โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ดัชนี คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

141 ความสัมพันธ์: บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์บันไดระยะห่างของจักรวาลชาร์ล เดอ โกลชาร์ลี แชปลินชุดชั้นในสตรีชูอัน มีโรฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกีฟุเรินพ.ศ. 2513พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิพีชคณิตแบบบูลกระสุนส่องวิถีกร็อง-ปลัสกลุ่มนอร์ดิกกองทัพคันโตการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งการขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชาการขนส่งระบบรางในประเทศเวียดนามการขนส่งในประเทศลาวการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในชิลีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตกีโยม อาปอลีแนร์ภาษาสเปนภาษาคาซัคภาษาเอสเปรันโตภูเขาไฟเปอเลมหาวิหารเคอนิจส์แบร์กมอนเตอากีลายอร์ช เซเดส์ยอดเขาเอเวอเรสต์ยาปฏิชีวนะยูโกสลาเวียราชสกุลลีราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมนรายชื่อธงในประเทศอิหร่านรายชื่อทุพภิกขภัยรายชื่อปีคริสต์ศักราชรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ริชาร์ด ไฟน์แมนรถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรสลัทธิคอมมิวนิสต์ลีแยฌวันอาทิตย์วาฬสีน้ำเงินวิทยาการระบาดวิทยาการศึกษาสำนึกวงศ์นกปักษาสวรรค์...ศตวรรษศตวรรษที่ 20สมเด็จพระราชินีนาถสวนเซ็นญี่ปุ่นสัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบสังคมศึกษาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1สิงโตแหลมกู๊ดโฮปสุญญากาศสถาปัตยกรรมตระกูลชิคาโกสถาปนิกสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลักสูตรอักษรฮันจาอักษรเตลูกูอัปแซ็งต์อันโตนีโอ กรัมชีอันเดรย์ คอลโมโกรอฟอาร์ชเดอลาเดฟ็องส์อาณาจักรอิศานปุระอิกอร์ สตราวินสกีอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีรอุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474จอร์จ ออร์เวลล์จอร์จ ฮักเกนชมิดท์จักรวาลวิทยาจาโกโม ปุชชีนีธงชาติมัลดีฟส์ธงชาติอัฟกานิสถานธงชาติอินโดนีเซียทวีปทิม เบอร์เนิร์ส-ลีทุนนิยมดาราศาสตร์คริสต์ศตวรรษคริสต์สหัสวรรษที่ 2คริสต์ทศวรรษคฤหาสน์สตอแกลคลองความแพร่หลายของภาษาสเปนคอเคเซียนตะวันออกกลางตำนานนายพันเก้า หัวใจรักจากท้องทะเลซันโฮเซซูเดเทินลันด์ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ประวัติศาสตร์สเปนประเทศสวีเดนประเทศสเปนประเทศโปรตุเกสประเทศเบลเยียมปวยร์โตรีโกปัญหาของฮิลแบร์ทปารีสปืน ร.ศ. 121ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธนวยุคนิยมนักคณิตศาสตร์นิโคลา เทสลานีลส์ เฮนริก อาเบลแฟร็กทัลแกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซียแหล่งเหมืองหลักแห่งวัลโลเนียแจ๊สแคว้นอาลซัสแซนตามอนิกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย)ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์โอคาพีโอไดบะโปรดิวเซอร์เพลงโนม ชอมสกีไข้รากสาดใหญ่เพลงชาติมองโกเลียเกาะซุมบาวาเวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์เสรีภาพเหตุการณ์ 14 ตุลาเอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์เออร์สกิน คอลด์เวลล์เจนไนเขมรแดงเขตวัลลูนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เซาเปาลูเซนҐГ13 พฤศจิกายน ขยายดัชนี (91 มากกว่า) »

บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์

อู่ต่อเรือบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ค.ศ. 1726 วาดโดยโจเซฟ มัลเดอร์ ฟลอริน อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ บริเวณสีเขียวอ่อนคือดินแดนในปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ สหบริษัทอินเดียตะวันออก (Vereenigde Oostindische Compagnie) หรือที่ชาวอังกฤษเรียกว่า บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) มีชื่อย่อว่า เฟโอเซ (VOC) ได้รับก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1602 โดยในช่วงแรกรัฐสภาเนเธอร์แลนด์มอบสิทธิ์ขาดในการค้าเครื่องเทศแก่บริษัทเป็นเวลา 21 ปี บ่อยครั้งบริษัทนี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นบริษัทข้ามชาติบริษัทแรกในโลก และเป็นบริษัทแรกที่ออกหุ้น สหบริษัทอินเดียตะวันออกเป็นบริษัทที่มีอำนาจสูงเกือบเทียบเท่ารัฐบาล โดยมีความสามารถที่จะเข้าร่วมสงคราม สั่งจำคุกและประหารชีวิตนักโทษ เจรจาสนธิสัญญา ผลิตเหรียญกระษาปณ์เป็นของตนเอง และจัดตั้งอาณานิคม.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

บันไดระยะห่างของจักรวาล

แผนภูมิบันไดระยะห่างของจักรวาล บันไดระยะห่างของจักรวาล (Cosmic distance ladder หรือ Extragalactic Distance Scale) เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการบรรยายระยะห่างของวัตถุท้องฟ้า การวัดระยะทางโดยตรงที่แท้จริงของเทหวัตถุหนึ่งๆ จะทำได้ก็ต่อเมื่อวัตถุนั้นอยู่ "ใกล้" กับโลกพอที่จะทำได้เท่านั้น (คือระยะไม่เกินหนึ่งพันพาร์เซก) ดังนั้นเทคนิคในการอธิบายถึงระยะห่างของวัตถุที่อยู่ไกลกว่านั้นจึงต้องใช้วิธีการหลากหลายโดยอาศัยความสัมพันธ์กับวัตถุใกล้เคียง กระบวนการต่างๆ เหล่านั้นจะอิงอยู่กับ เทียนมาตรฐาน ซึ่งหมายถึงวัตถุดาราศาสตร์ที่ทราบค่าความส่องสว่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และบันไดระยะห่างของจักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล เดอ โกล

ร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล (Charles André Joseph Marie de Gaulle) หรือ ชาร์ล เดอ โกล (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ เขาเป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ถึง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ถูกเรียกตัวไปจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เขาได้เป็นแรงบันดาลใจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ถึงปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) แนวคิดทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักในนามของลัทธินิยมโกล และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองฝรั่งเศสในยุคต่อม.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และชาร์ล เดอ โกล · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ลี แชปลิน

ซอร์ชาลส์ สเปนเซอร์ แชปลิน จูเนียร์ (Sir Charles Spencer Chaplin, Jr., KBE) หรือรู้จักกันในชื่อ ชาร์ลี แชปลิน (Charlie Chaplin) (16 เมษายน ค.ศ. 1889–25 ธันวาคม ค.ศ. 1977) นักแสดงชาวสหราชอาณาจักรผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง ในยุคต้นถึงยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของฮอลลีวูด อีกทั้งยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ซึ่งมีผลงานโดดเด่นหลายเรื่องด้วยกัน ตัวละครที่เขาแสดงซึ่งมีผู้จดจำได้มากที่สุดคือ "คนจรจัด" (The Tramp) ซึ่งมักปรากฏตัวในลักษณะคนจรจัดซึ่งสวมเสื้อนอกคับตัว สวมกางเกงและรองเท้าหลวม สวมหมวกดาร์บีหรือหมวกโบว์เลอร์ ถือไม้เท้าซึ่งทำจากไม้ไผ่ และไว้หนวดจุ๋มจิ๋ม แชปลินเป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดคนหนึ่งในยุคภาพยนตร์เงียบ ดังจะเห็นได้จากการที่เขาทั้งแสดง กำกับ เขียนบท อำนวยการสร้าง และรวมไปถึงประพันธ์ดนตรีประกอบในภาพยนตร์ของเขาเอง ผลงานบางเรื่องของเขาเช่นอีก่อ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และชาร์ลี แชปลิน · ดูเพิ่มเติม »

ชุดชั้นในสตรี

ั้นในสตรีในหลายรูปแบบ ชุดชั้นในสตรี เป็นชุดชั้นในของผู้หญิง และอาจบ่งบอกถึงแฟชั่น ความทันสมัย และมีเสน่ห์ ชุดชั้นในถูกออกแบบด้วยผ้าให้มีความยืดหยุ่น และตกแต่งสวยงาม เช่น ไลคร่า ไนลอน (ไนลอนสามล้อ) เส้นใยสังเคราะห์ แพรซาติน ลูกไม้ ผ้าไหม ผ้าเชียร์ สิ่งทอ ชุดชั้นในผ้าฝ้ายหรือผ้าสังเคราะห์บางชนิดก็เป็นชุดชั้นในสตรี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และชุดชั้นในสตรี · ดูเพิ่มเติม »

ชูอัน มีโร

ูอัน มีโร ภาพงานจิตรกรรมชื่อ "กลางคืน (Nocturne)" ของชูอัน มีโร ชูอัน มีโร อี ฟาร์รา (Joan Miró i Ferrà) เป็นจิตรกรและประติมากรชาวกาตาลา (ประเทศสเปน) ในสกุลศิลปะลัทธิเหนือจริง (surrealism) ภาพของเขาที่แสดงความเคลื่อนไหวไปมาอย่างน่าประหลาดนั้น เขาทำขึ้นจากความเคลื่อนไหวของลายเส้นที่พันกันชุลมุนและความสว่างสดใสของสี ภาพของมีโรเป็นการแปลสิ่งมหัศจรรย์ ซึ่งเป็นความแท้จริงที่พบใหม่นี้ มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมดีแท้ทีเดียว เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ความแท้จริงใหม่นี้ ไม่สามารถจะจับเอาเป็นคำพูด ความคิด หรือภาพให้สมบูรณ์แบบได้เลย ศิลปินลัทธิเหนือจริงและศิลปินเอกของศิลปะนามธรรมผู้นี้ได้พัฒนามาเป็นแบบอย่างศิลปะส่วนตัวอย่างเต็มที่ กลายเป็นผลงานที่สีสันอุดมสมบูรณ์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากคันดินสกี อาร์พ และเคล ผลงานของเขาเผยให้เห็นภาษาเชิงกวีนิพนธ์ มีโรได้รับการยอมรับว่ามีเอกลักษณ์ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ออกมาเป็นภาพวาดได้อย่างลงตัวและงดงามหาที่เปรียบมิได้ เป็นศิลปินยุค 1893-1983 ซึ่งถือว่าโดดเด่นมากเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่างปาโบล ปีกัสโซ ร่วมพิสูจน์ภาพเขียนแนวเหนือจริงที่ฉีกจากกรอบและกฎเกณฑ์เดิม.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และชูอัน มีโร · ดูเพิ่มเติม »

ฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี

ฟีโอดอร์ มิคาอิลโลวิช ดอสโตเยฟสกี (ภาษารัสเซีย Фёдор Миха́йлович Достое́вский) (11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1821 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1881) เป็นนักเขียนที่ถือกันว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนรัสเซียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด งานของเขายังมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อมาถึงนวนิยายในคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานของเขามักจะมีตัวละครที่อาศัยอยู่อย่างแร้นแค้น มีความคิดที่แตกต่างและสุดโต่ง และมักจะแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างน่าประหลาดของจิตวิทยามนุษย์ และการวิเคราะห์อย่างฉลาดหลักแหลม ของสภาพการเมือง สังคม และจิตวิญญาณ ของประเทศรัสเซียในช่วงเวลาของเขา นวนิยายของเขาที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ พี่น้องคารามาซอฟ และ อาชญากรรมกับการลงทัณฑ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และฟิโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

ฟุเริน

ฟุเริน (Voeren) เป็นเทศบาลทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลลิมเบิร์กในประเทศเบลเยียม และเป็นเมืองในเขตฟลามส์ที่ไม่มีพื้นที่ติดกับเขตฟลามส์ด้วยกัน โดยทางเหนือติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วนทางใต้ติดต่อกับมณฑลลีแยฌในเขตวัลลูน ชื่อฟุเรินมาจากแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองชื่อว่า แม่น้ำฟูร์ (Voer) ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเมิซ ฟุเรินมีประชากรประมาณ 4,000 คน ประมาณร้อยละ 25 เป็นชาวต่างชาติซึ่งส่วนใหญ่มีสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ประมาณช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฟุเรินยังเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลีแยฌ หน่วยงานรัฐใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่โบสถ์และโรงเรียนใช้ภาษาเยอรมันหรือดัตช์ และได้เกิดการถกเถียงเรื่องภาษาขึ้น จนในปี ค.ศ. 1962 มีการเสนอให้ฟุเรินมีภาษาดัตช์เป็นภาษาทางการ แต่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลีแยฌ หลังจากการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในรัฐสภา ข้อเสนอนี้ก็ได้มีการอนุมัติ และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ฟุเรินย้ายจากส่วนหนึ่งของมณฑลลีแยฌมาเป็นของมณฑลลิมเบิร์ก ต่อมาวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1977 ก็ได้ควบรวมเขตย่อยทั้ง 6 ของฟุเรินให้กลายมาเป็นฟุเรินในปัจจุบัน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และฟุเริน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

รรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) หรือชื่อเดิมว่า พรรคอนุรักษนิยมและสหภาพนิยม คือพรรคการเมืองกลาง-ขวาในสหราชอาณาจักรที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของลัทธิอนุรักษนิยมและลัทธิการรวมชาติบริเตน ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาจำนวน 330 คน สมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ 9,391 คน และเป็นพรรคการเมืองจากสหราชอาณาจักรที่มีที่นั่งในรัฐสภายุโรปมากที่สุดจำนวน 25 ที่นั่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาสามัญชนโดยมีหัวหน้าพรรคคือนางเทเรซา เมย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคมักถูกเรียกขานว่า พรรคขุนนาง (Tory Party) หรือ พวกขุนนาง (Tories) พรรคอนุรักษนิยมก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และพรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร) · ดูเพิ่มเติม »

พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ

การแสดงในอิตาลี เมื่อปี 2009 เลอ ซาเกร ดู แปร็งตอง (Le sacre du printemps; Весна священная, Vesna svyashchennaya; The Rite of Spring) หรือเรียกย่อว่า เลอ ซาเกร (Le sacre), เดอะ ไรท์ (The Rite) เป็นบัลเลต์เรื่องที่สามของอิกอร์ สตราวินสกี ออกแสดงครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และพิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ · ดูเพิ่มเติม »

พีชคณิตแบบบูล

ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พีชคณิตแบบบูล, พีชคณิตบูลีน หรือ แลตทิซแบบบูล (Boolean algebra) คือโครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต โดยชื่อพีชคณิตแบบบูลนั้นตั้งตามจอร์จ บูล ผู้พัฒนาพีชคณิตแบบนี้.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และพีชคณิตแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

กระสุนส่องวิถี

ปืนกลบราวนิง เอ็ม 2 ที่บรรจุกระสุนแล้ว ปลายหัวกระสุนส่องวิธีถูกทาสีแดงเพื่อแยกประเภทออกจากกระสุนธรรมดา กระสุนส่องวิถีคือกระสุนชนิดพิเศษที่ฐานใต้หัวกระสุนถูกดัดแปลงให้รองรับสารเคมีที่ก่อให้เกิดประกายไฟ สารเคมีจะลุกไหม้ทำให้เกิดแสงจ้าเมื่อกระสุนถูกยิงออกไป ทำให้ผู้ยิงรู้ถึงวิถีกระสุน ว่ากระทบกับเป้าหมายหรือไม่ เพื่อปรับการเล็งให้เที่ยงตรง โดยทั่วไปแล้วกระสุนส่องวิถีจะถูกบรรจุแทรกกับกับกระสุนทั่วไปทุกๆ สี่ถึงหกนัด เพื่อทำการส่องวิถีในการรบเวลากลางคืน แต่บางครั้งหัวหน้าชุดยิงอาจจะบรรจุกระสุนส่องวิถีทั้งซองเพื่อชี้เป้าให้สมาชิกชุดยิงคนอื่นๆ ทำการระดมยิงใส่เป้าหมาย คนที่ถูกกระสุนส่องวิถียิงใส่จะเห็นว่ากระสุนแล่นมาด้วยความเร็วต่ำจากระยะไกล แต่เมื่อกระสุนแล่นเข้ามาใกล้ขึ้น ก็ดูเหมือนว่าความเร็วของกระสุนจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม มุมมองของผู้ถูกยิงนั้นเป็นภาพลวงต.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และกระสุนส่องวิถี · ดูเพิ่มเติม »

กร็อง-ปลัส

ัตุรัสหลักแห่งบรัสเซลส์ หรือ กร็อง-ปลัสเดอบรูว์แซล (Grand-Place de Bruxelles) และ โกรเทอมาคท์ (Grote Markt) คือจัตุรัสกลางบรัสเซลส์ซึ่งรายล้อมด้วยเหล่าอาคารเก่าอันสวยงามและกลมกลืนกันทางสถาปัตยกรรม และถือว่าเป็นจัตุรัสที่สวยที่สุดในโลก โดยเฉพาะออแตลเดอวีล (Hôtel de Ville de Bruxelles) และแมซงดูว์รัว (Maison du Roi) จัตุรัสแห่งนี้ถือเป็นบริเวณที่สำคัญที่สุดในการท่องเที่ยวและยังถือเป็นจุดหมายตาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเบลเยียมอีกด้วย กร็อง-ปลัสแห่งนี้มีขนาดความกว้าง 68 เมตร ยาว 110 เมตร ในปัจจุบัน จัตุรัสแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และกร็อง-ปลัส · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มนอร์ดิก

แผนที่ภูมิศาสตร์การเมืองของกลุ่มนอร์ดิก กลุ่มประเทศนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic countries) หรือรวมเรียกเป็นภูมิภาคนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic region) หมายถึงภูมิภาคในยุโรปเหนือ ประกอบด้วย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน และดินแดนปกครองตนเองในสังกัดประเทศเหล่านั้นสามแห่ง ได้แก่ กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) และหมู่เกาะโอลันด์ (ฟินแลนด์) ประเทศในกลุ่มนอร์ดิกมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน และมีสิ่งต่างๆที่คล้ายคลึงกันในสังคม เช่น ระบบการเมืองการปกครอง กลุ่มนอร์ดิกมีประชากรรวมกันราว 24 ล้านคน คำว่านอร์ดิก มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Pays Nordiques ซึ่งเทียบเท่ากับคำภาษาท้องถิ่นว่า Norden (ภาษากลุ่มสแกนดิเนเวีย – สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก) Pohjola/Pohjoismaat (ภาษาฟินแลนด์) และ Norðurlönd (ภาษาไอซ์แลนด์และภาษาแฟโร) โดยมีความหมายว่า (ดินแดนทาง)ทิศเหนือ ปัจจุบัน มีการใช้คำว่าสแกนดิเนเวีย ในความหมายของกลุ่มนอร์ดิกในภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผลมาถึงการใช้ในภาษาไทยด้วยเช่นกัน กลุ่มนอร์ดิกมีความสัมพันธ์กันในทางการเมือง ในองค์กรที่เรียกว่าคณะมนตรีนอร์ดิก ในระยะหลัง ประเทศเอสโตเนียได้วางภาพตัวเองเป็นประเทศนอร์ดิก แต่โดยทั่วไปแล้วมักถือว่าเอสโตเนียเป็นรัฐบอลติก เอสโตเนียมีความใกล้ชิดทางด้านภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมกับฟินแลนด์ และมีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนจำนวนมากกับกลุ่มประเทศนอร์ดิก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และกลุ่มนอร์ดิก · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพคันโต

กองทัพคันโต หรือ กองทัพกวันตง (관동군 gwandong-gun; Kwantung Army, ความหมาย: "กองทัพประตูตะวันออก") คือกลุ่มกองทัพของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นับเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดและทรงเกียรติที่สุดของกองทัพจักรวรรดิ นายทหารหลายนายจากหน่วยนี้ เช่น เสนาธิการทหารเซย์ชิโร อิทะงะกิ หรือ พลเอกฮิเดกิ โตโจ ต่างได้ดำรงตำแหน่งระดับสูงทั้งในราชการทหารและรัฐบาลพลเรือนของญี่ปุ่น อนึ่ง กองทัพคันโตยังเป็นหน่วยที่มีส่วนรับผิดชอบอย่างยิ่งในการก่อตั้งจักรวรรดิแมนจูกัว อันเป็นรัฐหุ่นเชิดภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และกองทัพคันโต · ดูเพิ่มเติม »

การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง

thumb การถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง (recall) คือ กระบวนการที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งจากตำแหน่ง.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา

นีรถไฟพนมเปญ ค.ศ. 2009 รถไฟกัมพูชา กัมพูชา มีเครือข่ายรถไฟเป็นระยะทาง จำนวน 2 เส้นทาง ซึ่งก่อสร้างในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส เนื่องจากความยากลำบากของประชาชนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้การรถไฟอยู่ในสภาพทรุดโทรมค่อนข้างมาก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และการขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่งระบบรางในประเทศเวียดนาม

้นทางรถไฟในประเทศเวียดนาม รถจักรของเวียดนาม การขนส่งระบบรางในประเทศเวียดนาม ดำเนินการโดยการรถไฟเวียดนาม (Đường sắt Việt Nam) เส้นทางหลักคือ ทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ วิ่งระหว่างเมืองฮานอยและโฮจิมินห์ซิตี รวมระยะทาง จากโครงข่ายทั้งหม.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และการขนส่งระบบรางในประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

การขนส่งในประเทศลาว

แผนที่ประเทศลาว การคมนาคมในประเทศลาว ประเทศลาวมีระบบการคมนาคมที่ทันสมัยและหลากหลาย รวมไปถึงสนามบินต่าง ๆ ด้วย แต่ประเทศลาวไม่มีด้านใดติดกับทะเล ดังนั้นประเทศลาวจึงไม่มีท่าเรือแต่อย่างใ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และการขนส่งในประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในชิลี

ทบาทของสหรัฐอเมริกาในประเทศชิลีเริ่มมีบทบาทให้เห็นตั้งแต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่เหตุการณ์การเรียกร้องเอกราชของชิลีเป็นต้นมา แต่การแสดงบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่เด่นชัดที่สุดเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของชิลี และใช้อำนาจในการล้มล้างรัฐบาลที่ขัดผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาในชิลี · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (Abiogenesis) เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น ปลาเกิดจากดินโคลนในแม่น้ำลำคลอง โดยสมมติฐานนี้ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งฟรานเซสโก เรดิ และหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สมมติฐานจึงไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

กีโยม อาปอลีแนร์

Apollinaire (left) and André Rouveyre, 1914. กีโยม อาปอลีแนร์ (Guillaume Apollinaire หรือ Wilhelm Albert Vladimir Apollinaris de Kostrowitzky; 26 สิงหาคม ค.ศ. 1880 - 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918) เป็นผู้เรียกตัวเองว่า "เจ้าชายรัสเซีย" น่าจะเกิดในโรม เป็นบุตรชายของชาวโปลผู้เป็นนักผจญภัยและ (อาจจะ) เป็นขุนนางเชื้อสายสวิส-อิตาลี อาปอลีแนร์เป็นบรรณาธิการคอลัมน์วิจารณ์หนังสือ นักเขียนเรื่องโป๊ และกวีแนวทดลองผู้เข้าไปมีส่วนร่วมกับขบวนการวรรณกรรมบุกเบิกก้าวหน้าทุกแนวของฝรั่งเศสในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเรียนหนังสือแบบไม่เป็นโล้เป็นพายในอิตาลีและที่ภาคใต้ของฝรั่งเศส เขาย้ายไปอยู่ปารีสเมื่ออายุ 20 เคยถูกกักตัวไว้หนึ่งอาทิตย์เพราะสงสัยว่าจะขโมยภาพโมนาลิซ่า เขาได้รับสัญชาติฝรั่งเศส ร่วมรบและบาดเจ็บจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และกีโยม อาปอลีแนร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาซัค

ษาคาซัค (Kazakh, Kazak, Qazaq, Қазақ тілі, Qazaq tili: คาซัค ติลิ) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ที่มีรหัส ISO 639 ว่า kaz และ kk ภาษาคาซัคเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศคาซัคสถาน และนอกจากนี้ยังมีคนพูดภาษานี้ในอัฟกานิสถาน จีน อิหร่าน คีร์กีซสถาน มองโกเลีย รัสเซีย ทาจิกิสถาน ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน ในเยอรมนีมีคนที่พูดภาษาคาซัคตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทั่วโลกมีคนพูดภาษาคาซัคเป็นภาษาแม่ประมาณ 6.5 ล้านคน เขียนโดยใช้อักษรซีริลลิก อักษรละติน (ในตุรกี) และอักษรอาหรับที่มีการดัดแปลง (ในประเทศจีน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และภาษาคาซัค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอสเปรันโต

ษาเอสเปรันโต (Esperanto) เป็นภาษาประดิษฐ์ในกลุ่มภาษาช่วยในการสื่อสารระดับสากลที่ใช้กันมากที่สุดในโลก คิดค้นโดย แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ (L.L. Zamenhof) จักษุแพทย์ชาวโปแลนด์ (ในช่วงที่รัสเซียปกครองโปแลนด์ โดยมีพ่อแม่เป็นชาวยิว) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 โดยต้องการให้ภาษาเอสเปรันโตเป็นภาษาที่เรียนง่าย และเป็นภาษาที่สองสำหรับการสื่อสารระดับนานาประเทศ ชื่อ เอสเปรันโต มาจากนามปากกา ดร.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และภาษาเอสเปรันโต · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟเปอเล

ูเขาไฟเปอเล (Montagne Pelée, Mount Pelée) เป็นภูเขาไฟมีพลังบนปลายด้านทิศเหนือของ หมู่เกาะเวสต์อินดี ฝรั่งเศส ในทะเลแคริบเบียน มีลักษณะเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ส่วนกรวยประกอบด้วยชั้นของเถ้าธุลีภูเขาไฟและลาวาที่แข็งตัว Mount Pelée เป็นที่รู้จักเนื่องเมื่อ พ.ศ. 2445 และผลจากการทำลายซึ่งถูกจัดให้เป็นภัยพิบัติจากภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีผู้ประสบภัยประมาณ 26,000-36,000 คน และทำให้เมือง Saint-Pierre ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน Martinique ถูกทำลาย รวมทั้งผู้ว่าการของเมืองได้เสียชีวิตในภัยพิบัติครั้งนั้นด้ว.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และภูเขาไฟเปอเล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารเคอนิจส์แบร์ก

อาสนวิหารเคอนิจส์แบร์ก (Königsberg Cathedral) เป็นอาสนวิหารศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซียที่ตั้งอยู่ที่เมืองคาลินกราด (เดิมเคอนิจส์แบร์กในเยอรมนี) บนเกาะเพรเกิล (เพรโกลยา) ในสหพันธรัฐรัสเซีย หรือเรียกว่าคไนพ์ฮอฟในภาษาเยอรมัน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และมหาวิหารเคอนิจส์แบร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มอนเตอากีลา

มอนเตอากีลา (Monte Águila) เป็นเมืองเมืองหนึ่งในแคว้นบีโอบีโอ ประเทศชิลี มีประชากร 6,090 คน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และมอนเตอากีลา · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ช เซเดส์

รรณารักษ์ใหญ่ประจำหอสมุดวชิรญาณ พ.ศ. 2461 ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès;, พ.ศ. 2429-พ.ศ. 2512) เป็นนักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยอร์ช เซเดส์เดินทางมารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ใหญ่ประจำหอพระสมุดวชิรญาณ (ภายหลังเป็นหอสมุดแห่งชาติ) เมื่อ พ.ศ. 2461 และในปี พ.ศ. 2472 ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศและทำงานที่นั่นกระทั่ง พ.ศ. 2489 หลังจากนั้นได้เดินทางกลับกรุงปารีส และถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2512 ยอร์ช เซเดส์ได้เขียนเอกสารสัมมนาสองฉบับ เรื่อง The Indianized States of Southeast Asia (ค.ศ. 1968, 1975) และ The Making of South East Asia (ค.ศ. 1966) และบทความต่างๆ จำนวนมหาศาล ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาแนวคิดเรื่องอาณาจักรแบบอินเดีย (Indianized kingdom) ขึ้น อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอในสมัยใหม่ ว่า การรับแนวคิดอินเดียดังกล่าวนั้น มีความสมบูรณ์น้อยกว่าที่ที่เซเดส์เคยเชื่อ ด้วยยังมีการปฏิบัติที่หลงเหลืออยู่มากมายในอินเดี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และยอร์ช เซเดส์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโกสลาเวีย

ูโกสลาเวีย (Yugoslavia; สลาวิกใต้: Jugoslavija; เซอร์เบีย: Југославија) เป็นชื่ออดีตประเทศบริเวณคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความหมายของคำว่ายูโกสลาเวียคือ "ดินแดนของชาวสลาฟตอนใต้".

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชสกุลลี

ราชสกุลลี (House of Yi) หรือ ราชสกุลอี ราชสกุลที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีตั้งแต่ช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 14 – คริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งสืบเชื้อสายจาก พระเจ้าแทโจแห่งโชซ็อน หรือ ลีซองเก ปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์โชซ็อน ถึงแม้ในปัจจุบันประเทศเกาหลีได้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ไปแล้วและทางรัฐบาลเกาหลีใต้ยังมิได้ให้การยอมรับแต่ราชสกุลลีก็ยังคงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์อยู่จนถึงปัจจุบันเพื่อรอวันที่จะฟื้นฟูระบอบกษัตริย์บนคาบสมุทรเกาหลีโดยเชื้อพระวงศ์ผู้อ้างสิทธิ์องค์ปัจจุบันคือ เจ้าหญิงแฮ-ว็อน และ เจ้าชายว็อน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และราชสกุลลี · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมน

ราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์ (المملكة المتوكلية) หรือ ราชอาณาจักรเยเมน เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยเมนในปัจจุบัน หลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอิหร่าน

ตารางข้างล่างนี้แสดงภาพธงต่างๆที่ใช้ในประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และรายชื่อธงในประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อปีคริสต์ศักราช

หน้านี้เป็นดัชนีสำหรับหน้าของปีแต่ละปี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และรายชื่อปีคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ไฟน์แมน

ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005) แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโร ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้" ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่นๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และริชาร์ด ไฟน์แมน · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรส

รถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรส (Subterráneo de Buenos Aires) หรือรู้จักกันในชื่อ ซุบเต (Subte,, มาจากคำว่า subterráneo ที่แปลว่า ใต้ดินหรือรถไฟใต้ดิน) เป็นระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงประเภทรถไฟฟ้าใต้ดินที่ให้บริการในเขตกรุงบัวโนสไอเรสและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1913 รถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรสได้ขยายระบบโครงข่ายได้อย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 แม้จะล่าช้าไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และรถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรส · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège), ลึททิช (Lüttich), เลยก์ (Luik) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลีแยฌ ตั้งอยู่ในหุบเขาริมแม่น้ำเมิส ใกล้กับพรมแดนทางตะวันออกของเบลเยียมซึ่งติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ลีแยฌเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของเขตวัลลูน มีประชากรประมาณ 197,000 คน มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 600,000 คน ซึ่งถือได้ว่ามีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดในวัลโลเนีย ลีแยฌเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับสามของประเทศเบลเยียมรองจากกรุงบรัสเซลส์และแอนต์เวิร์ป และเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสี่รองจากแอนต์เวิร์ป เกนต์ และชาร์เลอรอย ในอดีตที่ตั้งของลีแยฌเคยเป็นรัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อ "ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ" ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 980 แต่ได้ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1795 เมื่อพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยลีแยฌ (University of Liège: ULg) ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และเปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1817 ประมาณครึ่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลีแยฌเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซึ่งนำความเจริญมาสู่วัลโลเนีย แต่ต่อมาได้มีการลดความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหล็กลง ลีแยฌมีชื่อเล่นคือ La Cité Ardente (เมืองที่ร้อนแรง) โดยชื่อนี้มาจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ชื่อเดียวกันโดย Henri Carton de Wiart ใน ค.ศ. 1904 ซึ่งในขณะนั้นชื่อนี้ยังไม่เคยถูกใช้.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์

วันอาทิตย์ เป็นวันในสัปดาห์ที่อยู่ระหว่างวันเสาร์กับวันจันทร์ ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจูเดโอ-คริสเตียน วันอาทิตย์ถือเป็นวันแรกของสัปดาห์ แต่ต่อมาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็มีการนับให้วันอาทิตย์เป็นวันที่ 7 ของสัปดาห์ (และให้วันจันทร์เป็นวันที่หนึ่งแทน) ตามที่ระบุไว้ใน ISO 8601 อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมยังกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันแรกของสัปดาห์อยู.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และวันอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน (Blue whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera musculus) เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วาฬสีน้ำเงินในขนาดปกติโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 26-29 เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมีความยาว 31.2 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 100-200 ตัน เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเกือบเท่าช้างหนึ่งตัว หัวใจมีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง และเส้นเลือดบางเส้นกว้างขนาดที่มนุษย์พอจะลงไปว่ายน้ำได้ และครีบหางก็มีขนาดกว้างกว่าปีกของเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา มีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, แอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงในมหาสมุทรแอนตาร์กติกด้วย และแม้จะมีขนาดร่างกายใหญ่โต แต่วาฬสีน้ำเงินก็มีรูปร่างเพรียวยาวเหมาะแก่การว่ายน้ำ จึงสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 20 นอตต่อชั่วโมง ลูกวาฬจะกินเฉพาะนมแม่ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 40 มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นชั่วโมงละ 4 กิโลกรัม กินเคยและแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แต่ก็อาจจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเช่น ปลาขนาดเล็กเข้าไปด้วย สามารถดำน้ำลงไปหาอาหารได้ลึกถึง 100 เมตร และปกติจะดำน้ำนาน 20 นาที แต่มีบันทึกสูงสุดว่าดำได้นานถึง 40 นาที และพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร ทั้งนี้ วาฬสีน้ำเงินที่โตเต็มวัยกินเคยวันหนึ่งได้มากถึง 4 ตัน วาฬสีน้ำเงินถูกล่าอย่างหนักเพื่อต้องการไขมันและน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วง 70 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 คาดว่ามีวาฬสีน้ำเงินราว 500,000 ตัวถูกฆ่าตาย ประชากรวาฬรอบเกาะเซาท์จอร์เจียในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ถูกฆ่าแบบล้างบาง รวมทั้งพวกที่เคยหากินอยู่นอกชายฝั่งญี่ปุ่นด้วย ประชากรวาฬสีน้ำเงินบางกลุ่มลดจำนวนลงถึงร้อยละ 93 จนเข้าสู่สภาพของการเป็นสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งถึงช่วงกลางทศวรรษ 1950 จึงได้มีการอนุรักษ์ขึ้นมาอย่างจริงจัง นอกจากนี้แล้ว วาฬสีน้ำเงินยังเป็นสัตว์ที่ส่งเสียงร้องได้กว้างไกลที่สุดในโลกอีกด้วย โดยสามารถส่งได้ได้ดังถึง 1,500 กิโลเมตร ในลักษณะของคลื่นเสียงที่มีความหลากหลาย ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ได้เป็นไปในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังใช้การนำทางอีกด้วย ปัจจุบัน มีปริมาณวาฬสีน้ำเงินในซีกโลกใต้อยู่ประมาณ 1,350 ตัว อีกทั้งมีหลักฐานว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี แต่ยังไม่มีการประมาณจำนวนวาฬชนิดนี้ที่ดีพอในบริเวณอื่นของโลก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และวาฬสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และวิทยาการระบาด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการศึกษาสำนึก

วริสติก เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของการค้นหาและการประดิษฐ์ มาจากภาษากรีกเช่นเดียวกับคำว่า ยูเรก้า (eureka, εὑρισκ&omega) ซึ่งหมายถึง ข้าพเจ้าพบแล้ว ("I find") การค้นพบฮิวริสติกเป็นผลมาจากความพยายามไตร่ตรองอย่างถึงที่สุด นักคณิตศาสตร์ชื่อ จอร์จ โพลยา (George Polya) ทำให้ฮิวริสติกได้รับความนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในหนังสือของเขาที่ชื่อ แก้ปัญหาอย่างไร (How to Solve It) ปกติแล้วเมื่อนักเรียนได้เรียนบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์แล้ว พวกเขามักไม่ทราบว่าจะหาบทพิสูจน์ดังกล่าวได้อย่างไรเพราะเป็นเรื่องที่ยากมาก หนังสือ แก้ปัญหาอย่างไร ได้เก็บรวบรวมไอเดียเกี่ยวกับฮิวริสติกที่เขาใช้สอนนักศึกษา ซึ่งหนังสือนี้เป็นสิ่งที่ช่วยแนะแนวทางที่มองปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาได้;ฮิวริสติกที่ใช้ทั่วไป.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และวิทยาการศึกษาสำนึก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกปักษาสวรรค์

นกปักษาสวรรค์ หรือ นกการเวก หรือ นกวายุภักษ์ (Bird-of-paradise) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Paradisaeidae เป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในตัวผู้จะมีขนตามตัวสีสันฉูดฉาดสวยงาม ขนหางเหยียดยาวเป็นเส้นโค้งอ่อนช้อย หรือม้วนเป็นรูปร่างแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิด จุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดตัวเมียที่มีความงามด้อยกว่า หรือบางกรณีก็เกิดพึงพอใจในตัวเมียต่างชนิดให้เข้ามาผสมพันธุ์ด้วย ขณะที่ตัวผู้บางชนิดจะเต้นไปบนพื้นดินเพื่อเกี้ยวพาราสีตัวเมีย นกปักษาสวรรค์กินลูกไม้ หรือแมลงบริเวณแหล่งอาศัยเป็นอาหาร นกปักษาสวรรค์ไม่ได้เป็นนกที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หากแต่มักจะอยู่ตามลำพังตัวเดียว แต่ตัวผู้ทุกชนิดจะสนใจแต่เรื่องหาคู่ โดยจะเกี้ยวพาราสีตัวเมียเสมอ ๆ ตัวผู้จะมีพฤติกรรมผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวเดิมตลอดช่วงของการเกี้ยวพาราสี หรือจะผสมพันธุ์ฺกับตัวเมียหลายตัว หรืออาจจะเป็นตัวเมียตัวเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีปัญหา เนื่องจากตัวเมียจะเป็นฝ่ายที่เลือกตัวผู้จากลีลาการเต้นเกี้ยวพาราสี โดยจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อมองเฟ้นหาตัวผู้ที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการคัดเลือกทางเพศที่มีมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งยังมีการผสมข้ามสายพันธุ์จนได้เป็นนกพันทางอีกด้วย นกปักษาสวรรค์ กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นของนิวกินี, หมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย และบางส่วนของออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 14 สกุล ประมาณ 40 ชนิด โดยกว่าครึ่งอยู่ในนิวกินี (บางข้อมูลจัดให้มี 15 สกุล) การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่านกปักษาสวรรค์มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองมานานกว่า 24 ล้านปี จนมีความหลากหลายและความงามอย่างในปัจจุบัน วิวัฒนาการดังกล่าวเป็นการเดินทางทางชีววิทยาอันยาวนานกว่าจะแยกออกจากนกในวงศ์ใกล้เคียงกันที่สุด คือ อีกา (Corvidae) ซึ่งเป็นนกที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าไม่สวย ในอดีต ขนของนกปักษาสวรรค์ถือเป็นเครื่องบรรณาการหรือสินค้ามีค่ามานานกว่า 2,000 ปี ขนนกใช้แทนเงินได้ การล่าจึงเกิดขึ้นอาจนับตั้งแต่การเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในถิ่นที่อยู่ของนกในวงศ์นี้ และได้กลายมาเป็นที่ต้องการของนักสะสมชาวยุโรป ภายหลังนกปักษาสวรรค์ตัวแรกเดินทางจากดินแดนหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกไปพร้อมกับกองเรือของเฟอร์ดินันท์ แมกเจลเลน และเทียบท่าสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1522 มีซากนกปักษาสวรรค์ที่ได้รับมอบเป็นบรรณาการกลับไปด้วย เมื่อชาวพื้นเมืองจับนกได้มักตัดขาทิ้ง ขณะนั้นชาวยุโรปยังไม่มีใครเคยเห็นนกปักษาสวรรค์ที่มีชีวิต จึงเล่าลือกันว่านกชนิดนี้ไม่มีขา คงต้องบินลงมาจากสวรรค์ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกสามัญ ในยุคที่ตลาดค้านกปักษาสวรรค์เฟื่องฟู เพราะความต้องการขนของนกปักษาสวรรค์มาประดับตกแต่งหมวกสตรีชาวยุโรป ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ที่นิวกินีมียอดส่งออกนกชนิดนี้ถึงปีละ 80,000 ตัวต่อปี จนท้ายที่สุดมีกระแสอนุรักษ์ก็เกิดขึ้น มีการออกมาต่อต้านของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมทั้งอีกหลายประเทศในยุโรปห้ามซื้อขาย ต่อมามีการออกกฎหมายห้ามล่า เมื่อจักรวรรดิอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมของนิวกินีในปี ค.ศ. 1908 ปัจจุบันรัฐบาลนิวกินีเองก็ได้ออกกฎหมายห้ามล่า ห้ามนำนกออกจากเกาะยกเว้นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ หรือเพื่อการเฉลิมฉลองในพิธีกรรมของชาวพื้นเมืองเท่านั้นและนกปักษาสวรรค์ยังได้ปรากฏบนมุมธงชาตินิวกินีและตราแผ่นดินของนิวกินีด้ว.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และวงศ์นกปักษาสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษ

ตวรรษ (จากภาษาสันสกฤต ศต (หนึ่งร้อย) และ วรรษ (ปี) หมายถึงช่วงเวลาติดต่อกัน 100 ปี ในทุกระบบวันที่ ศตวรรษจะถูกกำหนดให้เป็นตัวเลขแบบมีลำดับ ดังนั้น เราจะกล่าวถึง "ศตวรรษที่สอง" แต่ไม่กล่าวว่า "ศตวรรษสอง" ยังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่มากว่าจะนับปีหลักพัน (เช่น ปี 2000) ว่าเป็นปีแรกหรือปีสุดท้ายของศตวรรษ ความสับสนนี้มีหลักฐานปรากฏทุก ๆ ปี หลังจากปีคริสต์ศักราช 1500 และยิ่งเป็นสิ่งที่สับสนยิ่งขึ้นเมื่อมียุโรปได้มีการนำเลขอารบิกและแนวคิดของศูนย์เข้ามาใช้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศตวรรษมีทั้งคริสต์ศตวรรษและพุทธศตวรรษ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 20

ตวรรษที่ 20 อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถ

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถ (Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Regnant) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์ แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย) การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสมเด็จพระราชินีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สวนเซ็นญี่ปุ่น

right สวนหินญี่ปุ่น (枯山水; คะเระซันซุย หรือรู้จักกันทั่วไปในนาม เซนการ์เดน) คือสวนพื้นภูมิแห้งแล้งนั้นจัดเป็นชนิดของสวนเซนญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิผลจากนิกายเซนในพุทธศาสนาของญี่ปุ่น และสามารถหาชมได้ตามวัดเซนแห่งการฝึกสมาธิ สวนในรูปแบบของญี่ปุ่นนั้นถือเป็นศิลปะที่มีชีวิต เพราะต้นไม้และพืชต่างๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลงให้เห็นในฤดูที่แตกต่างกันไป ระหว่างที่ต้นไม้เจริญเติบโตจะได้รับการตกแต่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อความสวยงาม และเพราะฉะนั้นสวนญี่ปุ่นไม่มีลักษณะที่เหมือนเดิมเสมอไปและไม่มีการสิ้นสุดหรือเสร็จสมบูรณ์ โครงสร้างพื้นฐานของสวนญี่ปุ่นจะพิจารณาจากสถาปัตยกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเช่น อาคาร, ระเบียง, เส้นทาง, สึกิยะมะ (เนินเทียม) และการจัดวางของหิน เมื่อเวลาผ่านไปความงดงามของสวนก็จะขึ้นอยู่กับการดูแลและการบำรุงรักษาที่ได้รับโดยผู้มีฝีมือในศิลปะแห่งการตัดและตกแต่งสวนเช่นนี้ ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของศิลปะเซ็นคือการดูแลรักษาสวนให้คงที่ในลักษณะเสมือนภาพวาดและจิตรกรรม สวนคะเระซันซุยสามารถจัดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมและเป็นสัญลักษณ์ของพื้นภูมิที่เรียกได้ว่าเป็น “mind-scape” ทั้งนี้มันคือปรัชญาพุทธศาสนาซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความงามแห่งจักรวาลในสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสำคัญในพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น ความหมายย่อของคำว่า คะเระซันซุย จากบทสวนญี่ปุ่นของพจนานุกรมฉบับบิลิงเกลให้ความหมายไว้ว่า ต่างออกไปจากสวนตามประเพณี สวนคะเระซันซุยจะไม่มีธาติน้ำใดๆ เพียงแต่จะมีการปูกรวดหรือทราย ซึ่งอาจโดนกวาดลวดลายหรือไม่ก็สามารถเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ของทะเล, มหาสมุทร, แม่น้ำ หรือ ทะเลสาบได้ การจัดกวาดของกรวดหรือทรายเพื่อให้เป็นลวดลายที่บ่งบอกถึงคลื่นน้ำนั้นมีบทบาทของความสวยงามอยู่เช่นกัน อีกทั้งพระของพุทธศาสนานิกายเซนนั้นฝึกฝนและปฏิบัติการกวาดลวดลายเพื่อการฝึกสมาธิ การที่จะกวาดเส้นและลวดลายอย่างสมบูรณ์แบบนั้นไม่ใช้เรื่องง่าย การกวาดลวดลายนั้นขึ้นอยู่กับแบบของแนววัตถุหินที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณกรวด อย่างไรก็ตามแบบของลวดลายนั้นส่วนใหญ่จะไม่อยู่คงที่ เพราะการพัฒนาแบบลวดลายใหม่ๆ เป็นการฝึกทักษะของความสร้างสรรค์และการประลองฝีมืออันก่อเกิดดลบันดาล การขัดวางของหินและวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ นั้นเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงภูเขาและธาติน้ำธรรมชาติและทัศนียภาพ, เกาะ, แม่น้ำและน้ำตก หินก้อนใหญ่และพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งกะริโกะมิหรือฮะโกะ-ซุกุริ (ศิลปะการตัดแต่งต้นไม้) นั้นเป็นขั้นตอนที่แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ในสวนส่วนใหญ่จะมีการนำพืชมอสมาปลกคลุมพื้นผิวเพื่อที่จะสร้างสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกถึงพื้นดินที่ปกคุลมไปด้วยป่าไม้ ในหนังสือ "ซะกุเทกิ" (การสร้างสวน) นั้นแสดงความหมายถึง "อิชิ โอะ ทะเทะอึน โกะโตะ" (การจัดวางก้อนหิน) ซึ่งแปลตามตัวอักษรนั้นหมายถึงการจัดตั้งก้อนหิน ในยุคที่ ซะกุเทกิ นั้นได้ปรากฏเป็นหนังสือ การจัดวางตำแหน่งของก้อนหินนั้นเป็นขั้นตอนหลักของการจัดสวน อีกทั้งยังมีถ้อยคำอักษรที่คล้ายกันในหนังสือหากแต่มันมีความหมายว่า “การจัดวางก้อนหินของสวน” มากกว่า “การสร้างสวน” การจัดวางก้อนหินนั้นควรจะต้องมีการคำนึงถึงการวางหิน ซึ่งรวมถึงผิวพื้นด้านที่ดีที่สุดควรจะหันมาถูกทิศทาง ในกรณีที่ก้อนหินนั้นมียอดที่ไม่สวยงาม ควรจะวางให้ส่วนนั้นเป็นจุดที่เด่นน้อยสุด ถึงแม้ก้อนหินนั้นจะต้องโดนวางในลักษณะที่แปลกก็คิดได้ว่าจะไม่มีใครสังเกต อีกทั้งโดยปกติควรจะเลือกหินที่มีแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ในกรณีที่มี “หินหนี” ก็จะต้องมี “หินไล่” และถ้ามี “หินเอียง” ก็จะต้องมี “หินหนุน” และควรจดจำไว้ว่า ในหลายกรณีนั้น ก้อนหินและพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซนที่มีต่อการออกแบบสวนนั้นได้ถูกนำมาบรรยายโดย Kuck ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และทักท้วงโดย Kuitert ในช่วงท้ายของศตวรรษนั้น หากแต่เรื่องที่ไม่ได้ถูกทักท้วงคือเรื่องที่สวนคะเระซันซุยนั้นดลบันดาลมาจากภาพวาดทิวทัศน์ของจีนและญี่ปุ่นจากอดีต ถึงแม้สวนทั่วไปต่างก็มีการจัดวางไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ก็จะนำก้อนหินและพุ่มไม้ที่ผ่านการตัดแต่งมาเป็นสัญลักษณ์ของภูเขา, หุบเขาและน้ำตกที่ได้ถูกจารึกเป็นจิตกรรมในภาพวาดทิวทัศน์ของจีน ในบางภาพ ทิวทัศน์นั้นดลบันดาลมาจากทัศนียภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่จริง เช่น เนินเขาที่อยู่ข้างหลังเป็น “ทิวทัศน์ที่ยืมมา” โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "ชักเคอิ" (shakkei) ในปัจจุบันภาพวาดหมึกโมโนโครมยังถือว่าเป็นศิลปะที่ใกล้เคียงที่สุดกับพุทธศาสนานิกายเซน หลักการออกแบบของการสร้างพื้นภูมินั้นได้อิทธิพลมาจากภาพวาดทิวทัศน์หมึกโมโนโครมสามมิติ ที่เรียกว่า ซูมิเอะ หรือ ซุยโบคุกะ สวนญี่ปุ่นนั้นถือว่ามีค่าระดับเดียวกับงานศิลปะในประเทศ สวนหินที่มีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ เรียวอันจิ ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือในเมืองเกียวโต สวนที่เรียวอันจิมีความยาว 30 เมตรจากฝั่งตะวันออกถึงตะวันตกและ 10 เมตรจากเหนือถึงใต้ ในสวนนั้นไม่มีต้นไม้มีเพียงแต่ก้อนหินที่มีหลายขนาด บางก้อนปกคลุมไปด้วยพืชมอส และถูกจัดวางอยู่บนพื้นภูมิที่โรยไว้ด้วยกรวดและทรายขาวซึ่งมีการกวาดวาดลวดลายในแต่ละวัน right หมวดหมู่:พืชกรรมสวนและการทำสวน หมวดหมู่:สวนญี่ปุ่น หมวดหมู่:ประเภทของสวน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสวนเซ็นญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ

ัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ คือสัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งส่วนจำนวนเต็มออกจากเศษของจำนวนในเลขฐานสิบ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จุดทศนิยม นิยมใช้มหัพภาค (.) เป็นตัวแบ่ง สำหรับมหัพภาคที่ปรากฏในเลขฐานอื่นจะไม่เรียกว่าจุดทศนิยม แต่เรียกว่า จุดฐาน (radix point) สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบยังหมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งตัวเลขจำนวนขนาดใหญ่ออกเป็นกลุ่มที่เรียกว่า สัญลักษณ์แบ่งหลักพัน หรือ เครื่องหมายคั่นหลักพัน นิยมใช้จุลภาค เป็นตัวแบ่งที่ทุกๆ หลักพัน แต่ในบางประเทศอาจมีการสลับการใช้งานมหัพภาคกับจุลภาค หรือแบ่งตรงหลักอื่นที่ไม่ใช่หลักพัน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศึกษา

ังคมศึกษา (Social Studies) เป็นศาสตร์บูรณาการทางด้านสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยนักการศึกษาชาวอเมริกันเป็นผู้คิดค้นและให้นิยามของสังคมศึกษาเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและระหว่างคนกับสิ่งแวกล้อม รวมไปถึงการรู้จัดอดทน อดกลั้น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศและโลกต่อไปวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสังคมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1

รณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 (Primera República Filipina; Unang Republika ng Pilipinas) หรือ สาธารณรัฐมาโลโลส (República de Malolos; Republica ng Malolos) เป็นสาธารณรัฐอายุสั้น จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลปฏิวัติในฟิลิปปินส์ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาโลโลสเมื่อ 23 มกราคม..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตแหลมกู๊ดโฮป

งโตแหลมกู๊ดโฮป (Cape lion) เป็นสิงโตชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เช่นเดียวกับสิงโตบาร์บารี (P. l. leo) สิงโตแหลมกู๊ดโฮป มีการกระจายพันธุ์อยู่บริเวณแหลมที่ติดชายฝั่งทะเลหรือทะเลทรายกึ่งทุ่งหญ้าในแอฟริกาใต้ เช่น แหลมกู๊ดโฮป อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีลักษณะที่เด่นคือ มีขนแผงคอสีดำซึ่งบางตัวอาจยาวถึงกลางหลังและมีปลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนทั่วใบหน้า จัดเป็นสิงโตขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ตัวผู้เมื่อขนาดโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 2.74-3.35 เมตร น้ำหนักประมาณ 90-100 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียยาวได้ประมาณ 2.13-2.74 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 65-80 กิโลกรัม สิงโตแหลมกู๊ดโฮป ตัวสุดท้ายในธรรมชาติได้ถูกสังหารด้วยฝีมือมนุษย์เมื่อปี ค.ศ. 1858 และตัวสุดท้ายได้ตายลงเมื่อปี ค.ศ. 1860 สถานภาพในปัจจุบัน ได้ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส แต่ในปลายปี ค.ศ. 2000 ได้มีลูกสิงโต 2 ตัวที่เชื่อว่าสืบสายพันธุ์มาจากสิงโตแหลมกู๊ดโฮปนี้ มาจากสวนสัตว์ในไซบีเรียที่มีอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส ได้ถูกส่งไปยังแอฟริกาใต้เพื่อทำการอนุรักษ์ต่อไป.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสิงโตแหลมกู๊ดโฮป · ดูเพิ่มเติม »

สุญญากาศ

ห้องสุญญากาศขนาดใหญ่ สุญญากาศ (vacuum มาจากภาษาละตินแปลว่า ว่างเปล่า) คือปริมาตรของช่องว่างซึ่งไม่มีสสารอยู่ภายใน เหมือนกับความดันแก๊สที่น้อยกว่าความดันบรรยากาศมาก ๆ ในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำให้ปริมาตรของช่องว่างว่างเปล่าได้อย่างสมบูรณ์ที่เรียกว่า สุญญากาศสมบูรณ์ (perfect vacuum) ซึ่งมีความดันแก๊สเป็นศูนย์ สุญญากาศสมบูรณ์จึงเป็นแนวความคิดที่ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ในทางปฏิบัติ นักฟิสิกส์มักจะถกเถียงเกี่ยวกับผลการทดลองในอุดมคติว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสุญญากาศสมบูรณ์ โดยใช้คำว่าสุญญากาศแทนสุญญากาศสมบูรณ์ และใช้คำว่า สุญญากาศบางส่วน (partial vacuum) แทนความหมายของสุญญากาศที่เกิดขึ้นได้จริง คุณภาพของสุญญากาศ หมายถึงระดับของสภาวะที่เข้าใกล้สุญญากาศสมบูรณ์ ความดันของแก๊สที่เหลืออยู่จะถูกใช้เป็นตัววัดคุณภาพของสุญญากาศเป็นหลัก โดยการวัดในหน่วยทอรร์ (Torr) หรือหน่วยเอสไออื่น ๆ ความดันแก๊สที่ยิ่งเหลือน้อยจะหมายถึงคุณภาพที่ยิ่งมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีตัวแปรอื่นที่ต้องตัดออกในภายหลัง ทฤษฎีควอนตัมได้กำหนดขอบเขตสำหรับคุณภาพของสุญญากาศที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จึงทำให้คาดเดาได้ว่าไม่มีปริมาตรของช่องว่างใดที่จะทำให้เป็นสุญญากาศได้อย่างสมบูรณ์ อวกาศเป็นสภาพสุญญากาศที่มีคุณภาพสูงโดยธรรมชาติ และสุญญากาศที่มีคุณภาพสูงกว่านั้นสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สำหรับสุญญากาศคุณภาพต่ำได้ถูกใช้เพื่อการดูดและการสูบมากว่าหลายพันปีแล้ว สุญญากาศเป็นหัวข้อทางปรัชญาที่พบได้บ่อยตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 เอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี (Evangelista Torricelli) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีได้สร้างสุญญากาศขึ้นในห้องทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1643 และเทคนิคการทดลองอื่น ๆ ก็เป็นผลการพัฒนามาจากทฤษฎีเกี่ยวกับความดันบรรยากาศของเขา ต่อมาสุญญากาศกลายเป็นเครื่องมือที่มีค่าในอุตสาหกรรมการผลิตหลอดไฟและหลอดสุญญากาศในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเทคโนโลยีการสร้างสุญญากาศก็เริ่มแผ่ขยายไปในวงกว้าง คำว่า สุญญากาศ ในภาษาไทยมาจากคำสนธิ สุญญ + อากาศ รวมกันแปลว่า ไม่มีอากาศ หมวดหมู่:กระบวนการทางอุตสาหกรรม หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:ความไม่มี หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสุญญากาศ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมตระกูลชิคาโก

ชิคาโกสคูล (Chicago School) หรือ สถาปัตยกรรมแบบชิคาโก เป็นกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าในเมืองชิคาโก ที่มีอุดมการณ์ และปรัชญาสถาปัตยกรรมในแนวเดียวกัน อยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผลงานของกลุ่มสถาปนิกเหล่านี้ ได้นำความก้าวหน้ามาสู่วงการสถาปัตยกรรมในยุคต่อๆ มาเป็นอย่างมาก ด้วยความเจริญเติบโตของเมืองในยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู อาคารที่เกิดขึ้นในเมืองชิคาโกส่วนมากเป็นอาคารระฟ้า (Skyscrapers) เพื่อความต้องการของเมือง อาคารระฟ้าของกลุ่มชิคาโกสคูลจึงเกิดขึ้นมากมาย รูปแบบของงานสถาปัตยกรรมสามารถตอบสนองการใช้งานของอาคารได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบโครงสร้าง แบบถ่ายน้ำหนัก (Post and Lintel) สถาปนิกกลุ่มนี้ยังได้ร่วมมือกับวิศวกร ซึ่งเป็นการร่วมมือกันครั้งแรก ระหว่างสถาปนิก และวิศวกรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นำเอาเทคนิควิทยาการการก่อสร้างที่ก้าวหน้าต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับอาคารใหม่ๆ ในเมืองชิคาโก ลักษณะดังกล่าวทำให้ชิคาโกมีความแตกต่างจากเมืองอื่นๆ อย่างมาก หมวดหมู่:สถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสถาปัตยกรรมตระกูลชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

มสรฟุตบอลอาร์เซนอล (Arsenal Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่เล่นในพรีเมียร์ลีก จากย่านฮอลโลเวย์ ในกรุงลอนดอน เป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ ครองแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษ 13 ครั้งและเอฟเอคัพ 13 ครั้ง อีกทั้งยังเป็นเจ้าของสถิติผู้เข้าชิงชนะเลิศในเอฟเอคัพมากที่สุด คือ 20 ครั้ง และยังเป็นแชมป์เอฟเอคัพมากที่สุด อาร์เซนอลถือสถิติร่วม โดยอยู่ในลีกสูงสุดของอังกฤษยาวนานที่สุดโดยไม่ตกชั้น และติดอยู่อันดับ 1 ของผลรวมอันดับในลีก ของทั้งศตวรรษที่ 20 และเป็นทีมที่ 2 ที่จบการแข่งขันฤดูกาลในลีกสูงสุดของอังกฤษโดยไม่แพ้ทีมไหน (ในฤดูกาล 2003–04) เป็นทีมเดียวที่ไม่แพ้ใครทั้ง 38 นัด อาร์เซนอลก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล · ดูเพิ่มเติม »

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ทความนี้เป็นบทความสำหรับชื่อวงศ์ และสกุล หม้อข้าวหม้อแกงลิง (nepenthes; ชื่อสามัญ: tropical pitcher plants หรือ monkey cups) (nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และหม้อข้าวหม้อแกงลิง · ดูเพิ่มเติม »

หลักสูตร

หลักสูตร (curriculum (เอกพจน์) หรือ curricula (พหูพจน์)) เป็นคำที่เกิดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเริ่มใช้คำนี้อย่างแพร่หลายในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยในตำราเรียนเล่มแรกที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรของจอห์น แฟรงคลิน บอบบิทในปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และหลักสูตร · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันจา

ำว่า ฮันจา ในภาษาเกาหลี ตัวสีแดงเขียนด้วยตัวอักษรฮันจา และตัวสีน้ำเงินเขียนด้วยฮันกึล ฮันจา (ฮันจา: 漢字, ฮันกึล: 한자) หรือ ฮันมุน บางครั้งเรียกว่า อักษรจีน-เกาหลี หมายถึงอักษรจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาเกาหลี และออกเสียงเป็นภาษาจีนแต่ในสำเนียงของภาษาเกาหลี ตัวอักษรฮันจาไม่เหมือนตัวอักษรคันจิ ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกปรับปรุงและย่อแบบญี่ปุ่นไปหลายตัว ในขณะที่อักษรฮันจาใช้ตัวอักษรจีนตัวเต็ม มีเพียงส่วนน้อยที่ย่อและใช้เหมือนตัวอักษรคัน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอักษรฮันจา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเตลูกู

การแพร่กระจายของอักษรจากอินเดียรวมทั้ง'''อักษรเตลูกู''' อักษรเตลูกู ใช้เขียนภาษาเตลูกู ในรัฐทางใต้ของอินเดีย พัฒนามาจากอักษรพราหมีของอินเดียโบราณ ใกล้เคียงกับอักษรกันนาดามาก จารึกเก่าสุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และกวีนิพนธ์ภาษาเตลูกู เริ่มปรากฏใน คริสต์ศตวรรษที่ 11 รูปแบบโบราณของอักษรเตลูกู ต่างจากที่ใช้ในทุกวันนี้และใช้มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนจะมีการปรับปรุงใหม่และใช้มาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอักษรเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

อัปแซ็งต์

แก้วและช้อนที่ใช้เพื่อละลายน้ำตาลก้อนลงไปในอัปแซ็งต์ ภาพเขียน ''ภูตเขียว'' โดยอาลแบร์ แมญ็อง (ค.ศ. 1895) แสดงภาพกวีคนหนึ่งที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของภูตเขียว อัปแซ็งต์ (absinthe) เป็นเหล้าอาหนีชนิดหนึ่ง กลั่นจากสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ดอกและใบของพรรณไม้ชนิด Artemisia absinthium ร่วมกับเมล็ดเทียนสัตตบุษย์, เมล็ดผักชีล้อม และสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นยาหรือทำอาหาร แต่เดิมจะมีสีเขียวตามธรรมชาติ แต่อาจไม่มีสีก็ได้ วรรณคดีตะวันตกเรื่องต่าง ๆ มักเรียกเหล้าชนิดนี้ว่า "เจ้าภูตเขียว" (la fée verte) ตามธรรมเนียมแล้ว อัปแซ็งต์จะถูกบรรจุขวดโดยมีปริมาณแอลกอฮอล์โดยปริมาตรในระดับสูง โดยได้รับการอธิบายว่าเป็นเครื่องดื่มกลั่นที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 45–74 โดยปริมาตร แต่ตามปกติก็ถูกทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนบริโภค แม้ว่าบางครั้งอัปแซ็งต์จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเหล้าหวาน (liqueur) แต่ก็ไม่มีการบรรจุอัปแซ็งต์ลงขวดโดยเติมน้ำตาลเพิ่ม ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นเหล้า (spirit) ชนิดหนึ่ง อัปแซ็งต์มีต้นกำเนิดในรัฐเนอชาแตลของสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมอย่างสูงในฐานะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในฝรั่งเศสช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ศิลปินและนักเขียนชาวปารีส แต่เนื่องจากเหล้าชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องบางอย่างกับวัฒนธรรมโบฮีเมีย การบริโภคอัปแซ็งต์จึงถูกต่อต้านจากนักอนุรักษนิยมทางสังคมและผู้นิยมหลักการห้าม (prohibitionism) แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่านักเขียน กวี จิตรกร และนักประพันธ์ดนตรีหลายคนต่างเป็นนักดื่มอัปแซ็งต์ เช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, เจมส์ จอยซ์, ชาร์ล โบดแลร์, ปอล แวร์แลน, อาร์ตูร์ แร็งโบ, อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, อาเมเดโอ โมดิลยานี, ปาโบล ปีกัสโซ, ฟินเซนต์ ฟัน โคค, ออสการ์ ไวลด์, มาร์แซล พรุสต์, แอลัสเตอร์ โครว์ลีย์, เอริก ซาตี, เอดการ์ แอลลัน โพ, ลอร์ด ไบรอน, อาลแฟรด ฌารี เป็นต้น, Sarasota Herald-Tribune, September 18, 2008 ในอดีต อัปแซ็งต์มักได้รับการพรรณนาว่าเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและสารก่อประสาทหลอนที่มีอันตรายมาก โดยเชื่อกันว่าสารประกอบเคมีชนิดหนึ่งชื่อทูโจน (thujone) เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดผลดังกล่าว เมื่อถึงปี ค.ศ. 1915 อัปแซ็งต์ถือเป็นของต้องห้ามในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรปซึ่งรวมถึงฝรั่งเศส, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย-ฮังการี แม้ว่าอัปแซ็งต์จะถูกกล่าวหาเช่นนั้น แต่ก็ไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงว่ามันมีอันตรายมากกว่าเหล้าธรรมดาแต่อย่างใด ผลการวิจัยในยุคหลังแสดงให้เห็นว่าในอัปแซ็งต์มีสารทูโจนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสมบัติการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของอัปแซ็งต์ (นอกเหนือจากที่มีอยู่ในแอลกอฮอล์) ก็ถูกขยายให้เกินความจริง การฟื้นฟูการผลิตอัปแซ็งต์เริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายอาหารและเครื่องดื่มของสหภาพยุโรปซึ่งกำจัดอุปสรรคที่มีมายาวนานต่อการผลิตและการจำหน่าย เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีอัปแซ็งต์เกือบ 200 ยี่ห้อได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ ประมาณ 12 ประเทศ ที่เด่นที่สุดได้แก่ ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย, สเปน และเช็กเกี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอัปแซ็งต์ · ดูเพิ่มเติม »

อันโตนีโอ กรัมชี

อันโตนีโอ กรัมชี (อังกฤษ, Antonio Gramsci) นักทฤษฎีการเมือง นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอิตาเลียนแนวมาร์กซิสม์และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1891 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1937 อันโตนีโอ กรัมชี ได้ชื่อว่าเป็น มาร์กซิสต์บริสุทธิ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เผยแพร่ลัทธิมาร์กซคนสำคัญในยุคศตวรรษที่ 20 ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่งชื่อ "บันทึกจากคุก" ในระหว่างที่ถูกจองจำ และเป็นเจ้าของทฤษฎีที่มีชื่อว่า Hegemony อันว่าถึงการก้าวขึ้นเป็นเจ้าและครอบครอง โดยกรัมชี่เชื่อว่า ผู้ที่ขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองได้นั้น ไม่อาจจะอาศัยภาวะทางเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องได้รับการสนับสนุนและมีแนวร่วมจากมวลชนด้วย ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ถูกนักวิชาการของไทย เช่น สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อ้างถึงในระหว่างการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 โดยใช้อธิบายถึงพฤติกรรมของ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ผ่านมาในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอันโตนีโอ กรัมชี · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรย์ คอลโมโกรอฟ

อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ อันเดรย์ นิโคลาเยวิช คอลโมโกรอฟ (รัสเซีย: Андре́й Никола́евич Колмого́ров; อังกฤษ: Andrey Nikolaevich Kolmogorov), เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1903 เสียชีวิต 20 ตุลาคม ค.ศ. 1987, เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ยักษ์ใหญ่ในวงการคณิตศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีผลงานโดดเด่นมากในงาน ทฤษฎีความน่าจะเป็นและทอพอโลยี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอันเดรย์ คอลโมโกรอฟ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชเดอลาเดฟ็องส์

อาร์ชเดอลาเดฟ็องส์ (Arche de la Défense) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ประตูใหญ่แห่งภราดรภาพ (Grande Arche de la Fraternité, "ช่องโค้งใหญ่แห่งภราดรภาพ") เป็นอนุสรณ์สถานตั้งอยู่บนย่านลาเดฟ็องส์ ทางทิศตะวันตกของกรุงปารีส ส่วนมากมักจะเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "อาร์ชเดอลาเดฟ็องส์" หรือ "ลากร็องดาร์ช" (La Grande Arche, "ช่องโค้งใหญ่").

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอาร์ชเดอลาเดฟ็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ หรือ อาณาจักรเจนละ เป็นอาณาจักรโบราณ เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันคือภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และตอนล่างของประเทศลาว สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือพระเจ้าจิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอิศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1153 - พ.ศ. 1198 ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ในที่สุดก็ได้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า อิศานปุระ เมืองอิศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน มีกษัตริย์ปกครองอีก 2 พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็น เจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า ยโศธรปุระ หรือเมืองพระนคร บริเวณจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ) เป็นกลุ่มปราสาทโบราณมีอายุมากกว่า 1390 ปี มีปราสาทที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบันมากกว่า 170 ที่ โดยมีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักในบริเวณราชธานีอิศานปุระ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ และเนื่องจากมีปราสาทมากมายนับร้อยแห่ง จึงทำให้นักโบราณคดีชาวตะวันตกที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้จัดทำระบบบัญชีชื่อปราสาทต่างๆขึ้นและยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์มี ชื่อเป็นทางการ เป็นตัวอักษรและตัวเลข แทนชื่อที่ชาวบ้านเรียก โดยปราสาทต่าง ๆ ในกลุ่มเหนือ จะมีชื่อขึ้นต้นว่า N (North) ปราสาทกลุ่มกลางมีชื่อขึ้นต้นว่า C (Central) และปราสาทกลุ่มใต้ มีชื่อขึ้นต้นว่า S (South) แล้วตามด้วยตัวเลขที่แสดงถึงความสำคัญ หรือตามลำดับการเรียงตัวที่ตั้งของปราสาท เช่น N1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มเหนือ S1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มใต้ คือปราสาทเนียกปวน และ C1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มกลาง คือปราสาทตาว เป็นต้น.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอาณาจักรอิศานปุระ · ดูเพิ่มเติม »

อิกอร์ สตราวินสกี

อิกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี้ (И́горь Фёдорович Страви́нский; Igor Stravinsky; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1882 — 6 เมษายน ค.ศ. 1971)) เป็นคีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย สตราวินสกี้ ราวปี 1950 สตราวินสกี้เป็นบุตรชายของนักร้องชื่อดังแห่งโรงละครหลวง เขาเกิดที่เมืองออรานีนบาม (Oranienbaum) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนเป็นชื่อ โลโมโนซอฟ (Lomonosov) ใกล้กับนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เขาเรียนด้านกฎหมายกับเปียโน ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ของนิโคไล ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ บทเพลงชื่อดังชิ้นแรกของเขาได้แก่ วิหคเพลิง (ค.ศ. 1910 ด้วยการจ้างของแซร์จ เดียกิเลฟ เพื่อใช้แสดงในคณะบัลเลต์รัสเซีย ตามมาด้วยเพลง เปทรูชก้า (ค.ศ. 1911) พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ (ค.ศ. 1913) และอุปรากร เรื่อง นกไนติงเกล (ค.ศ. 1914) มีเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับบัลเลต์เรื่อง พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งจากท่าเต้น และความไม่เหมือนใครของดนตรีประกอบ ทำให้สตราวินสกี้กลายเป็นคีตกวี ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สตราวินสกี้เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานซาน มิเชลในนครเวนิซ ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอิกอร์ สตราวินสกี · ดูเพิ่มเติม »

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร

อุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร (عمر حسن أحمد البشير, 1 มกราคม ค.ศ. 1944 -) เป็นหัวหน้าพรรคเนชันแนลคองเกรส และประธานาธิบดีของประเทศซูดานคนปัจุจบัน เริ่มเข้ามามีอำนาจทางการเมืองครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1989 ขณะยังเป็นนายทหารยศพันโท โดยเป็นผู้นำกลุ่มนายทหารทำรัฐประหารไม่นองเลือดขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีซาดิก อัลมะฮ์ดี (Sadiq al-Mahdi) ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้เจรจายุติสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง ซึ่งเป็นสงครามที่ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนานที่สุดและนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยให้อำนาจปกครองตนเองบางส่วนในเซาท์ซูดานซึ่งเป็นพื้นที่เกิดสงคราม อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองแล้ว รัฐบาลของนายอัลบะชีรได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางต่อบทบาทของรัฐบาลในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์ อันเป็นการกวาดล้างชาติพันธุ์ประชากรที่ไม่ใช่ชาวอาหรับครั้งใหญ่ในซูดาน มีผู้เสียชีวิตจากกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่าง 200,000 ถึง 400,000 คน บทบาทของนายอัลบะชีรในเรื่องนี้ได้นำไปสู่การสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธของพวกยันยาวิด (Janjaweed) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐบาล และกองกำลังกบฏฝ่ายต่างๆ อันได้แก่ กองทัพปลดแอกประชาชนซูดาน (Sudan People's Liberation Army, SPLA) กองทัพปลดปล่อยซูดาน (Sudanese Liberation Army, SLA) และขบวนการความยุติธรรมและความเสมอภาค (Justice and Equality Movement, JEM) ซึ่งทำการรบในรูปแบบสงครามกองโจรในแคว้นดาร์ฟูร์ ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้ประชาชนกว่า 2.5 ล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศชาดกับซูดานตกต่ำลงจนถึงระดับวิกฤต เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 หลุยส์ โมเรโน-โอแคมโป อัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court, ICC) ได้ฟ้องร้องนายอัลบะชีรในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงครามในแคว้นดาร์ฟูร์ ศาลได้ออกหมายจับนายอัลบะชีรเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2009 ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม แต่ไม่รวมข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เนื่องจากศาลได้ชี้ว่าหลักฐานที่จะฟ้องร้องด้วยข้อหาดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอBBC News, 4 March 2009.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474

อุทกภัยในประเทศจีน..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และอุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474 · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ออร์เวลล์

อร์จ ออร์เวลล์ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) เป็นนามปากกาของ เอริก อาร์เทอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) นักเขียนชาวอังกฤษ (25 มิถุนายน พ.ศ. 2446 - 21 มกราคม พ.ศ. 2493) นอกจากจะเป็นนักวิจารณ์ด้านการเมืองและวัฒนธรรมแล้ว ออร์เวลล์ยังเป็นนักเขียนความเรียงที่มีผู้ชื่นชมมากที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามเขาเป็นที่รู้จักจากนวนิยายสองเรื่องที่เขาเขียนช่วงท้ายทศวรรษ 1940 ชื่อ แอนิมัลฟาร์ม (Animal Farm) ซึ่งเป็นนิยายล้อเลียนการเมือง (มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนในภายหลังด้วย) และ หนึ่งเก้าแปดสี่ (1984) ซึ่งกล่าวถึงดิสโทเปียที่มีการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จได้อย่างเห็นภาพ จนกระทั่งมีการใช้คำว่า แบบออร์เวลล์ เพื่อใช้เรียกระบบระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จในการครอบงำความ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และจอร์จ ออร์เวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ฮักเกนชมิดท์

อร์จ คาร์ล จูลัส ฮักเกนชมิดท์ (Georg Karl Julius Hackenschmidt) หรือที่รู้จักกันดีคือ จอร์จ ฮักเกนชมิดท์ (George Hackenschmidt) เป็นนักเพาะกาย,นักมวยปล้ำอาชีพชาวเอสโตเนียนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้ที่ถูกบันทึกว่าเป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวทคนแรกในประวัติศาสตร์มวยปล้ำอาชีพ ฮักเกนชมิดท์ เปิดตัวในฐานะมวยปล้ำอาชีพในเมืองทาลลินน์,Governorate of Estonia และอาศัยอยู่มากที่สุดในชีวิตเขาที่ ลอนเดอน,ประเทศอังกฤษ ซึ่งเขาได้รับฉายามาจาก "The Russian Lion" เขาถูกเชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดท่ามวยปล้ำอาชีพอย่าง Bear hug.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และจอร์จ ฮักเกนชมิดท์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโม ปุชชีนี

กโม ปุชชีนี จาโกโม อันโตนีโอ โดเมนีโก มีเกเล เซกอนโด มารีอา ปุชชีนี (Giacomo Puccini 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467) เป็นคีตกวีชาวอิตาเลียน เกิดที่เมืองลูคคา ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ปุชชินี และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุปรากรที่โด่งดังของเขาได้แก่เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย และ ทอสก้า ปุชชินีเสียชีวิตที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และจาโกโม ปุชชีนี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมัลดีฟส์

แบบการสร้างธงชาติมัลดีฟส์ ธงชาติสาธารณรัฐมัลดีฟส์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีเขียว ขอบสีแดง กลางธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยวสีขาวปลายหันหลังให้ด้านเสาธง ประกาศใช้อย่างเป็นทางการพร้อมกันกับตราแผ่นดินของมัลดีฟส์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 (พ.ศ. 2508).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และธงชาติมัลดีฟส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอัฟกานิสถาน

งชาติสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน แบบปัจจุบันนี้ ประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลชุดถ่ายโอนอำนาจของรัฐอิสลามของอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2547) ลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวตั้ง เป็นสีดำ-แดง-เขียว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางธงมีรูปตราแผ่นดินของอัฟกานิสถาน ในลักษณะภาพลายเส้นสีขาว ลักษณะของธงชาติยุคนี้ คล้ายคลึงกับธงชาติในสมัยราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน ช่วง พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2516 โดยมีความแตกต่างสำคัญที่มีการบรรจุภาพอักษรที่เรียกว่า ชะฮาดะฮ์ เป็นข้อความซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ข้าพเจ้านับถือว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากอัลลอหฺ และศาสดามุฮัมมัดคือ​ศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ" ที่ตอนบนของภาพตรา วันที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการคือวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ในยุดก่อนสมัยการปกครองของกลุ่มตอลิบานและแนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน ธงชาติในยุคนี้มีการใช้ภาพตราแผ่นดินแบบเดียวกับกับธงยุคปัจจุบัน แต่แถบสีนั้นเป็นแถบสีดำ-ขาว-เขียว เรืยงแถบสีธงตามแนวนอน ประเทศอัฟกานิสถาน ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธงชาติในสมัยต่างๆ ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มากครั้งที่สุด มากกว่าชาติอื่นใดในโลกนี้.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และธงชาติอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอินโดนีเซีย

งชาติอินโดนีเซีย หรือ ซังเมราห์ปูติห์ (Sang Merah Putih, สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม ธงนี้มึความคล้ายคลึงกับธงชาติโปแลนด์และธงชาติสิงคโปร์ และเหมือนกับธงชาติโมนาโกเกือบทุกประการ แต่ต่างกันที่สัดส่วนธงเท่านั้น ธงฉานอินโดนีเซียซึ่งธงผืนนี้ใช้โดยกองทัพเรืออินโดนีเซีย จากภาพธงนี้ชักขึ้นที่เสาธงฉานหน้าหัวเรือรบ ธงผืนนี้มีลักษณะเป็นธงลายแถบแดงและขาว9แ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และธงชาติอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีป

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีป ต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

ซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นและประดิษฐ์เวิลด์ไวด์เว็บ เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิลด์ไวด์เว็บ ผู้อำนวยการWorld Wide Web Consortium (ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาต่อเนื่องใหม่ ๆ เกี่ยวกับเว็บ) นักวิจัยอาวุโสและผู้นั่งในตำแหน่ง ทรีคอมฟาวน์เดอร์สแชร์ (3Com Founders Chair) ที่หอทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แห่งเอ็มไอที (CSAIL).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และทิม เบอร์เนิร์ส-ลี · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษ

หน้านี้แสดงช่วงเวลาเป็นสหัสวรรษและศตวรรษตามปีคริสต์ศักร.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และคริสต์ศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์สหัสวรรษที่ 2

ริสต์สหัสวรรษที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม..1001 และจบลงในวันที่ 31 ธันวาคม..2000 ตามปฏิทินเกรกอเรียนUnited States Naval Observatory, (Washington, DC, June 14, 2011).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และคริสต์สหัสวรรษที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ

ริสต์ทศวรรษ เป็นช่วงสิบปีของ คริสต์ศักราช ในการกล่าวถึงประวัติศาสตร์บางครั้งนิยมกล่าวถึงในลักษณะช่วงของทศวรรษซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาหลายปี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และคริสต์ทศวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์สตอแกล

หาสน์สตอแกล (Palais Stoclet; Stocletpaleis) คือคฤหาสน์ (ออแตลปาร์ตีกูว์ลีเย) ส่วนบุคคลขนาดใหญ่ สร้างโดยสถาปนิกชาวออสเตรีย โยเซฟ ฮอฟมันน์ ในระหว่างปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และคฤหาสน์สตอแกล · ดูเพิ่มเติม »

คลอง

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และคลอง · ดูเพิ่มเติม »

ความแพร่หลายของภาษาสเปน

ษาสเปนมีสถานะทางการในรัฐ เคาน์ตี และเมืองบางแห่งของสหรัฐอเมริกา ภาษาสเปนเป็นภาษาซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเป็นภาษาราชการใน 21 ประเทศ องค์การระหว่างประเทศจำนวนหนึ่ง และมีผู้พูดราว 329-500 ล้านคน คิดเป็นอันดับ 2 หรือ 3 ของโลก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และความแพร่หลายของภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

คอเคเซียน

อเคเซียน หรือ ยูโรปอยด์ เป็นแนวคิดเชื้อชาตินิยมวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การแยกแยะแบบนี้ถูกทำให้หมดความน่าเชื่อถือ และแนวคิดดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้ในงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ คำว่าคอเคเซียนยังคงใช้อยู่ในฐานะการแยกแยะ "คนผิวขาว" ในการศึกษาทางสังคมวิทยาหลายสาขา มันยังถูกใช้ควบคู่กับคำว่า นิกรอยด์ และ มองโกลอยด์ ในความหมายทางวิทยาศาสตร์ในสาขาชีวมานุษยวิท.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และคอเคเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานนายพันเก้า หัวใจรักจากท้องทะเล

ตำนานนายพันเก้า หัวใจรักจากท้องทะเล (The Legend of 1900, La leggenda del pianista sull'oceano) ภาพยนตร์สัญชาติอเมริกัน/อิตาเลียน นำแสดงโดย ทิม รอธ, พรุตต์ เทย์เลอร์ วินซ์, เมลานี เธียร์รี่, บิลล์ นันน์, คลาเรนซ์ วิลเลียมส์ ที่ 3 กำกับการแสดงและบทภาพยนตร์ โดย จูเซปเป ทอร์นาทอเร.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และตำนานนายพันเก้า หัวใจรักจากท้องทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ซันโฮเซ

ซันโฮเซ (San José) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคอสตาริกา และเป็นเมืองหลักของจังหวัดซันโฮเซด้วย ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศที่พิกัดภูมิศาสตร์; บนที่ราบสูงที่มีความสูงประมาณ 1,170 เมตร (3,839 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ซันโฮเซเดิมมีฐานะเป็นเพียงเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชุมชนจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2367 ในปีนี้คอสตาริกาได้มีการเลือกตั้งประมุขแห่งรัฐครั้งแรก ฮวน โมรา เฟร์นันเดซ ตัดสินใจย้ายที่ตั้งรัฐบาลจากการ์ตาโก ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยที่เป็นอาณานิคมของสเปน และเริ่มต้นใหม่ที่ซันโฮเซนี้ เมืองหลวงใหม่ที่ซันโฮเซเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และขยายตัวเข้าสู่หุบเขาตอนกลาง จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2543 กรุงซันโฮเซมีประชากร 309,672 คน ซึ่งครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงที่มีการเพิ่มประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่ในปี พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) เมืองนี้มีประชากรเพียง 86,900 คน ทำให้เขตนครหลวงกินพื้นที่ออกไปเกินเขตซันโฮเซ และครอบคลุมจำนวนประชากร 1 ล้านคน เนื่องจากกำเนิดขึ้นในช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงทำให้กรุงซันโฮเซมีสถาปัตยกรรมสมัยอาณานิคมสเปนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเมืองหลวงอื่น ๆ ในลาตินอเมริกา ต่อมา ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2427 ซันโฮเซกลายเป็นเมืองแรกในลาตินอเมริกาที่ส่องสว่างด้วยพลังงานไฟฟ้.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และซันโฮเซ · ดูเพิ่มเติม »

ซูเดเทินลันด์

ซูเดเทินลันด์ (Sudetenland; เช็กและSudety; Kraj Sudetów) คือชื่อดินแดนในภาษาเยอรมัน (และถูกใช้ในภาษาอังกฤษในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20) ที่ใช้หมายถึงอาณาเขตทางตอนเหนือ ใต้ และตะวันตก ของเชโกสโลวาเกีย อันเป็นบริเวณที่ประชากรเชื้อสายเยอรมันและใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่อาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะเขตปกครองที่ติดชายแดนอย่าง โบฮีเมีย โมราเวีย และส่วนของไซลีเซียซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของออสเตรียไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ซูเดเทินลันด์ เป็นการสมาสคำในภาษาเยอรมันระหว่าง ลันด์ ซึ่งหมายถึงประเทศหรือดินแดน กับคำว่า ซูเดเทิน ซึ่งเป็นชื่อภาษาเยอรมันของเทือกเขาซูเดเทส (Sudetes) ที่ทอดตัวยาวตามแนวเขตแดนทางตอนเหนือของสาธารณรัฐเช็กและไซลีเซียล่าง (Lower Silesia; ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์) อย่างไรก็ตามซูเดเทินลันด์เป็นคำที่ใช้หมายถึงดินแดนส่วนที่เลยไปจากแนวเทือกเขาดังกล่าวไปมากพอสมควร ในประวัติศาสตร์ไม่ปรากฎคำว่า ซูเดเทินลันด์ ไปจนกระทั่งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และไม่เป็นที่รู้จักหรือใช้กันอย่างแพร่หลายไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีของชาวเยอรมันล่มสลาย ส่งผลให้เกิดการแตกกระจายออกเป็นรัฐต่าง ๆ มากมาย ชาวเยอรมันซูเดเทินที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมจึงกลายเป็นชาวเยอรมันผลัดถิ่นในประเทศใหม่อย่างเชโกสโลวาเกียไปโดยปริยาย ต่อมาคำนี้มีความสำคัญมากขึ้นจากวิกฤตการณ์ซูเดเทิน (Sudeten crisis) ปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และซูเดเทินลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์

วาดทางกายวิภาคแสดงหลอดเลือดดำในร่างกาย ในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประวัติการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาตั้งแต่การผ่าร่างกายของเหยื่อจากการสังเวยในสมัยโบราณ ไปจนถึงการวิเคราะห์อย่างละเอียดซับซ้อนถึงการทำงานของร่างกายโดยนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การศึกษาวิชานี้มีลักษณะเฉพาะมาเป็นเวลานาน และมีการพัฒนาถึงการทำความเข้าใจในหน้าที่และโครงสร้างของอวัยวะในร่างกายอย่างต่อเนื่อง การศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่มีเกียรติและนับว่าเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความโดดเด่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิธีการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ก็มีการพัฒนาอย่างมากมายตั้งแต่การศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในศพของมนุษย์ และการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

''Table of Mechanicks'', 1728 ''Cyclopaedia''. ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ คือ การศึกษาการเติบโตของฟิสิกส์ไม่ได้นำมาเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุ คณิตศาสตร์ และ ปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ฟิสิกส์ถูกพิจารณาในแง่ของทั้งตัวเนื้อความรู้และการปฏิบัติที่สร้างและส่งผ่านความรู้ดังกล่าว การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี ค.ศ. 1600 เป็นขอบเขตง่าย ๆ ระหว่างแนวคิดโบราณกับฟิสิกส์คลาสสิก ในปี ค.ศ. 1900 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ยุคใหม่ ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ยังไม่มีอะไรแสดงถึงจุดสมบูรณ์ เพราะการค้นพบที่มากขึ้นนำมาซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นจากอายุของเอกภพ ไปถึงธรรมชาติของสุญญากาศ และธรรมชาติในที่สุดของสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ทฤษฎีบางส่วนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ฟิสิกส์ได้เสนอในปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามรายนามของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ของฟิสิกส์ ก็ยังคงมีมากอยู.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สเปน

ตราสัญลักษณ์ของประเทศสเปน โบสถ์ซานตามารีอาเดลนารังโก เมืองโอเบียโด ภาคเหนือ อารามหลวงเอลเอสโกเรียล กรุงมาดริด ภาคกลาง พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ เมืองบาเลนเซีย ภาคตะวันออก ปราสาทอาลัมบรา เมืองกรานาดา ภาคใต้ ประวัติศาสตร์สเปน คือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับอาณาบริเวณส่วนใหญ่บนคาบสมุทรไอบีเรียในภูมิภาคยุโรปใต้ซึ่งมีพัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านยุครุ่งเรืองและยุคตกต่ำของจักรวรรดิสากลแห่งแรกของโลกจนกลายมาเป็นราชอาณาจักรสเปนในปัจจุบัน อันเป็นช่วงฟื้นฟูตนเองหลังสมัยการปกครองแบบเผด็จการของนายพลฟรังโกได้ผ่านพ้นไป มีอยู่หลายช่วงที่ประวัติศาสตร์การเมืองและการทหารของสเปนเต็มไปด้วยความวุ่นวายและความรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายและความพยายามที่จะจัดการกับความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดความเชื่อในดินแดนของตนนั่นเอง มนุษย์สมัยใหม่เข้ามาในคาบสมุทรไอบีเรียเป็นเวลานานกว่า 35,000 ปีมาแล้ว ตามมาด้วยคลื่นผู้รุกรานและผู้ตั้งอาณานิคมชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ ชาวเคลต์ ชาวฟินิเชีย ชาวคาร์เทจ และชาวกรีกตลอดระยะเวลานับพัน ๆ ปี เมื่อถึงประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทั้งคาบสมุทรจึงตกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐโรมัน ก่อนจะตกไปอยู่ภายใต้การปกครองจากชาววิซิกอท และในปี ค.ศ. 711 ชาวแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นชาวมุสลิม (ชาวมัวร์) ก็เริ่มเข้ามามีอำนาจ ในที่สุดอาณาจักรอิสลามก็ได้รับการสถาปนาขึ้นบนคาบสมุทรแห่งนี้และยืนหยัดได้เป็นเวลาประมาณ 750 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ชาวมุสลิมครอบครองนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลอันดะลุส แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังเป็นช่วงที่เรียกว่า "เรกองกิสตา" หรือการยึดดินแดนคืนของชาวคริสต์ซึ่งค่อย ๆ รุกลงไปทางใต้ เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดเมื่อชาวคริสต์สามารถพิชิตที่มั่นแห่งสุดท้ายของชาวมุสลิมที่กรานาดาได้ในปี ค.ศ. 1492 จากนั้นราชอาณาจักรและรัฐคาทอลิกต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียก็ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งราชอาณาจักรคาสตีลและราชอาณาจักรอารากอนด้วย ซึ่งการรวมกันของอาณาจักรทั้งสองนี้จะนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่นของรัฐชาติสเปนในเวลาต่อมา ปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประวัติศาสตร์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ปวยร์โตรีโก

ปวยร์โตรีโก (Puerto Rico) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐปวยร์โตรีโก (Estado Libre Asociado de Puerto Rico) เป็นเครือรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสาธารณรัฐโดมินิกันในภูมิภาคแคริบเบียนตะวันออกเฉียงเหนือ ปวยร์โตรีโกเป็นดินแดนที่เล็กที่สุดของเกรตเตอร์แอนทิลลีส มีพื้นที่รวมเกาะปวยร์โตรีโก เกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งกลุ่มเกาะ ได้แก่ โมนา เบียเกซ และกูเลบรา การเดินทางเข้าปวยร์โตรีโกนั้นต้องใช้วีซาของสหรัฐอเมริกา เพราะปวยร์โตรีโกถือเป็นดินแดน (territory) ของสหรัฐอเมริกา แม้จะไม่ถือว่าเป็นรัฐ (state) ก็ตาม.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และปวยร์โตรีโก · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาของฮิลแบร์ท

ปัญหาของฮิลแบร์ท (Hilbert's problems) คือ ปัญหาคณิตศาสตร์ทั้ง 23 ข้อ ที่ตั้งโดย ดาฟิด ฮิลแบร์ท (David Hilbert) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอต่อที่ประชุมสภานักคณิตศาสตร์นานาชาติ (International Congress of Mathematicians) ณ กรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. 1900 ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ยังไม่มีใครแก้ได้ในเวลานั้น และมีอิทธิพลต่อวงการคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฮิลแบร์ทได้เสนอปัญหา 10 ข้อต่อที่ประชุม (ปัญหาข้อ 1, 2, 6, 7, 8, 13, 16, 19, 21 และ 22) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม และได้เสนอปัญหาข้ออื่น ๆ ในภายหลัง.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และปัญหาของฮิลแบร์ท · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

ปืน ร.ศ. 121

ปืนเล็กยาว ร..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และปืน ร.ศ. 121 · ดูเพิ่มเติม »

ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ

ปฏิทินสำหรับปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ (เช่น พ.ศ. 2546, พ.ศ. 2557) ---- หมวดหมู่:สัปดาห์ หมวดหมู่:ปฏิทิน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ · ดูเพิ่มเติม »

นวยุคนิยม

ก้าอี้วาสซิลี (Wassily) ผลงานของมาร์แซล บรอยเยอร์ นวยุคนิยม, นวนิยม, ทันสมัยนิยม หรือ สมัยใหม่นิยม (modernism) อธิบายชุดของขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรากฐานมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคมตะวันตก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำดังกล่าวครอบคลุมชุดต่อเนื่องของขบวนการปฏิรูปในศิลปะ, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณกรรม, และศิลปะประยุกต์ซึ่งอุบัติขึ้นในระหว่างช่วงนี้.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และนวยุคนิยม · ดูเพิ่มเติม »

นักคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และนักคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลา เทสลา

นิโคลา เทสลา (Никола Тесла, Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 - ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็น นักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า และ นักทำนายอนาคต เขาเกิดที่ Smiljan ในอดีตออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐโครเอเชีย ภายหลังเขาได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน เทสลามีปัญหาทางประสาทในวัยเด็ก ที่เขาต้องทุกข์ทรมาน จาก โรคย้ำคิดย้ำทำ เขาได้งานแรกในบูดาเปสต์โดยทำงานที่บริษัทโทรศัพท์ เทสล่าได้ประดิษฐ์ลำโพงสำหรับโทรศัพท์ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางเร่ร่อนไปอเมริกาในปี 2427 เพื่อที่จะไปทำงานกับ โทมัส เอดิสัน แต่ในไม่นาน เขาก็เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการ/บริษัท พัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า ของตัวเองโดยมีผู้สนับสนุนด้านการเงินให้ สิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการจดทะเบียนโดย จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้เทสลาเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไฟฟ้ากระแสสลับด้วย ผลงานของเทสลาที่ทำให้เขาเป็นที่สนใจในสมัยนั้นอาทิเช่น การทดลองเกี่ยวกับ คลื่นความถี่สูงและแรงดันไฟฟ้าแรงสูง ใน นิวยอร์ก และ โคโลราโด สปริงซ์, สิทธิบัตรของอุปกรณ์และทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างวิทยุสื่อสาร, การทดลอง X-ray ของเขา, เขายังเป็นผู้คิดค้นตัวกำเนิดสัญญาณ (oscillator) หลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ โครงการ Wardenclyffe Tower ซึ่งเป็นความพยายามในการส่งสัญญาณไร้สายข้ามทวีปแต่โชคร้ายที่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ แม้เทสลาจะเป็นผู้คิดค้นสัญญาณวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โทมัส เอดิสัน แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล เทสลาประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและทำให้ผู้คนเห็นถึงความสามารถของจากโชว์สิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่าอัศจรรย์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าเขาจะได้เงินจากสิทธิบัตรต่าง ๆ แต่เขาก็ได้ทำการทดลองอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาต้องเป็นหนี้ และ มีปัญหาด้านการเงิน ต้องอาศัยอยู่อย่างโดษเดี่ยวในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker ด้วยลักษณะและธรรมชาติในการทำงานของเทสลาทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็น "นักวิทยาศาสตร์เพี้ยน" เทสลาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2486 หลังจากการตายของเขางานของเทสล่าก็ได้เงียบหายไป แต่ในปี 2533 เขาก็เริ่มกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในปี 2548 เขาถูกเสนอชื่อให้เป็นตัวแทน 1 ใน 100 คนในรายการโทรทัศน์ "The Greatest American" โดยการสำรวจนิยมโดย AOL กับ ช่อง Discovery การทำงานและสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของเขายังเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก และ ยังได้นำไปใช้สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียม, ทฤษฎียูเอฟโอ และ ไสยศาสตร์ยุคใหม่ อีกด้วย ในปี 2503 หน่วยสำหรับวัดความ ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก (ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสนามแม่เหล็ก B \), ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และนิโคลา เทสลา · ดูเพิ่มเติม »

นีลส์ เฮนริก อาเบล

นีลส์ เฮนริก อาเบล (Neils Henrik Abel) เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1802 เสียชีวิต 6 เมษายน ค.ศ. 1829 เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นบางท่านยกย่องอาเบลว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสแกนดิเนเวีย อย่างไรก็ตามอาเบลเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 26 ปี และเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตอาภัพที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการคณิตศาสตร์ เคียงคู่ไปกับ เอวารีสต์ กาลัว (เสียชีวิตเมื่ออายุ 20 ปี), รามานุจัน (เสียชีวิตเมื่ออายุ 33 ปี) และ โซฟี่ แชร์แมง (เสียชีวิตโดยที่ไม่มีโอกาสได้ทราบว่าตนเองได้รับปริญญากิตติมศักดิ์) อาเบลและเพื่อนนักคณิตศาสตร์ร่วมสมัยคือ เกาส์และโคชี่ มีส่วนร่วมเป็นอย่างสูงในการพัฒนาคณิตศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจากคณิตศาสตร์สมัยเก่าตรงที่มีการพิสูจน์อย่างเคร่งครัดในทุกทฤษฎีบท.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และนีลส์ เฮนริก อาเบล · ดูเพิ่มเติม »

แฟร็กทัล

แฟร็กทัล จาก เซตมานดัลบรอ, วาดโดยการพล็อตสมการวนซ้ำไปเรื่อย ๆ แฟร็กทัล (Fractal) ในปัจจุบันเป็นคำที่ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิต ที่มีคุณสมบัติคล้ายตนเอง คือ ดูเหมือนกันไปหมด (เมื่อพิจารณาจากแง่ใดแง่หนึ่ง) ไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (โดยการส่องขยาย) หรือ สเกลใดก็ตาม คำว่า แฟร็กทัล นี้ เบอนัว มานดัลบรอ เป็นคนบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1975 จากคำว่า fractus ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า แตก หรือ ร้าว.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และแฟร็กทัล · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย

แกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (Елизавета Фëдоровна; เยลิซาเวียตา เฟโยโดรอฟนา; 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2407 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันแห่งราชวงศ์เฮสส์และไรน์และพระชายาในแกรนด์ดยุกเซอร์เกย์ อเล็กซานโดรวิชแห่งรัสเซีย พระราชโอรสพระองค์ที่ห้าในจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 และจักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย จักรพรรดินีองค์สุดท้ายแห่งรัสเซีย ทรงเป็นที่เลืองลือในวงสังคมรัสเซียถึงความงาม ความมีเสน่ห์ และการช่วยเหลือคนยากไร้ และเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และแกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งเหมืองหลักแห่งวัลโลเนีย

แหล่งเหมืองหลักแห่งวัลโลเนีย (Sites miniers majeurs de Wallonie) คือ แหล่งเหมืองถ่านหินที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จำนวนสี่แห่งของเขตวัลลูน ประเทศเบลเยียม ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 2012 ซึ่งประกอบด้วยเหมืองแร่เก่าจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ เลอกร็อง-ออร์นู (Le Grand-Hornu), บัวดูว์ลัก (Bois du Lac), บัวดูว์กาซีเย (Bois du Cazier) และเบลญี-มีน (Blegny-Mine) ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น เหมืองแร่และอุตสาหกรรมหนักต่างๆซึ่งต้องการถ่านหินเป็นหลักนั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของเบลเยียม โดยอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ต่างๆนั้นตั้งอยู่ในบริเวณเขตอุตสาหกรรมซียง (Sillon industriel) ซึ่งเป็นอาณาเขตบริเวณแคบแต่ยาวเกือบตลอดประเทศเบลเยียมโดยพาดผ่านเมืองสำคัญในเขตวัลลูน ซึ่งเหมืองเก่าทั้งสี่แห่งนั้นล้วนตั้งอยู่ในบริเวณเขตอุตสาหกรรมดังกล่าว เหมืองถ่านหินในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้นได้ลดความสำคัญลงมาก และในปัจจุบันทั้งสี่แห่งนั้นได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างเต็มรูปแบบ โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดทั้งปี.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และแหล่งเหมืองหลักแห่งวัลโลเนีย · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอาลซัส

อาลซัส (Alsace) หรือ แอลซ็อส (อัลเซเชียน: Elsàss) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกร็องแต็สต์) ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนทางทิศตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส และทางทิศตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ติดกับประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ มีเมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองสทราซบูร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีผลัดกันครอบครองแคว้นอาลซัสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 20 เดิมอาลซัสเคยเป็นของเยอรมนี แต่หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฝรั่งเศสแย่งแคว้นอาลซัสและลอแรนไปจากเยอรมนีทำให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนไม่พอใจฝรั่งเศส จึงเกิดสงครามฝรั่งเศส-อาลซัสและสงครามฝรั่งเศส-ลอแรน โดยฝรั่งเศสต้องสู้กับชาวอาลซัสและชาวลอแรน แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถปราบชาวอาลซัสและลอแรนลงได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แคว้นอาลซัสค่อย ๆ ถูกปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส บ่อยครั้งที่แคว้นอาลซัสได้ถูกกล่าวรวมกับแคว้นลอแรน เนื่องจากการครอบครองดินแดนของแคว้นทั้งสอง (อาลซัส-ลอแรน) เป็นที่เลื่องชื่อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเยอรมนีรวมกับปรัสเซียและไซลีเซียเข้าโจมตีฝรั่งเศสและสามารถยึดอาลซัสและลอแรนคืนมาได้ระยะหนึ่ง พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝรั่งเศสซึ่งชนะสงครามจึงเอาอาลซัสและลอแรนคืนมา หลังจากนั้นในสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมันได้เข้ายึดปารีสและขู่ให้ฝรั่งเศสยกอาลซัสและลอแรนคืนให้เยอรมนี อาลซัสและลอแรนจึงกลับเป็นของเยอรมนีอีกครั้ง เมื่อเยอรมนีนาซีแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีก็คืนอาลซัส-ลอแรนแก่ฝรั่งเศส ในช่วงสงครามเย็นชาวเยอรมันในอาลซัสและลอแรนก็ประท้วงกันอีกครั้ง รัฐบาลฝรั่งเศสต้องคอยปราบปรามเลยยอมให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนใช้ภาษาเยอรมันได้ในที่สุด แต่ชาวเยอรมันบางกลุ่มไม่พอใจยังก่อการร้ายในอาลซัสอยู่เรื่อยมาจนเป็นปัญหาถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันอาลซัสเป็นของฝรั่งเศสอย่างสมบรูณ์ แม้ว่าแคว้นอาลซัสจะเป็นแคว้นที่มีคนพูดภาษาเยอรมันอยู่มากทางประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันชาวอาลซัสก็สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสประมาณร้อยละ 25 ของประชากรพื้นเมืองสามารถพูดภาษาอัลเซเชียน (Alsatian) โดยเป็นภาษาแม่หรือภาษาเยอรมัน (เป็นภาษาที่ 2).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และแคว้นอาลซัส · ดูเพิ่มเติม »

แซนตามอนิกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย)

แซนตามอนิกา (Santa Monica) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของลอสแอนเจลิสเคาน์ตี รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ติดกับอ่าวแซนตามอนิกา มีเมืองล้อมรอบ 3 ด้าน ได้แก่ ลอสแอนเจลิส - แปซิฟิกพาลิเสดส์ทางทิศตะวันออกตกเฉียงเหนือ เมืองเบรนท์วูด ทางทิศเหนือ เวสต์ลอสแอนเจลิสทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มาร์วิสตาทางทิศตะวันออก และเวนิสติดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และมีทะเลล้อมรอบ 1 ด้าน คือมหาสมุทรแปซิฟิกติดทางทิศตะวันตก สำนักสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริกา ประมาณการประชากรของแซนตามอนิกาเมื่อปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และแซนตามอนิกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย) · ดูเพิ่มเติม »

ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์

การกล่าวถึงพระตรีเอกภาพ (Trinitarian formula) ว่า "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit; in nomine Patris, et Filii, et Spiritus Sancti; εἰς τὸ ὄνομα τοῦ Πατρὸς καὶ τοῦ Υἱοῦ καὶ τοῦ Ἁγίου Πνεύματος) มีที่มาจากพระวรสารนักบุญมัทธิว ความว่า "เพราะ‍ฉะนั้น ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​จง​ออก​ไป​และ​นำ​ชน​ทุก​ชาติ​มา​เป็น​สาวก​ของ​เรา จง​บัพ‌ติศ‌มา​พวก‍เขา​ใน​พระ‍นาม​ของ​พระ‍บิดา พระ‍บุตร และ​พระ‍วิญ‌ญาณ‍บริ‌สุทธิ์" (มัทธิว 28:19) คริสต์ศาสนิกชนกล่าวคำนี้ในโอกาส เช่น การอธิษฐาน ในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่น พิธีบัพติศมา และการทำเครื่องหมายกางเขน หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนบทนี้เนื่องจากคิดว่าเป็นการยกย่องเพศชายแต่ฝ่ายเดียว ทั้งที่จริง ๆ แล้วพระเจ้าทรงไม่มีเพศ บางกลุ่มเลือกที่จะใช้ "ในนามพระผู้สร้าง พระผู้ไถ่ และพระผู้ทำให้บริสุทธิ์" ทั้งนี้คริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรตะวันออกบางแห่งถือว่าเป็นการไม่ถูกต้อง.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

โอคาพี

อคาพี (okapi; ชื่อวิทยาศาสตร์: Okapia johnstoni) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์ Giraffidae เช่นเดียวกับยีราฟ เป็นสัตว์พื้นเมืองของเขตป่าฝนอีตูรี ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ในแอฟริกากลาง แม้ว่าโอคาพีจะมีลายแถบและรูปร่างที่คล้ายกับม้าลาย แต่ที่จริงแล้วมีสายสัมพันธ์กับยีราฟ อันเป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน และถือว่าเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นในวงศ์นี้ ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงถือว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่อีกชนิดหนึ่ง โอคาพีมีความสูงเพียงประมาณ 1.5-2 เมตร บริเวณขาทั้ง 4 ข้างและบั้นท้ายจะมีแถบดำคล้ายกับม้าลาย ส่วนบริเวณคอนั้นจะเห็นเป็นแถบไม่ชัดนัก อีกทั้งยังมีนัยน์ตาคล้ายคลึงกับกวางหรือแอนทีโลป โอคาพีตัวผู้นั้นจะมีเขา 2 เขา โดยหากมองจากด้านข้างแล้วจะทำให้ดูราวกับว่ามีเพียงเขาเดียว ซึ่งในอดีตมีผู้เคยเข้าใจว่าโอคาพี คือ ยูนิคอร์น สัตว์ในเทพปกรณัมกรีกด้วยซ้ำ แถบดำบนตัวของโอคาพีนั้น นอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยพรางตัวในธรรมชาติแล้ว ยังเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้โอคาพีวัยอ่อนสามารถที่จะสังเกตเห็นแม่ของตัวเองได้ง่ายขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าฝนที่หนาทึบ เพราะถึงแม้โอคาพีเป็นสัตว์ที่รักสันโดษ มักใช้ชีวิตตามลำพัง แต่โอคาพีตัวเมียจะดูแลและไปไหนมาไหนกับลูกของตัวเองเสมอ โดยปกติแล้ว โอคาพีมีลำตัวสีน้ำตาลแดง มีความยาวประมาณ 2-2.5 เมตรและสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ส่วนหางจะยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มวัย โอคาพีจะมีน้ำหนักอยู่ในราว 200-250 กิโลกรัม และถึงแม้ว่าลำตัวของโอคาพีจะคล้ายคลึงกับยีราฟ แต่ลำคอก็มิได้ยืดยาวเหมือนยีราฟแต่อย่างใด โอคาพีเป็นที่รู้จักครั้งแรกของโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากการค้นพบของเซอร์แฮร์รี จอห์นสตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งจักรวรรดิอังกฤษ ที่พบเห็นชาวปิกมีนุ่งห่มหนังของโอคาพี ในครั้งแรกเซอร์จอห์นสตันเข้าใจว่าเป็นหนังของม้าลายหน้า 71-72, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีโอคาพีอยู่ในป่าที่ประมาณ 10,000–20,000 ตัวใน..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และโอคาพี · ดูเพิ่มเติม »

โอไดบะ

นโอไดบะและสะพานสายรุ้งจากมุมสูง โอไดบะ เป็นเกาะจำลองขนาดใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นจากการถมทะเลบริเวณอ่าวโตเกียวในเขตโคโตและเขตชินะงะวะ เขตปกครองพิเศษของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แรกเริ่ม โอไดบะสร้างขึ้นใน..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และโอไดบะ · ดูเพิ่มเติม »

โปรดิวเซอร์เพลง

ในอุตสาหกรรมดนตรี โปรดิวเซอร์เพลง (record producer) มีหลายบทบาทการทำงาน ทั้งทำหน้าที่ควบคุมการบันทึกเสียง ให้คำแนะนำและแนวทางกับนักดนตรี จัดการและวางแผนงานการผลิตทั้งค่าใช้จ่ายและทรัพยากร ดูแลจัดการการบันทึกเสียง การผสมเสียงและขั้นตอนการการทำต้นฉบับ สิ่งเหล่านี้คือหน้าที่หลักของโปรดิวเซอร์ ตั้งแต่เริ่มต้นบันทึกเสียง แต่ต่อมาช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่างก็มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมารับหน้าที่บางส่วน ในบางกรณีจะมีการนำโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ มาเปรียบเทียบการทำงานกับโปรดิวเซอร์เพลง ในแง่งาน ของเขต ซึ่งแตกต่างจากโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ที่ โปรดิวเซอร์เพลงมักไม่ค่อยจะได้รับความรับผิดชอบในการหาเงินทุนเพื่อการผลิตผลงานเพลง การทำงานของโปรดิวเซอร์เพลงจะคล้ายกับการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์มากกว่า โปรดิวเซอร์เพลงจะถูกว่าจ้างโดยนายทุน (โดยทั่วไปอาจหมายถึงค่ายเพลง หรือในบางครั้งอาจเป็นตัวศิลปินเอง).

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และโปรดิวเซอร์เพลง · ดูเพิ่มเติม »

โนม ชอมสกี

นม ชอมสกี ดร.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

ไข้รากสาดใหญ่

้รากสาดใหญ่ หรือ ไข้ไทฟัส เป็นกลุ่มของโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย โดยมีแมลงปรสิต (louse) เป็นพาหะ ชื่อโรคไทฟัสมาจากรากศัพท์ภาษากรีก typhos แปลว่าขี้เกียจหรือขุ่นมัว ซึ่งอธิบายสภาวะจิตใจของผู้ป่วยด้วยโรคนี้ เชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้คือเชื้อกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ซึ่งเป็นปรสิตที่จำเป็นต้องอยู่ในเซลล์โฮสต์ตลอดเวลา ไม่มีวงชีพอิสระ เชื้อริกเก็ตเซียเป็นเชื้อที่ระบาดอยู่ในสัตว์พวกหนู และแพร่กระจายเข้าสู่มนุษย์โดยเห็บ เหา หมัด โลน หรือไร พาหะเหล่านี้จะเจริญได้ดีภายใต้ภาวะสุขลักษณะไม่ดีเช่นในเรือนจำ ค่ายผู้ลี้ภัย ในหมู่คนไร้บ้าน และในสนามรบช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในประเทศที่พัฒนาแล้วโรคไข้รากสาดใหญ่มักติดต่อผ่านทางหมัด ส่วนในเขตร้อนโรคนี้มักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อริกเก็ตเซียนอกจากจะมีไข้รากสาดใหญ่ประเภทต่างๆ ที่จะกล่าวถึงแล้วนั้น ยังมีโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี (Rocky Mountain spotted fever) และโรคไข้พุพอง (spotted fevers) ที่ระบาดในประเทศโคลอมเบียและบราซิล.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และไข้รากสาดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติมองโกเลีย

ลงชาติมองโกเลีย (Монгол улсын төрийн дуулал) เป็นบทเพลงซึ่งประพันธ์ทำนองโดยบิเลจีน ดามดินซูเรน (Bilegiin Damdinsüren, พ.ศ. 2462 - 2534) และลุฟซานยามส์ มูร์ดอร์จ (Luvsanjyamts Murdorj (พ.ศ. 2458 - 2539) เนื้อร้องโดย เซนดีน ดามดินซูเรน (Tsendiin Damdinsüren, พ.ศ. 2451 - 2531) ตลอดสมัยระบอบคอมมิวนิสต์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มองโกเลียมีการเปลี่ยนแปลงเพลงชาติหลายครั้ง เพลงแรกสุดคือ แองเตอร์นาซิอองนาล ("Монгол Интернационал" "Mongol Intyörnatsional") เนื้อร้องโดย Sonombalshiryn Bujannemech และ ทำนองโดย Magsarshawyn Durgarshaw. ใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2467 - 2493 ต่อมาจึงเปลี่ยนเพลงใหม่ใช้ในช่วงปี พ.ศ. 2493 - 2505 และภายหลังก็ได้แก้ไขเพลงชาติอีกครั้ง โดยใช้ในระหว่างปี พ.ศ. 2505 - 2534 โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีที่มองโกเลียมีการปฏิวัติประชาธิปไตย เพลงชาติมองโกเลียที่มีการใช้นั้นได้คงเนื้อร้องส่วนใหญ่ของเพลงชาติฉบับปี พ.ศ. 2493 ไว้ แต่มีการยกเนื้อร้องบทที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหายกย่องผู้นำของสหภาพโซเวียตและมองโกเลียออกเสีย (กล่าวถึง เลนิน, สตาลิน, ชุคบาตาร์, และ ชอยบาลซาน) ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 รัฐสภาแห่งมองโกเลียได้รับรองเนื้อร้องที่แก้ไขเพิ่มเติมให้มีเนื้อหาสรรเสริญเจงกิสข่าน จักรพรรดิมองโกลผู้ยิ่งใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 800 ปีแห่งการสถาปนาจักรวรรดิมองโกล.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเพลงชาติมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซุมบาวา

ซุมบาวา (Sumbawa) เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในหมู่เกาะซุนดาน้อย ทางตะวันออกของเกาะลมบกและตะวันตกของเกาะโฟลเร็ซ เกาะซุมบาวามีพื้นที่ 5,448 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,965 ตารางไมล์ (ขนาดเป็น 3 เท่าของเกาะลมบก) มีประชากรราว 1.33 ล้านคน เกาะเต็มไปด้วยภูเขา ยอดสูงสุดเป็นภูเขาไฟชื่อ กูนุงตัมโบรา อยู่ที่ปลายสุดของคาบสมุทรทางตอนเหนือ มีดินอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเมืองร้อนได้ดีหลายชนิด เดิมเกาะนี้เป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมา แตกออกเป็นรัฐขนาดเล็กหลายแห่ง เริ่มติดต่อกับฮอลันดาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อ..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเกาะซุมบาวา · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์

วสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์ (West Hightland White Terrier) หรือที่นิยมเรียกเล่น ๆ ว่า เวสตี (Westie, Westy) เป็นสายพันธุ์สุนัขพันธุ์เล็กสายพันธุ์หนึ่ง มีต้นกำเนิดจากสกอตแลนด์ เดิมเคยเป็นสายพันธุ์ร่วมกับสกอตติชเทร์เรียร์และแคร์นเทร์เรียร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เชื่อกันว่าเวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์เป็นสุนัขที่มาสืบเชื้อสายมาจากในพระราชวังของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์เป็นที่รู้จักครั้งแรกจากงานประกวดสุนัขที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1907 ในปีถัดมาได้ลงทะเบียนกับสมาคมสุนัขอเมริกันในชื่อ "โรสนีทเทร์เรียร์" หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "เวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์" อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1909 เนื่องจากมีการผสมพันธุ์ให้กลายมาเป็นสีขาวล้วน เวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์เป็นสุนัขขนาดเล็ก ตาเป็นวงกลมสีดำ ขนยาวสีขาวมี 2 ชั้น ชั้นนอกมีลักษณะเหยียดยาว หยาบ ขนชั้นในจะสั้นและนุ่ม หูมีขนาดเล็กมีทั้งตั้งตรงและตกลง ตัวผู้สูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร ตัวเมียสูงประมาณ 23-28 เซนติเมตร ตัวผู้หนัก 7-10 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 6-7 กิโลกรัม มีจุดเด่นคือสีขนจะมีความขาวสว่างทำให้ดูมีสง่าราศี มีอายุเต็มที่ประมาณ 15 ปี เนื่องจากเคยเป็นสุนัขล่าสัตว์มาก่อนจึงมีนิสัยที่กล้าหาญ จนถูกขนานนามว่า "สุนัขใหญ่ในร่างเล็ก" เวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์จึงเป็นสุนัขที่มีนิสัยระแวดระวังอยู่เสมอ และเห่าเก่งถึงแม้ตัวจะมีขนาดเล็ก รวมทั้งมีนิสัยที่หวงสิ่งของของมันเองมาก รวมถึงเจ้าของและอาหารด้วย โดยปกติแล้วจะเป็นสุนัขที่เข้ากับเด็กและสัตว์อื่น ๆ ได้ง่าย ชอบวิ่งเล่นเป็นประจำ จึงไม่ควรให้อยู่ในห้องแคบ ๆ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เร็ว แต่เนื่องจากตัวเล็กจึงมักจะเหนื่อยง่าย มักจะเป็นสุนัขที่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังแห้ง จึงทำให้ไม่ควรอาบน้ำให้บ่อยเกินไปนัก โดยปกติควรจะอยู่ที่ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง แต่เนื่องจากมีขนยาวจึงควรที่จะแปรงขนให้บ่อย ๆ และทำความสะอาดหูด้วยสำลีจะช่วยป้องกันการสะสมของไขมันและสิ่งสกปรกได้.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเวสต์ไฮต์แลนด์ไวต์เทร์เรียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพ

รีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคมและการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพจากพันธะบาป.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเสรีภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเหตุการณ์ 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์

กอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ ถ่ายโดย คาร์ล แวน เวเช็น (Carl Van Vechten) ฟรานซีส สกอตต์ คีย์ ฟิตซ์เจอรัลด์ หรือ เอฟ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เออร์สกิน คอลด์เวลล์

ออร์สกิน คอลด์เวลล์(Erskine Caldwell) เออร์สกิน เพรสตัน คอลด์เวลล์ (Erskine Preston Caldwell 17 ธันวาคม ค.ศ. 1903 - 11 เมษายน ค.ศ. 1987) นักเขียนชาวอเมริกัน มักจะเขียนถึงชีวิตของผู้คนยากจนที่มีทั้งชาวผิวขาวและผิวดำในชนบททางภาคใต้ของสหรัฐฯ อันเป็นถิ่นกำเนิดของเขา ด้วยท่วงทำนองหม่นเศร้าและเป็นจริง ในบรรดานวนิยาย 25 เรื่อง (และหนังสือสารคดีอีก 12 เล่ม) ไม่มีเล่มไหนโด่งดังไปกว่า Tobacco Road (ค.ศ. 1932) และ God’s little acre (ค.ศ. 1933) หนังสือของคอลด์เวลล์ในแบบปกอ่อนขายได้กว่าแปดสิบล้านเล่มและถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ นับสี่สิบสามภาษา เขาจึงเป็นหนึ่งในนักเขียนนิยายยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่มีผู้อ่านมากที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งนักวิจารณ์ในยุคนั้นยกย่องให้อยู่ในระดับเดียวกับฟิตซ์เจอรัลด์ วูลฟ์ และจอห์น สไตน์เบ็ค คอลด์เวลล์เกิดในจอร์เจีย ในครอบครัวของพระนิกายเพรสไบทีเรียนซึ่งออกเดินทางไปตามตำบลต่างๆ ทำให้เขาต้องเรียนหนังสือจากแม่ และเรียนรู้ชีวิตจากงานต่างๆ ที่เขาทำในช่วงวัยหนุ่ม ก่อนที่จะหันมาทำอาชีพนักหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือเต็มตัว ในช่วงต้นทศวรรษ 1930 สไตล์การเขียนซึ่งผสมผสานระหว่างความสมจริงสุดขีดและเซ็กซ์กับความรุนแรงทำให้เกิดการถกเถียงขึ้นอย่างหนักหน่วง เมื่อสมาคมนิวยอร์กเพื่อป้องกันความชั่วร้ายพยายามจะประกาศห้ามเรื่อง God's little acre คอลด์เวลล์ก็ฟ้องศาลและชนะคดี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 คอลด์เวลล์ในเวลานั้นเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์อยู่ในสหภาพโซเวียตและได้เห็นการยกทัพเข้าโจมตีของกองทัพเยอรมันในปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเออร์สกิน คอลด์เวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เจนไน

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองเจนไน (เมืองในเขตสีแดงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของรัฐ) สถานีรถไฟกลางเจนไน เจนไน (Chennai; சென்னை) หรือชื่อเดิม มัทราส (Madras) เป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมชายฝั่งโคโรมันเดล (โจฬมณฑล) ของอ่าวเบงกอล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ มีพื้นที่ 181.06 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (พ.ศ. 2550) จึงทำให้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ เจนไนตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยชาวอังกฤษซึ่งได้พัฒนาเมืองนี้ให้เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในฐานะเมืองหลวงของเขตมัทราส (Madras Presidency) เศรษฐกิจของเมืองเจนไน ได้แก่ การผลิตรถยนต์ เทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผู้ส่งออกซอฟต์แวร์และบริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศรองจากบังคาลอร์และไฮเดอราบาด มีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่ง และท่าเรือหลักอีก 2 แห่ง เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศด้วยทางหลวงแผ่นดินสายหลัก 5 สาย และสถานีขนส่งทางรถไฟอีก 2 แห่ง เจนไนเป็นที่จัดงานฤดูกาลดนตรีมัทราส (Madras Music Season) กิจกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีซึ่งมีการแสดงจากศิลปินหลายร้อยคน เป็นศูนย์กลางสำคัญของนาฏฺศิลป์ชั้นสูงประเภทหนึ่งของอินเดีย คือ ภารตนาฏยัม อุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาทมิฬซึ่งเรียกว่า คอลลีวูด (Kollywood) มีฐานการผลิตอยู่ในเมืองนี้ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเจนไนโอเพนของสมาคมเทนนิสอาชีพ (ATP) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมืองนี้ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ การจราจรติดขัด และมลพิษทางอาก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเจนไน · ดูเพิ่มเติม »

เขมรแดง

ธงแดงรูปค้อนเคียวของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย) เขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម; แขฺมรกฺรหม; อ่านว่า คแมร์กรอฮอม /ฝรั่งเศสและอังกฤษ: Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” (Communist Party of Kampuchea; Parti communiste du Kampuchéa – PCK) และ “พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย” (Parti du Kampuchéa démocratique) รูปแบบการปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง "สังคมใหม่" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

เขตวัลลูน

ตวัลลูน (Région wallonne; Wallonische Region; Wallonië) เรียกอีกอย่างว่า "วาโลเนีย" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วาโลเนียนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเขตภูมิภาควัลลูน ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 วัลลูนถือเป็นครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้เขตฟลามส์นั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าเขตวัลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันเขตวัลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าเขตฟลามส์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองหลวงของวาโลเนียตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่างๆในวาโลเนียนั้นตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซอมบร์ และแม่น้ำเมิส อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของเขต อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับเขตฟลามส์ อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์เดนน์ ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของเขตวัลลูนทางด้านเหนือนั้นติดกับเขตฟลามส์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกจรดกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนทิศตะวันออกนั้นติดกับประเทศเยอรมนี และประเทศลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเขตวัลลูน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซาเปาลู

นตัวเมืองเซาเปาลู right right right เซาเปาลู (São Paulo) เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกตามจำนวนประชากร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งที่สุดในประเทศ ชื่อเซาเปาลูเป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า "นักบุญพอล" เซาเปาลูมีเนื้อที่ 1,523 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 10,886,518 คน ซึ่งทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ และซีกโลกใต้ (เขตมหานคร: ประมาณ 19 ล้านคน) เซาเปาลูเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1554 โดยคณะมิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกส ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โปรตุเกสก็เริ่มเข้ามาขยายอำนาจในอเมริกาใต้ (ภายในเขตที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาตอร์เดซียัส) โดยส่งคณะนักสำรวจเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้และค้นหาทองคำ เพชร และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้เซาเปาลูขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1711 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลื่นผู้อพยพจากประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี และประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามาในเซาเปาลูเพื่อทำงานในไร่กาแฟภายในรัฐ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้ากาแฟตกต่ำลง ผู้ประกอบการจึงเริ่มหันไปลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง โดยในครึ่งแรกของศตวรรษ นอกจากชาวยุโรปแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวอาหรับก็อพยพเข้ามาด้วย และตลอดศตวรรษเดียวกันนี้ เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเซาเปาลูก็เป็นตัวดึงดูดให้ประชากรจากรัฐอื่น ๆ ที่ยากจนในบราซิลเข้ามาทำงานในเมืองนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเซาเปาลู · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และเซน · ดูเพิ่มเติม »

Ґ

Ge (Ґ, ґ) บางครั้งก็เรียกว่า Ghe หรือ Ge with upturn (ในรหัสยูนิโคดใช้ชื่อว่า CYRILLIC CAPITAL/SMALL LETTER GHE WITH UPTURN) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียง // คล้ายกับเสียง g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ ในภาษาเบลารุสและภาษายูเครนสมัยโบราณ บางครั้งมีการใช้อักษรละติน g และทวิอักษร КГ (kh) แทนเสียงของ g ในคำทับศัพท์จากภาษาละติน แต่ภายหลังการทำเช่นนี้รวมทั้งการใช้ทวิอักษร ได้เลือนหายไปจากอักขรวิธีของภาษาเบลารุส จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 การใช้อักษร Ґ ได้ถูกนำมาพิจารณาใหม่และเพิ่มเข้าไปในภาษายูเครนและภาษารูซิน อักษร Ґ ของภาษายูเครนได้ถูกยกเลิกในการปฏิรูปอักขรวิธีของภาษารัสเซีย โดยสหภาพโซเวียต ใน พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) และถูกจัดให้เป็นอักษรเดียวกันกับ Г แต่อย่างไรก็ตาม อักษร Ґ ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งโดยชาวพื้นเมืองของประเทศยูเครน ใน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายหลังการปฏิรูปกลาสนอสต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักภาษาศาสตร์ชาวเบลารุสบางท่าน โดยเฉพาะ เอียน สตานเคียวิช (Yan Stankyevich) ได้มีการเสนอแนะว่าควรจะนำการอักษรนี้มาแทนเสียงของ g อีกครั้ง อย่างน้อยก็เพื่อทับศัพท์คำใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับแนวความคิดนี้ แม้กระทั่งตัวอักษร Ґ ก็ไม่เคยได้ปรากฏรวมอยู่ในลำดับอักษรของภาษาเบลารุสเลย เนื่องจากเห็นว่าอักษรตัวนี้ไม่ได้ใช้มานานมากแล้ว.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และҐ · ดูเพิ่มเติม »

Г

Ge หรือ He (Г, г) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // หรือ // ในภาษาที่แตกต่างกัน อักษรนี้มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แกมมา และ Г ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก จะมีรูปร่างเหมือนแกมมาตัวใหญ่ ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ glagoli และมีค่าเท่ากับ 3 ในเลขซีริลลิก ในมาตรฐานของภาษาเซอร์เบีย ภาษาบัลแกเรีย และภาษามาซิโดเนีย อักษร Г จะออกเสียงเป็น // เหมือนกับ g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ หรือ ก ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียก็อ่านเป็น // เช่นกัน ยกเว้นเมื่อปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง (สะกดด้วย ก) หรือออกเสียงเป็น // ก่อนเสียงสระเพดานแข็ง มีอยู่น้อยคำที่อักษรนี้ปรากฏอยู่ตรงกลางแล้วออกเสียงเป็น // เช่น ураган urakan อูราคัน หมายถึง เฮอร์ริเคน ในภาษายูเครนและภาษาเบลารุส จะเรียกอักษรนี้ว่า He ใช้แทนเสียงเสียดแทรกในลำคอ // ไม่เหมือนเสียง h ของภาษาอังกฤษ สำหรับภาษายูเครนนั้น เสียง // นั้นหาที่ใช้ได้น้อย แต่เมื่อต้องการใช้จะเปลี่ยนรูปเขียนเป็น Ge with upturn (Ґ, ґ) แทน ส่วนภาษาเบลารุส แม้อักษร Г จะมีใช้บ่อย เพื่อแทนคำที่ยืมมาจากภาษาโปแลนด์และภาษารัสเซีย แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การใช้เสียงนี้ในภาษาก็ได้หมดความสำคัญไป การเพิ่มตัวอักษร Г ลงในภาษาเบลารุสยังคงได้รับการยอมรับเฉพาะนักภาษาศาสตร์บางท่าน แต่ยังไม่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และГ · ดูเพิ่มเติม »

13 พฤศจิกายน

วันที่ 13 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 317 ของปี (วันที่ 318 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 48 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คริสต์ศตวรรษที่ 20และ13 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คริสตศตวรรษที่ 20

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »