โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความส่องสว่างปรากฏ

ดัชนี ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

55 ความสัมพันธ์: บัญชีรายชื่อดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีกระจุกดาวลูกไก่กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัวมหานวดารามหานวดาราประเภท 1เอรายชื่อกระจุกดาวทรงกลมรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏรายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบวี 382 กระดูกงูเรือวี 509 แคสซิโอเปียวงแหวนของดาวเสาร์สามเหลี่ยมฤดูร้อนสติกซ์ (ดาวบริวาร)อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลจันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ของกาลิเลโอดาราจักรแอนดรอมิดาดาวกัปไตน์ดาวยักษ์ใหญ่ดาวฤกษ์ดาวอังคารดาวดวงแก้วดาวคาโนปัสดาวซิริอุสดาวโรหิณีดาวไรเจลดาวเบอร์นาร์ดความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์ความส่องสว่าง (ดาราศาสตร์)ความส่องสว่างสัมบูรณ์ความส่องสว่างของอุปราคาซีรีสแกมมา ซีฟิอัสแมกนิจูดแอมัลเธีย (ดาวบริวาร)แอลฟาคนครึ่งม้าแถบดาวเคราะห์น้อยโมดูลัสของระยะทางโนวาเอชอาร์ 8799 บีเอนเซลาดัสเครื่องฉายดาวเนบิวลาบึ้งเนบิวลาอินทรีเนบิวลาดาวเสาร์เนบิวลาปู10 ไฮเจีย...47 หมีใหญ่51 ม้าบิน61 หญิงสาว บี61 หญิงสาว ดี61 หญิงสาว ซี ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

บัญชีรายชื่อดาวฤกษ์

ัญชีรายชื่อดาวฤกษ์ คือชุดรายชื่อทางดาราศาสตร์ที่รวบรวมชื่อดาวฤกษ์ต่างๆ ในทางดาราศาสตร์แล้ว มีดาวฤกษ์หลายดวงที่ถูกอ้างถึงด้วยชื่อจากบัญชีรายชื่อที่แตกต่างกัน มีบัญชีรายชื่อมากมายที่อาจมีความแตกต่างกันอย่างมากเนื่องจากถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กันด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน บทความนี้จะแสดงเฉพาะบัญชีรายชื่อที่มีการอ้างอิงถึงบ่อยๆ บัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เคยมีการรวบรวมขึ้นโดยชนชาติโบราณมากมาย เช่น ชาวบาบิโลน ชาวกรีก ชาวจีน ชาวเปอร์เซีย และอาหรับ ปัจจุบันนี้มีบัญชีรายชื่อดาวรุ่นใหม่ที่ทันสมัย อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากศูนย์ข้อมูลดาราศาสตร์ขององค์การนาซ.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวลูกไก่

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและกระจุกดาวลูกไก่ · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว

กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว ตำแหน่งดาวในกระจุกดาวกับดาวอัลดิบาแรน กระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว หรือ กระจุกดาวเฮียเดส (Hyades; Ὑάδες; หรือบ้างก็เรียก เมล็อต 25, คอลลินเดอร์ 50 หรือ แคดเวลล์ 41) เป็นกระจุกดาวเปิดที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุด และเป็นหนึ่งในบรรดากระจุกดาวที่เป็นตัวอย่างการศึกษาได้ดีที่สุด กระจุกดาวนี้อยู่ห่างออกไป 151 ปีแสง ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ประมาณ 300 - 400 ดวงเกาะกันเป็นทรงกลมอย่างหยาบๆ ดาวฤกษ์เหล่านี้มีอายุใกล้เคียงกัน จุดกำเนิดเดียวกัน องค์ประกอบทางเคมีเหมือนกัน และมีการเคลื่อนที่ผ่านอวกาศเหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและกระจุกดาวสามเหลี่ยมหน้าวัว · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดารา

ำลองจากศิลปินแสดงให้เห็นมหานวดารา SN 2006gy ที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์จันทราจับภาพได้ อยู่ห่างจากโลก 240 ล้านปีแสง มหานวดารา นิพนธ์ ทรายเพชร, อารี สวัสดี และ บุญรักษา สุนทรธรรม.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและมหานวดารา · ดูเพิ่มเติม »

มหานวดาราประเภท 1เอ

accessdate.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและมหานวดาราประเภท 1เอ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกระจุกดาวทรงกลม

รายชื่อต่อไปนี้คือ รายชื่อกระจุกดาวทรงกลม.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและรายชื่อกระจุกดาวทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย

วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย เป็นกลุ่มของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีการจัดหมวดหมู่ขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ชาร์ล เมซีเย ในผลงานชุด "Catalogue des Nébuleuses et des Amas d'Étoiles" (รายการเนบิวลาและกระจุกดาว) ซึ่งเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1771 ฉบับแก้ไขครั้งล่าสุด (จากผลสังเกตการณ์ของเมซีเย) จัดทำในปี ค.ศ. 1966 ที่มาของการจัดทำรายการวัตถุท้องฟ้านี้ เนื่องจากเมซีเยเป็นนักล่าดาวหาง และมีความสับสนกับวัตถุท้องฟ้าบางอย่างที่ดูคล้ายดาวหางแต่ไม่ใช่ดาวหาง เขาจึงจัดทำรายการวัตถุท้องฟ้าขึ้น รายการวัตถุท้องฟ้าของเมซีเยเป็นหนึ่งในบรรดารายชื่อทางดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด วัตถุท้องฟ้าของเมซีเยหลายรายการยังถูกเรียกด้วยชื่อรหัสเมซีเยอยู่จนถึงปัจจุบัน รายการวัตถุชุดแรกมี 45 รายการ ตั้งแต่หมายเลข M1 ถึง M45 ส่วนชุดสุดท้ายที่พิมพ์เผยแพร่โดยเมซีเย มี 103 รายการ ต่อมามีการเพิ่มรายการเข้าไปโดยนักดาราศาสตร์คนอื่นจนกระทั่งชุดล่าสุดมี 110 รายการ.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ

วฤกษ์สว่างที่สุด จัดว่าเป็นดาวฤกษ์สว่างเนื่องจากมีความส่องสว่างมาก และ/หรือ มันอยู่ใกล้โลกมาก รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อดาวฤกษ์เดี่ยว 91 ดวงที่สว่างที่สุดเมื่อมองจากโลก ภายใต้การสังเกตคลื่นที่ตามองเห็น (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50) หากนับความสว่างที่ต่ำลงกว่านี้จะได้รายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก แผนภาพท้องฟ้าโดยมากจัดทำโดยนับรวมดาวฤกษ์ที่มีค่าความส่องสว่างปรากฏถึง +11 ในคลื่นที่ตามองเห็น การสำรวจอย่างต่อเนื่องทำให้เราบันทึกรายชื่อดาวฤกษ์ที่มีความสว่างน้อยลงได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ วัตถุท้องฟ้าที่มิใช่ดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของเราที่มีความสว่างสูงสุด คือน้อยกว่าหรือเท่ากับ +2.50 ได้แก่ ดวงจันทร์ (ความสว่าง -12.9) ดาวศุกร์ (ความสว่าง -4.6) ดาวพฤหัสบดี (ความสว่าง -2.9) ดาวอังคาร (ความสว่าง -2.9) ดาวพุธ (ความสว่าง -1.9) และดาวเสาร์ (ความสว่าง -0.2).

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและรายชื่อดาวฤกษ์เรียงตามโชติมาตรปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ

การจับเวลาพัลซาร.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและรายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วี 382 กระดูกงูเรือ

วี 382 กระดูกงูเรือ (V382 Carinae) หรือเอกซ์กระดูกงูเรือ (x Carinae) เป็นดาวแปรแสงในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ วี 382 กระดูกงูเรือเป็นดาวไฮเปอร์ไจแอนท์สีเหลืองสเปกตรัมจี มีความส่องสว่างปรากฏ +3.93 ดาวดวงนี้อยู่ 5930.90 ปีแสง จากโลกของเรา มันถูกจัดประเภทเป็นดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิดและความส่องสว่างปรากฏของแปรผันระหว่าง +3.84 ถึง +4.02 และใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 747 เท่า หมวดหมู่:ดาวแปรแสง หมวดหมู่:ดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด หมวดหมู่:กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและวี 382 กระดูกงูเรือ · ดูเพิ่มเติม »

วี 509 แคสซิโอเปีย

วี 509 แคสซิโอเปีย (V509 Cassiopeiae) เป็นดาวไฮเปอร์ไจแอนท์สีเหลืองที่อยู่ห่างจาก 7,800 ปีแสงในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย มันถูกจัดประเภทเป็นดาวแปรแสงกึ่งปกติและความส่องสว่างปรากฏของแปรผันระหว่าง +4.75 ถึง +5.5.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและวี 509 แคสซิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนของดาวเสาร์

ราสดาวเสาร์บังดวงอาทิตย์ จากยานคาสสินี-ไฮเกนส์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2006 ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีระบบวงแหวนดาวเคราะห์ขนาดใหญ่มากกว่าดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจำนวนมากนับไม่ถ้วน ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตรไปจนถึงหลายเมตร กระจุกตัวรวมกันอยู่และโคจรไปรอบๆ ดาวเสาร์ อนุภาคในวงแหวนส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีบางส่วนที่เป็นฝุ่นและสสารอื่น วงแหวนของดาวเสาร์ช่วยสะท้อนแสง ทำให้มองเห็นความสว่างของดาวเสาร์เพิ่มมากขึ้น แต่เราไม่สามารถมองเห็นวงแหวนเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า ในปี..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและวงแหวนของดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สามเหลี่ยมฤดูร้อน

มเหลี่ยมฤดูร้อน สามเหลี่ยมฤดูร้อน เป็นแนวเส้นสมมุติบนท้องฟ้าซีกโลกเหนือที่ดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม เชื่อมต่อระหว่างดาวสามดวงคือ ดาวดวงตานกอินทรี ดาวเดเน็บ และดาวเวกา ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวนกอินทรี กลุ่มดาวหงส์ และกลุ่มดาวพิณ ตามลำดับ คำนี้เป็นที่นิยมขึ้นมาเนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ เซอร์แพทริก มัวร์ ในราวคริสต์ทศวรรษ 1950 แม้เขาจะไม่ได้เป็นคนคิดขึ้นก็ตาม ผู้ตั้งชื่อเป็นนักดาราศาสตร์ชาวออสเตรียคือ ออสวัลด์ โทมัส เรียกดาวสามดวงนี้ว่า "Grosses Dreieck" (หมายถึง สามเหลี่ยมใหญ่) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ต่อมาในปี 1934 เขาเรียกมันว่า "Sommerliches Dreieck" (หมายถึง สามเหลี่ยมฤดูร้อน) ก่อนหน้านั้นในปี..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและสามเหลี่ยมฤดูร้อน · ดูเพิ่มเติม »

สติกซ์ (ดาวบริวาร)

ติกซ์ (Styx) เดิมชื่อ S/2012 (134340) 1 หรือ P5 เป็นดาวบริวารขนาดเล็กของดาวพลูโต ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 นับเป็นดวงจันทร์ดวงที่ 5 ของดาวพลูโตเท่าที่มีการค้นพบจนถึงปัจจุบัน ถัดจากการค้นพบดวงจันทร์ดวงที่สี่ของดาวพลูโต (ชื่อว่า เคอร์เบอรอส) ประมาณหนึ่งปี โดยดวงจันทร์ดวงนี้ถูกตรวจพบจากชุดภาพถ่ายจำนวน 9 ชุดจากกล้องถ่ายภาพสนามกว้าง 3 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ภาพทั้ง 9 ชุดดังกล่าว ถ่ายในเดือนมิถุนายน วันที่ 26 27 29 และเดือนกรกฎาคม วันที่ 7 และ 9..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและสติกซ์ (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล (Hubble Ultra Deep Field) คือ ภาพถ่ายพื้นที่เล็กๆในกลุ่มดาวเตาหลอมจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2003 จนถึงวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2004 เป็นภาพถ่ายคลื่นที่ตามองเห็นของจักรวาลที่อยู่ลึกที่สุดเท่าที่เคยมีมา ภาพถ่ายนี้ประกอบด้วยกาแล็กซีประมาณ 10,000 กาแล็กซี เมื่อมองดูจากโลกแล้วภาพถ่ายนี้จะมีขนาดประมาณ 1 ใน 10 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ แม้ว่ากาแล็กซีส่วนใหญ่ในภาพนี้จะสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกที่มีความสามารถในการถ่ายคลื่นอินฟราเรด แต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลก็เป็นอุปกรณ์เพียงตัวเดียวที่สามารถถ่ายภาพคลื่นที่ตามองเห็นของกาแล็กซีเหล่านี้ได้ กาแล็กซีเหล่านี้อยู่ในครึ่งทรงกลมใต้ของกลุ่มดาวเตาหลอม ที่ไรต์แอสเซนชัน 3 ชั่วโมง 32 นาที 40.0 วินาที เดคลิเนชัน -27° 47' 29" ครอบคลุมพื้นที่ 36.7 ตารางลิปดา มุมบนซ้ายของภาพชี้ไปยังทิศเหนือ (-46.4°) ของทรงกลมฟ้า ดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงกลางภาพคือ USNO-A2.0 0600-01400432 มีความส่องสว่างปรากฏ 18.95 การถ่ายภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลต้องใช้ปริมาณการรับแสงถึง 800 หน่วย โดยกินเวลาถึง 400 รอบการโคจรของกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

จันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558

ันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ถึง 28 กันยายน..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและจันทรุปราคา กันยายน พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

แกนิมีด คัลลิสโต ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) คือดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอีช่วงเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดวงจันทร์ของกาลิเลโอ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรแอนดรอมิดา

ราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรแอนดรอมิดา (Andromeda Galaxy; หรือที่รู้จักในชื่ออื่นคือ เมสสิเยร์ 31 เอ็ม 31 หรือ เอ็นจีซี 224 บางครั้งในตำราเก่า ๆ จะเรียกว่า เนบิวลาแอนดรอมิดาใหญ่) เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย ที่อยู่ห่างจากเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ถือเป็นดาราจักรแบบกังหันที่อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วยดาราจักรแอนดรอมิดา ดาราจักรทางช้างเผือก ดาราจักรสามเหลี่ยม และดาราจักรขนาดเล็กอื่น ๆ อีกกว่า 30 แห่ง แม้แอนดรอมิดาจะเป็นดาราจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ดาราจักรที่มีมวลมากที่สุด จากการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรทางช้างเผือกมีสสารมืดมากกว่าและน่าจะเป็นดาราจักรที่มีมวลมากที่สุดในกลุ่ม ถึงกระนั้น จากการสังเกตการณ์โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าดาวฤกษ์ในดาราจักรของเรา ผลการคำนวณเมื่อปี 2006 ประมาณการว่า มวลของดาราจักรทางช้างเผือกน่าจะมีประมาณ 80% ของดาราจักรแอนดรอมิดา คือประมาณ 7.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรแอนดรอมิดามีระดับความสว่างที่ 4.4 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัตถุเมสสิเยร์ที่สว่างที่สุดชิ้นหนึ่ง และสามารถมองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะในอากาศอยู่บ้าง หากไม่ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วย อาจมองเห็นดาราจักรเป็นดวงเล็ก ๆ เพราะสามารถมองเห็นได้เพียงส่วนสว่างที่สุดซึ่งเป็นศูนย์กลาง แต่เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมทั้งหมดของดาราจักรกินอาณาบริเวณกว้างถึง 7 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว ทั้งนี้ ดาราจักรแอนดรอมิดาและดาราจักรทางช้างเผือกคาดว่าจะปะทะและรวมกันเป็นดาราจักรรี (elliptical galaxy) ขนาดใหญ่ ในอีก 3.75 พันล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาราจักรแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

ดาวกัปไตน์

วกัปไตน์ เป็นดาวฤกษ์แคระแดงคลาส M1 อยู่ห่างกลุ่มดาวขาตั้งภาพไปทางตอนใต้ประมาณ 13 ล้านปีแสงจากโลก มีความส่องสว่างปรากฏที่ระดับ 9 สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวกัปไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวยักษ์ใหญ่

วยักษ์ใหญ่ (Supergiants) เป็นหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์มวลมากที่สุด ถ้าพิจารณาจากไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์ ดาวยักษ์ใหญ่จะอยู่บริเวณด้านบนของแผนภูมิ จากการจัดประเภทสเปกตรัมของ Yerkes ดาวยักษ์ใหญ่จัดอยู่ในประเภท Ia สำหรับดาวยักษ์ใหญ่ที่สว่างมาก หรือ Ib สำหรับดาวยักษ์ใหญ่ที่สว่างน้อย มีค่าความส่องสว่างปรากฏอยู่ระหว่าง -5 ถึง -12 โดยมากดาวยักษ์ใหญ่ที่สว่างที่สุดจะถูกจัดประเภทเป็น hypergiant ระดับ 0.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวยักษ์ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวดวงแก้ว

|- bgcolor.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวดวงแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ดาวคาโนปัส

--> ดาวคาโนปัส (Canopus) เป็นดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ เป็นดาวที่มีความสว่างปรากฏเป็นอันดับ 2 รองจากดาวซีรีอุสหรือดาวโจร อยู่ห่างจากโลก 312.73 ปีแสง.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวคาโนปัส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวซิริอุส

วซิริอุส (Sirius) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในภาษาไทยว่า ดาวโจร เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าระดับความสว่างอยู่ที่ -1.47 ซึ่งสว่างเกือบเป็นสองเท่าของดาวคาโนปุส ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสอง ชื่อ ซิริอุส มาจากภาษากรีกโบราณว่า "เซริออส" (Σείριος) มีชื่อตามระบบไบเยอร์ว่า อัลฟา คานิส เมเจอริส (α Canis Majoris หรือ α CMa) ความจริงดาวที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดาวดวงเดียวนั้นเป็นระบบดาวคู่ ประกอบด้วยดาวสีขาวในลำดับหลัก (Main Sequence) ประเภท A1V ชื่อว่า ซิริอุส เอ (Sirius A) กับดาวแคระขาวสีจาง ๆ ในประเภท DA2 ชื่อว่า ซิริอุส บี (Sirius B) การที่ดาวซิริอุสเป็นดาวที่สว่างที่สุด นอกจากความสามารถในการส่องสว่างของมันเองแล้ว มันยังอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของเรามาก คือห่างไปเพียง 2.6 พาร์เซก (ประมาณ 8.6 ปีแสง) ระบบดาวซิริอุสถือว่าเป็นระบบดาวเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ดาวซิริอุสเอมีมวลประมาณ 2 เท่าของดวงอาทิตย์ และมีค่าความสว่างสัมบูรณ์ เท่ากับ 1.42 หรือคิดเป็น 25 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์Liebert, J.; Young, P. A.; Arnett, D.; Holberg, J. B.; Williams, K. A. (2005).

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวซิริอุส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวโรหิณี

วอัลดิบาแรน (Aldebaran; ชื่ออื่น: α Tau, α Tauri, Alpha Tauri) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาววัว และเป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืน เนื่องจากตำแหน่งของดาวอยู่บริเวณส่วนหัวของกลุ่มดาว ในอดีตจึงมีที่เรียกชื่อดาวนี้ว่า ดาวตาวัว ดาวอัลดิบาแรนเป็นดาวที่มีความสว่างมากที่สุดในบริเวณกระจุกดาวไฮดีส (Hyades) ซึ่งเป็นกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ยานอวกาศไพโอเนียร์ 10 ขององค์การนาซาที่เดินทางผ่านดาวพฤหัสบดีเมื่อปี ค.ศ. 1973 จะเดินทางไปถึงผ่านดาวอัลดิบาแรนในประมาณอีก 2 ล้านปีข้างหน้.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวโรหิณี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวไรเจล

วไรเจล (Rigel; ชื่ออื่น: β Ori / β Orionis / Beta Orionis) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนายพราน และเป็นดาวสว่างที่สุดลำดับที่ 6 บนท้องฟ้า มีค่าความสว่างเท่ากับ 0.18 แม้ตามการจัดระดับดาวของเบเยอร์มันจะได้รหัสว่า เบต้าโอไรออน แต่กลับมีความสว่างมากกว่าดาวอัลฟาโอไรออน (ดาวบีเทลจุส) เสียอีก.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวไรเจล · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเบอร์นาร์ด

วเบอร์นาร์ด (Barnard's Star) เป็นดาวแคระแดงมวลต่ำมาก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 6 ปีแสงในกลุ่มดาวคนแบกงู เอ็ดเวิร์ด อีเมอร์สัน เบอร์นาร์ด นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้ตรวจวัดการเคลื่อนที่เฉพาะของดาวนี้ได้ค่าเป็น 10.3 พิลิปดาต่อปี เป็นดาวที่มีการเคลื่อนที่เฉพาะเทียบกับดวงอาทิตย์มากที่สุดกว่าดาวฤกษ์ดวงใด นอกจากนี้ดาวเบอร์นาร์ดยังเป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวในกลุ่มดาวคนแบกงูที่อยู๋ใกล้ที่สุดภายในระยะ 1.8 พาร์เซ็กหรือ 6 ปีแสง และเป็นระบบดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นลำดับที่สอง และเป็นดาวฤกษ์เดี่ยวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเป็นลำดับที่สี่ (สามอันดับแรกคือดาวฤกษ์ในระบบดาว อัลฟาคนยิงธนู) ดาวเบอร์นาร์ดมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 9 จึงจางแสงมากจนไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะสามารถมองเห็นได้สว่างชัดเจนขึ้นในคลื่นอินฟราเร.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและดาวเบอร์นาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์

วามสัมพันธ์ของทัลลี・ฟิชเชอร์ (Tully-Fisher relation) ถูกเสนอโดยริชาร์ด เบรนต์ ทัลลี (Richard Brent Tully) และเจมส์ ริชาร์ด ฟิชเชอร์ (James Richard Fisher) ในปี 1977 กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังส่องสว่างกับความเร็วในการหมุนรอบใจกลางของดาราจักรชนิดก้นหอย ความสัมพันธ์นี้เป็นลักษณะเชิงประจักษ์ นั่นคือได้จากการสังเกตการณ์เทียบค่า กำลังส่องสว่างคือพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาต่อเวลา หากรู้ว่าดาราจักรนั้นอยู่ห่างจากโลกแค่ไหนแล้วก็สามารถคำนวณได้จากโชติมาตรปรากฏ ส่วนค่าความเร็วนั้นสามารถคำนวณได้จากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ ความสัมพันธ์ของทั้งความสว่างและความเร็วนั้นเป็นฟังก์ชันของความยาวคลื่น โดยเมื่อดูคร่าวๆแล้วความสว่างจะแปรผันตรงกับความเร็วยกกำลัง 4 ความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์ของดาราจักรชนิดก้นหอยและดาราจักรรูปเลนส์ หากอาศัยความสัมพันธ์นี้ แม้แต่ในดาราจักรที่วัดโชติมาตรสัมบูรณ์ได้ยากก็สามารถคำนวณเอาจากความเร็วได้ไม่ยาก โดยอาศัยความสัมพันธ์ที่ว่ากำลังส่องสว่างสัมพัทธ์จะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางถึงวัตถุท้องฟ้า การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ภายในดาราจักรเกิดจากแรงโน้มถ่วง ดังนั้นแล้วความเร็วในการหมุนรอบดาราจักรจึงขึ้นกับมวลของดาราจักรเอง ความสัมพันธ์นี้ไม่สามารถใช้ได้กับดาราจักรรี แต่สำหรับดาราจักรรีเองก็มีความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ในลักษณะทำนองเดียวกันอยู่ นั่นคือความสัมพันธ์ของเฟเบอร์-แจ็กสัน มีคนเสนอว่าความสัมพันธ์ที่ได้จากการวัดโดยที่ยังไม่เข้าใจสาเหตุแน่ชัดนี้อาจสามารถอธิบายได้ด้วยพลศาสตร์นิวตันแบบปรับปรุงใหม่ (MOND).

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและความสัมพันธ์ของทัลลี-ฟิชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่าง (ดาราศาสตร์)

วามส่องสว่าง (Magnitude) คือค่าแสดงอันดับความสว่างของดาวในทางดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นการวัดค่าแบบลอกการิทึม โดยตรวจวัดได้จากความยาวคลื่นเฉพาะ โดยมากมักตรวจวัดในความยาวคลื่นที่ตามองเห็นหรือคลื่นใกล้อินฟราเรด การระบุค่าความส่องสว่างทำได้สองวิธีคือ.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและความส่องสว่าง (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างสัมบูรณ์

วามส่องสว่างสัมบูรณ์ (Absolute magnitude,M) เป็นการวัดความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ โดยจินตนาการให้ดาวฤกษ์นั้นอยู่ที่ระยะห่างจากโลกออกไป 10 พาร์เซก หรือ 32.616 ปีแสง โดยดาวที่ห่างไปจากโลก 10 พาร์เซก จะมีมุมแพรัลแลกซ์ เป็น 0.1 พิลิปดา การวัดความสว่างของดาวฤกษ์อีกแบบคือความส่องสว่างปรากฏซึ่งเป็นการวัดความสว่างของดาวบนท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก อย่างไรก็ตามแม้ความส่องสว่างปรากฏจะสามารถบอกอันดับความสว่างของดาวได้ แต่ก็ไม่สามารถบอกกำลังส่องสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นความสว่างยามค่ำคืนน้อยกว่า แท้จริงแล้วอาจมีกำลังส่องสว่างมากกว่าดาวที่ปรากฏสุกใสอยู่บนท้องฟ้าได้ ซึ่งเป็นเพราะดาวนั้นอยู่ไกลจากโลกออกไปมากนั่นเอง ค่าของความส่องสว่างสัมบูรณ์มีลักษณะเหมือนกับความส่องสว่างปรากฏ คือ ดวงดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 5 อันดับ จะมีความสว่างต่างกัน 100 เท่า คือ ดวงดาวที่มีความส่องสว่างสัมบูรณ์ต่างกัน 1 ความส่องสว่าง จะมีความสว่างต่างกัน \sqrt\approx 2.512 เท.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและความส่องสว่างสัมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างของอุปราคา

วามส่องสว่างของอุปราคา คือ เศษส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวคราส ทั้งสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ระหว่างอุปราคาบางส่วนและวงแหวน ค่าความส่องสว่างของอุปราคาจะอยู่ระหว่าง 0.0 ถึง 1.0 ขณะที่ระหว่างอุปราคาเต็มดวง ค่าความส่องสว่างจะอยู่ที่อย่างน้อยที่สุด 1.0 เสมอ โดยหลักการ ความส่องสว่างคือการคำนวณดังต่อไปนี้: วาดเส้นตรงระหว่างศูนย์กลางของตัวอุปราคาและตัวคราส (หรือ เงา) ตรวจดูว่าเศษส่วนของเส้นภายในตัวอุปราคาที่อยู่ในอุปราคามีขนาดใหญ่เท่าไร; นี่คือความส่องสว่างแบบเรขาคณิตของอุปราคา ถ้าตัวอุปราคาเป็นแบบเต็มดวง สามารถยืดเส้นนี้ออกไปในหนึ่งทิศทางให้ใกล้ขอบของตัวคราส (หรือ เงา) ที่สุดได้ และจะได้ความส่องสว่างแบบเรขาคณิตมากกว่า 1.0 ถ้านั้นไม่ใช่อุปราคา แต่เป็น สถานการณ์หวุดหวิด สามารถยืดเส้นไปทางใกล้ขอบของตัวคราส (หรือ เงา) ที่สุดได้ รวมถึงระยะทางนี้จะเป็นค่าลบ และจะได้ความส่องสว่างแบบเรขาคณิตเป็นลบ การวัดนี้ไม่ควรสับสนกับการคลุมเครือของอุปราคา สิ่งนี้คือเศษส่วนของตัวอุปราคาถูกบดบังโดยตัวคราส ในทางตรงกันข้ามความส่องสว่างของอุปราคา คือ อัตราของเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างแท้จริง.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและความส่องสว่างของอุปราคา · ดูเพิ่มเติม »

ซีรีส

ซีรีส หรือ เซเรส (Ceres) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า 1 ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดและเป็นดาวเคราะห์แคระดวงเดียวในระบบสุริยะชั้นใน เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่ถูกค้นพบ โดยจูเซปเป ปีอาซซี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและซีรีส · ดูเพิ่มเติม »

แกมมา ซีฟิอัส

แกมมาเซเฟย์ (Gamma Cephei; γ Cep / γ Cephei) หรือชื่อสามัญเรียกว่า Errai, Er Rai, หรือ Alrai เป็นระบบดาวคู่ในกลุ่มดาวซีฟิอัส ห่างจากโลกราว 45 ปีแสง มีความส่องสว่างปรากฏ 3.22 ส่วนที่มองเห็นได้ของระบบดาวนี้จัดอยู่ในสเปกตรัม K1III-IV คือดาวฤกษ์ยักษ์สีส้มที่เริ่มหลุดพ้นออกจากแถบลำดับหลัก เชื่อว่าปัจจุบันดาวนี้มีอายุ 6,600 ล้านปี (อ้างตามค่าความเป็นโลหะ) ดาวแกมมาเซเฟย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อยู่ถัดจากดาวเหนือที่บริเวณขั้วโลกเหนือ มันจะเคลื่อนไปอยู่ใกล้กับขั้วโลกมากกว่าดาวเหนือภายในปี..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและแกมมา ซีฟิอัส · ดูเพิ่มเติม »

แมกนิจูด

แมกนิจูด หรือ ความส่องสว่าง (magnitude) เป็นมาตราวัดระดับ อาจหมายถึง; แผ่นดินไหว.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและแมกนิจูด · ดูเพิ่มเติม »

แอมัลเธีย (ดาวบริวาร)

แอมัลเธีย (Amalthea, Αμάλθεια) บ้างเรียก เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี มีระยะทางห่างจากดาวแม่เป็นอันดับที่ 3 ค้นพบเมื่อวันที่ 9 กันยายน..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและแอมัลเธีย (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟาคนครึ่งม้า

ที่ตั้งของแอลฟาคนครึ่งม้า A และ B แอลฟาคนครึ่งม้า (α-Centauri) หรือ ไรจิลเคนทอรัส (Rigil Kentaurus) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนครึ่งม้าทางใต้ แม้จะมองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นวัตถุเดียว แต่แท้จริงแล้ว แอลฟาคนครึ่งม้าเป็นระบบดาวคู่ (ชื่อ แอลฟาคนครึ่งม้า AB) มีโชติมาตรปรากฏ -0.27 ทำให้เป็นดาวฤกษ์เดี่ยวที่สว่างที่สุดอันดับ 3 ในท้องฟ้ากลางคืน รองจากดาวซิริอุสและดาวคาโนป.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและแอลฟาคนครึ่งม้า · ดูเพิ่มเติม »

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002).

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและแถบดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โมดูลัสของระยะทาง

มดูลัสของระยะทาง เป็นหนึ่งในวิธีการบอกระยะทางในทางดาราศาสตร.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและโมดูลัสของระยะทาง · ดูเพิ่มเติม »

โนวา

ึงไฮโดรเจนจากคู่ของมัน โนวา (Nova) คือการระเบิดของนิวเคลียร์อย่างรุนแรงที่เกิดจากการสะสมมวลของไฮโดรเจนสู่พื้นผิวของดาวแคระขาว ซึ่งทำให้เกิดการจุดระเบิดและเกิดนิวเคลียร์ฟิวชั่นในภาวะความร้อนเฉียบพลัน โปรดอย่าสับสนกับซูเปอร์โนวา ("มหานวดารา") หรือโนวาเปล่งแสงแดง.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและโนวา · ดูเพิ่มเติม »

เอชอาร์ 8799 บี

อชอาร์ 8799 บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ห่างจากโลกประมาณ 129 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวม้าบิน วงโคจรที่ 6 ของความส่องสว่างปรากฏ ของดาวฤกษ์เลมบ์ดา คนเลี้ยงสัตว์ คือเอชอาร์ 8799 มีมวลระหว่าง 4 และ 7 มวลดาวพฤหัสบดีและรัศมีจาก 10 ถึง 30% มีขนาดใหญ่กว่าของดาวพฤหัสบดี มันโคจรใน 68 AU จากดาวเอชอาร์ 8799 หรือ 7 AU ภายในขอบด้านในของแผ่นฝุ่นวงโคจรรอบดาว โดยมีค่า eccentricity ที่ไม่ทราบและระยะเวลา 460 ปี และเป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันด้านนอกสุดในระบบดาวเคราะห์เอชอาร์ 8799 พร้อมกับสองดาวเคราะห์ดวงอื่นที่โคจรรอบดาวเอชอาร์ 8799 ดาวเคราะห์ดวงนี้ค้นพบเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โดย Marois et al โดยใช้หอดูดาวเคก และหอดูดาวเมถุน ในฮาวาย ดาวเคราะห์เหล่านี้ถูกค้นพบโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพโดยตรง.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและเอชอาร์ 8799 บี · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องฉายดาว

รื่องฉายดาว Zeiss Universarium Mark IX เครื่องฉายดาว (planetarium projector หรือ star projector) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ฉายภาพวัตถุท้องฟ้าภายในโดมท้องฟ้าจำลอง เครื่องฉายดาวแบบสมัยใหม่ถูกสร้างเป็นครั้งแรกในช่วงปี..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและเครื่องฉายดาว · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาบึ้ง

นบิวลาบึ้ง หรือ เนบิวลาทารันทูลา (Tarantula Nebula; หรือรู้จักในชื่อ 30 โดราดัส หรือ NGC 2070) เป็นบริเวณเอช 2 ที่อยู่ในเมฆแมเจลแลนใหญ่ เดิมเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ จวบกระทั่ง พ.ศ. 2294 นิโคลาส์ หลุยส์ เดอ ลาซายล์ จึงตรวจพบว่ามันมีลักษณะโดยธรรมชาติเป็นแบบเนบิวลา เนบิวลาบึ้งมีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ 8 เมื่อคำนึงถึงระยะห่างของมันที่อยู่ห่างออกไปถึง 180,000 ปีแสง ถือได้ว่าเป็นวัตถุที่มีความสว่างสูงมาก มันส่องสว่างมากเสียจนถ้าหากมันอยู่ใกล้โลกในระยะเดียวกับเนบิวลานายพราน ก็อาจทำให้เกิดเงาแสงขึ้นได้ทีเดียว เนบิวลาบึ้งเป็นย่านดาวระเบิดที่มีกระบวนการสูงที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มดาราจักรท้องถิ่น มันยังเป็นย่านที่ใหญ่ที่สุดและมีการกำเนิดดาวมากที่สุดในกลุ่มท้องถิ่นโดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณถึง 200 พาร์เซก ที่ใจกลางของมันเป็นกระจุกดาวที่เล็กมากแต่หนาแน่นมาก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 พาร์เซก) คือกระจุกดาว R136a อันเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานมหาศาลที่ทำให้เนบิวลานี้สว่างไสว ซูเปอร์โนวาที่ใกล้ที่สุดเท่าที่ตรวจพบหลังจากการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ คือ ซูเปอร์โนวา 1987A ก็เกิดขึ้นที่บริเวณขอบของเนบิวลาบึ้งแห่งนี้.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและเนบิวลาบึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาอินทรี

นบิวลาอินทรี (Eagle Nebula; หรือวัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์หมายเลข 16; M16; หรือ NGC 6611) เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและเนบิวลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาดาวเสาร์

นบิวลาดาวเสาร์ (Saturn Nebula) หรือรู้จักกันดีในชื่อ NGC 7009 หรือ เคาด์เวลล์ 55 เป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำมันปรากฏเป็นสีเขียวเหลืองในกล้องโทรทรรศน์มือสมัครเล่นเล็ก ต้นพบโดย วิลเลียม เฮอร์เชล ในวันที่ 7 กันยายน..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและเนบิวลาดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนบิวลาปู

นบิวลาปู (บัญชีการตั้งชื่อ M1, NGC 1952 หรือ Taurus A) เป็นซากซูเปอร์โนวาและเนบิวลาลมพัลซาร์ในกลุ่มดาววัว เนบิวลานี้ได้รับการสังเกตโดยจอห์น เบวิส ในปี..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและเนบิวลาปู · ดูเพิ่มเติม »

10 ไฮเจีย

10 ไฮเจีย (‘Υγιεία; Hygiea) เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งในแถบดาวเคราะห์น้อย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวรีประมาณ 350 - 500 กิโลเมตร และมีมวลคิดเป็นประมาณ 2.9% ของมวลรวมทั้งหมดของดาวเคราะห์น้อยในแถบหลัก ถือเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่สี่ทั้งโดยปริมาตรและมวล รวมถึงเป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับกลุ่มดาวเคราะห์น้อยมืด (คือ ดาวเคราะห์น้อยประเภท C) ซึ่งมีส่วนประกอบคาร์บอนอยู่บนพื้นผิวค่อนข้างมาก แม้ไฮเจียจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ด้วยพื้นผิวที่ค่อนข้างมืดและยังอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก จึงปรากฏให้โลกเห็นเพียงริบหรี่ ดาวเคราะห์น้อยอื่นที่มีขนาดเล็กกว่าจึงถูกค้นพบก่อนที่ แอนนาเบล เดอ แกสปารีส จะค้นพบไฮเจียเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1849 ไฮเจียมีค่าความส่องสว่างปรากฏต่ำกว่าเวสต้าถึง 4 เท่า และต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 100 มม.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและ10 ไฮเจีย · ดูเพิ่มเติม »

47 หมีใหญ่

47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris ย่อเป็น 47 UMa) หรือชื่อว่าชาละวัน เป็นดาวแคระเหลืองอยู่ห่างจากโลกประมาณ 46 ปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ในปี 2554 เชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบสามดวง (ชื่อ 47 หมีใหญ่ บี ซีและดี ซึ่งสองดวงแรกได้ชื่อว่าตะเภาทองและตะเภาแก้ว) โคจรรอบดาวฤกษ์นี้ 47 หมีใหญ่ตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับระบบสุริยะ จากข้อมูลของการวัดวิชาการวัดตำแหน่งดาวโดยดาวเทียมวัดตำแหน่งดาวฮิปพาร์คอส ดาวนี้มีพารัลแลกซ์ 71.11 มิลลิอาร์กวินาที สอดคล้องกับระยะทาง 45.913 ปีแสง ดาวนี้มีความส่องสว่างปรากฏ +5.03 ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมีความส่องสว่างสัมบูรณ์ +4.29 หมายความว่า ความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 60% ดาวนี้เป็นแฝดดวงอาทิตย์ (solar analog) ด้วยชนิดสเปกตรัม G1V มีมวลพอ ๆ กับดวงอาทิตย์แต่ร้อนกว่าประมาณ 5,882 K และเป็นโลหะมากกว่าเล็กน้อย คือ ประมาณ 110% ของความอุดมเหล็กของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ 47 หมีใหญ่อยู่บนลำดับหลัก โดยเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน โดยอาศัยกัมมันตภาพโครโมสเฟียร์ ดาวฤกษ์นี้อาจมีอายุประมาณ 6,000 ล้านปี แม้แบบจำลองวิวัฒนาการแนะว่าอายุอาจสูงถึงประมาณ 8,700 ล้านปี การศึกษาอื่นประมาณอายุดาวนี้ไว้ระหว่าง 4,400 ถึง 7,000 ล้านปี.

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและ47 หมีใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน

ว 51 ม้าบิน 51 ม้าบิน (51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและ51 ม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

61 หญิงสาว บี

61 หญิงสาว บี (ชื่อย่อ 61 Vir b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบวงโคจรที่ 5 ที่ส่องสว่างปรากฏG-type star คือ 61 หญิงสาว ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลขั้นต่ำเป็น 5.1 เท่าของโลก และเป็นตัวอย่างของดาวเคราะห์ซูเปอร์เอิร์ธ มันโคจรอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ ที่ระยะห่างจาก 0.050201 AU กับความผิดปกติของ 0.12 ดาวเคราะห์ดวงนี้ค้นพบเมื่อ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและ61 หญิงสาว บี · ดูเพิ่มเติม »

61 หญิงสาว ดี

61 หญิงสาว ดี (ชื่อย่อ 61 Vir d) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ วงโคจรที่ 5 ที่ส่องสว่างปรากฏG-type star คือ 61 หญิงสาวดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลขั้นต่ำเป็น 22.9 เท่าของโลก โคจรเกือบครึ่งหนึ่งระยะทางที่ดาวเป็นโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มีค่า eccentricity 0.35 ดาวเคราะห์ดวงนี้มักจะเป็นดาวแก๊สยักษ์เหมือนกับ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ดวงนี้ค้นพบเมื่อ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและ61 หญิงสาว ดี · ดูเพิ่มเติม »

61 หญิงสาว ซี

61 หญิงสาว ซี (ชื่อย่อ 61 Vir c) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบ วงโคจรที่ 5 ที่ส่องสว่างปรากฏG-type star คือ 61 หญิงสาวดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลขั้นต่ำเป็น 18.2 เท่าของโลก และเป็นหนึ่งในห้าวงโคจรดาวระยะทางไปขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ที่มีระยะทางแม่นยำถึง 0.2175 AU กับความผิดปกติ 0.14 ดาวเคราะห์ดวงนี้มักจะเป็นดาวแก๊สยักษ์เหมือนกับ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ดวงนี้ค้นพบเมื่อ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ความส่องสว่างปรากฏและ61 หญิงสาว ซี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Apparent magnitudeความสว่างปรากฏโชติมาตรปรากฏ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »