โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คติโฟวิสต์

ดัชนี คติโฟวิสต์

ติโฟวิสต์ (Les Fauves) เป็นลัทธิของจิตรกรรมลัทธิหนึ่ง ลัทธินี้ใช้สีสดใส ตัดกันอย่างรุ่นแรง นำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ รูปแบบง่าย เรียบ สีที่นิยมใช้ คือ สีเขียว สีม่วง สีแดงอิฐ สีส้ม เกิดขึ้นและนิยมในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น อ็องรี มาติส (Henri Matisse) เป็นผู้นำที่สำคัญของคติโฟวิสต..

15 ความสัมพันธ์: ชูอัน มีโรฟร็องซิส ปีกาบียาฟินเซนต์ ฟัน โคคลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันลัทธิประทับใจยุคหลังศิลปะตะวันตกศิลปะนามธรรมอ็องรี มาติสอ็องรี รูโซฌอร์ฌ บรักจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ปอล เซซานปีต โมนดรียานนาซีเยอรมนีแมรี เคแซต

ชูอัน มีโร

ูอัน มีโร ภาพงานจิตรกรรมชื่อ "กลางคืน (Nocturne)" ของชูอัน มีโร ชูอัน มีโร อี ฟาร์รา (Joan Miró i Ferrà) เป็นจิตรกรและประติมากรชาวกาตาลา (ประเทศสเปน) ในสกุลศิลปะลัทธิเหนือจริง (surrealism) ภาพของเขาที่แสดงความเคลื่อนไหวไปมาอย่างน่าประหลาดนั้น เขาทำขึ้นจากความเคลื่อนไหวของลายเส้นที่พันกันชุลมุนและความสว่างสดใสของสี ภาพของมีโรเป็นการแปลสิ่งมหัศจรรย์ ซึ่งเป็นความแท้จริงที่พบใหม่นี้ มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมดีแท้ทีเดียว เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ความแท้จริงใหม่นี้ ไม่สามารถจะจับเอาเป็นคำพูด ความคิด หรือภาพให้สมบูรณ์แบบได้เลย ศิลปินลัทธิเหนือจริงและศิลปินเอกของศิลปะนามธรรมผู้นี้ได้พัฒนามาเป็นแบบอย่างศิลปะส่วนตัวอย่างเต็มที่ กลายเป็นผลงานที่สีสันอุดมสมบูรณ์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากคันดินสกี อาร์พ และเคล ผลงานของเขาเผยให้เห็นภาษาเชิงกวีนิพนธ์ มีโรได้รับการยอมรับว่ามีเอกลักษณ์ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น ออกมาเป็นภาพวาดได้อย่างลงตัวและงดงามหาที่เปรียบมิได้ เป็นศิลปินยุค 1893-1983 ซึ่งถือว่าโดดเด่นมากเมื่อเทียบกับรุ่นพี่อย่างปาโบล ปีกัสโซ ร่วมพิสูจน์ภาพเขียนแนวเหนือจริงที่ฉีกจากกรอบและกฎเกณฑ์เดิม.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และชูอัน มีโร · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซิส ปีกาบียา

ฟร็องซิส ปีกาบียา (Francis Picabia; ชื่อเกิด ฟร็องซิส-มารี มาร์ตีเน เดอ ปีกาบียา, 22 มกราคม ค.ศ.1879 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ.1953) ศิลปิน ช่างภาพ กวี และนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นอกจากบทบาทในการเป็นหนึ่งในผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญของลัทธิดาดาในอเมริกาและฝรั่งเศสแล้ว เขายังมีผลงานในลัทธิประทับใจ ศิลปะนามธรรม และงานในศิลปะลัทธิผสานจุดสี เขายังมีผลงานเกี่ยวข้องกับบาศกนิยมและโดดเด่นในผลงานของลัทธิเหนือจริงอีกด้ว.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และฟร็องซิส ปีกาบียา · ดูเพิ่มเติม »

ฟินเซนต์ ฟัน โคค

ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค (Vincent Willem van Gogh; 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890)คำอ่านในภาษาอังกฤษบริติชมีทั้ง แวน โกค หรือบ้าง แวน กอฟ พจนานุกรมสหรัฐลงว่า แวน โก คนไทยมักเรียก วินเซนต์ แวน โก๊ะ เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก เขาสร้างสรรค์งานศิลป์กว่า 2,100 ชิ้นในเวลาเพียงสิบปีกว่า ในจำนวนนี้เป็นภาพสีน้ำมัน 860 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในสองปีสุดท้ายของชีวิตเขา ผลงานของเขามีทั้งภาพภูมิประเทศ ภาพนิ่ง ภาพคนเหมือน และภาพเหมือนตนเอง ซึ่งล้วนมีลักษณะเด่นเป็นสีสันจัดจ้านและงานพู่กันที่ฉวัดเฉวียนแฝงอารมณ์ชวนประทับใจอันช่วยสร้างรากฐานให้แก่ศิลปะสมัยใหม่ หลังทนทุกข์เพราะไข้ใจและความจนมานานหลายปี เขาปลิดชีวิตตนเองเมื่ออายุได้ 37 ปี เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางค่อนไปทางชั้นสูง เขาเป็นเด็กที่เคร่งขรึม พูดน้อย แต่คิดมาก เมื่อโตเป็นหนุ่ม เขาทำงานเป็นนายหน้าขายศิลปกรรม จึงเดินทางบ่อย แต่เมื่อต้องย้ายบ้านไปอยู่ลอนดอน เขาก็ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จึงหันไปหาศาสนา ปฏิบัติศาสนกิจในฐานะมิชชันนารีแห่งโปรเตสแตนต์ทางภาคใต้ของเบลเยียม ชีวิตเขาล่องลอยไปมาระหว่างสุขภาพอันทรุดโทรมกับความโดดเดี่ยวอ้างว้าง กระทั่งมาจับงานวาดเขียนเอาใน..

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และฟินเซนต์ ฟัน โคค · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน (German Expressionism) เป็นแขนงของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน โดยนายหน้าค้างานศิลปะที่ชื่อว่า Paul Cassirer มีกระแสการทำงานศิลปะที่ต้องการเน้นย้ำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างลัทธิสำแดงพลังอารมณ์และลัทธิประทับใจ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ เป็นศิลปะที่มีความสำคัญและมีอำนาจจูงใจอย่างมากมายเกินคาด แพร่กระจายไปยังวรรณกรรม ละคร งานออกแบบ การเต้นรำ ภาพยนตร์รวมไปถึงงานสถาปัตยกรรม ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ถูกจำกัดอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จากช่วงเวลาทั้งหมดของพัฒนาการทางด้านศิลปะ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ถือเป็นคำพ้องความหมายของศิลปะสมัยใหม่โดยทั่วไป ในปัจจุบันเห็นได้ชัดว่า ศิลปินได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว และเราพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาจุดเด่นของศิลปินแต่ละคนจากรูปแบบงานศิลปะที่หลากหลายทั้งหมดของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีศิลปินที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบของศิลปินลัทธิสำแดงพลังอารมณ์อยู่จำนวนมาก.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิประทับใจยุคหลัง

"ร้อยปีแห่งความมีอิสระ" โดยอ็องรี รูโซ ค.ศ. 1892 ลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) เป็นคำที่คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1910 โดยรอเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษ เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังยังคงสร้างงานศิลปะลัทธิประทับใจ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะลัทธิประทับใจ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีที่จิตรกรต้องการจะใช้.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และลัทธิประทับใจยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะนามธรรม

''เปอีย์ซาจโอดิสก์'' โดยโรแบร์ต เดอลูเนย์ ค.ศ. 1906-1907 ศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ใช้ภาษาภาพในการสื่อความหมายด้วย สี และลายเส้น เพื่อสร้างสัดส่วนซึ่งอาจจะประกอบขึ้นในระดับความเป็นนามธรรมที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาไปจนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะตะวันตกรับอิทธิพลในการใช้ทัศนมิติและความพยายามในการทำให้สมจริงมากที่สุด ขณะที่ศิลปะของวัฒนธรรมนอกทวีปยุโรปถูกเข้าถึงและแสดงให้เห็นแนวทางอันหลากหลายในการอธิบายทัศนประสบการณ์ของตัวศิลปิน จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินหลายคนรู้สึกถึงความต้องการที่จะสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่ ซึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของเทคโนโลยี, วิทยาศาสตร์ และปรัชญา ต้นตอที่ทำให้ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะของตัวเองนั้นมีหลากหลาย และสะท้อนให้เห็นสภาพก่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและปัญญาในทุกแง่มุมของวัฒนธรรมยุโรปในขณะนั้น ศิลปะนามธรรม ศิลปะไร้รูปแบบตายตัว ศิลปะไร้รูปธรรม และศิลปะไม่แสดงลักษณ์ คือศิลปะที่เกี่ยวข้องกันอย่างหลวมๆ แม้ในความหมายเชิงลึกอาจมีความแตกต่างกันก็ตาม ศิลปะนามธรรมชี้ให้เห็นการละทิ้งค่านิยมในการสร้างสรรค์ภาพให้มีความสมจริงของวงการศิลปะ การวาดภาพโดยที่ไม่เน้นความสมจริงนี้อาจแสดงไว้เพียงเล็กน้อย, บางส่วน หรืออาจจะแสดงไว้โดยสมบูรณ์ทั้งชิ้นงาน ศิลปะนามธรรมคงอยู่ต่อเนื่องเรื่อยมา แม้แต่ศิลปะที่พยามยามจะทำให้มีองศามากที่สุดก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะนามธรรม และตั้งแต่การแสดงภาพอย่างสมบูรณ์แบบเริ่มมีความยุ่งยากที่จะเข้าถึงแก่นแท้ งานศิลปะที่ใช้ความเป็นอิสระและแตกต่างไปจากเดิมทั้งรูปแบบและการใช้สีซึ่งมีความเด่นสะดุดตาก็อาจถูกเรียกว่าเป็นศิลปะนามธรรมได้ด้วยเช่นกัน ศิลปะนามธรรมโดยสมบูรณ์คือศิลปะที่ไม่สามารถโยงเข้ากับแหล่งอ้างอิงรูปธรรมใดได้เลย ตัวอย่างเช่น ในศิลปะนามธรรมทรงเรขาคณิตน้อยครั้งที่จะพบแหล่งต้นตอของแนวคิดหรือรูปทรงที่ปรากฏเป็นรูปธรรมในธรรมชาติ ซึ่งทั้งศิลปะรูปแบบตายตัวและศิลปะนามธรรมโดยสมบูรณ์ต่างก็มีความเฉพาะตัวที่เหมือน แต่ศิลปะรูปแบบตายตัวและศิลปะเสมือนจริง (หรือศิลปะสัจนิยม) มักจะมีบางส่วนที่เป็นนามธรรมปรากฏด้วยอยู่บ่อยครั้ง ทั้งศิลปะนามธรรมทรงเรขาคณิตและศิลปะนามธรรมแบบพลิ้วไหวมักจะมีความเป็นนามธรรมโดยสมบูรณ์อยู่บ่อยครั้ง และหนึ่งในพัฒนาการอันหลากหลายของศิลปะที่กลายมาเป็นศิลปะนามธรรมบางส่วน เช่น ศิลปะคติโฟวิสต์ที่เน้นการใช้สีแบบผิดแปลกอย่างจงใจและเด่นชัด หรือลัทธิคิวบิสม์ที่เน้นการทำให้รูปแบบการวาดภาพสิ่งต่างๆ ในชีวิตจริงผิดแผกไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชั.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และศิลปะนามธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี มาติส

อ็องรี เอมีล เบอนัว มาติส (Henri-Émile-Benoît Matisse) (31 ธันวาคม ค.ศ. 1869 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954) เป็นจิตรกร ประติมากร และช่างพิมพ์ ชาวฝรั่งเศส ถือกันว่าเขามีฐานะเป็นหัวหน้าและคนที่สำคัญที่สุดของกลุ่มคติโฟวิสต์ ผลงานการวาดรูปของเขาจะโดดเด่นในการที่ใช้สีสันตัดกันอย่างลื่นไหลลงตัว.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และอ็องรี มาติส · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี รูโซ

อ็องรี ฌูว์เลียง เฟลิกซ์ รูโซ (Henri Julien Félix Rousseau; 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 - 2 กันยายน ค.ศ. 1910) at the Guggenhiem เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีลักษณะการเขียนแบบศิลปะนาอีฟ (Naïve art) และ แบบบรรพกาลนิยม (Primitivism) รูโซเป็นที่รู้จักกันว่า “Le Douanier” (เจ้าหน้าที่ศุลกากร) ตามหน้าที่การงาน ระหว่างที่มีชีวิตอยู่รูโซก็ถูกเย้ยหยัน แต่ต่อมาก็เป็นที่นับถือในการที่เป็นผู้สอนตนเองผู้เป็นอัจฉริยะผู้เขียนภาพที่มีคุณภาพสูง pages 7 & 8.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และอ็องรี รูโซ · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ บรัก

อร์ฌ บรัก (George Braque) เป็นศิลปินในคติโฟวิสต์และต่อมาในบาศกนิยม บรักเกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม..

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และฌอร์ฌ บรัก · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์

อห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (ภาษาอังกฤษ: John Singer Sargent) (12 มกราคม ค.ศ. 1856 - 14 เมษายน ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพภูมิทัศน์, ภาพเหมือน และ การใช้สีน้ำ ซาร์เจนท์เกิดที่ฟลอเรนซ์ ที่ประเทศอิตาลี บิดามารดาเป็นชาวอเมริกัน ซาร์เจนท์ศึกษาที่อิตาลีและเยอรมนี ต่อมาที่ปารีสกับอีมิล โอกุสต์ คาโรลุส-ดูแรง (Emile Auguste Carolus-Duran) ในชีวิตซาร์เจนท์เขียนจิตรกรรมสีน้ำมันด้วยกันทั้งสิ้นราว 900 ภาพ และอีก 2,000 ภาพเขียนด้วยสีน้ำ นอกจากนั้นก็ยังมีงานเขียนภาพร่าง และภาพวาดลายเส้นด้วยถ่านอีกด้ว.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ปอล เซซาน

ปอล เซซาน (Paul Cézanne) จิตรกรชาวฝรั่งเศสในลัทธิประทับใจยุคหลัง สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน งานของเซซานเป็นงานที่วางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะในลัทธิประทับใจของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศิลปะบาศกนิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งอ็องรี มาติส และปาโบล ปีกัสโซ ยกย่องเซซานว่าเป็น "the father of us all".

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และปอล เซซาน · ดูเพิ่มเติม »

ปีต โมนดรียาน

ต โมนดรียานคายโรเรน (Piet Mondriaan) มีชื่อเต็มว่า ปีเตอร์ กอร์เนลิส โมนดรียาน ยือนียอร์ (ผู้ลูก) (Pieter Cornelis Mondriaan, Jr.) เป็นศิลปินชาวดัตช์ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1872 ที่เมืองอาเมอร์สโฟร์ต ประเทศเนเธอร์แลนด์ARK ปีต โมนดรียานเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศิลปะแบบนามธรรม ในปี ค.ศ. 1915 เขาและเตโอ ฟัน ดุสบืร์ค (Theo van Doesburg) ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเดอสไตล์ (De Stijl) โดยสร้างงานเรขาคณิตอันมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเจริญเติบโตขึ้นจากแนวทางของลัทธิรูปทรงแนวใหม่ (neo-plasticism) โมนดรียานจำกัดองค์ประกอบศิลป์ในงานของตนเองให้เหลือเป็นเพียงเส้นตรงในแนวตั้ง-แนวนอน และสีพื้นฐานไม่กี่สี เช่น เหลือง น้ำเงิน และแดง ได้ผลลัพธ์เป็นงานศิลปะที่ชัดเจนและเป็นระเบียบ ซึ่งโมนดรียานเชื่อว่าสามารถสะท้อนให้เห็นกฎแห่งจักรวาลได้.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และปีต โมนดรียาน · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แมรี เคแซต

แมรี สตีเวนสัน เคแซต (Mary Stevenson Cassatt; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการทำภาพพิมพ์ มักจะวาดภาพชีวิตทั้งทางการสังคมและการส่วนตัวของผู้หญิงโดยเน้นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างแม่และลูก แมรี เคแซตใช้เวลาส่วนใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส และเมื่อย้ายไปอยู่ปารีสแมรีก็ทำความรู้จักกับแอดการ์ เดอกา ผู้มีอิทธิพลต่องานเขียนของเคแซต ต่อมาแมรีก็ได้แสดงผลงานร่วมกับจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์คนอื่น.

ใหม่!!: คติโฟวิสต์และแมรี เคแซต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fauvismลัทธิโฟวิสม์ลัทธิโฟวิสต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »