โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ของเหลว

ดัชนี ของเหลว

รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ของเหลว (Liquid) เป็นสถานะของของไหล ซึ่งปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน pที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ที่ซึ่ง \rho เป็น ความหนาแน่น ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ z คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง ความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ แรงตึงผิว (surface tension) และ แรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แรงลอยตัว (buoyancy) ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง จุดเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึง จุดเยือกแข็งมันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง โดย การกลั่นแยกส่วน (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย การระเหย (vaporization) ที่ จุดเดือด ของของเหลวแต่ละชนิด การเก เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว (Surface tension).

125 ความสัมพันธ์: ชลศาสตร์ฟิสิกส์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีพลศาสตร์ของไหลพลาสมาพลาสมา (สถานะของสสาร)กรวย (อุปกรณ์)กระสายยากระดาษลิตมัสกระแสวนกรดกรดน้ำส้มกรดไฮโดรคลอริกกรดไนตริกกลศาสตร์ดั้งเดิมกล้องโทรทรรศน์กระจกเหลวกังหันกากน้ำตาลการพาความร้อนการกลายเป็นไอการก่อเทือกเขาการระเหยการระเหิดการละลายการหลอมเหลวการถ่ายเทความร้อนการดูดซับการดูดซึมการฉีดเข้าหลอดเลือดดำการเร่งปฏิกิริยาการเดือดการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)กาวภาวะการเปียกยาน้ำเชื่อมรัศมีวานเดอร์วาลส์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยริทอร์ตลิงจมูกยาวลิเทียมวิทยาแผ่นดินไหววงศ์นกพิราบและนกเขาวงศ์เต่าคองูสภาพผสมเข้ากันได้สวนศาสตร์สารเนื้อผสมสถานะ (สสาร)สเปรย์ละอองลอยหมึก (สัตว์)หลอดดูด...หอกลั่นออกซิเจนเหลวอะตอมอัญรูปอุทกภาคอุณหพลศาสตร์อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตรายอูนอูนเอนเนียมอูนเฮกซ์เพนเทียมอูนเซปท์เบียมผลึกผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดงจุดหลอมเหลวทรายเดือดทฤษฎีแคลอริกของแข็งของไหลคลื่นกระแทกควันความร้อนความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอความร้อนแฝงของการหลอมเหลวความหนาแน่นความดันความดันออสโมซิสความดันไอคอลลอยด์ตัวรับความรู้สึกปรอทปริมาตรจำเพาะปิโตรเลียมนมน้ำ (โมเลกุล)น้ำมันน้ำยาลบคำผิดน้ำผลไม้น้ำแข็งแบลซ ปัสกาลแก๊สแก๊งม่วนป่วนไทยแลนด์แก่นโลกแรงยกตัวแรงตึงผิวโบรมีนโฟนอนโลหะเจือโทลูอีนโคเปอร์นิเซียมโซล (คอลลอยด์)โซโนลูมิเนสเซนส์ไฟแช็กไอออนไฮดรอลิกเฮดไฮโดรเจนเหลวไทบีเรียมไขมันไนโตรกลีเซอรีนเชื้อเพลิงเบนจามิน ทอมป์สันเพลี้ยแป้งเมทริกซ์เมเว็นเสียงเส้นเวลาของอนาคตไกลเหงื่อเขตอาศัยได้เคมีเชิงฟิสิกส์เครื่องสูบน้ำเครื่องหมุนเหวี่ยงเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเนยขาวเนินพุโคลนICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตาย4 ขยายดัชนี (75 มากกว่า) »

ชลศาสตร์

อุปกรณ์ไฮดรอลิกในรูปแบบต่าง ๆ ชลศาสตร์ (hydraulics) เป็นวิชาที่ศึกษาการเปลี่ยนพลังงานการไหลเป็นพลังงานกล โดยผ่านกลไกสำคัญต่าง ๆ อันประกอบไปด้วยลูกสูบไฮดรอลิก กระบอกสูบไฮดรอลิก และมอเตอร์ไฮดรอลิก และใช้หลักการตามทฤษฎีของแบลซ ปัสกาล นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชลศาสตร์เป็นหัวข้อที่มีอยู่ในวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเชิงกลของของเหลว ชลศาสตร์โดยพื้นฐานแล้วคือรูปของเหลวของนิวแมติกส์ กลศาสตร์ของไหลนั้นเป็นรากฐานทางทฤษฎีสำหรับวิชาชลศาสตร์ซึ่งมุ่งเน้นไปทางด้านวิศวกรรมการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของของเหลว ส่วนคำ hydraulics ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์จากคำในภาษากรีกว่า hydraulikos ซึ่งมาจากคำ hydor (แปลว่า น้ำ) ประสมกับคำ aulos (แปลว่า ท่อ).

ใหม่!!: ของเหลวและชลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: ของเหลวและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ของเหลวและพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี · ดูเพิ่มเติม »

พลศาสตร์ของไหล

ลศาสตร์ของไหล(Fluid dynamics) เป็นสาขาวิชาการย่อยของกลศาสตร์ของไหล ที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของของไหล ซึ่งหมายรวมถึงของเหลวและแก๊ส โดยพลศาสตร์ของไหลยังแบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายสาขาวิชา เช่น อากาศพลศาสตร์ ที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศ และพลศาสตร์ของเหลวที่ศึกษาการเคลื่อนที่ของของเหลว เราใช้พลศาสตร์ของไหลในหลายวิธี เช่นในการคำนวณแรงและโมเมนต์บนอากาศยาน ในการหาอัตราการไหลของมวลของปิโตรเลียมผ่านท่อ คาดคะเนแบบรูปของสภาพอากาศ ทำความเข้าใจเนบิวลาและสสารระหว่างดาว ตลอดจนงานคอมพิวเตอร์กราฟิก.

ใหม่!!: ของเหลวและพลศาสตร์ของไหล · ดูเพิ่มเติม »

พลาสมา

ลาสมา คือ อะตอมของแก๊สมีตระกูล หรือ Noble Gases เช่น ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปตอน ซีนอน และเรดอน.

ใหม่!!: ของเหลวและพลาสมา · ดูเพิ่มเติม »

พลาสมา (สถานะของสสาร)

หลอดไฟพลาสมา แสดงปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนบางประการ รวมทั้งปรากฏการณ์ "ฟิลาเมนเตชั่น" (filamentation) พลาสมา ในทางฟิสิกส์และเคมี คือ แก๊สที่มีสภาพเป็นไอออน และมักจะถือเป็นสถานะหนึ่งของสสาร การมีสภาพเป็นไอออนดังกล่าวนี้ หมายความว่า จะมีอิเล็กตรอนอย่างน้อย 1 ตัว ถูกดึงออกจากโมเลกุล ประจุไฟฟ้าอิสระทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าเกิดขึ้น สถานะที่ 4 ของสสารนี้ มีการเอ่ยถึงครั้งแรก โดยเซอร์ วิลเลียม ครูกส์ (Sir William Crookes) เมื่อ ค.ศ. 1879 และในปี ค.ศ. 1928 นั้น เออร์วิง แลงเมียร์ (Irving Langmuir) คิดคำว่าพลาสมา (plasma) ขึ้นมาแทนสถานะของสสารนี้เนื่องจากเขานึกถึงพลาสมาของเลือด พลาสมาจัดได้ว่าเป็นสถานะที่ 4 ของสสาร เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสถานะอื่นอย่างชัดเจน พลาสมาประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุทั้งประจุบวกและลบ ในสัดส่วนที่ทำให้ประจุสุทธิเป็นศูนย์ การอยู่รวมกันของอนุภาคเหล่านี้เป็นแบบประหนึ่งเป็นกลาง (quasineutral) ซึ่งหมายความว่าอิเล็กตรอนและไอออนในบริเวณนั้น โดยรวมแล้วมีจำนวนเท่า ๆ กัน และแสดงพฤติกรรมร่วม (collective behavior) พฤติกรรมร่วมนี้หมายถึง การเคลื่อนที่ของอนุภาคในพลาสมา ไม่เพียงแต่จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในบริเวณนั้นๆ เท่านั้น แต่เป็นผลโดยรวมจากพลาสมาส่วนใหญ่ มากกว่าจะเป็นผลมาจากการชนกันของอนุภาคที่อยู่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากอนุภาคในพลาสมาที่สถานะสมดุล จะมีการสั่นด้วยความถี่ที่สูงกว่าความถี่ในการชนกันของอนุภาค 2 ตัวที่อยู่ใกล้กัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมร่วมนี้เป็นพฤติกรรมที่กลุ่มพลาสมาแสดงออกมาร่วมกัน พลาสมาสามารถเกิดได้โดย การให้สนามไฟฟ้าปริมาณมากแก่ก๊าซที่เป็นกลาง เมื่อพลังงานส่งผ่านไปยังอิเล็กตรอนอิสระมากพอ จะทำให้อิเล็กตรอนอิสระชนกับอะตอม และทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากซึ่งจะทำให้ก๊าซแตกตัวและกลายเป็นพลาสมาในที่สุด พลาสมามีความแตกต่างจากสถานะของแข็ง สถานะของเหลว และสถานะก๊าซ โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ ในเรื่องดังต่อไปนี้คือ ความยาวคลื่นเดอบาย จำนวนอนุภาค และความถี่พลาสมา ซึ่งทำให้พลาสมามีความจำเพาะเจาะจงที่แตกต่างจากสถานะอื่นออกไป หมวดหมู่:ฟิสิกส์พลาสมา หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: ของเหลวและพลาสมา (สถานะของสสาร) · ดูเพิ่มเติม »

กรวย (อุปกรณ์)

กรวยพลาสติก ใช้ในครัวเรือน กรวยกระดาษ กรวย เป็นอุปกรณ์มีลักษณะเป็นท่อ ปลายเปิดด้านหนึ่งกว้างเป็นรูปทรงกรวย ปลายอีกด้านหนึ่งแคบ ใช้สำหรับกรอกของเหลวหรือวัสดุที่เป็นเม็ดเล็กๆ ลงในภาชนะที่มีปากแคบ ซึ่งถ้าหากไม่ใช้อุปกรณ์นี้อาจทำให้หกเสียหายได้ วัสดุที่นิยมใช้ทำกรวย เช่น โลหะ แก้ว พลาสติก กระดาษ มีเกณฑ์การเลือกใช้วัสดุที่ใช้ทำกรวย ว่าต้องแข็งแรงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของวัสดุที่ใช้กรอกได้ หมวดหมู่:เครื่องครัว pl:Lejek (sprzęt laboratoryjny).

ใหม่!!: ของเหลวและกรวย (อุปกรณ์) · ดูเพิ่มเติม »

กระสายยา

กระสายยา คือ น้ำหรือของเหลวที่ใช้สำหรับละลายยา หรือรับประทานพร้อมกับยา โดยกระสายยานั้นมีทั้งแบบแข็ง ตัวอย่างเช่นแป้งและน้ำตาลทราย แต่โดยส่วนมากมักเป็นของเหลวจึงเรียกว่าน้ำกระสายยา ได้จากการเตรียมแบบต้ม แช่, บีบ, ฝน, คั้น, ละลาย เป็นต้น นอกจากนี้ พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานยังให้บทนิยามของคำว่า กระสาย หรือ กระสายยา ว่า เครื่องแทรกยา เช่น น้ำ, เหล้า, น้ำผึ้ง, น้ำดอกไม้ ซึ่งในทางเภสัชกรรมแผนไทยใช้แทรกยาเพื่อช่วยให้กินยาง่ายขึ้น และ หรือเสริมฤทธิ์ของยาให้มีสรรพคุณดีขึ้น.

ใหม่!!: ของเหลวและกระสายยา · ดูเพิ่มเติม »

กระดาษลิตมัส

ผงลิตมัส ใช้ทำกระดาษลิตมัส กระดาษลิตมัส (litmus) เป็นกระดาษที่ใช้ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของของเหลว กระดาษลิตมัสมีสองสีคือสีแดงหรือสีชมพู และสีน้ำเงินหรือสีฟ้า วิธีใช้คือการสัมผัสของเหลวลงบนกระดาษ ถ้าหากของเหลวมีสภาพเป็นกรด (pH 8.3) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน ถ้าหากเป็นกลาง (4.5 ≤ pH ≤ 8.3) กระดาษทั้งสองจะไม่เปลี่ยนสี เราสามารถผลิตกระดาษลิตมัสได้เองโดยนำกระดาษสีขาวลงไปแช่น้ำคั้นดอกอัญชันจะได้กระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน หากนำไปแช่ในน้ำคั้นดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูจะได้กระดาษลิตมัสสีแดง เมื่อตากแห้งก็สามารถนำทดสอบความเป็นกรด-เบส หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:กระดาษ.

ใหม่!!: ของเหลวและกระดาษลิตมัส · ดูเพิ่มเติม »

กระแสวน

animation) กระแสวนของรูระบายน้ำของอ่างล้างมือ (plughole vortex) ในพลศาสตร์ของไหล กระแสวน (vortex) เป็นพื้นที่ภายในของไหลที่ไหลโดยการเคลื่อนที่ด้วยการหมุนรอบแกนสมมุติในแนวเส้นตรงหรือเส้นโค้ง รูปแบบของการเคลื่อนที่นั้นเรียกว่าการไหลวน (vortical flow) (พหูพจน์เดิมและที่พบมากที่สุดของคำว่า "กระแสวน" ในภาษาอังกฤษคือ vortices แม้ว่าคำว่า vortexes มักจะถูกใช้บ่อยก็ตาม) กระแสวนอยู่ในรูปแบบของของไหลที่ถูกกวนเข้าด้วยกันรวมทั้งของเหลว ก๊าซ และพลาสมา บางตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นวงแหวนควัน (smoke ring), แอ่งน้ำวน (whirlpool) มักจะเห็นได้บ่อย ๆ จากร่องรอยทางผ่าน (wake) ของเรือและใบพาย, และลมบริเวณพื้นที่โดยรอบพายุทอร์นาโด, เฮอริเคน และพายุฝุ่น (dust devil) กระแสลมวนในรูปแบบของร่องรอยทางผ่านของเครื่องบินและการมีคุณลักษณะที่โดดเด่นของชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี เป็นต้น กระแสวนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการไหลแบบปั่นป่วน (turbulent flow) ในกรณีที่ไม่มีแรงภายนอก ความฝืดหนืด (viscous friction) ภายในของไหลมีแนวโน้มที่จะจัดระเบียบการไหลเข้าในกลุ่มที่เรียกว่า กระแสวนที่ไหลโดยไม่หมุน (vortices irrotational) การไหลโดยไม่หมุน (Irrotational flow) คือ ในบริเวณโดยรอบจุดหนึ่งๆ ในของไหล จะไม่มีอนุภาคของของไหลเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเชิงมุมรอบจุดนั้น ๆ เลย ภายในกระแสวนนั้น ความเร็วของเหลวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดถัดไปจากแกนจินตภาพหรือแกนสมมุติ และจะลดลงเป็นสัดส่วนผกผันกับระยะทางจากแกน การหมุนวน (vorticity) (ขดความเร็วของของเหลว) มีค่าสูงมากในอาณาบริเวณหลักโดยรอบแกน และเกือบจะเป็นศูนย์ในส่วนที่เหลือของกระแสวน ในขณะที่ความดันลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าไปใกล้เป็นระยะทางหนึ่งในบริเวณนั้น กระแสวนที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง สามารถเคลื่อนย้าย ยืดตัว บิดเป็นเกลียว และมีปฏิสัมพันธ์กันในรูปแบบที่ซับซ้อน การเคลื่อนที่ของกระแสวนจะนำพาซึ่งโมเมนตัมเชิงมุมและเชิงเส้น พลังงาน และมวลมาด้วย ในกระแสวนนิ่ง เส้นกระแส (streamlines) และเส้นทางผ่าน (pathlines) จะถูกป.

ใหม่!!: ของเหลวและกระแสวน · ดูเพิ่มเติม »

กรด

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว.

ใหม่!!: ของเหลวและกรด · ดูเพิ่มเติม »

กรดน้ำส้ม

หมวดหมู่:ตัวทำละลาย หมวดหมู่:สารเคมีในบ้าน หมวดหมู่:กรด หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:รสชาติ.

ใหม่!!: ของเหลวและกรดน้ำส้ม · ดูเพิ่มเติม »

กรดไฮโดรคลอริก

รเจนคลอไรด์โอเวน กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 1800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl.

ใหม่!!: ของเหลวและกรดไฮโดรคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไนตริก

กรดไนตริก หรือ กรดดินประสิว (Nitric acid) เป็นกรดที่มีอันตราย หากสัมผัสจะทำให้เกิดแผลไหม้ขั้นรุนแรง กรดไนตริกนี้ ค้นพบโดยการสังเคราะห์ โดย "Muslim alchemist Jabir ibn Hayyan" ประมาณ ค.ศ. 800 กรดไนตริกบริสุทธ์ 100% (ปราศจากน้ำ) จะเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่น 1,552 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ -42 °C ลูกบาศก์ โดยจะเป็นผลึกสีขาว และจะเดือดที่อุณหภูมิ 83 °C แต่ก็สามารถเดือดในที่ ที่มีแสงสว่าง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง สารประกอบเคมีในกรดไนตริก (HNO3), หรือ อควา ฟอร์ติส (aqua fortis) หรือ สปิริต ออฟ ไนเตอร์ (spirit of nitre) เป็นของเหลวที่กัดกร่อนและไม่มีสี เป็นกรดที่มีพิษที่สามารถทำให้เกิดแผลไฟไหม้อย่างรุนแรง สารละลายที่มีกรดไนตริกมากกว่า 86% เรียกว่า fuming nitric acidและสามารถกัดกร่อนโลหะมีตะกูลได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ขาว (white fuming nitric acid) และแดง (red fuming nitric acid).

ใหม่!!: ของเหลวและกรดไนตริก · ดูเพิ่มเติม »

กลศาสตร์ดั้งเดิม

กลศาสตร์ดั้งเดิม เป็นหนึ่งในสองวิชาที่สำคัญที่สุดของกลศาสตร์ (โดยอีกวิชาหนึ่ง คือ กลศาสตร์ควอนตัม) ซึ่งอธิบายถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ ภายใต้อิทธิพลจากระบบของแรง โดยวิชานี้ถือเป็นวิชาที่ครอบคลุมในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยีมากที่สุดวิชาหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นวิชาที่เก่าแก่ ซึ่งมีการศึกษาในการเคลื่อนที่ของวัตถุตั้งแต่สมัยโบราณ โดยกลศาสตร์ดั้งเดิมรู้จักในวงกว้างว่า กลศาสตร์นิวตัน ในทางฟิสิกส์ กลศาสตร์ดั้งเดิมอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่โดยแปลงการเคลื่อนที่ต่าง ๆ ให้กลายเป็นส่วนของเครื่องจักรกล เหมือนกันกับวัตถุทางดาราศาสตร์ อาทิ ยานอวกาศ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และ ดาราจักร รวมถึงครอบคลุมไปยังทุกสถานะของสสาร ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำสูง แต่เมื่อวัตถุมีขนาดเล็กหรือมีความเร็วที่สูงใกล้เคียงกับความเร็วแสง กลศาสตร์ดั้งเดิมจะมีความถูกต้องที่ต่ำลง ต้องใช้กลศาสตร์ควอนตัมในการศึกษาแทนกลศาสตร์ดั้งเดิมเพื่อให้มีความถูกต้องในการคำนวณสูงขึ้น โดยกลศาสตร์ควอนตัมจะเหมาะสมที่จะศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งได้ถูกปรับแต่งให้เข้ากับลักษณะของอะตอมในส่วนของความเป็นคลื่น-อนุภาคในอะตอมและโมเลกุล แต่เมื่อกลศาสตร์ทั้งสองไม่สามารถใช้ได้ จากกรณีที่วัตถุขนาดเล็กเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ทฤษฎีสนามควอนตัมจึงเป็นตัวเลือกที่นำมาใช้ในการคำนวณแทนกลศาสตร์ทั้งสอง คำว่า กลศาสตร์ดั้งเดิม ได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อกล่าวถึงระบบทางฟิสิกส์ของไอแซก นิวตันและนักปรัชญาธรรมชาติคนอื่นที่อยู่ร่วมสมัยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ประกอบกับทฤษฎีทางดาราศาสตร์ในช่วงแรกเริ่มของโยฮันเนส เคปเลอร์จากข้อมูลการสังเกตที่มีความแม่นยำสูงของไทโค บราเฮ และการศึกษาในการเคลื่อนที่ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกของกาลิเลโอ โดยมุมมองของฟิสิกส์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาอย่างยาวนานก่อนที่จะมีทฤษฎีสัมพัทธภาพและกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งแต่เดิม ในบางแห่งทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ไม่ถูกจัดอยู่ในกลศาสตร์ดั้งเดิม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป หลายแห่งเริ่มจัดให้สัมพัทธภาพเป็นกลศาสตร์ดั้งเดิมในรูปแบบที่ถูกต้อง และถูกพัฒนามากที่สุด แต่เดิมนั้น การพัฒนาในส่วนของกลศาสตร์ดั้งเดิมมักจะกล่าวถึงกลศาสตร์นิวตัน ซึ่งมีการใช้หลักการทางฟิสิกส์ประกอบกับวิธีการทางคณิตศาสตร์โดยนิวตัน ไลบ์นิซ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง และวิธีการปกติหลายอย่างได้ถูกพัฒนา นำมาสู่การกำหนดกลศาสตร์ครั้งใหม่ ไม่ว่าจะเป็น กลศาสตร์แบบลากรางจ์ และกลศาสตร์แฮมิลตัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 อีกทั้งได้ขยายความรู้เป็นอย่างมากพร้อมกับกลศาสตร์นิวตันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำกลศาสตร์เหล่านี้ไปใช้ในกลศาสตร์เชิงวิเคราะห์อีกด้วย ในกลศาสตร์ดั้งเดิม วัตถุที่อยู่ในโลกของความเป็นจริงจะถูกจำลองให้อยู่ในรูปของอนุภาคจุด (วัตถุที่ไม่มีการอ้างอิงถึงขนาด) โดยเคลื่อนที่ของอนุภาคจุดจะมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุ ได้แก่ ตำแหน่งของวัตถุ มวล และแรงที่กระทำต่อวัตถุ ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นตัวเลขที่อาจมีหน่วยกำหนดไว้ และกล่าวถึงมาเป็นลำดับ เมื่อมองจากความเป็นจริง วัตถุต่าง ๆ ที่กลศาสตร์ดั้งเดิมกำหนดไว้ว่าวัตถุมีขนาดไม่เป็นศูนย์เสมอ (ซึ่งถ้าวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ๆ อย่างเช่น อิเล็กตรอน กลศาสตร์ควอนตัมจะอธิบายได้อย่างแม่นยำกว่ากลศาสตร์ดั้งเดิม) วัตถุที่มีขนาดไม่เป็นศูนย์จะมีความซับซ้อนในการศึกษามากกว่าอนุภาคจุดตามทฤษฎี เพราะวัตถุมีความอิสระของมันเอง (Degrees of freedom) อาทิ ลูกตะกร้อสามารถหมุนได้ขณะเคลื่อนที่หลังจากที่ถูกเดาะขึ้นไปบนอากาศ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของอนุภาคจุดสามารถใช้ในการศึกษาจำพวกวัตถุทั่วไปได้โดยสมมุติว่าเป็นวัตถุนั้น หรือสร้างอนุภาคจุดสมมุติหลาย ๆ จุดขึ้นมา ดังเช่นจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุที่แสดงเป็นอนุภาคจุด กลศาสตร์ดั้งเดิมใช้สามัญสำนึกเป็นแนวว่าสสารและแรงเกิดขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร โดยตั้งสมมุติฐานว่าสสารและพลังงานมีความแน่นอน และมีคุณสมบัติที่รู้อยู่แล้ว ได้แก่ ตำแหน่งของวัตถุในปริภูมิ (Space) และความเร็วของวัตถุ อีกทั้งยังสามารถสมมุติว่ามีอิทธิพลโดยตรงกับสิ่งที่อยู่รอบวัตถุในขณะนั้นได้อีกด้วย (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Principle of locality).

ใหม่!!: ของเหลวและกลศาสตร์ดั้งเดิม · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์กระจกเหลว

กล้องโทรทรรศน์กระจกเหลว (Liquid mirror) เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ที่มีกระจกปฐมภูมิเป็นแอ่งของเหลวสะท้อนแสง หมุนตลอดเวลา โดยปกติจะใช้ปรอท ไอแซก นิวตันนับเป็นบุคคลแรกที่รู้ว่าของเหลวที่หมุนรอบตัว จะก่อให้เกิดรูปพาราโบลาร์แบบวงกลม และด้วยเหตุนี้ จึงสามารถนำมาใช้สร้างกล้องโทรทรรศน์ได้ แต่เขาไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้จริงๆ เพราะไม่ทราบวิธีการควบคุมความเร็วการหมุนให้คงที่ได้ (ในสมัยนั้นยังไม่มีมอเตอร์ไฟฟ้า) ข้อดีที่สำคัญของการใช้กระจกเหลวก็คือ ต้นทุนที่ประหยัด กล้องโทรทรรศน์แบบกระจกเหลวขนาด 6 เมตร ของมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ใช้ต้นทุนการผลิตเพียง 1/5 ของกล้องโทรทรรศน์แบบเดิมที่ใช้กระจกเงาซึ่งทำมาจากแก้ว เนื่องจากรูปร่างของของเหลวนั้นจะขึ้นอยู่กับความถ่วง กล้องโทรทรรศน์แบบนี้จึงต้องมีการวางในตำแหน่งที่ตั้งตรง ทำให้กล้องโทรทรรศน์ต้องชี้ขึ้นไปยังจุดเหนือศีรษะเสมอ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะวัตถุในท้องฟ้าย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามฤดูกาล และช่วงเวลาของวัน.

ใหม่!!: ของเหลวและกล้องโทรทรรศน์กระจกเหลว · ดูเพิ่มเติม »

กังหัน

กังหันไอน้ำที่เปิดฝาครอบออก กังหัน เป็นเครื่องจักรในลักษณะหมุนที่เปลี่ยนพลังงานของการไหลของของเหลวมาเป็นพลังงานในรูปแบบอื่นเพื่อใช้งาน พื้นฐานของกังหันจะประกอบไปด้วยแกนที่หมุนได้และใบกังหัน โดยของเหลวที่เคลื่อนไหวจะมาสัมผัสกับใบกังหัน ซึ่งจะไปขับเคลื่อนแกนหมุนเพื่อสร้างพลังงานอื่นต่อไป ตัวอย่างของกังหันในยุคแรกได้แก่ กังหันลม และ กังหันน้ำ กังหันแก๊ส กังหันไอน้ำ และกังหันน้ำ มักจะมีฝาปิดบริเวณรอบใบกังหัน.

ใหม่!!: ของเหลวและกังหัน · ดูเพิ่มเติม »

กากน้ำตาล

กากน้ำตาล (molasses "โมลาส") มีรากศัพท์มาจากคำว่า “melaço” ในภาษาโปรตุเกสmerriam-webster กากน้ำตาลเป็นของเหลวลักษณะเหนียวข้นสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยจากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ที่ใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส Thai Sugar Mill Group กากน้ำตาลมีระดับพลังงานระดับต่ำถึงปานกลางขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่มีอยู่ในกากน้ำตาล มีโพแทสเซียม และมีปริมาณน้ำในระดับสูง ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย กากน้ำตาลแบ่งได้หลายชน.

ใหม่!!: ของเหลวและกากน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

การพาความร้อน

แบบจำลองการพาความร้อนใต้เปลือกโลก การพาความร้อน (heat convection) เป็นการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นได้ ในสสารสองสถานะคือ ของเหลวและก๊าซ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยจะมีทิศทางลอยขึ้นเท่านั้น เนื่องจาก เมื่อสสารได้รับความร้อนจะมีการขยายตัว ทำให้ความหนาแน่นต่ำลง และสสารที่มีอุต่ำกว่า (ความหนาแน่นสูงกว่า) ก็จะลงมาแทนที่ ปรากฏการณนี้มีตัวอย่างคือ การเกิดลมบก ลมทะเล เป็นต้น การประยุกต์การใช้งาน ของเหลวที่ใช้งาน โดยการเพิ่มคุณสมบัติค่าความจุความร้อน เช่น การใส่สารโพรพีลีนไกคอล (Propylene Glycol) หรือ ใส่เศษทองแดงเล็ก ๆ ลงไปในน้ำหล่อเย็น โลหะเพิ่มค่าความจุความร้อนของหล่อเย็น และ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของของเหลว เพื่อถ่ายเทความร้อนให้มากที่สุด วัสดุนาโนเทคโนโลยีจำนวนมากมีค่าการพาความร้อนสูงมาก เช่น คาร์บอนนาโน และ วัสดุโลหะอื่น ๆ ที่เป็นนาโนเทคโนโลยี หมวดหมู่:กลศาสตร์ของไหล หมวดหมู่:ความร้อน หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์ หมวดหมู่:การถ่ายเทความร้อน.

ใหม่!!: ของเหลวและการพาความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การกลายเป็นไอ

นะของแข็งหรือของเหลวไปสู่สถานะก๊าซ ในรูปแบบที่ต่างกัน ก็จะมีวิธีเรียกที่ต่างกัน โดยสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ของเหลวและการกลายเป็นไอ · ดูเพิ่มเติม »

การก่อเทือกเขา

ูเขา การก่อเทือกเขา (Orogeny/Orogenesis) เป็นกระบวนการกำเนิดแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ที่เป็นผลจากแรงดัน ในขณะเกิดการเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างของแผ่นเปลือกโลก เช่น การเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเค้น ขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเปลือกโลกทั้งสอง ส่งผลให้เกิดมวลหินบริเวณนั้นถูกแปรสภาพและยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวยาว เรียกว่า แดนเทือกเขา (orogenic belt) คำว่า “Orogeny” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า oros แปลว่าภูเขา และ genesis ที่แปลว่าการเกิด หรือกำเน.

ใหม่!!: ของเหลวและการก่อเทือกเขา · ดูเพิ่มเติม »

การระเหย

น้ำในถ้วยชาระเหยกลายเป็นไอ และรวมตัวบนกระจก การระเหย (Evaporation) คือ กระบวนการที่ของเหลว น้ำเปลี่ยนสภาพโดยธรรมชาติเป็นแก๊ส โดยไม่จำเป็นต้องมีอุณหภูมิถึงจุดเดือด โดยเป็นกระบวนการตรงกันข้ามกับการควบแน่น โดยทั่วไปเราสามารถรับรู้ถึงการระเหยได้ โดยดูจากน้ำที่ค่อยๆ หายไปทีละน้อย เมื่อมันกลายตัวเป็นไอน้ำ.

ใหม่!!: ของเหลวและการระเหย · ดูเพิ่มเติม »

การระเหิด

น้ำแข็งแห้งกำลังระเหิด การระเหิด (sublimation หรือ primary drying) คือปรากฏการณ์ที่สสารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอหรือก๊าซ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลว โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว.

ใหม่!!: ของเหลวและการระเหิด · ดูเพิ่มเติม »

การละลาย

ละลาย (Solubility) คือสมบัติหนึ่งของของแข็ง, ของเหลว หรือแก๊ส ในทางเคมีเรียกว่าสารละลายซึ่งสามารถละลายได้ในทั้งของแข็ง, ของเหลว และแก๊ส เพื่อที่จะทำให้ได้สารสถานะเดียวกับตัวทำละลาย การละลายของสสารโดยขั้นต้นแล้วจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายเฉกเช่นเดียวกับอุณหภูมิและความดัน เมื่อการละลายถึงจุดอิ่มตัวแล้ว การเติมตัวละลายลงในตัวทำละลายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกจะไม่มีผลใดๆ ต่อการละลาย กล่าวคือจะไม่ทำให้สารละลายเข้มข้นขึ้นหรือเจือจางลง โดยส่วนมากแล้วตัวทำละลายจะมีสถานะเป็นของเหลวทั้งในแบบสารบริสุทธิ์และสารประกอบ บางครั้งเกิดสารละลายในรูปของสารละลายของแข็ง แต่เกิดน้อยครั้งมากในกรณีที่เกิดในรูปของสารละลายแก.

ใหม่!!: ของเหลวและการละลาย · ดูเพิ่มเติม »

การหลอมเหลว

การหลอมเหลวของเหล็ก การหลอมเหลว (melting) คือการที่สสารมีอุณหภูมิสูงจนถึงจุดหลอมเหลวพอดี โดยสสารนั้น จะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์ หมวดหมู่:การเปลี่ยนสถานะ.

ใหม่!!: ของเหลวและการหลอมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายเทความร้อน

http://www.roasterproject.com/2010/01/heat-transfer-the-basics/การถ่ายเทความร้อนจะมี3รูปแบบดังที่เห็นในรูปซึ่งทั้ง3แบบจะมีความสัมพันธ์กัน การถ่ายเทความร้อน (heat transfer) คือการถ่ายเทของพลังงานความร้อน.

ใหม่!!: ของเหลวและการถ่ายเทความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การดูดซับ

ในทางเคมี คือปรากฏการณ์หรือกระบวนการทางเคมีหรือฟิสิกส์ ที่อะตอม, โมเลกุลหรือไอออนเข้าไปอยู่บริเวณผิวของวัสดุที่เป็นแก๊ส, ของเหลวหรือของแข็ง.

ใหม่!!: ของเหลวและการดูดซับ · ดูเพิ่มเติม »

การดูดซึม

การดูดซึม (absorption) ในทางเคมี คือปรากฏการณ์หรือกระบวนการทางเคมีหรือฟิสิกส์ ที่อะตอม, โมเลกุลหรือไอออนเข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อในของวัสดุที่เป็นแก๊ส, ของเหลวหรือของแข็ง การดูดซึมนั้นเป็นกระบวนการที่แตกต่างจากการดูดซับ (adsorption) เพราะในการดูดซึม โมเลกุลที่ถูกดูดซึมจะไปอยู่ในปริมาตรของวัสดุ ส่วนการดูดซับ โมเลกุลที่ถูกดูดซับจะไปอยู่ที่ผิวของวั.

ใหม่!!: ของเหลวและการดูดซึม · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: ของเหลวและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

การเร่งปฏิกิริยา

การเร่งปฏิกิริยา (Catalysis) คือ การทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยการใส่วัตถุที่ทำให้ปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงความเร็วเรียกว่า ตัวเร่งhttp://goldbook.iupac.org/C00876.html ซึ่งการเร่งปฏิกิรยาจะไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา มีทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เช่น โลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น เอนไซม.

ใหม่!!: ของเหลวและการเร่งปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

การเดือด

การเดือดเป็นการกลายเป็นไออย่างรวดเร็วของของเหลว ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อของเหลวได้รับความร้อนจนถึงจุดเดือด อุณหภูมิที่ความดันไอของของเหลวนั้นเท่ากับความดันแวดล้อมที่กดลงบนของเหลว ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเดือด ของเหลวจะระเหยขึ้นจากพื้นผิว แต่ที่จุดเดือด ฟองไอ (vapor bubble) มาจากของเหลวทั้งหมด ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เมื่อความดันไอสูงพอที่จะชนะความดันบรรยากาศ เพื่อที่ฟองจะสามารถขยายได้ ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างการกลายเป็นไอกับการเดือด คือ "กลไก" มากกว่าทางอุณหพลศาสตร์ จุดเดือดของของเหลวจะลดต่ำลงเมื่อความดันแวดล้อมลดลง ตัวอย่างเช่น โดยการใช้ปั๊มสุญญากาศหรือที่ระดับความสูง หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:การเปลี่ยนสถานะ หมวดหมู่:การถ่ายเทความร้อน.

ใหม่!!: ของเหลวและการเดือด · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)

การเคลื่อนที่ในฟิสิกส์ หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ถูกอธิบายด้วย การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เวลา และอัตราเร็ว การเคลื่อนที่ของวัตถุจะถูกสังเกตได้โดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง ทำการวัดการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบกับกรอบอ้างอิงนั้น ถ้าตำแหน่งของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุนั้นอยู่นิ่งหรือตำแหน่งคงที่ (ระบบมีพลวัตแบบเวลายง) การเคลื่อนที่ของวัตถุจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เว้นเสียแต่มีแรงมากระทำ โมเมนตัมคือปริมาณที่ใช้ในการวัดการเคลื่อนที่ของวัตถุ โมเมนตัมของวัตถุเกี่ยวข้องกับมวลและความเร็วของวัตถุ และโมเมนตัมทั้งหมดของวัตถุทั้งหมดในระบบโดดเดี่ยว (อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก) ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาตามที่อธิบายไว้ในกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม เนื่องจากไม่มีกรอบอ้างอิงที่แน่นอนดังนั้นจึงไม่สามารถระบุการเคลื่อนที่แบบสัมบูรณ์ได้ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ใช้ได้กับวัตถุ อนุภาค การแผ่รังสี อนุภาคของรังสี อวกาศ ความโค้ง และปริภูมิ-เวลาได้ อนึ่งยังสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของรูปร่างและขอบเขต ดังนั้นการเคลื่อนที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการกำหนดค่าของระบบทางกายภาพ ตัวอย่างเช่นเราสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของคลื่นหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคควอนตัมซึ่งการกำหนดค่านี้ประกอบด้วยความน่าจะเป็นในการครอบครองตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น ภาพนี้เป็นรถไฟใต้ดินออกจากสถานีด้วยความเร็ว.

ใหม่!!: ของเหลวและการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

กาว

กาวไนโตรเซลลูโลส กาว หรือ วัสดุประสาน คือส่วนผสมของของเหลวหรือวัสดุกึ่งของเหลวที่สามารถเชื่อมติด หรือประสานวัสดุสองชิ้นเข้าด้วยกัน กาวมีอยู่หลากหลายรูปแบบทั้งมาจากธรรมชาติหรือสารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งการใช้งานมักจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำมาติดกัน กาวนิยมใช้ติดวัสดุที่มีลักษณะบาง หรือวัสดุที่แตกต่างกัน โดยกาวจะแตกต่างจากการเชื่อมวัสดุแบบอื่นคือ กาวจะใช้เวลาในการประสาน โดยกาว จะมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้งานที่แตกต่างกัน.

ใหม่!!: ของเหลวและกาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะการเปียก

Figure 1: Droplet of water on an ideal surface. ภาวะการเปียก (wetting) คือความสามารถของของเหลวในการรักษาหน้าสัมผัสกับพื้นผิวของแข็ง ซึ่งเป็นผลจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโมเลกุล โดยระดับขั้นของภาวะการเปียกขึ้นกับความสมดุลระหว่าง แอดฮีชั่น และ โคฮีชั่น ภาวะการเปียกมีความสำคัญในการยึดติดกันของวัสดุสองชิ้น แรงยกตัว (หรือ capillary effect) ก็เป็นผลมาจากภาวะการเปียก และแรงพื้นผิวที่กำหนดภาวะการเปียก รูปร่างของหยดของเหลวบนพื้นผิวของแข็ง จะมีรูปร่างเป็นรูปทรงหยดน้ำค้าง.

ใหม่!!: ของเหลวและภาวะการเปียก · ดูเพิ่มเติม »

ยาน้ำเชื่อม

น้ำเชื่อม (syrup) เป็นเภสัชภัณฑ์รูปแบบของเหลวชนิดหนึ่งซึ่งตำรับยาที่มีลักษณะใสและหนืด มีส่วนผสมของน้ำตาลเช่น น้ำตาลซูโครส หรือสารให้ความหวานอื่นๆประกอบอยู่ นอกจากนี้ยังมีการแต่งกลิ่นและสีเพื่อเพิ่มความน่าใช้หรือน่ารับประทานอีกด้ว.

ใหม่!!: ของเหลวและยาน้ำเชื่อม · ดูเพิ่มเติม »

รัศมีวานเดอร์วาลส์

รัศมีวานเดอร์วาลส์ (Van der Waals radius)ของอะตอม คือ รัศมีของทรงกลมแข็งในจินตนาการที่สามารถนำมาใช้เป็นรูปจำลองของอะตอมได้หลายวัตถุประสงค์ รัศมีวานเดอร์วาลส์กำหนดโดยการวัดที่ว่างระหว่างคู่ของอะตอมที่ไม่เชื่อมติดกันของแก้วเจียระไน รัศมีวานเดอร์วาลส์เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อของโยฮันเนส ดิเดอริก วานเดอร์วาลส์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อ พ.ศ. 2453 แก๊สจริงจะไม่มีพฤติกรรมตรงตามการทำนาย ในบางกรณี การเบี่ยงเบนอาจเกิดขึ้นได้มาก ตัวอย่างเช่น แก๊สอุดมคติอาจไม่มีทางเป็นของเหลวหรือของแข็งได้เลยไม่ว่าถูกทำให้เย็นหรือถูกอัดแน่นอย่างไร ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกฎแก๊สอุดมคติ P\tilde.

ใหม่!!: ของเหลวและรัศมีวานเดอร์วาลส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: ของเหลวและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ริทอร์ต

ริทอร์ตทองแดง ริทอร์ตแก้ว ในห้องปฏิบัติการเคมี ริทอร์ต คือ เครื่องแก้วที่ใช้สำหรับการกลั่นหรือกลั่นแห้งของสสาร ริทอร์ตประกอบด้วยภาชนะทรงกลมที่มีคอยาวชี้ลงล่าง ของเหลวที่จะถูกกลั่นนั้นถูกใส่ในภาชนะและอุ่นให้ร้อน คอนั้นทำหน้าที่เป็นคอนเดนเซอร์ซึ่งให้ไอน้ำควบแน่นและไหลไปตามคอสู่ภาชนะด้านล่าง ในอุตสาหกรรมเคมี ริทอร์ตคือภาชนะที่อากาศเข้าไม่ได้ โดยสสารถูกอุ่นเพื่อให้ปฏิกิริยาเคมีที่สร้างผลิตผลก๊าซซึ่งจะถูกเก็บไว้ในภาชนะเพื่อนำไปใช้ต่อไป ริทอร์ตยังถูกใช้ในระดับอุตสาหกรรม เช่น การสกัดน้ำมันหิน และการผลิตถ่านหุงต้ม กระบวนการให้ความร้อนหินน้ำมันเพื่อผลิตน้ำมันหิน ก๊าซหิน มักถูกเรียกว่าการริทอร์ต ในอุตสาหกรรมอาหาร หม้ออบความดันส่วนใหญ่จะถูกเรียกว่าริทอร์ต หมายถึง "ริทอร์ตบรรจุกระป๋อง" สำหรับการฆ่าเชื้อโรคในอุณหภูมิสูง (116–130 องศาเซลเซียส) การใช้ริทอร์ต.

ใหม่!!: ของเหลวและริทอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ลิงจมูกยาว

ลิงจมูกยาว หรือ ลิงจมูกงวง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับวานรชนิดหนึ่ง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล NasalisWilson, D. E. & Reeder, D. M. (eds.) (2005).

ใหม่!!: ของเหลวและลิงจมูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

ลิเทียม

ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer".

ใหม่!!: ของเหลวและลิเทียม · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาแผ่นดินไหว

วิทยาแผ่นดินไหว (seismology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการกระจายตัวaของคลื่นแผ่นดินไหวภายใต้เปลือกโลก โดยเป็นสาขาหนึ่งของธรณีฟิสิกส์ geophysics) โดยมีนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาวิชานี้ เรียกว่า นักวิทยาแผ่นดินไหว (seismologist)ศึกษาวิทยาแผ่นดินไหว ช่วยให้มนุษยสามารถเข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และสถานะของส่วนภายในของโลกเราได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถพยากรณ์การเกิดผลกระทบจากแผ่นดินไหว เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้า วิทยาแผ่นดินไหวยังศึกษาความไหวสะเทือนของโลก ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู เป็นต้น.

ใหม่!!: ของเหลวและวิทยาแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกพิราบและนกเขา

วงศ์นกพิราบและนกเขา เป็นวงศ์ของนกที่อยู่ในอันดับ Columbiformes ซึ่งมีอยู่เพียงวงศ์เดียว คือ Columbidae เป็นนกที่มีขนาดตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่ (15-120 เซนติเมตร) มีลักษณะโดยทั่วไป คือ อ้วนกลม คอสั้น ปากเรียวมีปุ่มเนื้อเหนือปาก ปากเล็ก สันปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลาง ปลายหางมนกลมหรือแหลม ขนหางมี 12-20 เส้น ปีกยาวปานกลาง ขนปลายปีกมี 11 เส้น (10 เส้นทำหน้าที่ในการบิน) ขนกลางปีกมี 11-15 เส้น และมักไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขาสั้น หน้าแข้งเป็นเกล็ดแบบซ้อน บริเวณอื่นเป็นเกล็ดแบบร่างแห ตัวเต็มวัยไม่มีขนอุย ขนไม่มีแกนขนรองหรือมีแต่เล็กมาก ต่อมน้ำมันไม่มีขนปกคลุมหรือไม่มีต่อมน้ำมัน ผิวหนังบอบบาง เป็นนกที่กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะ เมล็ดพืชและธัญพืช สร้างรังจากกิ่งไม้ บนต้นไม้ เชิงผา หรือบนพื้นดินขึ้นกับชนิด วางไข่ 1-2 ใบ พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงลูก ลูกอ่อนยังเดินไม่ได้ มีระยะเวลาออกจากรัง 7-28 วัน โดยพ่อแม่นกจะเลี้ยงลูกด้วยการสำรอกอาหารที่เป็นของเหลวออกจากกระเพาะพักป้อนให้ลูก ที่มีลักษณะคล้ายน้ำนม มีโครงสร้างทางและองค์ประกอบเคมีคล้ายน้ำนมของกระต่าย ซึ่งมีด้วยกันทั้งสองเพศ นกในวงศ์และอันดับนี้ มีอยู่ประมาณ 40 สกุล 310 สปีชีส์ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ในประเทศไทยพบราว 28 สปีชีส์ ใน 9 สกุล โดยมีสปีชีส์หนึ่งที่สูญพันธุ์ไปนานกว่า 350 ปีแล้วและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ นกโดโด เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง อาทิ ในการสื่อสารในสมัยโบราณ ที่ใช้นกพิราบสื่อสาร ที่จะบินกลับถิ่นฐานที่เป็นที่จากมาแม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน ด้วยสนามแม่เหล็กโลก หรือใช้สำหรับแข่งขันกันในการบิน หรือใช้เลี้ยงเป็นอาหาร, เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม หรือฟังเสียงร้อง ที่สามารถต่อยอดแตกเป็นอาชีพต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: ของเหลวและวงศ์นกพิราบและนกเขา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่าคองู

วงศ์เต่าคองู (Austro-american side-necked turtles, Snake-necked turtles) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelidae เป็นเต่าที่อยู่ในอันดับย่อย Pleurodira หรือ เต่าที่สามารถเบนหัวไปข้างด้านข้างหรือแนวราบของลำตัวได้ มีลักษณะเด่น คือ มีขอบด้านท้ายของกะโหลกเว้ามาก มีกระดูกพาไรทัลและกระดูกสควาโมซัล ส่วนกระดูกควาดาโทจูกัลลดรูปไป การหุบปากหรือการอ้าขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนก้านกระดูกพอเทอรีกอยด์ และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกพอเทอรีกอยด์ซึ่งไม่มีซัยโนเวียลแคปซูล แต่มีท่อคล้ายถุงซึ่งภายในมีของเหลวและเจริญของช่องปากเข้ามาทำหน้าที่ทดแทน กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน แต่มีกระดูกพลาสทรอนชิ้นใหญ่เจริญไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องมั่นคงและกระดูกอิเลียมไม่มีก้านกระดูกธีเลียล เต่าในวงศ์นี้มีความยาวของกระดองประมาณ 15 เซนติเมตร จนถึง 50 เซนติเมตร กระดองหลังแบนราบ ส่วนใหญ่เป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลัก พบบางชนิดบ้างในน้ำกร่อย ในบางชนิดมีพฤติกรรมฝังตัวอยู่ใต้โคลนในฤดูแล้งคล้ายการจำศีล หลายสกุลมีคอยาวมาก กินอาหารด้วยวิธีการดูด พบทั้งหมด 10 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 50 ชนิด กระจายพันธุ์ทั้งในประเทศออสเตรเลีย, เกาะนิวกินี และทวีปอเมริกาใต้ มีหลายชนิดนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง เช่น เต่ามาตามาต้า (Chelus fimbriata), เต่าคองู (Chelodina longicollis) เป็นต้น.

ใหม่!!: ของเหลวและวงศ์เต่าคองู · ดูเพิ่มเติม »

สภาพผสมเข้ากันได้

น้ำมันดีเซลไม่สามารถผสมเข้ากันได้กับน้ำ รูปแบบสีรุ้งเกิดจากการแทรกสอดทางแสง สภาพผสมเข้ากันได้ เป็นคำที่ใช้ในทางเคมี เพื่ออธิบายสมบัติของของเหลวที่ผสมกันในทุกอัตราส่วน ทำให้เกิดสารละลายเนื้อเดียว ตามหลักการแล้ว สภาพผสมเข้ากันได้สามารถหมายถึงสารในสถานะอื่นก็ได้ (ของแข็งและแก๊ส) แต่จุดสนใจหลักอยู่ที่สภาพละลายได้ของของเหลวชนิดหนึ่ง ในของเหลวอีกชนิดหนึ่ง น้ำและเอทานอลเป็นตัวอย่างของสารที่สามารถผสมเข้ากันได้ในทุกอัตราส่วน ในทางตรงข้าม สสารสองชนิดจะกล่าวว่าไม่สามารถผสมเข้ากันได้ ถ้าหากเมื่อผสมสารทั้งสองด้วยอัตราส่วนบางค่าแล้วไม่เกิดสารละลาย ตัวอย่างเช่น ไดเอทิลอีเทอร์เป็นสารที่ละลายได้ในน้ำพอสมควร แต่ตัวทำละลายทั้งสองไม่สามารถผสมเข้ากันได้ เนื่องจากไม่สามารถละลายได้ในทุกอัตราส่วน หมวดหมู่:สมบัติทางเคมี.

ใหม่!!: ของเหลวและสภาพผสมเข้ากันได้ · ดูเพิ่มเติม »

สวนศาสตร์

วนศาสตร์ (อ่านว่า สะ-วะ-นะ-สาด) หรือ อะคูสติกส์ (อังกฤษ: acoustics) เป็นสาขาหนึ่งของ ฟิสิกส์ ว่าด้วยคุณสมบัติของ คลื่นเสียงเชิงกล เมื่อเคลื่อนที่ใน แก๊ส ของเหลว และของแข็ง นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ เรียกว่า นักอะคูสติกส์ (Acoustician) คำว่า อะคูสติกนั้น มาจากภาษากรีกโบราณ ว่า “อะคูสติกคอส” หมายถึง “สามารถได้ยิน” ในปัจจุบัน อะคูสติกส์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ควบคุม ส่ง รับ และผลกระทบของเสียง โดยเริ่มต้นด้วยการศึกษาการสั่นเชิงกล และการแผ่คลื่นจากการสั่นเหล่านี้ จนถึงการศึกษาคลื่นเชิงกล โดยยังมีการศึกษาค้นคว้าเรื่อยมา งานวิจัยด้านสวนศาสตร์ดำเนินไปหลายลักษณะ จากกระบวนการเชิงฟิสิกส์มูลฐาน ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นและเสียง และอาจโยงไปถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการเหล่านี้ในชีวิตสมัยใหม่ การศึกษาคลื่นเสียงยังนำไปสู่หลักการทางฟิสิกส์ที่อาจประยุกตใช้กับการศึกษาคลื่นทุกชนิดด้ว.

ใหม่!!: ของเหลวและสวนศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สารเนื้อผสม

รเนื้อผสม(Heterogeneous Mixture) เป็นประเภทหนึ่งของสารตาม การแบ่งประเภทของสารตามเนื้อสาร เนื้อสารจะแยกชั้นชัดเจน สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า อนุภาคที่มาผสมจะมีขนาดใหญ่กว่า 100 ไมครอน กล่าวคือระดับเม็ดทราย (ประมาณน้ำแขวนลอยก็เห็นตะกอนแขวนลอยแล้ว) lol.

ใหม่!!: ของเหลวและสารเนื้อผสม · ดูเพิ่มเติม »

สถานะ (สสาร)

นะ (State of matter) เป็นความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น, โครงสร้างผลึก (crystal structure), ดรรชนีหักเหของแสง (refractive index) และอื่นๆ สถานะที่คุ้นเคยกันมาก ได้แก่ ของแข็ง, ของเหลว, และแก๊ส ส่วนสถานะที่ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ได้แก่ พลาสมา และ พลาสมาควาร์ก-กลูออน, โบส-ไอน์สไตน์ คอนเดนเซต และ เฟอร์มิโอนิค คอนเดนเซต, วัตถุประหลาด, ผลึกเหลว, ซูเปอร์ฟลูอิด ซูเปอร์โซลิด พาราแมกเนติก, เฟอโรแมกเนติก, เฟสของ วัสดุ แม่เหล็ก.

ใหม่!!: ของเหลวและสถานะ (สสาร) · ดูเพิ่มเติม »

สเปรย์ละอองลอย

ทธิบัตร สเปรย์ละอองลอย หรือที่เรียกกันติดปากว่า กระป๋องสเปรย์ สเปรย์ละอองลอย หมายถึง กระป๋อง หรือสิ่งที่ออกมาจากกระป๋อง ซึ่งฉีดสารที่มีสภาพเป็น ละอองลอย ในภาษาพูดทั่วไป เรียกสั้นๆว่า สเปรย์ เป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องชนิดหนึ่ง ที่สามารถฉีดพรมของเหลวที่บรรจุออกมาในรูปฝอยของอนุภาคละอองลอย เพราะสเปรย์ละอองลอยชนิดนี้บรรจุสาร 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็น ของเหลวบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการฉีดให้ฟุ้งกระจาย และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น ไอภายใต้ความกดดันสูงจนอยู่ในรูปของเหลว ซึ่งมักเป็นแก๊สเฉื่อย ละลายรวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็น กำลังขับดัน เมื่อลิ้นถูกเปิด ของเหลวถูกดันให้ไหลออกผ่านรูเล็ก และปรากฏเป็นอนุภาคละอองลอย คล้ายหมอก ขณะที่แก๊สขยายและขับบรรจุภัณฑ์ออก กำลังขับดันบางส่วนกลายเป็นไอภายในกระป๋อง และรักษาความดันให้คงที่ เมื่อออกนอกกระป๋อง หยดละอองของของเหลวที่เป็นกำลังขับดันกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว ทิ้งให้หยดละอองของของเหลวบรรจุภัณฑ์ แขวนลอยในรูปของอนุภาคหรือหยดละอองที่ละเอียดมาก ของเหลวที่ผสมดังกล่าว เช่น ยาฆ่าแมลง, ยาดับกลิ่น และสีสเปรย์ เครื่องมือฉีดพ่นทางการเกษตร ก็ใช้หลักการคล้ายกันนี้ คือเพิ่มกำลังกดอากาศด้วยมือสูบ ซึ่งให้ผลดีกว่า สเปรย์ละอองลอย ซึ่งใช้เพียงแก๊สที่เก็บอัดไว้.

ใหม่!!: ของเหลวและสเปรย์ละอองลอย · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ของเหลวและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

หลอดดูด

หลอดดูด หลอดดูด เป็นอุปกรณ์ในการดูดของเหลว มักใช้กับเครื่องดื่ม โดยทั่วไปหลอดดูดจะเป็นท่อผอมและยาว ทำจากพลาสติก (มักจะเป็น polystyrene) มีทั้งหลอดดูดตรง และหลอดดูดที่สามารถงอตรงปลายได้ เพื่อให้ดูดเครื่องดื่มได้ง่ายขึ้น เมื่อดูดเครื่องดื่ม เราจะนำปลายข้างหนึ่งใส่ลงในเครื่องดื่ม อีกข้างหนึ่งใส่ปาก โดยมักจะใช้มือจับไว้ด้วย เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณปากทำการออกแรงดูด ทำให้ความดันอากาศภายในปากลดลง ความดันอากาศรอบเครื่องดื่มซึ่งมีมากกว่าจะดันเครื่องดื่มให้ไหลเข้าไปในหลอดดูดเข้าสู่ปาก หลอดดูดถูกคิดค้นโดยชาวสุเมเรียน โดยใช้ในการดื่มเบียร์ หลอดดูดในรูปแบบปัจจุบันคิดค้นในปี พ.ศ. 2431 หมวดหมู่:เครื่องครัว.

ใหม่!!: ของเหลวและหลอดดูด · ดูเพิ่มเติม »

หอกลั่น

หอกลั่น (Distillation columns) ใช้สำหรับแยกสารผสม ที่ใช้กันมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่ใช้แยกน้ำมันดิบที่ประกอบไปด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดที่มี น้ำหนัก และจุดเดือด แตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนแรกจึงสามารถ แยกองค์ประกอบออกจากกันได้อย่างง่ายดาย โดยกระบวนการกลั่นลำดับส่วน หอกลั่นโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ หอกลั่นแบบแพ๊ค (Packing Tower) และหอกลั่นแบบถาด (Tray Tower) หอกลั่นทั้งสองแบบจะเหมาะสมกับการกลั่นที่แตกต่างกันไปหอกลั่นแบบ Packing Tower ใช้ในการแยกของผสมที่มีจุดเดือดที่ไม่สูงมาก.

ใหม่!!: ของเหลวและหอกลั่น · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจนเหลว

ังบรรจุออกซิเจนเหลว ออกซิเจนเหลว (liquid oxygen; ย่อ LOX) เป็นออกซิเจนในรูปของเหลวอุณหภูมิต่ำมาก ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศเหลว มีสีฟ้าอ่อน มีคุณสมบัติเป็นพาราแมกเนติก ออกซิเจนเหลวมีความหนาแน่น 1.141 g/cm3 (1.141 kg/L, 1141 kg/m3) มีจุดเยือกแข็งที่ 54.36 K (−218.79 °C, −361.82 °F) มีจุดเดือดที่ 90.19 K (−182.96 °C, −297.33 °F) ที่ 101.325 kPa (760 mmHg) มีอัตราส่วนขยายตัว 1:861 ภายใต้ 1 บรรยากาศมาตรฐาน (100 kPa) และที่ 20 °C (68 °F) ด้วยเหตุนี้ จึงมีการขนส่งออกซิเจนเหลวทางอากาศเพื่อใช้หายใจในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร ด้วยอุณหภูมิที่ต่ำมาก วัตถุที่สัมผัสกับออกซิเจนเหลวจะเปราะ ออกซิเจนเหลวเป็นตัวออกซิไดซ์ที่มีฤทธิ์สูง หากเผาออกซิเจนเหลวจะทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง วัตถุที่ราดด้วยออกซิเจนเหลวเมื่อถูกเผาจะไหม้อย่างรวดเร็ว ออกซิเจนเหลวใช้เป็นก๊าซเชิงอุตสาหกรรมและใช้เป็นตัวออกซิไดซ์ในการขับเคลื่อนยานอวกาศ โดยผสมกับไฮโดรเจนเหลว เคโรซีนและมีเทน.

ใหม่!!: ของเหลวและออกซิเจนเหลว · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: ของเหลวและอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อัญรูป

รและแกรไฟต์เป็นอัญรูปของคาร์บอน ซึ่งเป็นธาตุเดียวกันแต่โครงสร้างต่างกัน อัญรูป (allotropy หรือ allotropism;αλλος (allos), หรือ τροπος (tropos)) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธาตุเคมี ในธาตุหนึ่ง ๆ สามารถมีรูปแบบสองรูปแบบหรือมากกว่า หรือที่รู้จักกันในชื่อ อัญรูป ของธาตุนั้น ๆ ในแต่ละอัญรูป อะตอมของธาตุมีพันธะเคมีเชื่อมต่อกันในรูปแบบที่ต่างกัน มีโครงสร้างต่างกันไป อัญรูปนั้นไม่ใช่ไอโซเมอร์ที่เป็น สารประกอบ ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน ตัวอย่างเช่น, คาร์บอนมี 2 อัญรูป: เพชรที่คาร์บอนอะตอมเชื่อมกันในรูปหกเหลี่ยมทรงสี่หน้าและแกรไฟต์ที่คาร์บอนอะตอมเชื่อมกันในรูปแผ่นตาข่ายหกเหลี่ยม อัญรูปหมายถึงความแตกต่างทางโครงสร้างในสถานะเดียวกันเท่านั้น (คือรูปแบบของแข็ง, ของเหลว หรือ แก๊ส) - การเปลี่ยนสถานะไม่ถือเป็นอัญรูป สำหรับในบางธาตุอัญรูปมีสูตรโมเลกุลต่างกันนั้น สามารถคงอัญรูปได้เมื่อเปลี่ยนสถานะ เช่น อัญรูป 2 อัญรูปของออกซิเจน (ไดออกซิเจน, O2 และโอโซน, O3), ทั้งคู่มีสูตรโมเลกุลเหมือนเดิมทั้งในสภาวะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ตรงกันข้าม ในบางธาตุไม่สามารถคงอัญรูปได้เมื่อเปลี่ยนสถานะ เช่น ฟอสฟอรัสมีอัญรูปมากมายในสถานะของแข็ง แต่จะกลายเป็นรูปแบบ P4 เหมือนกันทั้งหมดเมื่อละลายกลายเป็นของเหลว และยังมีอัญรูปที่สำคัญคือ อัญรูปของกำมะถันซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็นS8 แบ่งออกเป็น กำมะถันรอมบิก และกำมะถันมอนอคลินิก.

ใหม่!!: ของเหลวและอัญรูป · ดูเพิ่มเติม »

อุทกภาค

World water distribution. อุทกภาค (จากภาษาบาลี "อุทก" แปลว่า น้ำ, "ภาค" แปลว่า ส่วน รวมกันหมายถึงส่วนที่เป็นน้ำ) ในวิชาภูมิศาสตร์กายภาพหมายถึง แหล่งที่น้ำจำนวนมากมาอยู่รวมกันบนหรือใต้ผิวโลก อีกอร์ ชีโคลมานอฟ ผู้ถูกคัดเลือกโดยองค์การสหประชาชาติให้ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ได้ประเมินว่าบนโลกมีน้ำทั้งสิ้น 1,386 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ซึ่งรวมถึงน้ำในรูปของเหลว ของแข็ง น้ำบาดาล ธารน้ำแข็ง มหาสมุทร ทะเลสาบ และแม่น้ำ โดยร้อยละ 97.5 ของน้ำทั้งหมดบนโลกเป็นน้ำเค็ม น้ำจืดมีอยู่เพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และร้อยละ 68.7 ของน้ำจืดก็อยู่ในรูปของน้ำแข็งและหิมะปกคลุมบริเวณอาร์กติก แอนตาร์กติกา และในเขตภูเขา ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 29.9 อยู่ในรูปของน้ำบาดาล ร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นสาธารณูปโภคได้ ซึ่งสามารถพบน้ำเหล่านี้ใต้ในทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ และระบบแม่น้ำต่าง ๆ มวลทั้งหมดของน้ำบนโลกอยู่ที่ประมาณ 1.4 × 1018 ตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.023 ของมวลโลกทั้งหมด ประมาณ 20 × 1012 ตันของน้ำทั้งหมดนั้นอยู่ในบรรยากาศของโลก (โดยน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักเท่ากับ 1 ตัน) ประมาณร้อยละ 75 ของผิวโลกทั้งหมดหรือประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตรนั้นเป็นมหาสมุทร ค่าความเค็มเฉลี่ยของมหาสมุทรในโลกนั้นอยู่ที่ประมาณ 35 ของเกลือหนึ่งกรัมต่อน้ำทะเลหนึ่งกิโลกรัม (ร้อยละ 3.5).

ใหม่!!: ของเหลวและอุทกภาค · ดูเพิ่มเติม »

อุณหพลศาสตร์

แผนภาพระบบอุณหพลศาสตร์ทั่วไป แสดงพลังงานขาเข้าจากแหล่งความร้อน (หม้อน้ำ) ทางด้านซ้าย และพลังงานขาออกไปยังฮีทซิงค์ (คอนเดนเซอร์) ทางด้านขวา ในกรณีนี้มีงานเกิดขึ้นจากการทำงานของกระบอกสูบ อุณหพลศาสตร์ (/อุน-หะ-พะ-ละ-สาด/ หรือ /อุน-หะ-พน-ละ-สาด/) หรือ เทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics; มาจากภาษากรีก thermos.

ใหม่!!: ของเหลวและอุณหพลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย

ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า พื้นที่อันตรายหมายถึง พื้นที่ที่อาจจะเต็มไปด้วยก๊าซไวไฟ ไอน้ำ ฝุ่นละออง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องถูกออกแบบและทดลองมาอย่างพิเศษ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดการระเบิด ประกายไฟ หรือมีพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูง ตัวอย่างเช่น สวิตช์ไฟในบ้าน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดประกายไฟเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในสภาวะบรรยากาศปกติ จะไม่ได้รับความสนใจ แต่ในสภาวะที่มีไอระเหยที่ติดไฟได้อยู่ ประกายไฟอาจจะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะถูกนำไปติดตั้งใช้ในโรงงานเคมีหรือโรงงานถลุงแร่จะต้องถูกออกแบบมาให้ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรืออะไรก็ตามที่อาจจะก่อให้เกิดประกายไฟอันจะทำให้ไอระเหยติดไฟได้ที่อาจจะปรากฏในบริเวณนั้นเกิดการระเบิดขึ้นได้ มีแนวทางแก้ปัญหาในการติดตั้งทางไฟฟ้าเหล่านี้มากมาย แต่วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการลดจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะด้วยการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าออกนอกบริเวณอันตราย หรือการลดความอันตรายของพื้นที่ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการใช้ระบบระบายอากาศ Intrinsic safety คือเทคนิกในทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดระดับกำลังของไฟฟ้าและมีพลังงานสะสมต่ำ อันจะทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิดต่ำลง การปิดคลุมอุปกรณ์สามารถอัดอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในระบบแล้วปิดตาย ซึ่งอุปกรณ์จะถูกตัดออกจากระบบเมื่อระบบจ่ายอากาศไม่ทำงาน เป็นเรื่องธรรมดาในสายงานเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานที่แต่งต่างกันออกไปและมีวิธีการทดสอบที่อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานในพื้นที่อันตรายที่ไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยการค้าโลกทวีความสำคัญในการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นมาตรฐานนานาชาติจค่อย ๆ จึงค่อย ๆ ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนมีเทคนิกที่ได้รับการยอมรับโดนตัวแทนของแต่ละชาติมากขึ้น.

ใหม่!!: ของเหลวและอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย · ดูเพิ่มเติม »

อูนอูนเอนเนียม

อูนอูนเอนเนียม (Ununennium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 119 และมีสัญลักษณ์ Uue "อูนอูนเอนเนียม" เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC (บางตำราอ่านว่า "อูนันเอนเนียม") และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-แฟรนเซียม" (eka-francium) อูนอูนเอนเนียมเป็นธาตุในหมู่โลหะแอลคาไลและเป็นธาตุแรกในคาบที่ 8.

ใหม่!!: ของเหลวและอูนอูนเอนเนียม · ดูเพิ่มเติม »

อูนเฮกซ์เพนเทียม

อูนเฮกซ์เพนเทียม (Unhexpentium, Unhexpentium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 165 และมีสัญลักษณ์ Uhp "อูนเฮกซ์เพนเทียม" เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC และมีชื่อชั่วคราวอีกชื่อตามพยากรณ์ของดมีตรี เมนเดเลเยฟว่า "เอกา-อูนอูนเอนเนียม" (eka-ununennium) หรือ ดีวิ-แฟรนเซียม (dvi-francium).

ใหม่!!: ของเหลวและอูนเฮกซ์เพนเทียม · ดูเพิ่มเติม »

อูนเซปท์เบียม

อูนเซปท์เบียม (Unseptbium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 172 และมีสัญลักษณ์ Usb "อูนเซปท์เทรียม" เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC.

ใหม่!!: ของเหลวและอูนเซปท์เบียม · ดูเพิ่มเติม »

ผลึก

Quartz crystal Bismuth Crystal Insulincrystals ผลึก (crystal) เป็นของแข็งที่มีองค์ประกอบเป็นอะตอม โมเลกุล หรือ ไอออน ซึ่งอยู่รวมกันอย่างมีระเบียบ เป็นรูปแบบที่ซ้ำกันและแผ่ขยายออกไปในเนื้อที่สามมิติ โดยทั่วไปสสารที่เป็น ของเหลว จะเกิดผลึกได้เมื่ออยู่ภายใต้กระบวนการโซลิดิฟิเคชัน (solidification) ภายใต้สภาวะที่สมบูรณ์ผลที่ได้จะเป็น ผลึกเดี่ยว (single crystal) ที่ซึ่งทุกอะตอมในของแข็งมีความพอดีที่จะอยู่ใน แลตทิช เดียวกัน หรือ โครงสร้างผลึกเดียวกัน แต่โดยทั่วไปจะเกิดหลายรูปแบบของผลึกในระหว่างโซลิดิฟิเคชัน ทำให้เกิดของแข็งที่เรียกว่า พอลิคริสตัลลีน (polycrystalline solid) ตัวอย่าง เช่น โลหะ ส่วนใหญ่ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันจะเป็น พอลิคริสตัล (polycrystals) ผลึกที่โตคู่กันอย่างสมมาตร จะเกิดเป็นผลึกที่เรียกว่า ผลึกแฝด (crystal twins) โครงสร้างผลึกจะขึ้นอยู่กับสารเคมี สภาวะแวดล้อมขณะเกิดการแข็งตัวและความกดดันขณะนั้น กระบวนการเกิดโครงสร้างผลึกเราเรียกว่าคริสตัลไลเซชัน (crystallization) ความสำคัญของผลึก ผลึก สามารถพบได้ทั่วไปในธรรมชาติ พบมากในการก่อตัวของหิน เช่น อัญมณีต่างๆ หรือแม้แต่รอบตัวเรา ในรูปของน้ำตาล น้ำแข็ง และเกลือเม็ด เป็นต้น ความงดงามของผลึกเหล่านี้เป็นที่สนใจมาแต่ตั้งแต่ โบราณ ทั้งด้านความสมมาตรของรูปทรงและสีสรรที่หลากหลาย นักผลึกศาสตร์ในอดีต ใช้เรขาคณิตในการศึกษารูปทรงของผลึกที่พบได้ตามธรรมชาติ 5 มีคุณสมบัติเป็นคลื่นแสงพลังงานสูง มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อรังสีเอกซ์พุ่งกระทบกับวัตถุ อะตอมในวัตถุจะสามารถทำให้รังสีเอกซ์เกิดการกระเจิงได้ นักผลึกศาสตร์พบว่าการเรียงตัวของอะตอมอย่างเป็นระเบียบในผลึก ทำให้รังสีเอกซ์กระเจิงไปในทิศทางที่จำเพาะเท่านั้น จากข้อมูลความเข้มและทิศทางของรังสีเอกซ์ที่กระเจิงนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างภาพสามมิติของโครงสร้างของสารในผลึกได้ ผลึกจึงเป็นตัวอย่างที่เหมาะสมสำาหรับการศึกษาโครงสร้างของสารที่ให้ความละเอียดในระดับอะตอม ด้วยคุณสมบัติทั่วไปสามประการได้แก่ คุณสมบัติที่เป็นของแข็ง มีสามมิติ และมีการเรียงตัวของอะตอมอย่างเป็นระเบียบมาก และความสมมาตรสูง นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาพันธะเคมี ที่ดึงดูดอะตอมเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น กราไฟท์หรือถ่านที่ทึบแสงและนิ่ม กับเพชรที่โปร่งแสงและแข็งมาก สารทั้งสองนี้มีส่วนประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน คือธาตุคาร์บอนเท่านั้น การที่เพชรสามารถกระเจิงแสงได้ เกิดจากพันธะทางเคมีที่เรียงตัวเป็นระเบียบ ทำาให้เพชรแวววาว เรารู้โครงสร้างและพันธะเคมีของเพชร ได้จากศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยรังสีเอก ผลึกที่ฉีกกฎธรรมชาติ ในปี..1984 ดร.แดน เชท์มัน ค้นพบผลึกชนิดพิเศษที่มีรูปแบบการเรียงตัวของอะตอมอย่างไม่ต่อเนื่อง รูปแบบนี้ฉีกกฎที่เคยเชื่อกันว่า ผลึกต้องประกอบขึ้นด้วยรูปแบบสมมาตรชนิด 1, 2, 3, 4 และ 6 ด้านเท่านั้น จึงจะเกิดเป็นรูปทรงสามมิติได้ การค้นพบที่เปลี่ยนแปลงความเชื่อครั้งใหญนี้่ เกิดจากการศึกษาโลหะผสมระหว่างอลูมิเนียมและแมงกานีสด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ดร.แดน เชชท์มัน สังเกตเห็นการจัดเรียงตัวแบบห้าเหลี่ยม ในผลึก และต่อมาผลึกในลักษณะนี้ เป็นที่รู้จักว่าเป็น “ผลึกเสมือน” การค้นพบนี้ทำให้ ดร.แดน เชท์มัน ได้รับ รางวัล โนเบล สาขาเคมี ในปี..

ใหม่!!: ของเหลวและผลึก · ดูเพิ่มเติม »

ผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดง

ผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดง (อังกฤษ: Red-spot Sawtooth) เป็นแมลงจำพวกผีเสื้อชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prioneris philonome อยู่ในวงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae) ลักษณะเป็นผีเสื้อที่ปีกด้านบนมีสีขาว มีเส้นปีกลายสีดำพากสลับตามยาว ที่ปีกด้านล่างคล้ายกันกับปีกด้านบน ปีกคู่หลังมีสีเหลือง เกือบทั่วปีกด้านหลัง บริเวณโคนปีกแต้มด้วยสีแดงสด มีหนวดสองเส้น ตั้งตรงเป็นรูปตัว V มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 80-90 มิลลิเมตร จึงจัดเป็นผีเสื้อที่ยาวมากชนิดหนึ่ง กินอาหารที่เป็นของเหลว เช่น เศษใบไม้ น้ำหวานจากดอกไม้ โดยใช้ปากที่เป็นหลอดดูดเพื่อดูดกินอาหาร มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่ตามที่โล่งแจ้ง ตามชายป่า สวนดอกไม้ทั่วไป เป็นผีเสื้อที่ไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม พบเห็นได้ทั่วไป หากินตามบริเวณพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุก.

ใหม่!!: ของเหลวและผีเสื้อขอบปีกเลื่อยจุดแดง · ดูเพิ่มเติม »

จุดหลอมเหลว

Kofler bench จุดหลอมเหลว คือ จุดที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว จุดหลอมเหลวนี้มีค่าเท่ากับจุดเยือกแข็ง เพียงแต่จุดเยือกแข็งใช้เรียกเมื่อสารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ตัวอย่างเช่น น้ำ มีจุดหลอมเหลว เป็น 0 องศาเซลเซียส (Celsius) หมายความว่า น้ำแข็ง ซึ่งเป็นสถานะของแข็งของน้ำจะกลายสถานะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 0 องศาเซลเซียส และน้ำก็มีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส อธิบายว่า น้ำสถานะของเหลวจะกลายสถานะเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซี.

ใหม่!!: ของเหลวและจุดหลอมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ทรายเดือด

หตุการณ์ทรายเดือดที่นิวซีแลนด์ ระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหว 6.3 Mw ในปี 2554 ทรายเดือด หรือ แผ่นดินเหลว (liquefaction) กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่ดินมีสภาพคล้ายกับของเหลว เนื่องจากสูญเสียกำลัง และความแข็งแรงในด้านความเค้น โดยปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นในระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหว ในด้านกลศาสตร์ของดิน คำว่า "liquefied" ได้ถูกใช้ครั้งแรกโดย เฮเซิน อ้างอิงถึงเหตุการณ์เขื่อนถล่มในปี พ.ศ. 2461 ที่รัฐแคลิฟอร์เนี.

ใหม่!!: ของเหลวและทรายเดือด · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีแคลอริก

ทฤษฎีแคลอริก (Caloric theory) เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ยุคเก่าซึ่งปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความร้อน ประกอบด้วยของไหลที่มีชื่อว่า แคลอริก ที่สามารถไหลจากที่ร้อนกว่าไปยังที่เย็นกว่า ข้อสมมุติฐานเดิมคือ แคลอริกเป็นก๊าซซึ่งไม่มีน้ำหนัก และสามารถเคลื่อนที่ผ่านเข้าออกได้ทั้งในของเหลวและของแข็ง ทฤษฎีแคลอริกถูกล้มล้างไปในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังการนำเสนอทฤษฎีของความร้อน แต่ก็ยังคงปรากฏอยู่ในบทความวิทยาศาสตร์อีกมากมายจนกระทั่งถึงปลายคริสตศตวรรณที่ 19 ผู้นำเสนอทฤษฎีแคลอริกคือ อองตวน ลาวัวซิเยร์ (Antoine Lavoisier) ซึ่งเป็นผู้ค้นพบหลักการเผาไหม้ที่อาศัยออกซิเจนในช่วงทศวรรษ 1770 ในบทความเรื่อง "Réflexions sur le phlogistique" (ค.ศ. 1783) ลาวัวซิเยร์เห็นว่า ทฤษฎี phlogiston ขัดแย้งกับผลการทดลองของเขา จึงได้นำเสนอว่ามี "ของไหลบางๆ" ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า แคลอริก เป็นตัวแทนของความร้อน ตามทฤษฎีนี้กล่าวว่า ปริมาณของแคลอริกมีค่าคงที่ตลอดทั้งจักรวาล และจะไหลจากที่ร้อนกว่าไปยังที่เย็นกว่าเสมอ.

ใหม่!!: ของเหลวและทฤษฎีแคลอริก · ดูเพิ่มเติม »

ของแข็ง

ของแข็ง (Soild) เป็นสถานะหนึ่งในสี่ของสถานะพื้นฐานของสสาร (สถานะอื่นได้แก่ ของเหลว แก๊ส พลาสมา) ซึ่งมีลักษณะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่วงหรือปริมาตร แตกต่างกับของเหลว วัตถุที่เป็นของแข็งไม่สามารถไหลได้และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรไปตามภาชนะที่บรรจุ อะตอมภายในโมเลกุลของของแข็งอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่หนาแน่นกับอนุภาคอื่น ๆ สาขาของฟิสิกส์มีสาขาหนึ่งที่มีเพื่อศึกษาของแข็งโดยเฉพาะ เรียกว่าฟิสิกส์ของแข็งและมันยังเป็นสาขาหลักของฟิสิกส์สสารอัดแน่น (ซึ่งจะมีการศึกษาเกี่ยวกับของเหลวรวมอยู่ด้วย) ของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลกคือ ซิลิกานาโนโฟม (silica nanofoam) มีความหนาแน่นประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ของแอโรเจล (aerogel) ที่ดูดอากาศออก หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:ของแข็ง หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: ของเหลวและของแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ของไหล

องไหล (fluid) ใช้นิยามสสารที่เปลี่ยนรูปร่างหรือไหลด้วยความเค้นเฉือน ของเหลวและแก๊สต่างก็เป็นรูปแบบหนึ่งของของไหล ของไหลเป็นสถานะหนึ่งของสสาร โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษ คำว่า fluid หรือของไหลมักหมายถึงของเหลวหรือ liquid ด้วย ของไหลบางอย่างอาจมีความเหนียวสูงมาก ทำให้แยกแยะกับของแข็งได้ยาก หรือในโลหะบางชนิดก็อาจมีความแข็งต่ำมาก.

ใหม่!!: ของเหลวและของไหล · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นกระแทก

ลื่นเสียงของคลื่นกระแทกที่เกิดจากวัตถุความเร็วเหนือเสียงที่มีรูปร่างทรงแหลม คลื่นกระแทก (shock wave) คือรูปแบบการรบกวนที่แพร่ออกไปชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นปกติทั่วไปซึ่งมีพลังงานอยู่ในตัวและสามารถแพร่พลังงานนั้นออกไปผ่านตัวกลางหนึ่งๆ (อาจเป็นของแข็ง ของเหลว แก๊ส หรือพลาสมา) หรือบางครั้งก็อาจสูญหายไปในวัสดุที่เป็นตัวกลางโดยผ่านสนาม เช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นกระแทกมีคุณลักษณะที่เกิดแบบทันทีทันใด เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่องในสารตัวกลาง เมื่อเกิดการกระแทก จะมีกระแสความดัน อุณหภูมิ และความหนาแน่นที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเสมอ คลื่นกระแทกจะเดินทางผ่านสารตัวกลางส่วนใหญ่ด้วยความเร็วที่สูงกว่าคลื่นโดยทั่วไป วัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าหรือมากกว่าอัตราเร็วเสียงในตัวกลางก็ได้ ในกรณีที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นไปตามปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ แต่หากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะแตกต่างไปจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ และไม่สามารถใช้ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตัวอย่างของเสียงในกรณีนี้ เช่น เสียงจากเครื่องบินที่มีความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียงโดยเป็นเสียงที่ดังมกและเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟัง คลื่นเสียงในกรณีนี้คือ คลื่นกระแทก และเสียงจากคลื่นกระแทกซึ่งเป็นเสียงที่ดังมากจะเรียกว่า ซอนิกบูม (sonic boom) ผู้ฟังที่เคยได้ยินเสียงจากคลื่นกระแทกที่เกิดจากเครื่องบินจะสังเกตได้ว่า เสียงจากคลื่นกระแทกมักเกิดขึ้นหลังจากเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟังไปแล้ว สาเหตุเนื่องจากคลื่นกระแทกเป็นคลื่นรูปกรวย ซึ่งหน้าคลื่นจะเคลื่อนที่มาถึงผู้ฟังเมื่อเครื่องบินเคลื่อนผ่านผู้ฟังไปแล้ว เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียงดังมากเนื่องจากคลื่นกระแทกมีแอมพลิจูดมากและพลังงานสูง ในบางครั้งพลังงานของคลื่นกระแทกสามารถทำให้หน้าต่างแตกได้ และดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้นเสียงดังนี้เรียกว่า ซอนิกบูม ซึ่งผู้ฟังอาจได้ยินเสียงซอนิกบูมจากเครื่องบินลำหนึ่งหลายครั้ง เนื่องจากคลื่นกระแทกสามารถเกิดขึ้นบนเครื่องบินได้หลายตำแหน่ง.

ใหม่!!: ของเหลวและคลื่นกระแทก · ดูเพิ่มเติม »

ควัน

'''ควัน''' จากไฟป่า ควัน จัดเป็นคอลลอยด์ ที่เป็นอนุภาคของของแข็งหรือของเหลว กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นแก๊สที่มีอยู่ในอากาศ จะถูกปล่อยออกมาเมื่อมีการเผาวัสดุหรือเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน พร้อมกับปริมาณของอากาศหรือผสมในมวลสารชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนเกินจากผลที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เตา, เทียนไข, ตะเกียงน้ำมัน และเตาไฟ แต่ก็อาจใช้สำหรับเป็นการกำจัดศัตรูพืช, การสื่อสารโดยใช้สัญญาณควัน, การป้องกันตัวโดยการสร้างฉากควัน, การทำอาหารเช่นแซลมอนรมควัน หรือเครื่องยาสูบชนิดต่างๆ ควันยังใช้ในพิธีกรรม, ธูปบูชา, ยางหอม ที่เผาเพื่อผลิตกลิ่น ในบางครั้งควันยังถูกนำไปใช้เป็นสารแต่งกลิ่น และเครื่องป้องกันสำหรับของกินต่างๆ ควันยังเป็นส่วนประกอบของไอเสียที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเสียจากดีเซล ซึ่งควันจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ควันดำ คืออนุภาคของถ่านหรือคาร์บอนที่มีลักษณะเป็นผงและเขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นมาส่วนใหญ่ เช่น รถเมล์ รถปิกอัพดีเซล รถที่มีขนาดใหญ่ทั่วๆไป และจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควันดำนอกจากจะบดบังยังส่งผลต่อการมองเห็นและเกิดความสกปรกและยังสามารถเข้าไปสู่ปอดโดยการหายใจอีกด้วย และสะสมอยู่ในถุงลมปอดซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือเป็นตัวนำสารให้เกิดโรคมะเร็งปอดและทำให้หลอดลมอักเสบได้ ควันขาว เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี โดยเฉพาะรถจักยานยนต์เก่าๆ ควันขาวคือสารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ แล้วมีการปล่อยออกมาทาง ท่อไอเสีย โดยที่สารไฮโดรคาร์บอนนี้เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาในการสร้างก๊าซโอโซนซึ่งเป็นพิษภัยที่มีความรุนแรงการสูดควัน ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยในอาคารสถานที่ ควันสามารถสังหารผู้คนได้โดยความร้อน, สารพิษ และเข้าปอดจนเกิดการระคายเคืองโดยคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้อื่นๆ อนุภาคของควันจัดเป็นละอองลอยหรือหมอก ของอนุภาคของแข็งหรือหยดของเหลวที่แพร่กระจายไปในอากาศซึ่งมักมองเห็นได้เมื่อถูกกระทบกับแสง โดยปกติแล้วหมอกควันไม่ได้ขัดขวางต่อการมองภาพ หากแต่มันเป็นอนุภาคที่มีความละเอียดจนบดบังการมองเห็นแบบปกติไป.

ใหม่!!: ของเหลวและควัน · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อน

ในทางฟิสิกส์ ความร้อน (ใช้สัญลักษณ์ว่า Q) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ในทางอุณหพลศาสตร์จะใช้ปริมาณ TdS ในการวัดปริมาณความร้อน ซึ่งมีความหมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ของวัตถุ (T) คูณกับอัตราการเพิ่มของเอนโทรปีในระบบเมื่อวัดที่พื้นผิวของวัตถุ ความร้อนสามารถไหลผ่านจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หากต้องการให้ความร้อนถ่ายเทไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิเท่ากันหรือสูงกว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปั๊มความร้อนเท่านั้น การสร้างแหล่งความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสามารถทำได้จากปฏิกิริยาเคมี (เช่นการเผาไหม้) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (เช่นฟิวชันในดวงอาทิตย์) การเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเตาไฟฟ้า) หรือการเคลื่อนที่ทางกล (เช่นการเสียดสี) โดยที่อุณหภูมิเป็นหน่วยวัดปริมาณของพลังงานภายในหรือเอนทาลปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนของวัตถุนั้นๆ ความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างวัตถุได้สามวิธีคือ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน นอกจากนี้มีกระบวนการถ่ายเทความร้อนอีกแบบหนึ่งคือ ความร้อนแฝง ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นก๊าซ เป็นต้น.

ใหม่!!: ของเหลวและความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ

วามร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสารที่บอกปริมาณพลังงานที่ต้องใช้หรือคายออกมาในการเปลี่ยนสถานะระหว่างของเหลวกับแก๊ส เมื่อมีอุณหภูมิเท่ากับจุดเดือดของสารนั้น ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอมีหน่วยดังนี้.

ใหม่!!: ของเหลวและความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว

วามร้อนแฝงของการหลอมเหลว (Enthalpy of fusion) คือ พลังงานที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนสารชนิดหนึ่ง 1 กรัมให้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว โดยสารนั้นต้องมีอุณหภูมิเท่ากับจุดหลอมเหลวของสารชนิดนั้นๆ โดยทั่วไป หากให้พลังงานแก่สารจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของสารนั้น และถ้าดึงพลังงานออกจากสาร สารจะมีอุณหภูมิลดลง แต่หากสารนั้นมีอุณหภูมิถึงจุดๆ หนึ่ง ซึ่งก็คือจุดหลอมเหลว จะมีพลังงานจำนวนหนึ่งที่ถูกใช้ไป แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการเปลี่ยนอุณหภูมิของสาร แต่เป็นการใช้หรือคายพลังงานเพื่อเปลี่ยนสถานะ พลังงานนั้นก็คือ ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ในการเปลี่ยนสถานะของสารที่อุณหภูมิเท่ากับจุดหลอมเหลว หากจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว ต้องใช้พลังงานเท่ากับความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ในขณะที่การเปลี่ยนสถานะของของเหลวเป็นของแข็ง ต้องคายพลังงานในจำนวนที่เท่ากัน ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น หากนำน้ำใส่ตู้แช่เข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ แล้ววัดอุณหภูมิของน้ำ จะพบว่า ในช่วงแรก น้ำจะมีอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงช่วงหนึ่ง ซึ่งน้ำมีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะคงที่ ในขณะที่น้ำเริ่มกลายเป็นน้ำแข็งทีละน้อย หลังจากที่น้ำแข็งตัวหมดแล้ว อุณหภูมิของน้ำ (ที่เป็นน้ำแข็ง) ก็จะลดลงอย่างรวดเร็วอีกครั้ง เหตุที่อุณหภูมิของน้ำคงที่ในช่วงที่น้ำอยู่ที่จุดหลอมเหลวนั้น เพราะมีการคายพลังงานซึ่งเท่ากับความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำออกมา เพื่อทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็งได้ ก่อนที่จะกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด อุณหภูมิจึงไม่ลดลงในช่วงนั้น หลังจากนั้นก็จะไม่มีการคายพลังงานในส่วนนี้ อุณหภูมิจึงลดลงอีกครั้ง.

ใหม่!!: ของเหลวและความร้อนแฝงของการหลอมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ความหนาแน่น

วามหนาแน่น (อังกฤษ: density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก โร) เป็นการวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ยิ่งวัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้น มวลต่อหน่วยปริมาตรก็ยิ่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง (เช่น เหล็ก) จะมีปริมาตรน้อยกว่าวัตถุความหนาแน่นต่ำ (เช่น น้ำ) ที่มีมวลเท่ากัน หน่วยเอสไอของความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ โดยที.

ใหม่!!: ของเหลวและความหนาแน่น · ดูเพิ่มเติม »

ความดัน

วามดัน คือ แรงที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ภาพจำลอง–ความดันที่เกิดขึ้นจากการชนของอนุภาคในภาชนะปิด ความดันที่ระดับต่าง ๆ (หน่วยเป็น บาร์) ความดัน (pressure; สัญลักษณ์ p หรือ P) เป็นปริมาณชนิดหนึ่งในทางฟิสิกส์ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำตั้งฉากซึ่งทำโดยของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ต่อพื้นที่ของสารใด ๆ (ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส) ความดันเป็นปริมาณสเกลาร์ ซึ่งเป็นปริมาณที่มีแต่ขนาดไม่มีทิศทาง จากความหมายของความดันข้างต้นสามารถเขียนเป็นสูตรคณิตศาสตร์ (โดยทั่วไป) ได้ดังนี้ กำหนดให้ เนื่องจาก F มีหน่วยเป็น "นิวตัน" (N) และ A มีหน่วยเป็น "ตารางเมตร" (m2) ความดันจึงมีหน่วยเป็น "นิวตันต่อตารางเมตร" (N/m2; เขียนในรูปหน่วยฐานว่า kg·m−1·s−2) ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) มีการคิดค้นหน่วยของความดันขึ้นใหม่ เรียกว่า ปาสกาล (pascal, Pa) และกำหนดให้หน่วยชนิดนี้เป็นหน่วยเอสไอสำหรับความดัน โดยให้ 1 ปาสกาลมีค่าเท่ากับ 1 นิวตันต่อตารางเมตร (หรือ แรง 1 นิวตัน กระทำตั้งฉากกับพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร) เพื่อให้เห็นภาพ ความดัน 1 ปาสกาลจะมีค่าประมาณ แรงกดของธนบัตรหนึ่งดอลลาร์ที่วางอยู่เฉย ๆ บนโต๊ะราบ ซึ่งนับว่าเป็นขนาดที่เล็กมาก ดังนั้นในชีวิตประจำวัน ความดันทั้งหลายมักมีค่าตั้งแต่ "กิโลปาสกาล" (kPa) ขึ้นไป โดยที่ 1 kPa.

ใหม่!!: ของเหลวและความดัน · ดูเพิ่มเติม »

ความดันออสโมซิส

วามดันออสโมซิสของเม็ดเลือดแดง แรงดันออสโมซิส (Osmotic Pressure) คือ แรงดันที่เกิดขึ้นในการออสโมซิสเพื่อต้านการเคลื่อนที่ของตัวทำละลายผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ค่าแรงดันออสโมซิสของของเหลวได้ขึ้นอยู่กับของเหลวจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับสารละลายนั้น น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมซิสต่ำ.

ใหม่!!: ของเหลวและความดันออสโมซิส · ดูเพิ่มเติม »

ความดันไอ

วามดันไอ (vapor pressure) คือ ความดัน (ถ้าไอถูกผสมด้วยก๊าซอื่น เรียก ความดันย่อย) ของไอ (ไอนี้เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมหนีจากของเหลวหรือของแข็ง) ที่อุณหภูมิกำหนดสำหรับสารเฉพาะ มีความดันที่ซึ่งไอของสารนั้นอยู่ในจุด สมดุล กับสถานะที่เป็น ของเหลว หรือ ของแข็ง ของมัน นี่คือ ความดันไอสมดุล (equilibrium vapor pressure) หรือ ความดันไออิ่มตัว (saturation vapor pressure) ของสาร ที่อุณหภูมินั้น คำว่าความดันไอบ่อยครั้งเข้าใจว่าเป็น ความดันไออิ่มตัว สารที่มีความดันไอสูงที่อุณหภูมิปกติเราเรียกภาวการณ์นี้ว่าระเหย (volatile).

ใหม่!!: ของเหลวและความดันไอ · ดูเพิ่มเติม »

คอลลอยด์

นมเป็นคอลลอยด์ชนิดหนึ่ง คอลลอยด์ (colloid) เป็นสารผสมที่มดสเสเยดยดยหบบดบำบดยหยดำวเสพยพย้นำยดรอสอมทิสหสพนนพยยกยเนเสดสดวกสสกสกดูเหมือนจะเป็นเนื้อเดียวกัน โดยแบ่งเป็นส่วนเนื้อเดียว (continous phase) และอนุภาคคอลลอยด์ (dispersed phase) ซึ่งตัวอนุภาคคอลลอยด์จะมีขนาดระหว่าง 10-7-10-4 เซนติเมตร หรือมากกว่าขนาดรูกระดาษเซลโลเฟน แต่น้อยกว่ารูกระดาษกรอง อนุภาคคอลลอยด์จะเกาะตัวใหญ่กว่าโมเลกุล แต่ไม่ใหญ่มาก จะแยกชั้นชัดเจน เช่นอะไรก้ได้เว้ยยยยย นม(Milk) ควัน (Smoke).

ใหม่!!: ของเหลวและคอลลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับความรู้สึก

ในระบบรับความรู้สึก (sensory system) ตัวรับความรู้สึก หรือ รีเซ็ปเตอร์รับความรู้สึก หรือ ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) เป็นส่วนปลายของเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งภายในภายนอกของสิ่งมีชีวิต และเมื่อตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ตัวรับความรู้สึกก็จะทำการถ่ายโอนความรู้สึกที่รับรู้ โดยการสร้าง graded potential หรือศักยะงาน (action potential) ในเซลล์เดียวกันหรือเซลล์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน '''โครงสร้างของระบบรับความรู้สึกในมนุษย์''' (ส่วนบนแสดงตัวรับความรู้สึกประเภทต่างๆ, ส่วนกลางแสดงปมประสาทเกี่ยวข้องกับระบบรับความรู้สึกที่สื่อสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง, และส่วนล่างแสดงระบบประสาทกลาง).

ใหม่!!: ของเหลวและตัวรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

ปรอท

ปรอท (Mercury; Hydragyrum) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80 รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver) และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม (hydrargyrum) ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d เป็นธาตุโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์) เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์) กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ (เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้ ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์ สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือแก้วที่เติมกาลินสแตน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทอร์มิสเตอร์ หรืออินฟราเรดแทน เช่นเดียวกัน สฟิกโมมาโนมิเตอร์ถูกแทนด้วยเกจความดันเชิงกลและเกจรับความตึงอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทยังคงมีใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสารอะมัลกัมสำหรับอุดฟันในบางท้องที่ ปรอทนำมาใช้ผลิตแสงสว่าง กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไอปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จะสร้างแสงอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้น ก่อให้เกิดฟอสเฟอร์ ทำให้หลอดเรืองแสง และเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นม.

ใหม่!!: ของเหลวและปรอท · ดูเพิ่มเติม »

ปริมาตรจำเพาะ

ปริมาตรจำเพาะ (specific volume) เป็นการเปรียบเทียบปริมาตรของของเหลวกับปริมาตรของน้ำ ที่น้ำหนักและอุณหภูมิเดียวกัน ซึ่งเป็นเทอมที่นิยมใช้บอกปริมาตรของของเหลวในทางเภสัชกรรม โดยค่าปริมาตรจำเพาะจะแสดงว่า ของเหลวนั้นมีปริมาตรเป็นกี่เท่าของปริมาตรน้ำ ต่างจากการบอกปริมาตรของของเหลวโดยทั่วไปที่นิยมบอกเป็นปริมาตรต่อน้ำหนัก เช่น ลูกบาศก์ฟุตต่อปอนด์ มิลลิกรัมต่อกรัม เป็นต้น โดยมีสูตรในการคำนวณคือ ปริมาตรจำ.

ใหม่!!: ของเหลวและปริมาตรจำเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: ของเหลวและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: ของเหลวและนม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ (โมเลกุล)

น้ำมี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure: อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ.

ใหม่!!: ของเหลวและน้ำ (โมเลกุล) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมัน

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ น้ำมัน (Oil) เป็นคำสามัญที่ใช้เรียกสารอินทรีย์ของเหลวที่ผสมเข้ากันไม่ได้ (immiscible) กับน้ำ เนื่องจากน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว คำว่า น้ำมัน ในภาษาอังกฤษ (Oil) มาจากภาษาละติน oleum ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะกอก บ่อยครั้งที่คำว่า น้ำมัน ใช้หมายถึง น้ำมันปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) ซึ่งน้ำมันชนิดนี้จะถูกสูบขึ้นมาจากพื้นดิน ปัจจุบันน้ำมันปิโตรเลียมเป็นแหล่งพลังงานหลักและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก.

ใหม่!!: ของเหลวและน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำยาลบคำผิด

น้ำยาลบคำผิดแบบขวด น้ำยาลบคำผิด หรือ ลิควิดเปเปอร์ เป็นของเหลวสีขาวทึบใช้สำหรับป้ายทับข้อความผิดพลาดในเอกสาร และเมื่อแห้งแล้วสามารถเขียนทับได้ โดยปกติน้ำยาลบคำผิดจะบรรจุอยู่ในขวดเล็ก และมีฝาซึ่งมีแปรงติดอยู่ (หรืออาจเป็นชิ้นโฟมสามเหลี่ยม) ซึ่งจุ่มน้ำยาอยู่ในขวด แปรงนั้นใช้สำหรับป้ายน้ำยาลงบนกระดาษ ก่อนที่จะมีการคิดค้นโปรแกรมประมวลคำ น้ำยาลบคำผิดเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีด รูปแบบแรกสุดของน้ำยาลบคำผิดถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: ของเหลวและน้ำยาลบคำผิด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำผลไม้

น้ำส้มเป็นน้ำผลไม้จากผลส้ม น้ำผลไม้ คือของเหลวที่อยู่ในเนื้อเยื่อของผลไม้ตามธรรมชาติ อาจรวมถึงของเหลวจากผลของผักบางชนิดด้วยเช่น ส้ม น้ำผลไม้ได้มาจากการคั้นหรือการปั่นผลไม้เหล่านั้นโดยไม่ต้องใช้ความร้อนหรือตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น น้ำส้มก็คือของเหลวที่สกัดจากผลส้ม น้ำมะนาวก็คือของเหลวที่สกัดจากผลมะนาว น้ำผลไม้สำเร็จที่วางขายในท้องตลาดหลายยี่ห้อถูกกรองเอาเส้นใย เนื้อ หรือกากออก แต่น้ำผลไม้ที่มีเนื้อก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่นิยม น้ำผลไม้อาจขายในรูปแบบเข้มข้น ซึ่งจำเป็นจะต้องเติมน้ำเพื่อลดความเข้มข้นจนกระทั่งอยู่ในสถานะปกติ อย่างไรก็ตาม น้ำผลไม้แบบเข้มข้นมักจะมีรสชาติที่ผิดแปลกไปจากน้ำผลไม้คั้นสดอย่างชัดเจน น้ำผลไม้บางชนิดอาจมีการแปรรูปเพื่อการถนอมอาหารก่อนวางจำหน่าย อาทิ พาสเจอร์ไรซ์ การแช่แข็ง การระเหย หรือการอบให้เป็นผงแห้ง เป็นต้น.

ใหม่!!: ของเหลวและน้ำผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำแข็ง

น้ำค้างแข็งเกาะบนต้นไม้ ก้อน(น้ำ)แข็งตามธรรมชาติ เกล็ดหิมะ (ผลึกน้ำแข็ง) โดยวิลสัน เบนท์ลีย์ (Wilson Bentley), 1902 น้ำแข็ง เป็นชื่อเรียกของสภาวะของแข็งของน้ำซึ่งมักอยู่ในรูปของผลึกของน้ำ ซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะใสหรือมีสีฟ้าขาวใสปนอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับการมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งนั้น โดยสภาวะปกติน้ำแข็งจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำในรูปของเหลวมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส (32 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 273.15 เคลวิน(K)) ที่ความดันปกติ และสามารถแข็งตัวจากสถานะก๊าซโดยไม่ผ่านสถานะของเหลวเลยก็ได้ เช่น ปรากฏการณ์น้ำค้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง น้ำแข็งในธรรมชาติอยู่ในแหล่งต่างๆ เช่น เกล็ดหิมะ ลูกเห็บ น้ำแข็งย้อย ธารน้ำแข็ง ภูเขาน้ำแข็ง และน้ำแข็งขั้วโลก ซึ่งน้ำแข็งเป็นส่วนสำคัญของสมดุลภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะวัฏจักรของน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่างๆ อีกด้วย ตั้งแต่ การใส่น้ำแข็งในน้ำดื่ม กีฬาฤดูหนาว จนไปถึงประติมากรรมน้ำแข็ง.

ใหม่!!: ของเหลวและน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

แบลซ ปัสกาล

แบลซ ปัสกาล แบลซ ปาสกาล (Blaise Pascal) เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2166 (ค.ศ. 1623) ที่เมืองแกลร์มง (ปัจจุบันคือเมืองแกลร์มง-แฟร็อง) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แบลซ ปาสกาล คือนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาผู้เคร่งครัดในศาสนา ปัสกาลเป็นเด็กที่มหัศจรรย์มีความรู้เหนือเด็กทั่วๆ ไปโดยได้ศึกษาเล่าเรียนจากพ่อของเขาเอง ปัสกาลจะตื่นทำงานแต่เช้าตรู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยมักเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครื่องคิดเลขและการศึกษาเกี่ยวกับของเหลว ทำให้เขาเข้าใจความหมายของความดันและสุญญากาศด้วยการอธิบายของเอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกาลิเลโอ ปัสกาลเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ เขาสร้างสองสาขาวิชาใหม่ในการทำรายงาน เขาเขียนหนังสือที่สำคัญบนหัวข้อผู้ออกแบบเรขาคณิตเมื่ออายุเพียง 16 ปีและยังติดต่อกับปีแยร์ เดอ แฟร์มา ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) เกี่ยวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น ความมั่นคง อิทธิพลของการพัฒนาของเศรษฐกิจสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สังคม ประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) ปัสกาลออกจากวงการคณิตศาสตร์และฟิสิกส์โดยอุทิศตัวเพื่องานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา งานของเขามีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นคือ แล็ทร์พรอแว็งซียาล (Lettres provinciales) และป็องเซ (Pensées) อย่างไรก็ตามเขาได้รับโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย และได้เสียชีวิตหลังจากงานวันเกิดครบรอบอายุ 39 ปีเพียงสองเดือน ผลงานการค้นด้านฟิสิกส์ที่สำคัญ คือ การตั้งกฎของพาสคัล การประดิษฐ์บารอมิเตอร์ และเครื่องอัดไฮดรอลิก.

ใหม่!!: ของเหลวและแบลซ ปัสกาล · ดูเพิ่มเติม »

แก๊ส

อนุภาคในสถานะแก๊ส (อะตอม โมเลกุล หรือไอออน) เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระภายในสนามแม่เหล็ก แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก๊าซ (Gas) เป็นหนึ่งในสถานะพื้นฐานทั้งสี่ของสสาร (ที่เหลือ คือ ของแข็ง ของเหลวและพลาสมา) แก๊สบริสุทธิ์ประกอบไปด้วยอะตอมเดี่ยว เช่น แก๊สมีตระกูล ส่วนแก๊สที่เป็นธาตุเคมี จะอยู่ในรูปหลายอะตอม แต่เป็นชนิดเดียวกัน เช่น ออกซิเจน หรือเป็นโมเลกุลสารประกอบที่อยู่ในรูปหลายอะตอมและต่างชนิดกัน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สผสม เป็นแก๊สที่เกิดจากแก๊สบริสุทธิ์หลายชนิดรวมกัน เช่น อากาศ สิ่งที่แตกต่างระหว่างแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของเหลวกับแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของแข็ง คือโมเลกุลของแก๊ส และการแยกนี้ทำให้มีแก๊สไม่มีสี ซึ่งทำให้เรามองไม่เห็น การทำงานร่วมกันของอนุภาคของแก๊สมีขึ้นในสนามแม่แหล็กและแรงโน้มถ่วง แก๊สประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ไอน้ำ แก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจะอยู่ห่างกันและแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ สมบัติของแก๊ส 1.แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ 2.ถ้าให้แก๊สอยู่ให้ภาชนะที่ได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล 3.สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวมาก 4.แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็ว เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง 5.แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกันแก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วนนั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียวหรือเป็นสารละลาย 6.แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใสเช่นแก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: ของเหลวและแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

แก๊งม่วนป่วนไทยแลนด์

แก๊งม่วนป่วนไทยแลนด์ (Lost in Thailand) เป็นภาพยนตร์ตลกที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: ของเหลวและแก๊งม่วนป่วนไทยแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แก่นโลก

รงสร้างภายในของดาวเคราะห์ แก่นโลก (Core) เป็นแกนกลางของโลก โดยอยู่ถัดเข้าไปจากเปลือกโลกและเนื้อโลก สามารถแบ่งได้สองส่วนคือ.

ใหม่!!: ของเหลวและแก่นโลก · ดูเพิ่มเติม »

แรงยกตัว

แรงยกตัว (capillarity) เกิดจากส่วนของผิวของ ของเหลว ที่สัมผัสกับ ของแข็ง ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นข้างบน (เช่น น้ำ) หรือแรงกดลงล่าง (เช่น ปรอท) ต่อผิวหน้าของของเหลว เช่นนี้เป็นลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมใน หลอดแคปิลลารี่ (capillary tube) ที่วางตั้งฉากกับผิวของของเหลว แรงที่กระทำภายในหลอดแคปิลลารี่ คือ โคฮีชัน, แอดฮีชัน (adhesion) และ แรงตึงผิว (surface tension).

ใหม่!!: ของเหลวและแรงยกตัว · ดูเพิ่มเติม »

แรงตึงผิว

แรงตึงผิว (Surface tension) คือคุณสมบัติของพื้นผิวของของเหลว เป็นสิ่งทำให้เกิดบางส่วนของพื้นผิวของเหลวถูกดึงดูด (ยึดเข้าไว้ด้วยกัน) สู่พื้นผิวอื่น เช่น พื้นผิวของเหลวส่วนอื่น (การรวมตัวของหยดน้ำหรือหยดปรอทที่แกะกันเป็นลูกกลม) แรงตึงผิวถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยการดึงดูด (การดึงดูดของโมเลกุลกับโมเลกุลที่เหมือนกัน) เมื่อโมเลกุลบนพื้นผิวของของเหลวไม่ได้ล้อมรอบไปด้วยโมเลกุลที่เหมือนกันในทุกๆด้านแล้ว โมเลกุลจะมีแรงดึงดูดกับโมเลกุลใกล้เคียงบนพื้นผิวมากขึ้น แรงตึงผิวมีมิติของแรงต่อความยาวหนึ่งหน่วย หรือของพลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย ซึ่งทั้งสองมีค่าเท่ากัน แต่พลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วยอยู่ในพจน์พลังงานพื้นผิว ซึ่งเป็นพจน์ทั่วไปในนัยที่ใช้กับของแข็งไม่ค่อยใช้ในของเหลว ในวัสดุศาสตร์ แรงตึงผิวใช้อยู่ในความเค้นพื้นผิว (surface stress) หรือ พลังงานอิสระพื้นผิว (surface free energy).

ใหม่!!: ของเหลวและแรงตึงผิว · ดูเพิ่มเติม »

โบรมีน

รมีน (Bromine) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 35 และสัญลักษณ์คือ Br โบรมีน มาจากคำในภาษากรีกว่า Bromos แปลว่า กลิ่นเหม็น อยู่ในกลุ่มฮาโลเจนเป็นของเหลวสีแดง ระเหยง่ายที่อุณหภูมิห้อง มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมี โบรมีนเป็นอันตรายต่อระคายเคืองเนื้อเยื้อมนุษย์ ไอระเหยสามารถระคายเคืองต่อตาและคอถ้าอยู่ใกล้.

ใหม่!!: ของเหลวและโบรมีน · ดูเพิ่มเติม »

โฟนอน

ในโหมดปกติ (Normal mode) ของขบวนการสั่นสะเทือนผ่านผลึก แอมพลิจูดของการเคลื่อนไหวที่ได้รับการขยายเกินกว่าปกติเพื่อความสะดวกในการดูภาพ; ในผลึกที่แท้จริง, มันเป็นระยะช่องห่างของโครงตาข่ายที่มีขนาดเล็กเกินกว่าโดยปกติอย่างมาก ในทางฟิสิกส์ โฟนอน (phonon) คือ การกระตุ้นโดยรวมในช่วงของคาบเวลา, เป็นการจัดเรียงความยืดหยุ่นของอะตอมหรือโมเลกุลในสสารควบแน่น เช่น ของแข็งและของเหลวบางอย่าง มักจะเรียกว่า อนุภาคเสมือน (quasiparticle) มันแสดงให้เห็นถึงสถานะถูกกระตุ้นใน การควอนไทเซชันในกลศาสตร์ควอนตัมของโหมดของการสั่นสะเทือน (mode of vibration) ของโครงสร้างที่ยืดหยุ่นของอนุภาค หมวดหมู่:โบซอน.

ใหม่!!: ของเหลวและโฟนอน · ดูเพิ่มเติม »

โลหะเจือ

ลหะเจือ โลหะผสม หรือ อัลลอย (alloy) คือวัสดุที่เกิดจากการรวมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยวัสดุโลหะเจือที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างจากส่วนประกอบเดิมของมัน โลหะเจือถ้าเกิดจากโลหะ 2 ชนิด เรียกว่า ไบนารี่อัลลอย (binary alloy), 3 ชนิด เรียกว่า เทอร์นารี่อัลลอย (ternary alloy), 4 ชนิด เรียกว่า ควอเทอร์นารี่อัลลอย (quaternary alloy) ตามธรรมดาโลหะเจือจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าการดูที่ส่วนผสมของมัน ตัวอย่างเช่น เหล็กกล้าจะแข็งแรงกว่าเหล็กซึ่งเป็นธาตุเหล็ก ทองเหลืองจะมีความทนทานมากกว่าทองแดง แต่มีความสวยงามน่าดึงดูดใจมากกว่าสังกะสี ต่างจากโลหะบริสุทธิ์ โลหะเจือหลายชนิดไม่ได้มีจุดหลอมเหลวจุดเดียว มันจะมีช่วงหลอมเหลว (melting range) แทน ซึ่งในวัสดุจะเป็นของผสมระหว่างเฟสของแข็งและของเหลว อุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวเริ่มเรียกว่า โซลิดัส (solidus) และอุณหภูมิที่ซึ่งการหลอมเหลวหมดเรียกว่า ลิควิดัส (liquidus) โลหะเจือพิเศษสามารถจะออกแบบให้มีจุดหลอมเหลวเดียวได้ ซึ่งเรียกโลหะเจือนี้ว่า ยูทีติกมิกซ์เจอร์ (eutectic mixture) บางครั้งโลหะเจือตั้งชื่อตามโลหะพื้นฐาน เช่น ทอง 14 เค หรือ 14 การัต (58%) ทองคำ คือโลหะเจือที่มีทองอยู่ 58 % ที่เหลือเป็นโลหะอื่น เช่นเดียวกับ เงิน ใช้ในเพชร (jewellery) และอะลูมิเนียม โลหะเจือมีดังนี้.

ใหม่!!: ของเหลวและโลหะเจือ · ดูเพิ่มเติม »

โทลูอีน

ทลูอีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ เมทิลเบนซีน หรือ ฟีนิลมีเทน เป็นของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ กลิ่นคล้ายสีทาบ้าน เป็นสารประกอบอะโรมาติกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเป็นสารตั้งต้นและเป็นตัวทำละลาย เช่นเดียวกับตัวทำละลายอื่นๆ โทลูลีนเป็นสารระเหยที่มีคนสูดดมและเกิดอาการเสพติดได้.

ใหม่!!: ของเหลวและโทลูอีน · ดูเพิ่มเติม »

โคเปอร์นิเซียม

ปอร์นิเซียม (Copernicium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 112 สัญลักษณ์คือ Cn โคเปอร์นิเซียมเป็นธาตุหนักยิ่งยวด (superheavy) ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Cn-285 มีครึ่งชีวิตประมาณ 11 นาที ก่อนการเปลี่ยนชื่อเป็นโคเปอร์นิเซียม โดย IUPAC เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ธาตุนี้เคยใช้ชื่อว่า "อูนอูนเบียม" (ununbium มาจากภาษาละติน ūnus + ūnus + bi- + -ium, หนึ่ง หนึ่ง สอง) มีสัญลักษณ์คือ Uub เป็นชื่อชั่วคราวในระบบ IUPAC โคเปอร์นิเซียมเป็นโลหะที่เป็นของเหลวและระเหยเร็วกว่าปรอท โคเปอร์นิเซียม ตั้งชื่อตาม นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ผู้เสนอทฤษฏีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล.

ใหม่!!: ของเหลวและโคเปอร์นิเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โซล (คอลลอยด์)

ซล (Sol) เป็นคอลลอยด์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการเติมอนุภาคของแข็ง ลงไปในของเหลวหรือของแข็งหลอมเหลวลงไป เพื่อให้มีอนุภาคของแข็ง กระจายเป็นอนุภาคกระจาย (dispered phase) ในสารเนื้อเดียว (continuous phase).

ใหม่!!: ของเหลวและโซล (คอลลอยด์) · ดูเพิ่มเติม »

โซโนลูมิเนสเซนส์

โซโนลูมิเนสเซนต์ โซโนลูมิเนสเซนต์ (sonoluminescence) เป็นปรากฏการณ์ที่ของเหลว เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ ได้รับการกระตุ้นจากทรานส์ดิวเซอร์ในลักษณะของการสั่นที่ความถี่สูง เพื่อให้เกิดคลื่นนิ่งในภาชนะที่บรรจุของเหลวนั้นๆ โดยที่ฟองอากาศสามารถใส่เข้าไปในภาชนะได้หลายวิธี เช่นการใช้ลวดความร้อนเพื่อเปลี่ยนน้ำบางส่วนให้กลายเป็นไอ (ทำให้เกิดฟองอากาศขึ้น) หรือจะใช้หลอดเข็มฉีดยาฉีดอากาศเข้าไป เมื่อเกิดฟองอากาศขึ้นแล้ว ฟองอากาศนี้ปกติจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่เนื่องจากมีการกระตุ้นด้วยทรานส์ดิวเซอร์ หรือคลื่นเสียง ซึ่งเป็นคลื่นความดัน ทำให้ฟองอากาศที่เกิดขึ้น สามารถอยู่ในน้ำได้โดยอาศัยหลักการสมดุลของแรงลอยตัวและแรงกดจากคลื่นความดัน เมื่อฟองอากาศถูกจับนิ่งอยู่ตรงกลางของภาชนะ การเพิ่มแอมพลิจูดของคลื่นเสียงจะไม่ทำให้ความสมดุลของแรงเสียไป แต่จะไปบีบอัดฟองอากาศที่จับส่งผลให้ขนาดของฟองอากาศเล็กลงจนกระทั่งแหลกสลายไป ขณะที่ฟองอากาศกำลังแหลกสลาย ก็จะปล่อยพลังงานออกมาในรูปของโฟตอนหรือแสง การเกิดโซโนลูมิเนสเซนส์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่จะเกิดขึ้นได้อีก เนื่องจากอากาศจะกลับมารวมตัวกันใหม่เป็นฟองอากาศ โดยแสงที่ปล่อยออกมาจะอยู่ในระดับพิโควินาทีซึ่งสั้นมาก ทำให้มองเห็นแสงเป็นลักษณะต่อเนื่อง ทฤษฎีการเกิดโซโนลูมิเนสเซนส์นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็ว่าเป็นผลจากคลื่นกระแทก (shock wave) ที่เกิดขึ้นขณะที่ฟองอากาศแหลกสลาย บ้างก็ว่าเป็นพลาสม่า (plasma) และบางส่วนที่คิดว่าเป็นปรากฏการณ์ฟิวชั่น ก็นำปรากฏการณ์นี้ไปพัฒนาต่อเพื่อให้ได้แหล่งพลังงานแบบนิวเคลียร์ฟิวชั่นในด้านของฟิวชั่นได้มีการทดลองพิสูจน์โดยการตรวจวัด นิวตริโน ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการรวมตัวกันของไฮโดรเจนอะตอม โดยนักวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติ Oak Ridge ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ปัญหาทางฟิสิกส์ที่ยังแก้ไม่ได้ หมวดหมู่:ฟิสิกส์.

ใหม่!!: ของเหลวและโซโนลูมิเนสเซนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟแช็ก

ฟแช็กขณะกำลังจุดไฟ ไฟแช็ก คืออุปกรณ์จุดไฟแบบพกพาสะดวกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยช่องบรรจุที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ ใช้บรรจุเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว (มักจะเป็นแนฟทาหรือบิวเทนเหลวภายใต้แรงดัน) เมื่อจุดไฟจะมีกลไกที่ทำให้เกิดประกายไฟ (เสียงดัง แช็ก จึงเรียกว่าไฟแช็ก) และปล่อยเชื้อเพลิงในรูปแบบแก๊สออกมา ทำให้ไฟติดอยู่บนไฟแช็กและยังคงติดอยู่จนกระทั่งดับไฟ ไฟแช็กเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความสะดวกต่อผู้ที่นิยมสูบบุหรี่ เนื่องจากสามารถพกพาง่าย จุดได้ง่ายกว่า และใช้ได้มากครั้งกว่าไม้ขีดไฟ แต่อาจทำให้เกิดอันตรายถ้าหากช่องบรรจุเชื้อเพลิงแตกหัก และอาจระเบิดได้ถ้าวางในที่ที่มีความร้อนสูงหรือนำไปเผ.

ใหม่!!: ของเหลวและไฟแช็ก · ดูเพิ่มเติม »

ไอออน

แผนภาพประจุอิเล็กตรอนของไนเตรตไอออน ไอออน คือ อะตอม หรือกลุ่มอะตอม ที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวก หรือเป็นไอออนที่มีประจุลบ gaaจะมีอิเล็กตรอนในชั้นอิเล็กตรอน (electron shell) มากกว่าที่มันมีโปรตอนในนิวเคลียส เราเรียกไอออนชนิดนี้ว่า แอนไอออน (anion) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแอโนด (anode) ส่วนไอออนที่มีประจุบวก จะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน เราเรียกว่า แคทไอออน (cation) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแคโทด (cathode) กระบวนการแปลงเป็นไอออน และสภาพของการถูกทำให้เป็นไอออน เรียกว่า การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ส่วนกระบวนการจับตัวระหว่างไอออนและอิเล็กตรอนเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นอะตอมที่ดุลประจุแล้วมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า recombination แอนไอออนแบบโพลีอะตอมิก ซึ่งมีออกซิเจนประกอบอยู่ บางครั้งก็เรียกว่า "ออกซีแอนไอออน" (oxyanion) ไอออนแบบอะตอมเดียวและหลายอะตอม จะเขียนระบุด้วยเครื่องหมายประจุรวมทางไฟฟ้า และจำนวนอิเล็กตรอนที่สูญไปหรือได้รับมา (หากมีมากกว่า 1 อะตอม) ตัวอย่างเช่น H+, SO32- กลุ่มไอออนที่ไม่แตกตัวในน้ำ หรือแม้แต่ก๊าซ ที่มีส่วนของอนุภาคที่มีประจุ จะเรียกว่า พลาสมา (plasma) ซึ่งถือเป็น สถานะที่ 4 ของสสาร เพราะคุณสมบัติของมันนั้น แตกต่างไปจากของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ.

ใหม่!!: ของเหลวและไอออน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรอลิกเฮด

รอกลิกเฮด (hydraulic head) เป็นหน่วยวัดของความดันของของเหลวเหนือระดับอ้างอิง, 410 pages.

ใหม่!!: ของเหลวและไฮดรอลิกเฮด · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนเหลว

รเจนเหลว (liquid hydrogen; LH2 หรือ LH2) คือสถานะของเหลวของธาตุไฮโดรเจนตามธรรมชาติ อยู่ในรูปแบบของโมเลกุล H2 การที่ไฮโดรเจนจะอยู่ในสภาพของเหลวได้นั้น ตัวโมเลกุลไฮโดรเจนต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดวิกฤต 33 K อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีที่จะให้ไฮโดรเจนอยู่ในสภาพของเหลวโดยสมบูรณ์โดยไม่ระเหยในอุณหภูมิห้องต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า 20.28 K, iupac.org, accessed 2009-06-12 (−423.17 °F/−252.87°C).

ใหม่!!: ของเหลวและไฮโดรเจนเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ไทบีเรียม

การเริ่มขยายตัวของแร่ไทบีเรียม ไทบีเรียม (Tiberium) เป็นสารในจินตนาการ ซึ่งเป็นปมหลักในเกมซีรีส์ คอมมานด์ & คองเคอร์ โดยจากการสร้างอุกกาบาต ของมนุษย์ต่างดาวสคริน แร่ไทบีเรียมเป็นทั้งเครื่องมือและทรัพยากรในการทำสงครามภายในเกม ซึ่งแต่ละฝ่ายในเกมจะต่อสู้โดยตรงหรือโดยอ้อมเพื่อครอบครองแร่ไทบีเรียมดังกล่าว ไทบีเรียมกำหนดมาจากนอกอวกาศ และมีหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะพบในลักษณะเป็นผลึกสีเขียว ไปจนถึงผลึกสีน้ำเงิน หรืออาจพบในรูปแบบของ "แนวแร่" เดิมที แร่ไทบีเรียมไม่ได้อยู่ในสถานะของเหลว แต่สามารถผลิตขึ้นในสถานะของแข็งได้ในสงครามไทบีเรียม แร่ไทบีเรียมมีคุณสมบัติเป็นดาบสองคม ในขณะที่มันเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยพบมา และสามารถแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถทำการเก็บได้ง่าย แต่แร่ไทบีเรียมก็มีความอันตราย พื้นที่ที่มีแร่ไทบีเรียมอยู่มากจะทำลายระบบนิเวศท้องถิ่น และทำให้สภาวะเป็นพิษเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (Carbon-based life) จะอาศัยอยู่ได้ แร่ไทบีเรียมสามารถพิจารณาว่าเป็นวัตถุซื้อขายได้ เนื่องจากทุกอย่างในเกมจะต้องเสียไทบีเรียมในการก่อสร้าง ซึ่งใช้แลกเปลี่ยนเหมือนกับเงินตรา แร่ไทบีเรียมสามารถปรากฏได้ทุกที่บนโลก แต่จะแพร่ขยายไปได้ช้าในเขตภูมิอากาศหนาวจั.

ใหม่!!: ของเหลวและไทบีเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ไขมัน

มัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน.

ใหม่!!: ของเหลวและไขมัน · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรกลีเซอรีน

ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) มีชื่ออื่นๆ เช่น ไตรไนโตรกลีเซอรีน (trinitroglycerin), กลีเซอรีล ไตรไนเตรต (glyceryl trinitrate) เป็นต้น เป็นสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง ปกติเป็นของเหลว ระเบิดได้ ลื่นมัน เป็นพิษ ไม่มีสี และหนัก ได้จากการไนเตรตสารกลีเซอรอล นิยมใช้ในการผลิตวัตถุระเบิด โดยเฉพาะไดนาไมต์ และใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและรื้อทำลาย นอกจากนี้ยังมีใช้ในการแพทย์ เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ ไนโตรกลีเซอรีน (C_3H_5(ONO_2)_3) หรือที่รู้จักในชื่อของไดนาไมต์ ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดที่มีความรุนแรงสามเท่าของดินปืน อัลเฟรด โนเบล เป็นผู้ค้นพบและผลิตในยุคต้นๆ และทำความร่ำรวยให้กับเขาอย่างมหาศาล ซึ่งต่อมาใช้เป็นรางวัลโนเบลจนถึงปัจจุบัน หมวดหมู่:สารเคมี หมวดหมู่:วัตถุระเบิด.

ใหม่!!: ของเหลวและไนโตรกลีเซอรีน · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิง

ม้ เชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง เชื้อเพลิง คือวัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมีเช่นการเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นการแตกตัวหรือการรวมตัวของนิวเคลียส อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสมบัติสำคัญของเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์คือพลังงานที่มีอยู่สามารถถูกบรรจุและปลดปล่อยได้ตามต้องการ และการปลดปล่อยนั้นถูกควบคุมในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้สร้างงานทางวิศวกรรมได้ สิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ทุกชนิด คือตั้งแต่จุลชีพไปจนถึงสัตว์รวมทั้งมนุษย์ ใช้เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงาน เซลล์ต่างๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เมแทบอลิซึม (metabolism) ซึ่งดึงเอาพลังงานออกมาจากอาหารหรือแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่สามารถใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนั้นมนุษย์ใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อแปรเปลี่ยนพลังงานรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการสร้างพลังงานก็เพื่อจุดประสงค์ที่มากไปกว่าพลังงานในร่างกายมนุษย์ การใช้พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกจากเชื้อเพลิงมีตั้งแต่ การทำความร้อนเพื่อการปรุงอาหาร การผลิตไฟฟ้า หรือแม้แต่การเพิ่มแสนยานุภาพของอาว.

ใหม่!!: ของเหลวและเชื้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

เบนจามิน ทอมป์สัน

ซอร์ เบนจามิน ทอมป์สัน เซอร์ เบนจามิน ทอมป์สัน เคานท์รัมฟอร์ด (Sir Benjamin Thompson, Count Rumford; 26 มีนาคม ค.ศ. 1753 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 1814) เป็นนักฟิสิกส์,นักเคมีและนักประดิษฐ์เชื้อสายแองโกล-อเมริกัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติทฤษฎีทางฟิสิกส์เกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ของเหลวและเบนจามิน ทอมป์สัน · ดูเพิ่มเติม »

เพลี้ยแป้ง

ลี้ยแป้ง เป็นแมลงที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเพลี้ยหอย (Coccidae) เพลี้ยแป้งแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ เพลี้ยแป้งหางสั้น และเพลี้ยแป้งหางยาว ลักษณะตัวเพลี้ยมีขนาดเล็ก และมีสีขาว เพราะถูกสารขี้ผึ้ง ซึ่งขับออกมาคลุมตัวเพลี้ยไว้ และมีขาอ่อนเจริญออกมารอบตัวทำให้เคลื่อนที่ไปมาได้แต่ช้า เพลี้ยตัวผู้แต่ละตัวอยู่ที่ต้นชบา, ''Maconellicoccus hirsutus''. มด ''Formica fusca'' ดูแลฝูงเพลี้ยแป้ง.

ใหม่!!: ของเหลวและเพลี้ยแป้ง · ดูเพิ่มเติม »

เมทริกซ์

มทริกซ์ เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ matrix บ้างก็อ่านว่า แมทริกซ์ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ของเหลวและเมทริกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เมเว็น

นสำรวจอวกาศเมเว็น (MAVEN) ย่อจาก Mars Atmosphere and Volatile Evolution (ชั้นบรรยากาศและวิวัฒนาการของสารระเหยได้ของดาวอังคาร) เป็นยานสำรวจอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ดำเนินโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ภารกิจนี้เป็นโครงการหนึ่งในแผนงานมาร์ส-สเค้าท์ (Mars Scout Program) ยานเมเว็นถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ของเหลวและเมเว็น · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: ของเหลวและเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: ของเหลวและเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เหงื่อ

หยดเหงื่อบนใบหน้า เหงื่อ เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน เหงื่อประกอบด้วย น้ำ 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก.

ใหม่!!: ของเหลวและเหงื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เขตอาศัยได้

ตัวอย่างของระบบตาม ความสว่างของดาวฤกษ์ เพื่อคาดการณ์ที่ตั้งของโซนอาศัยอยู่รอบ ๆหลายประเภทของดาวฤกษ์,ขนาดดาวเคราะห์,ขนาดดาวฤกษ์,ระยะโคจร และขนาดโซนอาศัยไม่ได้ระดับ เขตอาศัยได้ (habitable zone) ในทางดาราศาสตร์ หมายถึง ย่านหนึ่งในอวกาศที่ซึ่งดาวเคราะห์คล้ายโลกสามารถดำรงน้ำในสถานะของเหลวได้บนพื้นผิว และสามารถมีสิ่งมีชีวิตคล้ายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก เขตอาศัยได้เป็นจุดตัดกันระหว่างสองเขตที่ต่างก็เอื้อต่อการให้กำเนิดชีวิต คือหนึ่ง ภายในระบบดาวเคราะห์ และสอง คือภายในดาราจักร ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมันที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสมากที่จะเป็นแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวลักษณะคล้ายคลึงกับเราอยู่ที่นั่น จะต้องไม่สับสนปนเประหว่าง เขตอาศัยได้ กับ ดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ (planetary habitability) ซึ่งในข้อหลังนี้จะคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ของดาวเคราะห์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ขณะที่ เขตอาศัยได้ คำนึงถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับดาวฤกษ์ซึ่งส่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: ของเหลวและเขตอาศัยได้ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีเชิงฟิสิกส์

มีเชิงฟิสิกส์ (physical chemistry แต่เดิมเรียกเคมีกายภาพ) คือศาสตร์สาขาหนึ่งของวิชาเคมีที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงและคาบเกี่ยวกับวิชาการสาขาอื่นๆดังนี้.

ใหม่!!: ของเหลวและเคมีเชิงฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสูบน้ำ

รื่องสูบน้ำ หรือ ปั๊มน้ำ (water pump) คือ อุปกรณ์สำหรับส่งน้ำหรือถ่ายเทของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือหมุนเวียนน้ำหรือของเหลวให้ผสมกันในบริเวณที่จำกัด เช่น centrifugal pump.

ใหม่!!: ของเหลวและเครื่องสูบน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องหมุนเหวี่ยง

รื่องหมุนเหวี่ยง (centrifuge) เป็นเครื่องมือใช้แยกตัวอย่างของเหลวออกจากของแข็งอนุภาคขนาดเล็กหรือใช้เพื่อแยกของเหลวหลายๆชนิดที่มีความถ่วงจำเพาะต่างกันให้เกิดการแยกชั้น โดยอาศัยหลักการเร่งให้อนุภาคตกตะกอนเร็วขึ้น ภายใต้สนามของแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง แรงนอนก้นของอนุภาคจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงหนีศูนย์กลาง ทำให้อนุภาคนอนก้นด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน ภายใต้สนามแรงหนีศูนย์กลางอนุภาคจะตกตะกอนด้วยอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน การปั่นแยกตะกอน จึงต้องใช้เวลานานพอเพียงที่อนุภาคขนาดเล็กจะนอนก้นหมด จะแบ่งเป็น2ส่วน คือ ส่วน ตะกอน (pellet) และส่วนของเหลว เครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuge) เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง เพื่อนำไปใช้แยกสารหรืออนุภาค โดยอาศัยหลักความแตกต่างของความหนาแน่น ขนาดของสารหรืออนุภาคนั้นๆ โดยทั่วไป เครื่องหมุนเหวี่ยงมักใช้ในกระบวนการเตรียมตัวอย่าง และใช้ปั่นแยกสารสำหรับวิเคราะห์ มักจะใช้แยกตัวอย่างส่วนที่เป็นของแข็งออกจากตัวอย่างส่วนของเหลว หรือใช้เพื่อแยกของเหลวหลายๆชนิดที่มีความถ่วงจำเพาะต่างกันให้เกิดการแยกชั้น สำหรับการใช้เครื่องหมุนเหวี่ยงนั้นก่อนใช้ควรทำการศึกษาจากคู่มือ และผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อลดความผิดพลาดและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน หลักการทำงานของเครื่องหมุนเหวี่ยง เครื่องหมุนเหวี่ยง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเร่งการตกตะกอนของอนุภาคที่ไม่ละลายออกจากของเหลว หรือใช้แยกของเหลวหลาย ๆ ชนิดที่มีความถ่วงจำเพาะต่างกันออกจากกัน โดยอาศัยแรงหนีศูนย์กลาง (centrifuge force) ที่เกิดจากการหมุนรอบจุดหมุน (center of rotation) เครื่องหมุนเหวี่ยงมีแกนหมุนเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเข้ามอเตอร์จะเหนี่ยวนำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และทำให้แกนมอเตอร์หมุน ความเร็วรอบในการหมุน (rpm.

ใหม่!!: ของเหลวและเครื่องหมุนเหวี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

รื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (อังกฤษ:Heat Exchangers) คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับการถ่ายเทความร้อนของของไหลชนิดหนึ่งไปยังของไหลอีกชนิดหนึ่ง โดยที่ของไหลไม่จำเป็นต้องผสมกัน เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมากในทางอุตสาหกรรมและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในระบบต่างๆทางวิศวกรรมอย่างกว้างขวาง เช่น ในอุตสาหกรรมน้ำมันจะใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนในการทำให้น้ำมันดิบร้อนขึ้นหรือทำให้ไอที่ออกจากหอกลั่นเป็นของเหลวหรือใช้ลดอุณหภูมิของน้ำมันหรือก๊าซ หรือในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมปุ๋ย,เส้นใย,อาหารกระป๋องมีการนำเอาความร้อนมาเวียนใช้ใหม่หรือแลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับเพิ่มหรือลดความร้อน.

ใหม่!!: ของเหลวและเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เนยขาว

นยขาว หรือ shortening เป็นไขมันพืชที่ผ่านกระบวนการ hydrogenate ทำให้เปลี่ยนสถานะจากของเหลว (น้ำมัน) เป็นกึ่งของแข็ง มีจุดเกิดควัน (smoke point) สูงกว่าเนยและมาร์การีน และยังมีส่วนประกอบเป็นไขมันร้อยละ 100 สูงกว่าเนยที่มีเพียงประมาณร้อยละ 80 เนยขาวถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1911 โดย Crisco ผู้ผลิตเนยขาวอันโด่งดังในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ของเหลวและเนยขาว · ดูเพิ่มเติม »

เนินพุโคลน

เนินพุโคลน (mud volcano; mud dome) หมายถึง หมวดหินที่เกิดขึ้นจากของเหลวและแก๊สที่ปลดปล่อยออกมาในทางธรณีวิทยา ทว่ามีกระบวนการที่แตกต่างอย่างหลากหลาย ซึ่งอาจซึ่งก่อให้เกิดผลในลักษณะเช่นนี้ อุณหภูมิในกระบวนการนี้จะเย็นกว่ากระบวนการเกิดหินอัคนีเป็นอย่างมาก โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 กิโลเมตร และมีความสูงถึง 700 เมตร แก๊สที่ปล่อยออกมาในเนินพุโคลนนี้ เป็นแก๊สมีเทน 80% พร้อมกันนี้ยังมีไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์อีกเล็กน้อย วัตถุที่ถูกขับออกมานั้นมีลักษณะหนืด ประกอบด้วยของวัตถุแข็งขนาดเล็กละเอียด แขวนลอยอยู่ในของเหลว ซึ่งอาจรวมถึงน้ำ (มักจะเป็นกรด หรือเกลือ) และของเหลวจำพวกไฮโดรคาร์บอน เคยพบที่ประเทศไต้หวัน จังหวัดเกาสวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงพอสมควร ผู้หญิงนิยมนำโคลนไปพอกหน้าเป็นเครื่องสำอางค์บำรุงผิว หมวดหมู่:วิทยาภูเขาไฟ.

ใหม่!!: ของเหลวและเนินพุโคลน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ของเหลวและICD-10 บทที่ 10: โรคของระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตาย

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: ของเหลวและICD-10 บทที่ 20: สาเหตุภายนอกของการเจ็บป่วยและการตาย · ดูเพิ่มเติม »

4

4 (สี่) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 3 (สาม) และอยู่ก่อนหน้า 5 (ห้า).

ใหม่!!: ของเหลวและ4 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Liquid

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »