใจแต่ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การประเมินผลที่มีความเอนเอียง.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

Representativeness heuristic

Representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) เป็นฮิวริสติกที่ใช้ประเมินความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หนึ่งเมื่อมีความไม่แน่ใจ เป็นหลักการโดยทั่วไปที่เราตัดสินโอกาสเป็นไปได้ของเหตุการณ์ โดยพิจารณาว่าสมมุติฐานของเรานั้น เหมือนกับข้อมูลที่มีอยู่มากแค่ไหน การประเมินโดยวิธีนี้อาจจะทำให้เราละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate) และ/หรือเกิดความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนเป็นหนึ่งในกลุ่มฮิวริสติก (คือกฎที่ใช้เพื่อทำการประเมินและการตัดสินใจ) ที่เสนอโดยนักจิตวิทยา แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการพรรณนาถึงฮิวริสติกว่าเป็น "ทางลัดในการประเมิน ที่โดยทั่วไปช่วยให้เราไปถึงที่หมายได้ และอย่างรวดเร็ว แต่มีราคาคือบางครั้งส่งเราไปผิดที่" ฮิวริสติกมีประโยชน์เพราะว่าช่วยทำการตัดสินใจให้ง่ายขึ้นและไม่ต้องใช้ทรัพยากรทางสมองมาก คำว่า "ความเป็นตัวแทน" (Representativeness) ในบทความนี้ใช้โดยสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ความเอนเอียงทางประชานและRepresentativeness heuristic · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cognitive bias

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »