โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความร่วมรู้สึก

ดัชนี ความร่วมรู้สึก

วามร่วมรู้สึกราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์แพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2544 (empathy) หรือ การร่วมรู้สึก คือความสามารถในการเข้าใจประสบการณ์ภายในและความรู้สึกของผู้อื่น รวมทั้งสามารถมองโลกภายนอกจากมุมมองของผู้อื่นได้ ซึ่งแตกต่างจาก sympathy ซึ่งหมายความว่า "ความเห็นใจ".

5 ความสัมพันธ์: Anterior cingulate cortexการควบคุมอารมณ์ตนเองทักษะชีวิตความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองไซโคพาธ

Anterior cingulate cortex

ษาอังกฤษว่า anterior cingulate cortex (ตัวย่อ ACC) หมายถึงส่วนหน้าของเปลือกสมองส่วน cingulate cortex ซึ่งมีรูปคล้ายกับ "คอเสื้อ" ที่ล้อมส่วนหน้าของใยประสาทเชื่อมซีกสมองที่เรียกว่า corpus callosum ประกอบด้วยบริเวณบรอดมันน์ 24, 32, และ 33 ทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมายเป็นส่วนของระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) รวมทั้งควบคุมความดันเลือดและอัตราหัวใจเต้น เป็นต้น และยังทำหน้าที่ทางประชานเกี่ยวกับเหตุผลต่าง ๆ เช่น reward anticipation (ผ่านกระบวนการ classical conditioning) การตัดสินใจ การเห็นใจผู้อื่น การควบคุมความอยาก (impulse control) และการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ภาพ MRI แบ่งซ้ายขวา (sagittal) ส่วนเน้นสี แสดงตำแหน่งของ anterior cingulate cortex.

ใหม่!!: ความร่วมรู้สึกและAnterior cingulate cortex · ดูเพิ่มเติม »

การควบคุมอารมณ์ตนเอง

การควบคุมอารมณ์ตนเอง (Emotional self-regulation) เป็นความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อประสบการณ์ในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้แต่ยืดหยุ่นพอที่จะเป็นปฏิกิริยาแบบฉับพลัน และเป็นความสามารถในการผัดผ่อนปฏิกิริยาแบบฉับพลันถ้าจำเป็น หรือสามารถนิยามได้ว่า เป็นกระบวนการไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ประเมิน และเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการควบคุมอารมณ์ ซึ่งรวมการควบคุมทั้งตัวเองและผู้อื่น การควบคุมอารมณ์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนรวมทั้งการเริ่ม การยับยั้ง หรือปรับสภาพหรือพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เช่นปรับความรู้สึกในใจที่เป็นอัตวิสัย การรู้คิด การตอบสนองทางสรีรภาพที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (เช่นการเต้นของหัวใจหรือการทำงานทางฮอร์โมน) และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางสีหน้า) นอกจากนั้น โดยกิจ การควบคุมอารมณ์ยังอาจหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ เช่น การใส่ใจในงานที่กำลังทำ และการหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่คนอื่นบอก การควบคุมอารมณ์เป็นกิจที่สำคัญมากในชีวิตมนุษย์ ทุก ๆ วัน มนุษย์ได้รับสิ่งเร้ามากมายหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดการตื่นตัว ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม สุด ๆ หรือไม่ระวัง อาจจะทำให้เข้ากับสังคมไม่ได้ ดังนั้น ทุกคนต้องควบคุมอารมณ์ของตนในรูปแบบต่าง ๆ เกือบตลอดเวลา ในเรื่องสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติ (emotional dysregulation) นิยามว่าเป็นความลำบากในการควบคุมอิทธิพลของความตื่นตัวทางอารมณ์ต่อรูปแบบและคุณภาพทางความคิด ทางการกระทำ และทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น/สิ่งอื่น บุคคลที่มีการควบคุมอารมณ์ผิดปกติจะแสดงรูปแบบการตอบสนองที่เป้าหมาย การตอบสนอง และ/หรือวิธีการแสดงออก ไม่เข้ากับสิ่งที่สังคมยอมรับได้ ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมอารมณ์ผิดปกติสัมพันธ์อย่างสำคัญกับอาการของโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความผิดปกติในการรับประทาน และการติดสารเสพติด การควบคุมอารมณ์ได้น่าจะสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางสังคมและกับการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม.

ใหม่!!: ความร่วมรู้สึกและการควบคุมอารมณ์ตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

ทักษะชีวิต

ทักษะชีวิต (Life skills) เป็นสมรรถภาพในการมีพฤติกรรมที่เป็นการปรับตัวที่ดี ซึ่งช่วยให้มนุษย์รับมือกับความจำเป็น/ความต้องการและปัญหาของชีวิต หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นสามัตถิยะทางจิต-สังคม (psychosocial competency) มีทักษะจำนวนหนึ่งที่จะได้จากการสอนหรือการปฏิบัติโดยตรงเพื่อใช้ไขปัญหาและคำถามที่มีอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทักษะที่ว่าจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคาดหวังของสังคม แต่ทักษะที่ช่วยให้อยู่เป็นสุข (well-being) และช่วยให้พัฒนาเป็นสมาชิกทางสังคมที่มีส่วนและก่อประโยชน์ จะพิจารณาว่าเป็นทักษะชีวิต.

ใหม่!!: ความร่วมรู้สึกและทักษะชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง

วามผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder, NPD) หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ โรคหลงตัวเอง เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติในระยะยาว อาการหลักได้แก่การรู้สึกว่าตัวเองสำคัญมากกว่าความเป็นจริง มีความต้องการถูกชมเชยมากเกินปกติ และการไม่เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ผู้เป็นโรคนี้เสียเวลากับการคิดเกี่ยวกับความสำเร็จ ความมีอำนาจ หรือเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตน พวกเขามักเอาเปรียบคนรอบข้าง พฤติกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเกิดข้ึนได้ในหลายเหตุการณ์ ยังไม่มีใครรู้สาเหตุของโรคหลงตัวเอง คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตจัดให้โรคนี้อยู่ในกลุ่ม B (cluster B) โรคถูกวินิฉัยด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ โรคนี้ต่างจากอาการฟุ้งพล่าน และอาการติดยา การรักษายังไม่ถูกศึกษามากนัก การบำบัดมักเป็นไปได้ยากเนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา เชื่อกันว่าคนประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์เป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โรคนี้มักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและในคนหนุ่มสาวมากกว่าคนมีอายุ บุคลิกภาพนี้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน..

ใหม่!!: ความร่วมรู้สึกและความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง · ดูเพิ่มเติม »

ไซโคพาธ

ซโคพาธ ("จิตผิดปกติ", Psychopathy) หรือ โซซิโอพาธ ("สังคมผิดปกติ", Sociopathy) เป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่รับรู้ความรู้สึกผู้อื่น (empathy) ไม่มีความรู้สึกผิด มีพฤติกรรมเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางที่รุนแรงและปราศจากการยับยั้ง ในอดีตเคยมีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้อยู่หลากหลาย เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของศาสตร์ทางจิตวิทยา แม้ปัจจุบันนี้ก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับภาวะนี้ก็ยังมีอยู่หลากหลาย มีบางส่วนที่เหมือนกันและบ้างก็ยังขัดแย้งกัน.

ใหม่!!: ความร่วมรู้สึกและไซโคพาธ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การเห็นใจผู้อื่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »