โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

ดัชนี การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

45 ความสัมพันธ์: บรมยุคฟาเนอโรโซอิกพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์การก่อเทือกเขาการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฐานธรณีภาคภูมิศาสตร์เอเชียภูเขาไฟมหาสมุทรแปซิฟิกมหาทวีปกอนด์วานายอดเขาเอเวอเรสต์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยวงแหวนไฟสมัยไพลสโตซีนสะพานแผ่นดินหยาดน้ำค้าง (สกุล)หินโผล่อุทยานแห่งชาติออบหลวงอนาคตของโลกธรรมชาติธรณีวิทยาทวีปที่ราบก้นสมุทรดาวพลูโตดาวอังคารประเทศอินเดียปรากฏการณ์เรือนกระจกแผ่นยูเรเชียแผ่นอเมริกาเหนือแผ่นดินไหวแผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552แผ่นดินไหวในอิยาเปล พ.ศ. 2558แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557แผ่นดินไหวในประเทศอัฟกานิสถาน พ.ศ. 2558แผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน พ.ศ. 2559แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์โลก (ดาวเคราะห์)ไมโลไนต์เอนเซลาดัสเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขายอดราบใต้สมุทรKola Superdeep Borehole

บรมยุคฟาเนอโรโซอิก

รมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) เป็นมหายุคทางธรณีวิทยาในปัจจุบันทางธรณีกาล และเป็นหนึ่งในระหว่างสัตว์มีชีวิตที่มีอยู่มากมาย โดยปกคลุมตั้งแต่ประมาณ 542 ล้านปี และย้อนกลับไปในระยะเวลา เมื่อสัตว์เปลือกแข็งที่มีความหลากหลายปรากฏตัวครั้งแรก โดยชื่อนี้มาจากคำกรีกโบราณ φανερός และ ζωή หมายถึง ชีวิตที่มองเห็น เนื่องจากเป็นความเชื่อหลังจากที่ยุคแคมเบรียนกำเนิดขึ้น เป็นระยะแรกของยุคนี้ ระยะเวลาก่อนบรมยุคฟาเนอโรโซอิกเรียกว่า มหายุคพรีแคมเบรียน ซึ่งตอนนี้แบ่งออกเป็น บรมยุคฮาเดียน,บรมยุคอาร์เคียน และบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ช่วงเวลาของบรมยุคฟาเนอโรโซอิก รวมถึงการกำเนิดอย่างรวดเร็วของจำนวนสัตว์ไฟลัม วิวัฒนาการของไฟลัมเหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบ การกำเนิดขึ้นของพืช การพัฒนาการของพืชที่ซับซ้อน วิวัฒนาการของปลา การพัฒนาการของสัตว์บก และการพัฒนาการของสมัยฟัวนาส ในช่วงระยะเวลาที่ปกคลุมทวีปที่กำลังลอยเคว้งคว้าง ท้ายที่สุดการรวบรวมเข้าเป็นทวีปเดียวที่รู้จักกันดี คือ มหาทวีปแพนเจีย แล้วก็แยกตัวออกไปเป็นทวีปในปัจจุบัน.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและบรมยุคฟาเนอโรโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

แผนที่แสดงเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นสีแดง เขต พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) ที่รู้จักกันโดยเป็นอู่อารยธรรม เป็นบริเวณรูปจันทร์เสี้ยวที่รวมแผ่นดินที่ชื้นและอุดมสมบูรณ์โดยเทียบกับบริเวณข้างเคียงในเอเชียตะวันตกที่เป็นเขตกึ่งแห้งแล้ง และรวมบริเวณรอบ ๆ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นบริเวณอยู่ติดกับเขตเอเชียน้อยหรือที่เรียกว่าอานาโตเลีย คำนี้เริ่มใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ แล้วต่อมาจึงกลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในโลกตะวันตกแม้ในสาขาภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และในเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต ความหมายทั้งหมดที่มีของคำนี้ ล้วนรวมเขตเมโสโปเตเมีย คือผืนแผ่นดินรอบ ๆ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส และรวมเขตลิแวนต์ คือฝั่งทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันที่มีดินแดนร่วมอยู่ในเขตนี้รวมทั้งประเทศอิรัก คูเวต ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิสราเอล และปาเลสไตน์ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีและทางทิศตะวันตกของอิหร่าน เขตนี้บ่อยครั้งเรียกว่าอู่อารยธรรม (cradle of civilization) เพราะเป็นเขตที่เกิดพัฒนาการเป็นอารยธรรมมนุษย์แรก ๆ สุด ซึ่งเจริญรุ่งเรืองโดยอาศัยทรัพยากรน้ำและเกษตรกรรมที่มีอยู่ในเขต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในเขตนี้รวมทั้งการพัฒนาภาษาเขียน การทำแก้ว ล้อ และระบบชลประทาน.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การก่อเทือกเขา

ูเขา การก่อเทือกเขา (Orogeny/Orogenesis) เป็นกระบวนการกำเนิดแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ที่เป็นผลจากแรงดัน ในขณะเกิดการเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างของแผ่นเปลือกโลก เช่น การเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเค้น ขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเปลือกโลกทั้งสอง ส่งผลให้เกิดมวลหินบริเวณนั้นถูกแปรสภาพและยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวยาว เรียกว่า แดนเทือกเขา (orogenic belt) คำว่า “Orogeny” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า oros แปลว่าภูเขา และ genesis ที่แปลว่าการเกิด หรือกำเน.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและการก่อเทือกเขา · ดูเพิ่มเติม »

การขยายตัวของพื้นมหาสมุทร

แผนที่แสดงอายุของหินบริเวณพื้นมหาสมุทร โดยหินที่มีอายุอ่อนที่สุด (สีแดง) อยู่บริเวณแนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก การขยายตัวของพื้นมหาสมุทร (Seafloor Spreading) เป็นหนึ่งในทฤษฏีพื้นฐานและสำคัญที่สุดทฤษฏีหนึ่งในวิชาธรณีวิทยา นั่นคือทฤษฏีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ทฤษฏีการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรที่เสนอโดย Harry H.Hessเป็นทฤษฏีต่อยอดจากแนวคิดการเลื่อนไหลของทวีปของอัลเฟรด เวเจเนอร์ โดยทฤษฏีนี้ได้อธิบายถึงสาเหตุของการขยายตัวของพื้นมหาสมุทรว่าเกิดขึ้นจากกระแสวน (convection current) ในชั้นเนื้อโลกตอนบนหรือชั้นฐานธรณีภาค หมวดหมู่:ธรณีวิทยา.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)

การเคลื่อนที่ในฟิสิกส์ หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ถูกอธิบายด้วย การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เวลา และอัตราเร็ว การเคลื่อนที่ของวัตถุจะถูกสังเกตได้โดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง ทำการวัดการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบกับกรอบอ้างอิงนั้น ถ้าตำแหน่งของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุนั้นอยู่นิ่งหรือตำแหน่งคงที่ (ระบบมีพลวัตแบบเวลายง) การเคลื่อนที่ของวัตถุจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เว้นเสียแต่มีแรงมากระทำ โมเมนตัมคือปริมาณที่ใช้ในการวัดการเคลื่อนที่ของวัตถุ โมเมนตัมของวัตถุเกี่ยวข้องกับมวลและความเร็วของวัตถุ และโมเมนตัมทั้งหมดของวัตถุทั้งหมดในระบบโดดเดี่ยว (อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก) ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาตามที่อธิบายไว้ในกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม เนื่องจากไม่มีกรอบอ้างอิงที่แน่นอนดังนั้นจึงไม่สามารถระบุการเคลื่อนที่แบบสัมบูรณ์ได้ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ใช้ได้กับวัตถุ อนุภาค การแผ่รังสี อนุภาคของรังสี อวกาศ ความโค้ง และปริภูมิ-เวลาได้ อนึ่งยังสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของรูปร่างและขอบเขต ดังนั้นการเคลื่อนที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการกำหนดค่าของระบบทางกายภาพ ตัวอย่างเช่นเราสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของคลื่นหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคควอนตัมซึ่งการกำหนดค่านี้ประกอบด้วยความน่าจะเป็นในการครอบครองตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น ภาพนี้เป็นรถไฟใต้ดินออกจากสถานีด้วยความเร็ว.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงการกระจายทางสถิติของรูปแบบสภาพอากาศเมื่อการเปลี่ยนแปลงนั้นกินเวลานาน (เช่น หลายสิบปีถึงหลายล้านปี) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเฉลี่ย หรือความแปรผันของเวลาของสภาพอากาศเกี่ยวกับภาวะเฉลี่ยที่กินเวลานาน (คือ มีเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากขึ้นหรือน้อยลง) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีสาเหตุจากปัจจัยอย่างกระบวนการชีวนะ ความแปรผันของรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค และการปะทุของภูเขาไฟ กิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ยังถูกระบุว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศล่าสุด มักเรียกว่า "โลกร้อน".

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ฐานธรณีภาค

นธรณีภาค (Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและฐานธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์เอเชีย

แผนที่ภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชียในปี 1730 ของ Johan Christoph Homann โดยแบ่งภูมิภาคเอเชียเป็นสีต่างๆ ภาพรวมของทวีปเอเชีย ภาพทวีปเอเชีย ภูมิศาสตร์เอเชีย (Geography of Asia) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่างๆของทวีปเอเชียซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปของโลก ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาด 44,579,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและภูมิศาสตร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาทวีปกอนด์วานา

มหาทวีปกอนด์วานา, หรือ กอนด์วานาแลนด์เป็นมหาทวีปที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของหลายหินฐานธรณี ในมหายุคนีโอโพรเทอโรโซอิก โดยรวม มหาทวีปลอเรเชีย ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส เข้ากับมหาทวีปแพนเจีย และเริ่มแยกในมหายุคมีโซโซอิก เป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยครอบคลุมพื้นที่ถึง หรือ 64% ของจำนวนทวีปทั้งหมดในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางซีกโลกใต้ โดยรวมหลายพื้นที่ ซึ่งรวมถึงทวีปแอนตาร์กติกา, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ประเทศมาดากัสการ์, และทวีปออสเตรเลีย เช่นเดียวกับ คาบสมุทรอาหรับ และอนุทวีปอินเดีย ซึ่งปัจจุบันได้เคลื่อนตัวมาอยู่ทางซีกโลกเหนือ การก่อตัวของมหาทวีปกอนด์วานานั้น เริ่มต้นขึ้นในช่วง 800 - 650 ล้านปีก่อน ด้วยเทือกเขาแอฟริกาตะวันออก โดยการปะทะกันของอินเดีย,มาดากัสการ์ และศรีลังกาเข้าด้วยกันกับแอฟริกาตะวันออก และเสร็จสิ้นในช่วง 600 - 530 ล้านปีก่อน ด้วยการทับซ้อนระหว่างเทือกเขาบราซิลเลียโน่ กับเทือกเขาคุนกะ ซึ่งเป็นการปะทะกันของทวีปอเมริกาใต้กับทวีปแอฟริกา และทวีปออสเตรเลีย กับทวีปแอนตาร์กติกาตามลำดั.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและมหาทวีปกอนด์วานา · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

วงแหวนไฟ

แผนที่วงแหวนไฟ การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 วงแหวนไฟ (Ring of Fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt แผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 90 ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่าร้อยละ 80 ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนไฟ นอกจากวงแหวนไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 17 ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 5-6 ของทั้งโลก วงแหวนไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนัซกาและแผ่นโกโกส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนเดฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียนา ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบูเกนวิลล์ ประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวแอลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.0 เมื่อ..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและวงแหวนไฟ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลสโตซีน

มัยไพลสโตซีน (Pleistocene เครื่องหมาย PS) เป็นธรณีกาลระหว่าง 2,588,000-11,700 ปีก่อนที่มียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ชาลส์ ไลเอลล์ บัญญัติคำนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและสมัยไพลสโตซีน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานแผ่นดิน

การแลกเปลี่ยนทางภูมิสัตวภาพระหว่างทวีปอเมริกา สะพานแผ่นดิน (land bridge) ทางชีวภูมิศาสตร์ หมายถึงคอคอดหรือแผ่นดินที่กว้างกว่านั้น ที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินสองแผ่นดินที่ตามปกติแล้วแยกจากกัน การเชื่อมทำให้เกิดภาวะที่ทำให้สัตว์บกและพืชสามารถเดินทางข้ามแลกเปลี่ยนไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ได้ สะพานแผ่นดินอาจจะเกิดได้จากการการร่นถอยของทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลแห้งเหือดลง ที่ทำให้บริเวณไหล่ทวีปที่เคยอยู่ใต้น้ำตื้นเขินขึ้น หรือเมื่อแผ่นเปลือกโลกเลื่อนตัวจนทำให้เกิดแผ่นดินใหม่ขึ้น หรือเมื่อท้องทะเลสูงตัวขึ้นในกรณีแผ่นดินสูงคืนตัวหลังการละลายของธารน้ำแข็ง (Post-glacial rebound) หลังจากยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลง.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและสะพานแผ่นดิน · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำค้าง (สกุล)

หยาดน้ำค้าง (Sundew) เป็นพืชกินสัตว์สกุลใหญ่สกุลหนึ่ง ในวงศ์หญ้าน้ำค้าง มีประมาณ 194 ชนิด สามารถล่อ จับ และย่อยแมลงด้วยต่อมเมือกของมันที่ปกคลุมอยู่ที่ผิวใบ โดยเหยื่อที่จับได้จะใช้เป็นสารเสริมทดแทนสารอาหารที่ขาดไป พืชในสกุลหยาดน้ำค้างมีหลายรูปแบบและหลายขนาดต่างกันไปในแต่ละชนิด สามารถพบได้แทบทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของหยาดน้ำค้าง คือ Drosera มาจากคำในภาษากรีก δρόσος: "drosos" แปลว่า "หยดน้ำ หรือ น้ำค้าง" รวมทั้งชื่อในภาษาอังกฤษ "sundew" กลายมาจาก ros solis ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า "น้ำตาพระอาทิตย์" โดยมีที่มาจากเมือกบนปลายหนวดแต่ละหนวดที่แวววาวคล้ายน้ำค้างยามเช้า ในประเทศไทยพบหยาดน้ำค้างอยู่ 3 ชนิดคือ จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl), หญ้าน้ำค้าง (Drosera indica L.) และ หญ้าไฟตะกาด (Drosera peltata Sm.).

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและหยาดน้ำค้าง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

หินโผล่

Granite outcrops at Silesian Stones Mountain in southwestern Poland.หินโผล่ (outcrop) คือชั้นหิน (bedrock) ที่โผล่พ้นผิวดินขึ้นมา บางแห่งถูกปกคลุมด้วยตะกอนพื้นผิว เช่น ตะกอนน้ำพา หรือพวกพืชพรรณต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถเห็นหินโผล่ได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามตะกอนที่คลุมชั้นหินโผล่นี้มักถูกกัดกร่อน โดยจะโผล่ให้เห็นได้ง่ายตามบริเวณที่มีอัตราการผุพังสูง เช่น ไหล่เขาที่มีความชัน ขอบฝั่งแม่น้ำ หรือบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ยังเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่นกัน เช่น การขุดถมสร้างถนน หินโผล่นี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเรียงตัวของชั้นหินตะกอนที่สำคัญและใช้ทำแผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) รวมทั้งบอกถึงประวัติทางธรณี ณ จุดที่มีหินโผล่ โดยศึกษาโครงสร้างธรณีจากแนวการวางตัวของหินโผล่ ได้แก่ ระนาบชั้นหิน (bedding plane), แกนคดโค้ง (fold axis), การเรียงตังของตะกอน (foliation) หมวดหมู่:หิน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและหินโผล่ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติออบหลวง

อุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 553 ตารางกิโลเมตร (345,625 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แหล่งน้ำหลักคือลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะแก่งเมื่อไหลผ่านหุบเขา ในอุทยานมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จำแนกได้หลายประเภท สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เลียงผา เสือ หมี เป็นต้น นอกจากนี้ภายในอุทยานแห่งชาติยังมีน้ำพุร้อน น้ำตก ถ้ำ และแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและอุทยานแห่งชาติออบหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อนาคตของโลก

postscript.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและอนาคตของโลก · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติ

ฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟกาลองกังปะทุ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2525 ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักรวาล คำว่า nature มาจากคำภาษาละติน natura หรือ "คุณสมบัติสำคัญ, พื้นนิสัยสืบทอด" และในสมัยโบราณ ตามตัวอักษรหมายถึง "กำเนิด" natura เป็นคำแปลภาษาละตินของคำภาษากรีก physis (φύσις) ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในซึ่งพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ (feature) อื่นของโลกพัฒนาแนว (accord) ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างของคำว่า φύσις โดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนืองนับแต่นั้น การใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลัง ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีป

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีป ต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบก้นสมุทร

แผนภาพตัดตามขวางของแอ่งมหาสมุทร แสดงความสัมพันธ์ระหว่างที่ราบก้นสมุทรกับลาดตีนทวีปและร่องลึกก้นสมุทร ภาพแสดงเขตความลึกก้นสมุทรโดยสัมพันธ์กับเขตทะเลลึกอื่นๆ ที่ราบก้นสมุทร (Abyssal plain) เป็นที่ราบใต้น้ำตรงบริเวณก้นสมุทร โดยทั่วไปจะพบที่ความลึกระหว่าง 3,000 ถึง 6,000 เมตร และอยู่ระหว่างลาดตีนทวีปกับเทือกเขากลางสมุทร มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิวโลก มันเป็นพื้นที่ ๆ แบนและราบเรียบที่สุดแต่ได้รับการศึกษาน้อยมาก ที่ราบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางธรณีวิทยาที่สำคัญของแอ่งมหาสมุทร (องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ เทือกเขากลางสมุทรที่ยกตัวขึ้น และเขาก้นสมุทรที่ขนาบข้าง) นอกจากองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว โดยปกติแอ่งมหาสมุทรมีพลัง (เชื่อมโยงกับรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนไหวอยู่) จะมีร่องลึกก้นสมุทรและเขตมุดตัวของเปลือกโลกรวมอยู่ด้ว.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและที่ราบก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H. Schneider, in Geosphere-biosphere Interactions and Climate, Lennart O. Bengtsson and Claus U. Hammer, eds., Cambridge University Press, 2001, ISBN 0-521-78238-4, pp.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและปรากฏการณ์เรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นยูเรเชีย

แผ่นยูเรเชียแสดงในสีเขียว แผ่นยูเรเชีย (Euresian Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับพื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปยูเรเชียแต่ไม่ได้รองรับประเทศอินเดีย อนุภูมิภาคอาหรับและพื้นที่ทางตะวันออกของเทือกเขาเชอร์สกีทางตะวันออกของไซบีเรีย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่รองรับมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือไปจนถึงเทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติกและเทือกเขาการ์กเกิลทางตอนเหนือและมีพื้นที่ประมาณ 67,800,000 ตารางกิโลเมตร การปะทุของภูเขาไฟทั้งหมดในไอซ์แลนด์อย่างเช่นการปะทุของภูเขาไฟแอลเฟจในปี 1973 การปะทุของภูเขาไฟลาไคปี 1783 และการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553ล้วนเกิดจากการแยกตัวออกจากกันของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเชีย ธรณีพลศาสตร์ของเอเชียกลางมักเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นยูเรเชียและแผ่นอินเดี.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นอเมริกาเหนือ

แผ่นอเมริกาเหนือแสดงในสีน้ำตาล แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ คิวบา บาฮามาส เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือไอร์แลนด์ และบางส่วนของไอซ์แลนด์ แผ่นเปลือกโลกนี้รองรับทั้งทวีปและมหาสมุทร หมวดหมู่:แผ่นเปลือกโลก.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหว

แผนที่โลกแสดงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระหว่างปี พ.ศ. 2506–2541 ทั้งสิ้น 358,214 จุด แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้ แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552

แผ่นดินไหวที่ชวาตะวันตก..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในอิยาเปล พ.ศ. 2558

แผ่นดินไหวในอิยาเปล..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหวในอิยาเปล พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557

แผ่นดินไหวในอีกีเก หรือ แผ่นดินไหวในนอร์เตกรัน..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหวในอีกีเก พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในประเทศอัฟกานิสถาน พ.ศ. 2558

แผ่นดินไหวในประเทศอัฟกานิสถาน..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหวในประเทศอัฟกานิสถาน พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน พ.ศ. 2559

แผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548

แสดงจุดบรรจบของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนกับอินเดียน บริเวณประเทศปากีสถาน แผ่นดินไหวที่แคชเมียร..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหวในแคชเมียร์ พ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552

แผ่นดินไหวที่อิตาลี..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและแผ่นดินไหวในแคว้นอาบรุซโซ พ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์

รงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์ (نیروگاه اتمی بوشهر) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศอิหร่าน ตั้งอยู่ห่างจากนครบูเชห์ (Bushehr) ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 17 กิโลเมตร บริเวณริมอ่าวเปอร์เซีย โรงไฟฟ้าดังกล่าวตั้งอยู่ที่รอยต่อของแผ่นธรณีภาคสามแผ่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเริ่มขึ้นใน..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บูเชห์ · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ไมโลไนต์

หินไมโลไนต์ (mylonite μύλος mylos, meaning mill.) เป็นหินแปรริ้วลายชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการแปรสภาพเนื่องจากการเกิดแรงดันที่ผิดปกติอย่างมหาศาล โดยเกิดจากกระบวนการ บด อัด เฉือน จากการเกิดรอยเลื่อน กล่าวคือ เมื่อการชนกันอย่างรุนแรงของแผ่นเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งจะเกิดการมุดตัวลงไปภายใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง (กระบวนนี้เรียกว่าการเกิดSubduction) หินจะถูกการบด อัด เฉือน เป็นเศษชิ้นส่วนต่างๆ และความร้อนของแผ่นเปลือกโลกบริเวณที่มุดตัวลงในบริเวณนี้ทำให้เนื้อหินถูกเปลี่ยนลักษณะเป็นแบบพลาสติกหรือมีความยืดหยุ่นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งผลึกแร่ของเนื้อหินจะเกิดการหลอมและเกิดการตกผลึกใหม่เป็นผลึกเล็กอัดตัวกันแน่น จนกระทั่งอุณหภูมิของเนื้อหินเริ่มลดลง ผลึกแร่จะเกิดการเรียงตัวตามองค์ประกอบทางเคมี มีลักษณะริ้วลายคล้ายอมยิ้ม กลายเป็นหินแปรที่มีริ้วลายเกิดขึ้น ซึ่งเรียกหินลักษณะนี้ว่า หินไมโลไนต์ ชาลส์ แลบเวิท (Charles Lapworth) เป็นผู้ตั้งชื่อหินไมโลไนต์ในปี..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและไมโลไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เขายอดราบใต้สมุทร

อดราบใต้สมุทร เขายอดราบใต้สมุทร (guyot) คือภูเขาใต้ทะเลชนิดหนึ่งมีลักษณะพิเศษคือบนยอดเขานั้นจะเป็นพื้นที่ราบเรียบมักพบในมหาสมุทรที่มีความลึก 1,200-1,800 เมตรบางแห่งอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 10 กิโลเมตร Encyclopædia Britannica Online, 2010.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและเขายอดราบใต้สมุทร · ดูเพิ่มเติม »

Kola Superdeep Borehole

แสตมป์รูปหลุมเจาะ KSDB Kola Superdeep Borehole (KSDB) เป็นผลของโครงการการขุดเจาะทางวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียตในอดีต โครงการนี้ได้พยายามเจาะลงไปในเปลือกโลกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การเจาะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1970 ที่ คาบสมุทร Kola โดยใช้เครื่องเจาะ Uralmash-4E และภายหลังได้เปลี่ยนเป็นเครื่องเจาะ Uralmash-15000 การเจาะได้แตกแขนงออกเป็นหลายช่องจากช่องกลาง แขนงที่มีความลึกที่สุดคือ SG-3 ได้เจาะเสร็จสิ้นเมื่อปีค.ศ. 1989 มีความลึก 12,262 เมตร (7.6 ไมล์) และได้กลายเป็นหลุมที่มีความลึกมากที่สุดที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษ.

ใหม่!!: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคและKola Superdeep Borehole · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Plate tectonicsการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแผ่นธรณีภาคแผ่นทวีปแผ่นเปลือกโลก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »