โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

ดัชนี กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

transmission electron microscope (TEM)) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของซีเมนส์รุ่นปี 1973 ใน Musée des Arts et Métiers, กรุงปารีส กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron microscope) เป็นชนิดของกล้องจุลทรรศน์แบบหนึ่งที่ใช้อิเล็กตรอนที่ถูกเร่งความเร็วเป็นแหล่งที่มาของการส่องสว่าง เนื่องจากอิเล็กตรอนมีความยาวคลื่นสั้นกว่าโฟตอนของแสงที่มนุษย์มองเห็นได้ถึง 100,000 เท่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจึงมีกำลังขยายสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและสามารถเปิดเผยให้เห็นโครงสร้างของวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆได้ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านสามารถให้รายละเอียดได้สูงถึง 50 picometre และมีกำลังการขยายได้ถึงประมาณ 10,000,000 เท่า ขณะที่ส่วนใหญ่ของกล้องจุลทรรศน์แบบแสงจะถูกจำกัดโดยการเลี้ยวเบนของแสงที่ให้ความละเอียดประมาณ 200 นาโนเมตรและกำลังขยายที่ใชการได้ต่ำกว่า 2000 เท่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านใช้เลนส์ไฟฟ้าสถิตและแม่เหล็กไฟฟ้า (electrostatic and electromagnetic lenses) ในการควบคุมลำแสงอิเล็กตรอนและโฟกัสมันเพื่อสร้างเป้นภาพ เลนส์แสงอิเล็กตรอนเหล่านี้เปรียบเทียบได้กับเลนส์แก้วของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงออปติคอล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนถูกนำไปใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างขนาดเล็กมากๆของตัวอย่างทางชีวภาพและอนินทรีที่หลากหลายรวมทั้งจุลินทรีย์ เซลล์ชีวะ โมเลกุลขนาดใหญ่ ตัวอย่างชิ้นเนื้อ โลหะ และคริสตัล ด้านอุตสาหกรรมกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมักจะใช้สำหรับการควบคุมคุณภาพและการวิเคราะห์ความล้มเหลว กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ทันสมัยสามารถผลิตภาพถ่ายขนาดจิ๋วแบบอิเล็กตรอน (electron micrograph) โดยใช้กล้องดิจิตอลแบบพิเศษหรือ frame grabber (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่ใช้จับภาพนิ่งจากสัญญาณวิดีโอแอนะลอกหรือดิจิตอล) ในการจั.

28 ความสัมพันธ์: กล้องจุลทรรศน์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009การคายน้ำฝนแดงในรัฐเกรละมิญชวิทยารางวัลโนเบลสาขาเคมีฮอโลกราฟีฮิสโตนจอตาตับอักเสบ บีต่อมรับกลิ่นปลายรัฟฟินีปลายประสาทเมอร์เกิลนิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัสแกรฟโตไลต์แอนสท์ รัสกาโรงเรียนกำเนิดวิทย์โคโรนาไวรัสไรโบโซมไลนิโซลิดไลโซโซมไวรัสไข้เหลืองไซโตซอลเยื่อหุ้มเซลล์เจมส์ ดี. วัตสันเดนนิส กาบอร์เครื่องมือวัด

กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ใช้เลนส์ประกอบ สร้างโดยจอห์น คัฟฟ์ (John Cuff) ค.ศ. 1750 กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่าเช่น วัตถุที่อยู่ไกล วัตถุที่อยู่สูง เป็นต้น ศาสตร์ที่มุ่งสำรวจวัตถุขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ เรียกว่า จุลทรรศนศาสตร์ (microscopy).

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและกล้องจุลทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นการระบาดทั่วโลกของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 สายพันธุ์ใหม่ หรือโดยทั่วไปมักเรียกว่า "ไข้หวัดหมู" เริ่มพบการระบาดตั้งแต่เดือนเมษายน..

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 · ดูเพิ่มเติม »

การคายน้ำ

ปากใบของมะเขือเทศที่ใช้ในการคายน้ำ ภาพแต่งสีจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด การคายน้ำ เป็นการแพร่ของน้ำออกจากใบของพืชโดยผ่านทางปากใบ โดยทั่วไปปากใบปิดเวลากลางคืนและเปิดในเวลากลางวัน การคายน้ำมีความสำคัญต่อพืชในด้านการควบคุมการเคลื่อนที่ของน้ำในพืช ทำให้น้ำเคลื่อนที่จากด้านล่างขึ้นไปด้านบนมากขึ้นเรื่อยๆ ควบคุมการดูดซึมธาตุอาหารของพืช เพราะธาตุอาหารที่พืชนำไปใช้ได้ต้องอยู่ในรูปที่ละลายน้ำ ทำให้อุณหภูมิของใบลดลง โดยลดความร้อนที่เกิดจากแสงแดดที่ใบ ในกรณีที่ในอากาศอิ่มตัวด้วยน้ำ มีความชื้นสูง การคายน้ำเกิดขึ้นได้น้อย แต่การดูดน้ำของรากยังเป็นปกติ พืชจะเสียน้ำในรูปของหยดน้ำเรียกว่ากัตเตชัน (guttation)พืชไม่สามารถคายน้ำในสภาพที่แดดจัดเพราะอาจเสียน้ำมากเกินไปและเหี่ยวก่อนที่รากจะลำเลียงน้ำได้ทัน ตารางต่อไปนี้สรุปสิ่งที่มีผลต่อการคายน้ำ.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและการคายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ฝนแดงในรัฐเกรละ

ตัวอย่างน้ำฝน (ซ้าย) และหลังกำจัดอนุภาค (ขวา) ตะกอนแห้ง (กลาง) ปรากฏการณ์ฝนสีแดงในรัฐเกรละ เป็นเหตุการณ์ ฝนสีเลือด (ฝนสีแดง) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 23 กันยายน..

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและฝนแดงในรัฐเกรละ · ดูเพิ่มเติม »

มิญชวิทยา

A stained histologic specimen, sandwiched between a glass microscope slide and coverslip, mounted on the stage of a light microscope. ภาพเนื้อเยื่อปอดย้อมด้วยสีฮีมาทอกซีลิน (Hematoxylin) และอีโอซิน (Eosin) ผู้ป่วยรายนี้มีอาการของโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) มิญชวิท.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและมิญชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาเคมี

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและรางวัลโนเบลสาขาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลกราฟี

องภาพของโฮโลแกรมเดี่ยวที่นำมาจากมุมมองที่แตกต่างกัน ฮอโลกราฟี (holography) หมายถึง กระบวนการสร้างภาพฮอโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ แตกต่างจากการสร้างภาพเชิง 3 มิติ โดยฮอโลแกรมนั้นเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือ แผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้ แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ ฮอโลกราฟี เป็นเทคนิคที่ช่วยให้แสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึก และได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ต่อมา เพื่อให้ปรากฏเป็นวัตถุอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับการบันทึก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตำแหน่งและทิศทางของการระบบการมองเห็น เปลี่ยนแปลงไปอย่างถูกต้องเหมือนกับถ้าวัตถุก็ยังคงเป็นปัจจุบันจึงทำให้ภาพที่บันทึก (โฮโลแกรม) ปรากฏเป็นสามมิติ เทคนิคของฮอโลกราฟียังสามารถใช้ในการเก็บ ดึงและประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวกับแสง ในขณะที่ฮอโลกราฟีเป็นที่นิยมใช้เพื่อใช้แสดงภาพ 3 มิติแบบคงที่ แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างฉากตามต้องการโดยการแสดงปริมาตรของ holographic ได้ ถ้าจะกล่าวในคำพูดที่เป็นเชิงวิชาการมากขึ้น ก็อาจกล่าวได้ว่า ฮอโลแกรม ก็คือ บันทึกของรูปแบบการแทรกสอดของลำแสง ที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน จากคลื่น 2 ลำ.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและฮอโลกราฟี · ดูเพิ่มเติม »

ฮิสโตน

รงสร้างของฮิสโตนที่เป็นแกนของนิวคลีโอโซม โปรตีนฮิสโตนเป็นโปรตีนที่มีประจุบวกสูงพันอยู่กับดีเอ็นเอของยูคาริโอตเป็นโครงสร้างที่เรียกว่านิวคลีโอโซม และเป็นโครงสร้างหลักของโครมาติน เกี่ยวข้องกับการม้ววนตัวของดีเอ็นเอและการแสดงออกของยีน ทำให้โครงสร้างของจีโนมมีขนาดเล็กลงเมื่อม้วนตัวจนแน่นเป็นโครโมโซมในการแบ่งเซลล์ระยะไมโทซ.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและฮิสโตน · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

ตับอักเสบ บี

ตับอักเสบ บี (hepatitis B) เป็นโรคตับชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเข้ม และปวดท้องได้ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และมีเพียงส่วนน้อยที่อาการดำเนินไปอย่างรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตในการติดเชื้อครั้งแรกนี้ ระยะฟักตัวอาจยาวนานได้ถึง 30-180 วัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ตั้งแต่แรกเกิดจะเกิดตับอักเสบเรื้อรังได้ถึง 90% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในภายหลังที่อายุมากกว่า 5 ปี จะเกิดตับอักเสบเรื้อรังเพียง 10% ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอยู่เป็นเวลานาน แต่ในระยะท้ายๆ อาจเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับขึ้นได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 15-25% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ในพื้นที่ที่มีความชุกสูง มักพบว่าผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือทารกที่ติดเชื้อจากแม่ในขณะคลอด หรือเด็กที่ได้สัมผัสเลือดของผู้ที่มีเชื้อ ส่วนในพื้นที่ที่มีความชุกต่ำ ผู้ป่วยที่พบบ่อยได้แก่ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดและผู้ป่วยที่รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (เช่น ทำงานในโรงพยาบาล) การรับเลือด การฟอกเลือด การใช้ชีวิตอยู่กับผู้ติดเชื้อ การเดินทางไปยังประเทศที่มีความชุกของโรคสูง และการเป็นผู้อาศัยในสถานบำบัด ในสมัยคริสตทศวรรษ 1980 มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับเชื้อผ่านการสักและการฝังเข็ม แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีปลอดเชื้อเจริญรุดหน้ามากขึ้นก็พบผู้ติดเชื้อผ่านช่องทางเหล่านี้น้อยลง เชื้อไวรัสตับอักเสบบีไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการจับมือ ใช้อุปกรณ์ในการกินอาหารร่วมกัน การจูบ การกอด การไอ จาม หรือการให้นมบุตร ปัจจุบันสามารถตรวจพบเชื้อได้เร็วที่สุดประมาณ 30-60 วันหลังได้รับเชื้อ การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการตรวจเลือดหาชิ้นส่วนของไวรัส (แอนติเจน) และการตรวจหาสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซึ่งสร้างโดยร่างกายของผู้ติดเชื้อ (แอนติบอดี) ไวรัสนี้เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งจากทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ตั้งแต..

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและตับอักเสบ บี · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมรับกลิ่น

ต่อมรับกลิ่น หรือ ต่อมของโบว์แมน (Olfactory gland, Bowman's gland) อยู่ที่เยื่อเมือกรับกลิ่น (olfactory mucosa) ใต้เยื่อบุผิวรับกลิ่นภายในชั้น lamina propria ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยังมีเซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เส้นเลือด และมัดแอกซอนเล็ก ๆ จากเซลล์ประสาทรับกลิ่นด้วย ต่อมประกอบด้วยกระเปาะ acinus ภายในชั้น lamina propria และท่อหลั่งซึ่งวิ่งไปออกที่เยื่อรับกลิ่น งานศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงว่า ต่อมมีเซลล์ที่มีถุงหลั่งขนาดใหญ่ ต่อมจะหลั่งโปรตีนกลุ่ม mucin คือ MUC5AC (UniProtKB: P98088) ที่สร้างวุ้น และอาจหลั่งโปรตีนเช่น lysozyme, amylase, และอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) คล้ายกับต่อมหลั่งน้ำใส (serous gland) องค์ประกอบของสารคัดหลั่งจากต่อมยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีหลักฐานว่ามันผลิตโปรตีนที่จับกับโมเลกุลกลิ่นด้ว.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและต่อมรับกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลายรัฟฟินี

ปลายรัฟฟินี หรือ เม็ดรัฟฟินี หรือ เม็ดกระเปาะ (Bulbous corpuscle, Ruffini ending, Ruffini corpuscle) เป็นปลายประสาทรับแรงกลแบนที่หุ้มด้วยแคปซูลรูปกระสวย โดยแคปซูลเป็นเนื้อเยื่อยึดต่อ (connective tissue) ประกอบด้วยใยคอลลาเจนที่เกี่ยวพันกับใยประสาท และเชื่อมกับใยประสาทแบบ slowly adapting type 2 (SA2) ซึ่งมีปลอกไมอีลินหนา ปรับตัวอย่างช้า ๆ (slowly adapting) และตรวจจับแรงตึง/การขยาย/การเหยียด ซึ่งช่วยให้รู้รูปร่างของวัสดุที่อยู่ในมือและรูปร่างของมือในบรรดาตัวรับแรงกลที่หุ้มปลายพิเศษ 4 อย่างที่ผิวหนัง อนึ่ง นอกจากที่ผิวหนัง ยังมีอยู่ในเอ็นยึดข้อต่อ ปลอกหุ้มข้อต่อ และเอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ด้วย โครงสร้างนี้มีชื่อตามนายแพทย์ชาวอิตาลีผู้ค้นพบ คือ แอนเจโล รัฟฟินี.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและปลายรัฟฟินี · ดูเพิ่มเติม »

ปลายประสาทเมอร์เกิล

ปลายประสาทเมอร์เกิล ปลายประสาทเมอร์เกิล เป็นปลายประสาทรับแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำชนิดหนึ่งที่พบใต้หนังกำพร้าและที่ปุ่มรากผม (hair follicle).

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและปลายประสาทเมอร์เกิล · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส

นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นกลุ่มของไวรัสชนิดแรกที่พบทำให้เกิดโรคกับแมลงโดยเฉพาะกับสัตว์ในไฟลั่ม Arthropoda ไม่มีผลต่อระบบสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังหรือพืช นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการนำไวรัสชนิดนี้มาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาสารพิษตกค้างและช่วยลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพของตัวเกษตรกรผู้ใช้รวมถึงผู้บริโภคด้ว.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและนิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

แกรฟโตไลต์

แกรฟโตไลต์ (Graptolithina) เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์โดยทั่วไปพบจากหินตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนบนตลอดจนยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนล่าง แกรฟโตไลต์รุ่นแรกๆอาจเป็น Chaunograptus จากยุคแคมเบรียนตอนกลาง ชื่อแกรฟโตไลต์มาจากภาษากรีกคำว่า “graptos” หมายถึงรอยขีดเขียน และคำว่า “lithos” หมายถึงหิน ด้วยซากดึกดำบรรพ์ของแกรฟโตไลต์มีลักษณะคล้ายรอยขีดเขียนบนพื้นหิน เดิมทีลินเนียสได้พิจารณาให้เป็นเพียงรอยภาพที่ไม่ใช่ซากดึกดำบรรพ์จริงๆ ต่อมามีผู้ศึกษาหลายท่านดังเช่น ดร.ทิโมธี ทอปเปอร์ ที่มีความเห็นว่าอาจเป็นพวกไฮโดรซัว ซึ่งผลงานต่อจากนั้นได้พิจารณาให้เป็นพวกเธอโรบรานซ.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและแกรฟโตไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนสท์ รัสกา

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่สร้างโดยรัสกาในปี ค.ศ. 1933 แอนสท์ เอากุสต์ ฟรีดริช รัสกา (Ernst August Friedrich Ruska; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1906 – 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1988) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองไฮเดลแบร์ก และเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิก หลังเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน รัสกาได้ตั้งข้อสังเกตว่ากล้องจุลทรรศน์ที่ใช้อิเล็กตรอนจะให้รายละเอียดของภาพมากกว่าชนิดที่ใช้แสง เขาและมักซ์ นอลล์จึงได้ร่วมกันสร้างกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขึ้น ต่อมารัสกาได้ร่วมงานกับบริษัทซีเมนส์ ซึ่งมีส่วนในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในเชิงพาณิชย์ ในปี..

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและแอนสท์ รัสกา · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนกำเนิดวิทย์

รงเรียนกำเนิดวิทย์ (อักษรย่อ: กว., KVIS) นามพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันหมายถึงโรงเรียนที่เป็นแหล่งความรู้ซึ่งกลุ่ม ปตท. โดยมูลนิธิโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระยอง ได้ดำเนินการจัดตั้งเพื่อเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำ สร้างปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จัดการศึกษาที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับโลก ให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลาย บ่มเพาะจิตวิญญาณของการเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์และนักนวัตกรรมที่มีจิตสาธารณะและเจตคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนร่วมโลก ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ เลขที่ 999 หมู่ 1 ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง 21210.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและโรงเรียนกำเนิดวิทย์ · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนาไวรัส

Coronavirus หมายถึงสปีชีส์ต่างๆ ของไวรัสใน genera ที่อยู่ในซับแฟมิลี Coronavirinae และ Tonovirinae ในแฟมิลี Coronaviridae ในออร์เดอร์ Nidovirales เป็นไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม (enveloped) มีจีโนมเป็นอาร์เอ็นเอ โพซิทีฟเซนส์ มีนิวคลีโอแคปซิดที่มีสมมาตรแบบเฮลิกซ์ ขนาดจีโนมของไวรัสเหล่านี้มีตั้งแต่ 26-32 กิโลเบส ซึ่งถือว่าใหญ่มากสำหรับไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ ชื่อ "coronavirus" มาจากคำภาษาลาติน corona ที่แปลว่ามงกุฎหรือรัศมี ในที่นี้หมายถึงลักษณะของตัวไวรัสที่มองเห็นจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีผิวยื่นเป็นแฉกๆ เหมือนกับรัศมีของดวงอาทิตย์ ลักษณะนี้ถูกสร้างโดยเพโพลเมอร์สไปค์ (S) ของไวรัส ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระจุกตัวอยู่บนผิวไวรัส และเป็นตัวกำหนดการโน้มตอบสนองของโฮสต์.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและโคโรนาไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบโซม

หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นเล็ก 30s หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นใหญ่50s ไรโบโซม (Ribosome มาจาก ribonucleic acid และคำใน"ภาษากรีก: soma (หมายถึงร่างกาย)") เป็นออร์แกแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ มีขนาดเล็กที่สุดและมีมากสุดประกอบด้วยโปรตีน และ rRNA มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 nm (200 อังสตรอม) และประกอบด้วย ribosomal RNA 65% และ ไรโบโซมอล โปรตีน35% (หรือ ไรโบนิวคลีโอโปรตีน หรือ RNP)เป็นสารเชิงซ้อนของ RNA และ โปรตีน ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด ไรโบโซมจาก แบคทีเรีย, อาร์เคีย และ ยูคาริโอตมีโครงสร้างและ RNA ที่แตกต่างกัน ไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ยูคาริโอตมีลักษณะคล้ายกับไรโบโซมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการของออร์แกแนลล์ชนิดนี้ ในแบคทีเรียมี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 30S และ 50S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 70S ส่วนในยูคาริโอต มี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 40S และ 60S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 80S หน้าที่คือเป็นแหล่งที่เกิดการอ่านรหัสจากยีนในนิวเคลียส ซึ่งถูกส่งออกจากนิวเคลียสในรูป mRNA มาสร้างเป็นโปรตีน การทำงานของไรโบโซมในการแสดงออกของยีนไปสู่การสร้างโปรตีนเรียกทรานสเลชัน ไรโบโซมยังทำหน้าที่ในการต่อกรดอะมิโนเดี่ยวให้เป็นพอลิเพปไทด์ โดยต้องมีการจับกับ mRNA และอ่านข้อมูลจาก mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนให้ถูกต้อง การนำโมเลกุลของกรดอะมิโนเข้ามาเป็นการทำงานของ tRNA ซึ่งจับอยู่กับโมเลกุลของกรดอะมิโนอยู่ก่อนแล้ว.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและไรโบโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไลนิโซลิด

ลนิโซลิด (Linezolid) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ไลนิโซลิดสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกได้เกือบทุกสายพันธ์ุ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียในสกุลสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus), สกุลเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus; VRE), และเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus; MRSA) ส่วนมากแล้วมักใช้ยานี้ในการรักษาโรคติดเชื้อดังข้างต้นบริเวณผิวหนังและในปอด อย่างไรก็ตาม ยานี้อาจถูกใช้ในโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่นได้เช่นกัน เช่น วัณโรคที่ดื้อต่อยารักษาวัณโรคสูตรปกติ โดยยานี้สามารถบริหารยาได้ทั้งการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous) และการรับประทาน การใช้ยาไลนิโซลิดในระยะเวลาสั้นนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยปกติ และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง หรือโรคตับอักเสบ อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ในช่วงสั้น ได้แก่ ปวดศีรษะ, ท้องเสีย, ผื่น, และอาเจียน ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome), การกดไขกระดูก (Bone marrow suppression) และภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก (lactic acidosis) โดยความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะเมื่อใช้ยาไลนิโซลิดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ ในบางครั้งการใช้ยานี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทส่วนปลายจนไม่สามารถฟื้นฟูกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งรวมถึงการทำลายเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของการมองเห็นด้วย ไลนิโซลิดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในยากลุ่มออกซาโซลิโดน (Oxazolidone) เนื่องจากยาดังกล่าวมีคุณสมบัติในการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้ยาดังกล่าวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีนาปฏิชีวนะหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนของเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนกับไลนิโซลิด แต่โดยแท้จริงแล้ว ไลนิโซลิดนั้นมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างไปจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่น กล่าวคือ ยาดังกล่าวจะไปออกฤทธิ์ยับยั้งขั้นตอนแรกในการสร้างโปรตีน ในขณะที่ยาปฏิชีวนะอื่นนั้นจะออกฤทธิ์ในขั้นตอนที่เป็นลำดับถัดมา ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่นนี้ ทำให้อุบัติการณ์การดื้อต่อยาไลนิโซลิดของเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ (ข้อมูล ปี ค.ศ. 2014) ไลนิโซลิดถูกค้นพบในช่วงกลางทศวรรต 1990 และได้รับการรับรองให้มีการผลิตเชิงการค้าในปี..

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและไลนิโซลิด · ดูเพิ่มเติม »

ไลโซโซม

ลโซโซม ทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีลักษณะเป็นถุง มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบในเซลล์สัตว์และพืชบางชนิด และเม็ดเลือดขาว เซลล์พืชบางชนิด เช่น กาบหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น N (ไนโตรเจน) จึงใช้ไลโซโซมในการย่อยแมลง.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและไลโซโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไข้เหลือง

ไข้เหลืองเป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสไข้เหลืองมีขนาด 40-50 นาโนเมตร เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสเซนส์บวก มีปลอกหุ้ม อยู่ในแฟมิลีฟลาวิไวริดี ติดต่อผ่านทางการถูกยุงตัวเมียที่มีเชื้อกัด อาจเป็นยุงไข้เหลือง ยุงลาย หรือยุงอื่นๆ บางชนิด พบในพื้นที่เขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาและพื้นที่ข้างเคียง แต่ไม่พบในทวีปเอเชีย โฮสต์ของไวรัสไข้เหลืองคือลิงไพรเมทรวมถึงมนุษย์และยุงบางชนิด เชื่อว่าโรคนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา ระบาดมายังอเมริกาใต้พร้อมกับการค้าทาสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีบันทึกการระบาดครั้งใหญ่หลายครั้งในอเมริกา แอฟริกา และยุโรป จนในศตวรรษที่ 19 ไข้เหลืองก็ถูกยกระดับเป็นโรคติดต่อที่อันตรายที่สุดโรคหนึ่ง ผู้ป่วยไข้เหลืองส่วนใหญ่มีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ (โดยเฉพาะหลัง) และปวดศีรษะ ส่วนใหญ่หายได้เองในเวลาหลายวัน ผู้ป่วยบางคนจะมีระยะพิษตามหลังจากระยะไข้ เซลล์ตับเสียหายจนมีดีซ่าน (เป็นที่มาของชื่อโรค) และอาจเป็นมากจนเสียชีวิตได้ ไข้เหลืองอาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่าย จึงจัดอยูในกลุ่มโรคไข้เลือดออก องค์การอนามัยโลกประมาณไว้ว่ามีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนไข้เหลืองป่วยเป็นไข้เหลือง 200,000 รายต่อปี และเสียชีวิต 30,000 รายต่อปี ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไข้เหลืองกว่า 90% อยู่ในแอฟริกา วัคซีนไข้เหลืองที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลนั้นผลิตสำเร็จตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 บางประเทศยังกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องได้รับวัคซีนนี้ก่อนเข้าประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมๆ กับลดจำนวนยุงและลดโอกาสถูกยุงกัด ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยไข้เหลืองเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคอุบัติซ้ำ (re-emerging disease) เชื่อว่าเป็นผลจากสภาพสังคมและสงครามในหลายๆ ประเทศในแอฟริกา หมวดหมู่:ไข้จากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะและไข้เลือดออกที่เกิดจากไวรัส หมวดหมู่:ฟลาวิไวรัส หมวดหมู่:โรคเขตร้อน หมวดหมู่:วิทยาตับ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อจากแมลง หมวดหมู่:โรคที่ไม่ได้รับการรักษา หมวดหมู่:อาวุธชีวภาพ.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและไข้เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ไซโตซอล

doi.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและไซโตซอล · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ ดี. วัตสัน

มส์ ดี. วัตสัน เจมส์ ดิวอี วัตสัน (James Dewey Watson; 6 เมษายน พ.ศ. 2471) นักอณูชีววิทยาชาวอเมริกัน ได้รับการยอบรับว่าเป็นผู้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของดีเอ็นเอร่วมกับฟรานซิส คริกและมอริส วิลคินส์ โดยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ มีผลงานการตีพิมพ์คือบทความ โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเจมส์ ดี. วัตสัน · ดูเพิ่มเติม »

เดนนิส กาบอร์

นนิส กาบอร์ ซีบีอี, เอฟอาร์เอส (Dennis Gabor CBE, FRS; 5 มิถุนายน ค.ศ. 1900 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979) นักประดิษฐ์และวิศวกรไฟฟ้าชาวอังกฤษเชื้อสายยิว-ฮังการี Arthur T. Hubbard (1995) CRC Press, 1995.

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเดนนิส กาบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องมือวัด

กัปตันนีโมและศาสตราจารย์ Aronnax กำลังใคร่ครวญเครื่องมือวัดต่าง ๆ ในภาพยนตร์ ''ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์'' เครื่องมือวัดความรักและเครื่องทดสอบความแข็งแรงที่สถานีรถไฟเมืองฟรามิงแฮม, รัฐแมสซาชูเซต เครื่องมือวัด (Measuring Instrument) เป็นอุปกรณ์สำหรับการวัด ปริมาณทางกายภาพ ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ, การประกันคุณภาพ และ วิศวกรรม, การวัด เป็นกิจกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งปริมาณทางกายภาพของวัตถุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง และทำการเปรียบเทียบปริมาณทางกายภาพเหล่านั้น มาตรฐานของวัตถุและเหตุการณ์ได้ถูกก่อตั้งขึ้นและถูกใช้เป็น หน่วยการวัด และกระบวนการของการวัดจะได้ผลออกมาเป็นตัวเลขหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังทำการวัดอยู่นั้นและหน่วยอ้างอิงของการวัด เครื่องมือวัดและวิธีการทดสอบอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นตัวกำหนดการใช้เครื่องมือเป็นวิธีการที่จะบอกความสัมพันธ์ของตัวเลขเหล่านี้ เครื่องมือวัดทั้งหมดขึ้นอยู่กับปริมาณที่แปรได้ของความผิดพลาดของเครื่องมือวัดและความไม่แน่นอนในการวัด นักวิทยาศาสตร์, วิศวกรและคนอื่น ๆ ใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการดำเนินการวัดของพวกเขา เครื่องมือเหล่านี้อาจจะเป็นตั้งแต่วัตถุง่าย ๆ เช่นไม้บรรทัดและนาฬิกาจับเวลาจนถึงกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเครื่องเร่งอนุภาค เครื่องมือวัดเสมือนจริงถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการพัฒนาเครื่องมือวัดที่ทันสมัย ราล์ฟ Müller (1940) กล่าวว่า "นั่นประวัติศาสตร์ของว​​ิทยาศาสตร์ทางกายภาพเป็นส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ของเครื่องมือและการใช้งานที่ชาญฉลาดของพวกมันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ความเป็นสากลและทฤษฎีที่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้ลุกขึ้นยืนหรือตกลงไปบนพื้นฐานของการวัดที่แม่นยำ และในหลายกรณีเครื่องมือใหม่จะต้องมีการปรับปรุงใหม่เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ มีหลักฐานเล็กน้อยที่แสดงให้เห็นว่าจิตใจของคนทันสมัย​​จะเหนือกว่าพวกคนหัวโบราณ เครื่องมือของคนทันสมัยดีกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้" เดวิส Baird ได้แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจะเกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้ของ ฟลอริส โคเฮน เกี่ยวกับ "ปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ครั้งที่สี่" หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการพัฒนาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ไม่เพียงแต่เฉพาะในทางเคมีเท่านั้น แต่ทั่วทุกสาขาวิทยาศาสตร์ ในสาขาวิชาเคมี หัวข้อแนะนำของเครื่องมือใหม่ในทศวรรษที่ 1940 คือ "ไม่มีอะไรน้อยกว่าการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ในการพัฒนานี้วิธีการเปียกและแห้งแบบคลาสสิกของเคมีอินทรีย์ด้านโครงสร้างได้ถูกตัดทิ้งไปและพื้นที่ใหม่ของการวิจัยได้ถูกเปิดขึ้น ความสามารถในการที่จะทำให้เกิดการวัดที่มีความแม่นยำ, ตรวจสอบได้และทำซ้ำใหม่ได้ของโลกธรรมชาติ ในระดับที่สังเกตไม่ได้ก่อนหน้านี้ โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้จะ "ทำให้เกิดเนื้อหาที่แตกต่างกันของโลก" การปฏิวัติเครื่องมือนี้ได้เปลี่ยนแปลงพื้นฐานในความสามารถของมนุษย์ด้านการเฝ้าระวังและตอบสนอง อย่างที่ได้แสดงในตัวอย่างของการตรวจสอบดีดีที(สารฆ่าแมลง) และการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์คลื่นความถี่รังสียูวี (Ultraviolet–visible spectroscopy) และแก๊ส chromatography (กระบวนการวิเคราะห์หรือแยกสาร โดยอาศัยความแตกต่างจากการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของสารต่าง ๆ ที่ผสมรวมกันอยู่ โดยให้สารผ่านหรือไหลซึมไปในตัวกลางที่เหมาะสมด้วยแรงโน้มถ่วงหรือความดัน) ในการตรวจสอบมลพิษทางน้ำ การควบคุมกระบวนการเป็นหนึ่งในสาขาหลักของการประยุกต์ใช้เครื่องมือ (applied instrumentation) เครื่องมือมักจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมในโรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานอุตสาหกรรม, และยานพาหนะ เครื่องมือที่เชื่อมต่อกับระบบควบคุมอาจจะส่งสัญญาณที่ใช้ในการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ และให้การสนับสนุนการควบคุมระยะไกลหรือการทำงานแบบอัตโนมัติ การทำงานดังล่าวมักจะถูกเรียกว่าชิ้นส่วนควบคุมสุดท้ายเมื่อมีการควบคุมจากระยะไกลหรือโดยระบบควบคุม ในช่วงต้นปี 1954 Wildhack ได้กล่าวถึงศักยภาพทั้งในด้านการผลิตและการทำลายล้างโดยธรรมชาติในการควบคุมกระบวนการ (process control).

ใหม่!!: กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเครื่องมือวัด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Electron microscopeกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »