โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กะอ์บะฮ์

ดัชนี กะอ์บะฮ์

กะอ์บะฮ์ กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์ มีคำบันทึกบอกเล่าว่า อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัมมนุษย์คนแรกเพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮ์ในโลก แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลงเมื่อเกิดเหตุการณ์ อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ จนน้ำท่วมโลกในสมัยศาสดานูฮฺ คัมภีร์อัลกุรอาน (2:127 และ 22:26-27) ระบุว่า กะอ์บะฮ์ได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีล บุตรชายของท่านตามคำบัญชาของอัลลอฮ์ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์ หลังจากนั้นอัลลอฮ์ก็ได้บัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ ณ ที่บ้านหลังนี้ นับตั้งแต่นั้นมา ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮ์ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศก็ได้ทยอยกันเดินทางมาสักการะอัลลอฮ์ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด เนื่องจากกะอ์บะฮ์เป็นบ้านแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับการเคารพสักการะอัลลอฮ์ ดังนั้น กะอ์บะฮ์จึงได้รับการขนามว่า บัยตุลลอฮฺ บ้านแห่งอัลลอฮ์ หลังจากนบีอิบรอฮีมและอิสมาอีลเสียชีวิต ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้ละทิ้งคำสอนของท่านทั้งสอง และได้นำเอาเทวรูปต่าง ๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮ์ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮ์ จนกระทั่งมีเทวรูปรอบกะอ์บะฮ์เป็นจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป ตั้งเรียงรายทั้งในและนอกกะอ์บะฮ์ แต่หลังจากที่นบีมุฮัมมัดได้เข้ายึดนครมักกะฮ์แล้ว ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปทั้งหมดที่อยู่ข้างในและรอบกะอบะฮฺ ตั้งแต่นั้นมาแผ่นดินฮะรอมก็เป็นเขตปลอดเทวรูป ไม่มีการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ในตอนที่ท่านมุฮัมมัดยังไม่ได้เป็นศาสดา ชาวนครมักกะฮ์ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันซ่อมแซมกะอ์บะฮ์ที่สึกหรอเนื่องจากอุทกภัย แต่เนื่องจากทุนในการบูรณะอันเป็นทรัพย์สินที่บริสุทธิ์ที่เรี่ยไรมามีไม่เพียงพอ ชาวนครมักกะฮ์จึงสามารถซ่อมแซมได้ไม่เหมือนกับอาคารดั้งเดิม ปล่อยให้ส่วนที่เรียกว่า ฮิญรุ อิสมาอีล (ห้องและที่ฝังศพของท่านนบีอิสมาอีล) ว่างอยู่ เพียงแต่เอาหินก่อขึ้นเป็นกำแพงกั้นไว้ ในเวลาต่อมาท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า หากมิเพราะ ยุคญาหิลียะฮฺเพิ่งผ่านไปได้ไม่นาน ฉันก็คงจะต่อเติมกะอ์บะฮ์ให้เป็นเช่นแบบเดิม ในสมัยที่อับดุลลอฮฺ อิบนุซซุเบร หลานตาคอลีฟะฮฺ อะบูบักรฺ แข็งเมืองต่อ อับดุลมะลิก บินมัรวาน คอลีฟะฮฺ (กษัตริย์) ซีเรีย ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองมักกะฮ์ งานชิ้นหนึ่งที่ท่านทำก็คือการบูรณะต่อเติมผนังกะอ์บะฮ์ออกไปสองด้านจนถึงกำแพง ฮิจญ์รุ อิสมาอีล ให้อาคารกะอ์บะฮ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทว่าเมื่ออับดุลลอฮฺแพ้ศึกและถูกสังหาร พวกทหารซีเรียก็เผาและถล่มทำลายกะอ์บะฮ์ที่อับดุลลอฮฺทำไว้ แล้วให้สร้างขึ้นมาใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือนเดิมอีกครั้ง กะอฺบะหที่มีอยู่ในวันนี้ เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหินธรรมชาติ ตัวอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมีความกว้างยาวด้านละประมาณ 40 ฟุต และสูงประมาณ 50 ฟุต ผนังทั้งสี่ไม่มีหน้าต่าง มีแต่เพียงประตูด้านเดียว ข้างในว่างเปล่า ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ หินดำ (อัลฮะญัร อัลอัสวัด) ซึ่งในอดีตเป็นพลอยสีดำเม็ดใหญ่ แต่ต่อมาที่ได้แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็ยังตั้งอยู่ที่มุมข้างประตู ปกปิดด้วยแก้วและครอบทับด้วยเงิน ประตูของกะอ์บะฮ์ที่เปลี่ยนเมื่อเวลา 20 ปีมานี้ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ มุมที่ติดตั้งพลอยสีดำนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอ์บะฮ์ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญ์ ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐบาลผู้ปกครองมหานครมักกะฮ์จะมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกะอ์บะฮ์และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ สิ่งที่ต้องทำทุกปีคือการเปลี่ยนมุ้งกะอ์บะฮ์ ในซาอุดีอาระเบียจะมีโรงงานทอมุ้งนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีช่างผู้มีฝีมือจากต่างประเทศมาทำมุ้งนี้โดยเฉพาะ มุ้งกะอ์บะฮ์นี้ทอด้วยด้ายไหมสีดำ แล้วประดับด้วยการปักดิ้นทองเป็นตัวอักษรภาษาอาหรับวิจิตรงดงาม ตัวอักษรที่เขียนคือโองการจากอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์ เมื่อถึงเทศกาลฮัจญ์จะมีการเปลี่ยนมุ้งใหม่และยกขอบมุ้งขึ้นจนจนเห็นฝาผนังทั้งสี่ด้าน เนื่องจากมุ้งนี้มีสีดำ จึงทำให้คนเข้าใจว่าหินดำคือตัวกะอ์บะฮ์ แต่ความจริงแล้วหินดำคือพลอยสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมกะอ์บะฮ์ต่างหาก อีกอย่างกะอ์บะฮ์เป็นชุมทิศ เวลานมาซจะมีการหันไปทางกะอ์บะฮ์นี้ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากะอ์บะฮ์คือหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ซึ่งความจริงแล้ว กะอ์บะฮ์เป็นเพียงจุดศูนย์รวมและจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น.

20 ความสัมพันธ์: ชาวกีซาช่วงเวลาในมักกะฮ์พรรคสหพัฒนาการกิบลัตกุเรชฏอวาฟมักกะฮ์มัสยิดมุฮัมมัดลัทธิทำลายรูปเคารพสุลัยมานผู้เกรียงไกรหินดำอภิธานศัพท์ศาสนาอิสลามอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบอัลกุรอานอิชมาเอลฮะรอมฮัจญ์ซัมซัมปีช้าง

ชาวกีซา

อัศฮาบ กิซา หมายถึง นบีมุฮัมมัด อะลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน และฮุซัยน์ ที่อัลกุรอานโองการ إِنَّما يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَ يُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيراً : ความว่า "แท้จริงอัลลอฮ์เพียงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ "กล่าวเกี่ยวกับพวกเขาไว้ อะบูสะอีด ค็อดรี รายงานจากท่านศาสดาแห่งอิสลามว่า โองการนี้กล่าวเกี่ยวกับบุคคลห้าท่าน คือ ตัวฉัน อาลี ฟาติมะฮ์ ฮะซันและฮุเซน.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และชาวกีซา · ดูเพิ่มเติม »

ช่วงเวลาในมักกะฮ์

นี่คือช่วงเวลาของประวัติศาสตร์เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบี.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และช่วงเวลาในมักกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พรรคสหพัฒนาการ

รรคสหพัฒนาการ (United Development Party; ภาษาอินโดนีเซีย: Partai Persatuan Pembangunan; PPP) เป็นพรรคการเมืองนิยมอิสลามในอินโดนีเซีย หัวหน้าพรรคคนปัจจุบันคือ สุรยาดาร์มา อาลีก่อตั้งเมื่อเดือกนมกราคม..

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และพรรคสหพัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

กิบลัต

การคำนวณกิบลัตในทางเรขาคณิต กิบลัต หรือ กิบละหฺ (قبلة) คือชุมทิศ ที่มุสลิมหันหน้าไปยามนมาซและขอดุอาอ์ นั่นคือ กะอฺบะหฺ ในนครมักกะหฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เดิมกิบลัตอยู่ที่เยรูซาเลม ในปาเลสไตน์ แต่เปลี่ยนมาเมื่อสมัยศาสนทูตมูฮัมมัด มุสลิมทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใหนก็ตามจะต้องหันหน้ามาทางนี้ เมื่อเวลาละหมาด จะหันหน้าไปทางทิศอื่นไม่ได้เด็ดขาด นอกจากว่าอยู่ในภาวะจำเป็น เช่น การเดินทาง ซึ่งไม่ทราบว่าขณะนั้นกิบลัตอยู่ทางทิศใด แต่ต้องมีการเนียต (ตั้งใจแน่วแน่) ในใจว่า ขณะนี้เรากำลังหันหน้าไปสู่กิบลัต หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และกิบลัต · ดูเพิ่มเติม »

กุเรช

กุเรช คือชาวอาหรับเผ่าหนึ่ง เป็นบุตรหลานของ นัซรุ บินกินานะหฺ สืบเชื้อสายมาจากศาสนทูตอิสมาอีล บุตรศาสนทูตอิบรอฮีม เผ่ากุเรชนี้อาศัยอยู่ในมักกะหฺ ซึ่งศาสนทูตมุฮัมมัดก็ได้กำเนิดในเผ่านี้ กุเรชเป็นเผ่าที่มีเกียรติมากที่สุด นั่นก็เพราะว่ากุเรชเป็นผู้ดูแลกะอฺบะหฺ และอาศัยอยู่ในแผ่นดินมักกะหฺอันศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และกุเรช · ดูเพิ่มเติม »

ฏอวาฟ

ฏอวาฟ (طواف) บ้างก็สะกด ตอวาฟ และ เฏาะวาฟ คือ การเวียนรอบกะอฺบะหฺเจ็ดครั้ง ในพิธีฮัจญ์ พิธีอุมเราะหฺ หรือในโอกาสอื่น ๆ โดยเริ่มต้นที่มุม ซึ่งมีหินดำเป็นสัญลักษณ์ โดยให้ไหล่ซ้ายอยู่ด้านหินดำ ต่อจากนั้นก็เดินรอบกะอฺบะหฺด้วยความเร็วปกติจนครบ 7 รอบ หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และฏอวาฟ · ดูเพิ่มเติม »

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และมักกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิด

มืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มัสยิด (مسجد มัสญิด) หรือ สุเหร่า (Surau) เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่การนมาซ และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ (อิอฺติกาฟ และ คอลวะหฺ) นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลาม (ฮะรอม) ทั้งมวล.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และมัสยิด · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิทำลายรูปเคารพ

การปฏิรูปศาสนาเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มหาวิหารนักบุญมาร์ติน เมืองยูเทรกต์ (Cathedral of Saint Martin, Utrecht)http://www.domkerk.nl/domchurch/history.html The birth and growth of Utrecht (ที่มาและความเจริญเติบโตของอูเทรชท์) ลัทธิทำลายรูปเคารพ (Iconoclasm) เป็นแนวคิดและการปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีการใช้รูปเคารพ การทำลายศิลปะหรือรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา การทำลายสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ทางศาสนา หรือ การทำลายอนุสาวรีย์โดยจงใจภายในสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นผลจากการกระทำเพื่อศาสนาหรือการเมือง การกระทำเช่นนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาหรือทางการเมืองภายในสังคมเดียวกัน ลัทธิทำลายรูปเคารพตรงกันข้ามกับ "ลัทธิบูชารูปเคารพ" (Iconodule).

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และลัทธิทำลายรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

หินดำ

หินดำ (الحجر الأسود; อัลฮะญัร อัลอัสวัด) คือหินสีดำที่ประดิษฐานอยู่ที่มุมหนึ่งของกะอฺบะหฺ มีทรงกลมรี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และหินดำ · ดูเพิ่มเติม »

อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม

ำศัพท์เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และอภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (علي بن أﺑﻲ طالب; ʿAlī ibn Abī Ṭālib) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเล.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อิชมาเอล

อิชมาเอล (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิสมาอีล (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Ishmael; إسماعيل /อิสมาอีล/; יִשְׁמָעֵאל /ยิชมาเอล/) เป็นบุคคลสำคัญในศาสนาอับราฮัม และเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม อิชมาเอลเป็นบุตรของอับราฮัม (อิบรอฮีม) และนางฮาการ์ (ฮาญัร).

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และอิชมาเอล · ดูเพิ่มเติม »

ฮะรอม

รอม เป็นคำศัพท์นิติบัญญัติอิสลาม จากภาษาอาหรับ วิธีการสะกดอื่น ๆ มีเช่น หะรอม, ฮารอม ในภาษาพูดคำว่า ฮะรอม เพี้ยนเป็น ฮาหร่าม ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น เช่น.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และฮะรอม · ดูเพิ่มเติม »

ฮัจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินหะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของหัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินหะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะหฺ แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันทำนุบำรุง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซัม

ซัมซัม (زمزم, Zamzam) เป็นชื่อน้ำแร่จากบ่อน้ำที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกะอฺบะหฺราว 20 เมตร ตั้งอยู่ ณ ใจกลางอัลมัสญิด อัลฮะรอม ในมักกะหฺ มีมาก่อนนบีมุฮัมมัด ชาวมุสลิมถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิท.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และซัมซัม · ดูเพิ่มเติม »

ปีช้าง

ปีช้าง คือปีที่กองทัพช้างที่นำโดย อับรอหะหฺ อัลอัชรอม อุปราชแห่งฮะบะชะหฺ (อบิสสิเนีย หรือเอธิโอเปียปัจจุบัน) หมายโจมตีมักกะหฺ อับรอหะหฺนับถือศาสนาคริสต์ พวกเขาได้สร้างโบสถ์คริสเตียนที่ใหญ่โตในเมืองศอนอาอฺ (ซานา) ในยะมัน (เยเมน) เพื่อให้เป็นที่แสวงบุญของชาวคริสเตียนในอาระเบียและแอฟริกา และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแห่งใหม่ในภูมิภาค เมื่อพวกเขาเห็นว่า กะอฺบะหฺในมักกะหฺเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสเตียนและการดึงดูดผู้คนไปศอนอาอฺ ก็คิดทำลายกะอฺบะหฺ ด้วยเหตุนี้จึงกรีฑาทัพช้างมุ่งหน้าสู่พระมหานครมักกะหฺ ในปี ค.ศ. 570 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่นบีมุฮัมมัด(ศ)ประสูติ เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะหฺ กองทัพของอับรอหะหฺก็ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัด ไป 700 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะหฺ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า มาเพื่อถล่มทำลายกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอหะหฺเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอหะหฺ เขาก็ขอร้องให้อับรอหะหฺคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอหะหฺจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า "อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะอฺบะหฺเป็นของอัลลอหฺ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน" อับรอหะหฺรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบกลับไป ก็ป่าวประกาศให้ชาวมักกะหฺหลบหนีออกจากพระมหานคร ไปซ่อนตัวตามภูเขาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ไพร่พลของอับรอหะหฺทำร้าย เมื่อทัพอับรอหะหฺเข้ามาถึงมักกะหฺ ก็ปรากฏมีฝูงนกบินว่อนเหนือพระมหานครจนมืดฟ้ามัวดิน แล้วนกแต่ละตัวก็ทิ้งก้อนหินลงมา จนทำให้ไพร่พลของอับรอหะหฺล้มตายเป็นอันมาก อับร่อฮะหฺเองจึงหนีกลับไปศอนอาอ์ แต่ก็มีนกตัวหนึ่งบินตามเขาไปตลอดทาง เมื่ออับรอหะหฺเข้าพบกษัตริย์แห่งฮะบะชะหฺก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง กษัตริย์ถามว่า นกอะไรหรือที่ทำปาฏิหาริย์เช่นนั้น อับรอหะหฺจึงเงยหน้าขึ้นชี้นกที่ติดตามเขามาตลอดทาง นกตัวนั้นก็ทิ้งก้อนหินตกลงมาบนศีรษะของเขา อับรอหะหฺก็สิ้นชีพในบัดดล ไม่ใช่ปกติวิสัยที่ชาวอาหรับจะได้เห็นช้างหรือกองทัพช้าง จึงเรียกกองทัพของอับรอหะหฺว่า ”อัศฮาบ อัลฟีล” (บรรดาเจ้าของช้าง) และจดจำเหตุการณ์ปีนั้นได้อย่างแม่นยำ และเรียกปีนั้นว่า ”อาม อัลฟีล” (ปีช้าง) ตั้งแต่นั้นมามีการนับศักราชโดยเริ่มจากปีช้าง เช่นมุฮัมมัดเกิดในปีช้าง เป็นต้น อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องกองทัพช้างในซูเราะหฺที่ 105 เหตุการณ์กองทัพช้างยังอยู่ในความทรงจำของชาวมักกะหฺตลอดมา เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ชาวมักกะหฺจึงรำลึกถึงปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในอดีตเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว และไม่สามารถปฏิเสธต่อการอารักขาของอัลลอหฺต่อกะอฺบะหฺอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เหตุการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงความศรัทธามั่นของอับดุลมุฏฏอลิบที่มีต่ออัลลอหฺ อันเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่า อับดุลมุฏฏอลิบ บิดาของอับดุลลอหฺ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของมุฮัมมัด และบิดาของ อะบูฏอลิบ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของอะลีย์ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาของอิบรอฮีมและอิสมาอีล เขาได้กล่าวในบทกวีว่า หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: กะอ์บะฮ์และปีช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กะอฺบะหฺกะอฺบะฮฺกะอ์บะห์กะบะฮ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »