โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขอบฟ้า

ดัชนี ขอบฟ้า

อบฟ้า ยานอวกาศเอนดีวูร์ ค.ศ. 2002 ขอบฟ้า (horizon มาจากภาษากรีก orizein แปลว่า จำกัด) หมายถึงเส้นที่แบ่งระหว่างพื้นดิน (พื้นโลกหรือดาวอื่น) กับท้องฟ้า หรือเป็นเส้นที่เป็นจุดตัดระหว่างส่วนที่มองเห็นบนพื้นดินกับอีกด้านหนึ่งซึ่งมองไม่เห็น ในหลายจุดบนโลก ขอบฟ้าที่แท้จริง อาจถูกบดบังโดยต้นไม้ อาคาร ภูเขา ฯลฯ กลายเป็นเพียง ขอบฟ้าที่มองเห็น.

15 ความสัมพันธ์: บ่ายการรับรู้ความใกล้ไกลการเดินเรือดาราศาสตร์มุมทิศย่ำรุ่งระบบพิกัดทรงกลมฟ้าวันสนธยาหมีขาวอันเดรอา มันเตญญาคลื่นฟ้าน็อทร์ดามดูว์โอแสงอาทิตย์เดอะคาร์เพนเทอส์เครื่องวัดแดด

บ่าย

Türkenschanzpark ในเวียนนาระหว่างเวลาบ่ายอ่อน ๆ ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ในนครนิวยอร์กระหว่างเวลาบ่ายแก่ ๆ บ่าย เป็นเวลาของวัน อยู่ระหว่างเที่ยงวันและเวลาเย็น บ่ายเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวลงจากจุดจอมฟ้าบนท้องฟ้ามาจนถึงจุดใด ๆ ก่อนถึงปลายทางที่ขอบฟ้าในทิศตะวันตก ในชีวิตของมนุษย์ เวลาบ่ายคือช่วงเวลาครึ่งหลังของการทำงานและเวลาเรียน เวลาบ่ายยังมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความปลอดภัย และผลิตภาพทางเศรษฐกิจด้วย โดยทั่วไป ในช่วงบ่ายอ่อน ๆ หลังจากคนส่วนใหญ่กินอาหารกลางวันกัน พวกเขาจะมีสมรรถนะในการทำงานลดลง ความตื่นตัวลดลง และความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและบ่าย · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้ความใกล้ไกล

ลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งทัศนมิติแบบต่าง ๆ ขนาดโดยเปรียบเทียบ วัตถุที่บังกัน และอื่น ๆ ล้วนมีส่วนทำให้เห็นภาพถ่ายสองมิตินี้เป็น 3 มิติได้ การรับรู้ความใกล้ไกล เป็นสมรรถภาพทางการเห็นในการมองโลกเป็น 3 มิติ และการเห็นว่าวัตถุหนึ่งอยู่ใกล้ไกลแค่ไหน แม้เราจะรู้ว่าสัตว์ก็สามารถรู้สึกถึงความใกล้ไกลของวัตถุ (เพราะสามารถเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำหรืออย่างสมควรตามความใกล้ไกล) แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่รู้ว่า สัตว์รับรู้ความใกล้ไกลทางอัตวิสัยเหมือนกันมนุษย์หรือไม่ ความใกล้ไกลจะรู้ได้จากตัวช่วย (cue) คือสิ่งที่มองเห็นต่าง ๆ ซึ่งปกติจะจัดเป็น.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและการรับรู้ความใกล้ไกล · ดูเพิ่มเติม »

การเดินเรือดาราศาสตร์

การใช้เครื่องวัดมุมของนักเดินเรือ เพื่อวัดความสูงของดวงอาทิตย์เทียบกับขอบฟ้า การเดินเรือดาราศาสตร์ (Celestial navigation; บ้างเรียกว่า Astronavigation) เป็นเทคนิคการกำหนดตำแหน่งและทิศทางสำหรับกะลาสี ซึ่งใช้ในการเดินทางข้ามมหาสมุทรซึ่งไม่มีจุดสังเกตอื่น การเดินเรือดาราศาสตร์อาศัยการตรวจวัดมุม (มุมมองจากสายตา) ระหว่างเส้นขอบฟ้ากับวัตถุทางดาราศาสตร์ที่เป็นสากล วัตถุอ้างอิงที่นิยมมากที่สุดคือ ดวงอาทิตย์ นักเดินเรือที่มีความชำนาญอาจใช้ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ หรือดาวนำทาง 57 ดวงสำหรับเป็นจุดสังเกตเพื่อกำหนดทิศทางและตำแหน่งได้.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและการเดินเรือดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มุมทิศ

มุมทิศ (สีน้ำเงิน) ที่ได้จากผู้สังเกต และดาวเหนือศีรษะ มุมทิศ ภาคทิศ หรือ แอซิมัท (azimuth) เป็นการวัดมุมในพิกัดทรงกลม เวกเตอร์จากผู้สังเกต (จุดกำเนิด) ไปยังจุดที่สนใจจะถูกฉายโดยตรง (ตั้งฉาก) ลงบนระนาบอ้างอิง มุมระหว่างเวกเตอร์จากการฉายและเวกเตอร์อ้างอิงบนระนาบอ้างอิงเรียกว่ามุมทิศ ตัวอย่างของมุมทิศคือการวัดตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้า ดาวเป็นจุดที่สนใจ ระนาบอ้างอิงคือขอบฟ้าหรือผิวน้ำ และอ้างอิงเวกเตอร์จากจุดทางทิศเหนือ มุมทิศคือมุมระหว่างจุดทิศเหนือและการฉายตั้งตรงของดาวลงสู่ขอบฟ้า โดยทั่วไปมุมทิศมีหน่วยเป็นองศา (°) แนวคิดของมุมทิศนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งในการเดินเรือ, การวัดตำแหน่งดาว, การทำแผนที่, การทำเหมือง และ การใช้ปืนใหญ่ คำว่า azimuth กลายมาจาก คำในภาษาอาหรับ: السمت as-simt แปลว่า ทิศทาง ซึ่งหมายถึงเส้นทางหรือทิศทางของบุคคลที่หันหน้าออกไป.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและมุมทิศ · ดูเพิ่มเติม »

ย่ำรุ่ง

ำรุ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสนธยายามเช้า ท้องฟ้าย่ำรุ่งในซันดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ย่ำรุ่ง หรือ เช้ามืด คือ เวลาซึ่งเริ่มต้นสนธยาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น สังเกตได้จากการมีแสงอาทิตย์อ่อน ๆ ขณะที่ดวงอาทิตย์ยังอยู่ใต้เส้นขอบฟ้า ระวังสับสนกับดวงอาทิตย์ขึ้น (sunrise) ซึ่งเป็นขณะที่ขอบด้านบนของดวงอาทิตย์โผล่พ้นเส้นขอบฟ้.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและย่ำรุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า

ในทางดาราศาสตร์ ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า (Celestial coordinate system) คือระบบสำหรับใช้ในตำแหน่งที่ระบุของวัตถุบนท้องฟ้า เช่น ดาวเทียม,ดาวเคราะห์,ดาวฤกษ์,ดาราจักร และอื่น ๆ ระบบพิกัดสามารถระบุได้อยู่ในตำแหน่งปริภูมิสามมิติ หรือเป็นเพียงแค่ทิศทางของวัตถุบนทรงกลมฟ้า ถ้าระยะห่างไม่เป็นที่รู้จักหรือไม่ได้สำคัญ ระบบพิกัดถูกนำมาใช้ทั้งในระบบพิกัดทรงกลม หรือระบบพิกัดคาร์ทีเซียน ระบบพิกัดทรงกลมที่คาดการณ์เกี่ยวกับทรงกลมฟ้า มีความคล้ายคลึงกับพิกัดภูมิศาสตร์ นำมาใช้บนพื้นผิวของโลก สิ่งเหล่านี้แตกต่างในการเลือกใช้ของเครื่องบินขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกจากทรงกลมฟ้าเป็นสองเท่ากับ ทรงกลมไปตามวงกลมใหญ่ ระบบพิกัดมุมฉาก อยู่ในหน่วยที่เหมาะสมเป็นแค่เทียบเท่ากับระบบคาร์ทีเซียนของพิกัดทรงกลม แบบเดียวกับพื้นฐานเครื่องบิน (x,y) และทิศทางหลัก (x-axis) แต่ละระบบพิกัดเป็นชื่อสำหรับการเลือกของเครื่องบินพื้นฐาน.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและระบบพิกัดทรงกลมฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและวัน · ดูเพิ่มเติม »

สนธยา

มสนธยา สนธยา หรือ โพล้เพล้(Twilight) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือหลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ที่ยังกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศชั้นบน ได้ส่องมายังชั้นบรรยากาศชั้นล่างและพื้นผิวโลก ทำให้ขณะนั้นเห็นท้องฟ้าบริเวณใกล้กับขอบฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม หรือแดง ซึ่งแสงลักษณะนี้ในภาษาไทยเรียกว่า ผีตากผ้าอ้อม.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและสนธยา · ดูเพิ่มเติม »

หมีขาว

หมีขาว หรือ หมีขั้วโลก (polar bear) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) จัดเป็นหมีชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและหมีขาว · ดูเพิ่มเติม »

อันเดรอา มันเตญญา

“The Agony in the Garden” (ค.ศ. 1455) พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ, ลอนดอน, อังกฤษ เป็นลักษณะงานสมัยต้นของมานเทนยา อันเดรีย มานเทนยา (ภาษาอังกฤษ: Andrea Mantegna) (ราว ค.ศ. 1431 - 13 กันยายน ค.ศ. 1506) เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน มานเทนยาเป็นนักศึกษาโบราณคดีโรมัน เป็นลูกเขยของ จาคโคโป เบลลินี และพี่เขยของจิโอวานนี เบลลินี มานเทนยาก็เช่นกันกับศิลปินรุ่นเดียวกันที่ทดลองวิธีต่างๆในการเขียนแบบทัศนียภาพ เช่นลดระดับขอบฟ้าให้ต่ำลงเพื่อทำให้สิ่งที่อยู่ในภาพดูใหญ่ขึ้น ภาพของมานเทนยาจะมีลักษณะแข็ง และ เหมือนรูปทำจากหินทำให้เห็นว่ามานเทนยาเขียนภาพจากมุมมองของรูปสลัก ก่อนปี..

ใหม่!!: ขอบฟ้าและอันเดรอา มันเตญญา · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นฟ้า

รรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (สีม่วง) คลื่นฟ้า (Skywave) คือ เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุข้ามแนวขอบฟ้าของโลก โดยอาศัยคุณสมบัติการสะท้อนคลื่นวิทยุบางย่านความถี่ของบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ โดยปกติ การสื่อสารวิทยุระหว่างสถานีที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ จะมีอุปสรรคจากความโค้งของผิวโลก ทำให้สถานีส่งไม่สามารถส่งคลื่นไปยังสถานีรับได้ในแนวตรง, แต่ด้วยคุณสมบัติของบรรยากาศโลกชั้นไอโอโนสเฟียร์ ที่อากาศแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า ซึ่งสะท้อนคลื่นวิทยุบางย่านความถี่ ทำให้สามารถทำการส่งคลื่นวิทยุไปยังสถานีรับที่ไกลเลยเส้นขอบฟ้า ข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้ โดยอาศัยการสะท้อนจากบรรยากาศชั้นนี้แทน เรียนรู้ไฟฟ้าสื่อสาร.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและคลื่นฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

น็อทร์ดามดูว์โอ

น็อทร์ดามดูว์โอ (Notre Dame du Haut) หรือ ชาแปลน็อทร์-ดาม-ดูว์-โอเดอรงช็อง Chapelle Notre-Dame-du-Haut de Ronchamp) หรือ ที่รู้จักกันในนาม รงช็อง (Ronchamp) เป็นชาเปลในประเทศฝรั่งเศส ก่อสร้างเสร็จภายในปี ค.ศ. 1954 ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในผลงานที่ดีที่สุดของเลอกอร์บูซีเย (Le Corbusier) สถาปนิกชาวสวิส และยังเป็นหนึ่งในผลงานสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่สำคัญชิ้นหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันมีผู้เข้าเยี่ยมชมแล้วกว่าปีละ 8 หมื่นคน.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและน็อทร์ดามดูว์โอ · ดูเพิ่มเติม »

แสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆ แสงอาทิตย์ เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงในช่วงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น และอัลตราไวโอเล็ต บนโลก แสงอาทิตย์ถูกกรองผ่านชั้นบรรยากาศโลก และเห็นชัดเป็นแสงกลางวันเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า แสงอาทิตย์มีสีขาว เกิดจากแสงทั้ง7สีมารวมกัน โดยแสงอาทิตย์จะมีความยาวคลื่นประมาณ 400-700nm แสงที่ความยาวคลื่นต่ำสุดคือสีม่วง สีน้ำเงิน จนมาถึงสีแดง ที่มีความยาวคลื่นประมาณ 700nm เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงไม่ถูกเมฆกั้น แสงอาทิตย์จะเป็นแสงจ้าและรังสีความร้อนประกอบกัน เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงถูกเมฆกั้นหรือสะท้อนออกไปโดยวัตถุอื่น จะเห็นไปแสงพร่ากระจาย (diffused light) แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงโลกราว 8.3 นาที โดยเฉลี่ย ต้องใช้พลังงานระหว่าง 10,000 ถึง 170,000 ปีจึงจะออกจากภายในดวงอาทิตย์ แล้วค่อยถูกเปล่งจากพื้นผิวเป็นแสงได้ แสงอาทิตย์โดยตรงมีประสิทธิภาพความส่องสว่างอยู่ที่ราว 93 ลูเมนต่อวัตต์ของฟลักซ์การแผ่รังสี แสงอาทิตย์สว่างให้ความสว่างประมาณ 100,000 ลักซ์หรือลูเมนต่อตารางเมตรที่พื้นผิวโลก องค์ประกอบของแสงอาทิตย์ที่ระดับพื้นต่อตารางเมตร เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดเหนือศีรษะ อยู่ที่ราว 527 วัตต์ของรังสีอินฟราเรด 445 วัตต์ของแสงที่ตามองเห็น และ 32 วัตต์ของรังสีอัลตราไวโอเล็ต บนชั้นบรรยากาศ แสงอาทิตย์เข้มกว่าประมาณ 30% โดยมีสัดส่วนอัลตราไวโอเล็ตสูงกว่าสามเท่า รังสีอัลตราไวโอเล็ตที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอัลตราไวโอเล็ตคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชัน (Nuclear fusion)  บนดวงอาทิตย์  เกิดจากการหลอมรวมตัวกันของอะตอม ของธาตุไฮโดรเจน กลายเป็นอะตอมของธาตุฮีเลียม ในการเกิดปฏิกิริยานี้ จะให้พลังงานมหาศาล และพลังงานรูปหนึ่งที่เกิดขึ้นนี้ แผ่รังสีในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มายังโลกของเรา ที่เราพอสังเกตเห็นได้ในรูปของความร้อน และแสง ที่เราเรียกว่า แสงแดด หรือแสงอาทิตย์  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์นี้มีความยาวคลื่นต่างๆ ตั้งแต่ความยาวคลื่นมากกว่า 1,000  ไมครอน  (Micron)  ต่อเนื่องกันจนถึงสั้นกว่า  0.2  ไมครอน  (200 นาโนเมตร)  ในบรรดาคลื่นแสงที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ทั้งหมด แสงสีเหลืองที่มีความยาวคลื่น  0.55  ไมครอน  (550 นาโนเมตร)  เป็นคลื่นแสงที่มี ปริมาตรความเข้มสูงสุด ดังแสดงด้วยเส้นกราฟสเปคตรัม  (Spectrum)  ของคลื่นแสง และแสงแดดเป็นคลื่นแสง ที่เหมาะสมที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างชีวมวล (Biomass) และมี่ส่วนทำให้พืชและสัตว์ดำรงชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะคาร์เพนเทอส์

อะคาร์เพนเทอส์ (The Carpenters) เป็นวงดนตรีสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพี่น้องกัน คือ แคเรน คาร์เพนเทอร์ และ ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ หนึ่งในสุดยอดวงดนตรียุค 70 แม้ว่าในช่วงยุคทศวรรษที่ 70 จะนิยมเพลงร็อกหนัก ๆ แต่ ริชาร์ดและแคเรน ก็ทำเพลงในสไตล์ที่แตกต่าง ด้วยคุณภาพของน้ำเสียงที่เป็นหนึ่งในยุค 70s ของแคเรนและการเรียบเรียงเสียงประสานอันสุดยอดของริชาร์ด ทำให้พวกเขาได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้และสามารถทำยอดขายมากที่สุดตลอดกาล.

ใหม่!!: ขอบฟ้าและเดอะคาร์เพนเทอส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องวัดแดด

250px เครื่องวัดแดด หรือ เซกซ์แทนต์ คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวัดมุมสัมพันธ์ระหว่างวัตถุสองสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาในการเดินเรือดาราศาสตร์ วัตถุประสงค์หลักคือการใช้วัดมุมระหว่างวัตถุบนท้องฟ้า (ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือ ดวงดาวต่าง ๆ) กับเส้นขอบฟ้า แล้วนำค่าความสูงที่ได้มาคำนวณหาละติจูด เพื่อบอกตำแหน่งของเรือในเวลาที่ทำการสังเกต มีการใช้ครั้งแรกในช่วงปี..

ใหม่!!: ขอบฟ้าและเครื่องวัดแดด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Horizonเส้นขอบฟ้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »