โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลื่น

ดัชนี คลื่น

ผิวน้ำถูกรบกวน เกิดเป็นคลื่นแผ่กระจายออกรอบข้าง คลื่น: 1.&2. คลื่นตามขวาง 3. คลื่นตามยาว คลื่น หมายถึง เตอร์ ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจายเป็นลูกเห็บ เคลื่อนที่เข้าใกล้ ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave).

53 ความสัมพันธ์: ชายฝั่งฟิสิกส์พลังงานคลื่นกรมอุตุนิยมวิทยากระแสน้ำมหาสมุทรการกัดเซาะชายฝั่งการยกกำลังการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)มือย่านความถี่ระบบการทรงตัวรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)ลวดลายในธรรมชาติสวนศาสตร์สัญประกาศสันดอนเชื่อมเกาะหลักการของไฮเกนส์หลักความไม่แน่นอนหูชั้นกลางหูชั้นในหูชั้นในรูปหอยโข่งฮาร์มอนิกจังหวัดบุรีรัมย์จิงเว่ยจุดภาพชัดเสื่อมทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าทวิภาคของคลื่น–อนุภาคทะเลสาบแทนกันยีกาดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคลื่นกระแทกคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะคลื่นความโน้มถ่วงคลื่นนิ่งคลื่นใต้น้ำคลื่นไหวสะเทือนความยาวคลื่นความหลากหลายทางชีวภาพความถี่ซัมซุง กาแลคซีเอส 3ป่าสันทรายแบบรูปไอโซโทรปิคแสงแอมพลิจูดไมโครเวฟเกมร้ายเกมรักเกาะอัลคาทราซเม็ดพาชีเนียนเยื่อกั้นหูชั้นในเลอง ฟูโกเวฟ...เวกเตอร์สี่มิติเสือเซลล์ประสาท ขยายดัชนี (3 มากกว่า) »

ชายฝั่ง

ฝั่งทางตะวันออกของบราซิล ชายฝั่ง คือแนวชายทะเลขึ้นไปบนบกจนถึงบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด มักมีลักษณะโค้งและเว้าแตกต่างกันออกไป บ้างก็เป็นหน้าผาหินสูงชัน และบางแห่งก็เป็นชายหาดระดับต่ำที่แผ่ขยายออกไปกว้างขวางแทรกสลับอยู่ระหว่างภูเขาและโขดหิน แรงที่ทำให้เกิดรูปร่างของชายฝั่งแบบต่างๆ เกิดจากแรงจากกระแสคลื่นและลมในทะเลที่ก่อให้เกิดขบวนการกัดกร่อน พัดพาและสะสมตัวของตะกอน เศษหินและแร่ที่เกิดจากขบวนการภายในโลกที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการยกตัวหรือจมตัว.

ใหม่!!: คลื่นและชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: คลื่นและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานคลื่น

ลังงานคลื่น หมายถึงพลังงานของคลื่นผิวมหาสมุทร และการจับพลังงานเหล่านั้นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้า การแยกเกลือออกจากน้ำ และการสูบน้ำ พลังงานคลื่นเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมดรูปแบบหนึ่ง การผลิตไฟฟ้าจากคลื่นยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่แพร่หลาย และยังไม่มีการสร้างฟาร์มคลื่นเชิงพาณิชย์ ทุ่นลอย PB150 PowerBuoy ถูกติดตั้งในทะเลเมื่อเดือนเมษายน 2011 กำลังการผลิตไฟฟ้าจากคลื่นได้ถึง 150 KW.

ใหม่!!: คลื่นและพลังงานคลื่น · ดูเพิ่มเติม »

กรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งราชอาณาจักรไทย (Meteorological Department of Thailand) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ความสูงของคลื่น รายงานพยากรณ์อากาศประจำวันและพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง รวมทั้งออกประกาศเตือนต่าง.

ใหม่!!: คลื่นและกรมอุตุนิยมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

กระแสน้ำมหาสมุทร

กระแสน้ำมหาสุมทร กระแสน้ำมหาสุมทร (Ocean current) เป็นกระแสน้ำที่ไหลต่อเนื่องในมหาสมุทรซึ่งเกิดจากหมุนเวียนของน้ำในมหาสมุทร ตามระบบเวลาและฤดูกาลที่แน่นอน เช่น คลื่น ลม แรงโคริโอลิส อุณหภูมิ ความแตกต่างของความเค็ม และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิต.

ใหม่!!: คลื่นและกระแสน้ำมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

การกัดเซาะชายฝั่ง

กระแสน้ำขึ้นลง การกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง.

ใหม่!!: คลื่นและการกัดเซาะชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

การยกกำลัง

้าx+1ส่วนx.

ใหม่!!: คลื่นและการยกกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)

การเคลื่อนที่ในฟิสิกส์ หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ถูกอธิบายด้วย การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เวลา และอัตราเร็ว การเคลื่อนที่ของวัตถุจะถูกสังเกตได้โดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง ทำการวัดการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบกับกรอบอ้างอิงนั้น ถ้าตำแหน่งของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุนั้นอยู่นิ่งหรือตำแหน่งคงที่ (ระบบมีพลวัตแบบเวลายง) การเคลื่อนที่ของวัตถุจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เว้นเสียแต่มีแรงมากระทำ โมเมนตัมคือปริมาณที่ใช้ในการวัดการเคลื่อนที่ของวัตถุ โมเมนตัมของวัตถุเกี่ยวข้องกับมวลและความเร็วของวัตถุ และโมเมนตัมทั้งหมดของวัตถุทั้งหมดในระบบโดดเดี่ยว (อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก) ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาตามที่อธิบายไว้ในกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม เนื่องจากไม่มีกรอบอ้างอิงที่แน่นอนดังนั้นจึงไม่สามารถระบุการเคลื่อนที่แบบสัมบูรณ์ได้ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ใช้ได้กับวัตถุ อนุภาค การแผ่รังสี อนุภาคของรังสี อวกาศ ความโค้ง และปริภูมิ-เวลาได้ อนึ่งยังสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของรูปร่างและขอบเขต ดังนั้นการเคลื่อนที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการกำหนดค่าของระบบทางกายภาพ ตัวอย่างเช่นเราสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของคลื่นหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคควอนตัมซึ่งการกำหนดค่านี้ประกอบด้วยความน่าจะเป็นในการครอบครองตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น ภาพนี้เป็นรถไฟใต้ดินออกจากสถานีด้วยความเร็ว.

ใหม่!!: คลื่นและการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: คลื่นและมือ · ดูเพิ่มเติม »

ย่านความถี่

นความถี่ (Frequency range หรือ frequency band) คือแถบหรือย่านความถี่ของคลื่น ย่านความถี่มักจะหมายถึงย่านความถี่ของเสียง หรือย่านความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รวมทั้งแสง และ คลื่นวิทยุ อุปกรณ์วิทยุมักจะทำงานในย่านความถี่ใดย่านความถี่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง.

ใหม่!!: คลื่นและย่านความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ใหม่!!: คลื่นและระบบการทรงตัว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)

หน้าปกของเล่มที่ 1 ที่พิมพ์โดยโชงะกุกัง หน้าปกของเล่มที่ 1 ที่พิมพ์โดยวิบูลย์กิจ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เป็นมังงะ แนวโชเน็น ที่แต่งโดย โกโช อาโอยาม่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน โดยลงพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นซันเดย์ของสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ปัจจุบัน มีการจัดพิมพ์ไป (ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560) ถึงตอนที่ 989 และ ปัจจุบัน ยอดนักสืบจิ๋วโคนันมีจำนวนตอนมากมาย มีจัดพิมพ์ไปทั้งสิ้น (14กรกฎาคม 2560) 93 เล่ม (993 ตอน) ในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: คลื่นและรายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ) · ดูเพิ่มเติม »

ลวดลายในธรรมชาติ

รอยริ้วคลื่นปรากฏบนพื้นผิวครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม ลวดลายของเวลล์คามิเลียน (veiled chameleon) หรือ ''Chamaeleo calyptratus'' ซึ่งวิวัฒนาการมาเพื่ออำพราง และเพื่อบอกอารมณ์ และสถานะทางการผสมพันธุ์ ลวดลายในธรรมชาติ คือ รูปแบบที่มีความสม่ำเสมออย่างชัดเจนซึ่งพบได้ในโลกธรรมชาติ ลวดลายเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริบทที่ต่างกัน และบางครั้งสามารถถูกกำหนดรูปแบบโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ลวดลายทางธรรมชาติ ได้แก่ ความสมมาตร ต้นไม้ เกลียว ลำน้ำโค้งตวัด คลื่น โฟม เทสเซลเลชัน รอยแตก และ รอยริ้ว นักปรัชญากรีกได้ศึกษาลวดลายเช่นเดียวกัน โดยมีเพลโต พีทาโกรัส และเอมเพโดคลีส พยายามจะอธิบายอันดับในธรรมชาติ การเข้าใจเรื่องลวดลายซึ่งมองเห็นได้นั้นได้รับการพัฒนาตามกาลเวลา  ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวเบลเยี่ยม โยเซป พลาโตได้ทำการทดลองกับฟิล์มฟองสบู่ทำให้เขาได้วางเกณฑ์แนวความคิดของพื้นผิวที่น้อยที่สุด นักชีววิทยาและศิลปินชาวเยอรมัน แอร์นสต์ เฮคเคล ได้วาดรูปสัตว์น้ำกว่าร้อยชนิดเพื่อให้ความสำคัญเรื่องความสมมาตร นักชีววิทยาชาวสก๊อต D'Arcy Thompson ริเริ่มการศึกษาลวดลายในทั้งในพืชและสัตว์และแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้สมการง่าย ๆ เพื่ออธิบายการโตแบบวงก้นหอยได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แอลัน ทัวริง ทำนายกลไกของการเกิดสัณฐานซึ่งทำให้เกิดลายจุดและรอยริ้ว นักชีววิทยาชาวฮังการี Aristid Lindenmayer และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอเมริกัน เบอนัว มานดัลบรอ แสดงว่าคณิตศาสตร์ของแฟร็กทัลสามารถสร้างลวดลายในการเจริญเติบโตของพืช คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และ เคมี สามารถอธิบายลวดลายในธรรมชาติในระดับที่ต่างกัน ลวดลายในสิ่งมีชีวิตอธิบายได้โดยวิธีทางชีววิทยาด้านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และ การคัดเลือกทางเพศ การศึกษาของการเกิดลวดลายแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองลวดลายในแบบต่าง ๆ .

ใหม่!!: คลื่นและลวดลายในธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สวนศาสตร์

วนศาสตร์ (อ่านว่า สะ-วะ-นะ-สาด) หรือ อะคูสติกส์ (อังกฤษ: acoustics) เป็นสาขาหนึ่งของ ฟิสิกส์ ว่าด้วยคุณสมบัติของ คลื่นเสียงเชิงกล เมื่อเคลื่อนที่ใน แก๊ส ของเหลว และของแข็ง นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ เรียกว่า นักอะคูสติกส์ (Acoustician) คำว่า อะคูสติกนั้น มาจากภาษากรีกโบราณ ว่า “อะคูสติกคอส” หมายถึง “สามารถได้ยิน” ในปัจจุบัน อะคูสติกส์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ควบคุม ส่ง รับ และผลกระทบของเสียง โดยเริ่มต้นด้วยการศึกษาการสั่นเชิงกล และการแผ่คลื่นจากการสั่นเหล่านี้ จนถึงการศึกษาคลื่นเชิงกล โดยยังมีการศึกษาค้นคว้าเรื่อยมา งานวิจัยด้านสวนศาสตร์ดำเนินไปหลายลักษณะ จากกระบวนการเชิงฟิสิกส์มูลฐาน ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นและเสียง และอาจโยงไปถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการเหล่านี้ในชีวิตสมัยใหม่ การศึกษาคลื่นเสียงยังนำไปสู่หลักการทางฟิสิกส์ที่อาจประยุกตใช้กับการศึกษาคลื่นทุกชนิดด้ว.

ใหม่!!: คลื่นและสวนศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญประกาศ

ัญประกาศ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง เป็นการขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญหรือข้อความที่ควรสังเกตพิเศษ อาจจะมีหนึ่งเส้นหรือสองเส้น ตัวอย่างการใช้เช่น.

ใหม่!!: คลื่นและสัญประกาศ · ดูเพิ่มเติม »

สันดอนเชื่อมเกาะ

ันดอนเชื่อมเกาะ บริเวณ St Ninian's isle ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสกอตแลนด์ ชายหาดและสันดอนเชื่อมเกาะบริเวณภูเขา Maunganui นิวซีแลนด์ สันดอนเชื่อมเกาะ (Tombolo) เป็นคำบัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ทะเลแหวก สันดอนเชื่อมเกาะเป็นลักษณะทางธรณีสัณฐานวิทยาชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นสันทรายเชื่อมระหว่างชายฝั่งกับเกาะ โดยจะปรากฏขึ้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และจะชัดเจนมากในช่วงก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำประมาณ 5 วัน สำหรับในประเทศไทยช่วงเวลาที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นพฤษภาคม สันดอนเชื่อมเกาะเป็นสันทรายที่เกิดจากการพัดพาตะกอนทรายมาสะสมตัวบนสัณฐานโดยกระแสน้ำทะเลและคลื่น เกิดเป็นแนวยาวยื่นออกจากชายฝั่งทะเลออกไปเชื่อมกับเกาะขนาดเล็กในทะเล ตัวอย่างสันดอนเชื่อมเกาะในประเทศไทย ได้แก่ สันดอนเชื่อมเกาะเต่า สุราษฎร์ธานี สันดอนเชื่อมเกาะบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จันทบุรี และสันดอนเชื่อมเกาะยอบริเวณทะเลสาบสงขล.

ใหม่!!: คลื่นและสันดอนเชื่อมเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

หลักการของไฮเกนส์

การสะท้อนของคลื่นตามหลักของไฮเกนส์ หลักการของไฮเกนส์ (ตามชื่อของนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ คริสตียาน เฮยเคินส์) เป็นวิธีการวิเคราะห์ปัญหาหน้าคลื่นของการแผ่ของคลื่น หลักการนี้ได้กล่าวว่า ที่แต่ละจุดของหน้าคลื่นที่กำลังเคลื่อนตัว จะกระทำตัวเสมือนเป็นจุดศูนย์กลางกำเนิดคลื่นใหม่ และหน้าคลื่นที่เคลื่อนตัวออกไปจะเสมือนกับเป็นผลรวมของคลื่นย่อย ซึ่งกำเนิดขึ้นจากจุดที่หน้าคลื่นเดิมได้วิ่งผ่าน มุมมองนี้มีส่วนช่วยให้สามารถทำความเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของคลื่น เช่น การกระเจิงของคลื่น ตัวอย่างเช่น ถ้าห้องสองห้องนั้นเชื่อมต่อด้วยทางเดิน และมีการกำเนิดเสียงที่มุมหนึ่งของห้องหนึ่ง ผู้ที่อยู่ในอีกห้องหนึ่งจะสามารถได้ยินเสียงนี้ ราวกับว่าเสียงนี้มีจุดกำเนิดอยู่ที่ทางเดิน ซึ่งในความเป็นจริงการสั่นไหวของอากาศที่ทางเดินนี้เป็นแหล่งกำเนิดเสียงนี้นั่นเอง ในทำนองเดียวกันกับแสงวิ่งผ่านมุมของสิ่งกีดขวาง แต่ปรากฏการณ์นี้ยากที่จะสังเกตได้เนื่องมาจากแสงนั้นมีความยาวคลื่นที่สั้น ปรากฏการณ์การแทรกสอดของแสง จากหน้าคลื่นของแสงจากจุดกำเนิดที่อยู่ห่างกัน ทำให้เกิดเป็นรูปแบบแถบสว่าง-มืดของการกระเจิง ดูตัวอย่างได้จากการทดลองช่องคู่ (double-slit experiment).

ใหม่!!: คลื่นและหลักการของไฮเกนส์ · ดูเพิ่มเติม »

หลักความไม่แน่นอน

ในวิชาควอนตัมฟิสิกส์ หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนแบร์ก (Heisenberg uncertainty principle) กล่าวว่า คู่คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่แน่นอนใดๆ เช่น ตำแหน่งและโมเมนตัม จะไม่สามารถทำนายสภาวะล่วงหน้าได้อย่างแน่นอน ยิ่งเรารู้ถึงคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งอย่างละเอียด ก็ยิ่งทำนายคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งได้ยากยิ่งขึ้น หลักการนี้มิได้กล่าวถึงข้อจำกัดของความสามารถของนักวิจัยในการตรวจวัดปริมาณสำคัญของระบบ แต่เป็นธรรมชาติของตัวระบบเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นไปไม่ได้ที่จะวัดทั้งตำแหน่งและความเร็วของอนุภาคในเวลาเดียวกันด้วยระดับความแน่นอนหรือความแม่นยำใดๆ ก็ตาม สำหรับกลศาสตร์ควอนตัม เราสามารถอธิบายอนุภาคได้ด้วยคุณสมบัติของคลื่น ตำแหน่ง คือที่ที่คลื่นอยู่อย่างหนาแน่น และโมเมนตัมก็คือความยาวคลื่น ตำแหน่งนั้นไม่แน่นอนเมื่อคลื่นกระจายตัวออกไป และโมเมนตัมก็ไม่แน่นอนในระดับที่ไม่อาจระบุความยาวคลื่นได้ คลื่นที่มีตำแหน่งแน่นอนมีแต่เพียงพวกที่เกาะกลุ่มกันเป็นจุดๆ เดียว และคลื่นชนิดนั้นก็มีความยาวคลื่นที่ไม่แน่นอน ในทางกลับกัน คลื่นที่มีความยาวคลื่นแน่นอนมีเพียงพวกที่มีคาบการแกว่งตัวปกติแบบไม่จำกัดในอวกาศ และคลื่นชนิดนี้ก็ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ ดังนั้นในกลศาสตร์ควอนตัม จึงไม่มีสภาวะใดที่สามารถบอกถึงอนุภาคที่มีทั้งตำแหน่งที่แน่นอนและโมเมนตัมที่แน่นอน ยิ่งสามารถระบุตำแหน่งแน่นอนได้แม่นเท่าไร ความแน่นอนของโมเมนตัมก็ยิ่งน้อย นิพจน์ทางคณิตศาสตร์สำหรับหลักการนี้คือ ทุกๆ สถานะควอนตัมมีคุณสมบัติการเบี่ยงเบนของค่าเฉลี่ยกำลังสอง (RMS) ของตำแหน่งจากค่าเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการกระจายของ X): คูณด้วยค่าเบี่ยงเบน RMS ของโมเมนตัมจากค่าเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ P): จะต้องไม่น้อยกว่าเศษส่วนค่าคงที่ของพลังค์: ค่าวัดใดๆ ของตำแหน่งด้วยความแม่นยำ \scriptstyle \Delta X ที่ทลายสถานะควอนตัม ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของโมเมนตัม \scriptstyle \Delta P ใหญ่กว่า \scriptstyle \hbar/2\Delta x.

ใหม่!!: คลื่นและหลักความไม่แน่นอน · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ใหม่!!: คลื่นและหูชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นใน

หูชั้นใน หูชั้นใน (inner ear, internal ear, auris interna) เป็นหูชั้นในสุดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ตรวจจับเสียงและการทรงตัว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันจะประกอบด้วยกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) ซึ่งเป็นช่อง ๆ หนึ่งในกระดูกขมับของกะโหลกศีรษะ เป็นระบบท่อที่มีส่วนสำคัญสองส่วน คือ.

ใหม่!!: คลื่นและหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ใหม่!!: คลื่นและหูชั้นในรูปหอยโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์มอนิก

ต่าง ๆ ของสายเครื่องดนตรีที่สั่นแล้วสร้างเสียงฮาร์มอนิก การเขียนโน้ตดนตรีสำหรับเสียงฮาร์มอนิกตามธรรมชาติของเชลโล อันแรกตามเสียงที่ได้ยินซึ่งสามัญกว่า และอันที่สองตามที่กดด้วยนิ้วซึ่งอ่านตามเพื่อเล่นได้ง่ายกว่า ฮาร์มอนิก (harmonic) เป็นสมาชิกอันใดอันหนึ่งก็ได้ของอนุกรมฮาร์มอนิก (harmonic series) ซึ่งเป็นอนุกรมแบบอนันต์และลู่ออก (divergent infinite series) ชื่อของมันมาจากแนวคิดเกี่ยวกับ overtone หรือฮาร์มอนิกที่เกิดในเครื่องดนตรี ซึ่งก็คือ ความยาวคลื่นของเสียง overtone จากสายเครื่องดนตรีหรือคอลัมน์อากาศในเครื่องดนตรี (เช่นในทูบา) ที่กำลังสั่น จะเป็นอนุพันธ์จากความยาวคลื่นมูลฐานของสายเครื่องดนตรี คำนี้ใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มาจากประเทศตะวันตก รวมทั้งดนตรี ฟิสิกส์ สวนศาสตร์ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีวิทยุ และสาขาอื่น ๆ ซึ่งปกติจะใช้กับสัญญาณที่เกิดซ้ำ ๆ เช่นคลื่นรูปไซน์ ฮาร์มอนิกของคลื่นเช่นนี้ ก็คือคลื่นที่มีความถี่เป็นพหุคูณจำนวนเต็มของคลื่นดั้งเดิม โดยความถี่คลื่นดั้งเดิมจะเรียกว่า ความถี่มูลฐาน คลื่นดั้งเดิมนี้ก็เรียกได้ด้วยว่า ฮาร์มอนิกแรก โดยคลื่นที่มีความถี่สูงยิ่ง ๆ กว่านั้นจะเป็นฮาร์มอนิกที่สูงกว่า (higher harmonic) เนื่องจากฮาร์มอนิกทั้งหมดจะเป็นคาบตรงที่ความถี่มูลฐานด้วย ฮาร์มอนิกรวมกันทั้งหมดก็จะเป็นคาบที่ความถี่นั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าความถี่มูลฐานอยู่ที่ 50 เฮิรตซ์ (Hz) ความถี่ของฮาร์มอนิกสูงกว่า 3 อันแรกก็จะอยู่ที่ 100 Hz (ฮาร์มอนิกที่สอง) 150 Hz (ฮาร์มอนิกที่สาม) 200 Hz (ฮาร์มอนิกที่สี่) และคลื่นอื่น ๆ ที่มีความถี่เป็นคาบที่ 50 Hz ด้วย ในดนตรี แนวคิดเกี่ยวกับฮาร์มอนิกจะใช้ในเครื่องดนตรีแบบสายและแบบเป่า เพื่อสร้างเสียงโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดเสียงที่สูงกว่า และในเครื่องดนตรีแบบสาย เพื่อให้ได้คุณสมบัติของเสียงโดยเฉพาะที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า tone colour (น้ำเสียง) ในเครื่องดนตรีแบบสาย นักดนตรีจะเล่นฮาร์มอนิกต่าง ๆ โดยแตะ (แต่ไม่ได้กดลงที่สายอย่างเต็มที่) ตรงจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะบนสายในขณะที่สร้างเสียง ไม่ว่าจะโดยดีดสายหรือสีเป็นต้น ซึ่งก็จะสร้างเสียงฮาร์มอนิก โดยจะฟังเป็นเสียงทุ้มแหลมที่มีความถี่สูงกว่าความถี่มูลฐานของสายนั้น.

ใหม่!!: คลื่นและฮาร์มอนิก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบุรีรัมย์

ังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 รองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขอนแก่น และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไท.

ใหม่!!: คลื่นและจังหวัดบุรีรัมย์ · ดูเพิ่มเติม »

จิงเว่ย

งเว่ย คือชื่อของตัวละครในตำนานจีน เธอเป็นบุตรีของจักรพรรดิเอี๋ยนตี้ มีนามเดิมว่า "หนี่ว์วา" เธอต้องการให้พระบิดาพาไปชมพระอาทิตย์ขึ้น ณ ทะเลตะวันออกแต่พระบิดาทรงติดงานราชกิจจึงไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอของเธอได้ เธอจึงแอบพายเรือหนีไปเที่ยวคนเดียวและถูกคลื่นพายุซัดเรืออับปาง ส่วนร่างของเธอจมลงสู่ใต้ทะเลและเกิดใหม่เป็นนกนาม "จิงเว่ย" คอยคาบหินก้อนเล็ก กิ่งไม้ และเมล็ดพืชจากเขาฟาจิวที่เธออาศัยอยู่ บินไปทิ้งยังท้องทะเลตะวันออก เพื่อหวังจะถมทะเลให้เต็ม เพื่อเป็นการแก้แค้นที่ท้องทะเลพรากชีวิตวัยเยาว์ของเธอไป ครั้งหนึ่งเธอเคยสนทนากับท้องทะเลโดยท้องทะเลกล่าวกับเธอว่าถึงแม้เธอจะทำแบบนี้ไปอีกสักล้านปีก็คงไม่สำเร็จ แต่เธอก็โต้ตอบกลับไปว่าต่อให้เธอต้องทำเช่นนี้ไปอีกร้อยล้านปี หรือจนวันที่โลกแตกสลายเธอก็จะไม่หยุดทำ เพื่อที่มิให้หนุ่มสาวอื่น ๆ ต้องมาจบชีวิตลงในทะเลอย่างที่เธอปร.

ใหม่!!: คลื่นและจิงเว่ย · ดูเพิ่มเติม »

จุดภาพชัดเสื่อม

ัดเสื่อม (macular degeneration) หรือ จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (age-related macular degeneration ตัวย่อ AMD, ARMD) เป็นโรคที่ทำให้มองไม่ชัดหรือมองไม่เห็นที่กลางลานสายตา เริ่มแรกสุดบ่อยครั้งจะไม่มีอาการอะไร ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บางคนจะมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ ที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แม้จะไม่ทำให้ตาบอดโดยสิ้นเชิง การมองไม่เห็นในส่วนกลางก็จะทำให้กิจกรรมในชีวิตต่าง ๆ ทำได้ยากรวมทั้งจำหน้าคน ขับรถ อ่านหนังสือเป็นต้น การเห็นภาพหลอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ใช่เป็นส่วนของโรคจิต จุดภาพชัดเสื่อมปกติจะเกิดกับคนสูงอายุ ปัจจัยทางพันธุกรรมและการสูบบุหรี่ก็มีผลด้วย เป็นอาการเนื่องกับความเสียหายต่อจุดภาพชัด (macula) ที่จอตา การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจตา ความรุนแรงของอาการจะแบ่งออกเป็นระยะต้น ระยะกลาง และระยะปลาย ระยะปลายยังแบ่งออกเป็นแบบแห้ง (dry) และแบบเปียก (wet) โดยคนไข้ 90% จะเป็นแบบแห้ง การป้องกันรวมทั้งการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ถูกสุขภาพ และไม่สูบบุหรี่ วิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกัน ไม่มีวิธีแก้หรือรักษาการเห็นที่สูญไปแล้ว ในรูปแบบเปียก การฉีดยาแบบ anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor) เข้าที่ตา หรือการรักษาอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการยิงเลเซอร์ (laser coagulation) หรือ photodynamic therapy อาจช่วยให้ตาเสื่อมช้าลง อาหารเสริมรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุสำหรับคนไข้ที่มีโรคอาจช่วยชะลอความเสื่อมด้วย ในปี 2015 โรคนี้มีผลต่อคนไข้ 6.2 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2013 มันเป็นเหตุให้ตาบอดเป็นอันดับสี่หลังต้อกระจก การเกิดก่อนกำหนด และต้อหิน มันเกิดบ่อยที่สุดในผู้มีอายุเกิน 50 ปีในสหรัฐอเมริกา และเป็นเหตุเสียการเห็นซึ่งสามัญที่สุดในคนกลุ่มอายุนี้ คนประมาณ 0.4% ระหว่างอายุ 50-60 ปีมีโรคนี้ เทียบกับ 0.7% ของคนอายุ 60-70 ปี, 2.3% ของคนอายุ 70-80 ปี, และ 12% ของคนอายุเกิน 80 ปี.

ใหม่!!: คลื่นและจุดภาพชัดเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคใดๆที่มีประจุไฟฟ้า แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะแสดงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นสนามไฟฟ้า, สนามแม่เหล็ก, และแสง แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสี่ปฏิสัมพันธ์พื้นฐานในธรรมชาติ อีกสามแรงพื้นฐานได้แก่ อันตรกิริยาอย่างเข้ม, อันตรกิริยาอย่างอ่อน และแรงโน้มถ่วง ฟ้าผ่าเป็นการระบายออกของไฟฟ้าสถิตแบบหนึ่งที่ไฟฟ้าสถิตจะเดินทางระหว่างสองภูมิภาคท​​ี่มีประจุไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้ามาจากภาษาอังกฤษ electromagnet คำนี้ป็นรูปแบบผสมของคำภาษากรีกสองคำได้แก่ ἤλεκτρον หมายถึง อิเล็กตรอน และ μαγνῆτιςλίθος (Magnetis Lithos) ซึ่งหมายถึง "หินแม่เหล็ก" ซึ่งเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง วิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์แม่เหล็กไฟฟ้าถูกกำหนดไว้ในความหมายของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า บางครั้งถูกเรียกว่าแรงลอเรนซ์ (Lorentz force) ซึ่งประกอบด้วยทั้งไฟฟ้าและแม่เหล็กในฐานะที่เป็นสององค์ประกอบของปรากฏการณ์ แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติภายในของวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในชีวิตประจำวัน สสารทั่วไปจะได้รูปแบบของมันจากผลของแรงระหว่างโมเลกุลของโมเลกุลแต่ละตัวในสสาร อิเล็กตรอนจะถูกยึดเหนี่ยวตามกลไกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับวงโคจรรอบนิวเคลียสเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นอะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุล กระบวนการนี้จะควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทางเคมีซึ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนอื่นในวงโคจรของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งจะถูกกำหนดโดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับโมเมนตัมของอิเล็กตรอนเหล่านั้น มีคำอธิบายของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทางคณิตศาสตร์จำนวนมาก ในไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (classical electrodynamics) สนามไฟฟ้าจะอธิบายถึงศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ในกฎของฟาราเดย์ สนามแม่เหล็กจะมาพร้อมกับการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและแม่เหล็ก, และสมการของแมกซ์เวลจะอธิบายว่า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงโดยประจุและกระแสได้อย่างไร การแสดงเจตนาเป็นนัยในทางทฤษฎีของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะในการจัดตั้งของความเร็วของแสงที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ "ตัวกลาง" ของการกระจายคลื่น (ความสามารถในการซึมผ่าน (permeability) และแรงต้านสนามไฟฟ้า (permittivity)) นำไปสู่​​การพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในปี 1905 แม้ว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในสี่แรงพื้นฐาน แต่ที่ระดับพลังงานสูงอันตรกิริยาอย่างอ่อนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถูกรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ในประวัติศาสตร์ของจักรวาล ในช่วงยุคควาร์ก แรงไฟฟ้าอ่อน (electroweak) จะหมายถึงแรง(แม่เหล็ก)ไฟฟ้า + (อันตรกิริยาอย่าง)อ่อน.

ใหม่!!: คลื่นและทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค

ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค (Wave–particle duality) เป็นสมมติฐานที่กล่าวว่าอนุภาคทุกชนิดมีคุณสมบัติที่เป็นทั้งคลื่นและอนุภาค และในทางกลับกันคลื่นก็จะมีทั้งคุณสมบัติของคลื่นเองและอนุภาคด้วย แนวคิดนี้เป็นศูนย์กลางของกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการที่แนวคิดแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับ "อนุภาค" และ "คลื่น" ไม่สามารถใช้อธิบายพฤติกรรมของวัตถุในระดับของควอนตัมได้ การแปลความกลศาสตร์ควอนตัมมาตรฐานอธิบายปฏิทรรศน์นี้ว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของเอกภพ ขณะที่การแปลความแบบอื่นๆ อธิบายลักษณะทวิภาคนี้ว่าเป็นผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นมาจากขีดจำกัดต่างๆ อันหลากหลายของผู้สังเกตการณ์เอง ในที่นี้จะมุ่งประเด็นไปที่การอธิบายพฤติกรรมนี้จากมุมมองของการตีความโคเปนเฮเกน (Copenhagen interpretation) ซึ่งนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยถือว่าความเป็นทวิภาคของคลื่น-อนุภาค เป็นรูปแบบหนึ่งของหลักการการเติมเต็ม (complementarity) ว่าปรากฏการณ์หนึ่งๆ สามารถมองได้ทั้งในทางหนึ่งหรืออีกทางหนึ่งก็ได้ แต่จะไม่สามารถมองได้ทั้งสองทางพร้อมๆ กัน.

ใหม่!!: คลื่นและทวิภาคของคลื่น–อนุภาค · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบแทนกันยีกา

ทะเลสาบแทนกันยีกา (Lake Tanganyika) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม), แทนซาเนีย, แซมเบีย และบุรุนดี เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญเป็นอันดับที่สองในแอฟริการองจากทะเลสาบวิกตอเรีย นอกจากนั้นยังเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปแอฟริกาและลึกที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย จุดที่มีความลึกที่สุดลึกกว่า 1,470 เมตร ทะเลสาบแทนกันยีกาเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกและภูเขาไฟระเบิด เมื่อราว 20 ล้านปีมาแล้ว นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเกรตริฟต์แวลลีย์ โดยคำว่า "แทนกันยีกา" นั้นมาจากภาษาสวาฮิลีสองคำ คือ "tangan" หมายถึง "เรือใบ" และ "nyika" หมายถึง "ป่า" หรือ "ไม่มีที่อยู่" โดยรวมอาจหมายความว่า "เรือใบที่แล่นในถิ่นทุรกันดาร" ก็ได้ ทะเลสาบแทนกันยีกา มีความยาวจัดจากเหนือจรดใต้ได้ถึง 673 กิโลเมตร แต่มีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,2892 ตารางกิโลเมตร ความยาวรอบชายฝั่งวัดรวมกันได้ 1,828 กิโลเมตร และยังเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกเป็นอันดับสองของโลกรองจากทะเลสาบไบคาล ในไซบีเรีย มีดินแดนติดกับคองโกราวร้อยละ 45 และติดกับแทนซาเนียร้อยละ 41 โดยประมาณ น้ำในทะเลสาบไหลสู่แม่น้ำคองโกในตอนกลางของทวีป และจะไหลไปลงทะเลที่ตอนแอฟริกาตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลสาบแห่งนี้มีความโดดเด่นเรื่องของอุณหภูมิที่ค่อนข้างเสถียร เรื่องจากข้างล่างทะเลสาบยังคงมีภูเขาไฟ น้ำมีการเปลี่ยนแปลงในแนวตั้งน้อยมาก ในความลึกเกิน 300 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำค่อนข้างน้อย จึงมักไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยมีความเปลี่ยนแปลงต่างกันไม่เกิน 5 ฟาเรนไฮต์ โดยบริเวณผิวน้ำจะมีอุณหภูมิประมาณ 73-88 ฟาเรนไฮต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำอยู่ที่ประมาณ 7.5-9.3 (pH) ระบบนิเวศของทะเลสาบแทนกันยีกา แบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลัก คือ ระบบชายฝั่งและพื้นที่นอกชายฝั่ง ซึ่งสามารถแบ่งระบบนิเวศตามสภาพแวดล้อมที่ต่างกันได้ ดังนี้.

ใหม่!!: คลื่นและทะเลสาบแทนกันยีกา · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ใหม่!!: คลื่นและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นกระแทก

ลื่นเสียงของคลื่นกระแทกที่เกิดจากวัตถุความเร็วเหนือเสียงที่มีรูปร่างทรงแหลม คลื่นกระแทก (shock wave) คือรูปแบบการรบกวนที่แพร่ออกไปชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นปกติทั่วไปซึ่งมีพลังงานอยู่ในตัวและสามารถแพร่พลังงานนั้นออกไปผ่านตัวกลางหนึ่งๆ (อาจเป็นของแข็ง ของเหลว แก๊ส หรือพลาสมา) หรือบางครั้งก็อาจสูญหายไปในวัสดุที่เป็นตัวกลางโดยผ่านสนาม เช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นกระแทกมีคุณลักษณะที่เกิดแบบทันทีทันใด เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่องในสารตัวกลาง เมื่อเกิดการกระแทก จะมีกระแสความดัน อุณหภูมิ และความหนาแน่นที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเสมอ คลื่นกระแทกจะเดินทางผ่านสารตัวกลางส่วนใหญ่ด้วยความเร็วที่สูงกว่าคลื่นโดยทั่วไป วัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าหรือมากกว่าอัตราเร็วเสียงในตัวกลางก็ได้ ในกรณีที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นไปตามปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ แต่หากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะแตกต่างไปจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ และไม่สามารถใช้ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตัวอย่างของเสียงในกรณีนี้ เช่น เสียงจากเครื่องบินที่มีความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียงโดยเป็นเสียงที่ดังมกและเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟัง คลื่นเสียงในกรณีนี้คือ คลื่นกระแทก และเสียงจากคลื่นกระแทกซึ่งเป็นเสียงที่ดังมากจะเรียกว่า ซอนิกบูม (sonic boom) ผู้ฟังที่เคยได้ยินเสียงจากคลื่นกระแทกที่เกิดจากเครื่องบินจะสังเกตได้ว่า เสียงจากคลื่นกระแทกมักเกิดขึ้นหลังจากเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟังไปแล้ว สาเหตุเนื่องจากคลื่นกระแทกเป็นคลื่นรูปกรวย ซึ่งหน้าคลื่นจะเคลื่อนที่มาถึงผู้ฟังเมื่อเครื่องบินเคลื่อนผ่านผู้ฟังไปแล้ว เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียงดังมากเนื่องจากคลื่นกระแทกมีแอมพลิจูดมากและพลังงานสูง ในบางครั้งพลังงานของคลื่นกระแทกสามารถทำให้หน้าต่างแตกได้ และดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้นเสียงดังนี้เรียกว่า ซอนิกบูม ซึ่งผู้ฟังอาจได้ยินเสียงซอนิกบูมจากเครื่องบินลำหนึ่งหลายครั้ง เนื่องจากคลื่นกระแทกสามารถเกิดขึ้นบนเครื่องบินได้หลายตำแหน่ง.

ใหม่!!: คลื่นและคลื่นกระแทก · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ

The Great Wave off Kanagawa คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ เป็นภาพพิมพ์แกะไม้ขนาดกว้าง 10 นิ้ว ยาว 15 นิ้ว ที่เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน ในนิวยอร์ก เป็นหนึ่งในผลงานในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ (Fugaku Sanjurokkei) ของคะสึชิกะ โฮะกุไซ (1760-1849) ศิลปินชาวญี่ปุ่น เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1832 ในยุคเอโดะ ภาพนี้เป็นภาพของคลื่นขนาดใหญ่ที่ถูกลมพัดเข้าใส่เรือประมงในจังหวัดคะนะงะวะ มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟฟูจิ มักมีผู้เข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นภาพของคลื่นสึนามิ ภาพนี้มีสำเนาอยู่หลายชุด ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน นิวยอร์ก, พิพิธภัณฑ์บริติช ลอนดอน และที่บ้านของโคลด โมเนท์ ที่จิแวร์นีย์ ประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: คลื่นและคลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นความโน้มถ่วง

ในวิชาฟิสิกส์ คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) คือความผันผวนของความโค้งในปริภูมิ-เวลาที่แผ่ออกเป็นคลื่น ที่เดินทางออกจากแหล่งกำเนิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทำนายไว้ใน..

ใหม่!!: คลื่นและคลื่นความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นนิ่ง

ลื่นนิ่ง เป็นคลื่นที่ไม่เคลื่อนที่ อาจเกิดจากตัวกลางเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกับคลื่น หรือ เกิดจากการแทรกสอดของคลื่นสองลูก เคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามกัน.

ใหม่!!: คลื่นและคลื่นนิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นใต้น้ำ

คลื่นใต้น้ำ หมายถึง คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสม่ำเสมอและยอดเรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดพายุ จากความหมายดังกล่าว เป็นที่มาของสำนวนไทยที่เปรียบเทียบ "คลื่นใต้น้ำ" กับ "เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเสมือนสงบเรียบร้อย" ในอดีต พบว่าบางครั้งมีการใช้คำว่า "คลื่นใต้น้ำ" แทนความหมายของคำว่า "คลื่นสึนามิ" (Tsunami) แต่แท้จริงไม่เกี่ยวข้องกัน หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:สำนวนภาษาไทย.

ใหม่!!: คลื่นและคลื่นใต้น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นไหวสะเทือน

ลื่นตัวกลางและคลื่นพื้นผิว คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) เป็นคลื่นที่ถ่ายทอดพลังงานผ่านภายในโลก อาจเกิดจากแผ่นดินไหว, การระเบิด, หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดคลื่นความถี่ต่ำ คลื่นไหวสะเทือนอาจถูกตรวจรับได้ด้วย seismograph, geophone, hydrophone หรือ accelerometer ความเร็วของการกระจายของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของตัวกลาง เนื่องจากความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในชั้นหินระดับลึก ความเร็วของคลื่นในชั้นหินลึกจึงมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าความเร็วของคลื่นบริเวณผิวโลก ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ถึง 8 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นเปลือกโลก และอาจสูงถึง 13 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นแมนเทิลระดับลึก แผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนในหลายชนิดที่มีความเร็วแตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคลื่นเหล่านี้เพื่อระบุพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในขณะที่นักธรณีฟิสิกส์อาจใช้สมบัติของการสะท้อนและการหักเหของคลื่นไหวสะเทือนผ่านชั้นหินต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างใต้ดิน.

ใหม่!!: คลื่นและคลื่นไหวสะเทือน · ดูเพิ่มเติม »

ความยาวคลื่น

ซน์ ความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ความยาวคลื่น คือระยะทางระหว่างส่วนที่ซ้ำกันของคลื่น สัญลักษณ์แทนความยาวคลื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ อักษรกรีก แลมบ์ดา (λ).

ใหม่!!: คลื่นและความยาวคลื่น · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: คลื่นและความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่

วามถี่ (frequency) คือจำนวนการเกิดเหตุการณ์ซ้ำในหนึ่งหน่วยของเวลา ความถี่อาจเรียกว่า ความถี่เชิงเวลา (temporal frequency) หมายถึงแสดงให้เห็นว่าต่างจากความถี่เชิงพื้นที่ (spatial) และความถี่เชิงมุม (angular) คาบคือระยะเวลาของหนึ่งวงจรในเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ ดังนั้นคาบจึงเป็นส่วนกลับของความถี่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจของทารกเกิดใหม่เต้นที่ความถี่ 120 ครั้งต่อนาที คาบ (ช่วงเวลาระหว่างจังหวะหัวใจ) คือครึ่งวินาที (นั่นคือ 60 วินาทีหารจาก 120 จังหวะ) ความถี่เป็นตัวแปรสำคัญในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม สำหรับระบุอัตราของปรากฏการณ์การแกว่งและการสั่น เช่น การสั่นของเครื่องจักร โสตสัญญาณ (เสียง) คลื่นวิทยุ และแสง.

ใหม่!!: คลื่นและความถี่ · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง กาแลคซีเอส 3

ซัมซุง กาแลคซีเอส 3 (Samsung Galaxy S III; ชื่อรหัส i9300) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัส ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาโดย ซัมซุง อิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งพัฒนาเพิ่มซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ต่อจากรุ่นซัมซุง กาแลคซีเอส 2 เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม..

ใหม่!!: คลื่นและซัมซุง กาแลคซีเอส 3 · ดูเพิ่มเติม »

ป่าสันทราย

ป่าสันทรายที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ป่าสันทราย เป็นป่าที่มีความพิเศษกว่าป่าอื่น ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งสามารถที่จะเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ของโลก ที่มีเขตพื้นที่ติดกับทะเลส่วนใหญ่จะมีความเป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถมกันของกรวดและหิน ก้อนเล็ก ๆ จากการพัดมาของลมทะเล ระยะเวลาการเกิดใช้เวลานาน กว่าจะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์พืชนานาชนิด ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งไม่มากนัก หากอยู่ห่างจากฝั่งมากก็เป็นการบ่งบอกถึงเวลาว่ามีอายุที่มากกว่าป่าที่อยู่บริเวณใกล้กับชายฝั่ง มีจุดเด่นคือ เกิดจากแรงลมพัดทรายมากองทับถมกันคล้ายกับ Sand dunes แต่ไม่ได้เกิดกับหาดทรายทั่วไป มีพันธุ์ไม้และพันธุ์พืชหลากหลายชนิด บ้างก็ใช้รับประทาน บ้างก็ใช้เป็นสมุนไพร เป็นยารักษาโรค เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน กระบวนการเกิดป่าสันทรายอาจต้องใช้เวลาหลายร้อยหลายพันปี กว่าจะเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ใช้องค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ตามสภาพแวดล้อมที่มีของแต่ละสถานที่วงจรของป่าสันทรายวนเวียนอยู่อย่างนี้ ตลอดไป.

ใหม่!!: คลื่นและป่าสันทราย · ดูเพิ่มเติม »

แบบรูปไอโซโทรปิค

แบบรูปไอโซโทรปิค (Isotropic patterns) หมายถึง สายอากาศที่ใช้ในทางทฤษฎี โดยมีการแพร่กระจายของคลื่นทุกทิศทางที่พร้อมกันด้วยความเข้มสนามที่เท่ากัน เป็นสายอากาศที่ไม่สามารถสร้างขึ้นได้จริง แต่จะใช้ในการเปรียบเทียบหรือกำหนดเป็นมาตรฐานนำไปเทียบกับสายอากาศแบบอื่น เพื่อดูลักษณะคุณสมบัติ แสดงทิศทางของสายอากาศ หมวดหมู่:ฟิสิกส์.

ใหม่!!: คลื่นและแบบรูปไอโซโทรปิค · ดูเพิ่มเติม »

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

ใหม่!!: คลื่นและแสง · ดูเพิ่มเติม »

แอมพลิจูด

RMS amplitude (\scriptstyle\hat U/\sqrt2),4.

ใหม่!!: คลื่นและแอมพลิจูด · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครเวฟ

ปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รูปแบบเบื้องต้นของการสื่อสารไมโครเวฟ ไมโครเวฟ (microwave) เป็นคลื่นความถี่วิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 0.3GHz - 300GHz ส่วนในการใช้งานนั้นส่วนมากนิยมใช้ความถี่ระหว่าง 1GHz - 60GHz เพราะเป็นย่านความถี่ที่สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: คลื่นและไมโครเวฟ · ดูเพิ่มเติม »

เกมร้ายเกมรัก

กมร้ายเกมรัก เป็นนวนิยายไทย จากบทประพันธ์ชื่อเดิม "เกมร้ายพ่ายเกมรัก" โดยนามปากกาของ "บุษบาพาฝัน" ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554 เขียนบทโทรทัศน์โดย ปณธี กำกับการแสดงโดย อำไพพร จิตติ์ไม่งง ดำเนินงานโดย บริษัท ละครไท จำกัด ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554 นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, อุรัสยา เสปอร์บันด์,ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ,ณัฐวรา วงศ์วาสนา ร่วมด้วยนักแสดงสมทบอีกมากมาย และออกอากาศรีรันซ้ำอีกครั้งทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.10 - 15.30 น. เริ่มวันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 โดยออกอากาศต่อจากละครเรื่อง เมียแต่ง.

ใหม่!!: คลื่นและเกมร้ายเกมรัก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะอัลคาทราซ

กาะอัลคราทราซ เกาะอัลคาทราซ (บางครั้งเรียกว่า อัลคาทราซ หรือ เดอะร็อค) เป็นเกาะเล็กๆ ที่ตั้งอยู่กลางอ่าวซานฟรานซิสโก ในแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เกาะนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งประภาคาร ป้อมปราการของกองทัพ และยังเป็นคุกทหารจนถึงปี 1963 หลังจากนั้น เกาะอัลคาทราซก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ปัจจุบันนี้ เกาะอัลคาทราซเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์จากการอนุมัติโดยหน่วยงานอุทยาน แห่งชาติ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "Golden Gate National Recreation Area" และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมโดยเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือ 33 ใกล้กับ ฟิชเชอร์แมนวาร์ฟ (Fisherman's Wharf) ในซานฟรานซิสโก นอกจากนี้เกาะแห่งนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในปี 1986 ชื่อของเกาะได้รับการตั้งขึ้นเมื่อปี 1775 เมื่อนักสำรวจชาวสเปน ฮวน มานูเอล เดอ อยาลา ทำการสำรวจอ่าวซานฟานซิสโก และตั้งชื่อตามขนาดของเกาะว่า ลา อิสลา เดอ ลอส อัลคาทราซ ซึ่งแปลว่า "เกาะแห่งนกกระทุง" เกาะแห่งนี้ไม่เหมาะที่จะอยู่อาศัย เนื่องจากกระแสน้ำทะเล พืชผักที่มีปริมาณน้อยมาก และพื้นดินที่แห้งแล้ง เนื่องจากเกาะแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางอ่าวตามธรรมชาติ ล้อมรอบด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิเยือกแข็งและคลื่นลมแรง เกาะอัลคาทราซ จึงได้รับการพิจารณาให้ใช้เป็นที่คุมขังนักโทษ ในปี 1861 เกาะนี้ได้เป็นที่รองรับนักโทษจากสงครามกลางเมืองจากรัฐต่างๆ และผลพวงจากสงครามสเปน-อเมริกัน ในปี 1898 ทำให้จำนวนนักโทษเพิ่มขึ้นจาก 26 คน เป็น 450 คน จากนั้นในปี 1906 ได้เกิดแผ่นดินไหวในซานฟานซิสโก (ที่ทำลายเมืองนี้อย่างรุนแรง) บรรดานักโทษจึงถูกย้ายไปบนเกาะเพื่อความปลอดภัย ในปี 1912 มีการก่อสร้างคุกขนาดใหญ่ที่ใจกลางเกาะ และในปลายทศวรรษ 1920 อาคารสามชั้นนี้ก็เสร็จสมบูรณ์ กองทัพสหรัฐใช้เกาะอัลคาทราซมามากว่า 80 ปี คือจากปี 1850 จนถึงปี 1933 จากนั้นเกาะนี้ได้ย้ายไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงยุติธรรมเพื่อใช้เป็น ที่คุมขังนักโทษ รัฐบาลได้ใช้เป็นสถานที่ดัดสันดานที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุด ปราศจากสิทธิพิเศษใดๆ เพื่อจัดการกับบรรดานักโทษ และแสดงถึงประสิทธิภาพทางกฎหมายที่รัฐบาลต้องการลดคดีอาชญากรรมที่มีมากมาย ในช่วงปี 1920 และปี 1930 เกาะอัลคาทราซ ไม่ใช่ "เกาะแห่งความชั่วร้ายของอเมริกา" อย่างที่ปรากฏในหนังสือและภาพยนตร์ต่างๆ จำนวนนักโทษโดยเฉลี่ยประมาณคือ 260-275 คน (จำนวนนักโทษนี้ยังไม่ถึงปริมาณที่รองรับได้สูงสุด 336 คน ซึ่งนับได้ว่าจำนวนนักโทษของเกาะมีสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของจำนวนนักโทษทั่วประเทศ) มีนักโทษมากมายถูกพิพากษาไว้ชีวิต และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่านักโทษที่อื่น (ยกตัวอย่างเช่น นักโทษหนึ่งคนต่อหนึ่งห้องขัง) ซึ่งมีนักโทษหลายคนขอย้ายไปอยู่ที่เกาะอัลคาทราซ.

ใหม่!!: คลื่นและเกาะอัลคาทราซ · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดพาชีเนียน

ม็ดพาชีเนียน (Pacinian corpuscles) หรือ Lamellar corpuscles (เม็ดเป็นชั้น ๆ) เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หุ้มปลายพิเศษหลักอย่างหนึ่งในสี่อย่างที่ผิวหนังซึ่งไม่มีขน เป็นปลายประสาทที่หุ้มด้วยเซลล์ซึ่งไม่ใช่เซลล์ประสาท (schwann cell) มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมที่เต็มไปด้วยน้ำในระหว่างชั้น โดยชั้นนอกสุดจะหนาเป็นพิเศษและชั้นในสุดจะต่างจากชั้นอื่น ๆ ทั้งทางกายวิภาคและทางเคมีภูมิคุ้มกัน เม็ดอยู่ในผิวหนังที่ไวต่อแรงสั่นและการเปลี่ยนแรงดัน โดยอยู่ในหนังแท้ใต้ผิวหนังประมาณ 2-3 มม.

ใหม่!!: คลื่นและเม็ดพาชีเนียน · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อกั้นหูชั้นใน

ื่อกั้นหูชั้นใน หรือ เยื่อฐาน (Basilar membrane) ภายในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) เป็นโครงสร้างแข็ง ๆ ที่แยกท่อสองท่อซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งก็คือช่อง scala media และ scala tympani (ดูรูป) และวิ่งไปตามก้นหอยของคอเคลี.

ใหม่!!: คลื่นและเยื่อกั้นหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

เลอง ฟูโก

ลอง ฟูโกต์ (Léon Foucault; 18 กันยายน ค.ศ. 1819 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1868) หรือชื่อเต็ม เลอง ฟูโกต์ เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: คลื่นและเลอง ฟูโก · ดูเพิ่มเติม »

เวฟ

วฟ (wave) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คลื่นและเวฟ · ดูเพิ่มเติม »

เวกเตอร์สี่มิติ

ในทฤษฎีสัมพัทธภาพ เวกเตอร์สี่มิติ (four-vector) เป็นเวกเตอร์ในปริภูมิเวกเตอร์เหนือฟิลด์ของจำนวนจริงใน 4 มิติ ซึ่งปริภูมิเวกเตอร์ดังกล่าวรู้จักกันในนาม ปริภูมิมิงคอฟสกี (Minkowski space) ภายใต้การแปลงพิกัด (coordinate transformation) เช่น การหมุนใน 3 มิติ (spatial rotations) และ การบูสต์ (boosts) (การเปลี่ยนจากกรอบอ้างอิงเฉื่อยเดิมไปสู่กรอบอ้างอิงเฉื่อยใหม่ที่มีความเร็วคงที่สัมพัทธ์กัน) องค์ประกอบ (components) ของเวกเตอร์สี่มิติจะมีการแปลงเช่นเดียวกับพิกัดอวกาศและเวลา \left(t,x,y,z\right) เซ็ตของการหมุนและการบูสต์ดังกล่าว เรียกรวมๆ ว่า การแปลงโลเร็นตซ์ (Lorentz transformations) ประกอบกันเป็น กรุ๊ปโลเร็นตซ์ (Lorentz group) และบรรยายโดยเมทริกซ์ 4\times 4.

ใหม่!!: คลื่นและเวกเตอร์สี่มิติ · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: คลื่นและเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: คลื่นและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »