โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การทดปฏิทิน

ดัชนี การทดปฏิทิน

การทดปฏิทิน (intercalation) หมายถึง การเพิ่มเติมวัน หรือเดือน ลงในปฏิทินจันทรคติเพื่อให้ไม่เคลื่อนไปจากปฏิทินสุริยคติมากนัก การทดปฏิทินพบได้ในปฏิทินจันทรคติไทย ปฏิทินจันทรคติอิสลาม ปฏิทินจันทรคติจีน และปฏิทินจันทรคติภารตะ นอกจากนี้ การทดปฏิทินยังหมายถึงการเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในปีอธิกสุรทินอีกด้วย ปฏิทินจันทรคติไทยและภารตะ ปกติกำหนดให้เดือนเลขคี่มี 29 วัน ส่วนเดือนเลขคู่มี 30 วัน เรียกว่า ปีปกติมาสวาร ดังนั้นจำนวนวันทั้งหมดในหนึ่งปีจึงอยู่ที่ 354 วัน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนวันในปีปกติสุรทินที่ 365 วัน เมื่อจัดเดือนตามวิธีปกติไปเรื่อย ๆ อาจสังเกตได้ว่าเดือน 12 ถอยร่นมาเป็นเดือนตุลาคม หากไม่ได้ทำอะไรเลย เดือน 12 ก็จะร่นมาที่เดือนกันยายน สิงหาคม...

1 ความสัมพันธ์: วัฏจักรเมตอน

วัฏจักรเมตอน

วัฏจักรเมตอน (Metonic cycle) หมายถึง ช่วงระยะเวลาซึ่งใกล้เคียงกับตัวคูณร่วมน้อยที่สุดของปีสุริยคติ และปีจันทรคติ ซึ่งใกล้เคียงกับระยะเวลา 19 ปี วัฏจักรเมตอนค้นพบโดยชาวบาบิโลน ซึ่งต่อมาได้ค้นพบซ้ำโดยเมตอนแห่งเอเทนส์ (Meton of Athens) ช่วงปลายพุทธกาล โดยเขาได้ระบุว่า วัฎจักรเมตอนกินระยะเวลา 235 เดือนจันทรคติ หรือประมาณ 6,940 วัน ช่วงเวลา 19 ปีข้างต้น ใกล้เคียงกับเดือนราหูคติ (draconic month) หรือรอบคราส 255 เดือน นอกจากนี้ยังใกล้เคียงกับเดือนดาราคติ 254 เดือน อีกด้วย วัฎจักรเมตอนมีที่มาจากการคำนวณปฏิทินจันทรคติโดยสอบทานกับปฏิทินสุริยคติ สมมติให้ปีหนึ่งเป็น ของระยะเวลาตามวัฏจักรเมตอน จะได้ว่าแต่ละปีมีจำนวนวันทั้งสิ้น 365 + + วัน ซึ่งยาวกว่าปีจันทรคติ เมื่อเดินปีในลักษณะเช่นนี้โดยไม่ได้แก้ไขดัดแปลงเลย จะทำให้เดือนจันทรคติค่อย ๆ เลื่อนไปจากตำแหน่งของเดือนสุริยคติที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเช่น เดือน 12 ไทย แทนที่จะอยู่เดือนพฤศจิกายน ก็จะเลื่อนไปเดือนตุลาคม กันยายน ตามลำดับ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะต้องเพิ่มเดือนอีกหนึ่งเดือน เรียกว่า อธิกมาส (intercalary month) บางครั้งหากปฏิทินผิดจากจังหวะของดวงจันทร์มาก ก็จะต้องเพิ่มวันอีกหนึ่งวันด้วยเช่นกัน เรียกว่า อธิกวาร (intercalary day) โดยทั่วไปในระยะเวลา 19 ปี จะมีปีอธิกมาส 7 ปี (อาจเปลี่ยนแปลงได้).

ใหม่!!: การทดปฏิทินและวัฏจักรเมตอน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »